โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

การตรวจพิจารณาอินเทอร์เน็ตในประเทศจีนและทอร์ (เครือข่ายนิรนาม)

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง การตรวจพิจารณาอินเทอร์เน็ตในประเทศจีนและทอร์ (เครือข่ายนิรนาม)

การตรวจพิจารณาอินเทอร์เน็ตในประเทศจีน vs. ทอร์ (เครือข่ายนิรนาม)

การตรวจพิจารณาอินเทอร์เน็ตในประเทศจีน หรือที่สื่อมวลชนนอกประเทศจีนนิยมเรียกว่า เกรตไฟร์วอลล์ หรือ ด่านกันบุกรุกขนาดใหญ่ (Great Firewall) เป็นการตรวจพิจารณาการใช้งานอินเทอร์เน็ตของพลเมืองในประเทศจีน ซึ่งรัฐบาลจีนได้ตรากฎหมายกำหนดให้ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตมีหน้าที่ตรวจพิจารณาและสะกัดกั้นการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารภายในประเทศ โดยกฎหมายนี้ใช้บังคับแต่เฉพาะจีนแผ่นดินใหญ่ ไม่รวมถึงไต้หวัน ฮ่องกง และมาเก๊า ชื่อ "เกรตไฟร์วอลล์" เป็นชื่อรวมมาจากคำว่า "ไฟร์วอลล์" (firewall) อันเป็นด่านกันบุกรุกเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ประสมกับคำว่า "กำแพงเมืองจีน" ซึ่งภาษาอังกฤษเรียก เกรตวอลล์ (Great Wall). #ทอร์เบราว์เซอร์ --> ทอร์ (Tor) เป็นซอฟต์แวร์เสรี (ฟรี) ที่ช่วยให้สื่อสารทางอินเทอร์เน็ตอย่างนิรนามได้ด้วยการจัดเส้นทางการสื่อสารแบบหัวหอม รวมทั้งช่วยให้สามารถเรียกดูเว็บไซต์บางแห่งที่ถูกเซ็นเซอร์ได้ ส่วนชื่อเป็นอักษรย่อจากโปรเจ็กต์ซอฟต์แวร์ดั้งเดิมคือ "The Onion Router" (เราเตอร์หัวหอม) ทอร์ส่งการสื่อสารทางอินเทอร์เน็ตผ่านเครือข่ายทั่วโลก ฟรี ให้บริการโดยอาสาสมัคร และมีสถานีส่งต่อ/รีเลย์มากกว่า 7,000 สถานี เพื่อซ่อนตำแหน่งและการใช้งานของผู้ใช้จากใครก็ได้ที่ทำการเพื่อสอดแนมทางเครือข่าย หรือเพื่อวิเคราะห์การสื่อสาร เพราะการใช้ทอร์จะทำให้ตามรอยกิจกรรมทางอินเทอร์เน็ตกลับไปหาผู้ใช้ได้ยากขึ้น ซึ่งรวมทั้ง "การเยี่ยมใช้เว็บไซต์ การโพสต์ข้อความออนไลน์ การส่งข้อความทันที และรูปแบบการสื่อสารอื่น ๆ" ทอร์มุ่งหมายเพื่อป้องกันความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้ รวมทั้งป้องกันเสรีภาพและให้สมรรถภาพในการสื่อสารอย่างเป็นส่วนตัว โดยป้องกันการสื่อสารไม่ให้เฝ้าสังเกตได้ การจัดเส้นทางแบบหัวหอม (Onion routing) ทำให้เกิดผลโดยการเข้ารหัสลับในชั้นโปรแกรมประยุกต์ของโพรโทคอลสแตกที่ใช้ในการสื่อสาร โดยทำเป็นชั้น ๆ เหมือนกับของหัวหอม คือทอร์จะเข้ารหัสข้อมูล รวมทั้งเลขที่อยู่ไอพีของโหนดหรือสถานีต่อไปเป็นชั้น ๆ แล้วส่งข้อมูลผ่านวงจรเสมือนที่ประกอบด้วยสถานีรีเลย์ของทอร์ที่เลือกโดยสุ่มเป็นลำดับ ๆ สถานีรีเลย์แต่ละสถานีจะถอดรหัสชั้นการเข้ารหัสชั้นหนึ่ง เพื่อหาว่า สถานีไหนเป็นรีเลย์ต่อไปในวงจร แล้วส่งข้อมูลเข้ารหัสที่เหลือไปให้ สถานีสุดท้ายจะถอดรหัสชั้นลึกสุด แล้วส่งข้อมูลดั้งเดิมไปยังเป้าหมายโดยไม่เปิดเผยและก็ไม่รู้ด้วยถึงเลขที่อยู่ไอพีซึ่งเป็นแหล่งเบื้องต้น เพราะการจัดเส้นทางการสื่อสารจะปิดไว้ส่วนหนึ่ง ณ สถานีเชื่อมต่อทุก ๆ สถานีภายในวงจร วิธีการนี้กำจัดจุด ๆ เดียวชนิดที่การสอดแนมทางเครือข่ายอาจกำหนดต้นปลายการสื่อสาร แต่ฝ่ายตรงข้ามก็อาจพยายามระบุผู้ใช้โดยวิธีการต่าง ๆ ซึ่งอาจทำได้โดยการถือเอาประโยชน์จากจุดอ่อนของซอฟต์แวร์บนคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้ เช่น สำนักงานความมั่นคงแห่งชาติสหรัฐมีเทคนิคที่ใช้จุดอ่อนหนึ่งที่ตั้งชื่อรหัสว่า EgotisticalGiraffe ในเว็บเบราว์เซอร์มอซิลลา ไฟร์ฟอกซ์ล้าสมัยรุนหนึ่ง ที่เคยรวมแจกจ่ายกับชุดโปรแกรมทอร์ และโดยทั่วไป สำนักงานจะเพ่งเล็งเฝ้าสังเกตผู้ใช้ทอร์ในโปรแกรมการสอดแนม XKeyscore ขององค์กร การโจมตีทอร์เป็นประเด็นงานวิจัยที่ยังดำเนินการอยู่ ซึ่งโปรเจ็กต์ทอร์เองก็สนับสนุน อย่างไรก็ดี ไม่ใช่เพียงแค่ครั้งหนึ่งเท่านั้นเมื่อต้นคริสต์ทศวรรษ 2000 ที่ทอร์ได้พัฒนาขึ้นโดยบุคคลที่อยู่ใต้สัญญาการว่าจ้างจากสำนักงานโปรเจ็กต์การวิจัยก้าวหน้าของกระทรวงกลาโหมสหรัฐ (DARPA) และจากแล็บวิจัยกองทัพเรือสหรัฐ (U.S. Naval Research Laboratory) แต่ตั้งแต่เริ่มโครงการมา เงินทุนโดยมากก็มาจากรัฐบาลกลางสหรั.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง การตรวจพิจารณาอินเทอร์เน็ตในประเทศจีนและทอร์ (เครือข่ายนิรนาม)

การตรวจพิจารณาอินเทอร์เน็ตในประเทศจีนและทอร์ (เครือข่ายนิรนาม) มี 5 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): การตรวจพิจารณาอินเทอร์เน็ตภาษาอังกฤษซีเอ็นเอ็นไฟร์วอลล์เสรีภาพในการพูด

การตรวจพิจารณาอินเทอร์เน็ต

หลุมดำอินเทอร์เน็ต (ประเทศที่มีการตรวจพิจารณาอย่างหนัก) การตรวจพิจารณาอินเทอร์เน็ต หรือ การเซ็นเซอร์อินเทอร์เน็ต (Internet censorship) คือการควบคุมหรือปราบปรามว่าสิ่งใดสามารถเข้าถึง เผยแพร่ หรือรับชมได้บนอินเทอร์เน็ตโดยผู้กำกับดูแล ทั้งนี้ปัจเจกบุคคลหรือองค์กรต่าง ๆ ยังสามารถตรวจพิจารณา (เซ็นเซอร์) ตนเอง (Self-censorship) ได้ด้วยเช่นกัน จากเหตุผลด้านจริยธรรม ศาสนา หรือทางธุรกิจ เพื่อให้สอดคล้องกับบรรทัดฐานทางสังคมและหลีกเลี่ยงการคุกคามข่มขู่ หรือเนื่องจากเกรงกลัวผลทางกฎหมายหรือผลกระทบอื่น ๆ ที่จะตามมาในภายหลัง สำหรับขอบเขตการตรวจพิจารณาอินเทอร์เน็ตนั้นจะแตกต่างกันออกไปในแต่ละประเทศ ซึ่งประเทศประชาธิปไตยส่วนมากมีการตรวจพิจารณาอินเทอร์เน็ตไม่มากนัก ในขณะที่บางประเทศตรวจพิจารณาถึงขั้นจำกัดข้อมูลสารสนเทศต่าง ๆ เช่น ข่าวสาร หรือห้ามปรามการพูดคุยอภิปรายในหมู่ประชาชนของตน นอกจากนี้การตรวจพิจารณาอินเทอร์เน็ตยังมีไว้เพื่อตอบโต้เหตุการณ์บางเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นไปแล้วหรือกำลังจะเกิดขึ้นก็ได้ เช่น การเลือกตั้ง การประท้วงชุมนุม หรือการก่อจลาจล ซึ่งตัวอย่างที่เห็นได้ชัดก็คือปริมาณการตรวจพิจารณาอินเทอร์เน็ตที่เพิ่มขึ้นมากในช่วงเหตุการณ์อาหรับสปริง และยังมีเหตุผลอื่น ๆ สำหรับการตรวจพิจารณาอีก เช่น เหตุผลด้านลิขสิทธิ์ การหมิ่นประมาท การก่อกวน/ล่วงละเมิด หรือเพื่อปิดกั้นเนื้อหาลามกอนาจาร เป็นต้น เสียงสนับสนุนหรือคัดค้านการตรวจพิจารณาอินเทอร์เน็ตก็แตกต่างกันออกไป จากผลการสำรวจ อินเทอร์เน็ตโซไซตี ประจำปี..

การตรวจพิจารณาอินเทอร์เน็ตและการตรวจพิจารณาอินเทอร์เน็ตในประเทศจีน · การตรวจพิจารณาอินเทอร์เน็ตและทอร์ (เครือข่ายนิรนาม) · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาอังกฤษ

ษาอังกฤษ หรือ ภาษาอังกฤษใหม่ เป็นภาษาในกลุ่มภาษาเจอร์แมนิกตะวันตกที่ใช้ครั้งแรกในอังกฤษสมัยต้นยุคกลาง และปัจจุบันเป็นภาษาที่ใช้กันแพร่หลายที่สุดในโลก ประชากรส่วนใหญ่ในหลายประเทศ รวมทั้ง สหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกา แคนาดา ออสเตรเลีย ไอร์แลนด์ นิวซีแลนด์ และประเทศในแคริบเบียน พูดภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่หนึ่ง ภาษาอังกฤษเป็นภาษาแม่ที่มีผู้พูดมากที่สุดเป็นอันดับสามของโลก รองจากภาษาจีนกลางและภาษาสเปน มักมีผู้เรียนภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่สองอย่างกว้างขวาง และภาษาอังกฤษเป็นภาษาราชการของสหภาพยุโรป หลายประเทศเครือจักรภพแห่งชาติ และสหประชาชาติ ตลอดจนองค์การระดับโลกหลายองค์การ ภาษาอังกฤษเจริญขึ้นในราชอาณาจักรแองโกล-แซ็กซอนอังกฤษ และบริเวณสกอตแลนด์ตะวันออกเฉียงใต้ในปัจจุบัน หลังอิทธิพลอย่างกว้างขวางของบริเตนใหญ่และสหราชอาณาจักรตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 17 จนถึงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 ผ่านจักรวรรดิอังกฤษ และรวมสหรัฐอเมริกาด้วยตั้งแต่กลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 ภาษาอังกฤษได้แพร่หลายทั่วโลก กลายเป็นภาษาชั้นนำของวจนิพนธ์ระหว่างประเทศและเป็นภาษากลางในหลายภูมิภาค ในประวัติศาสตร์ ภาษาอังกฤษกำเนิดจากการรวมภาษาถิ่นหลายภาษาที่สัมพันธ์อย่างใกล้ชิด ซึ่งปัจจุบันเรียกรวมว่า ภาษาอังกฤษเก่า ซึ่งผู้ตั้งนิคมนำมายังฝั่งตะวันออกของบริเตนใหญ่เมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 5 คำในภาษาอังกฤษจำนวนมากสร้างขึ้นบนพื้นฐานรากศัพท์ภาษาละติน เพราะภาษาละตินบางรูปแบบเป็นภาษากลางของคริสตจักรและชีวิตปัญญาชนยุโรปDaniel Weissbort (2006).

การตรวจพิจารณาอินเทอร์เน็ตในประเทศจีนและภาษาอังกฤษ · ทอร์ (เครือข่ายนิรนาม)และภาษาอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

ซีเอ็นเอ็น

ล นิวส์ เน็ตเวิร์ก (Cable News Network) หรือรู้จักกันในชื่อ ซีเอ็นเอ็น (CNN) เป็นเครือข่ายโทรทัศน์เคเบิล ที่เสนอข่าวสารตลอด 24 ชั่วโมง ก่อตั้งโดย เท็ด เทอร์เนอร์ เริ่มต้นออกอากาศเมื่อวันอาทิตย์ที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2523 ปัจจุบันบริหารงานโดยเทิร์นเนอร์บรอดแคสติงซิสเตม หน่วยงานในเครือไทม์วอร์เนอร์ ซึ่งสำนักงานใหญ่ที่เรียกว่า ศูนย์กลางซีเอ็นเอ็น (CNN Center) ตั้งอยู่ที่เมืองแอตแลนตา รัฐจอร์เจีย และมีห้องส่งอื่นๆ อยู่ที่นครนิวยอร์ก และกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. ซึ่งซีเอ็นเอ็นที่ออกอากาศในสหรัฐอเมริกา จะส่งสัญญาณไปยังประเทศแคนาดาเพียงแห่งเดียว ส่วนซีเอ็นเอ็นที่ออกอากาศอยู่ใน 212 ประเทศทั่วโลกนั้น เป็นอีกช่องหนึ่งที่เรียกว่า ซีเอ็นเอ็นนานาชาติ (CNN International) ทั้งนี้ซีเอ็นเอ็นเป็นสถานีโทรทัศน์ข่าว ที่มีผู้ชมมากเป็นอันดับต้นๆ ของสหรัฐอเมริกาและทั่วโลก โดยมีคู่แข่งในประเทศที่สำคัญคือ ฟ็อกซ์นิวส์ และระดับนานาชาติคือ บีบีซี เวิลด์นิว.

การตรวจพิจารณาอินเทอร์เน็ตในประเทศจีนและซีเอ็นเอ็น · ซีเอ็นเอ็นและทอร์ (เครือข่ายนิรนาม) · ดูเพิ่มเติม »

ไฟร์วอลล์

ฟร์วอลล์ (อังกฤษ: firewall; ศัพท์บัญญัติ ด่านกันบุกรุก) คือซอฟต์แวร์หรือฮาร์ดแวร์ในระบบเครือข่าย ซอฟต์แวร์หรือฮาร์ดแวร์ในระบบเครือข่าย หน้าที่ของไฟร์วอลล์คือเป็นตัวกรองข้อมูลสื่อสาร โดยการกำหนดกฎและระเบียบมาบังคับใช้โดยเฉพาะเรื่องของการดูแลระบบเครือข่าย โดยความผิดพลาดของการปรับแต่งอาจส่งผลทำให้ไฟล์วอลล์มีช่องโหว่ และนำไปสู่สาเหตุของการโจรกรรมข้อมูลคอมพิวเตอร์ได้.

การตรวจพิจารณาอินเทอร์เน็ตในประเทศจีนและไฟร์วอลล์ · ทอร์ (เครือข่ายนิรนาม)และไฟร์วอลล์ · ดูเพิ่มเติม »

เสรีภาพในการพูด

รีภาพในการพูด (freedom of speech) หรือเสรีภาพในการแสดงออก (freedom of expression) เป็นสิทธิการเมืองในการสื่อสารความคิดของบุคคลผ่านการพูด คำวา เสรีภาพในการแสดงออก บางครั้งใช้เป็นคำไวพจน์ แต่ยังรวมไปถึงพฤติการณ์ใด ๆ ในการแสวงหา ทั้งด้วยการพูด การแสดงท่าทาง หรือการสื่อสารด้วยตัวหนังสือ ไม่ว่าจะบนหน้ากระดาษหรือในโลกออนไลน์ ตลอดจนในรูปแบบอื่นๆ เช่น เสียงเพลง ภาพถ่าย ภาพกราฟิกหรือภาพเคลื่อนไหว ฯลฯ นอกจากนี้ยังรวมถึงสิทธิในการค้นคว้า หา เข้าถึงหรือได้รับข้อมูล ความรู้สึกนึกคิด ความเห็นที่มีการสื่อสารและเผยแพร่และนำข้อสนเทศหรือความคิดโดยไม่คำนึงถึงสื่อที่ใช้ ในทางปฏิบัติ สิทธิในเสรีภาพการพูดมิได้มีสมบูรณ์ในทุกประเทศ และสิทธินี้โดยทั่วไปมักถูกจำกัด เช่นเดียวกับการหมิ่นประมาท การดูหมิ่นซึ่งหน้า ความลามก และการยุยงให้ก่ออาชญากรรม สิทธิในเสรีภาพการพูดได้รับการยอมรับเป็นสิทธิมนุษยชนภายใต้ข้อ 19 แห่งปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน และได้รับการยอมรับในกฎหมายสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศในกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง ข้อ 19 แห่งกติกาฯ บัญญัติว่า "ทุกคนจักมีสิทธิออกความเห็นโดยไม่ถูกแทรกแซง" และ "ทุกคนจักมีสิทธิในเสรีภาพการพูด สิทธินี้จักรวมไปถึงเสรีภาพในการแสวงหา ได้รับและส่งต่อข้อสนเทศและความคิดในทุกรูปแบบ โดยไม่คำนึงถึงขอบเขต ไม่ว่าจะโดยการพูด การเขียนหรือการพิมพ์ ในรูปของศิลปะ หรือผ่านสื่ออื่นใดที่เป็นทางเลือกของเขา" หากข้อ 19 ยังบัญญัติต่อไปว่าการใช้สิทธิเหล่านี้มี "หน้าที่และความรับผิดชอบพิเศษ" และอาจ "ดังนั้น ต้องถูกจำกัดบ้าง" เมื่อจำเป็น "เพื่อความเคารพถึงสิทธิหรือชื่อเสียงของคนอื่น" หรือ "เพื่อคุ้มครองความมั่นคงของชาติหรือความสงบเรียบร้อย หรือการสาธารณสุข หรือศีลธรรม" สิทธิในเสรีภาพในการแสดงออกถูกตีความรวมถึงสิทธิในการถ่ายรูปและเผยแพร่ภาพถ่ายบุคคลแปลกหน้าในพื้นที่สาธารณะโดยไม่ได้รับอนุญาตหรือการรับรู้จากพวกเขา อย่างไรก็ตามในคดีตามกฎหมายในประเทศเนเธอร์แลนด์สิทธิเสรีภาพในการแสดงออกไม่รวมถึงสิทธิในการใช้รูปถ่ายในลักษณะเหยียดสีผิวเพื่อปลุกระดมความเกลียดชังทางเชื้อชาติหรือการเลือกปฏิบัติชาติพัน.

การตรวจพิจารณาอินเทอร์เน็ตในประเทศจีนและเสรีภาพในการพูด · ทอร์ (เครือข่ายนิรนาม)และเสรีภาพในการพูด · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง การตรวจพิจารณาอินเทอร์เน็ตในประเทศจีนและทอร์ (เครือข่ายนิรนาม)

การตรวจพิจารณาอินเทอร์เน็ตในประเทศจีน มี 19 ความสัมพันธ์ขณะที่ ทอร์ (เครือข่ายนิรนาม) มี 141 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 5, ดัชนี Jaccard คือ 3.12% = 5 / (19 + 141)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง การตรวจพิจารณาอินเทอร์เน็ตในประเทศจีนและทอร์ (เครือข่ายนิรนาม) หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »