โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

การครุ่นคิด (จิตวิทยา)และการบําบัดทางความคิดและพฤติกรรม

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง การครุ่นคิด (จิตวิทยา)และการบําบัดทางความคิดและพฤติกรรม

การครุ่นคิด (จิตวิทยา) vs. การบําบัดทางความคิดและพฤติกรรม

การครุ่นคิด (Rumination) เป็นการใส่ใจอย่างหมกมุ่นในอาการต่าง ๆ เกี่ยวกับความทุกข์/ปัญหาของตน และในเหตุและผลที่อาจเป็นไปได้ของความทุกข์ แทนที่จะใส่ใจในวิธีแก้ปัญหา ทั้งความครุ่นคิดและความกลุ้มใจ (worry) สัมพันธ์กับความวิตกกังวล (anxiety) และอารมณ์เชิงลบอื่น ๆ แต่ว่าก็ยังไม่มีวิธีการเดียวที่ตกลงใช้วัดระดับของมัน ตามทฤษฎี Response Styles Theory เสนอในปี 1998 (โดย Nolen-Hoeksema) ความครุ่นคิดนิยามว่าเป็น "การใส่ใจอย่างหมกมุ่นในอาการต่าง ๆ เกี่ยวกับความทุกข์/ปัญหาของตน และในเหตุและผลที่อาจเป็นไปได้ของความทุกข์ แทนที่จะใส่ใจในวิธีแก้ปัญหา" และเพราะว่าทฤษฎีนี้ได้หลักฐานเชิงประสบการณ์สนับสนุน ดังนั้นจึงเป็นแบบจำลองของความครุ่นคิดที่นิยมใช้กันมากที่สุด แต่ว่าก็ยังมีทฤษฎีอื่น ๆ ที่เสนอนิยามอื่น ยกตัวอย่างเช่น ในทฤษฎี Goal Progress Theory ความครุ่นคิดไม่ใช่เป็นปฏิกิริยาต่อสภาวะของพื้นอารมณ์ แต่เป็น "การตอบสนองต่อความล้มเหลวที่จะก้าวหน้าอย่างน่าพอใจไปยังเป้าหมายอย่างหนึ่ง" บทความนี้แสดงแบบจำลองหลายอย่างของความครุ่นคิดและหมายจะแยก "ความครุ่นคิด" จากแนวคิด/โครงสร้างทางจิตวิทยาอื่น ๆ ที่อาจดูคล้ายกันหรือเหลื่อมกัน. การบําบัดทางความคิดและพฤติกรรม (Cognitive behavioral therapy ตัวย่อ CBT) เป็นรูปแบบหนึ่งของจิตบำบัด (psychotherapy) ซึ่งดั้งเดิมออกแบบเพื่อรักษาโรคซึมเศร้า แต่ปัจจุบันใช้รักษาความผิดปกติทางจิตอย่างอื่น ๆ ด้วย ซึ่งมีประสิทธิผลโดยแก้ปัญหาปัจจุบันและเปลี่ยนความคิดและพฤติกรรมที่ไร้ประโยชน์ ชื่อของวิธีบำบัดอ้างอิงถึงการบำบัดชนิดต่าง ๆ รวมทั้งการบำบัดพฤติกรรม (behavior therapy) การบำบัดความคิด (cognitive therapy) และการบำบัดที่รวมหลักต่าง ๆ ในการศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมและจิตวิทยาประชาน ผู้บำบัดคนไข้ที่มีปัญหาเรื่องโรควิตกกังวลและโรคซึมเศร้า จะใช้วิธีที่รวมการบัดบัดทั้งทางพฤติกรรมและทางความคิด เป็นเทคนิคที่ยอมรับความจริงว่า อาจมีพฤติกรรมที่ไม่สามารถควบคุมได้โดยความคิดที่สมเหตุผล เพราะเป็นพฤติกรรมที่เกิดจากการปรับสภาวะ (conditioning) ในอดีตต่อสิ่งแวดล้อมและสิ่งเร้าทั้งภายในภายนอก เป็นเทคนิคที่เพ่งความสนใจไปที่ปัญหาโดยเฉพาะ ๆ และช่วยคนไข้ให้เลือกกลยุทธ์ในการรับมือปัญหาเหล่านั้น ซึ่งต่างจากวิธีการรักษาแบบจิตวิเคราะห์ ที่ผู้รักษาจะสืบหาความหมายใต้สำนึกของพฤติกรรมของคนไข้เพื่อจะวินิจฉัยปัญหา คือ ในการบำบัดแบบพฤติกรรม ผู้รักษาเชื่อว่า ความผิดปกติที่มี เช่นความซึมเศร้า เกิดเนื่องมาจากความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งเร้าที่กลัวกับการตอบสนองแบบหลีกเลี่ยง ซึ่งมีผลเป็นความกลัวที่มีเงื่อนไข เหมือนดังในการปรับสภาวะแบบดั้งเดิม (Classical Conditioning) และในการบำบัดความคิด ผู้รักษาเชื่อว่า ตัวความคิดเอง จะมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมของบุคคล ดังนั้น การบำบัดสองอย่างหลังนี้จึงรวมกันเป็น CBT CBT มีประสิทธิผลต่อความผิดปกติหลายอย่างรวมทั้งความผิดปกติทางอารมณ์ (mood disorder) โรควิตกกังวล ความผิดปกติทางบุคลิกภาพ ความผิดปกติของการรับประทาน (Eating disorder) การติดสิ่งต่าง ๆ (addiction) การใช้สารเสพติด (substance dependence) ความผิดปกติที่มีอาการกล้ามเนื้อกระตุก (Tic disorder) และ psychotic disorder (รวมทั้งโรคจิตเภทและโรคหลงผิด) โปรแกรมการบำบัดแบบ CBT ได้รับประเมินสัมพันธ์กับการวินิจฉัยอาการ และปรากฏว่า มีผลดีกว่าวิธีการอื่น ๆ เช่น การบำบัดแบบ psychodynamic แต่ว่าก็มีนักวิจัยที่ตั้งความสงสัยในความสมเหตุสมผลของข้ออ้างว่ามีผลดีกว่าวิธีการอื่น ๆ การบำบัดโดยการปรับเปลี่ยนความคิดและพฤติกรรมมีประวัติความเป็นมาตั้งแต่ยุคที่เน้นการปรับพฤติกรรมเป็นหลัก ผู้ที่ถือเป็นบิดาแห่งการบำบัดในรูปแบบที่เข้าใจและนิยมใช้ที่สุดในปัจจุบันคือ.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง การครุ่นคิด (จิตวิทยา)และการบําบัดทางความคิดและพฤติกรรม

การครุ่นคิด (จิตวิทยา)และการบําบัดทางความคิดและพฤติกรรม มี 8 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): รูปแบบเอกสารใช้ได้หลายระบบอารมณ์ทฤษฎีความเอนเอียงทางประชานตัวกระตุ้นโรคย้ำคิดย้ำทำโรควิตกกังวลโรคซึมเศร้า

รูปแบบเอกสารใช้ได้หลายระบบ

รูปแบบเอกสารใช้ได้หลายระบบ (portable document format (ย่อ: pdf)) คือ รูปแบบแฟ้มลักษณะหนึ่ง ที่พัฒนาโดยบริษัทอะโดบีซิสเต็มส์ สำหรับแสดงเอกสารที่สามารถใช้งานได้ในทุกระบบปฏิบัติการ และยังคงลักษณะเอกสารเหมือนต้นฉบับ เอกสารในรูปแบบนี้สามารถจัดเก็บ ตัวอักษร รูปภาพ รูปลายเส้น ในลักษณะเป็นหน้าหนังสือ ตั้งแต่ หนึ่งหน้า หรือหลายพันหน้าได้ในแฟ้มเดียวกัน รูปแบบเป็นมาตรฐานที่เปิดให้คนอื่นสามารถเขียนโปรแกรมมาทำงานร่วมกันได้ รูปแบบนี้ เหมาะสมสำหรับงานที่ต้องการให้แสดงผลลักษณะเดียวกับต้นฉบับ ซึ่งแตกต่างกับการใช้งานรูปแบบอื่น เช่น HTML เพราะการแสดงผลของ HTML จะขึ้นอยู่กับโปรแกรมเบราว์เซอร์และคอมพิวเตอร์ที่ใช้ และเพราะฉะนั้น จะแสดงผลต่างกัน ถ้าใช้ต่างกัน.

การครุ่นคิด (จิตวิทยา)และรูปแบบเอกสารใช้ได้หลายระบบ · การบําบัดทางความคิดและพฤติกรรมและรูปแบบเอกสารใช้ได้หลายระบบ · ดูเพิ่มเติม »

อารมณ์

ตัวอย่างอารมณ์พื้นฐาน ในทางจิตวิทยา ปรัชญา และสาขาย่อยอื่น ๆ อารมณ์ หมายถึงประสบการณ์ในความรู้สำนึกและอัตวิสัยที่ถูกกำหนดลักษณะเฉพาะโดยการแสดงออกทางจิตสรีรวิทยา ปฏิกิริยาทางชีววิทยา และสภาพจิตใจ อารมณ์มักจะเกี่ยวข้องและถูกจัดว่ามีอิทธิพลซึ่งกันและกันกับพื้นอารมณ์ พื้นอารมณ์แต่กำเนิด บุคลิกภาพ นิสัย และแรงจูงใจ เช่นเดียวกับที่ได้รับอิทธิพลจากฮอร์โมนและสารสื่อประสาท อาทิ โดพามีน นอราดรีนาลีน เซโรโทนิน ออกซิโทซิน และคอร์ซิทอล อารมณ์มักเป็นพลังขับดันเบื้องหลังพฤติกรรมไม่ว่าเชิงบวกหรือเชิงลบ Gaulin, Steven J. C. and Donald H. McBurney.

การครุ่นคิด (จิตวิทยา)และอารมณ์ · การบําบัดทางความคิดและพฤติกรรมและอารมณ์ · ดูเพิ่มเติม »

ทฤษฎี

ทฤษฎี (theory) คือ สมมติฐานที่ได้รับการตรวจสอบและทดลองหลายครั้งหลายหนจนสามารถอธิบายข้อเท็จจริงสามารถคาดคะเนทำนายเหตุการณ์ทั่วๆไป ที่เกี่ยวข้องกับปรากฏการณ์นั้นอย่างถูกต้อง และมีเหตุผลเป็นที่ยอมรับของคนทั่วไป จึงเป็นผลให้สมมติฐานกลายเป็นทฤษฎี เช่น ทฤษฎีเซลล์ (Cell theory) ทฤษฏีวิวัฒนาการ (the evolution theory) เป็นต้น หรือ คือกลุ่มความสัมพันธ์ของแนวคิดคำนิยาม และองค์ประกอบต่าง ๆ ที่ใช้อธิบายลักษณะของปรากฏการณ์หนึ่ง และชี้ให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรต่าง ๆ โดยมีจุดมุ่งหมายที่จะอธิบายหรือคาดเดาปรากฏการณ์นั้น.

การครุ่นคิด (จิตวิทยา)และทฤษฎี · การบําบัดทางความคิดและพฤติกรรมและทฤษฎี · ดูเพิ่มเติม »

ความเอนเอียงทางประชาน

วามเอนเอียงทางประชาน (cognitive bias) เป็นรูปแบบความคลาดเคลื่อนของการประเมินตัดสินใจ ที่การอนุมานถึงบุคคลอื่นหรือสถานการณ์ต่าง ๆ อาจจะเป็นไปโดยไม่สมเหตุผล คือ เราจะสร้างความจริงทางสังคม (social reality) ที่เป็นอัตวิสัย จากการรับรู้ข้อมูลที่ได้ทางประสาทสัมผัส เพราะฉะนั้น ความจริงที่เราสร้างขึ้นนี้ ซึ่งไม่ใช่ความจริงโดยปรวิสัย อาจจะกำหนดพฤติกรรมทางสังคมของเรา ดังนั้น ความเอนเอียงทางประชานอาจนำไปสู่ความบิดเบือนทางการรับรู้ การประเมินตัดสินใจที่ไม่ถูกต้อง การตีความที่ไม่สมเหตุผล หรือพฤติกรรมที่เรียกกันอย่างกว้าง ๆ ว่า ความไม่มีเหตุผล (irrationality) ความเอนเอียงทางประชานบางอย่างเชื่อว่า เป็นการปรับตัวให้เข้ากับสังคมสิ่งแวดล้อม คือเป็นเหตุให้เกิดการกระทำที่มีประสิทธิภาพในสถานการณ์บางอย่าง นอกจากนั้นแล้ว ความเอนเอียงทางประชานบางอย่างสามารถทำให้ตัดสินใจได้เร็วขึ้น ในสถานการณ์ที่ความเร็วมีความสำคัญมากกว่าความแม่นยำ ดังที่พบในเรื่องของฮิวริสติก ความเอนเอียงบางอย่างอาจจะเป็น "ผลพลอยได้" ของความจำกัดในการประมวลข้อมูลของมนุษย์ ซึ่งอาจจะมาจากการไม่มีกลไกทางจิตใจที่เหมาะสม (สำหรับปัญหานั้น) หรือว่ามีสมรรถภาพจำกัดในการประมวลข้อมูล ภายใน 6 ทศวรรษที่ผ่านมา ได้มีการกำหนดความเอนเอียงทางประชานเป็นจำนวนมาก เป็นผลจากงานวิจัยในเรื่องการประเมินและการตัดสินใจของมนุษย์ จากสาขาวิชาการต่าง ๆ รวมทั้งประชานศาสตร์ จิตวิทยาสังคม และเศรษฐศาสตร์พฤติกรรม (behavioral economics) ความเอนเอียงทางประชานเป็นเรื่องสำคัญที่จะศึกษาเพราะว่า "ความผิดพลาดอย่างเป็นระบบ" แสดงให้เห็นถึง "กระบวนการทางจิตที่เป็นฐานของการรับรู้และการประเมินตัดสินใจ" (Tversky & Kahneman,1999, p. 582) นอกจากนั้นแล้ว แดเนียล คาฮ์นะมัน และอะมอส ทเวอร์สกี้ ยังอ้างไว้ด้วยว่า ความรู้เกี่ยวกับความเอนเอียงทางประชานมีผลทางด้านการปฏิบัติในฟิลด์ต่าง ๆ รวมทั้งการวินิจฉัยทางคลินิก.

การครุ่นคิด (จิตวิทยา)และความเอนเอียงทางประชาน · การบําบัดทางความคิดและพฤติกรรมและความเอนเอียงทางประชาน · ดูเพิ่มเติม »

ตัวกระตุ้น

ในสรีรวิทยา ตัวกระตุ้น"ศัพท์บัญญัติอังกฤษ-ไทย, ไทย-อังกฤษ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (คอมพิวเตอร์) รุ่น ๑.๑", ให้ความหมายของ stimulus ว่า "ตัวกระตุ้น" หรือ "สิ่งเร้า" หรือ ตัวเร้า หรือ สิ่งเร้า หรือ สิ่งกระตุ้น (stimulus, พหูพจน์ stimuli) เป็นความเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมที่ตรวจจับได้โดยสิ่งมีชีวิตหรืออวัยวะรับรู้ความรู้สึก โดยปกติ เมื่อตัวกระตุ้นปรากฏกับตัวรับความรู้สึก (sensory receptor) ก็จะก่อให้เกิด หรือมีอิทธิพลต่อปฏิกิริยารีเฟล็กซ์ของเซลล์ ผ่านกระบวนการถ่ายโอนความรู้สึก (transduction) ตัวรับความรู้สึกเหล่านี้สามารถรับข้อมูลทั้งจากภายนอกร่างกาย เช่นตัวรับสัมผัส (touch receptor) ในผิวหนัง หรือตัวรับแสงในตา และทั้งจากภายในร่างกาย เช่น ตัวรับสารเคมี (chemoreceptors) และตัวรับแรงกล (mechanoreceptors) ตัวกระตุ้นภายในมักจะเป็นองค์ประกอบของระบบการธำรงดุล (homeostaticภาวะธำรงดุล (Homeostasis) เป็นคุณสมบัติของระบบหนึ่ง ๆ ที่ควบคุมสิ่งแวดล้อมภายในของระบบ และมักจะดำรงสภาวะที่สม่ำเสมอและค่อนข้างจะคงที่ขององค์ประกอบต่าง ๆ เช่นอุณหภูมิและค่าความเป็นกรด control system) ของร่างกาย ส่วนตัวกระตุ้นภายนอกสามารถก่อให้เกิดการตอบสนองแบบทั่วระบบของร่างกาย เช่นการตอบสนองโดยสู้หรือหนี (fight-or-flight response) การจะตรวจพบตัวกระตุ้นได้นั้นขึ้นอยู่กับระดับของตัวกระตุ้น คือต้องเกินระดับกระตุ้นขีดเริ่มเปลี่ยน (absolute thresholdในประสาทวิทยาและจิตฟิสิกส์ ระดับขีดเริ่มเปลี่ยนสัมบูรณ์ (absolute threshold) เป็นระดับที่ต่ำสุดของตัวกระตุ้นที่จะตรวจพบได้ แต่ว่า ในระดับนี้ สัตว์ทดลองบางครั้งก็ตรวจพบตัวกระตุ้น บางครั้งก็ไม่พบ ดังนั้น การจำกัดความอีกอย่างหนึ่งก็คือ ระดับของตัวกระตุ้นที่ต่ำที่สุดที่สามารถตรวจพบได้ 50% ในโอกาสทั้งหมดที่ตรวจ) ถ้าสัญญาณนั้นถึงระดับกระตุ้นขีดเริ่มเปลี่ยน ก็จะมีการส่งสัญญาณนั้นไปยังระบบประสาทกลาง ซึ่งเป็นระบบที่รวบรวมสัญญาณต่าง ๆ และตัดสินใจว่าจะตอบสนองต่อตัวกระตุ้นอย่างไร แม้ว่าร่างกายโดยสามัญจะตอบสนองต่อตัวกระตุ้น แต่จริง ๆ แล้ว ระบบประสาทกลางเป็นผู้ตัดสินใจในที่สุดว่า จะตอบสนองต่อตัวกระตุ้นนั้นหรือไม.

การครุ่นคิด (จิตวิทยา)และตัวกระตุ้น · การบําบัดทางความคิดและพฤติกรรมและตัวกระตุ้น · ดูเพิ่มเติม »

โรคย้ำคิดย้ำทำ

รคย้ำคิดย้ำทำ (Obsessive–compulsive disorder หรือ OCD) คือความผิดปกติทางจิตซึ่งทำให้ผู้ป่วยต้องตรวจสอบสิ่งรอบตัวซ้ำ ๆ, มีความคิดผุดขึ้นมา, หรือมีความรู้สึกอยากทำในสิ่งที่ทำไปแล้วซ้ำไปซ้ำมา --> ผู้ป่วยไม่สามารถควบคุมพฤติกรรมและความคิดของตนเองได้ --> พฤติกรรมซึ่งพบเห็นได้บ่อย อาทิ การล้างมือ, การนับสิ่งของ, การตรวจสอบว่าประตูล็อกแล้วหรือยัง --> บางรายรู้สึกยากลำบากในการทิ้งสิ่งของ --> โดยพฤติกรรมเหล่านี้ส่งผลเสียต่อชีวิตประจำวันของผู้ป่วย หลายครั้งพฤติกรรมเหล่านี้กินเวลาในแต่ละวันไม่น้อยกว่าหนึ่งชั่วโมง ผู้ใหญ่หลายคนรู้ตัวว่าพฤติกรรมของพวกเขาไม่มีเหตุผล ความเจ็บป่วยนั้นเกี่ยวเนื่องกับอาการกระตุกบนใบหน้า, โรควิตกกังวล และการฆ่าตัวต.

การครุ่นคิด (จิตวิทยา)และโรคย้ำคิดย้ำทำ · การบําบัดทางความคิดและพฤติกรรมและโรคย้ำคิดย้ำทำ · ดูเพิ่มเติม »

โรควิตกกังวล

รควิตกกังวล (Anxiety disorders) เป็นกลุ่มความผิดปกติทางจิตกำหนดโดยความวิตกกังวลและความกลัว ความวิตกกังวล (anxiety) เป็นความกังวลเกี่ยวกับเหตุการณ์ในอนาคตและความกลัว (fear) เป็นปฏิกิริยาต่อเหตุการณ์ปัจจุบัน --> ความรู้สึกเช่นนี้อาจทำให้เกิดอาการทางกาย เช่น หัวใจเต้นเร็วและตัวสั่น --> มีโรควิตกกังวลหลายอย่าง รวมทั้งโรควิตกกังวลไปทั่ว (GAD), โรคกลัว (phobia) ที่เฉพาะเจาะจง, โรคกลัวการเข้าสังคม (social anxiety disorder), โรควิตกกังวลเมื่อต้องแยก (separation anxiety disorder), โรคกลัวที่ชุมชน (agoraphobia), และโรคตื่นตระหนก (panic disorder) --> โดยโรคจะต่าง ๆ กันตามอาการ --> แต่คนไข้มักจะมีโรควิตกกังวลมากกว่าหนึ่งชนิด โรคมีปัจจัยจากกรรมพันธุ์และสิ่งแวดล้อม ปัจจัยเสี่ยงรวมทั้งประวัติถูกทารุณกรรมในวัยเด็ก ประวัติความผิดปกติทางจิตในครอบครัว และความยากจน --> โรคมักเกิดร่วมกับความผิดปกติทางจิตอื่น ๆ โดยเฉพาะโรคซึมเศร้า (MDD) ความผิดปกติทางบุคลิกภาพ (PD) และการเสพสารเสพติด (substance use disorder) เพื่อจะวินิจฉัยว่าเป็นโรค จะต้องมีอาการอย่างน้อย 6 เดือน มีความวิตกกังวลเกินเหตุ และมีปัญหาในการดำเนินชีวิต แต่ก็มีปัญหาทางจิตเวชและทางแพทย์อื่น ๆ ที่อาจมีอาการคล้าย ๆ กันรวมทั้งอาการไฮเปอร์ไทรอยด์, โรคหัวใจ, การเสพกาเฟอีน แอลกอฮอล์ และกัญชา, และการขาดยา (withdrawal) บางประเภท ถ้าไม่รักษา โรคมักจะไม่หาย การรักษารวมทั้งการเปลี่ยนสไตล์ชีวิต จิตบำบัด และการทานยา --> จิตบำบัดมักจะเป็นรูปแบบหนึ่งของการบำบัดโดยการปรับเปลี่ยนความคิดและพฤติกรรม (CBT) ยาเช่นยาแก้ซึมเศร้าหรือเบต้า บล็อกเกอร์ อาจช่วยให้อาการดีขึ้น คนประมาณ 12% มีโรคทุก ๆ ปี โดยเกิดในหญิงมากกว่าชาย 2 เท่า และทั่วไปเริ่มก่อนอายุ 25 ปี ประเภทโรคที่สามัญที่สุดคือโรคกลัวที่เฉพาะเจาะจงซึ่งเกิดในคน 12% และโรคกลัวการเข้าสังคม (SAD) ซึ่งเกิดในคน 10% ในช่วงหนึ่งในชีวิต --> โดยเกิดกับบุคคลอายุ 15-35 ปีมากที่สุด และเกิดขึ้นน้อยหลังถึงอายุ 55 ปี --> อัตราการเกิดดูจะสูงกว่าในสหรัฐอเมริกาและทวีปยุโรป สีหน้าของบุคคลที่มีความวิตกกังวลเรื้อรัง.

การครุ่นคิด (จิตวิทยา)และโรควิตกกังวล · การบําบัดทางความคิดและพฤติกรรมและโรควิตกกังวล · ดูเพิ่มเติม »

โรคซึมเศร้า

รคซึมเศร้า (major depressive disorder ตัวย่อ MDD) เป็นความผิดปกติทางจิตซึ่งทำให้ผู้ป่วยเกิดอารมณ์ซึมเศร้าอย่างน้อย 2 สัปดาห์ในแทบทุกสถานการณ์ มักเกิดร่วมกับการขาดความภูมิใจแห่งตน การเสียความสนใจในกิจกรรมที่ปกติทำให้เพลิดเพลินใจ อาการไร้เรี่ยวแรง และอาการปวดซึ่งไม่มีสาเหตุชัดเจน ผู้ป่วยอาจมีอาการหลงผิดหรือมีอาการประสาทหลอน ผู้ป่วยบางรายมีช่วงเวลาที่มีอารมณ์ซึมเศร้าห่างกันเป็นปี ๆ ส่วนบางรายอาจมีอาการตลอดเวลา โรคซึมเศร้าสามารถส่งผลกระทบในแง่ลบให้แก่ผู้ป่วยในหลาย ๆ เรื่อง เช่น ชีวิตส่วนตัว ชีวิตในที่ทำงานหรือโรงเรียน ตลอดจนการหลับ อุปนิสัยการกิน และสุขภาพโดยทั่วไป ผู้ป่วยโรคซึมเศร้าผู้ใหญ่ประมาณ 2–7% เสียชีวิตจากการฆ่าตัวตาย และประมาณ 60% ของผู้ฆ่าตัวตายกลุ่มนี้มีโรคซึมเศร้าร่วมกับความผิดปกติทางอารมณ์ชนิดอื่น คำว่า ความซึมเศร้า สามารถใช้ได้หลายทาง คือ มักใช้เพื่อหมายถึงกลุ่มอาการนี้ แต่อาจหมายถึงความผิดปกติทางจิตอื่นหรือหมายถึงเพียงภาวะซึมเศร้าก็ได้ โรคซึมเศร้าเป็นภาวะทำให้พิการ (disabling) ซึ่งมีผลเสียต่อครอบครัว งานหรือชีวิตโรงเรียน นิสัยการหลับและกิน และสุขภาพโดยรวมของบุคคล ในสหรัฐอเมริกา ราว 3.4% ของผู้ป่วยโรคซึมเศร้าฆ่าตัวตาย และมากถึง 60% ของผู้ที่ฆ่าตัวตายนั้นมีภาวะซึมเศร้าหรือความผิดปกติทางอารมณ์อย่างอื่น ในประเทศไทย โรคซึมเศร้าเป็นความผิดปกติทางจิตที่พบมากที่สุด (3.7% ที่เข้าถึงบริการ) เป็นโรคที่สร้างภาระโรค (DALY) สูงสุด 10 อันดับแรกโดยเป็นอันดับ 1 ในหญิง และอันดับ 4 ในชาย การวินิจฉัยโรคซึมเศร้าอาศัยประสบการณ์ที่รายงานของบุคคลและการทดสอบสภาพจิต ไม่มีการทดสอบทางห้องปฏิบัติการสำหรับโรคซึมเศร้า ทว่า แพทย์อาจส่งตรวจเพื่อแยกภาวะทางกายซึ่งสามารถก่อให้เกิดอาการคล้ายกันออก ควรแยกโรคซึมเศร้าจากความเศร้าซึ่งเป็นธรรมดาของชีวิตและไม่รุนแรงเท่า มีการตั้งชื่อ อธิบาย และจัดกลุ่มอาการซึมเศร้าว่าเป็นความผิดปกติทางอารมณ์ (mood disorder) ในคู่มือการวินิจฉัยและสถิติสำหรับความผิดปกติทางจิตปี 2523 ของสมาคมจิตแพทย์อเมริกัน คณะทำงานบริการป้องกันสหรัฐ (USPSTF) แนะนำให้คัดกรองโรคซึมเศร้าในบุคคลอายุมากกว่า 12 ปี แต่บทปฏิทัศน์คอเครนก่อนหน้านี้ไม่พบหลักฐานเพียงพอสำหรับการคัดกรองโรค โดยทั่วไป โรคซึมเศร้ารักษาได้ด้วยจิตบำบัดและยาแก้ซึมเศร้า ดูเหมือนยาจะมีประสิทธิภาพ แต่ฤทธิ์อาจสำคัญเฉพาะในผู้ที่ซึมเศร้ารุนแรงมาก ๆ เท่านั้น ไม่ชัดเจนว่ายาส่งผลต่อความเสี่ยงการฆ่าตัวตายหรือไม่ ชนิดของจิตบำบัดที่ใช้มีการบำบัดทางความคิดและพฤติกรรม (cognitive behavioral therapy) และการบำบัดระหว่างบุคคล หากมาตรการอื่นไม่เป็นผล อาจทดลองให้การรักษาทางจิตเวชด้วยไฟฟ้า (ECT) อาจจำเป็นต้องให้ผู้ป่วยที่มีควมเสี่ยงทำร้ายตนเองเข้าโรงพยาบาลแม้บางทีอาจขัดต่อความประสงค์ของบุคคล ความเข้าใจถึงธรรมชาติและสาเหตุของความซึมเศร้าได้พัฒนาขึ้นเรื่อย ๆ แม้ว่าจะยังไม่สมบูรณ์และยังมีประเด็นมากมายที่ยังต้องวิจัย เหตุที่เสนอรวมทั้งเป็นปัญหาทางจิต ทางจิต-สังคม ทางกรรมพันธุ์ ทางวิวัฒนาการ และปัจจัยอื่น ๆ ทางชีวภาพ การใช้สารเสพติดเป็นเวลานานอาจเป็นเหตุหรือทำอาการเศร้าซึมให้แย่ลง การบำบัดทางจิตอาศัยทฤษฎีต่าง ๆ เกี่ยวกับบุคลิกภาพ การสื่อสารระหว่างบุคคล และการเรียนรู้ ทฤษฎีทางชีววิทยามักจะพุ่งความสนใจไปที่สารสื่อประสาทแบบโมโนอะมีน คือ เซโรโทนิน นอร์เอพิเนฟริน และโดพามีน ซึ่งมีอยู่ตามธรรมชาติในสมองและช่วยการสื่อสารระหว่างเซลล์ประสาท.

การครุ่นคิด (จิตวิทยา)และโรคซึมเศร้า · การบําบัดทางความคิดและพฤติกรรมและโรคซึมเศร้า · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง การครุ่นคิด (จิตวิทยา)และการบําบัดทางความคิดและพฤติกรรม

การครุ่นคิด (จิตวิทยา) มี 17 ความสัมพันธ์ขณะที่ การบําบัดทางความคิดและพฤติกรรม มี 71 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 8, ดัชนี Jaccard คือ 9.09% = 8 / (17 + 71)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง การครุ่นคิด (จิตวิทยา)และการบําบัดทางความคิดและพฤติกรรม หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »