การขอฝนและปลาช่อน
ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง
ความแตกต่างระหว่าง การขอฝนและปลาช่อน
การขอฝน vs. ปลาช่อน
การขอฝน เป็นประเพณีและพิธีกรรมที่มีมาอย่างยาวนาน เกี่ยวกับสังคมเกษตรกรรม ที่อยู่ในหลายชนชาติ และหลายวัฒนธรรม เมื่อฝนฟ้าไม่ตกต้องตามฤดูกาล หรือต้องการน้ำในการทำการเกษตร888 ในรัสเซีย หมู่บ้านแห่งหนึ่งใกล้เมืองดอร์ปาท ให้ผู้ชายสามคนปีนขึ้นต้นเฟอร์ คนหนึ่งถือค้อนเคาะถังเล็ก ๆ ทำเป็นเสียงฟ้าร้อง คนที่สองถือดุ้นฟืนติดไฟสองดุ้น เคาะให้กระทบกัน ไฟจะแตกกระจาย คล้ายฟ้าแลบ คนที่สามถือที่ใส่น้ำ ขึ้นไปโปรยไปมารอบต้นไม้ คล้ายกับว่าฝนได้ตกลงมาแล้ว ที่ตำบลฮิตาคิ ในประเทศญี่ปุ่น ผู้คนจะพากันไปขอน้ำศักดิ์สิทธิ์ที่ศาลราอิชิน เอาน้ำใส่กระบอกไม้ไผ่กลับหมู่บ้าน จะหยุดพักไม่ได้ เชื่อกันว่าหยุดที่ใดฝนจะตกที่นั่น บางแห่งจะตั้งขบวนไปขอไฟจากพระในวัดบนภูเขา สวดอ้อนวอนแล้ว เอาไฟไปโบกตามทุ่งนา เชื่อว่าจะทำให้ฝนจะตกเหมือนกัน และที่หมู่บ้านริมทะเลสาบรอบภูเขาฟูจี นับถือทะเลสาบว่าศักดิ์สิทธิ์ ไม่เอาของสกปรกไปทิ้ง แต่เมื่อต้องการฝนตก จะเอาเอากระดูกวัวกระดูกควายโยนลงทะเลสาบ เชื่อกันว่าจะทำให้เทพเจ้าโกรธ บันดาลฝนให้ตก ที่หมู่บ้านนิโนเฮ ถือขวดเหล้าสาเกไปถวายพระที่ศาลเจ้าโกเงน บนภูเขาโอริซูเน เมื่อพระดื่มเหล้าสาเกแล้ว ก็จะช่วยกันจับพระไปผลักตกบ่อน้ำ เมื่อเห็นพระตะเกียกตะกายขึ้น ก็จะช่วยกันผลักให้ตกลงไปอีก เพราะเชื่อว่าเทพเจ้าไม่อยากเห็นพระทรมาน จึงจะรีบบันดาลให้ฝนตก. ปลาช่อน ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง อยู่ในวงศ์ปลาช่อน (Channidae) มีส่วนหัวค่อนข้างโต รูปร่างทรงกระบอกยาว ครีบหางเรียวปลายมน ปากกว้าง ภายในปากมีฟันเขี้ยวบนเพดาน ลำตัวสีคล้ำอมมะกอกหรือน้ำตาลอ่อน มีลายเส้นทแยงสีคล้ำตลอดทั้งลำตัว 6-7 เส้น ด้านท้องสีจางตัดกับด้านบน ครีบสีคล้ำมีขอบสีเหลืองอ่อน ครีบท้องจาง มีขนาดลำตัวประมาณ 30-40 เซนติเมตร ใหญ่สุดได้ถึง 1 เมตร โดยปลาช่อนชนิดนี้มีความพิเศษไปกว่าปลาช่อนชนิดอื่น ๆ คือ สามารถแถกไถตัวคืบคลานไปบนบกเพื่อหาที่อยู่ใหม่ได้ รวมทั้งสามารถหลบอยู่ใต้ดินในฤดูฝนแล้งเพื่อรอฝนมาได้เป็นแรมเดือน โดยสะสมพลังงานและไขมันไว้ ที่เรียกว่า "ปลาช่อนจำศีล" พบอาศัยอยู่ในแหล่งน้ำทั่วประเทศไทย พบไปจนถึงเอเชียใต้, พม่าและอินโดนีเซีย นิยมนำมาบริโภค ปรุงเป็นอาหารได้หลากหลายทั้งสดและตากแห้ง เป็นปลาน้ำจืดเศรษฐกิจที่สำคัญจนอาจเรียกได้ว่าเป็นปลาน้ำจืดเศรษฐกิจอันดับหนึ่ง เลี้ยงได้ทั้งในบ่อและกระชังตามริมแม่น้ำ นอกจากนี้ยังนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามด้วย โดยเฉพาะตัวที่สีกลายเป็นสีเผือกหรือปลาที่พิการตัวสั้นกว่าปกติ ปลาช่อนในบางพื้นที่ เช่น ที่จังหวัดสิงห์บุรี ขึ้นชื่อมาก เรียกกันว่า "ปลาช่อนแม่ลา" มีประเพณีพื้นถิ่นคือเทศกาลกินปลา โดยลักษณะเฉพาะของปลาช่อนแม่ลา คือ มีครีบหูหรือครีบอกสีชมพู ส่วนหางจะมีลักษณะมนเหมือนใบพัด ลำตัวอ้วน แต่หัวหลิม ไม่เหมือนปลาช่อนทั่วไป โดยเป็นปลาช่อนที่อาศัยอยู่ในแม่น้ำลา อยู่ระหว่างแม่น้ำเจ้าพระยากับแม่น้ำน้อย ในเขตจังหวัดสิงห์บุรี เป็นแหล่งน้ำที่น้ำนิ่ง มีความอุดมสมบูรณ์ของแหล่งอาหารตามธรรมชาติ ใต้ท้องน้ำปกคลุมไปด้วยพืชน้ำและวัชพืช ทำให้น้ำเย็น ดินก้นลำน้ำยังเป็นโคลนตมที่มีอินทรียวัตถุ แร่ธาตุที่ไหลมารวมกัน สิ่งเหล่านี้เป็นปัจจัยที่ทำให้ปลาช่อนแม่ลาถึงมีรสชาติดีกว่าปลาช่อนที่อื่น ๆ ซึ่งปัจจุบันด้วยสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไป มีการสร้างเขื่อนและประตูเปิด-ปิดน้ำ ทำให้แม่น้ำลาตื้นเขิน ปลาช่อนแม่ลาที่เคยขึ้นชื่อใกล้จะสูญพันธุ์ แต่ปัจจุบัน กรมประมงสามารถเพาะขยายพันธุ์ได้แล้ว และมีการปล่อยคืนสู่ธรรมชาติเพื่อเป็นการอนุรักษ์ ปลาช่อน มีชื่อเรียกตามภาษาถิ่นในแต่ละภาคว่า "ปลาหลิม" ในภาษาเหนือ "ปลาค้อ" หรือ "ปลาก๊วน" ในภาษาอีสาน เป็นต้น และเมื่อไม่นานมานี้มีการค้นพบว่าเนื้อปลาช่อนมีสารที่เป็นส่วนหนึ่งของคอลลาเจน มีฤทธิในการห้ามเลือดและระงับความเจ็บปวดได้คล้ายมอร์ฟีน จึงเหมาะอย่างยิ่งแก่การปรุงเป็นอาหารของผู้ป่วยหรือผู้ที่เพิ่งได้รับการผ่าตัด นอกจากนี้แล้วในหลายพื้นที่ของไทย เช่น อำเภอศรีเทพ จังหวัดเพชรบูรณ์, อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา รวมถึงในพื้นที่ตำบลหัวดวง อำเภอเมือง จังหวัดพิจิตร และอำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ มีความเชื่อของผู้คนที่อาศัยอยู่ที่นั้นว่า ปลาช่อนสามารถขอฝนได้ โดยต้องทำตามพิธีตามแบบแผนโบราณ ซึ่งจะกระทำกันในช่วงเกิดภาวะแห้งแล้ง ด้วยการเจริญพระพุทธมนต์ของพระสงฆ์เบื้องหน้าองค์พระประธาน และมีการโยงสายสิญจน์กับอ่างที่มีปลาช่อน 9 ตัว และสวดคาถาปลาช่อน เชื่อกันว่าระหว่างทำพิธี หากปลาช่อนดิ้นกระโดดขึ้นมา เป็นสัญญาณว่าฝนจะตกลงมาในเร็ววันนี้ นอกจากนี้แล้ว ที่อินเดียก็มีความเชื่อและพิธีกรรมที่คล้ายคลึงแบบนี้เหมือนกัน.
ความคล้ายคลึงกันระหว่าง การขอฝนและปลาช่อน
การขอฝนและปลาช่อน มี 0 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย)
รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้
- สิ่งที่ การขอฝนและปลาช่อน มีเหมือนกัน
- อะไรคือความคล้ายคลึงกันระหว่าง การขอฝนและปลาช่อน
การเปรียบเทียบระหว่าง การขอฝนและปลาช่อน
การขอฝน มี 8 ความสัมพันธ์ขณะที่ ปลาช่อน มี 33 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 0, ดัชนี Jaccard คือ 0.00% = 0 / (8 + 33)
การอ้างอิง
บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง การขอฝนและปลาช่อน หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่: