เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
ขาออกขาเข้า
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

กองทัพอากาศไทย

ดัชนี กองทัพอากาศไทย

กองทัพอากาศไทย (อักษรย่อ: ทอ., '''Royal Thai Air Force''': '''RTAF'''.) เกิดขึ้นภายหลังจากการจัดตั้งกองทัพอากาศฝรั่งเศส ซึ่งเป็นกองทัพอากาศหน่วยแรกของโลกเพียง 4 ปีเท่านั้น ถือได้ว่าเป็นกองทัพอากาศที่ก่อตั้งเป็นลำดับแรกๆ ของเอเชีย และมีวีรกรรมครั้งสำคัญเกิดขึ้นมากมายในช่วงกรณีพิพาทไทย-อินโดจีนฝรั่งเศส ปัจจุบันมีกองบัญชาการอยู่ที่เขตสายไหม เขตดอนเมือง กรุงเทพมหานคร และภายในปี พ.ศ.

สารบัญ

  1. 70 ความสัมพันธ์: AU-23A Peacemakerพ.ศ. 2457พ.ศ. 2480พ.ศ. 2521พ.ศ. 2554พ.ศ. 2555พ.ศ. 2557พ.ศ. 2559พ.ศ. 2561พ.ศ. 2562พ.ศ. 2563พ.ศ. 2564พิพิธภัณฑ์ของกองทัพอากาศกรมช่างอากาศกรุงเทพมหานครกรณีพิพาทอินโดจีนกองบัญชาการกองทัพไทยกองบิน 1 นครราชสีมากองบิน 2 ลพบุรีกองทัพบกไทยกองทัพอากาศกองทัพไทยกองทัพเรือไทยยาส 39ยูเอช-1 ไอระควอยรายนามผู้บัญชาการทหารอากาศไทยล็อกฮีด มาร์ตินสงครามโลกครั้งที่สองสงครามโลกครั้งที่หนึ่งสงครามเกาหลีสงครามเวียดนามสโมสรฟุตบอลแอร์ฟอร์ซ เซ็นทรัลหน่วยบัญชาการอากาศโยธินอากาศยานในราชการไทยอาร์บีเอส-15อาณาจักรรัตนโกสินทร์ (สมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์)อุตสาหกรรมการบินไทยจอม รุ่งสว่างธงไชยเฉลิมพลถนนพหลโยธินทอ.4 จันทราที-50 โกลเดนอีเกิลขีปนาวุธดาโซ/ดอร์เนียร์แอลฟาเจ็ตซิคอร์สกี เอส-92ซุคฮอยซี-130 เฮอร์คิวลิสซ้าบประชาธิปก (เครื่องบิน)ประเทศไทย... ขยายดัชนี (20 มากกว่า) »

  2. กองทัพอากาศแบ่งตามประเทศ
  3. กองทัพไทย

AU-23A Peacemaker

อยู 23 พีชเมคเกอร์ หรือ เครื่องบินโจมตีธุรการแบบที่ ๒ (บ.จธ.๒) เป็นเครื่องบินดัดแปลงซึ่งมีพื้นฐานจากเครื่องบินพลเรือน คือ ปิลาตุส พีซี 6 ของประเทศสวิตเซอร์แลนด์ เป็นเครื่องบินที่เดิมกองทัพอากาศสหรัฐจัดหา ประจำการในกองทัพเพื่อใช้ในภารกิจ ปราบปรามผู้ก่อการร้าย (COIN Counter insurgency) ปฏิบัติการทางจิตวิทยา โจมตีภาคพื้นขนาดเบา ขนส่งลำเลียงจู่โจมทางยุทธวิธี มีขีดความสามารถในการขึ้น ลง ระยะสั้น โดยเฉพาะการขนส่งขึ้นลงในสนามบินฉุกเฉินเร่งด่วน กองทัพอากาศได้นำเครื่องบินแบบ เอยู 23 พีชเมคเกอร์ เข้าบินทดสอบการปฏิบัติการในสงครามเวียดนาม โดยใช้ในภารกิจ โปรยใบปลิว กระจายข่าว ลำเลียงขนาดเบา โจมตีภาคพื้นด้วยปืนกลเบา ปล่อยแฟร์ พลุในเวลากลางคืน ธุรการ ทิ้งระเบิด โจมตีด้วยจรวด ชี้เป้า ฯลฯ ซึ่งผลการทดสอบกองทัพอากาศอเมริกันมีความพึงพอใจในระดับหนึ่ง ต่อมา รัฐบาลสหรัฐได้มอบเอยู 23 พีชเมคเกอร์ ให้รัฐบาลไทยเพื่อใช้ในภารกิจทางทหารและปราบปรามผู้ก่อการร้าย ซึ่ง กองทัพอากาศไทย เป็นกองทัพอากาศเดียวในโลกที่มีเครื่องบินแบบ และชนิดนี้ประจำการอยู๋.

ดู กองทัพอากาศไทยและAU-23A Peacemaker

พ.ศ. 2457

ทธศักราช 2457 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1914 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันพฤหัสบดี ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ดู กองทัพอากาศไทยและพ.ศ. 2457

พ.ศ. 2480

ทธศักราช 2480 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1937.

ดู กองทัพอากาศไทยและพ.ศ. 2480

พ.ศ. 2521

ทธศักราช 2521 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1978 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันอาทิตย์ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ดู กองทัพอากาศไทยและพ.ศ. 2521

พ.ศ. 2554

ทธศักราช 2554 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 2011 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันเสาร์ตามปฏิทินเกรกอเรียน และเป็น.

ดู กองทัพอากาศไทยและพ.ศ. 2554

พ.ศ. 2555

ทธศักราช 2555 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 2012 เป็นปีอธิกสุรทินที่วันแรกเป็นวันอาทิตย์ตามปฏิทินเกรกอเรียน และเป็นปีมะโรง จัตวาศก จุลศักราช 1374 (วันที่ 15 เมษายน เป็นวันเถลิงศก) สมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติประกาศให้..

ดู กองทัพอากาศไทยและพ.ศ. 2555

พ.ศ. 2557

ทธศักราช 2557 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 2014 วันแรกของปีตรงกับวันพุธตามปฏิทินเกรกอเรียน นับเป็นปีที่ 2014 ตามกำหนดสากลศักราช และปีที่ 2557 ตามกำหนดพุทธศักร.

ดู กองทัพอากาศไทยและพ.ศ. 2557

พ.ศ. 2559

ทธศักราช 2559 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 2016 เป็นปีอธิกสุรทินที่วันแรกเป็นวันศุกร์ และเป็น.

ดู กองทัพอากาศไทยและพ.ศ. 2559

พ.ศ. 2561

ทธศักราช 2561 เป็นปีปัจจุบัน ตรงกับปีคริสต์ศักราช 2018 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันจันทร์ตามปฏิทินเกรกอเรียน และเป็น.

ดู กองทัพอากาศไทยและพ.ศ. 2561

พ.ศ. 2562

ทธศักราช 2562 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 2019 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันอังคารตามปฏิทินเกรกอเรียน และเป็น.

ดู กองทัพอากาศไทยและพ.ศ. 2562

พ.ศ. 2563

ทธศักราช 2563 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 2020 เป็นปีอธิกสุรทินที่วันแรกเป็นวันพุธตามปฏิทินเกรกอเรียน และเป็น.

ดู กองทัพอากาศไทยและพ.ศ. 2563

พ.ศ. 2564

ทธศักราช 2564 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 2021 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันศุกร์ตามปฏิทินเกรกอเรียน และเป็น.

ดู กองทัพอากาศไทยและพ.ศ. 2564

พิพิธภัณฑ์ของกองทัพอากาศ

thumb พิพิธภัณฑ์กองทัพอากาศและการบินแห่งชาติ เริ่มมีการจัดตั้งเป็นพิพิธภัณฑ์ครั้งแรก เมื่อ พ.ศ. 2495 ตามที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 13 สิงหาคม 2495 ให้กระทรวงกลาโหมจัดตั้งพิพิธภัณฑ์การทหารของทั้ง 3 กองทัพขึ้น เพื่อจัดเป็นประวัติศาสตร์และแสดงวิวัฒนาการในทางการทหารของประเทศไทยในอดีตและปัจจุบัน จึงได้ออกคำสั่งกระทรวงกลาโหม (พิเศษ) ที่ 50/19491ลงวันที่ 26 กันยายน 2495 ตั้งคณะกรรมการพิจารณาจัดตั้งพิพิธภัณฑ์การทหาร เพื่อดำเนินการในเรื่องนี้ให้เป็นผลสมความมุ่งหมาย คณะกรรมการตามคำสั่ง กห.

ดู กองทัพอากาศไทยและพิพิธภัณฑ์ของกองทัพอากาศ

กรมช่างอากาศ

กรมช่างอากาศ เป็นหน่วยขึ้นตรงกองทัพอากาศ ในส่วนส่งกำลังบำรุง โดยความรับผิดชอบหลักคือการทำให้เครื่องบินของกองทัพอากาศไทยพร้อมใช้งานตามเกณฑ์ของกองทัพอากาศเพื่อให้สามารถปฏิบัติภารกิจได้ตามที่ได้มอบหมายจากกองทัพไทย โดยมีการดูแลกิจการหลัก 3 ระบบคือ ระบบอากาศยาน ระบบพัสดุช่างอากาศ และการพัสดุเชื้อเพลิง โดยเป็นงานด้านการบริหารงานซ่อมบำรุง ปฏิบัติและจัดการพัฒนาความรู้ กิจการต่าง ๆ ในสายวิทยาการด้านช่างอากาศ มีเจ้ากรมช่างอากาศเป็นผู้บังคับบัญชารับผิดชอบ มีการแบ่งส่วนราชการเป็น 10 กองและ 1 แผนก มีข้าราชการสังกัดกว่า 3,000 คน กระจายอยู่ทั่วตามกองบินต่าง ๆ และกรมช่างอากาศ ที่บางซื่อ กรมช่างอากาศเป็นกรมที่ใหญ่ในส่วนส่งกำลังบำรุง และได้รับงบประมาณมากที่สุด ซึ่งกว่าครึ่งเป็นงบเชื้อเพลิง นอกจากภารกิจหลักคือการซ่อมบำรุงอากาศยาน และพัสดุภาคพื้นเพื่อสนับสนุนภารกิจการบินแล้ว กรมช่างอากาศยังมีการประชาสัมพันธ์และจัดการแข่งขันเครื่องบินเล็ก รวมทั้งปัจจุบันมีการสร้าง เครื่องบินฝีกต้นแบบ (บ.ชอ.2) เพื่อใช้เป็นเครื่องบินฝึก, เครื่องบินธุรการ ต่อไป.

ดู กองทัพอากาศไทยและกรมช่างอากาศ

กรุงเทพมหานคร

กรุงเทพมหานคร เป็นเมืองหลวงและนครที่มีประชากรมากที่สุดของประเทศไทย เป็นศูนย์กลางการปกครอง การศึกษา การคมนาคมขนส่ง การเงินการธนาคาร การพาณิชย์ การสื่อสาร และความเจริญของประเทศ เป็นเมืองที่มีชื่อยาวที่สุดในโลก ตั้งอยู่บนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำเจ้าพระยา มีแม่น้ำเจ้าพระยาไหลผ่านและแบ่งเมืองออกเป็น 2 ฝั่ง คือ ฝั่งพระนครและฝั่งธนบุรี กรุงเทพมหานครมีพื้นที่ทั้งหมด 1,568.737 ตร.กม.

ดู กองทัพอากาศไทยและกรุงเทพมหานคร

กรณีพิพาทอินโดจีน

กรณีพิพาทอินโดจีน หรือ สงครามอินโดจีน ในต่างประเทศเรียกว่า สงครามฝรั่งเศส-ไทย เป็นการสู้รบระหว่างประเทศไทยกับฝรั่งเศสเขตวีชีเหนือดินแดนอินโดจีนฝรั่งเศส จอมพล ป.

ดู กองทัพอากาศไทยและกรณีพิพาทอินโดจีน

กองบัญชาการกองทัพไทย

กองบัญชาการกองทัพไทย (Royal Thai Armed Forces Headquarters) เป็นส่วนราชการขึ้นตรงต่อ กองทัพไทย กระทรวงกลาโหม ซึ่งแปรสภาพมาจากกองบัญชาการทหารสูงสุด (Supreme Command Headquarters) มีหน้าที่ควบคุม อำนวยการ สั่งการและกำกับดูแลการดำเนินงานของส่วนราชการในกองทัพไทยในการเตรียมกำลัง การป้องกันราชอาณาจักร และการดำเนินการเกี่ยวกับการใช้กำลังทหารตามอำนาจหน้าที่ของกระทรวงกลาโหมให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดมีผู้บัญชาการทหารสูงสุดเป็นผู้บังคับบัญชารับผิดชอบ มีที่ตั้งอยู่ที่ เลขที่ 127 หมู่ 3 ถนนแจ้งวัฒนะ แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร 10210 ผู้บังคับบัญชา ปัจจุบันคือ พลเอก ธารไชยยันต์ ศรีสุวรรณ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด, พลเอก หัสพงศ์ ยุวนวรรธนะ รองผู้บัญชาการทหารสูงสุด, พลเรือเอก สายันต์ ประสงค์สำเร็จ รองผู้บัญชาการทหารสูงสุด, พลอากาศเอก สุทธิพงษ์ อินทรียงค์ รองผู้บัญชาการทหารสูงสุด, พลเอก ยศนันท์ หร่ายเจริญ รองผู้บัญชาการทหารสูง.

ดู กองทัพอากาศไทยและกองบัญชาการกองทัพไทย

กองบิน 1 นครราชสีมา

กองบิน 1 จังหวัด นครราชสีมา เป็นหนึ่งในกองบินสังกัดกองทัพอากาศไทย มีหน่วยขึ้นตรงอยู่คือ ฝูงบิน 102 และ ฝูงบิน 103 เป็นฝูงบินขับไล่หลักของกองทัพอากาศไทย ปัจจุบันมี นาวาอากาศเอก วชิระพล เมืองน้อย ดำรงตำแหน่งผู้บังคับบัญชาการกองบิน 1.

ดู กองทัพอากาศไทยและกองบิน 1 นครราชสีมา

กองบิน 2 ลพบุรี

กองบิน 2 เป็นกองบินสังกัดกองทัพอากาศไทยที่ตั้งอยู่ใน อำเภอเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี.

ดู กองทัพอากาศไทยและกองบิน 2 ลพบุรี

กองทัพบกไทย

กองทัพบกไทย (คำย่อ: ทบ.; Royal Thai Army) เป็นเหล่าทัพที่มีประวัติความเป็นมายาวนานที่สุดและมีขนาดใหญ่ที่สุดของกองทัพไทย ก่อตั้งเป็นกองทัพสมัยใหม่ขี้นในปี พ.ศ.

ดู กองทัพอากาศไทยและกองทัพบกไทย

กองทัพอากาศ

กองทัพอากาศ คือกองกำลังติดอาวุธที่ปฏิบัติการในอากาศหรือเกี่ยวข้องกับอากาศ โดยใช้อากาศยานเป็นส่วนใหญ่ มีหน้าที่ปกป้องน่านฟ้าของประเทศนั้น.

ดู กองทัพอากาศไทยและกองทัพอากาศ

กองทัพไทย

กองทัพไทย (Royal Thai Armed Forces) เป็นกองทัพของราชอาณาจักรไทย แบ่งเป็นสามเหล่าทัพ ได้แก่ กองทัพบก กองทัพเรือและกองทัพอาก.

ดู กองทัพอากาศไทยและกองทัพไทย

กองทัพเรือไทย

กองทัพเรือไทย หรือ ราชนาวีไทย (คำย่อ: ทร., Royal Thai Navy) เป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบต่อการปฏิบัติการทางทหารในทะเล ลำน้ำ และพื้นที่บริเวณชายฝั่งของประเทศไทย กองทัพเรือมีจำนวนกำลังพลประจำการเป็นลำดับ 2 (รองจากกองทัพบก) ซึ่งมีเรือปฏิบัติการด้วยเรือรบกว่า 74 ลำ อากาศยานกว่า 90 เครื่อง และกำลังรบทางบกอีก 2 กองพล นับเป็นกองทัพเรือที่มีความสำคัญในลำดับต้นของภูมิภาคเอเชีย กองทัพเรือมีผู้บัญชาการทหารเรือเป็นผู้บังคับบัญชาสูงสุด โดยเป็นหน่วยงานในสังกัดของกองบัญชาการกองทัพไทย ที่มีผู้บัญชาการทหารสูงสุดเป็นผู้บังคับบัญชา และอยู่ในสังกัดของกระทรวงกลาโหม กองทัพเรือมีพื้นที่ปฏิบัติการหลักทั้งในอ่าวไทยและทะเลอันดามัน ตามแนวเขตแดนระหว่างประเทศในทะเลความยาวกว่า 1,680 ไมล์ และตามแนวชายฝั่งความยาวกว่า 1,500 ไมล์ หน่วยต่างๆ ในสังกัดกองทัพเรือมีลักษณะการจัดโครงสร้างหน่วยที่คล้ายกับกองทัพเรือสหรัฐอเมริกามาก โดยเฉพาะในหน่วยกำลังรบ คือ กองการบินทหารเรือ กองเรือยุทธการ (กบร.

ดู กองทัพอากาศไทยและกองทัพเรือไทย

ยาส 39

39 กริพเพน (JAS 39 Gripen) (อ่านในภาษาสวีเดนว่า "ยอซ แทร็กตี้นิโยะ กรีเผ่น") เป็นเครื่องบินขับไล่หลากบทบาทที่ผลิตโดยบริษัทซ้าบของประเทศสวีเดน โดยมีกริพเพน อินเตอร์เนชั่นแนล (Gripen International) ทำหน้าที่เป็นองค์กรหลักในการทำสัญญาซึ่งจะรับผิดชอบต่อการตลาด การขาย และการสนับสนุนเครื่องบินขับไล่กริพเพนทั่วโลก ปัจจุบันมันอยู่ในประจำการของกองทัพอากาศสวีเดน กองทัพอากาศเช็ก กองทัพอากาศฮังการี และกองทัพอากาศแอฟริกาใต้ และยังถูกสั่งซื้อโดยกองทัพอากาศไทยอีกด้วย มีกริพเพนทั้งหมด 236 ลำที่ถูกสั่งซื้อในปี..

ดู กองทัพอากาศไทยและยาส 39

ยูเอช-1 ไอระควอย

ูเอช-1 ไอโรควอยส์ (UH-1 Iroquois) หรือ ฮิวอี้.

ดู กองทัพอากาศไทยและยูเอช-1 ไอระควอย

รายนามผู้บัญชาการทหารอากาศไทย

รายนามผู้บัญชาการทหารอากาศไทย ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน.

ดู กองทัพอากาศไทยและรายนามผู้บัญชาการทหารอากาศไทย

ล็อกฮีด มาร์ติน

ำหรับอดีตบริษัท ดูที่ ล็อกฮีดและมาร์ติน มาเรียทต้า ล็อกฮีด มาร์ติน (Lockheed Martin) เป็นบริษัทด้านอากาศยาน อวกาศ และการป้องกันประเทศรายใหญ่ของโลกสัญชาติอเมริกา เกิดจากการควบรวมระหว่างสองบริษัทคือ ล็อคฮีคคอร์ปอเรชั่น กับ มาร์ตินมารีเอ็ตตา ในปี 1995 ล็อกฮีดมาร์ตินมีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ในเบเธสดา รัฐแมริแลนด์ อันเป็นเขตปริมณฑลทางตะวันตกเฉียงเหนือของกรุงวอชิงตัน ดี.ซี.

ดู กองทัพอากาศไทยและล็อกฮีด มาร์ติน

สงครามโลกครั้งที่สอง

งครามโลกครั้งที่สอง (World War II หรือ Second World Warคำว่าสงครามโลกครั้งที่สองในภาษาอังกฤษนั้น ในเอกสารประวัติศาสตร์อย่างเป็นทางการของสหราชอาณาจักรและชาติตะวันตกใช้คำว่า "Second World War" ส่วนในสหรัฐใช้คำว่า "World War II" (ย่อเป็น "WWII" หรือ "WW2") ซึ่งเอกสารประวัติศาสตร์อย่างเป็นทางการในประเทศส่วนใหญ่มักจะใช้ภาษาอังกฤษว่า "Second World War" (เช่น Zweiter Weltkrieg ในภาษาเยอรมัน; Segunda Guerra mundial ในภาษาสเปน; Seconde Guerre mondiale ในภาษาฝรั่งเศส) แต่ทั้งสองคำนี้โดยทั่วไปแล้วสามารถใช้แทนกันได้; แม้ในประวัติศาสตร์การทหารอย่างเป็นทางการ คำว่า "Second World War" ถูกสร้างขึ้นโดย แฟรงก์ บี.

ดู กองทัพอากาศไทยและสงครามโลกครั้งที่สอง

สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง

งครามโลกครั้งที่หนึ่ง (World War I หรือ First World War) หรือที่มักเรียกว่า "สงครามโลก" หรือ "มหาสงคราม" (Great War) ก่อน..

ดู กองทัพอากาศไทยและสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง

สงครามเกาหลี

งครามเกาหลี (25 มิถุนายน 1950 – 27 กรกฎาคม 1953) เป็นสงครามระหว่างสาธารณรัฐเกาหลี (เกาหลีใต้) โดยได้รับการสนับสนุนจากสหประชาชาติฝ่ายหนึ่ง กับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลี (เกาหลีเหนือ) โดยได้รับการสนับสนุนจากสาธารณรัฐประชาชนจีนเป็นหลัก อีกฝ่ายหนึ่ง สงครามเกาหลีเป็นผลจากเขตทางการเมืองของเกาหลีโดยความตกลงที่ฝ่ายสัมพันธมิตรผู้ชนะกระทำเมื่อสงครามแปซิฟิกยุติ คาบสมุทรเกาหลีถูกจักรวรรดิญี่ปุ่นปกครองตั้งแต่ปี 1910 กระทั่งสงครามโลกครั้งที่สองสิ้นสุด หลังการยอมจำนนของจักรวรรดิญี่ปุ่นในเดือนกันยายน 1945 นักปกครองชาวอเมริกันได้แบ่งคาบสมุทรตามเส้นขนานที่ 38 โดยกองกำลังทหารสหรัฐยึดครองส่วนใต้ และกองกำลังทหารโซเวียตยึดครองส่วนเหนือ ความล้มเหลวในการจัดการเลือกตั้งเสรีทั่วคาบสมุทรเกาหลีในปี 1948 ยิ่งตอกลึกการแบ่งแยกระหว่างสองฝ่าย เกาหลีเหนือจึงสถาปนารัฐบาลคอมมิวนิสต์ ขณะที่เกาหลีใต้สถาปนารัฐบาลประชาธิปไตยในนาม เส้นขนานที่ 38 กลายเป็นพรมแดนทางการเมืองเพิ่มขึ้นระหว่างสองรัฐเกาหลี แม้การเจรจาเพื่อรวมประเทศยังคงดำเนินต่อมาหลายเดือนก่อนเกิดสงคราม แต่ความตึงเครียดยิ่งทวีขึ้น เกิดการรบปะทะและการตีโฉบฉวยข้ามพรมแดนเส้นขนานที่ 38 อยู่เนือง ๆ สถานการณ์บานปลายเป็นการสงครามเปิดเผยเมื่อกองกำลังเกาหลีเหนือบุกครองเกาหลีใต้เมื่อวันที่ 25 มิถุนายน 1950 ปีเดียวกัน สหภาพโซเวียตคว่ำบาตรคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ เพื่อเป็นการประท้วงที่รัฐบาลก๊กมินตั๋ง/สาธารณรัฐจีนเป็นผู้แทนของจีน ซึ่งลี้ภัยไปยังเกาะไต้หวันหลังปราชัยสงครามกลางเมืองจีน เมื่อขาดเสียงไม่เห็นพ้องจากสหภาพโซเวียต ซึ่งมีอำนาจยับยั้งข้อมติคณะมนตรีความมั่นคงฯ สหรัฐอเมริกาและประเทศอื่นจึงผ่านข้อมติที่อนุญาตให้แทรกแซงทางทหารในเกาหลี สหรัฐอเมริกาจัดหาทหารคิดเป็น 88% ของทหารนานาชาติ 341,000 นาย ที่ถูกส่งไปช่วยเหลือกองกำลังเกาหลีใต้ขับการบุกครอง โดยมีรัฐสมาชิกสหประชาชาติอื่นอีก 20 ประเทศเสนอความช่วยเหลือ หลังประสบความสูญเสียอย่างหนักในช่วงสองเดือนแรก ฝ่ายตั้งรับถูกผลักดันกลับไปยังพื้นที่เล็ก ๆ ทางใต้ของคาบสมุทรเกาหลี ซึ่งมีชื่อว่า วงรอบปูซาน จากนั้น การรุกโต้ตอบอย่างรวดเร็วของสหประชาชาติได้ขับทหารเกาหลีเหนือผ่านเส้นขนานที่ 38 ขึ้นไปเกือบถึงแม่น้ำยาลู เมื่อสาธารณรัฐประชาชนจีนเข้าสู่สงครามโดยอยู่ฝ่ายเดียวกับเกาหลีเหนือ การเข้าแทรกแซงของจีนบีบให้กองกำลังเกาหลีใต้และพันธมิตรถอยกลับไปใต้เส้นขนานที่ 38 อีกครั้ง แม้สหภาพโซเวียตจะมิได้ส่งทหารเข้าร่วมในความขัดแย้งโดยตรง แต่ก็ให้ความช่วยเหลือด้านยุทธปัจจัยแก่ทั้งกองทัพเกาหลีเหนือและจีน การสู้รบยุติลงเมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 1953 เมื่อมีการลงนามในความตกลงการสงบศึก ความตกลงดังกล่าวฟื้นฟูพรมแดนระหว่างประเทศใกล้กับเส้นขนานที่ 38 และสถาปนาเขตปลอดทหารเกาหลี แนวกันชนที่มีการป้องกันกว้าง 4.0 กิโลเมตร ระหว่างสองชาติเกาหลี อุบัติการณ์ขนาดย่อมยังคงดำเนินต่อมาตราบจนปัจจุบัน ปัจจัยที่ทำให้สงครามเกาหลียุติเพราะ สตาลินเสียชีวิต และรัฐบาลใหม่โซเวียต ให้บอกให้จีนและเกาหลีเหนือยุติสงครามเกาหลี จากมุมมองวิทยาศาสตร์การทหาร สงครามเกาหลีเป็นการรวมยุทธศาสตร์และยุทธวิธีของสงครามโลกครั้งที่หนึ่งและสงครามโลกครั้งที่สองเข้าด้วยกัน โดยเริ่มต้นจากการสงครามเคลื่อนที่ด้วยการเข้าตีของทหารราบอย่างรวดเร็ว ตามด้วยการตีโฉบฉวยทิ้งระเบิดทางอากาศ แต่กลายเป็นสงครามสนามเพลาะที่อยู่นิ่งเมื่อถึงเดือนกรกฎาคม 1951.

ดู กองทัพอากาศไทยและสงครามเกาหลี

สงครามเวียดนาม

งครามเวียดนาม หรือ สงครามอินโดจีนครั้งที่สอง หรือที่ชาวเวียดนามรู้จักกันในชื่อ สงครามอเมริกา เป็นสงครามตัวแทนสมัยสงครามเย็นที่เกิดขึ้นในประเทศเวียดนาม ลาวและกัมพูชาตั้งแต่เดือนธันวาคม 2498 กระทั่งกรุงไซ่ง่อนแตกเมื่อวันที่ 30 เมษายน 2518 สงครามเวียดนามนี้เกิดขึ้นหลังสงครามอินโดจีนครั้งที่หนึ่ง และมีเวียดนามเหนือซึ่งได้รับการสนับสนุนจากจีน สหภาพโซเวียตและพันธมิตรคอมมิวนิสต์อื่นเป็นคู่สงครามฝ่ายหนึ่ง กับรัฐบาลเวียดนามใต้ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากสหรัฐและประเทศที่ต่อต้านคอมมิวนิสต์อื่นเป็นคู่สงครามอีกฝ่ายหนึ่ง เวียดกง (หรือ แนวร่วมปลดปล่อยแห่งชาติ) เป็นแนวร่วมประชาชนคอมมิวนิสต์เวียดนามใต้ที่ติดอาวุธเบาซึ่งมีเวียดนามเหนือสั่งการ สู้รบในสงครามกองโจรต่อกำลังต่อต้านคอมมิวนิสต์ในภูมิภาค กองทัพประชาชนเวียดนาม (กองทัพเวียดนามเหนือ) ต่อสู้ในสงครามตามแบบมากกว่า และบางครั้งส่งหน่วยขนาดใหญ่เข้าสู่ยุทธการ เมื่อสงครามดำเนินไป ส่วนการต่อสู้ของเวียดกงลดลงขณะที่บทบาทของกองทัพประชาชนเวียดนามเพิ่มขึ้น กำลังสหรัฐและเวียดนามใต้อาศัยความเป็นเจ้าเวหาและอำนาจการยิงที่เหนือกว่าเพื่อดำเนินปฏิบัติการค้นหาและทำลาย ซึ่งรวมถึงกำลังภาคพื้นดิน ปืนใหญ่และการโจมตีทางอากาศ ตลอดห้วงสงคราม สหรัฐดำเนินการทัพทิ้งระเบิดทางยุทธศาสตร์ขนานใหญ่ต่อเวียดนามเหนือ และต่อมาน่านฟ้าเวียดนามเหนือกลายเป็นน่านฟ้าที่มีการป้องกันหนาแน่นที่สุดในโลก รัฐบาลสหรัฐมองว่าการเข้ามามีส่วนในสงครามของตนเป็นหนทางป้องกันการยึดเวียดนามใต้ของคอมมิวนิสต์อันเป็นส่วนหนึ่งของยุทธศาสตร์การจำกัดการขยายตัวของลัทธิที่ไม่พึงปรารถนาที่ใหญ่กว่า โดยมีเป้าหมายที่แถลงไว้เพื่อหยุดการแพร่ของคอมมิวนิสต์ ตามทฤษฎีโดมิโนของสหรัฐ หากรัฐหนึ่งกลายเป็นคอมมิวนิสต์ รัฐอื่นในภูมิภาคก็จะเป็นไปด้วย ฉะนั้น นโยบายของสหรัฐจึงถือว่าการผ่อนปรนการแพร่ของคอมมิวนิสต์ทั่วประเทศเวียดนามนั้นยอมรับไม่ได้ รัฐบาลเวียดนามเหนือและเวียดกงต่อสู้เพื่อรวมเวียดนามอยู่ในการปกครองคอมมิวนิสต์ ทั้งสองมองข้อพิพาทนี้เป็นสงครามอาณานิคม ซึ่งเริ่มแรกสู้กับฝรั่งเศส โดยได้รับการสนับสนุนจากสหรัฐ แล้วต่อมาสู้กับเวียดนามใต้ ซึ่งถูกมองว่าเป็นรัฐหุ่นเชิดของสหรัฐ ที่ปรึกษาทางทหารชาวอเมริกันมาถึงอินโดจีนขณะนั้นเริ่มตั้งแต่ปี 2493 การเข้ามามีส่วนของสหรัฐเพิ่มขึ้นในช่วงต้นคริสต์ทศวรรษ 1960 โดยมีระดับทหารเพิ่มเป็นสามเท่าในปี 2494 และเพิ่มอีกสามเท่าในปีต่อมา การเข้ามามีส่วนของสหรัฐทวีขึ้นอีกหลังเหตุการณ์อ่าวตังเกี๋ย ปี 2507 ซึ่งเรือพิฆาตของสหรัฐปะทะกับเรือโจมตีเร็วของเวียดนามเหนือ ซึ่งตามติดด้วยข้อมติอ่าวตังเกี๋ยซึ่งอนุญาตให้ประธานาธิบดีสหรัฐเพิ่มทหารในพื้นที่ หน่วยรบปกติของสหรัฐถูกจัดวางเริ่มตั้งแต่ปี 2498 ปฏิบัติการข้ามพรมแดนระหว่างประเทศ โดยพื้นที่ติดต่อกับประเทศลาวและกัมพูชาถูกกองทัพสหรัฐทิ้งระเบิดอย่างหนักขณะที่การเข้ามามีส่วนในสงครามของสหรัฐเพิ่มขึ้นสูงสุดในปี 2511 ปีเดียวกัน ฝ่ายคอมมิวนิสต์เปิดฉากการรุกตรุษญวน การรุกตรุษญวนไม่สัมฤทธิ์ผลในการโค่นรัฐบาลเวียดนามใต้ แต่ได้กลายเป็นจุดพลิกผันของสงคราม เพราะได้แสดงว่าเวียดนามใต้ไม่อาจป้องกันตัวเองจากเวียดนามเหนือได้ แม้สหรัฐจะทุ่มความช่วยเหลือทางทหารอย่างมหาศาลหลายปี ด้วยจุดชัยชนะของสหรัฐนั้นไม่ชัดเจน จึงค่อย ๆ มีการถอนกำลังภาคพื้นดินของสหรัฐโดยเป็นส่วนหนึ่งของนโยบายเรียก การแผลงเป็นเวียดนาม (Vietnamization) ซึ่งมุ่งยุติการเข้ามามีส่วนในสงครามของสหรัฐขณะที่โอนภารกิจต่อสู้กับคอมมิวนิสต์ให้เวียดนามใต้เอง แม้ภาคีทุกฝ่ายลงนามข้อตกลงสันติภาพปารีสในเดือนมกราคม 2516 แล้วก็ตาม แต่การสู้รบยังดำเนินต่อไป ในสหรัฐและโลกตะวันตก มีการพัฒนาขบวนการต่อต้านสงครามเวียดนามขนาดใหญ่ขึ้น ขบวนการนี้ทั้งเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมต่อต้าน (Counterculture) แห่งคริสต์ทศวรรษ 1960 และเป็นปัจจัยหนึ่งของมัน การมีส่วนร่วมทางทหารของสหรัฐยุติลงเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2516 อันเป็นผลมาจากคำแปรญัตติเคส–เชิร์ช (Case–Church Amendment) ที่รัฐสภาสหรัฐผ่าน การยึดกรุงไซ่ง่อนโดยกองทัพประชาชนเวียดนามในเดือนเมษายน 2518 เป็นจุดสิ้นสุดของสงคราม และมีการรวมชาติเวียดนามเหนือกับเวียดนามใต้ในปีต่อมา สงครามนี้คร่าชีวิตมนุษย์ไปมหาศาล ประเมินตัวเลขทหารและพลเรือนชาวเวียดนามที่ถูกสังหารมีตั้งแต่น้อยกว่า 1 ล้านคนเล็กน้อย ไปถึงกว่า 3 ล้านคน ชาวกัมพูชาเสียชีวิตราว 2-3 แสนคนHeuveline, Patrick (2001).

ดู กองทัพอากาศไทยและสงครามเวียดนาม

สโมสรฟุตบอลแอร์ฟอร์ซ เซ็นทรัล

มสรฟุตบอลแอร์ฟอร์ซ เซ็นทรัล เดิมชื่อ สโมสรฟุตบอลทหารอากาศ เป็นสโมสร ฟุตบอล ใน ประเทศไทย ปัจจุบันแข่งขันในไทยลีก ในอดีตชนะเลิศไทยลีก 2 ครั้ง และ ควีนส์คัพ ชนะเลิศ 3 ครั้ง.

ดู กองทัพอากาศไทยและสโมสรฟุตบอลแอร์ฟอร์ซ เซ็นทรัล

หน่วยบัญชาการอากาศโยธิน

alt.

ดู กองทัพอากาศไทยและหน่วยบัญชาการอากาศโยธิน

อากาศยานในราชการไทย

อากาศยานทั้งเครื่องบินและเฮลิคอปเตอร์ที่อยู่ในสังกัดของหน่วยงานราชการ มีอยู่ประมาณ 1,000 ลำ ใช้ในราชการต่างๆ ของประเทศ หมายเหตุ ตัวเลขที่แสดงจำนวนต่างๆ ที่ปรากฏในบทความนี้เป็นยอดที่สรุปมาจากการสั่งซื้อ ไม่ใช่จำนวนที่กำลังใช้อยู่จริงในปัจจุบัน (อากาศยานบางลำอาจชำรุด ปลดระวางหรือประสบอุบัติเหตุไปแล้ว).

ดู กองทัพอากาศไทยและอากาศยานในราชการไทย

อาร์บีเอส-15

อาร์บีเอส-15 (โรบอตซิสเต็ม 15) เป็นขีปนาวุธพื้นสู่พื้น, พื้นสู่อากาศ และอากาศสู่พื้น ต่อต้านเรือผิวน้ำระยะไกล ที่พัฒนามาจากรุ่น Mk.

ดู กองทัพอากาศไทยและอาร์บีเอส-15

อาณาจักรรัตนโกสินทร์ (สมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์)

ราชอาณาจักรรัตนโกสินทร์ เป็นราชอาณาจักรที่สี่ในยุคประวัติศาสตร์ของไทย เริ่มตั้งแต่การย้ายเมืองหลวงจากฝั่งกรุงธนบุรี มายังกรุงเทพมหานคร ซึ่งตั้งอยู่ทางตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี เสด็จขึ้นครองราชสมบัติ เมื่อวันที่ 6 เมษายน..

ดู กองทัพอากาศไทยและอาณาจักรรัตนโกสินทร์ (สมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์)

อุตสาหกรรมการบินไทย

ตราสัญลักษณ์บริษัท บริษัท อุตสาหกรรมการบิน จำกัด (Thai Aviation Industries Co., Ltd..) เป็นศูนย์ซ่อมอากาศยานในประเทศไทย จัดตั้งตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 23 กันยายน..

ดู กองทัพอากาศไทยและอุตสาหกรรมการบินไทย

จอม รุ่งสว่าง

ลอากาศเอก จอม รุ่งสว่าง (ชื่อเล่น: จอม, บิ๊กจอม; เกิด 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2501) รองประธานกรรมการ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ผู้บัญชาการทหารอากาศ,ตุลาการศาลทหารสูงสุด ผู้บัญชาการศูนย์บัญชาการแก้ไขปัญหาการบินพลเรือน กรรมการในคณะกรรมการต่อต้านการทุจริตแห่งชาติ ตามคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 6/2559 สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ กรรมการในคณะกรรมการเพื่อเตรียมการเพื่อสร้างความสามัคคีปรองดอง รัฐบาล พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ราชองครักษ์เวร กรรมการในคณะกรรมการเตรียมการด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ กรรมการในคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติกรรมการในคณะกรรมการจัดกิจกรรมเฉลิมฉลองครบรอบ 100 ปี การประกาศใช้ธงไตรรงค์เป็นธงชาติไทย ตามคำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ 210/2559ประธานที่ปรึกษากิตติมศักดิ์สโมสรฟุตบอล อินทรีทัพฟ้า แอร์ฟอร์ซ เซ็นทรัล เอฟซี และสมาชิกคณะรักษาความสงบแห่งชาติ กรรมการบริหาร มูลนิธิราชประชานุเคราะห์ ในพระบรมราชูปถัมภ์กรรมการในคณะกรรมการมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช อดีตกรรมการ บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน).

ดู กองทัพอากาศไทยและจอม รุ่งสว่าง

ธงไชยเฉลิมพล

กองพันทหารม้าที่ 1 รักษาพระองค์ฯ เชิญธงชัยเฉลิมพลในริ้วกระบวนพระอิสริยยศพระศพสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ วันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ.

ดู กองทัพอากาศไทยและธงไชยเฉลิมพล

ถนนพหลโยธิน

นนพหลโยธิน (Thanon Phahon Yothin) ซึ่งมีระยะทางส่วนใหญ่เป็น ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1 สายกรุงเทพมหานคร−แม่สาย (เขตแดน) เป็นถนนสายหลักในกรุงเทพมหานคร และเป็นหนึ่งในทางหลวงสายประธานทั้งสี่ของประเทศไทย (ประกอบด้วยถนนพหลโยธิน ถนนมิตรภาพ ถนนสุขุมวิท และถนนเพชรเกษม) สายทางเริ่มต้นที่อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร ผ่านภาคกลาง และมุ่งเข้าสู่ภาคเหนือของประเทศไทย สิ้นสุดที่ด่านพรมแดนแม่สาย อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย บริเวณชายแดนประเทศพม่า รวมระยะทางยาว 994.749 กิโลเมตร บางช่วงของถนนพหลโยธินอยู่ในโครงข่ายทางหลวงเอเชีย ได้แก่ ช่วงบ้านหินกองถึงอำเภอบางปะอินเป็นทางหลวงเอเชียสาย 1, ช่วงแยกหลวงพ่อโอ (เส้นแบ่งเขตจังหวัดชัยนาทกับจังหวัดนครสวรรค์) ถึงอำเภอเมืองตาก เป็นทั้งทางหลวงเอเชียสาย 1 และสาย 2 และช่วงอำเภอเมืองสระบุรีถึงบ้านหินกองเป็นทางหลวงเอเชียสาย 12 นอกจากนี้ยังเป็นส่วนหนึ่งของทางหลวงคุนหมิง–กรุงเทพ ถนนพหลโยธินช่วงตั้งแต่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เส้นทางของถนนจะเบี่ยงไปทิศตะวันออก ผ่านจังหวัดสระบุรีและจังหวัดลพบุรี แล้ววกกลับมายังจังหวัดชัยนาท เนื่องจากในสมัยก่อนต้องการให้ทางหลวงสายหลักผ่านที่ตั้งของกองทหารสำคัญของประเท.

ดู กองทัพอากาศไทยและถนนพหลโยธิน

ทอ.4 จันทรา

รื่องบินจันทรา ทอ.4 จันทรา (บ.ฝ.17) เป็นเครื่องบินแบบแรกของกองทัพอากาศไทยที่ผลิตออกมาใช้งานภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 กองทัพอากาศไทยกำหนดสัญลักษณ์เป็น.ฝ.17 หรือ เครื่องบินฝึกแบบ 17 โครงการสร้างเครื่องบินแบบ ทอ.4 เริ่มขึ้นในวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ.

ดู กองทัพอากาศไทยและทอ.4 จันทรา

ที-50 โกลเดนอีเกิล

ที-50 โกลเดนอีเกิล (T-50 Golden Eagle) เป็นตระกูลอากาศยานฝึกหัดความเร็วเหนือเสียง และเป็นอากาศยานโจมตีเบาของเกาหลีใต้ พัฒนาโดยบริษัทอุตสาหกรรมอวกาศเกาหลี (KAI) ภายใต้ข้อตกลงความร่วมมือกับบริษัท ล็อกฮีด มาร์ติน ของสหรัฐอเมริกา เครื่องบิน ที-50 ถือว่าเป็นเครื่องบินเหนือเสียงลำแรกของเกาหลีใต้ นอกจากนี้ ยังจัดว่าเป็นหนึ่งในเครื่องบินฝึกหัดไม่กี่รุ่นในโลกที่มีความเร็วเหนือเสียง.

ดู กองทัพอากาศไทยและที-50 โกลเดนอีเกิล

ขีปนาวุธ

ีปนาวุธ ''เอ็กโซเซต์'' ของฝรั่งเศส ในการทหารสมัยใหม่ ขีปนาวุธ (Missile มิสไซล์) หรือ ขีปนาวุธนำวิถี หมายถึงอาวุธขับเคลื่อนนำวิถี (ตรงข้ามกับระบบอาวุธขับเคลื่อนแบบไม่นำวิถี ซึ่งเรียกว่า จรวด) ขีปนาวุธมีส่วนประกอบหลักอยู่สี่ส่วน คือ ระบบกำหนดเป้าและนำวิถี, ระบบควบคุมทิศทาง, จรวดขับดัน และ หัวรบ ขีปนาวุธสามารถจำแนกออกได้เป็นหลายประเภทตามวัตถุประสงค์การใช้งาน ไม่ว่าจะเป็น ขีปนาวุธพื้นสู่พื้น, ขีปนาวุธอากาศสู่พื้น, ขีปนาวุธพื้นสู่อากาศ หรือ ขีปนาวุธอากาศสู่อากาศ โดยขีปนาวุธที่มีอยู่ในปัจจุบันทั้งหมดถูกออกแบบมาให้ใช้พลังงานขับดันจากการทำปฏิกิริยาเคมีภายในเครื่องยนต์จรวด, เครื่องยนต์ไอพ่น หรือเครื่องยนต์ประเภทอื่นๆ ''ระเบิดบิน วี-1'' เป็นขีปนาวุธแบบแรกของโลก ขีปนาวุธถูกใช้งานครั้งแรกโดยเยอรมันในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ขีปนาวุธแบบแรกของโลกมีชื่อว่า ระเบิดบิน วี-1 (V-1 flying bomb) เป็นลูกระเบิดที่ติดปีกและเครื่องไอพ่นเข้าไป ซึ่งต่อมาได้พัฒนาเป็น จรวด วี-2 ที่รวมเครื่องยนต์ไอพ่นไว้ในตัว และติดตั้งครีบที่ปลายจรวดแทนปีกที่ตัดออก เป็นลักษณะสากลของขีปนาวุธที่ใช้จวบจนปัจจุบัน ในภาษาไทย คำว่า ขีปนาวุธ เป็นคำสมาสระหว่างคำว่า ขีปน (แปลว่า "ซัด, เหวี่ยง") กับคำว่า อาวุธ ส่วนในภาษาอังกฤษ คำว่า missile มาจากคำละตินที่ว่า mittere มีความหมายว่า "ส่งไป".

ดู กองทัพอากาศไทยและขีปนาวุธ

ดาโซ/ดอร์เนียร์แอลฟาเจ็ต

right right ดาโซ/ดอร์เนียร์แอลฟาเจ็ต (Dassault/Dornier Alpha Jet) เป็นเครื่องบินรบที่ฝรั่งเศสและเยอรมนีร่วมมือสร้างขึ้น เครื่องต้นแบบแอลฟาเจ็ตบินครั้งแรกเมื่อวันที่ 26 ตุลาคม..

ดู กองทัพอากาศไทยและดาโซ/ดอร์เนียร์แอลฟาเจ็ต

ซิคอร์สกี เอส-92

ซิคอร์สกี เอส-92 เป็นเฮลิคอปเตอร์ขนส่งเอนกประสงค์ขนาดกลาง ผลิตโดยซิคอร์สกีแอร์คราฟ มีใช้งานทั้งในกิจการพลเรือนและกิจการทหาร โดยที่เอส-92 ถูกพัฒนาขึ้นมาจากซิคอร์สกี เอส-70 โดยยังคงอุปกรณ์หลายส่วนที่เหมือนกันอาทิระบบควบคุมการบินและระบบปีกหมุน เอช-92 ซูเปอร์ฮอว์ก เป็นอีกรุ่นที่พัฒนาขึ้นสำหรับใช้ในกิจการทหารในการลำเลียงกำลังพล โดยมีความสามารถในการลำเลียงกำลังพลได้ 22 นาย นอกจากนี้ยังสามารถดัดแปลงเพื่อใช้ในภารกิจค้นหาและกู้ภัยตลอดจนขนส่งส่วนบุคคลได้อีกด้ว.

ดู กองทัพอากาศไทยและซิคอร์สกี เอส-92

ซุคฮอย

Sukhoi Superjet 100 (Campeche, Mexico) 2015 ซุคฮอย (Sukhoi, Сухой) เป็นผู้ผลิตเครื่องบินรายใหญ่ของรัสเซียมีที่มีชื่อเสียงจากเครื่องบินขับไล่ มันถูกก่อตั้งโดยพาเวล ซุคฮอยเมื่อปี..

ดู กองทัพอากาศไทยและซุคฮอย

ซี-130 เฮอร์คิวลิส

ซี-130 เฮอร์คิวลิส (Lockheed C-130 Hercules) เป็นเครื่องบินลำเลียงใช้เครื่องยนต์เทอร์โบใบพัด 4 เครื่องยนต์ ได้ถูกใช้งานอย่างแพร่หลายและยาวนานที่สุด เครื่องเฮอร์คิวลิสบินครั้งแรกเมื่อ 23 สิงหาคม พ.ศ.

ดู กองทัพอากาศไทยและซี-130 เฮอร์คิวลิส

ซ้าบ

ซ้าบ เอบี (Saab AB) เป็นบริษัทอากาศยานและการป้องกันที่อยู่ในสวีเดน.

ดู กองทัพอากาศไทยและซ้าบ

ประชาธิปก (เครื่องบิน)

รื่องบินขับไล่แบบ 5 (บ.ข.5) เครื่องบินประชาธิปก หรือ เครื่องบินขับไล่แบบ 5 (บ.ข.5) เป็นเครื่องบินขับไล่ที่ออกแบบโดยพันโทหลวงเนรมิตไพชยนต์ (เซี้ยง ศุษิลวรณ์) ผู้บังคับฝูงโรงงานอากาศยานที่ 3 กรมอากาศยาน เมื่อ พ.ศ.

ดู กองทัพอากาศไทยและประชาธิปก (เครื่องบิน)

ประเทศไทย

ประเทศไทย มีชื่ออย่างเป็นทางราชการว่า ราชอาณาจักรไทย เป็นรัฐชาติอันตั้งอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เดิมมีชื่อว่า "สยาม" รัฐบาลประกาศเปลี่ยนชื่อเป็นประเทศไทยอย่างเป็นทางการตั้งแต่ปี 2482 ประเทศไทยมีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 50 ของโลก มีเนื้อที่ 513,115 ตารางกิโลเมตร และมีประชากรมากเป็นอันดับที่ 20 ของโลก คือ ประมาณ 66 ล้านคน กรุงเทพมหานครเป็นศูนย์กลางการบริหารราชการแผ่นดินและนครใหญ่สุดของประเทศ และการปกครองส่วนภูมิภาค จัดระเบียบเป็น 76 จังหวัด แม้จะมีการสถาปนาระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญและประชาธิปไตยระบบรัฐสภาในปี 2475 แต่กองทัพยังมีบทบาทในการเมืองไทยสูง ล่าสุด เกิดรัฐประหารเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 และมีการปกครองแบบเผด็จการทหารนับแต่นั้น พบหลักฐานการอยู่อาศัยอย่างต่อเนื่องในอาณาเขตประเทศไทยปัจจุบันตั้งแต่ 20,000 ปีก่อนคริสตกาล ชาวไทเริ่มอพยพเข้าสู่บริเวณนี้ในคริสต์ศตวรรษที่ 11 แล้วเข้ามาตั้งแว่นแคว้นต่าง ๆ ที่สำคัญได้แก่ อาณาจักรสุโขทัย อาณาจักรล้านนาและอาณาจักรอยุธยา นักประวัติศาสตร์มักถือว่าอาณาจักรสุโขทัยเป็นจุดเริ่มต้นของประวัติศาสตร์ไทย ต่อมาอาณาจักรอยุธยาค่อย ๆ เรืองอำนาจมากขึ้นจนเป็นมหาอำนาจในภูมิภาคในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 14 การติดต่อกับชาติตะวันตกเริ่มด้วยผู้แทนทางทูตชาวโปรตุเกสในปี 2054 อาณาจักรรุ่งเรืองอย่างมากในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (ครองราชย์ปี 2199–2231) แต่หลังจากนั้นค่อย ๆ เสื่อมอำนาจโดยมีสาเหตุส่วนหนึ่งจากการผลัดแผ่นดินที่มีการนองเลือดหลายรัชกาล จนสุดท้ายกรุงศรีอยุธยาถูกทำลายสิ้นเชิงในปี 2310 สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงรวบรวมแผ่นดินที่แตกออกเป็นก๊กต่าง ๆ และสถาปนาอาณาจักรธนบุรีที่มีอายุ 15 ปี ความวุ่นวายในช่วงปลายอาณาจักรนำไปสู่การสำเร็จโทษพระองค์โดยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ปฐมราชวงศ์จักรีแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ประเทศเผชิญภัยคุกคามจากชาติใกล้เคียง แต่หลังรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นต้นมา ชาติตะวันตกเริ่มมีอิทธิพลในภูมิภาคเป็นอย่างมาก นำไปสู่การเข้าเป็นภาคีแห่งสนธิสัญญาไม่เป็นธรรมหลายฉบับ กระนั้น สยามไม่ตกเป็นอาณานิคมของตะวันตกชาติใด มีการปรับให้สยามทันสมัยและรวมอำนาจปกครองในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ครองราชย์ปี 2411–53) สยามเข้าร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่หนึ่งในปี 2460; ในปี 2475 เกิดการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองสู่ระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญโดยไม่เสียเลือดเนื้อ คณะราษฎรมีบทบาทนำทางการเมือง และในพุทธทศวรรษ 2480 นายกรัฐมนตรี จอมพล แปลก พิบูลสงคราม ดำเนินนโยบายชาตินิยมเข้มข้น ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ไทยเข้ากับฝ่ายอักษะ แต่ฝ่ายสัมพันธมิตรส่วนใหญ่ไม่ยอมรับการประกาศสงคราม ในช่วงสงครามเย็น ประเทศไทยเป็นพันธมิตรกับสหรัฐซึ่งสนับสนุนรัฐบาลทหารมาก รัฐประหารที่มีจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์เป็นหัวหน้าคณะในปี 2500 ทำให้คณะราษฎรหมดอำนาจ รัฐบาลฟื้นฟูพระราชอำนาจและมีมาตรการต่อต้านคอมมิวนิสต์ในภูมิภาค ผลของเหตุการณ์ 14 ตุลา 2516 ทำให้เกิดประชาธิปไตยระบบรัฐสภาช่วงสั้น ๆ ประเทศไทยมีนายกรัฐมนตรีจากการเลือกตั้งครั้งแรกในปี 2531 หลังพุทธทศวรรษ 2540 มีวิกฤตการเมืองระหว่างฝ่ายที่สนับสนุนและต่อต้านอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตรมาจนปัจจุบัน รวมทั้งเกิดรัฐประหารสองครั้ง โดยครั้งล่าสุดเกิดในปี 2557 รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันเป็นฉบับที่ 20 ประกาศใช้เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2560 หลังมีการลงประชามติรับร่างเมื่อหนึ่งปีก่อน ประเทศไทยเป็นสมาชิกสหประชาชาติ เอเปก อีกทั้งเป็นร่วมผู้ก่อตั้งอาเซียน ประเทศไทยเป็นพันธมิตรของสหรัฐตั้งแต่สนธิสัญญาซีโต้ในปี 2497 ถือเป็นประเทศอำนาจนำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และประเทศอำนาจปานกลางในเวทีโลก ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีรายได้ปานกลาง-สูงและประเทศอุตสาหกรรมใหม่ มีรายได้หลักจากภาคอุตสาหกรรมและบริการ การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจทำให้มีการอพยพเข้าสู่เมืองในคริสต์ศตวรรษที่ 20 ตามประมาณการในปี 2560 จีดีพีของประเทศไทยมีมูลค่าราว 432,898 ล้านดอลลาร์สหรัฐ นับว่าเศรษฐกิจไทยเป็นเศรษฐกิจใหญ่สุดเป็นอันดับ 2 ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และใหญ่เป็นอันดับที่ 26 ของโลก.

ดู กองทัพอากาศไทยและประเทศไทย

แอร์บัส

แอร์บัส (Airbus) โรงงานผลิตและประกอบเครื่องบินของแอร์บัสกรุ๊ป มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ในเมืองตูลูส ประเทศฝรั่งเศส โรงงานนี้รับผิดชอบในสายงานผลิตเครื่องบินพลเรือน โดยชิ้นส่วนต่างๆที่นำมาประกอบเครื่องบินในโรงงานนี้ ถูกผลิตจากฐานการผลิตย่อยกว่า 16 แห่งในฝรั่งเศส, เยอรมนี, สเปน, จีน, สหราชอาณาจักร และ สหรัฐอเมริกา โรงงานนี้มีลูกจ้างทั้งหมด 73,958 คน โรงงานแห่งนี้ก่อตั้งในปี..

ดู กองทัพอากาศไทยและแอร์บัส

แอร์บัส เอ340

แอร์บัส เอ 340 (Airbus A340) เป็นเครื่องบินพาณิชย์ลำตัวกว้าง ผลิตโดยแอร์บัส ทำให้สามารถจัดสรรที่นั่งสำหรับผู้โดยสารได้มากสูงสุดประมาณ 330 ที่ และเป็นเครื่องบินพาณิชย์ที่มีระยะทางการบินอย่างต่อเนื่องมากที่สุดในปัจจุบันคือ 15,742 กิโลเมตร ทั้งนี้ระยะทางการบินต่อเนื่องสูงสุดขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ เช่น จำนวนนำหนักที่บรรทุก อัตราความเร็ว และรุ่นของ A340 ที่มีอยู่ 6 รุ่นคือ 200/300/300E/500/600 และ 8000 ลักษณะทั่วไปของ A340 จะคล้ายคลึงกับ A330 ซึ่งเริ่มใช้ในปี 1987 และ A340 เริ่มปฏิบัติการบินครั้งแรกในปี 1991 และเริ่มใช้เชิงพาณิชย์ในปี 1993 A340 เป็นเครื่องบินที่มีชั้นโดยสาร 1 ชั้น มีเครื่องยนต์ 4 เครื่องยนต์อยู่ที่ปีกทั้งสองข้าง ข้างละ 2 เครื่องยนต์ ซึ่งทำให้ประสิทธิภาพในการบินสูงขึ้น เนื่องจากเครื่องยนต์ 4 เครื่องสามารถให้เครื่องบินบินขึ้นได้ โดยใช้พลังงานน้อยกว่าเครื่องบินแบบที่มีเครื่องยนต์เพียงสองเครื่อง เช่น A320 ในปี 2006 มียอดรวมสั่งซื้อ A340 ทั้งหมด 246 ลำ และได้นำส่งให้กับลูกค้าไปแล้ว 240 ลำ การส่งมอบเครื่องบิน A340.

ดู กองทัพอากาศไทยและแอร์บัส เอ340

แอโร แอล-39 อัลบาทรอส

แอล-39 อัลบาทรอส (Aero L-39 Albatros) แอล-39 เป็นเครื่องบินฝึกที่ได้รับการพัฒนาโดยประเทศเชคโกสโลวาเกีย เริ่มทำการบินเป็นครั้งแรกในวันที่ 4 พฤศจิกายน ค.ศ.

ดู กองทัพอากาศไทยและแอโร แอล-39 อัลบาทรอส

โบอิง

อิง (The Boeing Company) เป็นบริษัทผู้ผลิตเครื่องยนต์อากาศยานและยุทโธปกรณ์ มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่ชิคาโก รัฐอิลลินอยส์ สหรัฐอเมริกา โบอิงนับเป็นบริษัทผู้ผลิตเครื่องบินที่มีรายได้มากที่สุดในโลก และเป็นผู้ผลิตยุทโธปกรณ์อันดับสองของโลก ในปี พ.ศ.

ดู กองทัพอากาศไทยและโบอิง

โบอิง 737

รื่องบินโบอิง 737-800 ของซันเอ็กซ์เพรส Boeing 737-800 โบอิง 737 เป็นเครื่องบินโดยสารที่มีพิสัยบินระยะปานกลาง ลำตัวแคบ ที่ได้รับความนิยมมากที่สุด ผลิตโดยฝ่ายผลิตเครื่องบินพาณิชย์โบอิง โดยนับตั้งแต่วันที่ได้ทดสอบการบินครั้งแรกเมื่อ 9 เมษายน..

ดู กองทัพอากาศไทยและโบอิง 737

ไพธอน-4

PYTHON-4 เป็นจรวดนำวิถีอากาศสู่อากาศ ที่พัฒนาขึ้นมาอีกระดับหนึ่ง โดยมีพื้นที่บังคับ 18 ชิ้น ทำให้มีคุณสมบัติในการปรับเปลี่ยนตำแหน่งและท่าทาง ในการติดตามเป้าหมายได้อย่างรวดเร็ว มีรัศมีปฏิบัติการมากกว่า 40 กม.

ดู กองทัพอากาศไทยและไพธอน-4

ไอริส-ที

อริส-ที (ย่อ: IRIS-T อังกฤษ: Infra Red Imaging System Tail) เป็นขีปนาวุธอากาศสู่อากาศพิสัยใกล้ ที่เยอรมนีเป็นผู้นำในการพัฒนาร่วมกับหลายประเทศ เพื่อแทนที่ AIM-9 Sidewinder ซึ่งเป็นที่ใช้งานส่วนใหญ่ในประเทศสมาชิก นาโต้.

ดู กองทัพอากาศไทยและไอริส-ที

เอฟ-5

อฟ-5อี ไทเกอร์ทูว์ เอฟ-5เอ/บี ฟรีดอมไฟเตอร์ (F-5 Freedom Fighter) และ เอฟ-5อี/เอฟ ไทเกอร์ ทู เป็นเครื่องบินขับไล่ของสหรัฐอเมริกา เริ่มออกแบบเมื่อปี พ.ศ.

ดู กองทัพอากาศไทยและเอฟ-5

เอจีเอ็ม-65 มาเวอร์ริก

AGM-65 เป็นอาวุธนำวิถีอากาศ-สู่-พื้น ใช้งานในระยะสั้น และระยะปานกลาง ในตระกูล AGM-65 มีทั้งนำวิถีด้วย TV, IIR (Imaging Infrared) และ Laser วิวัฒนาการ ตระกูล AGM-65 Maverick เริ่มมีการพัฒนาทดสอบในกลางปี..1960 จุดประสงค์เพื่อสร้างอาวุธ ให้มีขีดความสามารถ ในการทำลายเป้าหมายจำพวก รถถัง,รถยานเกราะและเป้าหมายป้องกันอื่น ๆ ทอ.สหรัฐ ฯ ได้เริ่มบรรจุเข้าประจำการ AGM-65A ซึ่งนำวิถีด้วย TV ในปี..1972 และใน..1975 ได้บรรจุเข้าประจำการ AGM-65B ซึ่งนำวิถีด้วย TV เหมือนรุ่น A แต่มีการเพิ่มขนาดมุมจำกัดการมองเห็น (Field Of View) (FOW) ให้สูงขึ้น ใน..1983 ได้บรรจุเข้าประจำการ AGM-65D ซึ่งนำวิถีด้วย Imaging Infrared (IIR) ใน..1985 ได้บรรจุเข้าประจำการ AGM-65E ซึ่งนำวิถีด้วย Laser ใน..1989 ได้บรรจุเข้าประจำการAGM-65F ซึ่งนำวิถีด้วย IIR ใน..1993 ได้บรรจุเข้าประจำการAGM-65G ซึ่งนำวิถีด้วย IIR กองทัพอากาศ จัดหาเข้าประจำการเมื่อ..

ดู กองทัพอากาศไทยและเอจีเอ็ม-65 มาเวอร์ริก

เอทีอาร์

ATR 72-500, Air Dolomiti เอทีอาร์ (Aerei da Trasporto Regionale; Avions de Transport Régional - ATR) เป็นบริษัทผู้ผลิตเครื่องบินพาณิชย์สัญชาติอิตาลี-ฝรั่งเศส เกิดจากการร่วมทุนระหว่างแอโรสปาติอองของฝรั่งเศส (ปัจจุบันคือ อีเอดีเอส) กับแอริตาเลีย (ปัจจุบันคือ แอลีเนีย แอโรนอติกา) ในปี..

ดู กองทัพอากาศไทยและเอทีอาร์

เอทีอาร์ 72

อทีอาร์ 72-500 ของบางกอกแอร์เวย์ ณ ท่าอากาศยานนานาชาติหลวงพระบาง ประเทศลาว เอทีอาร์ 72 เป็นอากาศยานขนาดเล็ก แบบใช้เครื่องยนต์เทอร์โบพรอบ 2 ตัว มีพิสัยบินระยะใกล้ ผลิตโดยบริษัทร่วมทุนสัญชาติฝรั่งเศส-อิตาลี เอทีอาร์ โดยพัฒนามาจากรุ่น 42 ให้มีความจุผู้โดยสาร 64-74 ที่นั่ง โดยขยายความยาวเครื่องเพิ่มขึ้น 4.53 เมตร เป็น 27.2 เมตร และขยายความกว้างของปีกเพิ่มขึ้น 2.53 เมตร เป็น 27.1 เมตร รวมถึงการเพิ่มประสิทธิภาพเครื่องยนต์ และปริมาณความจุของถังเชื้อเพลิง เอทีอาร์ 72 เปิดตัวครั้งแรกเมื่อปี..

ดู กองทัพอากาศไทยและเอทีอาร์ 72

เอไอเอ็ม-120 แอมแรม

รวดนำวิถีเอไอเอ็ม-120 หรือ แอมแรม (AIM-120 Advanced Medium-Range Air-to-Air Missile, AMRAAM) เป็นขีปนาวุธอากาศสู่อากาศเกินระยะตามองเห็น(BVR)รุ่นใหม่ที่สามารถใช้ได้ทั้งตอนกลางวันและกลางคืน มันยังรู้จักกันในอีกชื่อหนึ่งว่าสแลมเมอร์ในกองทัพอากาสสหรัฐ นาโต้ใช้รหัสเรียกมันว่าฟ็อกซ์ ทรี (Fox Three).

ดู กองทัพอากาศไทยและเอไอเอ็ม-120 แอมแรม

เอไอเอ็ม-9 ไซด์ไวน์เดอร์

อไอเอ็ม-9 ไซด์ไวน์เดอร์ (AIM-9 Sidewinder) เป็นขีปนาวุธอากาศสู่อากาศพิสัยใกล้ติดตามความร้อน ซึ่งใช้กับเครื่องบินขับไล่และเฮลิคอปเตอร์โจมตี แบบอื่นและการพัฒนายังคงอยู่ในประจำการในกองทัพอากาศต่างๆ หลังจากผ่านไปห้าทศวรรษ นักบินนาโต้ใช้รหัสเรียกมันว่าฟ็อกซ์ ทู (Fox Two) ซึ่งหมายถึงขีปนาวุธติดตามความร้อน ไซด์ไวน์เดอร์เป็นขีปนาวุธที่ใช้กว้างขวางที่สุดในฝั่งตะวันตก ด้วยการผลิตมากกว่า 110,000 ลูกสำหรับสหรัฐและอีก 27 ประเทศ ซึ่งอาจมีเพียง 1 % เท่านั้นที่ใช้ในการรบ มันถูกผลิตภายใต้ใบอนุญาตโดยบางชาติรวมทั้งสวีเดน เอไอเอ็ม-9 เป็นหนึ่งในขีปนาวุธอากาศสู่อากาศที่เก่าแก่ที่สุด ถูกที่สุด และประสบความสำเร็จที่สุด ด้วยคะแนนสังหารถึง 270 จากทั่วโลก มันถูกออกแบบมาเพื่อทำการพัฒนาได้โดยง่าย กล่าวกันว่าเป้าหมายของการออกแบบสำหรับไซด์ไวน์เดอร์ดั้งเดิมนั้นคือสร้างขีปนาวุธที่ไว้ใจได้และมีประสิทธิภาพ กองทัพเรือสหรัฐได้ฉลองครบรอบ 50 ปีของการใช้มันในปี..

ดู กองทัพอากาศไทยและเอไอเอ็ม-9 ไซด์ไวน์เดอร์

เฮลิคอปเตอร์

ลิคอปเตอร์แบบ เบล 206 (Bell 206) ของตำรวจสหรัฐอเมริกา เฮลิคอปเตอร์กู้ภัยแบบ AW139SAR แห่งสำนักงานความปลอดภัยทางทะเลของสเปน (A Spanish Maritime Safety Agency) HH-43 Huskie เฮลิคอปเตอร์ จัดเป็น อากาศยาน ปีกหมุน (Rotor Craft) มีใบพัดขนาดใหญ่ติดตั้งเหนือลำตัว ใบพัดหมุนรอบตัวในแนวนอน ทำหน้าที่ช่วยพยุงตัวและบังคับให้บินไปตามทิศทางที่ต้องการได้ ใช้เครื่องยนต์ขับเคลื่อนและบินขึ้นลงในแนวดิ่งได้ สามารถเคลื่อนที่ได้อย่างสะดวกแม้แต่ในที่แคบก็ขึ้นลงได้อย่างสบาย เฮลิคอปเตอร์ลำแรกของโลกพัฒนาขึ้นเมื่อปี พ.ศ.

ดู กองทัพอากาศไทยและเฮลิคอปเตอร์

เจเนอรัลอิเล็กทริก

ริษัทเจเนอรัลอิเล็กทริก (General Electric Company) หรือ จีอี เป็นกลุ่มบริษัทข้ามชาติ สัญชาติอเมริกันในสเกอเนคเทอดี รัฐนิวยอร์ก และมีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่เมืองแฟร์ฟีลด์ รัฐคอนเนตทิคัต ประเทศสหรัฐอเมริกา บริษัทบริหารงาน 4 ส่วน อันได้แก่ จีอีเอเนอจี, จีอีเทคโนโลยีอินฟราสตรักเจอร์, จีอีแคปิตอล และจีอีโฮมแอนด์บีซิเนสโซลูชัน.

ดู กองทัพอากาศไทยและเจเนอรัลอิเล็กทริก

เขตดอนเมือง

ตดอนเมือง เป็น 1 ใน 50 เขตการปกครองของกรุงเทพมหานคร อยู่ในกลุ่มเขตกรุงเทพเหนือ สภาพทั่วไปเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยหนาแน่นน้อย โดยมีแหล่งสถาบันราชการอยู่ทางด้านตะวันออกของพื้นที.

ดู กองทัพอากาศไทยและเขตดอนเมือง

เครื่องบินบริพัตร

รื่องบินบริพัตร เครื่องบินบริพัตร หรือ เครื่องบินทิ้งระเบิดแบบ 2 (บ.ท.2) เป็นเครื่องบินทิ้งระเบิดที่ออกแบบโดย พันโท หลวงเวชยันต์รังสฤษฏ์ (มุนี มหาสันทนะ) ผู้รั้งตำแหน่งผู้บังคับฝูงกองโรงงาน กรมอากาศยาน เมื่อ พ.ศ.

ดู กองทัพอากาศไทยและเครื่องบินบริพัตร

เครื่องบินขับไล่

รื่องบินจู่โจมหนึ่งลำ (เอ-10) เครื่องบินขับไล่ เป็นอากาศยานทางทหารที่ถูกออกแบบมาเพื่อการต่อสู้ทางอากาศกับอากาศยานลำอื่นเป็นหลัก มันตรงกันข้ามกับเครื่องบินทิ้งระเบิดที่ถูกออกแบบมาเพื่อโจมตีภาคพื้นดินโดยการทิ้งระเบิดเป็นหลัก เครื่องบินขับไล่นั้นมีขนาดเล็ก รวดเร็ว และคล่องแคล่ว เครื่องบินขับไล่มากมายจะมีความสามารถรองในการโจมตีภาคพื้นดิน และบ้างก็มีสองบทบาทโดยเรียกว่าเครื่องบินขับไล่ทิ้งระเบิด บางครั้งคำว่าเครื่องบินขับไล่ก็ถูกใช้ร่วมกับเครื่องบินโจมตีภาคพื้นดิน เครื่องบินขับไล่โดยหลักแล้วจะหมายถึงเครื่องบินติดอาวุธที่แย่งครองความเป็นจ้าวทางอากาศเหนือข้าศึกในสมรภูมิ ตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่สอง ความสำเร็จและความเหนือกว่าทางอากาศได้กลายมาเป็นปัจจัยสำคัญในชัยชนะของสงคราม โดยเฉพาะสงครามทั่วไประหว่างกองทัพปกติ (ไม่เหมือนกับสงครามกองโจร) การซื้อขาย การฝึก และการดูแลรักษากองบินเครื่องบินขับไล่จะแสดงถึงทุนที่มากมายของกองทัพนั้น.

ดู กองทัพอากาศไทยและเครื่องบินขับไล่

27 มีนาคม

วันที่ 27 มีนาคม เป็นวันที่ 86 ของปี (วันที่ 87 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 279 วันในปีนั้น.

ดู กองทัพอากาศไทยและ27 มีนาคม

9 เมษายน

วันที่ 9 เมษายน เป็นวันที่ 99 ของปี (วันที่ 100 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 266 วันในปีนั้น.

ดู กองทัพอากาศไทยและ9 เมษายน

ดูเพิ่มเติม

กองทัพอากาศแบ่งตามประเทศ

กองทัพไทย

หรือที่รู้จักกันในชื่อ Royal Thai Air Forceทอ.

แอร์บัสแอร์บัส เอ340แอโร แอล-39 อัลบาทรอสโบอิงโบอิง 737ไพธอน-4ไอริส-ทีเอฟ-5เอจีเอ็ม-65 มาเวอร์ริกเอทีอาร์เอทีอาร์ 72เอไอเอ็ม-120 แอมแรมเอไอเอ็ม-9 ไซด์ไวน์เดอร์เฮลิคอปเตอร์เจเนอรัลอิเล็กทริกเขตดอนเมืองเครื่องบินบริพัตรเครื่องบินขับไล่27 มีนาคม9 เมษายน