โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

กัปตันอีโอและเลเซอร์

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง กัปตันอีโอและเลเซอร์

กัปตันอีโอ vs. เลเซอร์

กัปตันอีโอ (Captain EO) เป็นภาพยนตร์สามมิติไซไฟ-แฟนตาซี ความยาว 17 นาที สำหรับฉายในสวนสนุกของดิสนีย์ในช่วงทศวรรษ 1980-1990 นำแสดงโดยไมเคิล แจ็กสัน กำกับโดยฟรานซิส ฟอร์ด คอปโปลา โดยมีจอร์จ ลูคัสเป็นผู้อำนวยการสร้างบริหารและเป็นผู้ชักชวนให้คอปโปลาเป็นผู้กำกับ ภาพยนตร์กล่าวถึงนักบินอวกาศชื่อ กัปตันอีโอ (EO มาจากภาษากรีก แปลว่า "รุ่งสาง" รับบทโดย ไมเคิล แจ็กสัน) พร้อมกับผู้ช่วยชื่อ ฮูตเตอร์ (เป็นมนุษย์ต่างดาว มีรูปร่างคล้ายกับช้างสองขา รับบทโดยโทนี ค็อกซ์) ปฏิบัติภารกิจขับยานอวกาศไปผจญภัยต่าง ๆ นานา และต้องต่อสู้เพื่อปลดปล่อยราชินีต่างดาวผู้ชั่วร้าย (รับบทโดย แองเจลิกา ฮุสตัน) ในภาพยนตร์มีการใช้เทคนิคพิเศษในโรง ทั้งควัน เลเซอร์ จนบางครั้งถือว่าภาพยนตร์เรื่องนี้เป็น "ภาพยนตร์สี่มิติ" เรื่องแรก ดนตรีประกอบภาพยนตร์ แต่งโดยเจมส์ ฮอร์เนอร์ มีเพลงที่ไมเคิล แจ็กสันร้องและเต้น 2 เพลง คือเพลง "We Are Here to Change the World" และ "Another Part of Me" ภาพยนตร์มีฉายจำกัดเพียง 4 โรง คือที่ เอปคอตเซ็นเตอร์ วอลต์ดิสนีย์เวิลด์รีสอร์ต ออร์แลนโด ฟลอริดา (ปี 1986-1994), ดิสนีย์แลนด์ แอนาไฮม์ แคลิฟอร์เนีย (ปี 1986-1997), โตเกียวดิสนีย์แลนด์ ญี่ปุ่น (ปี 1987-1996) และ ดิสนีย์แลนด์พาร์ก ปารีส ฝรั่งเศส (ปี 1992-1998) ใช้ทุนสร้างประมาณ 30 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เฉลี่ยนาทีละ 1.76 ล้านดอลลาร์สหรัฐ นับเป็นภาพยนตร์ที่มีต้นทุนการสร้างสูงที่สุดในประวัติศาสตร์ หลังการเสียชีวิตของไมเคิล แจ็กสัน ภาพยนตร์กัปตันอีโอ ได้รับความนิยมเผยแพร่กันทางอินเทอร์เน็ต จนมีเสียงเรียกร้องให้ดิสนีย์นำกลับมาแสดงอีกครั้ง โดยเข้าฉายที่ทูมอโรว์แลนด์ แอนาไฮม์ แคลิฟอร์เนีย ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553 ใช้ชื่อว่า "Captain EO-Tribute". ลเซอร์สีแดง (635 นาโนเมตร), สีเขียว (532 นาโนเมตร) และสีม่วง-น้ำเงิน (445 นาโนเมตร) เลเซอร์ (ย่อมาจากคำว่า light amplification by stimulated emission of radiation) ในทางฟิสิกส์ คือ อุปกรณ์ที่ให้กำเนิดลำแสง ที่มีลักษณะเฉพาะ ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่รวมกันระหว่างกลศาสตร์ควอนตัมกับอุณหพลศาสตร์ ซึ่งพลังงานแสงเลเซอร์ สามารถมีคุณสมบัติได้หลากหลาย ขึ้นอยู่กับจุดประสงค์ในการออกแบบ เลเซอร์ส่วนมากจะเป็นลำแสงที่มีขนาดเล็ก มีการเบี่ยงเบนน้อย (low-divergence beam) และสามารถระบุความยาวคลื่นได้ง่าย โดยดูจากสีของเลเซอร์ ถ้าอยู่ในสเป็กตรัมที่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า (visible spectrum) ซึ่งเลเซอร์นี้อาจกล่าวได้ว่า เป็นการรวมพลังงานแสงที่ส่งออกมาจากหลายความยาวคลื่นเข้าด้วยกัน เลเซอร์ จะหมายรวมไปถึงการให้พลังงานผ่านทางสื่อนำแสง ซึ่งสื่อนำแสงอาจเป็นได้ทั้งของแข็ง ของเหลว ก๊าซ หรืออิเล็กตรอนอิสระที่มีคุณสมบัติสามารถนำแสงได้ ในรูปแบบที่ง่ายที่สุด ออบติคอล คาวิตี้ (Optical cavity) จะประกอบไปด้วยกระจก 2 อัน ที่จะจัดเรียงแสงเข้าด้วยกันครั้งแล้วครั้งเล่า โดยที่แต่ละครั้งจะผ่านสื่อนำแสง โดนหนึ่งในกระจกนั้น (Output coupler) จะส่งลำแสงออกมา ลำแสงเลเซอร์ ที่ผ่านทางสื่อนำแสงจะมีความยาวคลื่นเฉพาะ และมีพลังงานเพิ่ม ซึ่งกระจกนี้จะพยายามทำให้แสงส่วนมาก สามารถผ่านทางสื่อนำแสงให้ได้ และออกมาเป็นลำแสงเลเซอร์ กระบวนการเหนี่ยวนำลำแสงเพื่อเพิ่มพลังงานนี้ จะใช้พลังงานไฟฟ้าหรือแแสงในหลายความยาวคลื่น ซึ่งในการทดลองแต่ละครั้ง ความยาวคลื่นของแสงในแต่ละความยาวคลื่น จะส่งผลโดยตรงต่อคุณสมบัติ รูปร่าง และความยาวคลื่นของลำแสงเลเซอร์ที่สร้างออกมา การค้นคว้าวิจัยเกี่ยวกับเลเซอร์ เกิดขึ้นครั้งแรกเมื่อเดือนพฤษภาคม ปี 1960 โดย ทีโอดอร์ ไมแมน (Theodore Maiman) ที่สถาบันวิจัย ฮิวจ์ (Hughes Research Laboratories) ทุกวันนี้เลเซอร์กลายเป็นอุตสาหกรรมที่ทำรายได้หลายพันล้านดอนล่าร์ ผลผลิตจากงานวิจัยเลเซอร์ และกลายเป็นอุปกรณ์ที่มีใช้กันอย่างแพร่หลาย มีให้เห็นอย่างเช่น แผ่นดีวีดี แผ่นซีดี เครื่องเล่นดีวีดี เครื่องอ่านบาร์โค้ด อุปกรณ์ตัดโลหะด้วยเลเซอร์ ฯลฯ จะเห็นได้ว่าเลเซอร์มีการใช้กันอย่างกว้างขวาง ไม่ว่าจะเป็นด้านวิทยาศาสตร์ ด้านอุตสาหกรรม ด้านการแพทย์ หรือแม้กระทั่งด้านการทหาร ก็เพราะว่าเลเซอร์สามารถควบคุมความยาวคลื่นตามที่ต้องการได้.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง กัปตันอีโอและเลเซอร์

กัปตันอีโอและเลเซอร์ มี 0 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย)

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง กัปตันอีโอและเลเซอร์

กัปตันอีโอ มี 24 ความสัมพันธ์ขณะที่ เลเซอร์ มี 14 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 0, ดัชนี Jaccard คือ 0.00% = 0 / (24 + 14)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง กัปตันอีโอและเลเซอร์ หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »