เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

กองพลเกรนาดีร์วัฟเฟินแห่งเอ็สเอ็สที่ 36และการก่อการกำเริบวอร์ซอ

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง กองพลเกรนาดีร์วัฟเฟินแห่งเอ็สเอ็สที่ 36และการก่อการกำเริบวอร์ซอ

กองพลเกรนาดีร์วัฟเฟินแห่งเอ็สเอ็สที่ 36 vs. การก่อการกำเริบวอร์ซอ

กองพลเกรนาดีร์วัฟเฟินแห่งเอ็สเอ็สที่ 36(36., เป็นที่รู้จักกันคือ SS-Sturmbrigade Dirlewanger (1944), หรือจากตัวอย่างที่เรียกว่า กองพลน้อยเดียร์เลวังงาร์,เป็นหน่วยทหารของหน่วยวัฟเฟิน-เอ็สเอ็สในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ซึ่งประกอบไปด้วยเหล่าอาชญากรที่คาดหวังว่าจะสู้รบจนตัวตายในแนวหน้า, หน่วยนี้อยู่ภายใต้การนำของออสคาร์ เดียร์เลวังงาร์ แต่เดิมที่ได้ก่อตั้งขึ้นมาสำหรับการต่อต้านพลพรรคเพื่อประจัญหน้ากับการต่อต้านของโปแลนด์ ในท้ายที่สุด หน่วยนี้ได้แสดงให้เห็นในการปฏิบัติหน้าที่ในสโลวาเกีย, ฮังการี และต่อกรกับกองทัพแดงแห่งสหภาพโซเวียตจนกระทั่งสงครามใกล้ยุติลง ในช่วงระหว่างปฏิบัติการได้เข้าไปมีส่วนร่วมในการข่มขืน, ปล้นสดมภ์ และสังหารหมู่ต่อพลเรือน หน่วยนี้ได้เข้าไปมีส่วนร่วมในบางครั้งของการทัพที่ฉ่าวโฉที่สุดในสงครามโลกครั้งที่สองของความหวาดกลัวในด้านตะวันออก ในช่วงเวลาที่องค์กรได้อยู่ในดินแดนรัสเซีย, เดียร์เลวังงาร์ได้ทำการเผาผู้หญิงและเด็กทั้งเป็นและปล่อยให้สุนัขที่หิวโหยนั้นรุมขย้ำเพื่อเป็นอาหารของพวกมัน เขาได้เป็นที่รู้จักคือเป็นขบวนการขนาดใหญ่ที่ก่อตั้งขึ้นโดยมีเป้าหมายเพียงอย่างเดียวคือการฉีดยากับชาวยิวด้วยสตริกนิน หน่วยเดียร์เลวังงาร์ได้เข้าไปมีส่วนร่วมในการยึดครองเบลารุส ที่ได้ทำการจารึกชื่อเสียงในหน่วยวัฟเฟิน-เอ็สเอ็สสำหรับการกระทำที่โหดเหี้ยม กองทัพต่างๆและผู้บัญชาการเอ็สเอ็สได้พยายามที่จะถอดถอนเดียร์เลวังงาร์ออกจากหน่วยเอ็สเอ็สและยุบหน่วยนี้ทิ้ง แม้ว่าเขาจะมีผู้อุปถัมภ์ภายในเครื่องมือนาซีที่ได้เข้ามาแทรกแซงในนามของเขา หน่วยของเขาได้เป็นที่น่าจดจำมากที่สุดของชื่อเสียงด้วยการทำลายกรุงวอร์ซออย่างราบคาบ, และการสังหารหมู่จำนวน 100,000 คนของประชากรของเมืองในช่วงการก่อการกำเริบวอร์ซอ; และได้เข้าไปมีส่วนร่วมในการปราบปรามอย่างโหดเหี้ยมของการก่อการกำเริบชาติสโลวาเกียในปี ค.ศ. 1944 กองพลเดียร์เลวังงาร์แห่งหน่วยวัฟเฟิน-เอ็สเอ็สได้สร้างความหวาดกลัวให้กับองค์กรวัฟเฟิน-เอ็สเอ็ส รวมทั้ง SS-Führungshauptamt (กองบัญชาการทหารสูงสุดเอ็สเอ็ส) และมีชื่อเสียงด้านลบอย่างร้ายแแรงมากที่สุดในฐานะอาชญากรและชั่วร้ายมากที่สุดของหน่วยเอ็สเอ็สในเครื่องจักรสงครามของฮิตเลอร. การก่อการกำเริบวอร์ซอ (powstanie warszawskie) เป็นเหตุการณ์ครั้งสำคัญในสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง เมื่อได้เกิดเหตุการณ์การจลาจลในกรุงวอร์ซอ ประเทศโปแลนด์ เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม ปี 1944 ซึ่งประเทศโปแลนด์อยู่ภายใต้การยึดครองของนาซีเยอรมนี การก่อจลาจลนั้นมาจากกองกำลังใต้ดินของกองทัพบ้านเกิดของประเทศโปแลนด์ในกรุงวอร์ซอได้ก่อจลาจลเพื่อปลดปล่อยประเทศโปแลนด์ให้เป็นอิสระจากนาซีเยอรมันให้ได้ก่อนสหภาพโซเวียตซึ่งกำลังรุกจากตะวันออก เนื่องจากเป็นวัตถุประสงค์ของสหราชอาณาจักรเพราะได้เล็งเห็นว่าสหภาพโซเวียตได้สนับสนุนคณะกรรมาธิการแห่งชาติเพื่อการปลดปล่อยโปแลนด์และหมายจะยึดครองโปแลนด์ให้กลายเป็นรัฐบริวารคอมมิวนิสต์ซึ่งได้พยายามขัดขวางไม่ให้ทำสำเร็จจึงได้สนับสนุนขบวนการใต้ดินของโปแลนด์ในการก่อจลาจลโดยได้ให้การสนับสนุนทางอากาศของตน โปลแลนด์ แอฟริกาใต้ และสหรัฐอเมริกา ส่วนสหภาพโซเวียตได้แสดงเจตจำนงทำการสนับสนุนกองทัพบ้านเกิดของโปแลนด์ในการก่อจลาจลจึงได้ให้การสนับสนุนกองทัพอากาศเช่น การต่อสู้ได้ถูกดำเนินเป็นเวลา 2 เดือน จนกระทั่งเมื่อวันที่ 2 ตุลาคม ปี 1944 กองทัพเยอรมันได้ปราบปรามการจลาจลอย่างราบคาบ กองกำลังใต้ดินโปแลนด์ได้ยอมจำนน และกรุงวอร์ซอถูกทำลายเสียหายยับเยินโดยกองทัพเยอรมัน สาเหตุที่การจลาจลล้มเหลวเพราะสหภาพโซเวียตไม่ได้สนับสนุนอย่างจริงจังแต่อย่างใดเลย และยังปฏิเสธไม่ให้กองทัพอากาศสหรัฐอเมริกาลงจอดในลานบินแดนโซเวียตเพื่อสนันสนุนโปแลน.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง กองพลเกรนาดีร์วัฟเฟินแห่งเอ็สเอ็สที่ 36และการก่อการกำเริบวอร์ซอ

กองพลเกรนาดีร์วัฟเฟินแห่งเอ็สเอ็สที่ 36และการก่อการกำเริบวอร์ซอ มี 2 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): วอร์ซอสงครามโลกครั้งที่สอง

วอร์ซอ

วอร์ซอ (Warszawa) แผนที่แสดงที่ตั้งของกรุงวอร์ซอ วอร์ซอ (อังกฤษ: Warsaw; โปแลนด์: Warszawa วารฺชาวา) เป็นเมืองหลวงและเมืองใหญ่ที่สุดของประเทศโปแลนด์ ตั้งอยู่ริมแม่น้ำวิสทูลา ห่างจากชายฝั่งทะเลบอลติกประมาณ 370 กิโลเมตร มีประชากรอาศัยอยู่ในตัวเมืองประมาณ 1,726,581 (2014) คน และรวมเขตเมืองด้วยจะประมาณ 2,760,000 คน (ข้อมูล พ.ศ. 2548) ตัวเมืองวอร์ซอมีพื้นที่ 517.24 ตร.กม.

กองพลเกรนาดีร์วัฟเฟินแห่งเอ็สเอ็สที่ 36และวอร์ซอ · การก่อการกำเริบวอร์ซอและวอร์ซอ · ดูเพิ่มเติม »

สงครามโลกครั้งที่สอง

งครามโลกครั้งที่สอง (World War II หรือ Second World Warคำว่าสงครามโลกครั้งที่สองในภาษาอังกฤษนั้น ในเอกสารประวัติศาสตร์อย่างเป็นทางการของสหราชอาณาจักรและชาติตะวันตกใช้คำว่า "Second World War" ส่วนในสหรัฐใช้คำว่า "World War II" (ย่อเป็น "WWII" หรือ "WW2") ซึ่งเอกสารประวัติศาสตร์อย่างเป็นทางการในประเทศส่วนใหญ่มักจะใช้ภาษาอังกฤษว่า "Second World War" (เช่น Zweiter Weltkrieg ในภาษาเยอรมัน; Segunda Guerra mundial ในภาษาสเปน; Seconde Guerre mondiale ในภาษาฝรั่งเศส) แต่ทั้งสองคำนี้โดยทั่วไปแล้วสามารถใช้แทนกันได้; แม้ในประวัติศาสตร์การทหารอย่างเป็นทางการ คำว่า "Second World War" ถูกสร้างขึ้นโดย แฟรงก์ บี. เคลล็อก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกา; ส่วนคำว่า "World War II" พบใช้เป็นครั้งแรกในนิตยสาร ไทมส์ เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน ค.ศ. 1939 ซึ่งเป็นผู้ประดิษฐ์คำว่า "World War I" ขึ้นในอีกสามเดือนต่อมา; มักย่อเป็น WWII หรือ WW2) เป็นสงครามทั่วโลกกินเวลาตั้งแต่ปี 1939 ถึง 1945 ประเทศส่วนใหญ่ในโลกมีส่วนเกี่ยวข้อง รวมทั้งรัฐมหาอำนาจทั้งหมด แบ่งเป็นพันธมิตรทางทหารคู่สงครามสองฝ่าย คือ ฝ่ายสัมพันธมิตรและฝ่ายอักษะ เป็นสงครามที่กว้างขวางที่สุดในประวัติศาสตร์ มีทหารกว่า 100 ล้านนายจากกว่า 30 ประเทศเข้าร่วมโดยตรง สงครามนี้มีลักษณะเป็น "สงครามเบ็ดเสร็จ" คือ ประเทศผู้ร่วมสงครามหลักทุ่มขีดความสามารถทางเศรษฐกิจ อุตสาหกรรมและวิทยาศาสตร์ทั้งหมดเพื่อความพยายามของสงคราม โดยลบเส้นแบ่งระหว่างทรัพยากรของพลเรือนและทหาร ประเมินกันว่าสงครามมีมูลค่าราว 1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ประเมินกันว่ามีผู้เสียชีวิตระหว่าง 50 ถึง 85 ล้านคน ด้วยประการทั้งปวง สงครามโลกครั้งที่สองจึงนับว่าเป็นสงครามขนาดใหญ่ที่สุด ใช้เงินทุนมากที่สุด และมีผู้เสียชีวิตสูงสุดในประวัติศาสตร์มนุษยชาติ จักรวรรดิญี่ปุ่นซึ่งมีเป้าหมายครอบงำทวีปเอเชียและแปซิฟิกและทำสงครามกับจีนมาตั้งแต่ปี 1937 แล้ว แต่โดยทั่วไปถือว่าสงครามโลกครั้งที่สองเริ่มตั้งแต่การบุกครองโปแลนด์ของเยอรมนีในวันที่ 1 กันยายน 1939 นำไปสู่การประกาศสงครามต่อเยอรมนีของประเทศฝรั่งเศสและสหราชอาณาจักร ตั้งแต่ปลายปี 1939 ถึงต้นปี 1941 ในการทัพและสนธิสัญญาต่าง ๆ ประเทศเยอรมนีพิชิตหรือควบคุมยุโรปภาคพื้นทวีปได้ส่วนใหญ่ และตั้งพันธมิตรอักษะกับอิตาลีและญี่ปุ่น ภายใต้สนธิสัญญาโมโลตอฟ–ริบเบนทรอพเมื่อเดือนสิงหาคม 1939 เยอรมนีและสหภาพโซเวียตแบ่งแลผนวกดินแดนประเทศเพื่อนบ้านยุโรปของตน ได้แก่ โปแลนด์ ฟินแลนด์ โรมาเนียและรัฐบอลติก สงครามดำเนินต่อส่วนใหญ่ระหว่างชาติฝ่ายอักษะยุโรปและแนวร่วมสหราชอาณาจักรและเครือจักรภพบริติช โดยมีการทัพอย่างการทัพแอฟริกาเหนือและแอฟริกาตะวันออก ยุทธการที่บริเตนซึ่งเป็นการสู้รบทางอากาศ การทัพทิ้งระเบิดเดอะบลิตซ์ การทัพบอลข่าน ตลอดจนยุทธการที่แอตแลนติกที่ยืดเยื้อ ในเดือนมิถุนายน 1941 ชาติอักษะยุโรปบุกครองสหภาพโซเวียต เปิดฉากเขตสงครามภาคพื้นดินที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ ซึ่งทำให้กำลังทหารสำคัญของฝ่ายอักษะตกอยู่ในสงครามบั่นทอนกำลัง ในเดือนธันวาคม 1941 ญี่ปุ่นโจมตีสหรัฐและอาณานิคมยุโรปในมหาสมุทรแปซิฟิก และพิชิตมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกส่วนมากได้อย่างรวดเร็ว การรุกของฝ่ายอักษะยุติลงในปี 1942 หลังญี่ปุ่นปราชัยในยุทธนาวีที่มิดเวย์ใกล้กับฮาวายที่สำคัญ และเยอรมนีปราชัยในแอฟริกาเหนือและจากนั้นที่สตาลินกราดในสหภาพโซเวียต ในปี 1943 จากความปราชัยของเยอรมนีติด ๆ กันที่เคิสก์ในยุโรปตะวันออก การบุกครองอิตาลีของฝ่ายสัมพันธมิตรซึ่งนำให้อิตาลียอมจำนน จนถึงชัยของฝ่ายสัมพันธมิตรในมหาสมุทรแปซิฟิก ฝ่ายอักษะเสียการริเริ่มและต้องล่าถอยทางยุทธศาสตร์ในทุกแนวรบ ในปี 1944 ฝ่ายสัมพันธมิตรบุกครองฝรั่งเศสในการยึดครองของเยอรมนี ขณะเดียวกันกับที่สหภาพโซเวียตยึดดินแดนที่เสียไปทั้งหมดคืนและบุกครองเยอรมนีและพันธมิตร ระหว่างปี 1944 และ 1945 ญี่ปุ่นปราชัยสำคัญในทวีปเอเชียในภาคกลางและภาคใต้ของจีนและพม่า ขณะที่ฝ่ายสัมพันธมิตรก่อความเสียหายต่อกองทัพเรือญี่ปุ่นและยึดหมู่เกาะแปซิฟิกตะวันตกที่สำคัญ สงครามในยุโรปยุติลงหลังกองทัพแดงยึดกรุงเบอร์ลินได้ และการยอมจำนนอย่างไม่มีเงื่อนไขของเยอรมนีเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 1945 แม้จะถูกโดดเดี่ยวและตกอยู่ในสภาพเสียเปรียบอย่างยิ่ง ญี่ปุ่นยังปฏิเสธที่จะยอมจำนน กระทั่งมีการทิ้งระเบิดนิวเคลียร์สองลูกถล่มญี่ปุ่น และการบุกครองแมนจูเรีย จึงได้นำไปสู่การยอมจำนนอย่างเป็นทางการของญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 2 กันยายน 1945 สงครามยุติลงด้วยชัยชนะของฝ่ายสัมพันธมิตร ผลของสงครามได้เปลี่ยนแปลงการวางแนวทางการเมืองและโครงสร้างสังคมของโลก สหประชาชาติถูกสถาปนาขึ้น เพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศและเพื่อป้องกันความขัดแย้งในอนาคต สหรัฐอเมริกากับสหภาพโซเวียตก้าวเป็นอภิมหาอำนาจของโลกอันเป็นคู่ปรปักษ์กัน นำไปสู่ความขัดแย้งบนเวทีแห่งสงครามเย็น ซึ่งได้ดำเนินต่อมาอีก 46 ปีหลังสงคราม ขณะเดียวกัน การยอมรับหลักการการกำหนดการปกครองด้วยตนเอง เร่งให้เกิดการเคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้องเอกราชในทวีปเอเชียและทวีปแอฟริกา พร้อม ๆ กับที่หลายประเทศได้มุ่งหน้าฟื้นฟูเศรษฐกิจซึ่งอุตสาหกรรมได้รับความเสียหายระหว่างสงคราม และบูรณาการทางการเมืองได้เกิดขึ้นทั่วโลกในความพยายามที่จะรักษาเสถียรภาพความสัมพันธ์หลังสงคราม.

กองพลเกรนาดีร์วัฟเฟินแห่งเอ็สเอ็สที่ 36และสงครามโลกครั้งที่สอง · การก่อการกำเริบวอร์ซอและสงครามโลกครั้งที่สอง · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง กองพลเกรนาดีร์วัฟเฟินแห่งเอ็สเอ็สที่ 36และการก่อการกำเริบวอร์ซอ

กองพลเกรนาดีร์วัฟเฟินแห่งเอ็สเอ็สที่ 36 มี 13 ความสัมพันธ์ขณะที่ การก่อการกำเริบวอร์ซอ มี 13 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 2, ดัชนี Jaccard คือ 7.69% = 2 / (13 + 13)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง กองพลเกรนาดีร์วัฟเฟินแห่งเอ็สเอ็สที่ 36และการก่อการกำเริบวอร์ซอ หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่: