โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

กอนดอร์และภาษาเวสทรอน

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง กอนดอร์และภาษาเวสทรอน

กอนดอร์ vs. ภาษาเวสทรอน

กษาขาว ดาวเจ็ดดวง และมงกุฎปีก กอนดอร์ (Gondor) คือชื่ออาณาจักรมนุษย์แห่งหนึ่งบนทวีปมิดเดิลเอิร์ธ ในจินตนิยายของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน ปรากฏในนวนิยายแฟนตาซีเรื่อง เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ ก่อตั้งโดย อิซิลดูร์ และ อนาริออน โอรสของ เอเลนดิล เมื่อปีที่ 3320 ของยุคที่สองเจ. อาร์. อาร์. โทลคีน. ษาเวสทรอน (Westron) เป็นภาษาประดิษฐ์ของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน ที่ใช้ในนิยายชุด มิดเดิลเอิร์ธ ในฉบับนิยายถือว่า ภาษาเวสทรอนเป็นเสมือน 'ภาษากลาง' ของโลกแห่งนั้น โดยเฉพาะในยุคสมัยในเรื่อง เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ คำว่า "เวสทรอน" เป็นคำภาษาอังกฤษที่เลือกมาใช้ในการ 'แปล' ภาษานี้ (ตามที่โทลคีนว่า) มีที่มาจากคำว่า "ตะวันตก" (West) ซึ่งเป็นรากคำดั้งเดิมมาจากคำว่า อดูนิ (Adûni) ในภาษาอดูนาอิก ของชาวนูเมนอร์ ชื่อภาษาเวสทรอนในภาษาซินดารินเรียกว่า อันนูไนด์ (Annúnaid) หมายถึง ภาษาของชาวตะวันตก (Westron) บางครั้งก็เรียกว่า ฟาลาเธรน (Falathren) หมายถึง ภาษาชาวฝั่ง (Shore-language) ภาษาเวสทรอนพัฒนามาจากภาษาอดูนาอิกของชาวนูเมนอร์ หลังจากที่ชาวนูเมนอร์เริ่มบุกเบิกและติดต่อสมาคมกับมนุษย์ทางชายฝั่งตะวันตกของทวีปมิดเดิลเอิร์ธ จึงใช้ภาษานี้แพร่หลายทั่วไป แต่รากฐานดั้งเดิมของภาษานี้ก็มาจาก ภาษาของชาวเบออร์และฮาดอร์ ซึ่งเป็นชาวเอไดน์ บรรดามนุษย์ทางชายฝั่งตะวันตกเหล่านั้นก็มีบรรพบุรุษเดียวกันกับชาวเอไดน์ ในภายหลังชนเหล่านี้เป็นพลเมืองท้องถิ่นของอาณาจักรกอนดอร์ และอาร์นอร์ ภาษาเวสทรอนใช้แพร่หลายอยู่ตามแนวชายฝั่ง และตลอดทั่วทั้งเขตแคว้นเอเรียดอร์ แต่ดินแดนอื่นๆ เช่น โรห์วาเนียน ไม่ได้ใช้ภาษานี้ด้วย ชนพื้นเมืองที่เป็นมนุษย์ในหลายๆ ท้องถิ่นมีภาษาเป็นของตัวเอง เช่นชาวดันเลนดิง มนุษย์บนเทือกเขาขาว เป็นต้น ตามท้องเรื่องที่ปรากฏใน เดอะฮอบบิท และ เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ โทลคีนบอกว่าเขาได้แปลเรื่องทั้งหมดจากภาษาเวสทรอน ออกมาเป็นภาษาอังกฤษ ตัวอย่างการถอดความที่สำคัญเช่น ชื่อของตัวละครต่างๆ เมอเรียด็อค แบรนดี้บั๊ก เป็นชื่อในภาษาอังกฤษที่แปลมาจากชื่อจริงของเขาว่า คาลิมัก บรันดากัมบา (Kalimac Brandagamba) ชื่อย่อว่า คาลิ (หมายถึง ความสนุกสนานรื่นเริง) ชื่อ เมอเรียด็อค และชื่อย่อ เมอร์รี่ จึงเป็นชื่อที่ถอดความมาจากภาษาเวสทรอนให้คงความหมายดั้งเดิมไว้ หรือชื่อ เปเรกริน ตุ๊ก กับชื่อย่อ ปิ๊ปปิ้น ก็มาจากชื่อจริงว่า ราซานัวร์ ทูค (Razanur Tûk) ชื่อย่อว่า ราซาร์ (หมายถึง แอ๊ปเปิ้ลผลเล็กๆ) ที่ถอดความมาให้ได้ความหมายใกล้เคียงกันนั่นเอง นอกจากนี้ยังมีชื่อสถานที่อื่นๆ ที่ตั้งชื่อไว้ในภาษาเวสทรอน เช่น "ริเวนเดลล์" (ภาษาซินดาริน เรียกว่า "อิมลาดริส" หมายถึง หุบเขาในร่องผา) มาจากชื่อจริงว่า "คาร์นินกุล" (Karningul) หรือ "แบ๊กเอนด์" มาจากคำว่า "ลาบิน-เนค" (Labin-nec) เป็นชื่อสถานที่ที่ตั้งตามชื่อนามสกุล "ลาบินกิ" (Labingi) หรือ "แบ๊กกิ้นส์" นั่นเอง คำในภาษาเวสทรอนต่างๆ ที่ยกมานี้ เป็นงานที่โทลคีนประดิษฐ์ขึ้นภายหลังการเขียนนิยายเป็นเวลาหลายปี แต่เขาไม่ได้สร้างภาษานี้ไว้ให้สมบูรณ์มากพอจะใช้งานได้ เหมือนอย่างภาษาเควนยา หรือภาษาซินดาริน.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง กอนดอร์และภาษาเวสทรอน

กอนดอร์และภาษาเวสทรอน มี 10 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): ภาษาซินดารินภาษาเควนยาภูเขาในมิดเดิลเอิร์ธมิดเดิลเอิร์ธอาร์นอร์ประวัติศาสตร์มิดเดิลเอิร์ธนูเมนอร์เอเรียดอร์เจ. อาร์. อาร์. โทลคีนเดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์

ภาษาซินดาริน

ษาซินดาริน (Sindarin) เป็นภาษาที่ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน ประดิษฐ์ขึ้นใช้ในนวนิยายของเขาในชุดมิดเดิลเอิร์ธ แรงบันดาลใจของการสร้างภาษานี้มาจากพื้นฐานของภาษาเวลช์ (Welsh) ซึ่งโทลคีนพบในการศึกษาโคลงโบราณ เขาได้ใช้เวลาประดิษฐ์ภาษานี้จนสมบูรณ์ใช้งานได้จริง เทียบเคียงกับภาษาเควนยา เดิมทีโทลคีนตั้งใจประดิษฐ์ภาษานี้ขึ้นเป็นภาษาของชาวโนลดอร์ แต่เปลี่ยนใจภายหลัง ภาษาซินดาริน ตามฉบับนิยาย เป็นภาษาของพวกเอลฟ์ ชาวเทเลริ ที่มิได้เข้าร่วมการเดินทางครั้งใหญ่ไปได้ตลอดรอดฝั่ง แต่ยังคงตกค้างอยู่บนมิดเดิลเอิร์ธ และตั้งถิ่นฐานขึ้นในแผ่นดินเบเลริอันด์ ภายใต้การปกครองของกษัตริย์ธิงโกล และ เมลิอัน ไมอาเทวี ในอาณาจักรโดริอัธ เอลฟ์กลุ่มนี้เรียกตัวเองว่า ชาวซินดาร์ หรือเอลฟ์แห่งสนธยา ภาษาของพวกเขาจึงเรียกว่า ภาษาซินดาริน ภาษาซินดารินมีกำเนิดมาจากคอมมอนเอลดาริน หรือภาษาดั้งเดิมของพวกเควนดิ จึงมีรากเดียวกันกับภาษาเควนยา ในยุคที่สาม ของโลกอาร์ดา คือเหตุการณ์ในเรื่องเดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์นั้น ภาษาซินดารินเป็นภาษาที่พวกเอลฟ์ใช้กันแพร่หลายทั่วไป ดังนั้นภาษาเอลฟ์ที่ปรากฏในเนื้อเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นชื่อคน ชื่อสถานที่ต่างๆ รวมทั้งอักขระที่จารึกบนประตูทางเข้าเหมืองมอเรีย ก็ล้วนเป็นภาษาซินดารินทั้งสิ้น.

กอนดอร์และภาษาซินดาริน · ภาษาซินดารินและภาษาเวสทรอน · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาเควนยา

ษาเควนยา (Quenya) เป็นภาษาหนึ่งซึ่ง เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน ประดิษฐ์ขึ้น และใช้ในนวนิยายของเขา คือในโลกมิดเดิลเอิร์ธ โดยเป็นภาษาของเอลฟ์ หรือชาวเควนดิ ซึ่งเป็นบุตรของมหาเทพอิลูวาทาร์ ภาษาเควนยานับได้ว่าเป็นภาษาแรกๆ ที่โทลคีนประดิษฐ์ขึ้นตั้งแต่ยังเป็นนักศึกษา โดยได้รับแรงบันดาลใจมาจากภาษาฟินแลนด์ ซึ่งเป็นภาษาที่โทลคีนชอบมาก เขาศึกษาภาษาฟินนิชด้วยตัวเองเพราะต้องการจะอ่านมหากาพย์ คาเลวาลา ในต้นฉบับฟินนิช อันเป็นแรงบันดาลใจในการสร้าง "โลกอาร์ดา" ของเขาในเวลาต่อมา โทลคีนสร้างตัวอักษรสำหรับภาษาเควนยา สร้างไวยากรณ์สำหรับภาษาเควนยา หลังจากสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง และโทลคีนได้กลับมาทำงานที่อ๊อกซฟอร์ดอีกครั้ง เขาได้ปรับปรุงแก้ไขภาษาเควนยาอย่างจริงจัง โดยใช้ภาษานี้ในการเขียนบันทึกประจำวัน แต่เนื่องจากโครงสร้างภาษายังไม่แน่นอน มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ภายหลังโทลคีนเองก็สับสนและเลิกเขียนบันทึกด้วยวิธีนี้ เพราะลืมไปแล้วว่าขณะที่เขียนบันทึก เขาใช้โครงสร้างไวยากรณ์แบบไหน ช่วงแรกโทลคีนเรียกภาษานี้ว่า Qenya การสร้างภาษาเควนยา เป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญจุดหนึ่ง (แม้จะมีปัจจัยอื่นๆ ประกอบอีก) ที่ทำให้โทลคีนบังเกิดความคิดให้มีผู้คนที่ใช้ภาษานี้ขึ้นมาจริงๆ อันเป็นที่มาของเหล่าเอลฟ์ ในเรื่อง ซิลมาริลลิออน ตลอดช่วงชีวิตของโทลคีน เขาได้แก้ไขปรับปรุงโครงสร้างภาษานี้ จนกระทั่งมันสามารถใช้งานได้จริง สมบูรณ์ยิ่งกว่าภาษาประดิษฐ์อื่นๆ ของโทลคีน.

กอนดอร์และภาษาเควนยา · ภาษาเควนยาและภาษาเวสทรอน · ดูเพิ่มเติม »

ภูเขาในมิดเดิลเอิร์ธ

ในปกรณัมชุด เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ ของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน ทั้งทวีปมิดเดิลเอิร์ธ และทวีปอามัน ตลอดจนถึงดินแดนอื่นๆ ทั่วพิภพอาร์ดา มีเทือกเขาใหญ่น้อยมากมาย ต่อไปนี้เป็นรายชื่อภูเขาหรือเทือกเขาที่สำคัญ.

กอนดอร์และภูเขาในมิดเดิลเอิร์ธ · ภาษาเวสทรอนและภูเขาในมิดเดิลเอิร์ธ · ดูเพิ่มเติม »

มิดเดิลเอิร์ธ

แผนที่มิดเดิลเอิร์ธในช่วงยุคที่หนึ่ง แสดงแผ่นดินเบเลริอันด์ ซึ่งเป็นสถานที่เกิดเหตุการณ์ต่างๆ ที่บันทึกในซิลมาริลลิออน ทางด้านขวามือสุดของแผนที่เป็นที่ตั้งของ 'เทือกเขาสีน้ำเงิน' แผนที่มิดเดิลเอิร์ธในช่วงปลายของยุคที่สาม ซึ่งปรากฏอยู่ในหนังสือ ลอร์ดออฟเดอะริงส์ สังเกตจะเห็น 'เทือกเขาสีน้ำเงิน' อยู่ทางด้านซ้ายมือสุดของแผนที่ มิดเดิ้ลเอิร์ธ (Middle-earth) หรือ มัชฌิมโลก หมายถึงสถานที่ในนิยายของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน อันเป็นฉากหลังของเรื่องราวตำนานทั้งหลายในงานเขียนของโทลคีน ปกรณัมของโทลคีนมีเนื้อหาเกี่ยวกับการเข้าควบคุมและครอบครองโลก (ในตำนานเรียกว่า "อาร์ดา") ซึ่งมีทวีปหลักชื่อว่า "มิดเดิลเอิร์ธ" เป็นที่อยู่อาศัยของพวก 'มรรตัยชน' (คือมนุษย์ที่รู้ตาย) เป็นสถานที่ตรงข้ามกับ "อามัน" หรือ 'แดนอมตะ' อันเป็นถิ่นที่อยู่ของพวกวาลาร์ กับพวกเอลฟ์ คำนี้มีรากมาจากคำภาษาอังกฤษกลางว่า middel-erde ซึ่งพัฒนามาจากคำในภาษาอังกฤษเก่าว่า middangeard แก่นสำคัญของงานเขียนของโทลคีนคือเรื่องของการช่วงชิง ควบคุม และครอบครองอำนาจหรือของวิเศษ ทำให้เกิดสงครามขึ้นบนมิดเดิลเอิร์ธหลายครั้งหลายหน คือสงครามระหว่างเหล่าเทพวาลาร์ เอลฟ์ และพันธมิตรชาวมนุษย์ฝ่ายหนึ่ง กับเทพอสูรเมลคอร์กับบริวาร ได้แก่พวกออร์ค มังกร และมนุษย์ที่เป็นทาสอีกฝ่ายหนึ่ง ในตำนานยุคหลัง เมื่อเมลคอร์สิ้นอำนาจและถูกขับไล่ออกไปจากอาร์ดาแล้ว บทบาทการช่วงชิงนี้ก็ตกไปอยู่กับเซารอน สมุนเอกของเขา เหล่าเทพวาลาร์ได้ยุติบทบาทของตนลงหลังจากที่เมลคอร์สิ้นอำนาจ เพราะการสงครามระหว่างพวกพระองค์ครั้งนั้นได้ทำให้โลกพินาศเสียหายไปมาก อย่างไรก็ดีพวกพระองค์ก็ยังส่ง อิสตาริ หรือเหล่าพ่อมด เข้ามาให้ความช่วยเหลือในการต่อต้านอำนาจของเซารอน อิสตาริที่มีบทบาทมากคือ แกนดัล์ฟพ่อมดเทา และซารูมานพ่อมดขาว แกนดัล์ฟได้ทำงานบรรลุวัตถุประสงค์เป็นอย่างดี โดยได้ช่วยเหลือชาวมิดเดิลเอิร์ธอย่างถึงที่สุดเพื่อโค่นอำนาจเซารอนลงให้ได้ แต่ซารูมานกลับพ่ายแพ้ต่อความคิดฉ้อฉลแล้วตั้งตนขึ้นเป็นใหญ่ ช่วงชิงอำนาจบนมิดเดิลเอิร์ธแข่งกับเซารอนเสียเอง สำหรับพลเมืองชาวมิดเดิลเอิร์ธพวกอื่นๆ ได้แก่ คนแคระ เอนท์ และฮอบบิท อันเป็นเผ่าพันธุ์ที่มีชื่อเสียงมากที่สุด ในการสร้างสรรค์งานของโทลคีน เขาได้จัดทำแผนที่ของมิดเดิลเอิร์ธขึ้นเป็นจำนวนมาก แสดงถึงดินแดนและสถานที่ต่างๆ ที่ตำนานของเขาเอ่ยถึง แผนที่บางส่วนได้รับการตีพิมพ์ในช่วงชีวิตของเขา แต่ก็ยังมีแผนที่อีกจำนวนมากที่ไม่ได้ตีพิมพ์เลยจนกระทั่งเขาเสียชีวิตไปแล้ว แผนที่ส่วนใหญ่จะปรากฏอยู่ในเรื่อง เดอะฮอบบิท เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ และ ซิลมาริลลิออน เหตุการณ์ส่วนใหญ่ในยุคที่หนึ่งเกิดขึ้นบนดินแดนที่เรียกชื่อว่า เบเลริอันด์ ดินแดนนี้ต่อมาได้จมลงสู่ทะเลหลังสงครามครั้งใหญ่ระหว่างเทพวาลาร์กับเมลคอร์ คงเหลือแต่เทือกเขาสีน้ำเงินที่ปรากฏอยู่ทางขวาสุดของแผนที่ เป็นจุดเชื่อมต่อเดียวกันกับเทือกเขาสีน้ำเงินที่อยู่ทางด้านซ้ายสุดของแผนที่ในเรื่องเดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ ดินแดนทางด้านตะวันออกของเทือกเขาสีน้ำเงินเป็นที่เกิดเหตุการณ์ต่างๆ ในยุคที่สองและสาม โทลคีนบอกว่ามิดเดิ้ลเอิร์ธนั้นคือโลกของเรา เพียงแต่เป็นช่วงเวลาในอดีต โดยประมาณว่าปลายยุคที่สามคือช่วงระยะประมาณ 6,000 ปีก่อนยุคของโทลคีน เขายังบรรยายเขตแดนที่ฮอบบิทอาศัยว่าอยู่ที่ "ตะวันตกเฉียงเหนือของโลกเก่า ทางตะวันออกของทะเลใหญ่",เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์, บทนำ, หน้า 2 ซึ่งอ้างอิงถึงอังกฤษและเขตตะวันตกเฉียงเหนือของยุโรปอย่างชัดเจน ประวัติศาสตร์มิดเดิลเอิร์ธของโทลคีน ถูกแบ่งออกเป็นหลายยุค เรื่องราวที่ปรากฏใน เดอะฮอบบิท และเรื่องราวใน ลอร์ดออฟเดอะริงส์ เกิดขึ้นในราวปลายยุคที่สาม และนำไปสู่ช่วงเริ่มต้นของยุคที่สี่ ในขณะที่เรื่องราวใน ซิลมาริลลิออน ซึ่งเป็นงานเขียนของโทลคีนเกี่ยวกับมิดเดิลเอิร์ธที่เก่าแก่ที่สุด เป็นเรื่องที่เกิดตั้งแต่ยุคสร้างโลกและยุคที่หนึ่งเป็นส่วนใหญ.

กอนดอร์และมิดเดิลเอิร์ธ · ภาษาเวสทรอนและมิดเดิลเอิร์ธ · ดูเพิ่มเติม »

อาร์นอร์

ในปกรณัมชุด มิดเดิลเอิร์ธ ของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน อาร์นอร์ (Arnor) หรือ อาณาจักรเหนือ เป็นอาณาจักรของมนุษย์ชาวดูเนไดน์ ในดินแดนแห่ง เอเรียดอร์ ในมิดเดิลเอิร์ธ ชื่อดังกล่าวน่าจะแปลว่า "ดินแดนแห่งกษัตริย์" มาจากภาษาซินดารินว่า อารา (Ara-) (แปลว่า สูงส่ง, เกี่ยวกับกษัตริย์) + (น)ดอร์ ((n) dor) (แปลว่า ดินแดน) ปรากฏอยู่ในนิยายทั้ง ซิลมาริลลิออน และ เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ ในช่วงที่ยิ่งใหญ่ที่สุดนั้น อาณาจักรอาร์นอร์แผ่กว้างไกลครอบคลุมดินแดนเกือบทั้งหมดของเอเรียดอร์ ตั้งแต่แม่น้ำบรุยเนน กวาโธล ไปจนถึงแม่น้ำลูห์น รวมทั้งดินแดนซึ่งต่อมารู้จักในนามว่า ไชร์ ด้วย ประชากรของอาร์นอร์ประกอบด้วยชาวดูเนไดน์ในดินแดนตะวันตกตอนกลางของอาณาจักร และชาวพื้นเมืองหรือลูกครึ่ง (รวมทั้งพวกต่อต้าน).

กอนดอร์และอาร์นอร์ · ภาษาเวสทรอนและอาร์นอร์ · ดูเพิ่มเติม »

ประวัติศาสตร์มิดเดิลเอิร์ธ

ประวัติศาสตร์มิดเดิลเอิร์ธ (The History of Middle-earth) เป็นชื่อชุดหนังสือจำนวน 12 เล่ม ที่รวบรวมงานเขียนต้นฉบับต่างๆ ของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน ที่เกี่ยวข้องกับปกรณัมชุดมิดเดิลเอิร์ธ นำมาเรียบเรียงใหม่โดยคริสโตเฟอร์ โทลคีน ตีพิมพ์จำหน่ายในช่วงระหว่างปี..

กอนดอร์และประวัติศาสตร์มิดเดิลเอิร์ธ · ประวัติศาสตร์มิดเดิลเอิร์ธและภาษาเวสทรอน · ดูเพิ่มเติม »

นูเมนอร์

นูเมนอร์ (Númenor) เป็นชื่อเกาะแห่งหนึ่งในโลกจินตนาการของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน ชุด เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ เป็นแผ่นดินที่แยกต่างหากออกมาจาก มิดเดิลเอิร์ธ มีแนวคิดในการประพันธ์มาจากแผ่นดินจมสมุทรแอตแลนติส ชื่อนูเมนอร์มาจากภาษาเควนยา ว่า Númenórë ซึ่งมีความหมายว่า แผ่นดินตะวันตก โทลคีนเขียนไว้ว่า เมื่อแปลงจากคำภาษาเควนยาเป็นภาษานูเมนอเรียน ชื่อนี้ออกเสียงเป็น อนาดูเน (Anadûnê).

กอนดอร์และนูเมนอร์ · นูเมนอร์และภาษาเวสทรอน · ดูเพิ่มเติม »

เอเรียดอร์

แผนที่เอเรียดอร์ เอเรียดอร์ (Eriador) เป็นชื่อดินแดนที่ปรากฏในนิยายของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน หลายๆ เรื่อง เช่น เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ เดอะฮอบบิท ซิลมาริลลิออน เป็นต้น คำว่า เอเรียดอร์ เป็นภาษาซินดาริน หมายถึง 'แผ่นดินร้าง' อาณาเขตของเอเรียดอร์สังเกตได้จากแนวเทือกเขาที่ขนาบอยู่ทางด้านตะวันตก คือเทือกเขาเอเร็ดลูอิน และด้านตะวันออก คือเทือกเขามิสตี้ หรือ ฮิธายเกลียร์ ดินแดนเอเรียดอร์ในยุคบรรพกาลหรือยุคที่หนึ่งของโลกอาร์ดา เป็นดินแดนที่เต็มไปด้วยป่ารกทึบ เหล่าเอลฟ์ที่เดินทางออกจากทะเลสาบคุยวิเอเนนมุ่งสู่แผ่นดินตะวันตก ต้องใช้เวลาเดินทางข้ามดินแดนนี้อยู่นานนับปีกว่าจะสามารถข้ามเอเร็ดลูอินไปได้ ไม่ค่อยมีเอลฟ์อาศัยอยู่ในดินแดนนี้มากนัก หากไม่ตั้งถิ่นฐานลงทางฟากตะวันออกของเทือกเขามิสตี้ ก็มักจะเดินทางข้ามไปถึงเบเลริอันด์ได้จนหมด ในยุคที่สอง หลังจากแผ่นดินเบเลริอันด์ล่มสลายไปแล้ว เอลฟ์ที่หนีรอดมาได้ ได้ตั้งถิ่นฐานลงทางด้านใต้ของเทือกเขาเอเร็ดลูอิน (คือฟากตะวันตกสุดของเอเรียดอร์) เป็นอาณาจักรลินดอน อีกพวกหนึ่งบุกเบิกไกลออกไปทางตะวันออก และตั้งอาณาจักรเอเรกิออนที่เชิงเขาฮิธายเกลียร์ (คือฟากตะวันออกสุดของเอเรียดอร์) ดินแดนช่วงกึ่งกลางยังคงถูกทิ้งเป็นป่ารกทึบ เมื่อถึงสมัยของ ทาร์-อัลดาริออน กษัตริย์นักเดินเรือแห่งนูเมนอร์ ชาวนูเมนอร์ได้เดินทางมาบุกเบิกดินแดนบนมิดเดิลเอิร์ธ โดยสร้างท่าเรือที่ปากแม่น้ำเกรย์ฟลัด แล้วแผ้วถางผืนป่าในเขตเอเน็ดไวธ์ (Enedwaith) เรื่อยขึ้นไปจนถึงปากแม่น้ำฮอร์เวล แล้วตั้งเมืองขึ้นชื่อว่า เมืองธาร์บัด (เมืองนี้เมื่อถึงยุคที่สามได้กลายเป็นเมืองร้าง) ทำให้ผืนป่าเอเน็ดไวธ์กลายเป็นที่ราบกว้างใหญ่ดังที่ปรากฏในยุคที่สาม คงเหลือเขตป่าเพียงเล็กน้อยอันเป็นที่อยู่อาศัยของชาวดันแลนด์ ตอนกลางของแผ่นดินเอเรียดอร์ ถูกบุกเบิกโดยชาวฮอบบิทนักผจญภัยสองคน และต่อมาได้กลายเป็นอาณาจักรไชร์ มีถนนสายสำคัญตัดผ่านกลางเอเรียดอร์สองสาย ได้แก.

กอนดอร์และเอเรียดอร์ · ภาษาเวสทรอนและเอเรียดอร์ · ดูเพิ่มเติม »

เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน

. อาร.

กอนดอร์และเจ. อาร์. อาร์. โทลคีน · ภาษาเวสทรอนและเจ. อาร์. อาร์. โทลคีน · ดูเพิ่มเติม »

เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์

อะลอร์ดออฟเดอะริงส์ (The Lord of the Rings) เป็นนิยายแฟนตาซีขนาดยาว ประพันธ์โดยศาสตราจารย์ชาวอังกฤษ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน เป็นนิยายที่ต่อเนื่องกับนิยายชุดก่อนหน้านี้ของโทลคีน คือ เรื่อง There and Back Again หรือที่รู้จักกันดีอีกชื่อหนึ่งว่า เดอะฮอบบิท แต่ได้ขยายโครงเรื่องซับซ้อนไปกว่า เดอะฮอบบิท มาก โทลคีนแต่งเรื่องนี้ขึ้นในช่วงปี..

กอนดอร์และเดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ · ภาษาเวสทรอนและเดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง กอนดอร์และภาษาเวสทรอน

กอนดอร์ มี 30 ความสัมพันธ์ขณะที่ ภาษาเวสทรอน มี 18 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 10, ดัชนี Jaccard คือ 20.83% = 10 / (30 + 18)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง กอนดอร์และภาษาเวสทรอน หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »