โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

กองทัพเรือสหรัฐ

ดัชนี กองทัพเรือสหรัฐ

ระวังสับสนกับ กระทรวงทหารเรือสหรัฐ กองทัพเรือสหรัฐ (อังกฤษ: United States Navy, USN) เป็นกองกำลังทางทะเลในสังกัดกองทัพสหรัฐ และหนึ่งในเจ็ดองค์กรในเครื่องแบบของสหรัฐ กองทัพเรือสหรัฐเป็นกองทัพเรือที่ใหญ่ และมีความสามารถมากที่สุดในโลก โดยมีขนาดกองเรือตามน้ำหนักที่มากที่สุด กองทัพเรือสหรัฐมีกองเรือบรรทุกอากาศยานที่ใหญ่ที่สุดในโลก โดยมีเรือบรรทุกอากาศยาน 10 ลำในสถานะประจำการ อีก 2 ลำในสถานะกองเรือสำรอง และกำลังก่อสร้างเรือบรรทุกอากาศยานใหม่อีก 3 ลำ กองทัพเรือสหรัฐมีกำลัง 323,792 นายในสถานะประจำการ และอีก 108,515 นายในกองทัพเรือสำรอง มีเรือรบพร้อมประจำการ 274 ลำ และมีอากาศยานที่ใช้การได้มากกว่า 3,700 ลำ ตามข้อมูลในเดือนตุลาคม..

45 ความสัมพันธ์: พลังงานนิวเคลียร์กบฏนักมวยกระทรวงกลาโหมสหรัฐกระทรวงกองทัพเรือสหรัฐกองทัพสหรัฐกองทัพเรือการบุกครองเกรเนดาการล้มล้างราชอาณาจักรฮาวายการทิ้งระเบิดลิเบีย (พ.ศ. 2529)ภาษาอังกฤษมหาสมุทรอินเดียมหาสมุทรแปซิฟิกรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมสหรัฐวิกฤตการณ์ติมอร์ตะวันออกสมาพันธรัฐอเมริกาสงคราม ค.ศ. 1812สงครามบอสเนียสงครามบาร์บารีครั้งที่หนึ่งสงครามกลางเมืองอเมริกาสงครามกลางเมืองโซมาเลียสงครามฝิ่นครั้งที่สองสงครามอิรักสงครามอิรัก–อิหร่านสงครามอ่าวเปอร์เซียสงครามคอซอวอสงครามปฏิวัติอเมริกาสงครามในอัฟกานิสถาน (พ.ศ. 2544–ปัจจุบัน)สงครามในอัฟกานิสถาน (พ.ศ. 2558–ปัจจุบัน)สงครามโลกครั้งที่สองสงครามโลกครั้งที่หนึ่งสงครามเกาหลีสงครามเม็กซิโก–อเมริกาสงครามเวียดนามจักรวรรดิญี่ปุ่นทะเลเมดิเตอร์เรเนียนดอนัลด์ ทรัมป์คณะเสนาธิการร่วมประธานาธิบดีสหรัฐประธานคณะเสนาธิการร่วมแองเคอร์สะเวห์เรือบรรทุกอากาศยานเรือบรรทุกเครื่องบินชั้นนิมิตซ์เจมส์ แมตทิสเดอะเพนตากอนเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์

พลังงานนิวเคลียร์

รงไฟฟ้าพลังไอน้ำ Susquehanna แสดงเครื่องปฏิกรณ์ต้มน้ำร้อน. เครื่องปฏิกรณ์ตั้งอยู่ภายในอาคารเก็บกักรูปสี่เหลี่ยมที่อยู่ด้านหน้าของหอให้ความเย็น. โรงไฟฟ้านี้ผลิตกำลังไฟฟ้า 63 ล้านกิโลวัตต์ต่อวัน เรือรบพลังงานนิวเคลียร์ของสหรัฐฯ, จากบนลงล่าง เรือลาดตระเวน USS Bainbridge (CGN-25), USS Long Beach (CGN-9) and the USS Enterprise (CVN-65), เรือยาวที่สุดและเรือบรรทุกเครื่องบินพลังงานนิวเคลียร์ลำแรก. ภาพนี้ถ่ายในปี 1964 ระหว่างการทำสถิติการเดินทาง 26,540 nmi (49,190 km) รอบโลกใน 65 วันโดยไม่ต้องเติมเชื้อเพลิง. ลูกเรือแปรอักษรเป็นสูตรมวลพลังงานของไอน์สไตน์ว่า ''E.

ใหม่!!: กองทัพเรือสหรัฐและพลังงานนิวเคลียร์ · ดูเพิ่มเติม »

กบฏนักมวย

กบฏนักมวย (Boxer Rebellion) หรือ ศึกพันธมิตรแปดชาติ เป็นการก่อความไม่สงบเพื่อต่อต้านจักรวรรดินิยมและคริสต์ศาสนานำโดย "สมาคมอี้เหอถวน" ในสมัยศตวรรษที่ 19 ชาวต่างชาติได้เข้ามาค้าขายในประเทศจีนนานเข้า ชาวต่างชาติก็เริ่มเข้ามามีอิทธิพลในจีนและได้ส่งกำลังทหาร อาวุธที่ทันสมัยและมิชชันนารีเข้าไปเผยแพร่ศาสนาคริสต์ เนื่องจากเหตุการณ์ดังกล่าวทำให้เกิดการรวมกลุ่มของชาวจีนผู้รักชาติเรียกว่า "กบฏนักมวย" ขึ้น นักมวยจะฝึกกังฟูซึ่งพวกเขาเชื่อว่าจะสามารถต่อกรกับผู้รุกรานจาก ยุโรป อเมริกาและญี่ปุ่นได้ กบฏนักมวยได้ทำการลอบสังหารมิชชันนารีชาวตะวันตก ประณามชาวต่างชาติ และเผาโบสถ์ ฯลฯ กบฏนักมวยได้รับการสนับสนุนจากซูสีไทเฮามาก ทั้งด้านการส่งทัพหลวงมาช่วยและเสริมอาวุธยุทธโธปกรณ์ต่างๆ ซึ่งหลังจากกลุ่มกบฏนักมวยถูกปราบได้ไม่นานก็เกิดการโค่นล้มราชวงศ์ชิงขึ้น.

ใหม่!!: กองทัพเรือสหรัฐและกบฏนักมวย · ดูเพิ่มเติม »

กระทรวงกลาโหมสหรัฐ

กระทรวงกลาโหมสหรัฐ (United States Department of Defense; ย่อ: DoD) เป็นกระทรวงของรัฐบาลกลางแห่งสหรัฐ ที่ทำหน้าที่ประสานงานและตรวจตราการทำงานและหน่วยงานราชการของรัฐบาลสหรัฐที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับความมั่นคงของชาติและการทหาร.

ใหม่!!: กองทัพเรือสหรัฐและกระทรวงกลาโหมสหรัฐ · ดูเพิ่มเติม »

กระทรวงกองทัพเรือสหรัฐ

กระทรวงกองทัพเรือสหรัฐ (อังกฤษ: United States Department of the Navy; ตัวย่อ: DoN) เป็นอีกหนึ่งหน่วยงานของกระทรวงกลาโหมสหรัฐ จัดตั้งขึ้นโดยพระราชบัญญัติ Act of Congress เมื่อวันที่ 30 เมษายน..

ใหม่!!: กองทัพเรือสหรัฐและกระทรวงกองทัพเรือสหรัฐ · ดูเพิ่มเติม »

กองทัพสหรัฐ

กองทัพสหรัฐ (United States Armed Forces) เป็นกองทหารของสหรัฐ ประกอบด้วยกองทัพบก กองทัพเรือ เหล่านาวิกโยธิน, กองทัพอากาศและหน่วยยามฝั่ง สหรัฐมีประเพณีพลเรือนควบคุมทหารอย่างเข้มแข็ง ประธานาธิบดีสหรัฐเป็นผู้บัญชาการทหาร และมีกระทรวงกลาโหมทำหน้าที่เป็นองค์กรหลักซึ่งนำนโยบายทางทหารไปปฏิบัติ กระทรวงกลาโหมมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ซึ่งเป็นพลเรือนและอยู่ในคณะรัฐมนตรี เป็นเจ้ากระทรวง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมอยู่ในอันดับที่สองของสายการบังคับบัญชาของทหาร รองแต่เพียงประธานาธิบดี และทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยหลักของประธานาธิบดีในกิจการทั้งปวงที่เกี่ยวข้องกับกระทรวง ประธานาธิบดีมีสภาความมั่นคงแห่งชาติ (National Security Council) เป็นที่ปรึกษา ซึ่งมีที่ปรึกษาฝ่ายความมั่นคงแห่งชาติ (National Security Advisor) เป็นผู้นำ เพื่อประสานงานการปฏิบัติทางทหารกับการทูต ประธานาธิบดีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมมีเสนาธิการร่วม (Joint Chiefs of Staff) เจ็ดคนเป็นที่ปรึกษา ซึ่งสมาชิกประกอบด้วยหัวหน้าเหล่าทัพต่าง ๆ ของกระทรวงและหัวหน้าสำนักงานหน่วยรักษาดินแดน (National Guard Bureau) โดยประธานเสนาธิการร่วมและรองประธานเสนาธิการร่วมเป็นผู้สรรหาผู้นำ ผู้บัญชาการหน่วยยามฝั่งไม่เป็นสมาชิกของเสนาธิการร่วม ทุกเหล่าทัพประสานงานระหว่างปฏิบัติการและภารกิจร่วม ภายใต้การบังคับบัญชาพลรบรวม (Unified Combatant Command) ซึ่งอยู่ในอำนาจของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ยกเว้นหน่วยยามฝั่ง หน่วยยามฝั่งอยู่ในการบริหารจัดการของกระทรวงความมั่นคงแห่งมาตุภูมิ และได้รับคำสั่งปฏิบัติการจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงความมั่นคงแห่งมาตุภูมิ ประธานาธิบดีหรือรัฐสภาคองเกรสอาจโอนอำนาจการบังคับบัญชาหน่วยยามฝั่งไปให้กระทรวงทหารเรือ ในยามสงครามได้ เหล่าทัพทั้งห้าล้วนจัดเป็นหน่วยที่แต่งเครื่องแบบสหรัฐอันมีอยู่เจ็ดหน่วย อีกสองหน่วยได้แก่ หน่วยบริการสาธารณสุข และ หน่วยการบริหารมหาสมุทรและบรรยากาศแห่งชาติสหรัฐ นับแต่ก่อตั้ง กองทัพมีบทบาทสำคัญในประวัติศาสตร์สหรัฐ สัมผัสความสามัคคีและเอกลักษณ์ของชาติถูกสร้างขึ้นจากผลของชัยชนะในสงครามบาร์บารีทั้งสองครั้ง กระนั้น บิดาผู้ก่อตั้งยังไม่ไว้ใจการมีกำลังทหารถาวร จนกระทั่งสงครามโลกครั้งที่สองปะทุ สหรัฐจึงตั้งกองทัพบกประจำการขนาดใหญ่อย่างเป็นทางการ รัฐบัญญัติความมั่นคงแห่งชาต..

ใหม่!!: กองทัพเรือสหรัฐและกองทัพสหรัฐ · ดูเพิ่มเติม »

กองทัพเรือ

กองทัพเรือ หมายถึง กองกำลังทางทหารที่ปฏิบัติการทางน้ำ และมีหน้าที่ป้องกันประเทศทั้งในลำน้ำและในท้องทะเลหลวง กิจการของกองทัพเรือนั้นได้รวมเอาทั้งกิจการนาวิกโยธินซึ่งเป็นทหารเรือฝ่ายบก และกิจการการป้องกันชายฝั่งด้วย ในประเทศที่มีขนาดใหญ่มาก เช่น สหรัฐอเมริกา จะแยกกิจการเหล่านี้เป็นเหล่าทัพย่อยต่างหากเพื่อให้เกิดความสะดวกในการบริหารจัดการองค์กร.

ใหม่!!: กองทัพเรือสหรัฐและกองทัพเรือ · ดูเพิ่มเติม »

การบุกครองเกรเนดา

การรุกรานเกรเนดา (Invasion of Grenada, Invasión de Granada),เป็นการรุกรานนำโดยสหรัฐอเมริกาในปี..

ใหม่!!: กองทัพเรือสหรัฐและการบุกครองเกรเนดา · ดูเพิ่มเติม »

การล้มล้างราชอาณาจักรฮาวาย

การล้มล้างราชอาณาจักรฮาวาย (Overthrow of the Kingdom of Hawaii) เป็นการปฏิวัติที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 17 มกราคม ค.ศ. 1893 เป็นการล้มล้างระบอบราชาธิปไตยของราชอาณาจักรฮาวาย คณะปฏิวัติคือ ทหารจากสหรัฐอเมริกาและพ่อค้าชาวยุโรปและอเมริกา เพื่อล้มราชบัลลังก์ของสมเด็จพระราชินีนาถลีลีโอกาลานีแห่งฮาวาย กษัตริย์ของชาวพื้นเมือง และจัดตั้งสาธารณรัฐฮาวายขึ้น แต่เป้าหมายสูงสุดของการปฏิวัติคือการผนวกฮาวายรวมเข้ากับประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งก็ประสบความสำเร็จในปี 1898.

ใหม่!!: กองทัพเรือสหรัฐและการล้มล้างราชอาณาจักรฮาวาย · ดูเพิ่มเติม »

การทิ้งระเบิดลิเบีย (พ.ศ. 2529)

อฟ-111 บินขึ้นเพื่อเข้าร่วมการทิ้งระเบิดลิเบีย การทิ้งระเบิดลิเบียของสหรัฐอเมริก..

ใหม่!!: กองทัพเรือสหรัฐและการทิ้งระเบิดลิเบีย (พ.ศ. 2529) · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาอังกฤษ

ษาอังกฤษ หรือ ภาษาอังกฤษใหม่ เป็นภาษาในกลุ่มภาษาเจอร์แมนิกตะวันตกที่ใช้ครั้งแรกในอังกฤษสมัยต้นยุคกลาง และปัจจุบันเป็นภาษาที่ใช้กันแพร่หลายที่สุดในโลก ประชากรส่วนใหญ่ในหลายประเทศ รวมทั้ง สหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกา แคนาดา ออสเตรเลีย ไอร์แลนด์ นิวซีแลนด์ และประเทศในแคริบเบียน พูดภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่หนึ่ง ภาษาอังกฤษเป็นภาษาแม่ที่มีผู้พูดมากที่สุดเป็นอันดับสามของโลก รองจากภาษาจีนกลางและภาษาสเปน มักมีผู้เรียนภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่สองอย่างกว้างขวาง และภาษาอังกฤษเป็นภาษาราชการของสหภาพยุโรป หลายประเทศเครือจักรภพแห่งชาติ และสหประชาชาติ ตลอดจนองค์การระดับโลกหลายองค์การ ภาษาอังกฤษเจริญขึ้นในราชอาณาจักรแองโกล-แซ็กซอนอังกฤษ และบริเวณสกอตแลนด์ตะวันออกเฉียงใต้ในปัจจุบัน หลังอิทธิพลอย่างกว้างขวางของบริเตนใหญ่และสหราชอาณาจักรตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 17 จนถึงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 ผ่านจักรวรรดิอังกฤษ และรวมสหรัฐอเมริกาด้วยตั้งแต่กลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 ภาษาอังกฤษได้แพร่หลายทั่วโลก กลายเป็นภาษาชั้นนำของวจนิพนธ์ระหว่างประเทศและเป็นภาษากลางในหลายภูมิภาค ในประวัติศาสตร์ ภาษาอังกฤษกำเนิดจากการรวมภาษาถิ่นหลายภาษาที่สัมพันธ์อย่างใกล้ชิด ซึ่งปัจจุบันเรียกรวมว่า ภาษาอังกฤษเก่า ซึ่งผู้ตั้งนิคมนำมายังฝั่งตะวันออกของบริเตนใหญ่เมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 5 คำในภาษาอังกฤษจำนวนมากสร้างขึ้นบนพื้นฐานรากศัพท์ภาษาละติน เพราะภาษาละตินบางรูปแบบเป็นภาษากลางของคริสตจักรและชีวิตปัญญาชนยุโรปDaniel Weissbort (2006).

ใหม่!!: กองทัพเรือสหรัฐและภาษาอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

มหาสมุทรอินเดีย

มหาสมุทรอินเดีย เป็นผืนน้ำที่มีขนาดกว้างใหญ่เป็นอันดับ 3 ของโลก กินพื้นที่ประมาณ 20% ของพื้นน้ำบนโลก ทางเหนือติดกับตอนใต้ของทวีปเอเชีย (อนุทวีปอินเดีย) ทางตะวันตกติดกับคาบสมุทรอาหรับและทวีปแอฟริกา ทางตะวันออกติดกับเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แถบทะเลอันดามัน และประเทศออสเตรเลีย ทางใต้ติดกับมหาสมุทรใต้ แยกจากมหาสมุทรแอตแลนติกที่บริเวณตอนใต้ของทวีปแอฟริกาบนเส้นเมริเดียน 20° ตะวันออก และแยกจากมหาสมุทรแปซิฟิกที่เส้นเมริเดียน 147° ตะวันออก ตอนเหนือสุดของมหาสมุทรอินเดียอยู่ในอ่าวเปอร์เซีย ที่บริเวณละติจูด 30° เหนือ มหาสมุทรมีความกว้างมากที่สุดอยู่ระหว่างจุดใต้สุดของแอฟริกาและออสเตรเลีย ด้วยระยะทางเกือบ 10,000 กิโลเมตร มีพื้นน้ำ 70,560,000 ตารางกิโลเมตร รวมทะเลแดงและอ่าวเปอร์เซีย แต่ไม่รวมมหาสมุทรใต้หรือ 19.5% ของมหาสมุทรโลก มหาสมุทรอินเดียมีปริมาตรประมาณ 264,000,000 ลูกบาศก์กิโลเมตร หรือ 19.8% ของปริมาณมหาสมุทรโลก มีความลึกเฉลี่ย 3,741 เมตร และมีความลึกสูงสุด 7,906 เมตร.

ใหม่!!: กองทัพเรือสหรัฐและมหาสมุทรอินเดีย · ดูเพิ่มเติม »

มหาสมุทรแปซิฟิก

มหาสมุทรแปซิฟิก (Pacific Ocean) ตั้งชื่อโดย เฟอร์ดินานด์ มาเจลลัน ว่า Mare Pacificum เป็นภาษาละติน แปลว่า peaceful sea ภาษาฝรั่งเศส pacifique (ปาซีฟีก) หมายถึง "สงบสุข" เป็นผืนน้ำที่กว้างใหญ่ที่สุดในโลก มีพื้นน้ำประมาณ 165,000,000 ตารางกิโลเมตร หรือ 1 ใน 3 ของพื้นที่ผิวทั้งหมดของโลก ความยาวในแนวลองจิจูดมีระยะทางประมาณ 15,500 กิโลเมตร จากทะเลเบริงในเขตอาร์กติกที่อยู่ทางเหนือจรดริมฝั่งทะเลรอสส์ในแอนตาร์กติกาที่อยู่ทางใต้ มหาสมุทรแปซิฟิกมีด้านที่กว้างที่สุดตามแนวตะวันออก-ตะวันตก อยู่ ณ บริเวณละติจูด 5 องศาเหนือ ด้วยความยาวประมาณ 19,800 กิโลเมตร จากอินโดนีเซียถึงชายฝั่งโคลอมเบีย สุดเขตด้านตะวันตก คือ ช่องแคบมะละกา จุดที่ลึกที่สุดในโลก คือ ร่องลึกมาเรียนา (Mariana Trench) อยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิก จุดที่ลึกที่สุดวัดได้ 10,911 เมตร มหาสมุทรแปซิฟิก ความเค็มประมาณ 33-37 ส่วนต่อพันส่วน กระแสน้ำที่สำคัญของมหาสมุทรแปซิฟิก คือ กระแสน้ำเย็นฮัมโบลต์ (เปรู) กระแสน้ำอุ่นศูนย์สูตร กระแสน้ำเย็นแคลิฟอร์เนีย กระแสน้ำอุ่นอะแลสกา และกระแสน้ำอุ่นคุโระชิโอะ (กุโรชิโว) มหาสมุทรแปซิฟิกมีเกาะอยู่ประมาณ 25,000 เกาะ (มากกว่าเกาะในมหาสมุทรอื่น ๆ ที่เหลือรวมกัน) ส่วนใหญ่อยู่ใต้เส้นศูนย์สูตร ริมมหาสมุทรประกอบด้วยทะเลจำนวนมาก ที่สำคัญ คือ ทะเลเซเลบีส ทะเลคอรัล ทะเลจีนตะวันออก ทะเลญี่ปุ่น ทะเลจีนใต้ ทะเลซูลู ทะเลแทสมัน และทะเลเหลือง ทางด้านตะวันตก ช่องแคบมะละกาเป็นจุดเชื่อมต่อระหว่างมหาสมุทรแปซิฟิกกับมหาสมุทรอินเดีย ส่วนทางด้านตะวันออก ช่องแคบมาเจลลันเชื่อมต่อระหว่างมหาสมุทรแปซิฟิกกับ มหาสมุทรแอตแลนติก.

ใหม่!!: กองทัพเรือสหรัฐและมหาสมุทรแปซิฟิก · ดูเพิ่มเติม »

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมสหรัฐ

รัฐมนตรีกระทรวงกลาโหม (Secretary of Defense) เป็นหัวหน้าและประธานบริหารกระทรวงกลาโหม อันเป็นกระทรวงหนึ่งของรัฐบาลกลางแห่งสหรัฐDoDD 5100.1: Enclosure 2: a อำนาจของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมเหนือกองทัพสหรัฐอเมริกานั้นเป็นรองเพียงประธานาธิบดีTrask & Goldberg: p.11 ประธานาธิบดีแต่งตั้งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมโดยคำแนะนำและยินยอมของวุฒิสภา เป็นสมาชิกคณะรัฐมนตรีโดยจารีตประเพณี และเป็นสมาชิกสภาความมั่นคงแห่งชาติตามกฎหม.

ใหม่!!: กองทัพเรือสหรัฐและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมสหรัฐ · ดูเพิ่มเติม »

วิกฤตการณ์ติมอร์ตะวันออก

หลังโปรตุเกสถอนตัวออกไปเมื่อปี พ.ศ. 2518 โดยมิได้จัดการปกครองให้แก่ติมอร์ตะวันออกแต่อย่างใด เป็นเหตุให้ประเทศอินโดนีเซียส่งทหารเข้ายึดครองติมอร์ตะวันออกโดยผนวกเข้าเป็นจังหวัดที่ 27 ของประเทศอินโดนีเซีย ซึ่งต่อมาได้ถูกคัดค้านจากประชาชนชาวติมอร์ตะวันออกเป็นเหตุให้เกิดความรุนแรงขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งตั้งแต่การชุมนุมทางศาสนาในพิธีมิสซาที่โบสถ์โมตาเอล (Motael) เมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2534 ริมทะเลกรุงดิลี โดยผู้ชุมนุมได้เดินขบวนไปยังสุสานซานตาครูซจำนวนผู้ร่วมชุมนุมจึงมีมากขึ้น และการชุมนุมก็เปลี่ยนเป็นการเรียกร้องเอกราช โดยมีนายชานานา กุฌเมา เป็นผู้นำที่มีบทบาทอย่างมากต่อการเรียกร้องเอกราชจากอินโดนีเซีย อย่างไรก็ดีเมื่อรัฐบาลอินโดนีเซียยินยอมให้ชาวติมอร์ตะวันออกลงประชามติเพื่อแยกตัวเป็นเอกราชจากอินโดนีเซีย ในวันที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2542 ประชาชนชาวติมอร์ตะวันออกกว่าร้อยละ 80 ออกเสียงสนับสนุนการแยกตัวเป็นเอกราช จึงก่อให้เกิดเหตุการณ์รุนแรงในติมอร์ตะวันออกโดยกลุ่มกองกำลังมิลิเทีย (militia) ที่นิยมอินโดนีเซีย สหประชาชาติจึงได้ตัดสินใจจัดตั้งกองกำลังนานาชาติ (International Force in East Timor – INTERFET) เมื่อ 15 กันยายน 2542 เพื่อส่งเข้าไปรักษาสันติภาพในติมอร์ตะวันออก ก่อนที่จะประกาศเอกราชในวันที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2545 ในขณะนี้ สหประชาชาติดำเนินการสนับสนุนติมอร์ตะวันออกภายใต้ United Nations Mission of Support in East Timor (UNMISET) ตั้งแต่ 20 พฤษภาคม..

ใหม่!!: กองทัพเรือสหรัฐและวิกฤตการณ์ติมอร์ตะวันออก · ดูเพิ่มเติม »

สมาพันธรัฐอเมริกา

มาพันธรัฐอเมริกา (Confederate States of America; ย่อ: CSA) มักเรียกว่า สมาพันธรัฐ (Confederate States; ย่อ: CS) เป็นรัฐบาลแยกตัวออกซึ่งสถาปนาใน..

ใหม่!!: กองทัพเรือสหรัฐและสมาพันธรัฐอเมริกา · ดูเพิ่มเติม »

สงคราม ค.ศ. 1812

งคราม..

ใหม่!!: กองทัพเรือสหรัฐและสงคราม ค.ศ. 1812 · ดูเพิ่มเติม »

สงครามบอสเนีย

งครามบอสเนีย หรือ สงครามกลางเมืองบอสเนีย เป็นสงครามความขัดแย้งชาติพันธุ์ระหว่างชาวโครแอต ชาวเซิร์บ และชาวบอสเนียซึ่งเป็นชาวมุสลิม สงครามปะทุในวันที่ 1 มีนาคม..

ใหม่!!: กองทัพเรือสหรัฐและสงครามบอสเนีย · ดูเพิ่มเติม »

สงครามบาร์บารีครั้งที่หนึ่ง

งครามบาร์บารีครั้งที่หนึ่ง (ค.ศ. 1801-1805) หรือสงครามชายฝั่งบาร์บารี หรือสงครามทริโปลีตัน คือสงครามระหว่างสหรัฐอเมริกา (และกองเรือสวีเดนที่เข้ามาร่วมด้วยในระยะเวลาหนึ่ง) กับกลุ่มรัฐทางตอนเหนือของทวีปแอฟริกา เป็นที่รู้จักในนามว่า กลุ่มรัฐบาร์บารี ซึ่งประกอบด้วยรัฐสุลต่านโมร็อกโคและดินแดนอัลเจียร์ส, ตูนิสและทริโปลีที่มีผู้แทนจากจักรวรรดิออตโตมานเป็นผู้สำเร็จราชการในนาม แต่มีสถานะเป็นรัฐเอกราชโดยพฤตินัย สงครามมีสาเหตุมาจากการที่โจรสลัดบาร์บารีโจมตีเรือพาณิชย์อเมริกัน เพื่อจับลูกเรือมาเป็นตัวประกันเพื่อเรียกค่าไถ่ และเรียกร้องบรรณาการเป็นค่าคุ้มครองไม่ให้เกิดการโจมตีขึ้นอีก ไม่ต่างจากที่ปฏิบัติต่อเรือพาณิชย์ของชาติยุโรปอื่น.

ใหม่!!: กองทัพเรือสหรัฐและสงครามบาร์บารีครั้งที่หนึ่ง · ดูเพิ่มเติม »

สงครามกลางเมืองอเมริกา

งครามกลางเมืองอเมริกา (American Civil War) เป็นสงครามกลางเมืองซึ่งเกิดขึ้นในสหรัฐระหว่างปี 1861 ถึง 1865 สืบเนื่องจากข้อโต้แย้งยืดเยื้อเกี่ยวกับทาส ระหว่างฝ่ายหนึ่งเป็นกลุ่มชาตินิยมสหภาพซึ่งประกาศความภักดีต่อรัฐธรรมนูญสหรัฐ กับกลุ่มแบ่งแยกดินแดนสมาพันธรัฐซึ่งสนับสนุนสิทธของรัฐในการขยายทาสอีกฝ่ายหนึ่ง ในบรรดา 34 รัฐของสหรัฐในเดือนกุมภาพันธ์ 1861 เจ็ดรัฐทาสในภาคใต้ประกาศแยกตัวออกจากสหรัฐเพื่อตั้งเป็นสมาพันธรัฐอเมริกา หรือ "ฝ่ายใต้" สมาพันธรัฐเติบโตจนมี 11 รัฐทาส รัฐบาลสหรัฐไม่เคยรับรองทางการทูตซึ่งสมาพันธรัฐ เช่นเดียวกับประเทศอื่นทุกประเทศ (แม้สหราชอาณาจักรและฝรั่งเศสจะให้สถานภาพคู่สงคราม) รัฐที่ยังภักดีต่อสหรัฐ (รวมทั้งรัฐชายแดนซึ่งทาสชอบด้วยกฎหมาย) เรียก "สหภาพ" หรือ "ฝ่ายเหนือ" สงครามเริ่มขึ้นเมื่อวันที่ 12 เมษายน..

ใหม่!!: กองทัพเรือสหรัฐและสงครามกลางเมืองอเมริกา · ดูเพิ่มเติม »

สงครามกลางเมืองโซมาเลีย

งครามกลางเมืองโซมาเลีย เป็นสงครามกลางเมืองที่กำลังดำเนินอยู่ในประเทศโซมาเลีย ชนวนเหตุเริ่มมาจากการต่อต้านระบอบโมฮัมเหม็ด ไซอัด บาร์รีในช่วงทศวรรษ 1980 กองทัพโซมาเลียเริ่มสู้รบกับกลุ่มกบฏติดอาวุธต่าง ๆKen Menkhaus, ',' in Andersen/Moller/Stepputat (eds.), Fragile States and Insecure People,' Palgrave, 2007, 73.

ใหม่!!: กองทัพเรือสหรัฐและสงครามกลางเมืองโซมาเลีย · ดูเพิ่มเติม »

สงครามฝิ่นครั้งที่สอง

งครามฝิ่นครั้งที่สอง (ตี้เอ้อร์ยาเพี่ยนจ้านเจิง; Second Opium War) เป็นสงครามระหว่างสหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์ กับ ราชวงศ์ชิง ฝิ่นเป็นยาเสพติดที่ชาวจีนติดกันอย่างมากและติดกันมานาน ในรัชกาลจักรพรรดิหย่งเจิ้น (雍正) เคยมีดำริที่จะทำการปราบปรามฝิ่นแต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จ ชาวจีนส่วนใหญ่ยังติดฝิ่นเรื่อยมา จนถึงรัชสมัยของจักรพรรดิเต้ากวง (道光) ปีที่ 19 พระองค์มีเจตนารมณ์อย่างแรงกล้าที่จะทำการปราบฝิ่น ทรงแต่งตั้งหลินเจ๋อสวี เป็นผู้ตรวจราชการสองมณฑล ขึ้นเป็นผู้นำในการกวาดล้างฝิ่นจากแผ่นดินจีน.

ใหม่!!: กองทัพเรือสหรัฐและสงครามฝิ่นครั้งที่สอง · ดูเพิ่มเติม »

สงครามอิรัก

งครามอิรัก เป็นความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในประเทศอิรักตั้งแต่วันที่ 20 มีนาคม..

ใหม่!!: กองทัพเรือสหรัฐและสงครามอิรัก · ดูเพิ่มเติม »

สงครามอิรัก–อิหร่าน

งครามอิรัก–อิหร่าน (Iran–Iraq War) เป็นความขัดแย้งระหว่างประเทศอิหร่านและประเทศอิรัก ซึ่งเริ่มตั้งแต่เดือนกันยายน 1980 ถึงสิงหาคม 1988 มีการประเมินว่าสงครามครั้งนี้สร้างความเสียหายทางเศรษฐกิจรวมกันกว่า 1.2 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ (30.6 ล้านล้านบาท) สงครามอิรัก–อิหร่านเริ่มขึ้นเมื่ออิรักทำการรุกรานอิหร่านในวันที่ 22 กันยายน 1980 อันเนื่องมาจากข้อพิพาททางชายแดนที่ดำเนินมาอย่างยาวนาน หลังการปฏิวัติอิหร่านในปี 1979 รูฮุลลอฮ์ โคมัยนี ได้ขึ้นเป็นผู้นำสูงสุดของอิหร่านและประกาศตนเป็นผู้นำอิสลามนิกายชีอะห์ ทำให้มุสลิมชีอะฮ์อันเป็นคนส่วนมากในอิรักขึ้นมาก่อจลาจลต่อต้านการปกครองของรัฐบาลนิกายซุนนี ขณะเดียวกัน อิรักก็มีความพยายามจะขึ้นมามีอิทธิพลครอบงำภูมิภาคอ่าวเปอร์เซียแทนที่อิหร่าน แม้ว่าอิรักจะใช้โอกาสที่อิหร่านกำลังวุ่นวายนี้เข้าโจมตีอิหร่านโดยไม่ประกาศก่อน แต่เข้ายึดครองยังได้ไม่มากก็ถูกโต้กลับอย่างรวดเร็ว อิหร่านสามารถชิงดินแดนที่สูญเสียไปทั้งหมดคืนมาได้ภายในเดือนมิถุนายน 1982 และตลอดหกปีจากนี้ อิหร่านก็กลายเป็นฝ่ายรุกไล่เข้าไปในดินแดนอิรัก แม้คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติได้ร้องให้มีการหยุดยิงนับสิบๆครั้ง แต่การสู้รบก็ดำเนินไปจนถึงวันที่ 20 สิงหาคม 1988 และสิ้นสุดลงอย่างเป็นทางการตามมติคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติที่ 598 ที่ทั้งสองฝ่ายยอมรับคำขอหยุดยิง ซึ่งภายหลังข้อสรุปนี้ กองทัพอิหร่านต้องใช้เวลาหลายสัปดาห์ในการถอนกำลังออกจากดินแดนอิรักโดยยึดเอาหลักเขตแดนก่อนสงคราม เชลยสงครามคนสุดท้ายของสงครามนี้ถูกส่งตัวกลับประเทศตนในปี 2003 สงครามครั้งนี้ทำให้มีผู้เสียชีวิตรวมกันกว่าหนึ่งล้านคนแต่กลับไม่มีฝ่ายใดได้หรือสูญเสียดินแดนเลย สงครามครั้งนี้ถูกนำไปเปรียบเทียบกับสงครามโลกครั้งที่หนึ่งในแง่ของกลยุทธ ทั้งการใช้แท่นปืนกล, การโจมตีแบบคลื่นมนุษย์, การใช้อาวุธเคมีจำนวนมากโดยกองทัพอิรัก ประเทศอิสลามจำนวนมากอยู่ฝ่ายเดียวกับชาติตะวันตกในสงครามครั้งนี้ นั่นคือการสนับสนุนอิรักโดยการให้เงินกู้, ยุทโธปกรณ์ และภาพถ่ายดาวเทียมในช่วงที่อิรักโจมตีอิหร่าน ซึ่งในระหว่างสงคราม มีการวิจารณ์จากสื่อว่า "ประชาคมโลกต่างพากันเงียบกริบตอนอิรักใช้อาวุธอานุภาพทำลายล้างสูงต่ออิหร่านและชาวเคิร์ด" และกว่าคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติจะประกาศให้อิรักเป็นผู้ก่อสงครามก็จนกระทั่ง 11 ธันวาคม 1991 สิบสองปีให้หลังจากที่อิรักทำการรุกรานอิหร่าน และเป็นเวลาสิบหกเดือนหลังอิรักรุกรานคูเวต ซึ่งบานปลายเป็นสงครามอ่าว.

ใหม่!!: กองทัพเรือสหรัฐและสงครามอิรัก–อิหร่าน · ดูเพิ่มเติม »

สงครามอ่าวเปอร์เซีย

งครามอ่าวเปอร์เซีย หรือ สงครามอ่าว (Gulf War, 2 สิงหาคม 2533 – 28 กุมภาพันธ์ 2534) ชื่อรหัสปฏิบัติการโล่ทะเลทราย (Operation Desert Shield, 2 สิงหาคม 2533 – 17 มกราคม 2534) เป็นปฏิบัติการนำสู่การสั่งสมกำลังและการป้องกันของซาอุดีอาระเบียและปฏิบัติการพายุทะเลทราย (Operation Desert Storm, 17 มกราคม 2534 – 28 กุมภาพันธ์ 2534) ในระยะสู้รบ เป็นสงครามในภูมิภาคอ่าวเปอร์เซียระหว่างกำลังผสมจาก 34 ชาตินำโดยสหรัฐอเมริกาต่อประเทศอิรักหลังการบุกครองและผนวกคูเวตของอิรัก สงครามนี้มีชื่ออื่น เช่น สงครามอ่าวเปอร์เซีย, สงครามอ่าวครั้งที่หนึ่ง, สงครามคูเวต, สงครามอิรัก ซึ่งคำว่า "สงครามอิรัก" ต่อมาใช้เรียกการบุกครองอิรักเมื่อปี 2546 แทน การยึดครองคูเวตของกองทัพอิรักซึ่งเริ่มเมื่อวันที่ 2 สิงหาคม 2533 นั้นถูกนานาชาติประณาม และสมาชิกคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติพลันใช้วิธีการบังคับทางเศรษฐกิจต่ออิรัก ประธานาธิบดี จอร์จ เอช. ดับเบิลยู. บุช วางกำลังสหรัฐเข้าสู่ซาอุดีอาระเบียและกระตุ้นให้ประเทศอื่นส่งกำลังของตนไปที่นั้นด้วย มีหลายชาติเข้าร่วมกำลังผสม ซึ่งเป็นพันธมิตรทางทหารที่ใหญ่ที่สุดนับแต่สงครามโลกครั้งที่สอง กำลังทหารของกำลังผสมส่วนใหญ่มาจากสหรัฐ โดยมีซาอุดีอาระเบีย สหราชอาณาจักรและอียิปต์เป็นผู้มีส่วนร่วมรายใหญ่ตามลำดับ ซาอุดีอาระเบียสมทบเงิน 36,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐจากค่าสงคราม 60,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ สงครามนี้มีการริเริ่มการถ่ายทอดข่าวสดจากแนวหน้าของการสู้รบ หลัก ๆ โดยเครือข่ายซีเอ็นเอ็นของสหรัฐ สงครามนี้ยังได้ชื่อเล่นว่า สงครามวิดีโอเกม หลังการถ่ายทอดภาพรายวันจากกล้องบนเครื่องบินทิ้งระเบิดสหรัฐระหว่างปฏิบัติการพายุทะเลทราย ความขัดแย้งระยะแรกเพื่อขับกองทัพอิรักออกจากคูเวตเริ่มด้วยทางระดมทิ้งระเบิดทางอากาศและทางเรือเมื่อวันที่ 17 มกราคม 2534 และดำเนินไปห้าสัปดาห์ ตามด้วยการโจมตีภาคพื้นดินเมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ สงครามสิ้นสุดด้วยชัยชนะอย่างขาดลอยของกำลังผสม ซึ่งขับกองทัพอิรักออกจากคูเวตและรุกเข้าดินแดนอิรัก กำลังผสมยุติการบุกและประกาศหยุดยิงหลังการทัพภาคพื้นเริ่ม 100 ชั่วโมง การสู้รบทางอากาศและทางบกจำกัดอยู่ในประเทศอิรัก คูเวตและบางพื้นที่ตรงพรมแดนซาอุดีอาระเบีย ประเทศอิรักปล่อยขีปนาวุธสกั๊ดต่อเป้าหมายทางทหารของกำลังผสมและต่ออิสราเอล.

ใหม่!!: กองทัพเรือสหรัฐและสงครามอ่าวเปอร์เซีย · ดูเพิ่มเติม »

สงครามคอซอวอ

ไม่มีคำอธิบาย.

ใหม่!!: กองทัพเรือสหรัฐและสงครามคอซอวอ · ดูเพิ่มเติม »

สงครามปฏิวัติอเมริกา

งครามปฏิวัติอเมริกา (American Revolutionary War; ค.ศ. 1775–1783) หรือเรียก สงครามประกาศอิสรภาพอเมริกา (American War of Independence) หรือสงครามปฏิวัติในสหรัฐ เป็นการขัดกันด้วยอาวุธระหว่างบริเตนใหญ่และสิบสามอาณานิคมอเมริกาเหนือซึ่งหลังสงครามเปิดฉากประกาศอิสรภาพเป็นสหรัฐอเมริกา สงครามนี้มีจุดกำเนิดจากการต่อต้านภาษีบางชนิดและพระราชบัญญัติซึ่งชาวอเมริกันจำนวนมากอ้างว่าไม่ชอบธรรมและมิชอบด้วยกฎหมาย การประท้วงของแพทริอัต (Patriot) ลุกลามเป็นการคว่ำบาตร และในวันที่ 16 ธันวาคม 1773 พวกเขาทำลายการส่งสินค้าชาในท่าบอสตัน รัฐบาลบริเตนตอบโต้โดยปิดท่าบอสตัน แล้วผ่านมาตรการโดยมุ่งลงโทษอาณานิคมที่เป็นกบฏ แพทริอัตสนองโดยซัฟฟอล์กรีซอฟส์ (Suffolk Resolves) คือ การสถาปนารัฐบาลเงาซึ่งกำจัดการควบคุมมณฑลจากคราวน์นอกบอสตัน สิบสองอาณานิคมตั้งสภาภาคพื้นทวีปเพื่อประสานงานการต่อต้าน และสถาปนาคณะกรรมการและการประชุมใหญ่ซึ่งยึดอำนาจชะงัด ความพยายามยึดยุทโธปกรณ์อเมริกันของบริเตนในเดือนเมษายน 1775 นำสู่การยุทธ์อย่างเปิดเผยระหว่างกำลังคราวน์และทหารอาสาสมัครแพทริอัต ทหารอาสาสมัครเดินหน้าล้อมกำลังบริติชในบอสตัน บังคับให้ต้องอพยพนครในเดือนมีนาคม 1776 สภาภาคพื้นทวีปตั้งจอร์จ วอชิงตันให้บังคับบัญชาทหารอาสาสมัคร ต่อมา เขาได้รับแต่งตั้งเป็นผู้บัญชาการทหารสูงสุดของกองทัพภาคพื้นทวีปที่เพิ่งตั้ง ตลอดจนประสานงานหน่วยทหารอาสาสมัครของรัฐ ในเวลาเดียวกับการทัพบอสตัน ความพยายามบุกครองควิเบกของอเมริกาและปลุกการกบฏต่อพระมหากษัตริย์บริติชล้มเหลวโดยสิ้นเชิง วันที่ 2 กรกฎาคม 1774 สภาลงมติสนับสนุนเอกราชอย่างเป็นทางการ โดยออกคำประกาศในวันที่ 4 กรกฎาคม เซอร์วิลเลียม ฮาว (William Howe) เริ่มการตีโต้ตอบซึ่งมุ่งยึดนครนิวยอร์กคืน ฮาวชนะวอชิงตันด้วยอุบาย ทำให้ความมั่นใจของฝ่ายอเมริกาแตะจุดต่ำสุด วอชิงตันสามารถยึดกองทัพเฮชชัน (Hessian) ได้ที่เทรนตัน และขับบริเตนออกจากนิวเจอร์ซีย์ ฟื้นความมั่นใจของฝ่ายอเมริกา ในปี 1777 บริเตนส่งกองทัพใหม่โดยมีจอห์น เบอร์กอยน์ (John Burgoyne) เป็นผู้บังคับบัญชาให้ยกลงใต้จากแคนาดาและแยกอาณานิคมนิวอิงแลนด์ ทว่า ฮาวไม่สนับสนุนเบอร์กอยน์ แต่นำกองทัพของเขาในอีกการทัพหนึ่งต่อกรุงฟิลาเดลเฟีย เมืองหลวงฝ่ายปฏิวัติ เบอร์กอยน์หมดกำลังบำรุง ถูกล้อมและยอมจำนนในเดือนตุลาคม 1777 ความปราชัยของบริเตนที่ซาราโทกา (Saratoga) มีผลใหญ่หลวง ฝรั่งเศสและสเปนได้จัดหาอาวุธ เครื่องกระสุนและกำลังบำรุงอื่นให้ชาวอาณานิคมอย่างลับ ๆ ตั้งแต่เดือนเมษายน 1776 บัดนี้ฝรั่งเศสเข้าสู่สงครามอย่างเป็นทางการในปี 1778 โดยลงนามพันธมิตรทางทหารซึ่งรับรองเอกราชของสหรัฐ บริเตนตัดสินใจยอมเสียอาณานิคมทางเหนือ และกู้อดีตอาณานิคมทางใต้ กำลังบริเตนโดยมีชาลส์ คอร์นวอลลิส (Charles Cornwallis) เป็นผู้บังคับบัญชายึดจอร์เจียและเซาท์แคโรไลนา ยึดกองทัพอเมริกาได้ที่ชาลส์ตัน เซาท์แคโรไลนา ยุทธศาสตร์นี้อาศัยการก่อการกำเริบของลอยัลลิสต์ (Loyalist) ติดอาวุธจำนวนมาก แต่มีผู้มาเข้าร่วมน้อยเกินไป ในปี 1779 สเปนเข้าร่วมสงครามเป็นพันธมิตรกับฝรั่งเศสภายใต้สนธิสัญญาตระกูล (Pacte de Famille) โดยเจตนายึดยิบรอลตาร์และอาณานิคมบริติชในแคริบเบียน บริเตนประกาศสงครามต่อสาธารณรัฐดัตช์ในปี 1780 ในปี 1781 หลังปราชัยอย่างเด็ดขาดสองครั้งที่คิงส์เมาน์เทนและคาวเพนส์ คอร์นวอลลิสถอยไปเวอร์จิเนียโดยตั้งใจอพยพ ชัยทางเรืออย่างเด็ดขาดของฝรั่งเศสในเดือนกันยายนตัดทางหนีของบริเตน กองทัพร่วมฝรั่งเศส-อเมริกาโดยมีเคาต์รอช็องโบ (Count Rochambeau) และวอชิงตันเป็นผู้นำล้อมกองทัพบริติชที่ยอร์กทาวน์ เมื่อเห็นว่าไม่มีการช่วยเหลือและสถานการณ์ป้องกันไม่อยู่ คอร์นวอลลิสยอมจำนนในเดือนตุลาคม และทหารถูกจับเป็นเชลยประมาณ 8,000 คน วิกในบริเตนคัดค้านฝ่ายข้างมากทอรีนิยมสงครามในรัฐสภาอย่างยาวนาน ทว่า ความปราชัยที่ยอร์กทาวน์ทำให้วิกเป็นฝ่ายเหนือกว่า ต้นปี 1782 พวกเขาลงมติยุติปฏิบัติการบุกทั้งหมดในทวีปอเมริกาเหนือ แต่สงครามกับฝรั่งเศสและสเปนยังดำเนินต่อ โดยบริเตนชนะทั้งสองประเทศระหว่างการล้อมใหญ่ยิบรอลตาร์ นอกเหนือจากนี้ พวกเขาชนะฝรั่งเศสทางเรือหลายครั้งทโดยที่เด็ดขาดที่สุด คือ ยุทธนาวีที่ซานต์ (Battle of the Saintes) ในแคริบเบียนปีเดียวกัน วันที่ 3 กันยายน 1783 คู่สงครามลงนามสนธิสัญญากรุงปารีสซึ่งยุติสงคราม บริเตนตกลงรับรองเอกราชของสหรัฐเหนือดินแดนโดยมีขอบเขตคร่าว ๆ อยู่ที่แคนาดาทางเหนือ ฟลอริดาทางใต้และแม่น้ำมิสซิสซิปปีทางตะวันตก แม้การเข้ามีส่วนเกี่ยวข้องของฝรั่งเศสมีผลชี้ขาดต่อสาเหตุของเอกราชอเมริกา แต่ได้ดินแดนเพียงเล็กน้อย และมีปัญหาหนี้สินมหาศาล สเปนได้อาณานิคมฟลอริดาของบริเตนและเกาะมินอร์กา แต่ไม่สามารถชิงยิบรอลตาร์คืนซึ่งเป็นเป้าหมายหลัก ฝ่ายดัตช์มีแต่เสีย โดยถูกบังคับให้ยกดินแดนบางส่วนให้บริต.

ใหม่!!: กองทัพเรือสหรัฐและสงครามปฏิวัติอเมริกา · ดูเพิ่มเติม »

สงครามในอัฟกานิสถาน (พ.ศ. 2544–ปัจจุบัน)

งครามอัฟกานิสถาน เริ่มขึ้นเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม..

ใหม่!!: กองทัพเรือสหรัฐและสงครามในอัฟกานิสถาน (พ.ศ. 2544–ปัจจุบัน) · ดูเพิ่มเติม »

สงครามในอัฟกานิสถาน (พ.ศ. 2558–ปัจจุบัน)

งครามในอัฟกานิสถาน (พ.ศ. 2558–ปัจจุบัน) เป็นช่วงหนึ่งของสงครามในอัฟกานิสถานหลังจากช่วงอเมริกาบุกอัฟกานิสถาน (พ.ศ. 2544-2557) ช่วงนี้เป็นช่วงที่รัฐบาลอัฟกานิสถานภายใต้ความช่วยเหลือของนาโต้ต้องต่อสู้กับกลุ่มก่อการร้ายตาลีบัน, อัลกออิดะห์ และรัฐอิสลามอิรักและลิแวนต.

ใหม่!!: กองทัพเรือสหรัฐและสงครามในอัฟกานิสถาน (พ.ศ. 2558–ปัจจุบัน) · ดูเพิ่มเติม »

สงครามโลกครั้งที่สอง

งครามโลกครั้งที่สอง (World War II หรือ Second World Warคำว่าสงครามโลกครั้งที่สองในภาษาอังกฤษนั้น ในเอกสารประวัติศาสตร์อย่างเป็นทางการของสหราชอาณาจักรและชาติตะวันตกใช้คำว่า "Second World War" ส่วนในสหรัฐใช้คำว่า "World War II" (ย่อเป็น "WWII" หรือ "WW2") ซึ่งเอกสารประวัติศาสตร์อย่างเป็นทางการในประเทศส่วนใหญ่มักจะใช้ภาษาอังกฤษว่า "Second World War" (เช่น Zweiter Weltkrieg ในภาษาเยอรมัน; Segunda Guerra mundial ในภาษาสเปน; Seconde Guerre mondiale ในภาษาฝรั่งเศส) แต่ทั้งสองคำนี้โดยทั่วไปแล้วสามารถใช้แทนกันได้; แม้ในประวัติศาสตร์การทหารอย่างเป็นทางการ คำว่า "Second World War" ถูกสร้างขึ้นโดย แฟรงก์ บี. เคลล็อก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกา; ส่วนคำว่า "World War II" พบใช้เป็นครั้งแรกในนิตยสาร ไทมส์ เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน ค.ศ. 1939 ซึ่งเป็นผู้ประดิษฐ์คำว่า "World War I" ขึ้นในอีกสามเดือนต่อมา; มักย่อเป็น WWII หรือ WW2) เป็นสงครามทั่วโลกกินเวลาตั้งแต่ปี 1939 ถึง 1945 ประเทศส่วนใหญ่ในโลกมีส่วนเกี่ยวข้อง รวมทั้งรัฐมหาอำนาจทั้งหมด แบ่งเป็นพันธมิตรทางทหารคู่สงครามสองฝ่าย คือ ฝ่ายสัมพันธมิตรและฝ่ายอักษะ เป็นสงครามที่กว้างขวางที่สุดในประวัติศาสตร์ มีทหารกว่า 100 ล้านนายจากกว่า 30 ประเทศเข้าร่วมโดยตรง สงครามนี้มีลักษณะเป็น "สงครามเบ็ดเสร็จ" คือ ประเทศผู้ร่วมสงครามหลักทุ่มขีดความสามารถทางเศรษฐกิจ อุตสาหกรรมและวิทยาศาสตร์ทั้งหมดเพื่อความพยายามของสงคราม โดยลบเส้นแบ่งระหว่างทรัพยากรของพลเรือนและทหาร ประเมินกันว่าสงครามมีมูลค่าราว 1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ประเมินกันว่ามีผู้เสียชีวิตระหว่าง 50 ถึง 85 ล้านคน ด้วยประการทั้งปวง สงครามโลกครั้งที่สองจึงนับว่าเป็นสงครามขนาดใหญ่ที่สุด ใช้เงินทุนมากที่สุด และมีผู้เสียชีวิตสูงสุดในประวัติศาสตร์มนุษยชาติ จักรวรรดิญี่ปุ่นซึ่งมีเป้าหมายครอบงำทวีปเอเชียและแปซิฟิกและทำสงครามกับจีนมาตั้งแต่ปี 1937 แล้ว แต่โดยทั่วไปถือว่าสงครามโลกครั้งที่สองเริ่มตั้งแต่การบุกครองโปแลนด์ของเยอรมนีในวันที่ 1 กันยายน 1939 นำไปสู่การประกาศสงครามต่อเยอรมนีของประเทศฝรั่งเศสและสหราชอาณาจักร ตั้งแต่ปลายปี 1939 ถึงต้นปี 1941 ในการทัพและสนธิสัญญาต่าง ๆ ประเทศเยอรมนีพิชิตหรือควบคุมยุโรปภาคพื้นทวีปได้ส่วนใหญ่ และตั้งพันธมิตรอักษะกับอิตาลีและญี่ปุ่น ภายใต้สนธิสัญญาโมโลตอฟ–ริบเบนทรอพเมื่อเดือนสิงหาคม 1939 เยอรมนีและสหภาพโซเวียตแบ่งแลผนวกดินแดนประเทศเพื่อนบ้านยุโรปของตน ได้แก่ โปแลนด์ ฟินแลนด์ โรมาเนียและรัฐบอลติก สงครามดำเนินต่อส่วนใหญ่ระหว่างชาติฝ่ายอักษะยุโรปและแนวร่วมสหราชอาณาจักรและเครือจักรภพบริติช โดยมีการทัพอย่างการทัพแอฟริกาเหนือและแอฟริกาตะวันออก ยุทธการที่บริเตนซึ่งเป็นการสู้รบทางอากาศ การทัพทิ้งระเบิดเดอะบลิตซ์ การทัพบอลข่าน ตลอดจนยุทธการที่แอตแลนติกที่ยืดเยื้อ ในเดือนมิถุนายน 1941 ชาติอักษะยุโรปบุกครองสหภาพโซเวียต เปิดฉากเขตสงครามภาคพื้นดินที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ ซึ่งทำให้กำลังทหารสำคัญของฝ่ายอักษะตกอยู่ในสงครามบั่นทอนกำลัง ในเดือนธันวาคม 1941 ญี่ปุ่นโจมตีสหรัฐและอาณานิคมยุโรปในมหาสมุทรแปซิฟิก และพิชิตมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกส่วนมากได้อย่างรวดเร็ว การรุกของฝ่ายอักษะยุติลงในปี 1942 หลังญี่ปุ่นปราชัยในยุทธนาวีที่มิดเวย์ใกล้กับฮาวายที่สำคัญ และเยอรมนีปราชัยในแอฟริกาเหนือและจากนั้นที่สตาลินกราดในสหภาพโซเวียต ในปี 1943 จากความปราชัยของเยอรมนีติด ๆ กันที่เคิสก์ในยุโรปตะวันออก การบุกครองอิตาลีของฝ่ายสัมพันธมิตรซึ่งนำให้อิตาลียอมจำนน จนถึงชัยของฝ่ายสัมพันธมิตรในมหาสมุทรแปซิฟิก ฝ่ายอักษะเสียการริเริ่มและต้องล่าถอยทางยุทธศาสตร์ในทุกแนวรบ ในปี 1944 ฝ่ายสัมพันธมิตรบุกครองฝรั่งเศสในการยึดครองของเยอรมนี ขณะเดียวกันกับที่สหภาพโซเวียตยึดดินแดนที่เสียไปทั้งหมดคืนและบุกครองเยอรมนีและพันธมิตร ระหว่างปี 1944 และ 1945 ญี่ปุ่นปราชัยสำคัญในทวีปเอเชียในภาคกลางและภาคใต้ของจีนและพม่า ขณะที่ฝ่ายสัมพันธมิตรก่อความเสียหายต่อกองทัพเรือญี่ปุ่นและยึดหมู่เกาะแปซิฟิกตะวันตกที่สำคัญ สงครามในยุโรปยุติลงหลังกองทัพแดงยึดกรุงเบอร์ลินได้ และการยอมจำนนอย่างไม่มีเงื่อนไขของเยอรมนีเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 1945 แม้จะถูกโดดเดี่ยวและตกอยู่ในสภาพเสียเปรียบอย่างยิ่ง ญี่ปุ่นยังปฏิเสธที่จะยอมจำนน กระทั่งมีการทิ้งระเบิดนิวเคลียร์สองลูกถล่มญี่ปุ่น และการบุกครองแมนจูเรีย จึงได้นำไปสู่การยอมจำนนอย่างเป็นทางการของญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 2 กันยายน 1945 สงครามยุติลงด้วยชัยชนะของฝ่ายสัมพันธมิตร ผลของสงครามได้เปลี่ยนแปลงการวางแนวทางการเมืองและโครงสร้างสังคมของโลก สหประชาชาติถูกสถาปนาขึ้น เพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศและเพื่อป้องกันความขัดแย้งในอนาคต สหรัฐอเมริกากับสหภาพโซเวียตก้าวเป็นอภิมหาอำนาจของโลกอันเป็นคู่ปรปักษ์กัน นำไปสู่ความขัดแย้งบนเวทีแห่งสงครามเย็น ซึ่งได้ดำเนินต่อมาอีก 46 ปีหลังสงคราม ขณะเดียวกัน การยอมรับหลักการการกำหนดการปกครองด้วยตนเอง เร่งให้เกิดการเคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้องเอกราชในทวีปเอเชียและทวีปแอฟริกา พร้อม ๆ กับที่หลายประเทศได้มุ่งหน้าฟื้นฟูเศรษฐกิจซึ่งอุตสาหกรรมได้รับความเสียหายระหว่างสงคราม และบูรณาการทางการเมืองได้เกิดขึ้นทั่วโลกในความพยายามที่จะรักษาเสถียรภาพความสัมพันธ์หลังสงคราม.

ใหม่!!: กองทัพเรือสหรัฐและสงครามโลกครั้งที่สอง · ดูเพิ่มเติม »

สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง

งครามโลกครั้งที่หนึ่ง (World War I หรือ First World War) หรือที่มักเรียกว่า "สงครามโลก" หรือ "มหาสงคราม" (Great War) ก่อน..

ใหม่!!: กองทัพเรือสหรัฐและสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง · ดูเพิ่มเติม »

สงครามเกาหลี

งครามเกาหลี (25 มิถุนายน 1950 – 27 กรกฎาคม 1953) เป็นสงครามระหว่างสาธารณรัฐเกาหลี (เกาหลีใต้) โดยได้รับการสนับสนุนจากสหประชาชาติฝ่ายหนึ่ง กับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลี (เกาหลีเหนือ) โดยได้รับการสนับสนุนจากสาธารณรัฐประชาชนจีนเป็นหลัก อีกฝ่ายหนึ่ง สงครามเกาหลีเป็นผลจากเขตทางการเมืองของเกาหลีโดยความตกลงที่ฝ่ายสัมพันธมิตรผู้ชนะกระทำเมื่อสงครามแปซิฟิกยุติ คาบสมุทรเกาหลีถูกจักรวรรดิญี่ปุ่นปกครองตั้งแต่ปี 1910 กระทั่งสงครามโลกครั้งที่สองสิ้นสุด หลังการยอมจำนนของจักรวรรดิญี่ปุ่นในเดือนกันยายน 1945 นักปกครองชาวอเมริกันได้แบ่งคาบสมุทรตามเส้นขนานที่ 38 โดยกองกำลังทหารสหรัฐยึดครองส่วนใต้ และกองกำลังทหารโซเวียตยึดครองส่วนเหนือ ความล้มเหลวในการจัดการเลือกตั้งเสรีทั่วคาบสมุทรเกาหลีในปี 1948 ยิ่งตอกลึกการแบ่งแยกระหว่างสองฝ่าย เกาหลีเหนือจึงสถาปนารัฐบาลคอมมิวนิสต์ ขณะที่เกาหลีใต้สถาปนารัฐบาลประชาธิปไตยในนาม เส้นขนานที่ 38 กลายเป็นพรมแดนทางการเมืองเพิ่มขึ้นระหว่างสองรัฐเกาหลี แม้การเจรจาเพื่อรวมประเทศยังคงดำเนินต่อมาหลายเดือนก่อนเกิดสงคราม แต่ความตึงเครียดยิ่งทวีขึ้น เกิดการรบปะทะและการตีโฉบฉวยข้ามพรมแดนเส้นขนานที่ 38 อยู่เนือง ๆ สถานการณ์บานปลายเป็นการสงครามเปิดเผยเมื่อกองกำลังเกาหลีเหนือบุกครองเกาหลีใต้เมื่อวันที่ 25 มิถุนายน 1950 ปีเดียวกัน สหภาพโซเวียตคว่ำบาตรคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ เพื่อเป็นการประท้วงที่รัฐบาลก๊กมินตั๋ง/สาธารณรัฐจีนเป็นผู้แทนของจีน ซึ่งลี้ภัยไปยังเกาะไต้หวันหลังปราชัยสงครามกลางเมืองจีน เมื่อขาดเสียงไม่เห็นพ้องจากสหภาพโซเวียต ซึ่งมีอำนาจยับยั้งข้อมติคณะมนตรีความมั่นคงฯ สหรัฐอเมริกาและประเทศอื่นจึงผ่านข้อมติที่อนุญาตให้แทรกแซงทางทหารในเกาหลี สหรัฐอเมริกาจัดหาทหารคิดเป็น 88% ของทหารนานาชาติ 341,000 นาย ที่ถูกส่งไปช่วยเหลือกองกำลังเกาหลีใต้ขับการบุกครอง โดยมีรัฐสมาชิกสหประชาชาติอื่นอีก 20 ประเทศเสนอความช่วยเหลือ หลังประสบความสูญเสียอย่างหนักในช่วงสองเดือนแรก ฝ่ายตั้งรับถูกผลักดันกลับไปยังพื้นที่เล็ก ๆ ทางใต้ของคาบสมุทรเกาหลี ซึ่งมีชื่อว่า วงรอบปูซาน จากนั้น การรุกโต้ตอบอย่างรวดเร็วของสหประชาชาติได้ขับทหารเกาหลีเหนือผ่านเส้นขนานที่ 38 ขึ้นไปเกือบถึงแม่น้ำยาลู เมื่อสาธารณรัฐประชาชนจีนเข้าสู่สงครามโดยอยู่ฝ่ายเดียวกับเกาหลีเหนือ การเข้าแทรกแซงของจีนบีบให้กองกำลังเกาหลีใต้และพันธมิตรถอยกลับไปใต้เส้นขนานที่ 38 อีกครั้ง แม้สหภาพโซเวียตจะมิได้ส่งทหารเข้าร่วมในความขัดแย้งโดยตรง แต่ก็ให้ความช่วยเหลือด้านยุทธปัจจัยแก่ทั้งกองทัพเกาหลีเหนือและจีน การสู้รบยุติลงเมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 1953 เมื่อมีการลงนามในความตกลงการสงบศึก ความตกลงดังกล่าวฟื้นฟูพรมแดนระหว่างประเทศใกล้กับเส้นขนานที่ 38 และสถาปนาเขตปลอดทหารเกาหลี แนวกันชนที่มีการป้องกันกว้าง 4.0 กิโลเมตร ระหว่างสองชาติเกาหลี อุบัติการณ์ขนาดย่อมยังคงดำเนินต่อมาตราบจนปัจจุบัน ปัจจัยที่ทำให้สงครามเกาหลียุติเพราะ สตาลินเสียชีวิต และรัฐบาลใหม่โซเวียต ให้บอกให้จีนและเกาหลีเหนือยุติสงครามเกาหลี จากมุมมองวิทยาศาสตร์การทหาร สงครามเกาหลีเป็นการรวมยุทธศาสตร์และยุทธวิธีของสงครามโลกครั้งที่หนึ่งและสงครามโลกครั้งที่สองเข้าด้วยกัน โดยเริ่มต้นจากการสงครามเคลื่อนที่ด้วยการเข้าตีของทหารราบอย่างรวดเร็ว ตามด้วยการตีโฉบฉวยทิ้งระเบิดทางอากาศ แต่กลายเป็นสงครามสนามเพลาะที่อยู่นิ่งเมื่อถึงเดือนกรกฎาคม 1951.

ใหม่!!: กองทัพเรือสหรัฐและสงครามเกาหลี · ดูเพิ่มเติม »

สงครามเม็กซิโก–อเมริกา

งครามเม็กซิโก–อเมริกา หรือสงครามเม็กซิโก สงครามสหรัฐ–เม็กซิโก การบุกครองเม็กซิโก การแทรกแซงของสหรัฐ หรือสงครามต่อต้านเม็กซิโกของสหรัฐ เป็นการขัดกันด้วยอาวุธระหว่างสหรัฐอเมริกากับสหรัฐเม็กซิโกตั้งแต..

ใหม่!!: กองทัพเรือสหรัฐและสงครามเม็กซิโก–อเมริกา · ดูเพิ่มเติม »

สงครามเวียดนาม

งครามเวียดนาม หรือ สงครามอินโดจีนครั้งที่สอง หรือที่ชาวเวียดนามรู้จักกันในชื่อ สงครามอเมริกา เป็นสงครามตัวแทนสมัยสงครามเย็นที่เกิดขึ้นในประเทศเวียดนาม ลาวและกัมพูชาตั้งแต่เดือนธันวาคม 2498 กระทั่งกรุงไซ่ง่อนแตกเมื่อวันที่ 30 เมษายน 2518 สงครามเวียดนามนี้เกิดขึ้นหลังสงครามอินโดจีนครั้งที่หนึ่ง และมีเวียดนามเหนือซึ่งได้รับการสนับสนุนจากจีน สหภาพโซเวียตและพันธมิตรคอมมิวนิสต์อื่นเป็นคู่สงครามฝ่ายหนึ่ง กับรัฐบาลเวียดนามใต้ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากสหรัฐและประเทศที่ต่อต้านคอมมิวนิสต์อื่นเป็นคู่สงครามอีกฝ่ายหนึ่ง เวียดกง (หรือ แนวร่วมปลดปล่อยแห่งชาติ) เป็นแนวร่วมประชาชนคอมมิวนิสต์เวียดนามใต้ที่ติดอาวุธเบาซึ่งมีเวียดนามเหนือสั่งการ สู้รบในสงครามกองโจรต่อกำลังต่อต้านคอมมิวนิสต์ในภูมิภาค กองทัพประชาชนเวียดนาม (กองทัพเวียดนามเหนือ) ต่อสู้ในสงครามตามแบบมากกว่า และบางครั้งส่งหน่วยขนาดใหญ่เข้าสู่ยุทธการ เมื่อสงครามดำเนินไป ส่วนการต่อสู้ของเวียดกงลดลงขณะที่บทบาทของกองทัพประชาชนเวียดนามเพิ่มขึ้น กำลังสหรัฐและเวียดนามใต้อาศัยความเป็นเจ้าเวหาและอำนาจการยิงที่เหนือกว่าเพื่อดำเนินปฏิบัติการค้นหาและทำลาย ซึ่งรวมถึงกำลังภาคพื้นดิน ปืนใหญ่และการโจมตีทางอากาศ ตลอดห้วงสงคราม สหรัฐดำเนินการทัพทิ้งระเบิดทางยุทธศาสตร์ขนานใหญ่ต่อเวียดนามเหนือ และต่อมาน่านฟ้าเวียดนามเหนือกลายเป็นน่านฟ้าที่มีการป้องกันหนาแน่นที่สุดในโลก รัฐบาลสหรัฐมองว่าการเข้ามามีส่วนในสงครามของตนเป็นหนทางป้องกันการยึดเวียดนามใต้ของคอมมิวนิสต์อันเป็นส่วนหนึ่งของยุทธศาสตร์การจำกัดการขยายตัวของลัทธิที่ไม่พึงปรารถนาที่ใหญ่กว่า โดยมีเป้าหมายที่แถลงไว้เพื่อหยุดการแพร่ของคอมมิวนิสต์ ตามทฤษฎีโดมิโนของสหรัฐ หากรัฐหนึ่งกลายเป็นคอมมิวนิสต์ รัฐอื่นในภูมิภาคก็จะเป็นไปด้วย ฉะนั้น นโยบายของสหรัฐจึงถือว่าการผ่อนปรนการแพร่ของคอมมิวนิสต์ทั่วประเทศเวียดนามนั้นยอมรับไม่ได้ รัฐบาลเวียดนามเหนือและเวียดกงต่อสู้เพื่อรวมเวียดนามอยู่ในการปกครองคอมมิวนิสต์ ทั้งสองมองข้อพิพาทนี้เป็นสงครามอาณานิคม ซึ่งเริ่มแรกสู้กับฝรั่งเศส โดยได้รับการสนับสนุนจากสหรัฐ แล้วต่อมาสู้กับเวียดนามใต้ ซึ่งถูกมองว่าเป็นรัฐหุ่นเชิดของสหรัฐ ที่ปรึกษาทางทหารชาวอเมริกันมาถึงอินโดจีนขณะนั้นเริ่มตั้งแต่ปี 2493 การเข้ามามีส่วนของสหรัฐเพิ่มขึ้นในช่วงต้นคริสต์ทศวรรษ 1960 โดยมีระดับทหารเพิ่มเป็นสามเท่าในปี 2494 และเพิ่มอีกสามเท่าในปีต่อมา การเข้ามามีส่วนของสหรัฐทวีขึ้นอีกหลังเหตุการณ์อ่าวตังเกี๋ย ปี 2507 ซึ่งเรือพิฆาตของสหรัฐปะทะกับเรือโจมตีเร็วของเวียดนามเหนือ ซึ่งตามติดด้วยข้อมติอ่าวตังเกี๋ยซึ่งอนุญาตให้ประธานาธิบดีสหรัฐเพิ่มทหารในพื้นที่ หน่วยรบปกติของสหรัฐถูกจัดวางเริ่มตั้งแต่ปี 2498 ปฏิบัติการข้ามพรมแดนระหว่างประเทศ โดยพื้นที่ติดต่อกับประเทศลาวและกัมพูชาถูกกองทัพสหรัฐทิ้งระเบิดอย่างหนักขณะที่การเข้ามามีส่วนในสงครามของสหรัฐเพิ่มขึ้นสูงสุดในปี 2511 ปีเดียวกัน ฝ่ายคอมมิวนิสต์เปิดฉากการรุกตรุษญวน การรุกตรุษญวนไม่สัมฤทธิ์ผลในการโค่นรัฐบาลเวียดนามใต้ แต่ได้กลายเป็นจุดพลิกผันของสงคราม เพราะได้แสดงว่าเวียดนามใต้ไม่อาจป้องกันตัวเองจากเวียดนามเหนือได้ แม้สหรัฐจะทุ่มความช่วยเหลือทางทหารอย่างมหาศาลหลายปี ด้วยจุดชัยชนะของสหรัฐนั้นไม่ชัดเจน จึงค่อย ๆ มีการถอนกำลังภาคพื้นดินของสหรัฐโดยเป็นส่วนหนึ่งของนโยบายเรียก การแผลงเป็นเวียดนาม (Vietnamization) ซึ่งมุ่งยุติการเข้ามามีส่วนในสงครามของสหรัฐขณะที่โอนภารกิจต่อสู้กับคอมมิวนิสต์ให้เวียดนามใต้เอง แม้ภาคีทุกฝ่ายลงนามข้อตกลงสันติภาพปารีสในเดือนมกราคม 2516 แล้วก็ตาม แต่การสู้รบยังดำเนินต่อไป ในสหรัฐและโลกตะวันตก มีการพัฒนาขบวนการต่อต้านสงครามเวียดนามขนาดใหญ่ขึ้น ขบวนการนี้ทั้งเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมต่อต้าน (Counterculture) แห่งคริสต์ทศวรรษ 1960 และเป็นปัจจัยหนึ่งของมัน การมีส่วนร่วมทางทหารของสหรัฐยุติลงเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2516 อันเป็นผลมาจากคำแปรญัตติเคส–เชิร์ช (Case–Church Amendment) ที่รัฐสภาสหรัฐผ่าน การยึดกรุงไซ่ง่อนโดยกองทัพประชาชนเวียดนามในเดือนเมษายน 2518 เป็นจุดสิ้นสุดของสงคราม และมีการรวมชาติเวียดนามเหนือกับเวียดนามใต้ในปีต่อมา สงครามนี้คร่าชีวิตมนุษย์ไปมหาศาล ประเมินตัวเลขทหารและพลเรือนชาวเวียดนามที่ถูกสังหารมีตั้งแต่น้อยกว่า 1 ล้านคนเล็กน้อย ไปถึงกว่า 3 ล้านคน ชาวกัมพูชาเสียชีวิตราว 2-3 แสนคนHeuveline, Patrick (2001).

ใหม่!!: กองทัพเรือสหรัฐและสงครามเวียดนาม · ดูเพิ่มเติม »

จักรวรรดิญี่ปุ่น

ักรวรรดิญี่ปุ่น หรือชื่ออย่างเป็นทางการคือ มหาจักรวรรดิญี่ปุ่น เป็นจักรวรรดิที่อยู่ทางตะวันออกที่สุดและเป็นหนึ่งในมหาอำนาจของโลก ในคริสต์ศตวรรษที่ 19-20 สถาปนาขึ้นภายหลังจากการปฏิรูปเมจิ เมื่อวันที่ 3 มกราคม..

ใหม่!!: กองทัพเรือสหรัฐและจักรวรรดิญี่ปุ่น · ดูเพิ่มเติม »

ทะเลเมดิเตอร์เรเนียน

วเทียมของทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ทะเลเมดิเตอร์เรเนียน (Mediterranean Sea) เป็นทะเลระหว่างทวีป คั่นกลางทวีปยุโรปที่อยู่ทางเหนือ ทวีปแอฟริกาที่อยู่ทางใต้ และทวีปเอเชียที่อยู่ทางตะวันออก ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 2.5 ล้านตารางกิโลเมตร คำในภาษาอังกฤษ Mediterranean มาจากภาษาละติน mediterraneus หมายถึง 'ภายในแผ่นดิน' (medius 'กลาง' terra 'แผ่นดิน, โลก') ในภาษากรีกใช้ว่า "mesogeios".

ใหม่!!: กองทัพเรือสหรัฐและทะเลเมดิเตอร์เรเนียน · ดูเพิ่มเติม »

ดอนัลด์ ทรัมป์

อนัลด์ จอห์น ทรัมป์ (Donald John Trump; เกิด 14 มิถุนายน ค.ศ. 1946) เป็นประธานาธิบดีสหรัฐคนที่ 45 และยังเป็นนักธุรกิจ, พิธีกรรายการโทรทัศน์ และนักแสดงรับเชิญในภาพยนตร์หลายเรื่อง เขาเป็นประธานและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ของบริษัททรัมป์ออร์กาไนเซชัน ผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ในสหรัฐอเมริกา ทรัมป์ยังเป็นผู้ก่อตั้งทรัมป์เอนเตอร์เทนเมนต์รีสอร์ต ที่มีกิจการกาสิโนและโรงแรมหลายแห่งทั่วโลก และด้วยการใช้ชีวิตที่หรูหราและการพูดจาที่โผงผางทำให้เขามีชื่อเสียง ยังเป็นส่วนให้เขาประสบความสำเร็จในรายการเรียลลิตี้โชว์ทางช่องเอ็นบีซี ที่ชื่อ The Apprentice (ที่เขารับตำแหน่งพิธีกรและผู้อำนวยการสร้าง) ดอนัลด์เกิดและเติบโตในนครนิวยอร์ก เขาเป็นบุตรคนที่ 4 ใน 5 ของเฟรด ทรัมป์ เศรษฐีผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ในนครนิวยอร์ก ดอนัลด์ได้รับอิทธิพลอย่างมากจากพ่อของเขาในเป้าหมายของอาชีพการเป็นนักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ และในครั้งจบการศึกษาจากโรงเรียนธุรกิจวอร์ตันแห่งมหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนีย ในปี..

ใหม่!!: กองทัพเรือสหรัฐและดอนัลด์ ทรัมป์ · ดูเพิ่มเติม »

คณะเสนาธิการร่วม

ณะเสนาธิการร่วม (Joint Chiefs of Staff, ย่อ: JCS) เป็นหน่วยงานที่ปรึกษาทางทหารระดับสูงสุดในกระทรวงกลาโหมสหรัฐอเมริกาที่รับผิดชอบในทุกเรื่องที่เกี่ยวกับยุทธศาสตร์ทางทหาร คณะเสนาธิการร่วมซึ่งประกอบด้วย เสนาธิการกองทัพบก, เสนาธิการกองทัพอากาศ, หัวหน้าฝ่ายปฏิบัติการกองทัพเรือ, ผู้บัญชาการเหล่านาวิกโยธิน และหัวหน้าสำนักคุ้มกันแห่งชาติ ได้รับการจัดตั้งขึ้นมาโดยรัฐบัญญัติความมั่นคงแห่งชาติปี..

ใหม่!!: กองทัพเรือสหรัฐและคณะเสนาธิการร่วม · ดูเพิ่มเติม »

ประธานาธิบดีสหรัฐ

ประธานาธิบดีแห่งสหรัฐอเมริกา (President of the United States; ย่อ: POTUS) เป็นประมุขแห่งรัฐและหัวหน้ารัฐบาลแห่งสหรัฐ เป็นผู้นำสูงสุดของฝ่ายบริหาร และเป็นจอมทัพสหรัฐ รัฐธรรมนูญ มาตรา 2 บัญญัติว่า ประธานาธิบดีมีอำนาจหน้าที่บังคับใช้กฎหมายส่วนกลาง รับผิดชอบแต่งตั้งข้าราชการฝ่ายบริหาร ข้าราชการทูต ข้าราชการประจำ และข้าราชการตุลาการในส่วนกลาง ทั้งมีอำนาจทำสนธิสัญญาเมื่อได้รับคำแนะนำและยินยอมของวุฒิสภา นอกจากนี้ ประธานาธิบดีมีอำนาจอภัยโทษ ลดโทษ เปลี่ยนโทษ เรียกและเลื่อนประชุมสมัยวิสามัญแห่งสภาทั้งสองของรัฐสภา นับแต่สถาปนาประเทศเป็นต้นมา ประธานาธิบดีและรัฐบาลกลางมีอำนาจเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ และแม้ปัจจุบันไม่มีอำนาจนิติบัญญัติอย่างเป็นทางการนอกเหนือไปจากการลงนามและยับยั้งร่างกฎหมายที่รัฐสภาอนุมัติ แต่ประธานาธิบดีก็แบกรับความรับผิดชอบขนานใหญ่ในการกำหนดวาระประชุมพรรค รวมถึงกำหนดนโยบายการต่างประเทศและการในประเทศด้วย ประธานาธิบดีสหรัฐนั้นมาจากการเลือกตั้งโดยอ้อมผ่านทางคณะผู้เลือกตั้ง (electoral college) มีวาระในการดำรงตำแหน่ง 4 ปีและสามารถอยู่ในดำรงตำแหน่งได้ไม่เกิน 2 วาระซึ่งบัญญัติไว้ในการแก้ไขรัฐธรรมนูญครั้งที่ 22 ที่ได้รับการอนุมัติในปี..

ใหม่!!: กองทัพเรือสหรัฐและประธานาธิบดีสหรัฐ · ดูเพิ่มเติม »

ประธานคณะเสนาธิการร่วม

ประธานคณะเสนาธิการร่วม (อังกฤษ: Chairman of the Joint Chiefs of Staff หรือ CJCS) เป็นประธานของคณะเสนาธิการร่วม อันเป็นหน่วยงานที่ปรึกษาทางทหารระดับสูงสุดในกระทรวงกลาโหมสหรัฐที่รับผิดชอบในทุกเรื่องที่เกี่ยวกับยุทธศาสตร์ทางทหาร คณะเสนาธิการร่วมซึ่งประกอบด้วย เสนาธิการกองทัพบก, เสนาธิการกองทัพอากาศ, หัวหน้าฝ่ายปฏิบัติการกองทัพเรือ, ผู้บัญชาการเหล่านาวิกโยธิน และหัวหน้ากองกำลังพิทักษ์ชาติ ประธานคณะเสนาธิการร่วมคนปัจจุบัน คือ พล.อ. โจเซฟ ดันฟอร์ด จากหน่วยนาวิกโยธิน หมวดหมู่:ประธานคณะเสนาธิการร่วม หมวดหมู่:คณะเสนาธิการร่วม.

ใหม่!!: กองทัพเรือสหรัฐและประธานคณะเสนาธิการร่วม · ดูเพิ่มเติม »

แองเคอร์สะเวห์

แองเคอร์สะเวห์ (Anchors Aweigh แปลว่า "ถอนสมอ") เป็นเพลงมาร์ชที่แต่งโดยชาลส์ เอ. ซิมเมอร์แมน คำร้องโดย อัลเฟรด ฮาร์ต ไมลส์ในปี ค.ศ. 1906 โดยไมลส์ซึ่งเป็นนักเรียนโรงเรียนนายเรือสหรัฐอเมริการุ่นปี 1907 ได้ขอร้องให้ซิมเมอร์แมน ซึ่งเป็นหัวหน้าวงดุริยางค์โรงเรียนนายเรือ ช่วยแต่งเพลงสำหรับเป็นเพลงประจำรุ่นในปีนั้น เพลงแองเคอร์สะเวห์ได้รับการบรรเลงและขับร้องครั้งแรกเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม..

ใหม่!!: กองทัพเรือสหรัฐและแองเคอร์สะเวห์ · ดูเพิ่มเติม »

เรือบรรทุกอากาศยาน

รือหลวงจักรีนฤเบศร 6, showing size differences of late 20th century carriers 6 เรือบรรทุกอากาศยาน หรือ เรือบรรทุกเครื่องบิน (aircraft carrier) คือ เรือรบที่ออกแบบมาสำหรับใช้เป็นฐานทัพอากาศเคลื่อนที่ให้กับอากาศยาน เรือบรรทุกเครื่องบินนั้นทำให้กองทัพเรือสามารถส่งกำลังทางอากาศออกไปได้ไกลยิ่งขึ้นโดยขึ้นอยู่กับที่มั่นของเรือบรรทุกเครื่องบิน พวกมันพัฒนามาจากเรือที่สร้างจากไม้ที่ถูกใช้เพื่อปล่อยบัลลูนมาเป็นเรือรบพลังนิวเคลียร์ซึ่งสามารถบรรทุกอากาศยานปีกนิ่งและปีกหมุนได้หลายสิบลำ โดยปกติเรือบรรทุกอากาศยานจะเป็นเรือหลักของกองเรือและเป็นเรือที่มีราคาแพงอย่างมาก มี 10 ประเทศที่ครอบครองเรือบรรทุกอากาศยานโดยแปดประเทศมีเรือบรรทุกอากาศยานเพียงลำเดียวเท่านั้น ทั่วโลกมีเรือบรรทุกอากาศยานที่กำลังทำหน้าที่ 20 ลำโดยเป็นของกองทัพเรือสหรัฐ 10 ลำ บางประเทศในจำนวนนี้ไม่มีเครื่องบินที่สามารถใช้กับเรือบรรทุกอากาศยานและบางประเทศได้เปลี่ยนวัตถุประสงค์ของเรือไป.

ใหม่!!: กองทัพเรือสหรัฐและเรือบรรทุกอากาศยาน · ดูเพิ่มเติม »

เรือบรรทุกเครื่องบินชั้นนิมิตซ์

รือบรรทุกเครื่องบินชั้นนิมิตซ์ (Nimitz class aircraft carrier) เป็นชั้นของเรือบรรทุกเครื่องบินพลังงานนิวเคลียร์ที่เป็นกำลังหลักของกองทัพเรือสหรัฐ เรือบรรทุกเครื่องบินชั้นนิมิตซ์เป็นเรือรบที่มีขนาดใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยสร้างกันมาด้วยความยาวกว่า 333 เมตร ระวางขับน้ำถึง 100,000 ตัน สามารถปฏิบัติงานได้นานถึง 20 ปีโดยที่ไม่ต้องเติมเชื้อเพลิงเลย โดยเรือถูกออกแบบมาให้ใช้งานได้นาน 50 ปี.

ใหม่!!: กองทัพเรือสหรัฐและเรือบรรทุกเครื่องบินชั้นนิมิตซ์ · ดูเพิ่มเติม »

เจมส์ แมตทิส

ลเอก เจมส์ นอร์แมน แมตทิส (James Norman Mattis) หรือเรียกอย่างลำลองว่า จิม แมตทิส ปัจจุบันดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมสหรัฐ คนที่ 26 ภายใต้รัฐบาลดอนัลด์ ทรัมป์ เขายังเป็นพลเอกแห่งนาวิกโยธินสหรัฐอเมริกา เคยรับผิดชอบปฏิบัติการทางทหารในตะวันออกกลาง, จะงอยแอฟริกา และเอเชียกลางระหว่าง..

ใหม่!!: กองทัพเรือสหรัฐและเจมส์ แมตทิส · ดูเพิ่มเติม »

เดอะเพนตากอน

อะเพนตากอน (The Pentagon) หรือ อาคารเพนตากอน เป็นอาคารที่ทำการของกระทรวงกลาโหมสหรัฐอเมริกา ตั้งอยู่ที่เคานตีอาร์ลิงตัน รัฐเวอร์จิเนีย อาคารเพนตากอนรูปห้าเหลี่ยมเป็นสัญลักษณ์ทางการทหารของสหรัฐอเมริกา อาคารเพนตากอนเปิดใช้งานเมื่อวันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2486 เป็นอาคารสำนักงานที่มีพนักงานมากที่สุดในโลก และเคยเป็นสิ่งก่อสร้างที่ใหญ่ที่สุดในโลก (นับตามปริมาณพื้นที่ใช้สอย) ปัจจุบันมีพนักงานทั้งทหารและพลเรือนทำงานมากกว่า 23,000 คน และพนักงานที่ไม่เกี่ยวข้องกับการทหารอีกกว่า 3,000 คน รูปทรงของเพนตากอนเป็นรูปห้าเหลี่ยม ตัวอาคารมีห้าชั้น และแต่ละชั้นแบ่งเป็นวงย่อยๆ ห้าวงซ้อนกัน บริเวณใจกลางของเพนตากอนมีอาณาเขต 20,000 ตร.ม. นับเป็นอาณาเขตใหญ่ที่สุดในโลกที่ทหารไม่จำเป็นต้องทำความเคารพนายทหารชั้นสัญญาบัตร (ตามปกติในที่โล่ง เมื่อสวมหมวกจะต้องทำความเคารพเสมอ).

ใหม่!!: กองทัพเรือสหรัฐและเดอะเพนตากอน · ดูเพิ่มเติม »

เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์

แกนของ CROCUS, เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ขนาดเล็กที่ใช้สำหรับการวิจัยที่ EPFL ในประเทศสวิสเซอร์แลนด์ เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ (Nuclear Reactor) เป็นอุปกรณ์ที่ก่อกำเนิดและควบคุมปฏิกิริยานิวเคลียร์ลูกโซ่ (Nuclear chain reaction) อย่างยั่งยืน มันถูกนำมาใช้ในโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในการผลิตไฟฟ้าและในการขับเคลื่อนเรือ ความร้อนจากนิวเคลียร์ฟิชชั่นถูกส่งไปให้กับของเหลว (น้ำหรือก๊าซ) ให้เป็นตัวทำงาน (working fluid) ของเหลวความร้อนสูงจะไหลไปหมุนกังหันเพื่อหมุนใบพัดเรือหรือหมุนเครื่องกำเนิดไฟฟ้า ไอน้ำที่สร้างโดยนิวเคลียร์ในหลักการสามารถนำมาใช้เพื่อให้ความร้อนในกระบวนการอุตสาหกรรมหรือสำหรับให้ความร้อนชุมชน (district heating) เครื่องปฏิกรณ์บางเครื่องใช้ในการผลิตไอโซโทปสำหรับการใช้งานทางการแพทย์และอุตสาหกรรมหรือผลิตพลูโตเนียมสำหรับทำอาวุธ บางเครื่องก็ใช้สำหรับงานวิจัยเท่านั้น ทุกวันนี้มีประมาณ 450 เครื่องปฏิกรณ์พลังงานนิวเคลียร์ที่ใช้ในการผลิตกระแสไฟฟ้าในประมาณ 30 ประเทศทั่วโลก.

ใหม่!!: กองทัพเรือสหรัฐและเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

US NavyUnited States Navyกองทัพเรือสหรัฐอเมริกา

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »