โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

การจัดการความเครียดและความยืดหยุ่นทางจิตใจ

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง การจัดการความเครียดและความยืดหยุ่นทางจิตใจ

การจัดการความเครียด vs. ความยืดหยุ่นทางจิตใจ

การจัดการความเครียด (Stress management) หมายถึงเทคนิคที่หลายหลากและกระบวนการจิตบำบัด (psychotherapy) ที่มุ่งควบคุมระดับความเครียด โดยเฉพาะความเครียดเรื้อรัง ปกติเพื่อปรับชีวิตประจำวันให้ดีขึ้น ในเรื่องนี้ ความเครียดหมายถึงในระดับที่มีผลลบอย่างสำคัญ หรือบางครั้งเรียกในภาษาอังกฤษว่า distress (แปลว่าความทุกข์) ซึ่งต่างจากคำว่า eustress ซึ่งหมายถึงความเครียดที่มีประโยชน์หรือมีผลบวก คำภาษาอังกฤษทั้งสองนี้เสนอโดยแพทย์ต่อมไร้ท่อทรงอิทธิพลในเรื่องความเครียด คือ น. แฮนส์ เซ็ลเยอ ความเครียดมีผลทางกายใจมากมาย ซึ่งจะต่าง ๆ กันไปตามสถานการณ์ แต่อาจรวมการมีสุขภาพแย่ลงและอารมณ์ซึมเศร้า นักจิตวิทยาแนะว่า กระบวนการจัดการความเครียดเป็นกุญแจสำคัญอย่างหนึ่งสำหรับชีวิตที่มีความสุขและประสบความสำเร็จในสังคมปัจจุบัน แม้ว่าชีวิตอาจจะมีอุปสรรคมากมายที่บางครั้งยากจะรับมือ เทคนิคจัดการความเครียดสามารถช่วยบริหารความวิตกกังวลและช่วยรักษาความเป็นอยู่ที่ดี แม้ว่าบ่อยครั้งจะมองว่า ความเครียดเป็นประสบการณ์ที่เป็นอัตวิสัย (คือเป็นเรื่องทางใจ) แต่ระดับความเครียดสามารถวัดได้ทางสรีรภาพ เช่นดังที่ใช้ในเครื่องจับการโกหก (polygraph) มีเทคนิคจัดการความเครียดที่นำไปใช้ได้จริง ๆ บางอย่างสำหรับผู้ให้บริการสุขภาพและอื่น ๆ บางอย่างเพื่อให้ช่วยตนเอง ซึ่งอาจช่วยลดระดับความเครียด ให้ความรู้สึกที่ดีว่าสถานการณ์ในชีวิตควบคุมได้ และช่วยโปรโหมตความเป็นอยู่ที่ดี แต่ว่า ประสิทธิผลของเทคนิคต่าง ๆ เป็นเรื่องรู้ยาก เพราะว่ายังมีงานวิจัยในระดับจำกัด และดังนั้น จำนวนและคุณภาพของหลักฐานสนับสนุนเทคนิคต่าง ๆ จึงอาจต่างกันมาก บางอย่างยอมรับว่าเป็นการบำบัดที่มีประสิทธิผลโดยนำไปใช้ในจิตบำบัด (psychotherapy) และบางอย่างที่มีหลักฐานน้อยกว่าอาจพิจารณาว่าเป็นการรักษาทางเลือก มีองค์กรทางอาชีพต่าง ๆ ที่โปรโหมตและให้การฝึกสอนการบำบัดทั้งแบบทั่วไปและแบบทางเลือก มีแบบจำลองทางวิทยาศาสตร์หลายอย่างเกี่ยวกับการจัดการความเครียด แต่ละอย่างมีคำอธิบายกลไกการจัดการความเครียดที่ต่าง ๆ กัน ยังต้องมีงานวิจัยอีกมากเพื่อจะเข้าใจว่ากลไกไหนเป็นตัวการและเพื่อให้ได้ผลการบำบัดที่ดีขึ้น. วามยืดหยุ่นได้ทางด้านจิตใจ*.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง การจัดการความเครียดและความยืดหยุ่นทางจิตใจ

การจัดการความเครียดและความยืดหยุ่นทางจิตใจ มี 6 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): การบําบัดทางความคิดและพฤติกรรมการรับมือ (จิตวิทยา)ระบบภูมิคุ้มกันรูปแบบเอกสารใช้ได้หลายระบบความผิดปกติที่เกิดหลังความเครียดที่สะเทือนใจความซึมเศร้า (อารมณ์)

การบําบัดทางความคิดและพฤติกรรม

การบําบัดทางความคิดและพฤติกรรม (Cognitive behavioral therapy ตัวย่อ CBT) เป็นรูปแบบหนึ่งของจิตบำบัด (psychotherapy) ซึ่งดั้งเดิมออกแบบเพื่อรักษาโรคซึมเศร้า แต่ปัจจุบันใช้รักษาความผิดปกติทางจิตอย่างอื่น ๆ ด้วย ซึ่งมีประสิทธิผลโดยแก้ปัญหาปัจจุบันและเปลี่ยนความคิดและพฤติกรรมที่ไร้ประโยชน์ ชื่อของวิธีบำบัดอ้างอิงถึงการบำบัดชนิดต่าง ๆ รวมทั้งการบำบัดพฤติกรรม (behavior therapy) การบำบัดความคิด (cognitive therapy) และการบำบัดที่รวมหลักต่าง ๆ ในการศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมและจิตวิทยาประชาน ผู้บำบัดคนไข้ที่มีปัญหาเรื่องโรควิตกกังวลและโรคซึมเศร้า จะใช้วิธีที่รวมการบัดบัดทั้งทางพฤติกรรมและทางความคิด เป็นเทคนิคที่ยอมรับความจริงว่า อาจมีพฤติกรรมที่ไม่สามารถควบคุมได้โดยความคิดที่สมเหตุผล เพราะเป็นพฤติกรรมที่เกิดจากการปรับสภาวะ (conditioning) ในอดีตต่อสิ่งแวดล้อมและสิ่งเร้าทั้งภายในภายนอก เป็นเทคนิคที่เพ่งความสนใจไปที่ปัญหาโดยเฉพาะ ๆ และช่วยคนไข้ให้เลือกกลยุทธ์ในการรับมือปัญหาเหล่านั้น ซึ่งต่างจากวิธีการรักษาแบบจิตวิเคราะห์ ที่ผู้รักษาจะสืบหาความหมายใต้สำนึกของพฤติกรรมของคนไข้เพื่อจะวินิจฉัยปัญหา คือ ในการบำบัดแบบพฤติกรรม ผู้รักษาเชื่อว่า ความผิดปกติที่มี เช่นความซึมเศร้า เกิดเนื่องมาจากความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งเร้าที่กลัวกับการตอบสนองแบบหลีกเลี่ยง ซึ่งมีผลเป็นความกลัวที่มีเงื่อนไข เหมือนดังในการปรับสภาวะแบบดั้งเดิม (Classical Conditioning) และในการบำบัดความคิด ผู้รักษาเชื่อว่า ตัวความคิดเอง จะมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมของบุคคล ดังนั้น การบำบัดสองอย่างหลังนี้จึงรวมกันเป็น CBT CBT มีประสิทธิผลต่อความผิดปกติหลายอย่างรวมทั้งความผิดปกติทางอารมณ์ (mood disorder) โรควิตกกังวล ความผิดปกติทางบุคลิกภาพ ความผิดปกติของการรับประทาน (Eating disorder) การติดสิ่งต่าง ๆ (addiction) การใช้สารเสพติด (substance dependence) ความผิดปกติที่มีอาการกล้ามเนื้อกระตุก (Tic disorder) และ psychotic disorder (รวมทั้งโรคจิตเภทและโรคหลงผิด) โปรแกรมการบำบัดแบบ CBT ได้รับประเมินสัมพันธ์กับการวินิจฉัยอาการ และปรากฏว่า มีผลดีกว่าวิธีการอื่น ๆ เช่น การบำบัดแบบ psychodynamic แต่ว่าก็มีนักวิจัยที่ตั้งความสงสัยในความสมเหตุสมผลของข้ออ้างว่ามีผลดีกว่าวิธีการอื่น ๆ การบำบัดโดยการปรับเปลี่ยนความคิดและพฤติกรรมมีประวัติความเป็นมาตั้งแต่ยุคที่เน้นการปรับพฤติกรรมเป็นหลัก ผู้ที่ถือเป็นบิดาแห่งการบำบัดในรูปแบบที่เข้าใจและนิยมใช้ที่สุดในปัจจุบันคือ.

การจัดการความเครียดและการบําบัดทางความคิดและพฤติกรรม · การบําบัดทางความคิดและพฤติกรรมและความยืดหยุ่นทางจิตใจ · ดูเพิ่มเติม »

การรับมือ (จิตวิทยา)

ในสาขาจิตวิทยา การรับมือ (coping) เป็นการตั้งใจพยายามแก้ปัญหาส่วนตัวหรือกับคนอื่น แล้วเอาชนะ ลด หรืออดทนความเครียดหรือความรู้สึกขัดใจของตน ประสิทธิผลของความพยายามขึ้นอยู่กับรูปแบบความเครียดหรือความขัดแย้ง บุคคลอื่น และสถานการณ์อื่น ๆ กลไกการรับมือทางใจเรียกอย่างสามัญในภาษาอังกฤษว่า coping strategies (กลยุทธ์การรับมือ) หรือ coping skills (ทักษะการรับมือ) เป็นสิ่งที่ไม่รวมกลยุทธ์ใต้สำนึก (เช่น กลไกป้องกันตน) คำทั่วไปหมายถึงกลยุทธ์รับมือที่เป็นการปรับตัวที่ดี (adaptive) หรือว่าเป็นแบบสร้างสรรค์ ซึ่งก็คือ ช่วยลดความเครียด โดยกลยุทธ์บางอย่างพิจารณาว่า เป็นการปรับตัวผิด (maladaptive) คือ เพิ่มความเครียด การรับมือแบบผิด ๆ อาจจะเรียกได้ว่า เป็นการไม่รับมือ นอกจากนั้นแล้ว เป็นคำที่หมายถึงปฏิกิริยา คือเป็นการรับมือตอบสนองต่อตัวสร้างความเครียด (stressor) เทียบกับการรับมือล่วงหน้า (proactive coping) ซึ่งเป็นการกระทำเพื่อดักตัวก่อความเครียดที่จะเกิดในอนาคต การรับมือส่วนหนึ่งควบคุมโดยบุคลิกภาพคือลักษณะที่เป็นนิสัย แต่ส่วนหนึ่งก็คุมโดยสถานการณ์ทางสังคม โดยเฉพาะธรรมชาติของสิ่งแวดล้อมที่ก่อความเครี.

การจัดการความเครียดและการรับมือ (จิตวิทยา) · การรับมือ (จิตวิทยา)และความยืดหยุ่นทางจิตใจ · ดูเพิ่มเติม »

ระบบภูมิคุ้มกัน

ระบบภูมิคุ้มกัน (immune system) คือระบบที่คอยปกป้องร่างกายของสิ่งมีชีวิตจากสิ่งแปลกปลอม โดยเฉพาะจุลชีพก่อโรค เช่น แบคทีเรีย ไวรัส ปรสิต รา พยาธิ รวมถึงสิ่งแปลกปลอมอื่นๆ เช่น เซลล์ที่กำลังเจริญเติบโตไปเป็นมะเร็ง อวัยวะของผู้อื่นที่ปลูกถ่ายเข้ามาในร่างกาย การได้รับเลือดผิดหมู่ สารก่อภูมิแพ้ ฯลฯ สิ่งแปลกปลอมที่ร่างกายตรวจจับได้เรียกว่า แอนติเจน (antigen) แอนติเจนที่กระตุ้นการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันเรียกว่า อิมมูโนเจน (immunogen) สิ่งแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกร่างกายเต็มไปด้วยจุลินทรีย์ขนาดเล็กที่มองไม่เห็นด้วยตาเปล่า ส่วนใหญ่จุลินทรีย์ที่อยู่รอบตัวเหล่านี้ไม่ใช่เชื้อก่อโรคแต่ประการใด แต่ก็มีจุลินทรีย์อีกมากมายที่ก่อให้เกิดโรคติดเชื้อ เรียกว่าเชื้อโรค (pathogen) เพื่อป้องกันร่างกายจากเชื้อโรคเหล่านี้ มนุษย์มีระบบภูมิคุ้มกันที่ทำหน้าที่อย่างทรงประสิทธิภาพในการกำจัดเชื้อโรคออกไป หากภูมิคุ้มกันบกพร่อง แม้จะพัฒนายาต้านจุลชีพที่ดีเลิศเพียงใด ก็อาจจะไม่สามารถรักษาชีวิตคนเราจากโรคติดเชื้อไว้ได้ เพราะการที่จะหายจากโรคติดเชื้อได้นั้น ภูมิคุ้มกันในร่างกายเป็นผู้ช่วยตัวสำคัญที.

การจัดการความเครียดและระบบภูมิคุ้มกัน · ความยืดหยุ่นทางจิตใจและระบบภูมิคุ้มกัน · ดูเพิ่มเติม »

รูปแบบเอกสารใช้ได้หลายระบบ

รูปแบบเอกสารใช้ได้หลายระบบ (portable document format (ย่อ: pdf)) คือ รูปแบบแฟ้มลักษณะหนึ่ง ที่พัฒนาโดยบริษัทอะโดบีซิสเต็มส์ สำหรับแสดงเอกสารที่สามารถใช้งานได้ในทุกระบบปฏิบัติการ และยังคงลักษณะเอกสารเหมือนต้นฉบับ เอกสารในรูปแบบนี้สามารถจัดเก็บ ตัวอักษร รูปภาพ รูปลายเส้น ในลักษณะเป็นหน้าหนังสือ ตั้งแต่ หนึ่งหน้า หรือหลายพันหน้าได้ในแฟ้มเดียวกัน รูปแบบเป็นมาตรฐานที่เปิดให้คนอื่นสามารถเขียนโปรแกรมมาทำงานร่วมกันได้ รูปแบบนี้ เหมาะสมสำหรับงานที่ต้องการให้แสดงผลลักษณะเดียวกับต้นฉบับ ซึ่งแตกต่างกับการใช้งานรูปแบบอื่น เช่น HTML เพราะการแสดงผลของ HTML จะขึ้นอยู่กับโปรแกรมเบราว์เซอร์และคอมพิวเตอร์ที่ใช้ และเพราะฉะนั้น จะแสดงผลต่างกัน ถ้าใช้ต่างกัน.

การจัดการความเครียดและรูปแบบเอกสารใช้ได้หลายระบบ · ความยืดหยุ่นทางจิตใจและรูปแบบเอกสารใช้ได้หลายระบบ · ดูเพิ่มเติม »

ความผิดปกติที่เกิดหลังความเครียดที่สะเทือนใจ

วามผิดปกติที่เกิดหลังความเครียดที่สะเทือนใจ หรือ ภาวะความเครียดผิดปกติหลังเหตุสะเทือนใจ (Posttraumatic stress disorder) มีชื่อย่ออย่างเป็นสากลว่า PTSD เป็นภาวะความเครียดที่ก่อให้เกิดอาการดังกล่าว อาการมักเป็นหลังจากเจอสถานการณ์ที่สะเทือนใจ ซึ่งต่างจาก Acute stress reaction ที่จะเกิดอาการขึ้นทันที่ที่เจอเหตุการณ์นั้น.

การจัดการความเครียดและความผิดปกติที่เกิดหลังความเครียดที่สะเทือนใจ · ความผิดปกติที่เกิดหลังความเครียดที่สะเทือนใจและความยืดหยุ่นทางจิตใจ · ดูเพิ่มเติม »

ความซึมเศร้า (อารมณ์)

วามซึมเศร้า หรือ อารมณ์ซึมเศร้า (Depression) เป็นสภาวะอารมณ์หดหู่และไม่ชอบทำอะไร ๆ ที่อาจมีผลต่อความคิด พฤติกรรม ความรู้สึก และความเป็นอยู่ที่ดีของบุคคล คนซึมเศร้าอาจรู้สึกเศร้า วิตกกังวล ไร้ความหมาย สิ้นหวัง ไม่มีที่พึ่ง ไม่ภูมิใจในตนเอง/ไม่มีค่า รู้สึกผิด หงุดหงิด โกรธ อับอาย หรือกระวนกระวาย อาจจะสูญความสนใจในกิจกรรมที่เคยชอบ ไม่อยากอาหารหรือทานมากเกินไป ไม่มีสมาธิ คอยระลึกถึงรายละเอียดในการตัดสินใจอะไรบางอย่าง มีปัญหาทางความสัมพันธ์ และอาจคิด พยายาม และทำการฆ่าตัวตาย การนอนไม่หลับ การนอนมากเกินไป อ่อนเปลี้ย เจ็บปวด มีปัญหาย่อยอาหาร และมีกำลังน้อยลง ก็อาจเป็นอาการร่วมด้วย อารมณ์ซึมเศร้าเป็นลักษณะอาการทางจิตเวชบางอย่าง เช่น โรคซึมเศร้า (major depressive disorder) แต่ก็อาจะเป็นปฏิกิริยาปกติต่อเหตุการณ์ในชีวิต เช่น สูญเสียคนรัก ถ้าไม่คงยืนเป็นระยะยาว และอาจเป็นอาการเจ็บป่วยทางกาย หรือเป็นผลข้างเคียงของยาหรือการรักษาทางแพทย์บางอย่าง ''Melencolia I'' (ราว พ.ศ. 2057), โดยจิตรกรชาวเยอรมัน อัลเบรชท์ ดือเรอร.

การจัดการความเครียดและความซึมเศร้า (อารมณ์) · ความซึมเศร้า (อารมณ์)และความยืดหยุ่นทางจิตใจ · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง การจัดการความเครียดและความยืดหยุ่นทางจิตใจ

การจัดการความเครียด มี 48 ความสัมพันธ์ขณะที่ ความยืดหยุ่นทางจิตใจ มี 62 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 6, ดัชนี Jaccard คือ 5.45% = 6 / (48 + 62)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง การจัดการความเครียดและความยืดหยุ่นทางจิตใจ หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »