เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

กองทุนบริหารความเสี่ยงและโรคระบาดทางการเงิน

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง กองทุนบริหารความเสี่ยงและโรคระบาดทางการเงิน

กองทุนบริหารความเสี่ยง vs. โรคระบาดทางการเงิน

กองทุนบริหารความเสี่ยง หรือ กองทุนรวมเพื่อความเสี่ยง หรือ เฮดจ์ฟันด์ (Hedge Fund) เป็นกองทุนที่รวบรวมเงินจากผู้ลงทุนที่ไม่เปิดเผย ซึ่งพร้อมที่ให้นำไปบริหาร โดยยอมรับข้อเท็จจริงที่ว่า การลงทุนซึ่งทำกำไรได้สูงสุดในระยะเวลาน้อยที่สุดมักจะมีความเสี่ยงสูงเสมอ ส่วนใหญ่ใช้กลยุทธ์ใหม่ๆ ในการบริหารจัดการโดยไม่ได้จำกัดการลงทุนเพียงในทรัพย์สินกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง เช่น หุ้น หรือพันธบัตร แต่จะผสมผสานการลงทุนในสินทรัพย์หลายๆ อย่าง ในปี พ.ศ. 2492 อัลเฟรด วินสโลว์ โจนส์ ได้ก่อตั้งกองทุนเฮดจ์ฟันด์ขึ้น โดยตั้งใจที่จะป้องกันความเสี่ยงจากตลาดบางส่วน ด้วยการขายหุ้นกลุ่มหนึ่งที่ยืมมา และซื้อหุ้นอีกกลุ่มหนึ่ง (หรือเรียกว่า long-short) และต่อมาในปัจจุบันกองทุนประเภทนี้ขยายขอบเขตการลงทุนไปกว้างขวางมากขึ้นกว่าเดิมมาก เฮดจ์ฟันด์ จึงหมายถึงกองทุนใดๆ ที่ไม่ได้จดทะเบียนกับหน่วยงานที่ดูแลกำกับ ซึ่งเทียบเท่ากับสำนักงานกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ของไทย เฮดจ์ฟันด์ไม่จำเป็นต้องขึ้นทะเบียน ถ้านักลงทุนแต่ละรายที่มีมูลค่าสุทธิของการลงทุนอย่างน้อย 1 ล้านดอลลาร์ หรือมีรายได้เฉลี่ยต่อปีในครัวเรือนมากกว่า 300,000 ดอลลาร์ขึ้นไป ต่อเนื่องกันเป็นเวลา 2 ปี. รคระบาดทางการเงิน (financial contagion) หมายความถึง "การระบาดของความผันผวนของตลาด ส่วนใหญ่ในด้านลบ จากประเทศหนึ่งไปอีกประเทศหนึ่ง เป็นกระบวนการที่สังเกตผ่านการเคลื่อนไหวร่วมของอัตราแลกเปลี่ยน ราคาหุ้น ความแตกต่างระหว่างผลตอบแทนของการออกพันธบัตรของประเทศนั้นกับพันธบัตรเปรียบเทียบได้ของที่ประเทศเกณฑ์เปรียบเทียบออก และการไหลของทุน" โรคระบาดทางการเงินสามารถเป็นความเสี่ยงแก่ประเทศที่กำลังพยายามบูรณาการระบบการเงินของตนกับตลาดและสถาบันการเงินระหว่างประเทศ โรคระบาดการเงินช่วยอธิบายวิกฤตการณ์เศรษฐกิจที่ขยายข้ามประเทศเพื่อนบ้านหรือแม้แต่ภูมิภาคของโลก โรคระบาดทางการเงินเกิดทั้งระดับระหว่างประเทศและในประเทศ ในระดับประเทศ ปกติความล้มเหลวของธนาคารในประเทศหรือคนกลางทางการเงินจุดชนวนการส่งผ่านโรคเมื่อผิดนัดความรับผิดระหว่างธนาคารและขายสินทรัพย์ในราคาถูก (fire sale) ฉะนั้นจึงบั่นทอนความเชื่อมั่นในธนาคารที่คล้ายกัน ตัวอย่างปรากฏการณ์นี้คือ ความวุ่นวายรุนแรงสืบเนื่องในตลาดการเงินสหรัฐ โรคระบาดทางการเงินระหว่างประเทศ ซึ่งเกิดทั้งในเศรษฐกิจประเทศพัฒนาแล้วและประเทศกำลังพัฒนา เป็นการส่งผ่านวิกฤตการณ์การเงินระหว่างตลาดการเงินสำหรับเศรษฐกิจโดยตรงหรือโดยอ้อม ทว่า ภายใต้ระบบการเงินปัจจุบันที่มีงบเงินสดปริมาณมาก เช่น กองทุนบริหารความเสี่ยงและปฏิบัติการข้ามภูมิภาคของธนาคารขนาดใหญ่ โรคระบาดทางการเงินปกติเกิดพร้อมกันทั้งในสถาบันในประเทศและข้ามประเทศ สาเหตุของโรคระบาดทางการเงินปกติอยู่เลยคอธิบายของเศรษฐกิจที่แท้จริง เช่น ปริมาณการค้าทวิภาคี.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง กองทุนบริหารความเสี่ยงและโรคระบาดทางการเงิน

กองทุนบริหารความเสี่ยงและโรคระบาดทางการเงิน มี 0 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย)

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง กองทุนบริหารความเสี่ยงและโรคระบาดทางการเงิน

กองทุนบริหารความเสี่ยง มี 1 ความสัมพันธ์ขณะที่ โรคระบาดทางการเงิน มี 1 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 0, ดัชนี Jaccard คือ 0.00% = 0 / (1 + 1)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง กองทุนบริหารความเสี่ยงและโรคระบาดทางการเงิน หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่: