โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

การจัดการสิ่งผิดปรกติ

ดัชนี การจัดการสิ่งผิดปรกติ

การจัดการสิ่งผิดปรกติ (Exception handling) เป็นกระบวนการรับมือกับการเกิดสิ่งผิดปรกติ (exception) หรือสภาวะผิดธรรมดาหรือพิเศษระหว่างการคำนวณ สิ่งผิดปรกตินี้มักเปลี่ยนแปลงขั้นตอนปกติของการกระทำการ (execution) ของโปรแกรม การจัดการสิ่งผิดปรกติมีในภาษาโปรแกรมเฉพาะทางหรือกลไกฮาร์ดแวร์ของคอมพิวเตอร์ โดยทั่วไป สิ่งผิดปรกติจะจัดการโดยการบันทึกสถานะปัจจุบันของการกระทำการในพื้นที่ที่กำหนด และสับเปลี่ยนการกระทำการไปยังซับรูทีนที่เรียกว่า ชุดคำสั่งจัดการสิ่งผิดปรกติ (exception handler) ถ้าสิ่งผิดปรกติเกิดต่อเนื่องได้ (continuable) ชุดคำสั่งดังกล่าวอาจดำเนินการกระทำการต่อไปที่ตำแหน่งเดิมโดยใช้สารสนเทศที่บันทึกไว้ ตัวอย่างเช่น สิ่งผิดปรกที่เป็นการหารจำนวนจุดลอยตัวด้วยศูนย์ โดยปริยายแล้ว จะอนุญาตให้โปรแกรมทำงานต่อได้ ขณะที่สภาวะหน่วยความจำหมด (out of memory) อาจไม่สามารถแก้ไขได้อย่างโปร่งใส หมวดหมู่:การควบคุมสายงาน หมวดหมู่:ความผิดปรกติของซอฟต์แวร์.

4 ความสัมพันธ์: การหารด้วยศูนย์ภาษาโปรแกรมจำนวนจุดลอยตัวซับรูทีน

การหารด้วยศูนย์

ในทางคณิตศาสตร์ การหารด้วยศูนย์ หมายถึงการหารที่มีตัวหารเท่ากับ 0 ซึ่งอาจสามารถเขียนอยู่ในรูปเศษส่วน \textstyle\frac โดยที่ a เป็นตัวตั้ง ค่าของนิพจน์นี้จะมีความหมายหรือไม่ขึ้นอยู่กับบทตั้งทางคณิตศาสตร์ที่เป็นบริบท แต่โดยทั่วไปในเลขคณิตของจำนวนจริง นิพจน์ดังกล่าวไม่มีความหมาย สำหรับการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ การหารด้วยศูนย์ในจำนวนเต็มอาจทำให้โปรแกรมเกิดข้อผิดพลาดจนหยุดทำงาน หรือในกรณีของจำนวนจุดลอยตัวอาจให้ผลลัพธ์เป็นค่าพิเศษที่เรียกว่า NaN (Not a Number).

ใหม่!!: การจัดการสิ่งผิดปรกติและการหารด้วยศูนย์ · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาโปรแกรม

ษาโปรแกรม คือภาษาประดิษฐ์ชนิดหนึ่งที่ออกแบบขึ้นมาเพื่อสื่อสารชุดคำสั่งแก่เครื่องจักร โดยเฉพาะอย่างยิ่งคอมพิวเตอร์ ภาษาโปรแกรมสามารถใช้สร้างโปรแกรมที่ควบคุมพฤติกรรมของเครื่องจักร และ/หรือ แสดงออกด้วยขั้นตอนวิธี (algorithm) อย่างตรงไปตรงมา ผู้เขียนโปรแกรมซึ่งหมายถึงผู้ที่ใช้ภาษาโปรแกรมเรียกว่า โปรแกรมเมอร์ (programmer) ภาษาโปรแกรมในยุคแรกเริ่มนั้นเกิดขึ้นก่อนที่คอมพิวเตอร์จะถูกประดิษฐ์ขึ้น โดยถูกใช้เพื่อควบคุมการทำงานของเครื่องทอผ้าของแจ็กการ์ดและเครื่องเล่นเปียโน ภาษาโปรแกรมต่าง ๆ หลายพันภาษาถูกสร้างขึ้นมา ส่วนมากใช้ในวงการคอมพิวเตอร์ และสำหรับวงการอื่นภาษาโปรแกรมก็เกิดขึ้นใหม่ทุก ๆ ปี ภาษาโปรแกรมส่วนใหญ่อธิบายการคิดคำนวณในรูปแบบเชิงคำสั่ง อาทิลำดับของคำสั่ง ถึงแม้ว่าบางภาษาจะใช้การอธิบายในรูปแบบอื่น ตัวอย่างเช่น ภาษาที่สนับสนุนการเขียนโปรแกรมเชิงฟังก์ชัน หรือการเขียนโปรแกรมเชิงตรรกะ การพรรณนาถึงภาษาโปรแกรมหนึ่ง ๆ มักจะแบ่งออกเป็นสองส่วนได้แก่ วากยสัมพันธ์ (รูปแบบ) และอรรถศาสตร์ (ความหมาย) บางภาษาถูกนิยามขึ้นด้วยเอกสารข้อกำหนด (ตัวอย่างเช่น ภาษาซีเป็นภาษาหนึ่งที่กำหนดโดยมาตรฐานไอโซ) ในขณะที่ภาษาอื่นอย่างภาษาเพิร์ลรุ่น 5 และก่อนหน้านั้น ใช้การทำให้เกิดผลแบบอ้างอิง (reference implementation) เป็นลักษณะเด่น.

ใหม่!!: การจัดการสิ่งผิดปรกติและภาษาโปรแกรม · ดูเพิ่มเติม »

จำนวนจุดลอยตัว

Z3 คอมพิวเตอร์ฐานสองเชิงกลที่สามารถโปรแกรมและดำนำเนินการทางคณิตศาสตร์ได้เครื่องแรก (จัดแสดงต่อสาธารณะที่พิพิธภัณฑ์เยอรมันในเมืองมิวนิก ตัวอย่างแสดงถึงการแทนจำนวนจุดลอยตัวโดยแบ่งเป็นการเก็บค่าเลขนัยสำคัญและเลขชี้กำลัง ในทางคอมพิวเตอร์ จำนวนจุดลอยตัว (floating point) คือระบบแทนจำนวนชนิดหนึ่ง ซึ่งจำนวนนั้นอาจมีขนาดใหญ่หรือขนาดเล็กเกินกว่าที่จะแทนด้วยจำนวนเต็ม เนื่องจากจำนวนต่าง ๆ สามารถเขียนแทนด้วยเลขนัยสำคัญ (mantissa) จำนวนหนึ่งโดยประมาณ และเปลี่ยนสเกลด้วยเลขชี้กำลัง (exponent) ฐานของสเกลปกติจะเป็น 2, 10 หรือ 16 เป็นต้น จำนวนทั่วไปจึงสามารถเขียนให้อยู่ในรูปแบบนี้ได้ คำว่า จุดลอยตัว จึงหมายถึงจุดฐาน (จุดทศนิยม หรือในคอมพิวเตอร์คือ จุดทวินิยม) ที่สามารถ "ลอยตัว" ได้ หมายความว่า จุดฐานสามารถวางไว้ที่ตำแหน่งใดก็ได้ที่สัมพันธ์กับเลขนัยสำคัญของจำนวนนั้น ตำแหน่งนี้แสดงไว้แยกต่างหากในข้อมูลภายใน และการแทนด้วยจำนวนจุดลอยตัวจึงอาจถือว่าเป็นสัญกรณ์วิทยาศาสตร์ในบริบทของคอมพิวเตอร์ หลายปีที่ผ่านมา คอมพิวเตอร์ใช้งานจำนวนจุดลอยตัวในรูปแบบที่แตกต่างกัน เวลาต่อมาจึงทำให้เกิดมาตรฐาน IEEE 754 สำหรับจำนวนที่พบได้อย่างปกติสามัญชนิดนี้ ข้อดีของจำนวนจุดลอยตัวที่มีต่อจำนวนจุดตรึง (fixed point รวมทั้งจำนวนเต็ม) คือจำนวนจุดลอยตัวสามารถรองรับค่าได้ในขอบเขตที่กว้างกว่า ตัวอย่างเช่น จำนวนจุดตรึงที่มีตัวเลขเจ็ดหลัก และกำหนดให้สองหลักสุดท้ายอยู่หลังจุด สามารถแทนจำนวนเหล่านี้ได้ 12345.67, 123.45, 1.23 ในขณะที่จำนวนจุดลอยตัว (ตามเลขฐานสิบของมาตรฐาน IEEE 754) ที่มีตัวเลขเจ็ดหลักเช่นกัน สามารถแทนจำนวนเหล่านี้ได้อีกเพิ่มเติม 1.234567, 123456.7, 0.00001234567, 1234567000000000 เป็นต้น แต่ข้อเสียคือรูปแบบของจำนวนจุดลอยตัวจำเป็นต้องใช้หน่วยเก็บข้อมูลมากขึ้นอีกเล็กน้อย (สำหรับเข้ารหัสตำแหน่งของจุดฐาน) ดังนั้นเมื่อจำนวนทั้งสองประเภทเก็บบันทึกอยู่ในที่ที่เหมือนกัน จำนวนจุดลอยตัวจะใช้เนื้อที่มากกว่าเพื่อเพิ่มความเที่ยง (precision) ความเร็วของการดำเนินการกับจำนวนจุดลอยตัว เป็นการวัดประสิทธิภาพของคอมพิวเตอร์อย่างหนึ่งที่สำคัญในขอบเขตข่ายโปรแกรมประยุกต์ ซึ่งมีหน่วยวัดเป็นฟล็อปส์ (FLOPS - floating-point operations per second การประมวลผลจุดลอยตัวต่อวินาที).

ใหม่!!: การจัดการสิ่งผิดปรกติและจำนวนจุดลอยตัว · ดูเพิ่มเติม »

ซับรูทีน

ในด้านการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ซับรูทีน (subroutine) เป็นลำดับของคำสั่งโปรแกรมที่กระทำงานอย่างใดอย่างหนึ่ง และถูกรวมกันเป็นหนึ่งหน่วย หน่วยนี้สามารถใช้ในโปรแกรม ณ ตำแหน่งใดตำแหน่งหนึ่งที่งานนั้น ๆ จะเข้าไปกระทำ โปรแกรมย่อยอาจถูกกำหนดขึ้นภายในโปรแกรมต่าง ๆ หรือถูกกำหนดแยกอยู่ในคลัง (library) ที่โปรแกรมหลายโปรแกรมสามารถเรียกใช้ ในแต่ละภาษาโปรแกรม ซับรูทีนชุดหนึ่งอาจเรียกว่า กระบวนงาน (procedure) ฟังก์ชัน (function) รูทีน (routine) เมท็อด (method) หรือโปรแกรมย่อย บางครั้งใช่คำเรียกทั่วไปว่า หน่วยที่เรียกใช้ได้ (callable unit).

ใหม่!!: การจัดการสิ่งผิดปรกติและซับรูทีน · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »