การจับลิ่มของเลือดและเฮพาริน
ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง
ความแตกต่างระหว่าง การจับลิ่มของเลือดและเฮพาริน
การจับลิ่มของเลือด vs. เฮพาริน
The classical blood coagulation pathway การแข็งตัวของเลือด (coagulation) คือกระบวนการซึ่งทำให้เลือดกลายเป็นลิ่มเลือด เป็นกลไกสำคัญของการห้ามเลือด ทำให้เกล็ดเลือดจับกับไฟบรินกลายเป็นลิ่มเลือด อุดรอยรั่วของหลอดเลือด ทำให้เลือดไม่ไหลออกจากหลอดเลือด หากมีความผิดปกติเกิดขึ้นกับกระบวนการนี้อาจทำให้เลือดไม่แข็งตัวอย่างที่ควรจะเป็น เกิดเลือดออกง่าย หรือเลือดแข็งตัวง่ายกว่าที่ควรจะเป็น เกิดลิ่มเลือดในหลอดเลือด กระบวนการการแข็งตัวของเลือดเป็นกระบวนการที่มีการคงอยู่ในระบบพันธุกรรมสูงมาก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทุกชนิดมีกลไกการแข็งตัวของเลือดที่ได้รับการพัฒนาสูง กระบวนการนี้ประกอบขึ้นจากสองส่วนคือส่วนของเซลล์ (เกล็ดเลือด) และส่วนของโปรตีน (ปัจจัยการแข็งตัวของเลือด) ระบบการแข็งตัวของเลือดในมนุษย์ได้รับการศึกษาวิจัยอย่างมาก จึงเป็นที่เข้าใจมากที่สุด กลไกการแข็งตัวของเลือดเริ่มต้นขึ้นแทบจะทันทีที่เกิดการบาดเจ็บต่อหลอดเลือด เกิดการเว้าแหว่งของผนังหลอดเลือด เมื่อเลือดได้สัมผัสกับโปรตีนที่อยู่นอกหลอดเลือด เช่น tissue factor ก็จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของเกล็ดเลือดและไฟบริโนเจนซึ่งเป็นปัจจัยการแข็งตัวของเลือดตัวหนึ่ง เกล็ดเลือดจะมาจับที่จุดบาดเจ็บทันที เป็นกระบวนการห้ามเลือดขั้นปฐมภูมิ จากนั้นกระบวนการห้ามเลือดขั้นทุติยภูมิก็จะเริ่มขึ้นพร้อมๆ กัน โปรตีนต่างๆ ในเลือดที่รวมเรียกว่าปัจจัยการแข็งตัวของเลือดจะมีการกระตุ้นปฏิกิริยาอย่างเป็นลำดับและซับซ้อน จนสุดท้ายแล้วทำให้เกิดเส้นใยไฟบรินขึ้น ซึ่งจะเสริมความแข็งแรงของก้อนเกล็ดเลือดที่จับกันอยู. ปาริน (heparin) เป็นสารไกลโคซามิโนไกลแคน ที่มีหมู่ซัลเฟตอยู่จำนวนมาก ใช้กันแพร่หลายในฐานะเป็นยาต้านการแข็งตัวของเลือดแบบฉีด และยังเป็นชีวโมเลกุลที่มีความหนาแน่นของประจุลบมากที่สุดเท่าที่รู้จักอีกด้วย นอกจากนี้ยังสามารถใช้เป็นสารต้านการแข็งตัวของเลือดเคลือบบนผิวภายในของวัสดุที่ใช้ในการทดลองและอุปกรณ์ทางการแพทย์อย่างหลอดทดลองและเครื่องฟอกเลือดได้อีกด้วย เฮปารินที่มีคุณภาพระดับใช้เป็นยานั้นได้จากเนื้อเยื่อเมือกของสัตว์เช่นลำไส้หมูหรือปอดวัว แม้สารนี้จะมีใช้เป็นสารต้านการแข็งตัวของเลือดอยู่ทั่วไปในการแพทย์แต่บทบาททางสรีรวิทยาที่แท้จริงนั้นยังไม่เป็นที่แน่ชัด เนื่องจากส่วนใหญ่แล้วสมบัติการต้านการแข็งตัวในเลือดนั้นได้จาก heparan sulfate proteoglycans ที่มาจากเซลล์บุผิว endothelium ส่วนใหญ่เฮปารินมักถูกเก็บอยู่ใน secretory granule ของ mast cell และจะถูกปล่อยออกมาก็ต่อเมื่ออยู่ในหลอดเลือดของเนื้อเยื่อที่กำลังมีการบาดเจ็บ มีการเสนอว่าหน้าที่ที่แท้จริงของเฮปารินไม่ใช่การต้านการแข็งตัวของเลือดแต่เป็นเพื่อป้องกันบริเวณเนื้อเยื่อที่กำลังมีการบาดเจ็บอยู่นั้นจากแบคทีเรียและสิ่งแปลกปลอมอื่นๆ นอกจากนี้ยังพบว่ามีเฮปารินอยู่ในสิ่งมีชีวิตหลายสปีชีส์ รวมทั้งสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังที่ไม่มีระบบการแข็งตัวของเลือดด้ว.
ความคล้ายคลึงกันระหว่าง การจับลิ่มของเลือดและเฮพาริน
การจับลิ่มของเลือดและเฮพาริน มี 0 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย)
รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้
- สิ่งที่ การจับลิ่มของเลือดและเฮพาริน มีเหมือนกัน
- อะไรคือความคล้ายคลึงกันระหว่าง การจับลิ่มของเลือดและเฮพาริน
การเปรียบเทียบระหว่าง การจับลิ่มของเลือดและเฮพาริน
การจับลิ่มของเลือด มี 4 ความสัมพันธ์ขณะที่ เฮพาริน มี 13 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 0, ดัชนี Jaccard คือ 0.00% = 0 / (4 + 13)
การอ้างอิง
บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง การจับลิ่มของเลือดและเฮพาริน หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่: