โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์และการพิจารณาคดีเนือร์นแบร์ค

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์และการพิจารณาคดีเนือร์นแบร์ค

การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ vs. การพิจารณาคดีเนือร์นแบร์ค

การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ (genocide) คือ การกระทำอย่างเป็นระบบและไตร่ตรองไว้ก่อนเพื่อทำลายกลุ่มชาติพันธุ์ กลุ่มเชื้อชาติ กลุ่มชนในชาติ หรือกลุ่มชนทางศาสนาทั้งกลุ่มหรือส่วนใหญ่ ถึงแม้จะมีผู้ให้นิยามของ "ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์" ไว้มากมายและบางทีก็แตกต่างกันโดยสิ้นเชิง แต่ทางนิติศาสตร์นั้น สหประชาชาติได้กำหนดนิยามของพฤติการณ์นี้ในข้อ 2 แห่งอนุสัญญาว่าด้วยการป้องกันและลงโทษความผิดอาญาฐานฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ (United Nations Convention on the Prevention and Punishment of the Crime of Genocide) ว่า ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ หมายถึง "การกระทำอย่างหนึ่งอย่างใดโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อทำลายกลุ่มชาติพันธุ์ กลุ่มเชื้อชาติ กลุ่มชนในชาติ หรือกลุ่มชนทางศาสนาทั้งกลุ่มหรือส่วนใหญ่ เป็นต้นว่า ฆ่าสมาชิกของกลุ่ม กระทำให้สมาชิกของกลุ่มถึงแก่พิกลพิการอย่างหนักทางกายภาพหรือจิตภาวะ กระทำโดยไตร่ตรองหรือโดยคาดการณ์ไว้แล้วเพื่อให้เกิดแก่หรือนำพามาสู่สมาชิกของกลุ่มซึ่งทุกขเวทนาในสภาพความเป็นอยู่ กระทำโดยมาตรการใด ๆ เพื่อกันมิให้มีการถือกำเนิดของทารกภายในกลุ่ม หรือใช้กำลังนำพาผู้เยาว์ในกลุ่มไปยังอีกกลุ่มหนึ่ง"Office of the High Commissioner for Human Rights. ซึดดอยท์เชอไซทุง (Süddeutsche Zeitung) ลงข่าว "คำพิพากษาในเนือร์นแบร์ค" ในภาพคือ: (แถวจากซ้ายไป - รูปจากบนลงมา) ''แถวที่หนึ่ง'' เกอริง, เฮสส์, ริบเบนทรอพ, โรเซนแบร์ก, ฟรังค์ และฟริก; ''แถวที่สอง'' ฟุงค์, ชไตเชอร์ และชัชท์; ''แถวที่สาม'' เดอนิทซ์, แรเดอร์ และชีรัช; ''แถวที่สี่'' เซาค์เคล, โยเดิล, พาเพิน, ไซซ์-อินควัร์ท, สเปร์, นอยรัท และบอร์มันน์ การพิจารณาคดีเนือร์นแบร์ค (Nuremberg trials) เป็นชุดการพิจารณาคดีทางทหารที่ฝ่ายสัมพันธมิตรผู้ชนะสงครามโลกครั้งที่สองเป็นผู้จัด มีจุดเด่นเป็นการฟ้องสมาชิกชั้นผู้ใหญ่ในคณะผู้นำทางการเมือง การทหาร และเศรษฐกิจของนาซีเยอรมนีซึ่งพ่ายสงคราม การพิจารณาทั้งนี้มีขึ้น ณ ตำหนักยุติธรรม เมืองเนือร์นแบร์ค รัฐบาวาเรีย ประเทศเยอรมนี โดยชุดแรกเป็น "การพิจารณาผู้กระทำความผิดอาญาสงครามกลุ่มหลัก" ในศาลทหารระหว่างประเทศ (International Military Tribunal) เริ่มในวันที่ 20 พฤศจิกายน..

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์และการพิจารณาคดีเนือร์นแบร์ค

การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์และการพิจารณาคดีเนือร์นแบร์ค มี 4 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): ศาลอาญาระหว่างประเทศอนุสัญญาว่าด้วยการป้องกันและลงโทษความผิดอาญาฐานฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ธรรมนูญกรุงโรมว่าด้วยศาลอาญาระหว่างประเทศเนือร์นแบร์ค

ศาลอาญาระหว่างประเทศ

ลอาญาระหว่างประเทศ (International Criminal Court: ICC/ICCt; Cour Pénale Internationale) เป็นศาลระหว่างประเทศซึ่งมีที่ทำการอยู่ในกรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ มีเขตอำนาจดำเนินคดีผู้กระทำความผิดอาญาระหว่างประเทศ 3 ฐาน คือ การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์, อาชญากรรมต่อมนุษนชาติ, และอาชญากรรมสงคราม ก่อตั้งขึ้นโดยประสงค์จะให้เป็นส่วนเสริมของระบบยุติธรรมที่แต่ละประเทศมีอยู่ จึงมีเขตอำนาจเมื่อเป็นไปตามเงื่อนไขเท่านั้น เช่น เมื่อศาลระดับประเทศไม่สามารถหรือไม่ประสงค์จะดำเนินคดีแล้ว หรือเมื่อคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติหรือรัฐหนึ่ง ๆ เสนอคดีมาให้พิจารณา ศาลนี้เริ่มปฏิบัติงานในวันที่ 1 กรกฎาคม..

การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์และศาลอาญาระหว่างประเทศ · การพิจารณาคดีเนือร์นแบร์คและศาลอาญาระหว่างประเทศ · ดูเพิ่มเติม »

อนุสัญญาว่าด้วยการป้องกันและลงโทษความผิดอาญาฐานฆ่าล้างเผ่าพันธุ์

อนุสัญญาว่าด้วยการป้องกันและลงโทษความผิดอาญาฐานฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ (Convention on the Prevention and Punishment of the Crime of Genocide) เป็นสนธิสัญญาซึ่งสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติมีข้อมติที่ 260 ตกลงรับเมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 1948 และเริ่มใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 12 มกราคม 1951 อนุสัญญานี้กำหนดบทอธิบายศัพท์ "ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์" ตามกฎหมาย และเป็นผลมาจากการรณรงค์ยาวนานหลายปีของราฟาเอล เล็มกิน (Raphael Lemkin) นักนิติศาสตร์ แยร์ ออรอน (Yair Auron) นักประวัติศาสตร์ชาวอิสราเอล กล่าวว่า "เมื่อราฟาเอล เล็มกิน สร้างศัพท์ว่า 'ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์' เมื่อปี 1944 นั้น เขาเอาการทำลายล้างชาวอาร์เมเนียเมื่อปี 1915 มาเป็นตัวอย่างสำคัญของการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์" อนุสัญญากำหนดให้รัฐทั้งหลายที่เข้าร่วมอนุสัญญาต้องป้องกันและลงโทษการกระทำทั้งหลาย ๆ ที่ก่อให้เกิดการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ทั้งในยามสงบและยามรบ ปัจจุบัน มีรัฐ 144 รัฐให้สัตยาบันแก่อนุสัญญานี้แล้ว.

การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์และอนุสัญญาว่าด้วยการป้องกันและลงโทษความผิดอาญาฐานฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ · การพิจารณาคดีเนือร์นแบร์คและอนุสัญญาว่าด้วยการป้องกันและลงโทษความผิดอาญาฐานฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ · ดูเพิ่มเติม »

ธรรมนูญกรุงโรมว่าด้วยศาลอาญาระหว่างประเทศ

รรมนูญกรุงโรมว่าด้วยศาลอาญาระหว่างประเทศ (Rome Statute of the International Criminal Court) หรือเรียกโดยย่อว่า ธรรมนูญกรุงโรม (Rome Statute) เป็นสนธิสัญญาซึ่งมีเนื้อหาสาระเป็นการจัดตั้งและจัดเขตอำนาจศาลอาญาระหว่างประเทศ ธรรมนูญนี้ได้รับความเห็นชอบจากรัฐต่าง ๆ ณ การประชุมทางการทูตที่กรุงโรม ประเทศอิตาลี เมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม 2541 และมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2545 โดยในเดือนกรกฎาคม..

การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์และธรรมนูญกรุงโรมว่าด้วยศาลอาญาระหว่างประเทศ · การพิจารณาคดีเนือร์นแบร์คและธรรมนูญกรุงโรมว่าด้วยศาลอาญาระหว่างประเทศ · ดูเพิ่มเติม »

เนือร์นแบร์ค

นือร์นแบร์ค (Nürnberg) หรือที่เรียกในภาษาอังกฤษว่า นูเร็มเบิร์ก (Nuremberg) เป็นเมืองตั้งอยู่ในรัฐไบเอิร์น (บาวาเรีย) ประเทศเยอรมนี ห่างจากนครมิวนิกขึ้นไปทางทิศเหนือประมาณ 170 กิโลเมตร ปัจจุบันมีประชากรประมาณ 500,000 คน เนือร์นแบร์คมีประวัติศาสตร์ถอยไปถึง ค.ศ. 1050 โดยเป็นเมืองของจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ในสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง เมืองนี้เป็นศูนย์ประชุมหลักของพรรคนาซี และหลังสงคราม ฝ่ายสัมพันธมิตรได้ทำพิจารณาคดีต่อเหล่าอาชญากรสงคราม หลังจากนาซีเยอรมันพ่ายแพ้.

การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์และเนือร์นแบร์ค · การพิจารณาคดีเนือร์นแบร์คและเนือร์นแบร์ค · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์และการพิจารณาคดีเนือร์นแบร์ค

การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ มี 7 ความสัมพันธ์ขณะที่ การพิจารณาคดีเนือร์นแบร์ค มี 84 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 4, ดัชนี Jaccard คือ 4.40% = 4 / (7 + 84)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์และการพิจารณาคดีเนือร์นแบร์ค หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »