โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

กางเขนและเรขลักษณ์ในมุทราศาสตร์

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง กางเขนและเรขลักษณ์ในมุทราศาสตร์

กางเขน vs. เรขลักษณ์ในมุทราศาสตร์

กางเขนแบบที่ง่ายที่สุดเรียกว่ากางเขนละติน หรือ “crux ordinaria” ที่เป็นสัญลักษณ์ของการตรึงพระเยซูที่กางเขนตามความเชื่อในคริสต์ศาสนา กางเขน (Cross) เป็นเครื่องหมายทรงเรขาคณิตที่ประกอบด้วยแกนสองแกนตัดเป็นมุมฉากกัน ตามปกติแล้วแกนจะเป็นแนวตั้งขวางกับแนวนอน แต่ถ้าตัดทแยงกันก็จะเรียกว่ากางเขนไขว้ หรือ กางเขนนักบุญอันดรูว์ กางเขนเป็นสัญลักษณ์ที่เก่าแก่ที่สุดที่ใช้โดยมนุษย์ และใช้เป็นสัญลักษณ์ศาสนาหลายศาสนาที่รวมทั้งคริสต์ศาสนา กางเขนบ่อยครั้งจะเป็นสัญลักษณ์ของธาตุหลักทั้ง 4 ของโลก (เชวาลิเย์, ค.ศ. 1997) หรืออีกความหมายหนึ่งคือความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของเทพที่เป็นแกนตั้งและโลกที่คือแกนนอน (คอค, ค.ศ. 1955). รขลักษณ์ หรือ เรขลักษณ์มาตรฐาน (Ordinary หรือ honourable ordinary) ในมุทราศาสตร์ “เรขลักษณ์” คือองค์ประกอบหนึ่งของตราอาร์มที่เป็นรูปทรงเรขาคณิตง่ายๆ ที่อยู่ในกรอบของเส้นตรงและแล่นจากด้านหนึ่งของตราไปยังอีกด้านหนึ่ง หรือจากตอนบนลงมายังตอนล่างของโล่ นอกจากนั้นก็ยังมีกลุ่มเครื่องหมายที่เรียกว่า “เรขลักษณ์พิเศษ” (subordinary) ที่ให้ความสำคัญรองลงมาโดยนักวิชาการทางมุทราศาสตร์บางคน แต่เครื่องหมายในกลุ่มนี้ก็ใช้กันมานานพอกับเรขลักษณ์มาตรฐาน เรขลักษณ์มาตรฐานตามทฤษฎีแล้วจะใช้เนื้อที่หนึ่งในสามของโล่ แต่ตามความเป็นจริงแล้วก็จะใช้เนื้อที่แตกต่างกันไป นอกจากเมื่อเรขลักษณ์เป็นสิ่งเดียวที่ใช้เป็นเครื่องหมาย เช่นในตราแผ่นดินของออสเตรียก็จะมีขนาดต่างออกไป คำว่า “เรขลักษณ์มาตรฐาน” และคำว่า “เรขลักษณ์พิเศษ” เป็นคำที่สร้างความขัดแย้งในหมู่นักมุทราศาสตร์ เพราะเป็นการใช้เรขลักษณ์ที่ไม่มีมาตรฐานและการใช้ก็ไม่ตรงกัน ฉะนั้นการใช้คำทั้งสองจึงไม่ได้รับการสนับสนุนโดยนักวิชาการทางด้านมุทราศาสตร์ อาร์เธอร์ ชาร์ลส์ ฟ็อกซ์-เดวีส์ (Arthur Charles Fox-Davies) ในหนังสือ Complete Guide to Heraldry (คู่มือมุทราศาสตร์ฉบับสมบูรณ์) ที่เขียนในปี..

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง กางเขนและเรขลักษณ์ในมุทราศาสตร์

กางเขนและเรขลักษณ์ในมุทราศาสตร์ มี 11 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): พื้นตรา (มุทราศาสตร์)มุทราศาสตร์สัญลักษณ์ดอกลิลลีสีทอง (มุทราศาสตร์)สีน้ำเงิน (มุทราศาสตร์)ธัชวิทยาธงชาติสกอตแลนด์ตราอาร์มนิยามของตราโล่ (มุทราศาสตร์)เครื่องหมาย (มุทราศาสตร์)

พื้นตรา (มุทราศาสตร์)

ื้นตรา (Field) ในมุทราศาสตร์พื้นตราคือสีพื้นของตราอาร์ม ที่มักจะประกอบด้วยผิวตรา หนึ่งหรือสองสีที่อาจจะเป็น (สี หรือ โลหะ) หรือ ขนสัตว์ (Heraldic fur) พื้นตราอาจจะแบ่งเป็นช่องตรา (Division of the field) ที่อาจจะเป็นลักษณะลวดลาย (Variation of the field) ในบางกรณีที่ไม่บ่อยนักพื้นตราหรือช่องตราจะไม่มีรงคตรา แต่จะเป็นภูมิทัศน์ พื้นตราที่เป็นภูมิทัศน์ถือกันโดยนักมุทราศาสตร์ว่าไม่ถูกต้องตามหลักมุทราศาสตร์และทำให้ลดค่าลง เพราะเป็นขัดกับหลักมุทราศาสตร์ที่ว่าตราต้องเป็นลวดลายที่ง่าย เป็นรูปที่มีสีจัด และไม่อาจจะนำมาจากคำนิยามได้ ตัวอย่างดังกล่าวก็ได้แก่ตราอาร์มของเคานท์เซซาเร ฟานี ที่ตรงกับคำนิยามของตราที่ว่า "sky proper" หรือตราของอินเวอราเรย์ และสภาดิสตริคท์คอมมินิตี้ในสกอตแลนด์มีพื้นตราเป็น "คลื่นทะเล".

กางเขนและพื้นตรา (มุทราศาสตร์) · พื้นตรา (มุทราศาสตร์)และเรขลักษณ์ในมุทราศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

มุทราศาสตร์

รื่องยอด มุทราศาสตร์ (heraldry) เป็นอาชีพ, สาขาวิชา หรือศิลปะของการออกแบบ การมอบ และการให้นิยามของตราอาร์ม และ การวางกฎที่เกี่ยวกับศักดิ์หรือข้อกำหนดของพิธีการใช้ที่ควบคุมโดยเจ้าหน้าที่ตราอาร์ม (officer of arms) คำว่า “heraldry” มาจากภาษาแองโกล-นอร์มันว่า “herald” ที่มีรากมาจากคำสมาทของภาษาเจอร์มานิค “*harja-waldaz” ที่แปลว่า “ผู้นำทัพ”Appendix I. koro-.

กางเขนและมุทราศาสตร์ · มุทราศาสตร์และเรขลักษณ์ในมุทราศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

สัญลักษณ์ดอกลิลลี

ตราเฟลอร์เดอลีส์ หรือตราดอกลิลลี สัญลักษณ์ดอกลิลลี หรือ เฟลอร์เดอลี (Fleur-de-lis) เป็นสัญลักษณ์ที่แปลงมาจากดอกลิลลีหรือดอกไอริสที่ใช้ในการตกแต่งและการเป็นสัญลักษณ์ หรืออาจจะเป็นได้ทั้งสัญลักษณ์ทางการเมือง, ทางการสืบเชื้อสาย, ทางศิลปะ, ทางการเป็นตรา และการเป็นสัญลักษณ์ในขณะเดียวกัน โดยเฉพาะในการใช้เป็นตราประจำตระกูล ขณะที่สัญลักษณ์ดอกลิลลีเป็นที่ใช้กันโดยทั่วไปในยุโรปในตราอาร์มและธงมาเป็นเวลาหลายร้อยปี แต่สัญลักษณ์ดอกลิลลีมักจะเป็นสัญลักษณ์ที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับพระมหากษัตริย์ฝรั่งเศสในทางประวัติศาสตร์ นอกจากนั้นการใช้สัญลักษณ์นี้ก็ยังปรากฏในตราของพระมหากษัตริย์สเปน และในตราของแกรนด์ดยุคแห่งลักเซ็มเบิร์ก และของสมาชิกในราชวงศ์บูร์บอง สัญลักษณ์ดอกลิลลีเป็นตราที่ใช้กันตลอดมาของสัญลักษณ์ของความเป็นฝรั่งเศสและปรากฏบนแสตมป์ แต่ก็ไม่ได้รับให้ใช้เป็นสัญลักษณ์โดยสาธารณรัฐฝรั่งเศส ในทวีปอเมริกาเหนือสัญลักษณ์ดอกลิลลีมักจะใช้กับบริเวณที่เดิมเป็นที่ตั้งถิ่นฐานโดยชาวฝรั่งเศสเช่นในรัฐควิเบกในแคนาดา และรัฐลุยเซียนาในสหรัฐอเมริกา และในจังหวัดที่พูดภาษาฝรั่งเศสในแคนาดา สัญลักษณ์ดอกลิลลีใช้เป็นสัญลักษณ์ของเมืองฟลอเรนซ์และในชลีเร็นในสวิตเซอร์แลนด์ ในสหราชอาณาจักรสัญลักษณ์ดอกลิลลีปรากฏในตราอาร์มอย่างเป็นทางการของนอร์รอยและอัลสเตอร์เป็นเวลาหลายร้อยปี.

กางเขนและสัญลักษณ์ดอกลิลลี · สัญลักษณ์ดอกลิลลีและเรขลักษณ์ในมุทราศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

สีทอง (มุทราศาสตร์)

ีทองทางซ้าย หรือ ลายประ ตราแผ่นดินของนอร์เวย์ สีทอง หรือ ออร์ (Or (heraldry)) เป็นภาษามุทราศาสตร์ (Heraldry) ที่บรรยายลักษณะของผิวตรา (Tincture) ที่เป็นสีทอง ที่อยู่ในกลุ่มผิวตราสีอ่อนที่เรียกว่ากลุ่ม “โลหะ” ถ้าเป็นการแกะพิมพ์ (engraving) “ทอง” ก็จะเป็นลายประที่เป็นจุดห่างจากกันเท่าๆ กัน “ออร์” มักจะปรากฏเป็นสีเหลือง แต่บางทีก็ใช้ทองคำเปลวถ้าเป็นภาพในหนังสือวิจิตร หรืออาจจะจารึกด้วยอักษรย่อ “Or (heraldry)” ของคำว่า “Or (heraldry)” คำว่า “Or” มาจากภาษาฝรั่งเศส ว่า “Or” ที่แปลว่า “ทอง” บางครั้งก็จะใช้คำว่า “Gold” แทนที่จะใช้คำว่า “Or” ในการให้นิยามของตรา บางครั้งเพื่อป้องกันการใช้คำว่า “Or” ซ้ำกันหลายครั้ง หรือเพราะเป็นคำที่นิยมใช้กันเมื่อทำการบันทึก หรือเจ้าหน้าที่ผู้บันทึกนิยามอาจจะนิยมใช้คำว่า “Gold” มากกว่า อักษร “O” ของ “Or” มักจะสะกดด้วยอักษรตัวใหญ่ เช่นในคำนิยาม Gules, a fess Or (พื้นตราสีแดง, แถบขวางสีทอง) เพื่อไม่ให้สับสนกับคำว่า “or” (ที่แปลว่าหรือ) ที่เป็นคำสันธานในภาษาอังกฤษ รงคตราสีทองเป็นสัญลักษณ์ของ.

กางเขนและสีทอง (มุทราศาสตร์) · สีทอง (มุทราศาสตร์)และเรขลักษณ์ในมุทราศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

สีน้ำเงิน (มุทราศาสตร์)

“Azure” สีน้ำเงินทางซ้าย หรือ ขีดตามแนวนอนทางขวา สีน้ำเงิน หรือ เอเชอร์ (Azure) เป็นภาษามุทราศาสตร์ (Heraldry) ที่บรรยายลักษณะของผิวตรา (Tincture) ที่เป็นสีน้ำเงิน ที่อยู่ในกลุ่มผิวตราสีหนักที่เรียกว่า “สี” ถ้าเป็นการแกะพิมพ์ (engraving) “เอเชอร์” ก็จะเป็นขีดตามแนวนอน หรืออาจจะจารึกด้วยอักษรย่อ “az.” หรือ “b.” ของคำว่า “Azure” คำว่า “Azure” มาจากภาษาเปอร์เซีย “لاژورد” (lazhward) ซึ่งเป็นชื่อสถานที่ที่เป็นที่รู้จักกันว่ามีแหล่งหินที่มีสีน้ำเงินเข้มที่ปัจจุบันเรียกว่าหินลาพิส ลาซูไล (lapis lazuli หรือ หินจาก lazhward) คำนี้เข้ามาในภาษาภาษาฝรั่งเศสเก่าในคริสต์ศตวรรษที่ 12 และแผลงไปใช้ในการบรรยายสีของผิวตราของตราอาร์ม “Azure” ที่แปลว่า “น้ำเงิน” ในภาษามุทราศาสตร์ “Azure” แปลง่ายๆ ว่า “สีน้ำเงิน” คำแรกใช้โดยขุนนางนอร์มันผู้พูดภาษาฝรั่งเศส คำหลังที่เพียงแต่เรียกชื่อสีใช้โดยชนสามัญชาวแองโกล-แซ็กซอน “สีน้ำเงิน” เป็นสีที่ใช้กันมากบนอาวุธและธง นอกไปจากสีน้ำเงินมาตรฐานแล้วก็ยังมีสีน้ำเงินอ่อนที่เรียกว่า “สีท้องฟ้า” (bleu celeste) ทั้งสองสีต่างก็มิได้มีการระบุระดับความอ่อนแก่ของสีอย่างแน่นอน แต่ “สีน้ำเงิน” จะใช้เป็นสีที่เข้มกว่า “สีท้องฟ้า” มาก ผิวตราสีน้ำเงินเป็นสัญลักษณ์ของ.

กางเขนและสีน้ำเงิน (มุทราศาสตร์) · สีน้ำเงิน (มุทราศาสตร์)และเรขลักษณ์ในมุทราศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

ธัชวิทยา

งของ ''Fédération internationale des associations vexillologiques''. ธัชวิทยา (vexillology) คือวิชาที่ว่าด้วยการศึกษาเกี่ยวกับธง ชื่อวิชา Vexillology เริ่มใช้เป็นครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2500 โดย วิทนีย์ สมิท ผู้แต่งหนังสือเรื่อง ธง และบทความเป็นจำนวนมากเกี่ยวกับธง ในช่วงแรกยังนับเป็นสาขาย่อยของ"วิชาการผูกตราสัญลักษณ์" (heraldry) ซึ่งบางครั้งก็ยังถือว่าเป็นดังนั้นอยู่ นอกจากนี้ก็ยังอาจถือว่าเป็นสาขาของวิชา สัญญาณศาสตร์ (semiotics) วิชานี้ได้มีการนิยามไว้ในข้อบังคับของ สหพันธ์ธัชวิทยานานาชาติ - FIAV (Fédération internationale des associations vexillologiques) ว่าเป็น "การสร้างสรรค์และพัฒนาการว่าด้วยองค์ความรู้เกี่ยวกับธงทุกประเภท ทุกรูปแบบ ทุกหน้าที่ใช้สอย และทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์และหลักการที่เป็นพื้นฐานแห่งความรู้นี้" บุคคลผู้ศึกษาเกี่ยวกับธงเรียกว่า "นักธัชวิทยา" (vexillologist) และเรียกผู้ทำงานเกี่ยวกับการออกแบบธงหรือนักออกแบบธง เป็นภาษาอังกฤษว่า vexillographer ในคำภาษาอังกฤษ Vexillology ได้มาจากการสังเคราะห์คำภาษาละติน vexillum และ หน่วยคำเติมหลัง –ology ที่แปลว่า "การศึกษาว่าด้ว..." สำหรับ vexillum หมายถึงธงประจำกองทหารโรมันในยุคคลาสสิก ธงสมัยนั้นต่างกันธงปัจจุบันตรงที่ธงปัจจุบันใช้ผูกกับเสาทางดิ่ง ส่วนธง vexillum เป็นผืนสี่เหลี่ยมจตุรัสแขวนอยู่กับแขนกางเขนทางนอนที่ยึดกับปลายหอก นักธัชวิทยารวมตัวกันในระดับนานาชาติจัดประชุมด้านธัชวิทยา (ICV - International Concress of Vexillology) ทุกๆ สองปี เมื่อ..

กางเขนและธัชวิทยา · ธัชวิทยาและเรขลักษณ์ในมุทราศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

ธงชาติสกอตแลนด์

งชาติสกอตแลนด์ ใช้พื้นธงสีน้ำเงิน มีกากบาทสีขาว เรียกกากบาทนี้ว่า "ธงเซนต์แอนดรูว์" โดยธงนี้มีกำเนิดในศตวรรษที่ 11 และได้ประกาศใช้ธงเซนต์แอนดรู ในศตวรรษที่12 และ ในวันที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2546 ได้ประกาศใช้สีน้ำเงินในแบบสีแพนโทน 300.

กางเขนและธงชาติสกอตแลนด์ · ธงชาติสกอตแลนด์และเรขลักษณ์ในมุทราศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

ตราอาร์ม

ตราแผ่นดินของหลายประเทศมีลักษณะเป็นตราอาร์ม ดังเช่นภาพตราแผ่นดินของประเทศในสหภาพยุโรป ตราอาร์ม (Coat of arms, เรียกอย่างเฉพาะเจาะจงว่า armorial achievement หรือ armorial bearings, เรียกอย่างย่อว่า arms) ในธรรมเนียมของทวีปยุโรป เป็นสัญลักษณ์ซึ่งออกแบบขึ้นสำหรับบุคคลหรือคณะบุคคล อันมีการดัดแปลงใช้ในหลายลักษณะ พัฒนามาจากตราประจำตัวของอัศวินในยุโรปสมัยโบราณเพื่อจำแนกพวกของตนออกจากพวกของศัตรู สามัญชนในยุโรปภาคพื้นทวีปอาจใช้ตราอาร์มเป็นสัญลักษณ์ได้เช่นกัน แต่เรียกชื่อชนิดตราต่างออกไปว่า Burgher arms ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 ของประเทศไทย ได้ให้นิยามของคำว่า "อาร์ม" ไว้ดังนี้ ตราอาร์มนั้นต่างจากตราประทับ (seal) และตราสัญลักษณ์ (emblem) ตรงที่มีการให้คำอธิบายอย่างเป็นทางการโดยมีศัพท์เฉพาะของตนเอง ซึ่งเรียกโดยรวมในภาษาอังกฤษว่า Blazon หรือเทียบเป็นภาษาไทยว่า นิยามของตรา ในยุคคริสต์ศตวรรษที่ 21 ตราอาร์มได้มีการนำไปใช้กับสถาบันต่างๆ เช่นมหาวิทยาลัย ตราของแต่ละแห่งจะได้รับการคุ้มครองตามกฎหมายและปกป้องสิทธิการใช้งาน การใช้ตราดังว่ามานี้ยังรวมถึงการใช้เป็นเครื่องหมายราชการประจำชาติหลายประเทศ กล่าวอีกนัยหนึ่งคือใช้เป็น "ตราแผ่นดิน" นั่นเอง ศิลปะในการออกแบบ การแสดงให้ปรากฏ การอธิบาย และการบันทึกตราอาร์ม เรียกว่า heraldry อันอาจแปลเป็นภาษาไทยตามสำนวนของ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช ได้ว่า "มุทราศาสตร์".

กางเขนและตราอาร์ม · ตราอาร์มและเรขลักษณ์ในมุทราศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

นิยามของตรา

นิยามของตรา (Blazon) ในด้านการศึกษาทางด้านมุทราศาสตร์ และ ธัชวิทยา “Blazon” หรือ “นิยามของตรา” คือคำบรรยายอย่างเป็นทางการของลักษณะของตรา ที่ส่วนใหญ่เป็นการบรรยายตราอาร์ม หรือ ธง ที่สามารถทำให้ผู้สร้างสามารถสร้างตรา, ธง หรือ เครื่องหมายได้ตามความต้องการอย่างถูกต้อง ฉะนั้นรูปลักษณะและองค์ประกอบของตราอาร์ม หรือ ธงตามหลักแล้วไม่ใช่เป็นการบรรยายโดยการใช้รูป แต่จะเป็นการบรรยายโดยตัวอักษร (แต่ในสมัยปัจจุบัน จะมีการให้นิยามเพิ่มเติมและบรรยายอย่างเจาะจงกว่าที่เป็นมาด้วยรายละเอียดทางเรขาคณิต) “นิยามของตรา” ใช้ภาษาเฉพาะทางในการเขียนนิยามตั้งแต่หลักการวางตำแหน่งของคำบรรยาย การใช้คำกิริยา ไปจนถึงหลัก และลำดับการเขียนคำบรรยายของแต่ละส่วนที่ย่อยออกไป เช่นคำแรกที่พบในการบรรยายตราคือชื่อผิวตรา ที่หมายถึงสีหรือผิวของพื้นตรา เช่น “Azure...” ซึ่งหมายความว่า “ (พื้นตรา) น้ำเงิน” ผู้อ่านที่เข้าใจหลักไวยากรณ์ของการเขียนคำนิยามจะทราบว่า “Azure...” เป็นสีของพื้นตราโดยไม่ต้องมีคำว่า “Field” ที่แปลว่าพื้นตรานำหน้าคำว่า “Azure...” เพราะตำแหน่งการวางคำเป็นไปตามหลักไวยากรณ์ของการเขียนคำนิยาม นอกจากโครงสร้างการวางลำดับการบรรยายและการใช้ไวยากรณ์แล้ว นิยามของตราในมุทราศาสตร์ก็ยังใช้คำศัพท์ที่เป็นศัพท์เฉพาะกิจเช่นคำว่า “Charge” ที่หมายถึง “เครื่องหมาย” บน “พื้นตรา” (Field) หรือคำว่า “Attitude” ที่หมายถึง “ลักษณะการวางท่า” ของมนุษย์หรือสัตว์ที่ปรากฏบนตรา นอกจากตราอาร์ม หรือ ธง แล้ว “นิยามของตรา” ก็อาจจะใช้ในการบรรยายลักษณะของสิ่งอื่นๆ ด้วยเช่น ตรายศ (badge), แถบคำขวัญ (banner) และ ตราประทั.

กางเขนและนิยามของตรา · นิยามของตราและเรขลักษณ์ในมุทราศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

โล่ (มุทราศาสตร์)

ล่ หรือ โล่ภายในตรา (Escutcheon หรือ scutcheon) ในมุทราศาสตร์ “โล่” เป็นองค์ประกอบที่ปรากฏบนตราอาร์มที่เป็น บางครั้งก็จะมีการใช้คำว่า “Crest” (“เครื่องยอด”) แทน “Escutcheon” หรือ “โล่กลางตรา” ซึ่งเป็นการใช้ที่ไม่ถูกต้อง รูปทรงของ “โล่กลางตรา” มาจากรูปทรงของโล่ที่ใช้โดยอัศวินในการต่อสู้ในยุคกลาง รูปทรงที่ใช้ก็แตกต่างกันออกไปตามแต่ท้องถิ่นและยุคสมัย เพราะโล่เป็นเครื่องหมายของสงครามจึงเป็นเครื่องหมายที่ใช้สำหรับบุรุษเท่านั้น สตรีชาวอังกฤษตามธรรมเนียมแล้วจะใช้โล่ทรงข้าวหลามตัด (Lozenge) ขณะที่สตรีและนักบวชบนแผ่นดินใหญ่ยุโรปใช้ทรงทรงคาร์ทูช (Cartouche) หรือทรงรูปไข่ ทรงอื่นที่ใช้กันก็มีทรงกลม (roundel) ที่มักจะใช้โดยตราสำหรับชนพื้นเมืองแคนาดา (Aboriginal Canadians) ที่มอบให้โดยสำนักงานมุทราศาสตร์แห่งแคนาดา (Canadian Heraldic Authority) คำว่า “Escutcheon” มาจากภาษาอังกฤษกลาง “escochon” ที่มาจากที่มาจากแองโกล-นอร์มัน “escuchon” ที่มาจากที่มาจากแองโกล-นอร์มัน “Escochon” ที่มาจากภาษาลาตินพื้นบ้าน (Vulgar Latin) “scūtiōn-” จากภาษาลาติน “scūtum” ที่แปลว่า “โล่” จากความหมายนี้ในมุทราศาสตร์ คำว่า “Escutcheon” สามารถหมายถึงสิ่งที่เป็นสัญลักษณ์ของตระกูลและเกียรติยศของตระกูล คำว่า “inescutcheon” หรือ “โล่ใน” เป็นโล่ที่มีขนาดเล็กกว่าโล่หลักที่ตั้งอยู่ในบริเวณโล่หลัก ที่อาจจะใช้สำหรับ “pretense” หรือการวางโล่เหนือโล่อีกโล่หนึ่งของตนเอง ซึ่งคือการวางโล่เหนือโล่หรือสัญลักษณ์ของดินแดนในปกครอง หรือ เพียงเพื่อเป็นเครื่องหมายตกแต่งโดยไม่มีความหมายลึกไปกว่านั้น.

กางเขนและโล่ (มุทราศาสตร์) · เรขลักษณ์ในมุทราศาสตร์และโล่ (มุทราศาสตร์) · ดูเพิ่มเติม »

เครื่องหมาย (มุทราศาสตร์)

รื่องหมาย (Charge) ในมุทราศาสตร์เป็นองค์ประกอบหนึ่งของตราอาร์มที่เป็นเครื่องหมายที่อาจจะเป็นตราสัญลักษณ์หรือสิ่งต่างๆ ที่ตั้งอยู่บนพื้นตราของโล่ภายในตรา ซึ่งอาจจะเป็นลายเรขาคณิต (บางครั้งเรียกว่า “แถบ”) หรือสิ่งที่เป็นสัญลักษณ์สำหรับของบุคคล สัตว์ สิ่งของ หรือ สิ่งอื่นๆ ในนิยามของตราของฝรั่งเศสแถบเรียกว่า “pièces” และเครื่องหมายอื่นๆ เรียกว่า “mobile” ซึ่งเป็นคำคำพ้องรูปพ้องเสียง (homonym) กับคำว่า “meuble” ในภาษาฝรั่งเศสปัจจุบันที่แปลว่าเครื่องเรือน การแบ่งเครื่องหมายออกเป็น “แถบ” หรือ “แถบย่อย” และกลุ่มอื่นๆ เป็นระเบียบใหม่ที่เป็นที่คัดค้านโดยนักเขียนเกี่ยวกับมุทราศาสตร์หลายคนที่รวมทั้งฟ็อกซ์-เดวิส ความสำคัญและความหมายของเครื่องหมายจะได้รับการระบุในนิยามของตรา คำว่า “charge” (“เครื่องหมาย”) อาจจะใช้เป็นคำกิริยา เช่นถ้าโล่มีสิงห์โตสามตัวก็จะนิยามว่า charged with three lions (เครื่องหมายด้วยสิงห์สามตัว) หรือ เครื่องยอดหรือตัว “เครื่องหมาย” เองก็อาจจะเป็น “เครื่องหมาย” ได้ เช่นเป็นปีกเหยี่ยวคู่ charged with trefoils (เป็นเครื่องหมายจิกสามแฉก) (เช่นตราแผ่นดินของบรันเดินบวร์ค) สิ่งสำคัญคือการแสดงความแตกต่างระหว่าง “แถบ” (ordinaries) กับ “ช่องตรา” (divisions of the field) เพราะเครื่องหมายทั้งสองอย่างนี้ใช้วิธีนิยามเดียวกัน เช่นโล่ divided "per chevron" (ช่องแบ่งด้วยแถบเชฟรอน) ที่ต่างจาก charged with chevron (เป็นเครื่องหมายเชฟรอน) สิ่งต่างที่ใช้เป็นเครื่องหมายมาจากธรรมชาติ ตำนาน หรือเทคโนโลยี สิ่งต่างๆ ที่ใช้เป็นเครื่องหมายก็ได้แก่กางเขนที่เป็นเครื่องหมายของคริสต์ศาสนา เหยี่ยว สิงห์โต หรือ สิ่งก่อสร้าง.

กางเขนและเครื่องหมาย (มุทราศาสตร์) · เครื่องหมาย (มุทราศาสตร์)และเรขลักษณ์ในมุทราศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง กางเขนและเรขลักษณ์ในมุทราศาสตร์

กางเขน มี 107 ความสัมพันธ์ขณะที่ เรขลักษณ์ในมุทราศาสตร์ มี 36 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 11, ดัชนี Jaccard คือ 7.69% = 11 / (107 + 36)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง กางเขนและเรขลักษณ์ในมุทราศาสตร์ หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »