เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

การก่อความไม่สงบและการดื้อแพ่ง

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง การก่อความไม่สงบและการดื้อแพ่ง

การก่อความไม่สงบ vs. การดื้อแพ่ง

การก่อความไม่สงบ (civil disorder, civil unrest หรือ civil strife) เป็นคำในความหมายกว้างซึ่งใช้โดยฝ่ายบังคับใช้กฎหมายในการอธิบายรูปแบบของการก่อให้เกิดความวุ่นวายของกลุ่มบุคคลตั้งแต่หนึ่งรูปแบบขึ้นไป การก่อความวุ่นวายของประชาชนเป็นเครื่องแสดงและเป็นรูปแบบหนึ่งของการประท้วงต่อปัญหาทางการเมืองและสังคมขนาดใหญ่ ความรุนแรงของพฤติการณ์เกิดขึ้นพร้อมกับการแสดงออกถึงความไม่พอใจของสาธารณะ ตัวอย่างของการก่อความไม่สงบเช่น การเดินขบวนประท้วงผิดกฎหมาย การยึดพื้นที่ประท้วง และการกีดขวางในรูปแบบอื่น การจลาจล การก่อวินาศกรรม และรูปแบบของอาชญากรรมอื่น ๆ การก่อความไม่สงบมีเจตนาที่จะเป็นการแสดงออกถึงสาธารณชนและรัฐบาล แต่ได้บานปลายจนกลายมาเป็นความสับสนอลหม่านโดยทั่วไป. การดื้อแพ่ง หรือ การขัดขืนอย่างสงบ (civil disobedience) หรือ "อารยะขัดขืน" เป็นรูปแบบการต่อต้านทางการเมืองอย่างสงบเพื่อกดดันให้รัฐบาลเปลี่ยนแปลงสถานภาพทางการเมืองที่เป็นอยู่ ในอดีต มีการใช้แนวทางดื้อแพ่งในการเคลื่อนไหวเพื่อต่อต้านอังกฤษในประเทศอินเดีย ในการต่อสู้กับการแบ่งแยกสีผิวในแอฟริกาใต้ ในการเคลื่อนไหวด้านสิทธิพลเมืองของอเมริกา และในยุโรป รวมถึงประเทศแถบสแกนดิเนเวียในการต่อต้านการยึดครองของนาซี แนวคิดนี้ริเริ่มโดยเฮนรี เดวิด ธอโร นักเขียนชาวอเมริกันในบทความชื่อดื้อแพ่ง ในชื่อเดิมว่า การต่อต้านรัฐบาลพลเมือง ซึ่งแนวคิดที่ผลักดันบทความนี้ก็คือการพึ่งตนเอง และการที่บุคคลจะมีจุดยืนที่ถูกต้องเมื่อพวกเขา "ลงจากหลังของคนอื่น" นั่นคือ การต่อสู้กับรัฐบาลนั้นประชาชนไม่จำเป็นต้องต่อสู้ทางกายภาพ แต่ประชาชนจะต้องไม่ให้การสนับสนุนรัฐบาลหรือให้รัฐบาลสนับสนุนตน (ถ้าไม่เห็นด้วยกับรัฐบาล) บทความนี้มีอิทธิพลอย่างมากต่อผู้ที่ยึดแนวทางดื้อแพ่งนี้ ในบทความนี้ทอโรอธิบายเหตุผลที่เขาไม่ยอมจ่ายภาษีเพื่อเป็นการประท้วงระบบทาสและสงครามเม็กซิกัน-อเมริกัน เพื่อที่จะแสดงออกถึงดื้อแพ่ง ผู้ขัดขืนอาจเลือกที่จะฝ่าฝืนกฎหมายใดเป็นการเฉพาะ เช่น กีดขวางทางสัญจรอย่างสงบ หรือเข้ายึดครองสถานที่อย่างผิดกฎหมาย ผู้ประท้วงกระทำการจลาจลอย่างสันติเหล่านี้ โดยคาดหวังว่าพวกตนจะถูกจับกุม หรือกระทั่งถูกทำร้ายร่างกายโดยเจ้าหน้าที.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง การก่อความไม่สงบและการดื้อแพ่ง

การก่อความไม่สงบและการดื้อแพ่ง มี 0 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย)

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง การก่อความไม่สงบและการดื้อแพ่ง

การก่อความไม่สงบ มี 7 ความสัมพันธ์ขณะที่ การดื้อแพ่ง มี 30 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 0, ดัชนี Jaccard คือ 0.00% = 0 / (7 + 30)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง การก่อความไม่สงบและการดื้อแพ่ง หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่: