โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

การกล้ำสัญญาณและการมัลติเพล็กซ์แบบแบ่งความถี่

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง การกล้ำสัญญาณและการมัลติเพล็กซ์แบบแบ่งความถี่

การกล้ำสัญญาณ vs. การมัลติเพล็กซ์แบบแบ่งความถี่

การกล้ำสัญญาณ หรือ (Modulation) ในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์และ โทรคมนาคม การ(ควบ)กล้ำสัญญาณเป็นกระบวนการของการปรับเปลี่ยนลักษณะสมบัติอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายๆอย่างของรูปสัญญาณคลื่นพาห์(สัญญาณที่เป็นตัวขนส่งความถี่สูง)ด้วยสัญญาณข้อมูลที่จะถูกส่งผ่าน เช่น กระแสบิตดิจิตอล(digital bit stream)หรือสัญญาณเสียงอนาล็อก การกล้ำสัญญาณรูปคลื่นไซน์จะแปลงสัญญาณข้อความ baseband เป็นสัญญาณ passband โมดูเลเตอร์เป็นอุปกรณ์กล้ำสัญญาณ, demodulator(บางครั้งเรียกว่า demod) เป็นอุปกรณ์ที่ทำงานตรงกันข้ามกับการกล้ำส้ญญาณ, โมเด็ม(จาก modulator-demodulator) สามารถทำงานได้ทั้งสองอย่าง จุดมุ่งหมายของการกล้ำสัญญาณดิจิตอลคือการโอนย้ายกระแสบิตดิจิตอลผ่านช่อง bandpass แอนะล็อก ตัวอย่างเช่นผ่านทางเครือข่ายโทรศัพท์ (PSTN) (ที่ซึ่งตัวกรอง bandpass จะจำกัดช่วงความถี่ไว้ที่ 300-3400 Hz ซึ่งเป็นความถี่เสียงที่มนุษย์ได้ยิน)เช่นบริการ ADSL หรือ ผ่านทางแถบความถี่วิทยุที่มีอยู่อย่างจำกัด จุดมุ่งหมายของการกล้ำสัญญาณอะนาล็อกคือการโอนย้ายสัญญาณแอนะล็อก baseband (หรือ lowpass) เช่นสัญญาณเสียงหรือสัญญาณทีวี ผ่านช่องทาง bandpass แบบอะนาล็อกที่ความถี่ที่แตกต่างกันเช่นในช่วงแถบความถี่วิทยุที่จำกัดหรือช่องทางเครือข่ายเคเบิลทีวี การกล้ำสัญญาณแอนะล็อกและดิจิตอลช่วยอำนวยความสะดวกในการมัลติเพล็กซ์แบบแบ่งความถี่(Frequency Division Multiplex) หรือ FDM ที่หลายๆสัญญาณข้อมูลความถี่ต่ำที่ผ่านการกรองมาแล้วจะถูกโอนพร้อมกันผ่านทางสื่อทางกายภาพเดียวกันที่ใช้ร่วมกัน โดยการใช้ช่อง passband แยกจากกัน (หลายความถี่คลื่นพาหะที่แตกต่างกัน) จุดมุ่งหมายของวิธีการกล้ำสัญญาณดิจิทัล baseband หรือที่เรียกว่า line coding ก็เพื่อที่จะถ่ายโอนกระแสบิตดิจิตอลผ่านช่องทางเบสแบนด์ โดยทั่วไปก็คือลวดทองแดงที่ไม่กรอง เช่นบัสแบบอนุกรมหรือสายแลน จุดมุ่งหมายของวิธีกล้ำสัญญาณกระตุก()ก็เพื่อที่จะถ่ายโอนสัญญาณอนาล็อกแบนด์แคบ เช่น สัญญาณเสียงพูดโทรศัพท์ ผ่านช่องสัญญาณ baseband แถบกว้าง หรือในบางรูปแบบส่งผ่านเหมือนเป็นกระแสบิตผ่านระบบการส่งผ่านดิจิตอลอื่น ในตัวสังเคราะห์เพลง, การกล้ำสัญญาณอาจถูกใช้ในการสังเคราะห์รูปคลื่นต่างๆ ด้วยคลื่น ความถี่เสียงกว้างโดยการใช้ oscillator จำนวนน้อย ในกรณีนี้ความถี่คลื่นพาหะโดยทั่วไปจะ อยู่ในลำดับเดียวกันหรือต่ำกว่าสัญญาณที่มากล้ำมากๆ ดูตัวอย่าง frequency modulation synthesis หรือ ring modulation synthesis. การมัลติเพล็กซ์แบบแบ่งความถี่ (Frequency-division multiplexing: FDM) คือ การส่งสัญญาณจากผู้ส่งหรือสถานีส่งจำนวนหลายๆ สถานีไปในช่องสัญญาณเดียวกัน ด้วยการใช้เทคนิคแบบอะนาล็อกที่เกี่ยวกับช่องสัญญาณของสื่อนำสัญญาณ โดยสัญญาณต่างๆ จะสร้างขึ้นด้วยการมอดูเลตกับพาหะที่มีความถี่ต่างกัน กล่าวคือ เป็นการแบ่งความถี่ของช่องสัญญาณของสื่อนำสัญญาณออกเป็นช่องสัญญาณหรือช่องความถี่ย่อยๆ (Sub Channel) สำหรับนำข้อมูลของแต่ละสถานีส่ง ซึ่งแต่ละสถานีส่งจะส่งข้อมูลภายในช่องสัญญาณหรือความถี่ที่ได้รับเท่านั้น และระหว่างช่องความถี่จะมีการ์ดแบนด์ (Guard Band) เพื่อป้องกันไม่แต่ละช่องความถี่เกิดการแทรกแซงสัญญาณระหว่างกัน ตัวอย่างของการมัลติเพล็กซ์แบบแบ่งความถี่ เช่น การส่งสัญญาณคลื่นวิทยุกระจายเสียง โทรทัศน์ โทรศัพท์เซลลูลาร์แบบอนาล็อก และเพจเจอร์ บริเวณสถานีส่งจะมีอุปกรณ์มัลติเพล็กเซอร์ (Multiplexer) ซึ่งทำหน้าที่ในการรับสัญญาณข้อมูลจากสถานีส่งแต่ละสถานี และส่งสัญญาณไปยังย่านความถี่ของสถานีต่างๆ ผ่านสายส่งเพื่อไปยังสถานีปลายทาง ในขณะที่สถานีปลายทางจะมีอุปกรณ์ที่เรียกว่าดีมัลติเพล็กเซอร์ (Demultiplexer) ซึ่งจะทำการแยกสัญญาณคืนกลับตามย่านความถี่ให้สอดคลองกับสถานีต้นทาง สำหรับตัวกลางหรือช่องทางที่ใช้สื่อสารร่วมกัน (Shared Channel) นั้นสามารถเป็นได้ทั้งสายเคเบิลชนิดต่าง รวมถึงคลื่นวิทยุไมโครเวฟ.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง การกล้ำสัญญาณและการมัลติเพล็กซ์แบบแบ่งความถี่

การกล้ำสัญญาณและการมัลติเพล็กซ์แบบแบ่งความถี่ มี 0 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย)

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง การกล้ำสัญญาณและการมัลติเพล็กซ์แบบแบ่งความถี่

การกล้ำสัญญาณ มี 7 ความสัมพันธ์ขณะที่ การมัลติเพล็กซ์แบบแบ่งความถี่ มี 4 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 0, ดัชนี Jaccard คือ 0.00% = 0 / (7 + 4)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง การกล้ำสัญญาณและการมัลติเพล็กซ์แบบแบ่งความถี่ หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »