โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

กองเรือบอลติก

ดัชนี กองเรือบอลติก

กองเรือบอลติก (Балтийский флот, Baltiysky Flot) เป็นกองเรือของกองทัพเรือรัสเซีย ในทะเลบอลติก กองเรือบอลติก สถาปนาขึ้นในวันที่ 18 พฤษภาคม 1703 โดยจักรพรรดิปีเตอร์มหาราช โดยเป็นส่วนหนึ่งของกองทัพเรือจักรวรรดิรัสเซีย กองเรือบอลติกเป็นองค์กรของกองทัพเรือรัสเซียที่เก่าแก่ที่สุด กองเรือได้ถูกโอนเปลี่ยนยังสหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตรัสเซีย และต่อมาคือ สหภาพโซเวียต ในปี 1922 โดยเป็นส่วนหนึ่งของกองทัพเรือโซเวียต กองเรือยังเป็นที่รู้จักในชื่อของ ดวัจดืยครัสโนซนามิออนนืยบัลตีสกีโฟลต์ (Два́жды Краснознамённый Балти́йский фло́т) เนื่องจากในช่วงยุคโซเวียตกองเรือบอลติกได้รับเครื่องอิสริยาภรณ์ธงแดง 2 ครั้ง หลังจากการล่มสลายของสหภาพโซเวียตในเดือน ธันวาคม 1991 กองเรือบอลติกได้ถูกโอนเปลี่ยนยังสหพันธรัฐรัสเซีย โดยกลับไปใช้ชื่อเดิมในฐานะเป็นส่วนหนึ่งของกองทัพเรือรัสเซีย กองบัญชาการของกองเรือบอลติกตั้งอยู่ในเมืองคาลีนินกราด ซึ่งฐานทัพหลักตั้งอยู่ในเมืองบัลตีสค์ โดยทั้งสองอยู่ในแคว้นคาลีนินกราด และมีฐานทัพอื่นตั้งอยู่ในเมืองโครนสตัดต์, เซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก ในอ่าวฟินแลน.

22 ความสัมพันธ์: กองทัพรัสเซียกองทัพเรือรัสเซียกองทัพเรือจักรวรรดิรัสเซียกองทัพเรือโซเวียตมหาสงครามเหนือสหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตรัสเซียสหภาพโซเวียตสงครามกลางเมืองรัสเซียสงครามรัสเซีย-ญี่ปุ่นสงครามรัสเซีย-ตุรกีสงครามโลกครั้งที่สองสงครามโลกครั้งที่หนึ่งสงครามไครเมียสงครามเจ็ดปีอาณาจักรซาร์รัสเซียอ่าวฟินแลนด์จักรพรรดิปีเตอร์ที่ 1 แห่งรัสเซียทะเลบอลติกคาลีนินกราดแคว้นคาลินินกราดเครื่องอิสริยาภรณ์ธงแดงเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก

กองทัพรัสเซีย

กองทัพสหพันธรัฐรัสเซีย (Вооружённые Си́лы Росси́йской Федера́ции) เป็นราชการทหารของประเทศรัสเซีย ก่อตั้งขึ้นหลังสหภาพโซเวียตล่มสลาย วันที่ 7 พฤษภาคม 2535 บอริส เยลต์ซินลงนามในคำสั่งประธานาธิบดีที่สถาปนากระทรวงกลาโหมรัสเซียและกำหนดให้หน่วยทหารกองทัพโซเวียตทั้งหมดในดินแดนสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตรัสเซียอยู่ใต้การควบคุมของรัสเซีย ประธานาธิบดีรัสเซียเป็นผู้บัญชาการทหารของกองทัพ จำนวนกำลังพลมีระบุในคำสั่งประธานาธิบดีรัสเซีย วันที่ 1 มกราคม 2551 มีการกำหนดทหาร 2,019,629 นาย รวมถึงทหาร 1,134,800 นาย ในปี 2553 สถาบันศึกษายุทธศาสตร์ระหว่างประเทศประเมินว่ากองทัพรัสเซียมีกำลังพลประจำการราว 1,040,000 นาย และกองหนุน 2,035,000 นาย (ส่วนใหญ่เป็นอดีตทหารเกณฑ์)IISS Military Balance 2010, p. 222 หอบัญชีรัสเซียรายงานกำลังพลในกองทัพและได้รับค่าจ้างแท้จริงไว้ที่ 766,000 นายในเดือนตุลาคม 2556 ซึ่งไม่ตรงกับกำลังพลที่ระบุไว้ในคำสั่งประธานาธิบดี จนถึงเดือนธันวาคม 2556 กองทัพมีกำลังพลอยู่ที่ร้อยละ 82 ของกำลังพลที่ต้องการ.

ใหม่!!: กองเรือบอลติกและกองทัพรัสเซีย · ดูเพิ่มเติม »

กองทัพเรือรัสเซีย

กองทัพเรือรัสเซีย (r, lit. Military-Maritime Fleet of the Russian Federation) เป็นหน่วยงานของกองทัพสหพันธรัฐรัสเซีย ทำหน้าที่รับผิดชอบต่อการปฏิบัติการทางทหารในทะเล ลำน้ำ และพื้นที่บริเวณชายฝั่งของประเทศรัสเซีย กองทัพเรือรัสเซียก่อตั้งขึ้นในเดือน มกราคม 1992 ในฐานะผู้สืบทอดกองทัพเรือโซเวียต หลังจาก การล่มสลายของสหภาพโซเวียต ในเดือน ธันวาคม 1991 กองทัพเรือรัสเซียเดิม ก่อตั้งโดย จักรพรรดิปีเตอร์ที่ 1 แห่งรัสเซีย (ปีเตอร์มหาราช) ในเดือนตุลาคม 1696 โดยสัญลักษณ์ของกองทัพเรือรัสเซียแรก ๆ คือธงของนักบุญอันดรูว์ ปัจจุบันกองทัพเรือรัสเซียมีกองเรือย่อยที่รับช่วงต่อจากกองทัพเรือโซเวียตคือ กองเรืออาร์กติก, กองเรือแปซิฟิก, กองเรือทะเลดำ, กองเรือบอลติก, กองเรือเล็กแคสเปียน, กองบินนาวี, และ กองกำลังป้องกันชายฝั่ง (อีกชื่อของ ทหารนาวิกโยธิน และ กองกำลังปืนใหญ่และมิสไซล์ชายฝั่ง).

ใหม่!!: กองเรือบอลติกและกองทัพเรือรัสเซีย · ดูเพิ่มเติม »

กองทัพเรือจักรวรรดิรัสเซีย

กองทัพเรือจักรวรรดิรัสเซีย เป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบต่อการปฏิบัติการทางทหารในทะเล ลำน้ำ และพื้นที่บริเวณชายฝั่งของจักรวรรดิรัสเซีย โดยก่อตั้งขึ้นในปี 1696 จนกระทั่งถูกยุบใน การปฏิวัติเดือนกุมภาพันธ์ ในปี 1917 กองทัพเรือพัฒนามาจากกองกำลังขนาดเล็กที่มีอยู่ก่อนหน้านี้โดย จักรพรรดิปีเตอร์ที่ 1 แห่งรัสเซีย ทรงก่อตั้งกองทัพเรือรัสเซียในช่วง การทัพอะซอฟครั้งที่สอง.

ใหม่!!: กองเรือบอลติกและกองทัพเรือจักรวรรดิรัสเซีย · ดูเพิ่มเติม »

กองทัพเรือโซเวียต

กองทัพเรือโซเวียต (Военно-морской флот СССР (ВМФ)) เป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบต่อการปฏิบัติการทางทหารในทะเล ลำน้ำ และพื้นที่บริเวณชายฝั่งของสหภาพโซเวียต กองทัพเรือโซเวียตมีกองเรือย่อยคือกองเรืออาร์กติก, กองเรือบอลติก, กองเรือทะเลดำ, กองเรือแปซิฟิก และนอกจากนี้กองทัพเรือโซเวียตยังบัญชาการ ฐานทัพเรือเลนินกราด และ กองเรือรบเล็กแคสเปียน ซึ่งเป็นกองเรือที่ลาตตะเวนในทะเลสาบแคสเปียนและบัญชาการ Soviet Naval Aviation, นาวิกโยธินโซเวียต และ Coastal Artillery.

ใหม่!!: กองเรือบอลติกและกองทัพเรือโซเวียต · ดูเพิ่มเติม »

มหาสงครามเหนือ

มหาสงครามเหนือ (Great Northern War; Северная война; Stora nordiska kriget) เป็นสงครามครั้งใหญ่ที่เกิดขึ้นในเดือนกุมภาพันธ์ ปีคริสต์ศักราชที่ 1700 ต่อเนื่องไปจนถึงวันที่ 10 กันยายน ปีคริสต์ศักราช 1721 รวมระยะเวลาทั้งหมดเป็น 21 ปี นำโดยจักรวรรดิรัสเซียแห่งฝ่ายพันธมิตรเข้าปะทะกับจักรวรรดิสวีเดนในภูมิภาคยุโรปกลางและยุโรปเหนือ ก่อนจะนำมาด้วยชัยชนะของฝ่ายพันธมิตรและการก้าวขึ้นมามีอำนาจสูงสุดของรัสเซียเหนือคาบสมุทรบอลติก รวมถึงการเข้ามามีอิทธิพลในยุโรปของรัสเซียจวบจนปัจจุบัน ส่วนสวีเดนต้องตกอยู่ใต้ "ยุคแห่งเสรีภาพ" อันมีระบบรัฐสภาปกครองประเทศอันเนื่องมาจากเหตุสวรรคตของพระเจ้าชาลส์ที่ 12นำไปสู่ยุคไร้พระมหากษัตริย์ของสวีเดนถึง 54 ปี สงครามนี้นำด้วยกองทหารสองเหล่าทัพ โดยมีฝ่ายสัมพันธมิตรเป็นผู้เปิดฉากต่อสู้ก่อน นำโดยพระเจ้าปีเตอร์มหาราชแห่งรัสเซีย พระเจ้าเฟรเดอริคที่ 4 แห่งเดนมาร์ก-นอร์เวย์ และพระเจ้าออกัสตัสที่ 2 แห่งแซกซ์-โปแลนด์-ลิทัวเนีย ซึ่งต่อมาได้ถอนกำลังออกในปี ค.ศ. 1700 และปี ค.ศ. 1706 ตามลำดับ แต่ในปี ค.ศ. 1709ก็ได้นำกองทัพเข้ามาสมทบต่อจนสิ้นสงคราม นอกจากนี้ยังมี พระเจ้าจอร์จที่ 1นำทัพจากฮาโนเวอร์เข้ามาร่วมสงครามในปี ค.ศ. 1714 และได้นำทัพจากบริเตนใหญ่เข้ามาสมทบภายหลังในปี ค.ศ. 1717 รวมทั้งพระเจ้าฟรีดริช วิลเฮล์มที่ 1 แห่งบรานเดนบูร์ก-ปรัสเซียที่นำกองทัพเข้ามาสมทบในปี ค.ศ. 1715 อีกด้วย ส่วนทางด้านฝ่ายสวีเดนนั้นนำด้วยพระเจ้าชาลส์ที่ 12 โดยมีกองทัพแห่งโฮลชไตน์-ก็อธธอร์ป รวมทั้งทัพโปแลนด์-ลิทัวเนียที่นำโดยกษัตริย์สตานิสลอว เลซซิงสกีในปี ค.ศ. 1704 ถึงปี ค.ศ. 1710 และกองทัพคอสแซคภายใต้การนำทัพของอีวาน มาเซปปา รองผู้บัญชาการทัพสูงสุดแห่งชนชาติยูเครน รวมถึงสุลต่านอาห์เมดที่นำทัพออตโตมันร่วมสงครามกับฝ่ายสวีเดนแล้วมุ่งหน้าปะทะกับกองทัพรัสเซียเป็นหลักอีกด้วย สงครามเปิดฉากด้วยการที่กองทัพพันธมิตรแห่งเดนมาร์ก-นอร์เวย์ แซกโซนี โปแลนด์-ลิทัวเนีย และรัสเซียกรีฑาทัพเข้าโจมตีโฮลชไตน์-ก็อธธอร์ป ลิโวเนีย และอินเกรียอันเป็นดินแดนของจักรวรรดิสวีเดนซึ่งอยู่ภายใต้การปกครองของพระเจ้าชาลส์ที่ 12ที่ในสมัยนั้นยังทรงพระเยาว์ จึงขาดความรู้และประสบการณ์เป็นอย่างมาก ฝ่ายสวีเดนจึงได้แต่ตั้งหน้ารับการโจมตีของฝ่ายพันธมิตรอยู่ท่าเดียว จนกระทั่งยุทธการนั้นจบลงด้วยสนธิสัญญาสงบศึกแห่งทราเวนดอล นับตั้งแต่นั้นมหาสงครามเหนือก็ได้เริ่มขึ้น และกลายเป็นสงครามที่ยิ่งใหญ่ครั้งหนึ่งๆ ในประวัติศาสตร์ยุโรปเลยทีเดียว หลังจากระยะสงครามที่ยืดเยื้อมาถึง 21 ปีแล้ว จักรวรรดิสวีเดนได้เริ่มทำสนธิสัญญาสตอกโฮล์มเพื่อสงบศึกกับฮาโนเวอร์และปรัสเซียในปี ค.ศ. 1719 ต่อมาในปี ค.ศ. 1720 ได้ทำสนธิสัญญาสงบศึกเฟรเดริกส์เบิร์กกับฝั่งเดนมาร์ก-นอร์เวย์ แต่ก็ยังยืนกรานที่จะเปิดสงครามกับรัสเซียต่อไป จนกระทั่งปี ค.ศ. 1721 สวีเดนแพ้สงครามในที่สุด จนสวีเดนต้องทำสนธิสัญญาสงบศึกนีสตาดกับรัสเซีย โดยสนธิสัญญาทั้งสามฉบับสวีเดนต้องเสียสินทรัพย์และดินแดนเป็นจำนวนไม่น้อยเป็นค่าปฏิกรรมสงครามเลยทีเดียว ท้ายที่สุดแล้วสวีเดนจึงต้องสูญเสียอำนาจในการปกครองดินแดนหลายๆ ส่วน นอกจากนั้นยังโดนลดอำนาจในคาบสมุทรบอลติกลงและยังต้องเปลี่ยนระบอบการปกครองเพราะสิ้นราชวงศ์ในสงครามอีกด้วย ส่วนรัสเซียนั้นหลังจบสงครามก็ได้เริ่มต้นยุคแห่งการแผ่ขยายอำนาจออกไปอย่างกว้างใหญ่ไพศาล ก่อนที่จะหยุดลงในสองศตวรรษหลังจากนั้นเอง แต่อิทธิพลของรัสเซียที่มีต่อยุโรปและต่อประชาคมโลกยังคงมีอยู่ แม้จะน้อยลงบ้างก็ตาม.

ใหม่!!: กองเรือบอลติกและมหาสงครามเหนือ · ดูเพิ่มเติม »

สหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตรัสเซีย

หพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตรัสเซีย (date|r.

ใหม่!!: กองเรือบอลติกและสหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตรัสเซีย · ดูเพิ่มเติม »

สหภาพโซเวียต

หภาพสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียต (Сою́з Сове́тских Социалисти́ческих Респу́блик - CCCP; Union of Soviet Socialist Republics - USSR) หรือย่อเป็น สหภาพโซเวียต (Soviet Union) เป็นประเทศอภิมหาอำนาจในอดีตบนทวีปยูเรเชีย ระหว่างปี..

ใหม่!!: กองเรือบอลติกและสหภาพโซเวียต · ดูเพิ่มเติม »

สงครามกลางเมืองรัสเซีย

งครามกลางเมืองรัสเซีย (Grazhdanskaya voyna v Rossiyi)Mawdsley, pp.

ใหม่!!: กองเรือบอลติกและสงครามกลางเมืองรัสเซีย · ดูเพิ่มเติม »

สงครามรัสเซีย-ญี่ปุ่น

งครามรัสเซีย-ญี่ปุ่น (Russo-Japanese War) เป็น สงครามครั้งใหญ่ครั้งแรกในศตวรรษที่ 20 อันเนื่องมาจากลัทธิจักรวรรดินิยมของจักรวรรดิรัสเซียและจักรวรรดิญี่ปุ่น ในบริเวณทางใต้ของแมนจูเรียในพื้นที่คาบสมุทรเหลียวตง, เสิ่นหยาง และบริเวณเกาหลีในพื้นที่คาบสมุทรเกาหลี, ทะเลเหลือง รัสเซียได้ร้องขอท่าเรือน้ำอุ่นในมหาสมุทรแปซิฟิกไว้ เพื่อใช้งานด้านกองทัพเรือและการค้าทางทะเลของรัสเซีย เนื่องจากนครวลาดิวอสต็อกของรัสเซียสามารถเปิดดำเนินการได้อย่างเต็มที่เฉพาะในฤดูร้อนเท่านั้น แต่เมืองพอร์ตอาเธอร์ (ลวี่ชุนเกาในปัจจุบัน) สามารถเปิดดำเนินการได้ตลอดทั้งปี ซึ่งตั้งแต่สงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่ 1 ยุติลง ในปี..

ใหม่!!: กองเรือบอลติกและสงครามรัสเซีย-ญี่ปุ่น · ดูเพิ่มเติม »

สงครามรัสเซีย-ตุรกี

งครามรัสเซีย-ตุรกี อาจจะหมายถึง.

ใหม่!!: กองเรือบอลติกและสงครามรัสเซีย-ตุรกี · ดูเพิ่มเติม »

สงครามโลกครั้งที่สอง

งครามโลกครั้งที่สอง (World War II หรือ Second World Warคำว่าสงครามโลกครั้งที่สองในภาษาอังกฤษนั้น ในเอกสารประวัติศาสตร์อย่างเป็นทางการของสหราชอาณาจักรและชาติตะวันตกใช้คำว่า "Second World War" ส่วนในสหรัฐใช้คำว่า "World War II" (ย่อเป็น "WWII" หรือ "WW2") ซึ่งเอกสารประวัติศาสตร์อย่างเป็นทางการในประเทศส่วนใหญ่มักจะใช้ภาษาอังกฤษว่า "Second World War" (เช่น Zweiter Weltkrieg ในภาษาเยอรมัน; Segunda Guerra mundial ในภาษาสเปน; Seconde Guerre mondiale ในภาษาฝรั่งเศส) แต่ทั้งสองคำนี้โดยทั่วไปแล้วสามารถใช้แทนกันได้; แม้ในประวัติศาสตร์การทหารอย่างเป็นทางการ คำว่า "Second World War" ถูกสร้างขึ้นโดย แฟรงก์ บี. เคลล็อก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกา; ส่วนคำว่า "World War II" พบใช้เป็นครั้งแรกในนิตยสาร ไทมส์ เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน ค.ศ. 1939 ซึ่งเป็นผู้ประดิษฐ์คำว่า "World War I" ขึ้นในอีกสามเดือนต่อมา; มักย่อเป็น WWII หรือ WW2) เป็นสงครามทั่วโลกกินเวลาตั้งแต่ปี 1939 ถึง 1945 ประเทศส่วนใหญ่ในโลกมีส่วนเกี่ยวข้อง รวมทั้งรัฐมหาอำนาจทั้งหมด แบ่งเป็นพันธมิตรทางทหารคู่สงครามสองฝ่าย คือ ฝ่ายสัมพันธมิตรและฝ่ายอักษะ เป็นสงครามที่กว้างขวางที่สุดในประวัติศาสตร์ มีทหารกว่า 100 ล้านนายจากกว่า 30 ประเทศเข้าร่วมโดยตรง สงครามนี้มีลักษณะเป็น "สงครามเบ็ดเสร็จ" คือ ประเทศผู้ร่วมสงครามหลักทุ่มขีดความสามารถทางเศรษฐกิจ อุตสาหกรรมและวิทยาศาสตร์ทั้งหมดเพื่อความพยายามของสงคราม โดยลบเส้นแบ่งระหว่างทรัพยากรของพลเรือนและทหาร ประเมินกันว่าสงครามมีมูลค่าราว 1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ประเมินกันว่ามีผู้เสียชีวิตระหว่าง 50 ถึง 85 ล้านคน ด้วยประการทั้งปวง สงครามโลกครั้งที่สองจึงนับว่าเป็นสงครามขนาดใหญ่ที่สุด ใช้เงินทุนมากที่สุด และมีผู้เสียชีวิตสูงสุดในประวัติศาสตร์มนุษยชาติ จักรวรรดิญี่ปุ่นซึ่งมีเป้าหมายครอบงำทวีปเอเชียและแปซิฟิกและทำสงครามกับจีนมาตั้งแต่ปี 1937 แล้ว แต่โดยทั่วไปถือว่าสงครามโลกครั้งที่สองเริ่มตั้งแต่การบุกครองโปแลนด์ของเยอรมนีในวันที่ 1 กันยายน 1939 นำไปสู่การประกาศสงครามต่อเยอรมนีของประเทศฝรั่งเศสและสหราชอาณาจักร ตั้งแต่ปลายปี 1939 ถึงต้นปี 1941 ในการทัพและสนธิสัญญาต่าง ๆ ประเทศเยอรมนีพิชิตหรือควบคุมยุโรปภาคพื้นทวีปได้ส่วนใหญ่ และตั้งพันธมิตรอักษะกับอิตาลีและญี่ปุ่น ภายใต้สนธิสัญญาโมโลตอฟ–ริบเบนทรอพเมื่อเดือนสิงหาคม 1939 เยอรมนีและสหภาพโซเวียตแบ่งแลผนวกดินแดนประเทศเพื่อนบ้านยุโรปของตน ได้แก่ โปแลนด์ ฟินแลนด์ โรมาเนียและรัฐบอลติก สงครามดำเนินต่อส่วนใหญ่ระหว่างชาติฝ่ายอักษะยุโรปและแนวร่วมสหราชอาณาจักรและเครือจักรภพบริติช โดยมีการทัพอย่างการทัพแอฟริกาเหนือและแอฟริกาตะวันออก ยุทธการที่บริเตนซึ่งเป็นการสู้รบทางอากาศ การทัพทิ้งระเบิดเดอะบลิตซ์ การทัพบอลข่าน ตลอดจนยุทธการที่แอตแลนติกที่ยืดเยื้อ ในเดือนมิถุนายน 1941 ชาติอักษะยุโรปบุกครองสหภาพโซเวียต เปิดฉากเขตสงครามภาคพื้นดินที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ ซึ่งทำให้กำลังทหารสำคัญของฝ่ายอักษะตกอยู่ในสงครามบั่นทอนกำลัง ในเดือนธันวาคม 1941 ญี่ปุ่นโจมตีสหรัฐและอาณานิคมยุโรปในมหาสมุทรแปซิฟิก และพิชิตมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกส่วนมากได้อย่างรวดเร็ว การรุกของฝ่ายอักษะยุติลงในปี 1942 หลังญี่ปุ่นปราชัยในยุทธนาวีที่มิดเวย์ใกล้กับฮาวายที่สำคัญ และเยอรมนีปราชัยในแอฟริกาเหนือและจากนั้นที่สตาลินกราดในสหภาพโซเวียต ในปี 1943 จากความปราชัยของเยอรมนีติด ๆ กันที่เคิสก์ในยุโรปตะวันออก การบุกครองอิตาลีของฝ่ายสัมพันธมิตรซึ่งนำให้อิตาลียอมจำนน จนถึงชัยของฝ่ายสัมพันธมิตรในมหาสมุทรแปซิฟิก ฝ่ายอักษะเสียการริเริ่มและต้องล่าถอยทางยุทธศาสตร์ในทุกแนวรบ ในปี 1944 ฝ่ายสัมพันธมิตรบุกครองฝรั่งเศสในการยึดครองของเยอรมนี ขณะเดียวกันกับที่สหภาพโซเวียตยึดดินแดนที่เสียไปทั้งหมดคืนและบุกครองเยอรมนีและพันธมิตร ระหว่างปี 1944 และ 1945 ญี่ปุ่นปราชัยสำคัญในทวีปเอเชียในภาคกลางและภาคใต้ของจีนและพม่า ขณะที่ฝ่ายสัมพันธมิตรก่อความเสียหายต่อกองทัพเรือญี่ปุ่นและยึดหมู่เกาะแปซิฟิกตะวันตกที่สำคัญ สงครามในยุโรปยุติลงหลังกองทัพแดงยึดกรุงเบอร์ลินได้ และการยอมจำนนอย่างไม่มีเงื่อนไขของเยอรมนีเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 1945 แม้จะถูกโดดเดี่ยวและตกอยู่ในสภาพเสียเปรียบอย่างยิ่ง ญี่ปุ่นยังปฏิเสธที่จะยอมจำนน กระทั่งมีการทิ้งระเบิดนิวเคลียร์สองลูกถล่มญี่ปุ่น และการบุกครองแมนจูเรีย จึงได้นำไปสู่การยอมจำนนอย่างเป็นทางการของญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 2 กันยายน 1945 สงครามยุติลงด้วยชัยชนะของฝ่ายสัมพันธมิตร ผลของสงครามได้เปลี่ยนแปลงการวางแนวทางการเมืองและโครงสร้างสังคมของโลก สหประชาชาติถูกสถาปนาขึ้น เพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศและเพื่อป้องกันความขัดแย้งในอนาคต สหรัฐอเมริกากับสหภาพโซเวียตก้าวเป็นอภิมหาอำนาจของโลกอันเป็นคู่ปรปักษ์กัน นำไปสู่ความขัดแย้งบนเวทีแห่งสงครามเย็น ซึ่งได้ดำเนินต่อมาอีก 46 ปีหลังสงคราม ขณะเดียวกัน การยอมรับหลักการการกำหนดการปกครองด้วยตนเอง เร่งให้เกิดการเคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้องเอกราชในทวีปเอเชียและทวีปแอฟริกา พร้อม ๆ กับที่หลายประเทศได้มุ่งหน้าฟื้นฟูเศรษฐกิจซึ่งอุตสาหกรรมได้รับความเสียหายระหว่างสงคราม และบูรณาการทางการเมืองได้เกิดขึ้นทั่วโลกในความพยายามที่จะรักษาเสถียรภาพความสัมพันธ์หลังสงคราม.

ใหม่!!: กองเรือบอลติกและสงครามโลกครั้งที่สอง · ดูเพิ่มเติม »

สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง

งครามโลกครั้งที่หนึ่ง (World War I หรือ First World War) หรือที่มักเรียกว่า "สงครามโลก" หรือ "มหาสงคราม" (Great War) ก่อน..

ใหม่!!: กองเรือบอลติกและสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง · ดูเพิ่มเติม »

สงครามไครเมีย

งครามไครเมีย (Crimean War, ตุลาคม ค.ศ. 1853 – กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1856)Kinglake (1863:354)Sweetman (2001:7) เป็นสงครามระหว่างจักรวรรดิรัสเซียฝ่ายหนึ่ง กับพันธมิตรอันประกอบด้วยจักรวรรดิฝรั่งเศส จักรวรรดิอังกฤษ จักรวรรดิออตโตมัน และราชอาณาจักรซาร์ดิเนียอีกฝ่ายหนึ่ง สงครามนี้เป็นส่วนหนึ่งของการแข่งขันอันยาวนานระหว่างมหาอำนาจยุโรปเพื่อมีอิทธิพลเหนือดินแดนของออตโตมันที่เสื่อมอำนาจลง สงครามส่วนใหญ่เกิดขึ้นในคาบสมุทรไครเมีย แต่ยังมีการทัพขนาดเล็กในอนาโตเลียตะวันตก คอเคซัส ทะเลบอลติก มหาสมุทรแปซิฟิก และทะเลขาว สงครามไครเมียเป็นที่รู้จักกันเนื่องด้วยข้อผิดพลาดทางพลาธิการและยุทธวิธีระหว่างการทัพทางบกของทั้งสองฝ่าย ส่วนกองทัพเรือนั้น การทัพฝ่ายสัมพันธมิตรประสบความสำเร็จในการทำลายเรือส่วนใหญ่ของกองทัพเรือรัสเซียในทะเลดำ แม้กระนั้น บางครั้งสงครามดังกล่าวถูกมองว่าเป็นหนึ่งในสงคราม "สมัยใหม่" ครั้งแรก ๆ เพราะมัน "ได้นำมาซึ่งการเปลี่ยนแปลงทางเทคนิคซึ่งส่งผลกระทบต่อเส้นทางสงครามในอนาคต" ซึ่งรวมไปถึงการใช้ทางรถไฟและโทรเลขในทางยุทธวิธีเป็นครั้งแรกด้วยRoyle.

ใหม่!!: กองเรือบอลติกและสงครามไครเมีย · ดูเพิ่มเติม »

สงครามเจ็ดปี

ำหรับสงครามเจ็ดปีในความหมายอื่น อ่าน สงครามเจ็ดปี (แก้ความกำกวม) สงครามเจ็ดปี (Seven Years' War) หรือ สงครามไซลีเซียครั้งที่ 3 (Third Silesian War) เป็นสงครามที่เกิดขึ้นระหว่างปี..

ใหม่!!: กองเรือบอลติกและสงครามเจ็ดปี · ดูเพิ่มเติม »

อาณาจักรซาร์รัสเซีย

อาณาจักรซาร์แห่งรัสเซีย (Царство Русское หรือ Tsarstvo Russkoye, Tsardom of Russia) เป็นชื่อทางการ ของราชอาณาจักรรัสเซียที่เริ่มตั้งแต่การขึ้นเสวยราชย์ของซาร์อีวานที่ 4 แห่งรัสเซียในปี ค.ศ. 1547 และสิ้นสุดลงเมื่อซาร์ปีเตอร์ที่ 1 ทรงก่อตั้งจักรวรรดิรัสเซียในปี ค.ศ. 1721 คำว่า “Muscovite Tsardom” มักจะเป็นคำที่นักประวัติศาสตร์รัสเซียบางคนใช้ในการเรียกอาณาจักรซาร์แห่งรัสเซีย และถือว่าเป็นคำที่มีความหมายถึงอาณาจักรที่แท้จริง.

ใหม่!!: กองเรือบอลติกและอาณาจักรซาร์รัสเซีย · ดูเพิ่มเติม »

อ่าวฟินแลนด์

ทะเลบอลติก อ่าวฟินแลนด์คือส่วนแขนด้านขวา อ่าวฟินแลนด์ (Gulf of Finland; Suomenlahti; Soome laht; Фи́нский зали́в; Finska viken) เป็นส่วนตะวันออกที่สุดของทะเลบอลติก ส่วนตะวันออกที่สุดของอ่าวฟินแลนด์เป็นที่รู้จักกันในชื่อ อ่าวเนวา ล้อมรอบโดยประเทศฟินแลนด์ เอสโตเนีย และรัสเซีย มีเนื้อที่ราว 30,000 ตารางกิโลเมตร ทะเลในอ่าวนี้ค่อนข้างตื้น มีความลึกเฉลี่ย 40 เมตร จุดที่ลึกที่สุดอยู่ทางตะวันตก มีความลึก 121 เมตร.

ใหม่!!: กองเรือบอลติกและอ่าวฟินแลนด์ · ดูเพิ่มเติม »

จักรพรรดิปีเตอร์ที่ 1 แห่งรัสเซีย

ักรพรรดิปีเตอร์ที่ 1 แห่งรัสเซีย หรือ ปีเตอร์มหาราช (Пётр I Великий, 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2215 - 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2268) ทรงเป็นจักรพรรดิแห่งจักรวรรดิรัสเซียตั้งแต่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2225 จนกระทั่งสวรรคต และถือได้ว่าเป็นหนึ่งในผู้ทรงอำนาจของยุโรปในสมัยนั้น ในช่วงระยะเวลาของรัชสมัยจักรพรรดิปีเตอร์ที่ 1 มหาราช พระองค์ได้ทรงสร้างประเทศเป็น “จักรวรรดิ” ที่เป็นที่น่าเกรงขามได้สำเร็จ การติดต่อด้านการค้าและการทูตกับต่างประเทศ การรับเอาความเจริญทางด้านการทหาร การช่างและวิทยาศาสตร์มาใช้ในการปรับปรุงและพัฒนาประเทศ ในสมัยต้นราชวงศ์โรมานอฟล้วนแต่เป็นการแผ้วทางไปสู่ความยิ่งใหญ่ของการเป็นมหาอํานาจของรัสเซีย เมื่อพระองค์เสด็จสวรรคตใน..

ใหม่!!: กองเรือบอลติกและจักรพรรดิปีเตอร์ที่ 1 แห่งรัสเซีย · ดูเพิ่มเติม »

ทะเลบอลติก

ทะเลบอลติก (Baltic Sea) ตั้งอยู่ในภูมิภาคยุโรปเหนือ ห้อมล้อมด้วยคาบสมุทรสแกนดิเนเวีย แผ่นดินใหญ่ของภูมิภาคยุโรปเหนือ ภูมิภาคยุโรปตะวันออก ภูมิภาคยุโรปกลาง และหมู่เกาะของประเทศเดนมาร์ก ทะเลนี้เชื่อมเข้าสู่ช่องแคบแคตทีแกต (Kattegat) ผ่านทางช่องแคบเออเรซุนด์ (Öresund) ช่องแคบเกรตเบลต์ (Great Belt) และช่องแคบลิตเทิลเบลต์ (Little Belt) ซึ่งหากผ่านช่องแคบแคทีแกตต่อไปก็จะพบช่องแคบสแกเกอร์แรก (Skagerrak) ที่จะเข้าสู่ทะเลเหนือและมหาสมุทรแอตแลนติก ทะเลบอลติกยังเชื่อมต่อกับทะเลขาวด้วยคลองไวต์ซี (White Sea) และเชื่อมต่อกับทะเลเหนือโดยผ่านทางคลองคีล (Kiel).

ใหม่!!: กองเรือบอลติกและทะเลบอลติก · ดูเพิ่มเติม »

คาลีนินกราด

ลีนินกราด (p) (อดีต: เคอนิจส์แบร์ก; r; ปรัสเซียเก่า: Twangste, Kunnegsgarbs, Knigsberg; Królewiec; Karaliaučius) เป็นเมืองการปกครองหลักของแคว้นคาลีนินกราด ซื่งเป็นดินแดนส่วนแยกของประเทศรัสเซีย ระหว่าง ประเทศโปแลนด์ และ ประเทศลิทัวเนีย ใน ทะเลบอลติก.

ใหม่!!: กองเรือบอลติกและคาลีนินกราด · ดูเพิ่มเติม »

แคว้นคาลินินกราด

แคว้นคาลีนินกราด (Калинингра́дская о́бласть) เป็นเขตการปกครองของสหพันธรัฐรัสเซีย ซึ่งตั้งอยู่บริเวณชายฝั่งทะเลบอลติก.

ใหม่!!: กองเรือบอลติกและแคว้นคาลินินกราด · ดูเพิ่มเติม »

เครื่องอิสริยาภรณ์ธงแดง

รื่องอิสริยาภรณ์ธงแดง (Орден Красного Знамени) เป็นเครื่องอิสริยาภรณ์ทางทหารดวงแรกของสหภาพโซเวียต สถาปนาเมื่อวันที่ 16 กันยายน..

ใหม่!!: กองเรือบอลติกและเครื่องอิสริยาภรณ์ธงแดง · ดูเพิ่มเติม »

เซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก

ซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก (Saint Petersburg; Санкт-Петербу́рг, เป็นเมืองท่าทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของสหพันธรัฐรัสเซีย ตั้งอยู่ปากแม่น้ำเนวา ริมอ่าวฟินแลนด์ในทะเลบอลติก เซนต์ปีเตอร์สเบิร์กสร้างโดยพระเจ้าซาร์ปีเตอร์มหาราช เมื่อ พ.ศ. 2246 โดยตัวเมืองเริ่มสร้างด้วยการถมทรายและหินเป็นจำนวนมากเพราะว่าพื้นที่เดิมของเมืองนั้นเป็นดินเลนของทะเล พระองค์ทรงเลือกที่จะสร้างเมืองที่บริเวณนี้เพราะว่าตัวเมืองมีทางออกทะเลบอลติกและสามารถติดต่อไปทางยุโรปและประเทศอื่นๆได้ง่าย เพื่อการปฏิรูปรัสเซียให้ทัดเทียมกับประเทศอื่น ๆ ในยุโรปได้โดยง่าย ต่อมาเมืองเซนต์ปีเตอร์เบิร์กจึงได้รับสมญานามว่าหน้าต่างแห่งยุโรป และได้เป็นเมืองหลวงของจักรวรรดิรัสเซียเป็นเวลา 206 ปี (หลังจากนั้นได้ย้ายเมืองหลวงไปที่มอสโก เมื่อ พ.ศ. 2461) ชื่อเดิมของเซนต์ปีเตอร์สเบิร์กคือ เปโตรกราด (Petrograd, Петрогра́д, ใช้ในช่วง พ.ศ. 2457-2467) และ เลนินกราด (Leningrad, Ленингра́д, ใช้ในช่วง พ.ศ. 2467-2534) ปัจจุบันเซนต์ปีเตอร์สเบิร์กมีประชากรมากกว่า 4.7 ล้านคน เป็นเมืองใหญ่อันดับสองของรัสเซีย และเป็นมรดกโลกขององค์กรยูเนสโก.

ใหม่!!: กองเรือบอลติกและเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Baltic FleetBaltiysky Flot

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »