ความคล้ายคลึงกันระหว่าง การตั้งชื่อทวินามและสกุลแพนเทอรา
การตั้งชื่อทวินามและสกุลแพนเทอรา มี 4 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): สกุลคาโรลัส ลินเนียสเสือโคร่งไซบีเรียเสือโคร่งเบงกอล
สกุล
กุล อาจหมายถึง.
การตั้งชื่อทวินามและสกุล · สกุลและสกุลแพนเทอรา ·
คาโรลัส ลินเนียส
รลัส ลินเนียส (ภาษาละติน) หรือ คาร์ล ลินเนียส (ภาษาสวีเดน) ปัจจุบันภาพนี้จัดแสดงที่ราชวิทยาลัยวิทยาศาสตร์แห่งสวีเดน ลายมือชื่อของคาร์ล ลินเนียส คาโรลัส ลินเนียส (Carolus Linnaeus) หรือ คาร์ล ฟอน ลินเนีย บ้างก็เรียก คาร์ล ลินเนียส (Carl Linnaeus) (23 พฤษภาคม พ.ศ. 2250 - 10 มกราคม พ.ศ. 2321) เป็นนักพฤกษศาสตร์ชาวสวีเดน ผู้ริเริ่มการจัดแบ่งสิ่งมีชีวิตออกเป็นหมวดหมู่ และการประยุกต์ใช้ระบบการเรียกชื่อสิ่งมีชีวิตแบบทวินาม ซึ่งมีประโยชน์ในการศึกษาชีววิทยาต่อมาจวบจนปัจจุบัน อนึ่ง ชื่อวิทยาศาสตร์ของสิ่งมีชีวิตที่จัดจำแนกโดยเขา จะลงท้ายด้วย L. หรือ Linn.
การตั้งชื่อทวินามและคาโรลัส ลินเนียส · คาโรลัส ลินเนียสและสกุลแพนเทอรา ·
เสือโคร่งไซบีเรีย
ือโคร่งไซบีเรีย หรือ เสือโคร่งอามูร์ หรือ เสือโคร่งจีนเหนือ หรือ เสือโคร่งแมนจูเรีย (Siberian tiger จีนตัวเต็ม: 东北虎; จีนตัวย่อ: 東北虎; รัสเซีย: Амурский тигр; มองโกล: Сибирийн бар; เปอร์เซีย: ببر سیبری; เกาหลี: 시베리아호랑이) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมจำพวกเสือชนิดหนึ่ง เป็นสายพันธุ์ย่อยของเสือโคร่ง (P. tigris) เป็นสัตว์ในวงศ์ Felidae ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลกที่ยังหลงเหลือเผ่าพันธุ์อยู่จนถึงปัจจุบัน เสือโคร่งไซบีเรีย สามารถโตเต็มที่ได้ถึงเกือบ 3 เมตร และหนักได้ถึงเกือบ 300 กิโลกรัม เป็นเสือโคร่งชนิดที่มีลำตัวที่ใหญ่กว่าเสือโคร่งชนิดอื่นอย่างเห็นได้ชัด ใบหน้าแผ่กว้าง กรามใหญ่ ลวดลายน้อย และพื้นลำตัวเป็นสีเหลืองออกขาวมากกว่าเสือโคร่งชนิดอื่น ๆ สันนิษฐานว่า คงเป็นเพราะการปรับตัวให้กลมกลืนกับสภาพแวดล้อมที่มีหิมะและความหนาวเย็นอยู่รอบตัว ในอดีต เสือโคร่งไซบีเรียเคยอาศัยอยู่ในพื้นที่กว้างขวางของทวีปเอเชีย แต่ในปัจจุบัน เสือโคร่งไซบีเรียมีแหล่งที่อยู่อาศัยเป็นป่าผืนเล็กที่อยู่ตอนเหนือของเมืองวลาดิวอสตอค ประเทศรัสเซีย ตามแนวชายฝั่งทะเลญี่ปุ่นทางตอนเหนือ และมีจำนวนเพียง 400 ตัว การทำเหมืองแร่และการทำไม้ในแถบไซบีเรียตะวันออกซึ่งเป็นถิ่นของเสือโคร่งไซบีเรีย ที่ประเทศจีน ในปี ค.ศ. 1990 มีการพบเห็นเสือโคร่งพันธุ์ไซบีเรียในเทือกเขาฉางไป๋ทางตะวันออกเฉียงเหนือของจีน ในประเทศเกาหลีเหนือ สันนิษฐานว่ายังมีเสือโคร่งไซบีเรียหลงเหลืออยู่บริเวณภูเขาเปกดู ซึ่งเป็นบริเวณพรมแดนที่ติดต่อเทือกเขาฉางไป๋ของจีน ปัจจุบัน เสือโคร่งไซบีเรีย พบอาศัยอยู่ในป่าไทก้าของไซบีเรีย คาดมีเหลืออยู่ในธรรมชาติราวกว่า 200 ตัว ส่วนในจีนคาดว่ามีประมาณ 14-17 ตัว โดยพบล่าสุดเมื่อปลายเดือนกันยายน..
การตั้งชื่อทวินามและเสือโคร่งไซบีเรีย · สกุลแพนเทอราและเสือโคร่งไซบีเรีย ·
เสือโคร่งเบงกอล
ือโคร่งเบงกอล (เบงกาลี:বাঘ, ฮินดี: बाघ; Bengal tiger, Royal bengal tiger) เป็นเสือโคร่งชนิดย่อยชนิดหนึ่ง นับเป็นเสือโคร่งที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 2 ของบรรดาเสือโคร่งทั้งหมด รองจากเสือโคร่งไซบีเรีย (P. t. altaica) ที่พบในแถบไซบีเรีย ประเทศรัสเซีย เสือโคร่งเบงกอลตัวผู้เมื่อมีขนาดใหญ่เต็มที่อาจยาวได้ถึง 360 เซนติเมตร หนัก 180-270 กิโลกรัม ขณะที่ตัวเมียมีขนาดเล็กกว่า และมีน้ำหนักอยู่ที่ประมาณ 140–180 กิโลกรัม การกระจายพันธุ์อยู่ในภูมิภาคเอเชียใต้ ในประเทศอินเดีย, เนปาล, บังกลาเทศ และกระจายเข้าไปในแถบประเทศพม่าด้วย สถานะในธรรมชาติ จัดเป็นสัตว์ใกล้สูญพันธุ์ เนื่องจากการถูกล่าเพื่อทำหนังเป็นเครื่องประดับ และกระดูก, อวัยวะ เป็นยาสมุนไพรตามความเชื่อ อย่างไรก็ตาม เสือโคร่งเบงกอลนั้นนับได้ว่าเป็นเสือโคร่งชนิดที่ยังมีเหลืออยู่มากที่สุดในธรรมชาติ คาดว่ามีอยู่ประมาณ 2,000 ตัวในธรรมชาติ ในเขตป่าอนุรักษ์และอินเดียและเนปาล และเป็นเสือที่มนุษย์นำมาเลี้ยงและขยายพันธุ์ได้มากและแพร่หลายที่สุด ในสถานที่เลี้ยง พบว่า เสือโคร่งเบงกอลเป็นเสือโคร่งที่มีความเชื่องและดุร้ายน้อยที่สุด จนสามารถฝึกหัดให้เล่นละครสัตว์ได้ เสือโคร่งเบงกอลขึ้นชื่อว่าเป็นเสือโคร่งที่กินมนุษย์มาตั้งแต่อดีต โดยเฉพาะในอินเดีย การล่าเสือเป็นเกมกีฬาของราชวงศ์ชั้นสูง แม้แต่ในยุคที่อังกฤษเข้ามาปกครองอินเดีย โดยการขี่หลังช้างออกล่าในตามทุ่งหญ้าทั้งหญ้าสูงและหญ้าต่ำ ในคริสต์ทศวรรษที่ 20 มีเสือโคร่งเบงกอลคร่าชีวิตมนุษย์ไปกว่า 1,600 รายต่อปี แม้แต่ในปัจจุบันที่การล่าเสือเป็นสิ่งที่ผิดกฎหมาย และผู้คนเข้าใจถึงการอนุรักษ์สัตว์ป่ามากขึ้น แต่ทว่าก็ยังคงมีการโจมตีมนุษย์อยู่เป็นระยะ ๆ ของเสือ โดยเฉพาะในสุนทรพนะซึ่งเป็นพื้นที่ป่าชายเลน เสือโคร่งเบงกอลที่นี่มีความดุร้ายและไม่เกรงกลัวมนุษย์ มักจะโจมตีมนุษย์เสมอ ๆ โดยเฉพาะการจู่โจมจากด้านหลัง ชาวพื้นเมืองที่นี่จึงต้องสวมหน้ากากไว้ด้านหลังเพื่อป้องกัน ด้วยการทำให้เสือเข้าใจผิดว่ากำลังถูกจ้องดูอยู่ เสือที่โจมตีมนุษย์ส่วนมากเป็นตัวเมียในช่วงฤดูเก็บน้ำผึ้ง ซึ่งตรงกับฤดูที่เสือโคร่งเบงกอลจะมีลูกพอดี.
การตั้งชื่อทวินามและเสือโคร่งเบงกอล · สกุลแพนเทอราและเสือโคร่งเบงกอล ·
รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้
- สิ่งที่ การตั้งชื่อทวินามและสกุลแพนเทอรา มีเหมือนกัน
- อะไรคือความคล้ายคลึงกันระหว่าง การตั้งชื่อทวินามและสกุลแพนเทอรา
การเปรียบเทียบระหว่าง การตั้งชื่อทวินามและสกุลแพนเทอรา
การตั้งชื่อทวินาม มี 36 ความสัมพันธ์ขณะที่ สกุลแพนเทอรา มี 43 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 4, ดัชนี Jaccard คือ 5.06% = 4 / (36 + 43)
การอ้างอิง
บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง การตั้งชื่อทวินามและสกุลแพนเทอรา หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่: