การตรวจเลือดและโรคพิษสุรา
ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง
ความแตกต่างระหว่าง การตรวจเลือดและโรคพิษสุรา
การตรวจเลือด vs. โรคพิษสุรา
การเจาะหลอดเลือดดำ การตรวจเลือด คือ การตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการทางการแพทย์จากเลือดซึ่งปกติแล้วได้จากการเก็บสิ่งส่งตรวจโดยการเจาะเก็บเลือดจากหลอดเลือดดำบริเวณแขนหรือปลายนิ้ว การตรวจเลือดใช้สำหรับตรวจสอบสถาวะทางสรีรวิทยาและชีวเคมี เช่น โรค แร่ธาตุ การใช้ยาอย่างมีประสิทธิภาพ และการทำงานของอวัยวะต่างๆ นอกจากนี้ ยังสามารถใช้ในการทดสอบสารเสพติด ถึงแม้เราจะใช้คำว่า "การตรวจเลือด" แต่การตรวจเลือดโดยทั่วไป (ยกเว้นทางโลหิตวิทยา) เราจะตรวจจากพลาสมาหรือซีรัมแทนของเซลล์เม็ดเลือ. รคพิษสุรา (alcoholism) เป็นคำกว้าง ๆ หมายถึงการดื่มแอลกอฮอล์แล้วส่งผลต่อปัญหาสุขภาพกายหรือจิต เดิมโรคนี้แบ่งเป็นสองชนิด คือ การดื่มแอลกอฮอล์ในทางที่ผิด (alcohol abuse) และการติดแอลกอฮอล์ (alcohol dependence) ในบริบทการแพทย์ ถือว่าโรคพิษสุรามีเกณฑ์เหล่านี้ตั้งแต่สองข้อขึ้นไป ได้แก่ บุคคลดื่มสุราปริมาณมากเป็นเวลานาน ลดปริมาณการดื่มได้ยาก ใช้เวลานานมากกับการหาและดื่มแอลกอฮอล์ มีความต้องการดื่มแอลกอฮอล์อย่างหนัก การดื่มทำให้ไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่รับผิดชอบได้ การดื่มทำให้เกิดปัญหาสังคม การดื่มทำให้เกิดปัญหาสุขภาพ การดื่มทำให้เกิดสถานการณ์เสี่ยง มีอาการถอนเมื่อหยุดดื่ม และเกิดความชินแอลกอฮอล์หลังดื่ม สถานการณ์เสี่ยงได้แก่ การดื่มและการขับยานพานหะ หรือมีการร่วมประเวณีที่ไม่ปลอดภัย เป็นต้น การดื่มแอลกอฮอล์มีผลต่อร่างกายทุกส่วน แต่มีผลกระทบต่อสมอง หัวใจ ตับ ตับอ่อนและระบบภูมิคุ้มกันมากเป็นพิเศษ ซึ่งสามารถทำให้เกิดการป่วยทางจิต กลุ่มอาการเวอร์นิกเก–คอร์ซาคอฟ ภาวะหัวใจเสียจังหวะ โรคตับแข็ง และเพิ่มความเสี่ยงของมะเร็งกับโรคกลุ่มอื่น การดื่มแอลกอฮอล์ระหว่างตั้งครรภ์สามารถเป็นอันตรายต่อทารกทำให้เกิดโรคสเปกตรัมทารกพิษสุราในครรภ์ โดยทั่วไปหญิงมีความไวต่อผลต่อกายและจิตท่ี่เป็นอันตรายของแอลกอฮอล์กว่าชาย ปัจจัยสิ่งแวดล้อมและกรรมพันธุ์เป็นสององค์ประกอบที่สัมพันธ์กับโรคพิษสุรา โดยทั้งสององค์ประกอบมีผลอย่างละครึ่ง บุคคลที่มีบิดามารดาหรือพี่น้องที่มีโรคพิษสุรามีความเสี่ยงเป็นโรคพิษสุราเสียเองสูงกว่าบุคคลทั่วไปสามถึงสี่เท่า ปัจจัยสิ่งแวดล้อมได้แก่ อิทธิพลสังคม วัฒนธรรมและพฤติกรรม ระดับความเครียดสูง ความวิตกกังวล ร่วมกับราคาที่ไม่แพงและความหาได้ง่ายยังเพิ่มความเสี่ยงของโรคพิษสุรา บุคคลอาจดื่มต่อไปส่วนหนึ่งเพื่อป้องกันหรือบรรเทาอาการถอน หลังบุคคลหยุดดื่มแอลกอฮอล์ อาจมีอาการถอนระดับต่ำได้นานหลายเดือน ในทางการแพทย์ โรคพิษสุราถือว่าเป็นทั้งโรคทางกายและจิต แบบสำรวจและการทดสอบเลือดบางอย่างอาจตรวจพบบุคคลที่อาจเป็นโรคพิษสุรา มีการเก็บสารสนเทศเพิ่มเติมเพื่อยืนยันการวินิจฉัย มาตรการป้องกันโรคพิษสุราอาจใช้การวางระเบียบและจำกัดการขายแอลกอฮอล์ การจัดเก็บภาษีแอลกอฮอล์เพื่อเพิ่มราคา และการจัดหาการรักษาที่ไม่แพง เนื่องจากปัญหาการแพทย์ที่เกิดได้ระหว่างอาการถอน การถอนพิษแอลกอฮอล์จึงควรมีการควบคุมอย่างระมัดระวัง วิธีที่ใช้กันบ่อยวิธีหนึ่งคือการใช้ยากลุ่มเบนไซไดอะซีพีน เช่น ไดอะซีแพม ซึ่งสามารุให้ระหว่างรับการรักษาในสถานพยาบาล หรือบางครั้งระหว่างที่บุคคลอยู่ในชุมชนโดยมีการควบคุมดูแลใกล้ชิด การป่วยทางจิตหรือการติดสารเสพติดอย่างอื่นอาจทำให้การรักษายุ่งยากขึ้น มีการใช้การสนับสนุนหลังถอนพิษ เช่น การบำบัดกลุ่มหรือกลุ่มสนับสนุนเพื่อป้องกันมิให้บุคคลกลับไปดื่มอีก อาจใช้ยาอะแคมโพรเสต (acamprosate) ไดซัลฟิแรม (disulfiram) หรือนัลเทร็กโซน (naltrexone) เพื่อช่วยป้องกันการดื่มอีก องค์การอนามัยโลกประมาณว่าในปี 2553 มีผู้ป่วยโรคพิษสุรา 208 ล้านคนทั่วไป (ร้อยละ 4.1 ของประชากรอายุมากกว่า 15 ปี) พบบ่อยในชายและผู้ใหญ่ตอนต้น พบน้อยกว่าในวัยกลางคนและวัยสูงอายุ พบน้อยสุดในทวีปแอฟริกา (ร้อยละ 1.1) และสูงสุดในยุโรปตะวันออก (ร้อยละ 11) โรคพิษสุราส่งผลโดยตรงให้เกิดการเสียชีวิต 139,000 คนในปี 2556 เพิ่มขึ้นจาก 112,000 คนในปี 2533 เชื่อว่าการเสียชีวิตรวม 3.3 ล้านคน (ร้อยละ 5.9 ของการเสียชีวิตทั้งหมด) เกิดจากแอลกอฮอล์ มักลดความคาดหมายการคงชีพของบุคคลลงประมาณสิบปี หมวดหมู่:การติดสารเสพติด หมวดหมู่:การวินิจฉัยจิตเวช หมวดหมู่:วัฒนธรรมการดื่มแอลกอฮอล์ หมวดหมู่:การใช้แอลกอฮอล์ในทางที่ผิด.
ความคล้ายคลึงกันระหว่าง การตรวจเลือดและโรคพิษสุรา
การตรวจเลือดและโรคพิษสุรา มี 0 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย)
รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้
- สิ่งที่ การตรวจเลือดและโรคพิษสุรา มีเหมือนกัน
- อะไรคือความคล้ายคลึงกันระหว่าง การตรวจเลือดและโรคพิษสุรา
การเปรียบเทียบระหว่าง การตรวจเลือดและโรคพิษสุรา
การตรวจเลือด มี 34 ความสัมพันธ์ขณะที่ โรคพิษสุรา มี 8 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 0, ดัชนี Jaccard คือ 0.00% = 0 / (34 + 8)
การอ้างอิง
บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง การตรวจเลือดและโรคพิษสุรา หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่: