โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

กองทัพอากาศไทยและเอฟ-16 ไฟทิงฟอลคอน

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง กองทัพอากาศไทยและเอฟ-16 ไฟทิงฟอลคอน

กองทัพอากาศไทย vs. เอฟ-16 ไฟทิงฟอลคอน

กองทัพอากาศไทย (อักษรย่อ: ทอ., '''Royal Thai Air Force''': '''RTAF'''.) เกิดขึ้นภายหลังจากการจัดตั้งกองทัพอากาศฝรั่งเศส ซึ่งเป็นกองทัพอากาศหน่วยแรกของโลกเพียง 4 ปีเท่านั้น ถือได้ว่าเป็นกองทัพอากาศที่ก่อตั้งเป็นลำดับแรกๆ ของเอเชีย และมีวีรกรรมครั้งสำคัญเกิดขึ้นมากมายในช่วงกรณีพิพาทไทย-อินโดจีนฝรั่งเศส ปัจจุบันมีกองบัญชาการอยู่ที่เขตสายไหม เขตดอนเมือง กรุงเทพมหานคร และภายในปี พ.ศ. 2554 หลังจากได้รับมอบฝูงบิน Gripen กับเครื่องบินเตือนภัยทางอากาศจากบริษัท Saab และการปรับปรุงครึ่งชีวิตให้กับฝูงบิน F-16-A/B ให้มีมาตรฐานเทียบเท่ากับรุ่น C/D กองทัพอากาศไทยจะมีอิทธิพลทางอากาศมากเป็นอันดับที่สองในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้รองจากสิงคโปร์ในแง่ของขีดความสามารถและความทันสมัยของอากาศยาน. อฟ-16 ไฟทิงฟอลคอน (F-16 Fighting Falcon) เป็นเครื่องบินขับไล่หลากบทบาทที่เดิมที่พัฒนาขึ้นโดยบริษัทGeneral Dynamicsเพื่อกองทัพอากาศสหรัฐ มันถูกออกแบบให้เป็นเครื่องบินขับไล่ตอนกลางวันน้ำหนักเบา มันได้กลายมาเป็นเครื่องบินขับไล่ที่ประสบความสำเร็จ ความสามารถรอบตัวของมันเป็นเหตุผลหนักที่มันทำการตลาดได้เยี่ยมโดยมันถูกเลือกโดยกองทัพอากาศของ 25 ประเทศLockheed Martin press release (8 June 2008).

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง กองทัพอากาศไทยและเอฟ-16 ไฟทิงฟอลคอน

กองทัพอากาศไทยและเอฟ-16 ไฟทิงฟอลคอน มี 11 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): ยาส 39ล็อกฮีด มาร์ตินสงครามเกาหลีสงครามเวียดนามโบอิงไอริส-ทีเอจีเอ็ม-65 มาเวอร์ริกเอไอเอ็ม-120 แอมแรมเอไอเอ็ม-9 ไซด์ไวน์เดอร์เฮลิคอปเตอร์เครื่องบินขับไล่

ยาส 39

39 กริพเพน (JAS 39 Gripen) (อ่านในภาษาสวีเดนว่า "ยอซ แทร็กตี้นิโยะ กรีเผ่น") เป็นเครื่องบินขับไล่หลากบทบาทที่ผลิตโดยบริษัทซ้าบของประเทศสวีเดน โดยมีกริพเพน อินเตอร์เนชั่นแนล (Gripen International) ทำหน้าที่เป็นองค์กรหลักในการทำสัญญาซึ่งจะรับผิดชอบต่อการตลาด การขาย และการสนับสนุนเครื่องบินขับไล่กริพเพนทั่วโลก ปัจจุบันมันอยู่ในประจำการของกองทัพอากาศสวีเดน กองทัพอากาศเช็ก กองทัพอากาศฮังการี และกองทัพอากาศแอฟริกาใต้ และยังถูกสั่งซื้อโดยกองทัพอากาศไทยอีกด้วย มีกริพเพนทั้งหมด 236 ลำที่ถูกสั่งซื้อในปี..

กองทัพอากาศไทยและยาส 39 · ยาส 39และเอฟ-16 ไฟทิงฟอลคอน · ดูเพิ่มเติม »

ล็อกฮีด มาร์ติน

ำหรับอดีตบริษัท ดูที่ ล็อกฮีดและมาร์ติน มาเรียทต้า ล็อกฮีด มาร์ติน (Lockheed Martin) เป็นบริษัทด้านอากาศยาน อวกาศ และการป้องกันประเทศรายใหญ่ของโลกสัญชาติอเมริกา เกิดจากการควบรวมระหว่างสองบริษัทคือ ล็อคฮีคคอร์ปอเรชั่น กับ มาร์ตินมารีเอ็ตตา ในปี 1995 ล็อกฮีดมาร์ตินมีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ในเบเธสดา รัฐแมริแลนด์ อันเป็นเขตปริมณฑลทางตะวันตกเฉียงเหนือของกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. ล็อกฮีคมาร์ตินถือเป็นบริษัทคู่สัญญาด้านการป้องกันประเทศ (defense contractor) ที่ใหญ่ที่สุดของโลกในแง่ของรายได้.

กองทัพอากาศไทยและล็อกฮีด มาร์ติน · ล็อกฮีด มาร์ตินและเอฟ-16 ไฟทิงฟอลคอน · ดูเพิ่มเติม »

สงครามเกาหลี

งครามเกาหลี (25 มิถุนายน 1950 – 27 กรกฎาคม 1953) เป็นสงครามระหว่างสาธารณรัฐเกาหลี (เกาหลีใต้) โดยได้รับการสนับสนุนจากสหประชาชาติฝ่ายหนึ่ง กับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลี (เกาหลีเหนือ) โดยได้รับการสนับสนุนจากสาธารณรัฐประชาชนจีนเป็นหลัก อีกฝ่ายหนึ่ง สงครามเกาหลีเป็นผลจากเขตทางการเมืองของเกาหลีโดยความตกลงที่ฝ่ายสัมพันธมิตรผู้ชนะกระทำเมื่อสงครามแปซิฟิกยุติ คาบสมุทรเกาหลีถูกจักรวรรดิญี่ปุ่นปกครองตั้งแต่ปี 1910 กระทั่งสงครามโลกครั้งที่สองสิ้นสุด หลังการยอมจำนนของจักรวรรดิญี่ปุ่นในเดือนกันยายน 1945 นักปกครองชาวอเมริกันได้แบ่งคาบสมุทรตามเส้นขนานที่ 38 โดยกองกำลังทหารสหรัฐยึดครองส่วนใต้ และกองกำลังทหารโซเวียตยึดครองส่วนเหนือ ความล้มเหลวในการจัดการเลือกตั้งเสรีทั่วคาบสมุทรเกาหลีในปี 1948 ยิ่งตอกลึกการแบ่งแยกระหว่างสองฝ่าย เกาหลีเหนือจึงสถาปนารัฐบาลคอมมิวนิสต์ ขณะที่เกาหลีใต้สถาปนารัฐบาลประชาธิปไตยในนาม เส้นขนานที่ 38 กลายเป็นพรมแดนทางการเมืองเพิ่มขึ้นระหว่างสองรัฐเกาหลี แม้การเจรจาเพื่อรวมประเทศยังคงดำเนินต่อมาหลายเดือนก่อนเกิดสงคราม แต่ความตึงเครียดยิ่งทวีขึ้น เกิดการรบปะทะและการตีโฉบฉวยข้ามพรมแดนเส้นขนานที่ 38 อยู่เนือง ๆ สถานการณ์บานปลายเป็นการสงครามเปิดเผยเมื่อกองกำลังเกาหลีเหนือบุกครองเกาหลีใต้เมื่อวันที่ 25 มิถุนายน 1950 ปีเดียวกัน สหภาพโซเวียตคว่ำบาตรคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ เพื่อเป็นการประท้วงที่รัฐบาลก๊กมินตั๋ง/สาธารณรัฐจีนเป็นผู้แทนของจีน ซึ่งลี้ภัยไปยังเกาะไต้หวันหลังปราชัยสงครามกลางเมืองจีน เมื่อขาดเสียงไม่เห็นพ้องจากสหภาพโซเวียต ซึ่งมีอำนาจยับยั้งข้อมติคณะมนตรีความมั่นคงฯ สหรัฐอเมริกาและประเทศอื่นจึงผ่านข้อมติที่อนุญาตให้แทรกแซงทางทหารในเกาหลี สหรัฐอเมริกาจัดหาทหารคิดเป็น 88% ของทหารนานาชาติ 341,000 นาย ที่ถูกส่งไปช่วยเหลือกองกำลังเกาหลีใต้ขับการบุกครอง โดยมีรัฐสมาชิกสหประชาชาติอื่นอีก 20 ประเทศเสนอความช่วยเหลือ หลังประสบความสูญเสียอย่างหนักในช่วงสองเดือนแรก ฝ่ายตั้งรับถูกผลักดันกลับไปยังพื้นที่เล็ก ๆ ทางใต้ของคาบสมุทรเกาหลี ซึ่งมีชื่อว่า วงรอบปูซาน จากนั้น การรุกโต้ตอบอย่างรวดเร็วของสหประชาชาติได้ขับทหารเกาหลีเหนือผ่านเส้นขนานที่ 38 ขึ้นไปเกือบถึงแม่น้ำยาลู เมื่อสาธารณรัฐประชาชนจีนเข้าสู่สงครามโดยอยู่ฝ่ายเดียวกับเกาหลีเหนือ การเข้าแทรกแซงของจีนบีบให้กองกำลังเกาหลีใต้และพันธมิตรถอยกลับไปใต้เส้นขนานที่ 38 อีกครั้ง แม้สหภาพโซเวียตจะมิได้ส่งทหารเข้าร่วมในความขัดแย้งโดยตรง แต่ก็ให้ความช่วยเหลือด้านยุทธปัจจัยแก่ทั้งกองทัพเกาหลีเหนือและจีน การสู้รบยุติลงเมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 1953 เมื่อมีการลงนามในความตกลงการสงบศึก ความตกลงดังกล่าวฟื้นฟูพรมแดนระหว่างประเทศใกล้กับเส้นขนานที่ 38 และสถาปนาเขตปลอดทหารเกาหลี แนวกันชนที่มีการป้องกันกว้าง 4.0 กิโลเมตร ระหว่างสองชาติเกาหลี อุบัติการณ์ขนาดย่อมยังคงดำเนินต่อมาตราบจนปัจจุบัน ปัจจัยที่ทำให้สงครามเกาหลียุติเพราะ สตาลินเสียชีวิต และรัฐบาลใหม่โซเวียต ให้บอกให้จีนและเกาหลีเหนือยุติสงครามเกาหลี จากมุมมองวิทยาศาสตร์การทหาร สงครามเกาหลีเป็นการรวมยุทธศาสตร์และยุทธวิธีของสงครามโลกครั้งที่หนึ่งและสงครามโลกครั้งที่สองเข้าด้วยกัน โดยเริ่มต้นจากการสงครามเคลื่อนที่ด้วยการเข้าตีของทหารราบอย่างรวดเร็ว ตามด้วยการตีโฉบฉวยทิ้งระเบิดทางอากาศ แต่กลายเป็นสงครามสนามเพลาะที่อยู่นิ่งเมื่อถึงเดือนกรกฎาคม 1951.

กองทัพอากาศไทยและสงครามเกาหลี · สงครามเกาหลีและเอฟ-16 ไฟทิงฟอลคอน · ดูเพิ่มเติม »

สงครามเวียดนาม

งครามเวียดนาม หรือ สงครามอินโดจีนครั้งที่สอง หรือที่ชาวเวียดนามรู้จักกันในชื่อ สงครามอเมริกา เป็นสงครามตัวแทนสมัยสงครามเย็นที่เกิดขึ้นในประเทศเวียดนาม ลาวและกัมพูชาตั้งแต่เดือนธันวาคม 2498 กระทั่งกรุงไซ่ง่อนแตกเมื่อวันที่ 30 เมษายน 2518 สงครามเวียดนามนี้เกิดขึ้นหลังสงครามอินโดจีนครั้งที่หนึ่ง และมีเวียดนามเหนือซึ่งได้รับการสนับสนุนจากจีน สหภาพโซเวียตและพันธมิตรคอมมิวนิสต์อื่นเป็นคู่สงครามฝ่ายหนึ่ง กับรัฐบาลเวียดนามใต้ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากสหรัฐและประเทศที่ต่อต้านคอมมิวนิสต์อื่นเป็นคู่สงครามอีกฝ่ายหนึ่ง เวียดกง (หรือ แนวร่วมปลดปล่อยแห่งชาติ) เป็นแนวร่วมประชาชนคอมมิวนิสต์เวียดนามใต้ที่ติดอาวุธเบาซึ่งมีเวียดนามเหนือสั่งการ สู้รบในสงครามกองโจรต่อกำลังต่อต้านคอมมิวนิสต์ในภูมิภาค กองทัพประชาชนเวียดนาม (กองทัพเวียดนามเหนือ) ต่อสู้ในสงครามตามแบบมากกว่า และบางครั้งส่งหน่วยขนาดใหญ่เข้าสู่ยุทธการ เมื่อสงครามดำเนินไป ส่วนการต่อสู้ของเวียดกงลดลงขณะที่บทบาทของกองทัพประชาชนเวียดนามเพิ่มขึ้น กำลังสหรัฐและเวียดนามใต้อาศัยความเป็นเจ้าเวหาและอำนาจการยิงที่เหนือกว่าเพื่อดำเนินปฏิบัติการค้นหาและทำลาย ซึ่งรวมถึงกำลังภาคพื้นดิน ปืนใหญ่และการโจมตีทางอากาศ ตลอดห้วงสงคราม สหรัฐดำเนินการทัพทิ้งระเบิดทางยุทธศาสตร์ขนานใหญ่ต่อเวียดนามเหนือ และต่อมาน่านฟ้าเวียดนามเหนือกลายเป็นน่านฟ้าที่มีการป้องกันหนาแน่นที่สุดในโลก รัฐบาลสหรัฐมองว่าการเข้ามามีส่วนในสงครามของตนเป็นหนทางป้องกันการยึดเวียดนามใต้ของคอมมิวนิสต์อันเป็นส่วนหนึ่งของยุทธศาสตร์การจำกัดการขยายตัวของลัทธิที่ไม่พึงปรารถนาที่ใหญ่กว่า โดยมีเป้าหมายที่แถลงไว้เพื่อหยุดการแพร่ของคอมมิวนิสต์ ตามทฤษฎีโดมิโนของสหรัฐ หากรัฐหนึ่งกลายเป็นคอมมิวนิสต์ รัฐอื่นในภูมิภาคก็จะเป็นไปด้วย ฉะนั้น นโยบายของสหรัฐจึงถือว่าการผ่อนปรนการแพร่ของคอมมิวนิสต์ทั่วประเทศเวียดนามนั้นยอมรับไม่ได้ รัฐบาลเวียดนามเหนือและเวียดกงต่อสู้เพื่อรวมเวียดนามอยู่ในการปกครองคอมมิวนิสต์ ทั้งสองมองข้อพิพาทนี้เป็นสงครามอาณานิคม ซึ่งเริ่มแรกสู้กับฝรั่งเศส โดยได้รับการสนับสนุนจากสหรัฐ แล้วต่อมาสู้กับเวียดนามใต้ ซึ่งถูกมองว่าเป็นรัฐหุ่นเชิดของสหรัฐ ที่ปรึกษาทางทหารชาวอเมริกันมาถึงอินโดจีนขณะนั้นเริ่มตั้งแต่ปี 2493 การเข้ามามีส่วนของสหรัฐเพิ่มขึ้นในช่วงต้นคริสต์ทศวรรษ 1960 โดยมีระดับทหารเพิ่มเป็นสามเท่าในปี 2494 และเพิ่มอีกสามเท่าในปีต่อมา การเข้ามามีส่วนของสหรัฐทวีขึ้นอีกหลังเหตุการณ์อ่าวตังเกี๋ย ปี 2507 ซึ่งเรือพิฆาตของสหรัฐปะทะกับเรือโจมตีเร็วของเวียดนามเหนือ ซึ่งตามติดด้วยข้อมติอ่าวตังเกี๋ยซึ่งอนุญาตให้ประธานาธิบดีสหรัฐเพิ่มทหารในพื้นที่ หน่วยรบปกติของสหรัฐถูกจัดวางเริ่มตั้งแต่ปี 2498 ปฏิบัติการข้ามพรมแดนระหว่างประเทศ โดยพื้นที่ติดต่อกับประเทศลาวและกัมพูชาถูกกองทัพสหรัฐทิ้งระเบิดอย่างหนักขณะที่การเข้ามามีส่วนในสงครามของสหรัฐเพิ่มขึ้นสูงสุดในปี 2511 ปีเดียวกัน ฝ่ายคอมมิวนิสต์เปิดฉากการรุกตรุษญวน การรุกตรุษญวนไม่สัมฤทธิ์ผลในการโค่นรัฐบาลเวียดนามใต้ แต่ได้กลายเป็นจุดพลิกผันของสงคราม เพราะได้แสดงว่าเวียดนามใต้ไม่อาจป้องกันตัวเองจากเวียดนามเหนือได้ แม้สหรัฐจะทุ่มความช่วยเหลือทางทหารอย่างมหาศาลหลายปี ด้วยจุดชัยชนะของสหรัฐนั้นไม่ชัดเจน จึงค่อย ๆ มีการถอนกำลังภาคพื้นดินของสหรัฐโดยเป็นส่วนหนึ่งของนโยบายเรียก การแผลงเป็นเวียดนาม (Vietnamization) ซึ่งมุ่งยุติการเข้ามามีส่วนในสงครามของสหรัฐขณะที่โอนภารกิจต่อสู้กับคอมมิวนิสต์ให้เวียดนามใต้เอง แม้ภาคีทุกฝ่ายลงนามข้อตกลงสันติภาพปารีสในเดือนมกราคม 2516 แล้วก็ตาม แต่การสู้รบยังดำเนินต่อไป ในสหรัฐและโลกตะวันตก มีการพัฒนาขบวนการต่อต้านสงครามเวียดนามขนาดใหญ่ขึ้น ขบวนการนี้ทั้งเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมต่อต้าน (Counterculture) แห่งคริสต์ทศวรรษ 1960 และเป็นปัจจัยหนึ่งของมัน การมีส่วนร่วมทางทหารของสหรัฐยุติลงเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2516 อันเป็นผลมาจากคำแปรญัตติเคส–เชิร์ช (Case–Church Amendment) ที่รัฐสภาสหรัฐผ่าน การยึดกรุงไซ่ง่อนโดยกองทัพประชาชนเวียดนามในเดือนเมษายน 2518 เป็นจุดสิ้นสุดของสงคราม และมีการรวมชาติเวียดนามเหนือกับเวียดนามใต้ในปีต่อมา สงครามนี้คร่าชีวิตมนุษย์ไปมหาศาล ประเมินตัวเลขทหารและพลเรือนชาวเวียดนามที่ถูกสังหารมีตั้งแต่น้อยกว่า 1 ล้านคนเล็กน้อย ไปถึงกว่า 3 ล้านคน ชาวกัมพูชาเสียชีวิตราว 2-3 แสนคนHeuveline, Patrick (2001).

กองทัพอากาศไทยและสงครามเวียดนาม · สงครามเวียดนามและเอฟ-16 ไฟทิงฟอลคอน · ดูเพิ่มเติม »

โบอิง

อิง (The Boeing Company) เป็นบริษัทผู้ผลิตเครื่องยนต์อากาศยานและยุทโธปกรณ์ มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่ชิคาโก รัฐอิลลินอยส์ สหรัฐอเมริกา โบอิงนับเป็นบริษัทผู้ผลิตเครื่องบินที่มีรายได้มากที่สุดในโลก และเป็นผู้ผลิตยุทโธปกรณ์อันดับสองของโลก ในปี พ.ศ. 2549 โบอิงเป็นผู้ผลิตเครื่องบินที่มีจำนวนสั่งซื้อมากที่สุดในโลก มีสัดส่วนการตลาดร้อยละ 55 สำหรับยอดสั่งซื้อ และร้อยละ 54 สำหรับยอดส่งมอบ กุมชัยชนะเหนือแอร์บัสเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2543 เป็นต้นมา นอกจากนี้ยังเป็นผู้ส่งออกรายใหญ่ที่สุดในสหรัฐอเมริก.

กองทัพอากาศไทยและโบอิง · เอฟ-16 ไฟทิงฟอลคอนและโบอิง · ดูเพิ่มเติม »

ไอริส-ที

อริส-ที (ย่อ: IRIS-T อังกฤษ: Infra Red Imaging System Tail) เป็นขีปนาวุธอากาศสู่อากาศพิสัยใกล้ ที่เยอรมนีเป็นผู้นำในการพัฒนาร่วมกับหลายประเทศ เพื่อแทนที่ AIM-9 Sidewinder ซึ่งเป็นที่ใช้งานส่วนใหญ่ในประเทศสมาชิก นาโต้.

กองทัพอากาศไทยและไอริส-ที · เอฟ-16 ไฟทิงฟอลคอนและไอริส-ที · ดูเพิ่มเติม »

เอจีเอ็ม-65 มาเวอร์ริก

AGM-65 เป็นอาวุธนำวิถีอากาศ-สู่-พื้น ใช้งานในระยะสั้น และระยะปานกลาง ในตระกูล AGM-65 มีทั้งนำวิถีด้วย TV, IIR (Imaging Infrared) และ Laser วิวัฒนาการ ตระกูล AGM-65 Maverick เริ่มมีการพัฒนาทดสอบในกลางปี..1960 จุดประสงค์เพื่อสร้างอาวุธ ให้มีขีดความสามารถ ในการทำลายเป้าหมายจำพวก รถถัง,รถยานเกราะและเป้าหมายป้องกันอื่น ๆ ทอ.สหรัฐ ฯ ได้เริ่มบรรจุเข้าประจำการ AGM-65A ซึ่งนำวิถีด้วย TV ในปี..1972 และใน..1975 ได้บรรจุเข้าประจำการ AGM-65B ซึ่งนำวิถีด้วย TV เหมือนรุ่น A แต่มีการเพิ่มขนาดมุมจำกัดการมองเห็น (Field Of View) (FOW) ให้สูงขึ้น ใน..1983 ได้บรรจุเข้าประจำการ AGM-65D ซึ่งนำวิถีด้วย Imaging Infrared (IIR) ใน..1985 ได้บรรจุเข้าประจำการ AGM-65E ซึ่งนำวิถีด้วย Laser ใน..1989 ได้บรรจุเข้าประจำการAGM-65F ซึ่งนำวิถีด้วย IIR ใน..1993 ได้บรรจุเข้าประจำการAGM-65G ซึ่งนำวิถีด้วย IIR กองทัพอากาศ จัดหาเข้าประจำการเมื่อ..

กองทัพอากาศไทยและเอจีเอ็ม-65 มาเวอร์ริก · เอจีเอ็ม-65 มาเวอร์ริกและเอฟ-16 ไฟทิงฟอลคอน · ดูเพิ่มเติม »

เอไอเอ็ม-120 แอมแรม

รวดนำวิถีเอไอเอ็ม-120 หรือ แอมแรม (AIM-120 Advanced Medium-Range Air-to-Air Missile, AMRAAM) เป็นขีปนาวุธอากาศสู่อากาศเกินระยะตามองเห็น(BVR)รุ่นใหม่ที่สามารถใช้ได้ทั้งตอนกลางวันและกลางคืน มันยังรู้จักกันในอีกชื่อหนึ่งว่าสแลมเมอร์ในกองทัพอากาสสหรัฐ นาโต้ใช้รหัสเรียกมันว่าฟ็อกซ์ ทรี (Fox Three).

กองทัพอากาศไทยและเอไอเอ็ม-120 แอมแรม · เอฟ-16 ไฟทิงฟอลคอนและเอไอเอ็ม-120 แอมแรม · ดูเพิ่มเติม »

เอไอเอ็ม-9 ไซด์ไวน์เดอร์

อไอเอ็ม-9 ไซด์ไวน์เดอร์ (AIM-9 Sidewinder) เป็นขีปนาวุธอากาศสู่อากาศพิสัยใกล้ติดตามความร้อน ซึ่งใช้กับเครื่องบินขับไล่และเฮลิคอปเตอร์โจมตี แบบอื่นและการพัฒนายังคงอยู่ในประจำการในกองทัพอากาศต่างๆ หลังจากผ่านไปห้าทศวรรษ นักบินนาโต้ใช้รหัสเรียกมันว่าฟ็อกซ์ ทู (Fox Two) ซึ่งหมายถึงขีปนาวุธติดตามความร้อน ไซด์ไวน์เดอร์เป็นขีปนาวุธที่ใช้กว้างขวางที่สุดในฝั่งตะวันตก ด้วยการผลิตมากกว่า 110,000 ลูกสำหรับสหรัฐและอีก 27 ประเทศ ซึ่งอาจมีเพียง 1 % เท่านั้นที่ใช้ในการรบ มันถูกผลิตภายใต้ใบอนุญาตโดยบางชาติรวมทั้งสวีเดน เอไอเอ็ม-9 เป็นหนึ่งในขีปนาวุธอากาศสู่อากาศที่เก่าแก่ที่สุด ถูกที่สุด และประสบความสำเร็จที่สุด ด้วยคะแนนสังหารถึง 270 จากทั่วโลก มันถูกออกแบบมาเพื่อทำการพัฒนาได้โดยง่าย กล่าวกันว่าเป้าหมายของการออกแบบสำหรับไซด์ไวน์เดอร์ดั้งเดิมนั้นคือสร้างขีปนาวุธที่ไว้ใจได้และมีประสิทธิภาพ กองทัพเรือสหรัฐได้ฉลองครบรอบ 50 ปีของการใช้มันในปี..

กองทัพอากาศไทยและเอไอเอ็ม-9 ไซด์ไวน์เดอร์ · เอฟ-16 ไฟทิงฟอลคอนและเอไอเอ็ม-9 ไซด์ไวน์เดอร์ · ดูเพิ่มเติม »

เฮลิคอปเตอร์

ลิคอปเตอร์แบบ เบล 206 (Bell 206) ของตำรวจสหรัฐอเมริกา เฮลิคอปเตอร์กู้ภัยแบบ AW139SAR แห่งสำนักงานความปลอดภัยทางทะเลของสเปน (A Spanish Maritime Safety Agency) HH-43 Huskie เฮลิคอปเตอร์ จัดเป็น อากาศยาน ปีกหมุน (Rotor Craft) มีใบพัดขนาดใหญ่ติดตั้งเหนือลำตัว ใบพัดหมุนรอบตัวในแนวนอน ทำหน้าที่ช่วยพยุงตัวและบังคับให้บินไปตามทิศทางที่ต้องการได้ ใช้เครื่องยนต์ขับเคลื่อนและบินขึ้นลงในแนวดิ่งได้ สามารถเคลื่อนที่ได้อย่างสะดวกแม้แต่ในที่แคบก็ขึ้นลงได้อย่างสบาย เฮลิคอปเตอร์ลำแรกของโลกพัฒนาขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2482 โดยชาวอเมริกันเชื้อสายรัสเซีย ชื่ออิกอร์ ซิคอร์สกี (Igor Sikorsky) โดยใช้ชื่อว่า VS-300 ใช้เครื่องยนต์ 4 สูบ ประกอบด้วยเหล็กท่ออย่างหนา ไม่มีผนังลำตัวปกปิด และไม่มีเครื่องวัดใด ๆ โรเตอร์หลักประกอบด้วยใบพัดสามใบ และมีโรเตอร์ท้ายเพื่อต้านแรงหมุนที่เกิดขึ้น.

กองทัพอากาศไทยและเฮลิคอปเตอร์ · เอฟ-16 ไฟทิงฟอลคอนและเฮลิคอปเตอร์ · ดูเพิ่มเติม »

เครื่องบินขับไล่

รื่องบินจู่โจมหนึ่งลำ (เอ-10) เครื่องบินขับไล่ เป็นอากาศยานทางทหารที่ถูกออกแบบมาเพื่อการต่อสู้ทางอากาศกับอากาศยานลำอื่นเป็นหลัก มันตรงกันข้ามกับเครื่องบินทิ้งระเบิดที่ถูกออกแบบมาเพื่อโจมตีภาคพื้นดินโดยการทิ้งระเบิดเป็นหลัก เครื่องบินขับไล่นั้นมีขนาดเล็ก รวดเร็ว และคล่องแคล่ว เครื่องบินขับไล่มากมายจะมีความสามารถรองในการโจมตีภาคพื้นดิน และบ้างก็มีสองบทบาทโดยเรียกว่าเครื่องบินขับไล่ทิ้งระเบิด บางครั้งคำว่าเครื่องบินขับไล่ก็ถูกใช้ร่วมกับเครื่องบินโจมตีภาคพื้นดิน เครื่องบินขับไล่โดยหลักแล้วจะหมายถึงเครื่องบินติดอาวุธที่แย่งครองความเป็นจ้าวทางอากาศเหนือข้าศึกในสมรภูมิ ตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่สอง ความสำเร็จและความเหนือกว่าทางอากาศได้กลายมาเป็นปัจจัยสำคัญในชัยชนะของสงคราม โดยเฉพาะสงครามทั่วไประหว่างกองทัพปกติ (ไม่เหมือนกับสงครามกองโจร) การซื้อขาย การฝึก และการดูแลรักษากองบินเครื่องบินขับไล่จะแสดงถึงทุนที่มากมายของกองทัพนั้น.

กองทัพอากาศไทยและเครื่องบินขับไล่ · เครื่องบินขับไล่และเอฟ-16 ไฟทิงฟอลคอน · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง กองทัพอากาศไทยและเอฟ-16 ไฟทิงฟอลคอน

กองทัพอากาศไทย มี 72 ความสัมพันธ์ขณะที่ เอฟ-16 ไฟทิงฟอลคอน มี 78 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 11, ดัชนี Jaccard คือ 7.33% = 11 / (72 + 78)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง กองทัพอากาศไทยและเอฟ-16 ไฟทิงฟอลคอน หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »