โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

กันดั้มมาร์คทูว์

ดัชนี กันดั้มมาร์คทูว์

RX-178 กันดั้มมาร์คทูว์ (Gundam Mark II) เป็นโมบิลสูทตัวเอกเครื่องแรกของการ์ตูนญี่ปุ่น อะนิเมะซีรีส์โมบิลสูท เซต้ากันดั้มและมีบทบาทในฐานะโมบิลสูทตัวประกอบในโมบิลสูทกันดั้มดับเบิ้ลเซต้า ออกแบบโดยคุนิโอะ โอคาวาระ, มาโมรุ นากาโนะและคาซึมิ ฟุจิตะ กันดั้มมาร์คทูว์ได้รับการพัฒนาโดยกลุ่มทิทานส์และใช้พื้นฐานของRX-78-2 กันดั้ม โดยเดิมทีทิทานส์มีแผนการสำหรับผลิตจำนวนมากด้วย แต่ยูนิตต้นแบบทั้งสามเครื่องถูกกลุ่มต่อต้านสหพันธ์โลกขโมยไปจากโคโลนี กรีปส์ทูว์ โดยที่กันดั้มมาร์คทูว์เครื่องหนึ่งถูกส่งไปยังบริษัทแอนาไฮม์อิเล็กทรอนิกเพื่อใช้ศึกษาโครงสร้างมูฟเอเบิ้ลเฟรม ส่วนอีกสองเครื่องนั้นกลุ่มต่อต้านสหพันธ์โลกได้แยกชิ้นส่วนเพื่อใช้เป็นอะไหล่เสียหนึ่งเครื่อง ส่วนเครื่องสุดท้ายถูกทาสีใหม่แล้วเก็บไว้ใช้งานเอง โดยเป็นโมบิลสูทประจำตัวคามิล บีดันและต่อมาได้เปลี่ยนไปให้เอมม่า ชีน กันดั้มมาร์คทูว์เป็นโมบิลสูทเครื่องแรกที่ใช้โครงสร้างมูฟเอเบิ้ลเฟรม(Movable Frame)อย่างเต็มรูปแบบ ในขณะที่โครงสร้างของโมบิลสูทรุ่นก่อนหน้านี้เป็นแค่โครงสำหรับยึดอุปกรณ์ต่างๆไว้ด้วยกันเท่านั้น แต่โครงสร้างของมาร์คทูว์จะรวมอุปกรณ์ต่างๆที่เกี่ยวกับการควบคุมไว้กับโครงด้วย โดยรวมไว้ทุกอย่าง เว้นแต่อาวุธ, ถังเชื้อเพลิงและเกราะเท่านั้น ทำให้สามารถปรับแต่งได้ง่ายและยังมีสมรรถนะมากกว่าโครงสร้างแบบเดิมอีกด้วย แต่นอกจากโครงสร้างแบบมูฟเอเบิ้ลเฟรมแล้วกันดั้มมาร์คทูว์ก็นับว่าเป็นแค่โมบิลสูทธรรมดา ทั้งยังใช้เกราะโลหะผสมไททาเนียมและเซรามิกจึงมีการป้องกันที่ด้อยกว่าโมบิลสูทที่ใช้เกราะโลหะผสมกันดาเรียม บริษัทแอนาไฮม์อิเล็กทรอนิกจึงได้พัฒนาอุปกรณ์ต่างๆสำหรับเสริมความสามารถของกันดั้มมาร์คทูว์ โดยอุปกรณ์ชิ้นแรกก็คือ ฟลายอิ้งอาเมอร์ ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่ช่วยในการเข้าสู่ชั้นบรรยากาศโลกและสามารถใช้เป็นฐานยืนเพื่อต่อสู้กลางอาก.

11 ความสัมพันธ์: กันดั้ม (โมบิลสูท)การ์ตูนญี่ปุ่นรายชื่อหุ่นยนต์ในยูนิเวอร์แซลเซนจูรีวิดีโอเกมอะนิเมะคามิล บีดันตันโมบิลสูทโมบิลสูท กันดั้ม ดับเบิ้ลเซต้าโมบิลสูท เซต้ากันดั้มเมตร

กันดั้ม (โมบิลสูท)

RX-78-2 กันดั้ม (Gundam) เป็นโมบิลสูทตัวเอกของการ์ตูนญี่ปุ่น อะนิเมะซีรีส์โมบิลสูทกันดั้ม ออกแบบโดยคุนิโอะ โอคาวาร.

ใหม่!!: กันดั้มมาร์คทูว์และกันดั้ม (โมบิลสูท) · ดูเพิ่มเติม »

การ์ตูนญี่ปุ่น

การ์ตูนญี่ปุ่น เป็นคำที่ใช้เรียก หนังสือการ์ตูน หรือภาพยนตร์การ์ตูนที่มาจากประเทศญี่ปุ่น ลักษณะของการ์ตูนญี่ปุ่น ตัวละครในเนื้อเรื่องจะมีลักษณะเฉพาะตัว และเนื้อเรื่องที่แตกต่างกัน โดยส่วนมากแล้ว ภาพของคนและสัตว์ที่ปรากฏในการ์ตูนญี่ปุ่นมักจะมีสัดส่วนผิดเพี้ยนไปจากความจริง เช่นมีทรวดทรงที่เล็ก-ใหญ่กว่าปกติ หรือดวงตาที่โตกว่าปกติ แตกต่างจากการ์ตูนฝั่งตะวันตกที่มักจะเขียนภาพคนและสัตว์ออกมาในลักษณะเหมือนจริง ในภาษาญี่ปุ่นและหลายประเทศที่รับเอาวัฒนธรรมการ์ตูนญี่ปุ่นเข้าไปจะเรียกหนังสือการ์ตูนญี่ปุ่นเป็นศัพท์เฉพาะว่า มังงะ และเรียกภาพยนตร์การ์ตูนจากญี่ปุ่นว่า อะนิเมะ (ตัดทอนมาจากคำว่า Animation ในภาษาอังกฤษ).

ใหม่!!: กันดั้มมาร์คทูว์และการ์ตูนญี่ปุ่น · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อหุ่นยนต์ในยูนิเวอร์แซลเซนจูรี

รายชื่อของหุ่นยนต์จากกันดั้มซีรีส์ซึ่งใช้ระบบปฏิทินยูนิเวอร์แซลเซนจูรี รายชื่อนี้จะเรียงตามภาคที่ปรากฏตัวเป็นครั้งแรก.

ใหม่!!: กันดั้มมาร์คทูว์และรายชื่อหุ่นยนต์ในยูนิเวอร์แซลเซนจูรี · ดูเพิ่มเติม »

วิดีโอเกม

กม ''ป็อง'' ถือได้ว่าเป็นวิดีโอเกมส์ชนิดแรกที่เกิดขึ้น เกม ''Space Invaders'' เป็นอีกหนึ่งเกมดังในยุคกำลังพัฒนาของวิดีโอเกม เกม ''Pac-Man'' เป็นเกมที่โด่งดังที่สุดในขณะวิดีโอเกมกำลังพัฒนา วิดีโอเกม (Video game) คือ เครื่องเกมอิเล็กทรอนิกส์ที่มนุษย์ใช้ส่วนต่อประสานกับผู้ใช้ (user interface) ส่งผลการกระทำ (input) กลับเข้าไปยังหน่วยประมวลผลกลาง (Central Processor Unit) ในตัวเครื่อง ให้คิดคำนวณแล้วแสดงผลโต้ตอบกลับมาด้วย แสง-เสียง-การสั่น-หรือภาพบนจอภาพ วิดีโอ คำว่า วิดีโอ ในวิดีโอเกม แต่เดิมหมายถึงอุปกรณ์แสดงภาพแบบแรสเตอร์ แต่ปัจจุบันสามารถใช้เรียกอุปกรณ์แสดงภาพใด ๆ ก็ได้ที่สร้างภาพสองมิติหรือสามมิติขึ้นมา ตัวอย่างเช่นคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล และเครื่องเล่นวิดีโอเกม อุปกรณ์เหล่านี้เป็นไปได้ตั้งแต่เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ ไปจนถึงอุปกรณ์มือถือขนาดเล็ก วิดีโอเกมแบบเฉพาะอย่างเช่น เกมตู้ เคยมีแพร่หลายในอดีต แต่ปัจจุบันค่อย ๆ มีใช้น้อยลง วิดีโอเกมได้พัฒนาไปจนกลายเป็นอุตสาหกรรมและงานศิลปะ อุปกรณ์นำข้อมูลเข้าเป็นที่ใช้กันในการบังคับวิดีโอเกมเรียกว่า อุปกรณ์ควบคุมเกม (game controller) และแตกต่างกันไปในเครื่องเล่นแบบต่าง ๆ ตัวอย่างเช่น อุปกรณ์ควบคุมอาจประกอบด้วยเพียงแค่ปุ่มกดและก้านควบคุม (joystick) หรืออาจมีปุ่มกดถึงสิบปุ่ม และอาจจะมีมากกว่าหนึ่งก้านควบคุมก็ได้ เกมคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลยุคแรกจำเป็นต้องใช้คีย์บอร์ดในการเล่นเกม หรือต้องการให้ผู้ใช้ซื้อก้านควบคุมที่มีปุ่มกดอย่างน้อยหนึ่งปุ่มด้วย เกมคอมพิวเตอร์สมัยใหม่จำนวนมากให้ผู้เล่นหรือต้องการให้ผู้เล่นใช้คีย์บอร์ดควบคู่ไปกับเมาส์ อุปกรณ์ควบคุมเกมที่พบได้บ่อยกันคือ เกมแพด เมาส์ คีย์บอร์ด และก้านควบคุม ในหลายปีที่ผ่านมานี้ มีวิธีการนำข้อมูลเข้าเพิ่มเติมเช่น การให้ผู้เล่นสังเกตการณ์ในเครื่องเล่นที่ใช้กล้อง และระบบจอสัมผัสบนโทรศัพท์มือถือ วิดีโอเกมโดยทั่วไปใช้วิธีการเพิ่มเติมมากมายเพื่อสร้างปฏิสัมพันธ์และสารสนเทศให้กับผู้เล่น เสียงออดิโอในวิดีเกมนั้นเกือบจะเป็นสากล คือใช้อุปกรณ์ผลิตเสียง อย่างเช่น ลำโพง และหูฟัง ผลป้อนกลับอาจมาจากอุปกรณ์ต่อพ่วงสัมผัส (haptic peripheral) เช่นระบบการสั่น หรือผลป้อนกลับโดยใช้กำลัง (force feedback) บางครั้งการสั่นใช้กระตุ้นผลป้อนกลับแบบใช้กำลัง ผู้เล่นบางส่วนเชื่อว่าวิดีโอเกมสามารถพัฒนาทักษะทางจิตใจได้.

ใหม่!!: กันดั้มมาร์คทูว์และวิดีโอเกม · ดูเพิ่มเติม »

อะนิเมะ

รูปแบบอะนิเมะในปัจจุบัน อะนิเมะ (「アニメ」 anime) เป็นคำภาษาญี่ปุ่นที่มาจากภาษาอังกฤษว่า แอนิเมชั่น (animation) ซึ่งมาจาก ภาษาฝรั่งเศส อานีเม่ (animé) และจากภาษาละติน แปลว่าเคลื่อนไหว หรือภาพเคลื่อนไหว แต่ความหมายกลายจนเป็นคำเฉพาะของภาษาญี่ปุ่นแปลว่า ภาพยนตร์การ์ตูน ภายนอกประเทศญี่ปุ่น อะนิเมะหมายถึงภาพยนตร์การ์ตูนสัญชาติญี่ปุ่น ซึ่งส่วนใหญ่มีลักษณะทางศิลปะแตกต่างกับภาพยนตร์การ์ตูนจากแหล่งอื่น อะนิเมะส่วนใหญ่จะวาดขึ้นด้วยมือ แต่ปัจจุบันมีการนำคอมพิวเตอร์มาช่วยสร้างอะนิเมะอย่างแพร่หลาย อะนิเมะส่วนใหญ่สร้างขึ้นเพื่อให้ความบันเทิงเหมือนภาพยนตร์ โดยมีแนวเรื่องหลากหลายและครอบคลุมแนววรรณกรรมเกือบทุกแนว อะนิเมะส่วนใหญ่ถูกสร้างขึ้นเป็นตอน ๆ เพื่อฉายทางโทรทัศน์ ส่วนหนึ่งถูกสร้างเป็นภาพยนตร์การ์ตูนเรื่องยาวเพื่อฉายในโรงภาพยนตร์ และอีกส่วนหนึ่งถูกสร้างเป็นตอน ๆ เพื่อขายตรงในรูปแบบดีวีดี วีซีดี หรือวีดิโอ ดูมีการทำตอนเฉพาะที่เรียกว่า โอวีเอ อะนิเมะหลายเรื่องถูกดัดแปลงมาจากมังงะ นอกจากนี้ยังมีอะนิเมะที่ถูกนำไปดัดแปลงเป็นละครโทรทัศน์อีกด้ว.

ใหม่!!: กันดั้มมาร์คทูว์และอะนิเมะ · ดูเพิ่มเติม »

คามิล บีดัน

มิล บีดัน (Kamile Bidan) ตัวเอกของโมบิลสูท เซต้ากันดั้มเมื่อเริ่มเรื่องได้มีปัญหากับเจริดของ Titans ส์ซึ่งส่งผลให้คามิวทำการช่วยควาโทร บาจินาในการขโมยกันดั้มมาร์คทู และเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของ เอวโก้(A.E.U.G.).

ใหม่!!: กันดั้มมาร์คทูว์และคามิล บีดัน · ดูเพิ่มเติม »

ตัน

ตัน เป็นหน่วยวัดมวล มีความหมายได้ 2 แบบ คือ.

ใหม่!!: กันดั้มมาร์คทูว์และตัน · ดูเพิ่มเติม »

โมบิลสูท

มบิลสูท ((ญี่ปุ่น:モビルスーツ;อังกฤษ:Mobile Suit มีคำย่อว่า MS) เป็นกลุ่มของหุ่นยนต์อาวุธรูปร่างคล้ายมนุษย์ขนาดใหญ่ในซีรีส์กันดั้ม ชื่อโมบิลสูทเชื่อว่าได้รับอิทธิพลจาก โมบิลอินแฟนทรี และ พาวเวิร์ดสูท ในนิยายวิทยาศาสตร์ สตาร์ชิปทรูเปอร์ของโรเบิร์ต เอ. ไฮน์ไลน.

ใหม่!!: กันดั้มมาร์คทูว์และโมบิลสูท · ดูเพิ่มเติม »

โมบิลสูท กันดั้ม ดับเบิ้ลเซต้า

มบิลซูทเซต้ากันดั้ม โมบิลสูท กันดั้ม ดับเบิ้ลเซต้า;Mobile Suit Gundam Double Zeta) เป็นโมบิลซูทกันดั้มที่สร้างต่อจากภาคเซต้า เนื้อเรื่องหลังจากที่หน่วยทีทานส์ได้ล่มสลายลงในสงครามกริปส์วอร์เนื่องจากการที่เสียผู้บัญชาการสูงสุด แปปติมุส ซิร็อกโก้ ไปนั้น แต่ว่าจากผลกระทบของสงครามในครั้งนี้ทำให้ คามิล บีดัน เอซไพล็อทของเอวโก้กองกำลังต่อต้านทีทานส์นั้นไม่สามารถเคลื่อนไหวได้ อันเป็นเพราะผลที่เนื่องมาจากพลังนิวไทป์ของในช่วงสุดท้ายที่ แปปติมุส ซีร็อกโก้ได้ใช้ก่อนที่ตัวเองจะตายนั้น ในการขับเคี่ยวกันในการต่อสู้ของทั้งสองคน ซึ่งหลังจากศึกครั้งนั้นเอวโก้ก็เสียหายเป็นอย่างมากจึงต้องซ่อมแซมที่โคโลนี่ไซด์วัน.

ใหม่!!: กันดั้มมาร์คทูว์และโมบิลสูท กันดั้ม ดับเบิ้ลเซต้า · ดูเพิ่มเติม »

โมบิลสูท เซต้ากันดั้ม

มบิลสูทเซต้ากันดั้ม โมบิลสูท เซต้ากันดั้ม (Mobile Suit Zeta Gundam) เป็นภาพยนตร์การ์ตูนทางโทรทัศน์ (อะนิเมะ) ออกอากาศครั้งแรกในประเทศญี่ปุ่นระหว่างปี ค.ศ. 1985-1986 โดยเป็นหนึ่งในซีรีส์กันดั้ม และเป็นภาคต่อของโมบิลสูทกันดั้ม กำกับและเขียนบทโดยโยชิยูกิ โทมิโนะ มีจำนวนตอนทั้งหมด 50 ตอน ออกแบบตัวละครโดย โยชิคาสึ ยาสุฮิโกะ และออกแบบหุ่นยนต์และแมคคานิคอื่นๆโดย คุนิโอะ โอคาวาระ, มาโมรุ นากาโน่ และคาสุมิ ฟูจิตะ เนื่องในโอกาสครบรอบ 25 ปีกันดั้ม (และ 20 ปีของกันดั้มภาคนี้) ใน ค.ศ. 2005 เซต้ากันดั้มทั้ง 50 ตอนจึงถูกนำมาตัดต่อเพิ่มฉากใหม่ และเปลี่ยนแปลงเนื้อเรื่องบางส่วน รวมไปถึง CG ใหม่ๆ เป็นภาพยนตร์ความยาว 3 ตอน ในชื่อ Mobile Suit Zeta Gundam:A New Translation และชื่อตอนทั้งสามคือ.

ใหม่!!: กันดั้มมาร์คทูว์และโมบิลสูท เซต้ากันดั้ม · ดูเพิ่มเติม »

เมตร

มตร อักษรย่อ ม. (mètre → metre meter The Metric Conversion Act of 1975 gives the Secretary of Commerce of the US the responsibility of interpreting or modifying the SI for use in the US., m) เป็นหน่วยฐานเอสไอของความยาวในหน่วยเอสไอ แต่เดิมนิยามว่าหนึ่งเมตรเท่ากับ 1/10,000,000 ของระยะทางจากเส้นศูนย์สูตรของโลกไปยังขั้วโลกเหนือวัดจากเส้นรอบวงที่ผ่านเมืองปารีส แต่เนื่องจากความแม่นยำทางมาตรวิทยา ที่มีมากขึ้น ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2526 ความยาวหนึ่งเมตรจึงถูกนิยามไว้ให้เท่ากับความยาวที่แสงเดินทางได้ในสุญญากาศ ในช่วงเวลา วินาที.

ใหม่!!: กันดั้มมาร์คทูว์และเมตร · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »