โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

กัวลาลัมเปอร์และสหพันธรัฐมาลายา

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง กัวลาลัมเปอร์และสหพันธรัฐมาลายา

กัวลาลัมเปอร์ vs. สหพันธรัฐมาลายา

กัวลาลัมเปอร์ (Kuala Lumpur, อักษรยาวี: كوالا لومڤور, ออกเสียงตามภาษามลายูว่า กัวลาลุมปูร์) เป็นเมืองหลวงของประเทศมาเลเซียและเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดในประเทศด้วย ภายในมาเลเซียเอง กัวลาลัมเปอร์มักจะเรียกย่อ ๆ ว่า KL กัวลาลัมเปอร์เป็นหนึ่งในสามดินแดนสหพันธ์ของมาเลเซีย (Malaysian Federal Territories) ล้อมรอบด้วยรัฐเซอลาโงร์บนชายฝั่งตะวันตกตอนกลางของคาบสมุทรมลายู ฝ่ายบริหารของรัฐบาลมาเลเซียได้ย้ายไปที่เมืองใหม่คือ ปูตราจายา อย่างไรก็ดี พระราชฐานของกษัตริย์ของมาเลเซีย รัฐสภามาเลเซีย และฝ่ายนิติบัญญัติยังคงอยู่ที่กัวลาลัมเปอร. หพันธรัฐมาลายา (Federation of Malaya; Persekutuan Tanah Melayu) เป็นสหพันธรัฐที่จัดตั้งขึ้นจากรัฐมลายูและดินแดนต่าง ๆ รวม 11 รัฐ ซึ่งดำรงอยู่ระหว่าง ค.ศ. 1948 - ค.ศ. 1963 ประกอบด้วยรัฐมลายู 9 รัฐ และดินแดนในอาณานิคมช่องแคบที่ปีนังและมะละกา รวม 2 แห่ง สหพันธรัฐแห่งนี้มีฐานะเป็นรัฐในอารักขาของสหราชอาณาจักร แต่ต่อมา ก็ได้มีการประกาศเอกราช เมื่อวันที่ 31 สิงหาคม ค.ศ. 1957 อันเป็นการสิ้นสุดการตกอยู่ภายใต้การปกครองของสหราชอาณาจักร และสิ้นสภาพลงจากการจัดตั้งประเทศมาเลเซียในเวลาต่อม.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง กัวลาลัมเปอร์และสหพันธรัฐมาลายา

กัวลาลัมเปอร์และสหพันธรัฐมาลายา มี 3 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): ภาษามลายูรายพระนามพระมหากษัตริย์มาเลเซียประเทศมาเลเซีย

ภาษามลายู

ษามลายู (Bahasa Melayu) เป็นภาษาหลักภาษาหนึ่งในตระกูลภาษาออสโตรนีเซียน มีสถานะเป็นภาษาราชการในบรูไน, มาเลเซีย, สิงคโปร์ และอินโดนีเซีย มีผู้พูดประมาณ 200–250 ล้านคน (ณ ปี พ.ศ. 2552) โดยเป็นภาษาแม่ของผู้คนตลอดสองฟากช่องแคบมะละกา ซึ่งได้แก่ ชายฝั่งคาบสมุทรมลายูของมาเลเซียและชายฝั่งตะวันออกของเกาะสุมาตราของอินโดนีเซีย และได้รับการยอมรับเป็นภาษาแม่ในชายฝั่งตะวันตกของซาราวะก์และกาลีมันตันตะวันตกในเกาะบอร์เนียว นอกจากนี้ยังใช้เป็นภาษาการค้าในภาคใต้ของฟิลิปปินส์ ซึ่งได้แก่ ตอนใต้ของคาบสมุทรซัมบวงกา, กลุ่มเกาะซูลู และเมืองบาตาราซาและบาลาบัก (ซึ่งมีชาวมุสลิมอาศัยอยู่เป็นส่วนใหญ่) ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของเกาะปาลาวัน ในฐานะที่เป็นภาษาประจำชาติ (Bahasa Kebangsaan หรือ Bahasa Nasional) ของรัฐเอกราชหลายรัฐ ภาษามลายูมาตรฐานมีชื่อทางการแตกต่างกันไป ในบรูไนและสิงคโปร์เรียกว่า "ภาษามลายู" (Bahasa Melayu) ในมาเลเซียเรียกว่า "ภาษามาเลเซีย" (Bahasa Malaysia) และในอินโดนีเซียเรียกว่า "ภาษาอินโดนีเซีย" (Bahasa Indonesia) อย่างไรก็ตาม ในหลายพื้นที่ทางตอนกลางและตอนใต้ของเกาะสุมาตราที่ซึ่งภาษามลายูเป็นภาษาพื้นเมือง ชาวอินโดนีเซียจะเรียกภาษานี้ว่า "ภาษามลายู" และมองว่าเป็นภาษาหนึ่งในบรรดาภาษาประจำภูมิภาคของตน ภาษามลายูมาตรฐาน (หรือที่เรียกว่าภาษามลายูราชสำนัก) เคยเป็นวิธภาษามาตรฐานในวรรณกรรมของรัฐสุลต่านมะละกาและยะโฮร์สมัยก่อนอาณานิคม ดังนั้น บางครั้งจึงเรียกว่าภาษานี้ว่าภาษามลายูมะละกา, ภาษามลายูยะโฮร์ หรือภาษามลายูเรียว (หรือชื่ออื่น ๆ ที่ใช้ชื่อเหล่านี้ประกอบกัน) เพื่อแยกให้แตกต่างกับภาษาอื่น ๆ อีกหลายภาษาในกลุ่มภาษามลายู จากข้อมูลของเอ็ทนอล็อก (Ethnologue) วิธภาษามลายูต่าง ๆ ซึ่งในปัจจุบันมีรายชื่อเป็นภาษาแยกต่างหาก (รวมถึงวิธภาษาโอรังอัซลีในมาเลเซียตะวันตก) มีความสัมพันธ์ใกล้เคียงกับภาษามลายูมาตรฐานมากจนอาจพิสูจน์ได้ว่าเป็นภาษาถิ่นของภาษาเดียวกัน นอกจากนี้ ยังมีภาษามลายูการค้าและภาษาครีโอล (creole) จากภาษามลายูอีกจำนวนมากซึ่งมีพื้นฐานจากภาษากลางที่พัฒนามาจากภาษามลายูตามแบบแผนดั้งเดิม เช่นเดียวกับภาษามลายูมากัสซาร์ซึ่งปรากฏว่าเป็นภาษาผสม.

กัวลาลัมเปอร์และภาษามลายู · ภาษามลายูและสหพันธรัฐมาลายา · ดูเพิ่มเติม »

รายพระนามพระมหากษัตริย์มาเลเซีย

ังดีเปอร์ตวนอากง (Yang di-Pertuan Agong, يڠ د-ڤرتوان اڬوڠ; ยังดีเปร์ตูวันอากง) ในภาษามลายู หมายถึง ผู้ปกครองสูงสุด เป็นตำแหน่งอย่างเป็นทางการของประมุขแห่งรัฐของมาเลเซีย เปรียบเทียบได้กับพระมหากษัตริย์ในระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ โดยมาจากเจ้าผู้ครองรัฐทั้ง 9 รัฐในมาเลเซียตะวันตก จากทั้งหมด 13 รัฐของมาเลเซีย ดำรงตำแหน่งคราวละ 5 ปี และหมุนเวียนกันไปตามลำดับ พระอัครมเหสีในยังดีเปอร์ตวนอากง มีตำแหน่งเรียกว่า รายา ประไหมสุหรี อากง (Raja Permaisuri Agong, راج ڤرماءيسوري اڬوڠ; ราจาเปร์ไมซูรีอากง).

กัวลาลัมเปอร์และรายพระนามพระมหากษัตริย์มาเลเซีย · รายพระนามพระมหากษัตริย์มาเลเซียและสหพันธรัฐมาลายา · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศมาเลเซีย

มาเลเซีย (มาเลเซีย: Malaysia) เป็นประเทศสหพันธรัฐราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ ตั้งอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประกอบด้วยรัฐ 13 รัฐ และดินแดนสหพันธ์ 3 ดินแดน และมีเนื้อที่รวม 330,803 ตารางกิโลเมตร (127,720 ตารางไมล์) โดยมีทะเลจีนใต้แบ่งพื้นที่ออกเป็น 2 ส่วนซึ่งมีขนาดใกล้เคียงกัน ได้แก่ มาเลเซียตะวันตกและมาเลเซียตะวันออก มาเลเซียตะวันตกมีพรมแดนทางบกและทางทะเลร่วมกับไทย และมีพรมแดนทางทะเลร่วมกับสิงคโปร์ เวียดนาม และอินโดนีเซีย มาเลเซียตะวันออกมีพรมแดนทางบกและทางทะเลร่วมกับบรูไนและอินโดนีเซีย และมีพรมแดนทางทะเลกับร่วมฟิลิปปินส์และเวียดนาม เมืองหลวงของประเทศคือกัวลาลัมเปอร์ ในขณะที่ปูตราจายาเป็นที่ตั้งของรัฐบาลกลาง ด้วยประชากรจำนวนกว่า 30 ล้านคน มาเลเซียจึงเป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดเป็นอันดับที่ 42 ของโลก ตันจุงปีไอ (Tanjung Piai) จุดใต้สุดของแผ่นดินใหญ่ทวีปยูเรเชียอยู่ในมาเลเซีย มาเลเซียเป็นประเทศในเขตร้อน และเป็นหนึ่งใน 17 ประเทศของโลกที่มีความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยิ่ง (megadiverse country) โดยมีชนิดพันธุ์เฉพาะถิ่นเป็นจำนวนมาก มาเลเซียมีต้นกำเนิดมาจากอาณาจักรมลายูหลายอาณาจักรที่ปรากฏในพื้นที่ แต่ตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 24 เป็นต้นมา อาณาจักรเหล่านั้นก็ทยอยขึ้นตรงต่อจักรวรรดิบริเตน โดยอาณานิคมกลุ่มแรกของบริเตนมีชื่อเรียกรวมกันว่านิคมช่องแคบ ส่วนอาณาจักรมลายูที่เหลือกลายเป็นรัฐในอารักขาของบริเตนในเวลาต่อมา ดินแดนทั้งหมดในมาเลเซียตะวันตกรวมตัวกันเป็นครั้งแรกในฐานะสหภาพมาลายาในปี..

กัวลาลัมเปอร์และประเทศมาเลเซีย · ประเทศมาเลเซียและสหพันธรัฐมาลายา · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง กัวลาลัมเปอร์และสหพันธรัฐมาลายา

กัวลาลัมเปอร์ มี 28 ความสัมพันธ์ขณะที่ สหพันธรัฐมาลายา มี 16 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 3, ดัชนี Jaccard คือ 6.82% = 3 / (28 + 16)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง กัวลาลัมเปอร์และสหพันธรัฐมาลายา หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »