โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

กองทัพสหรัฐและเอฟ-16 ไฟทิงฟอลคอน

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง กองทัพสหรัฐและเอฟ-16 ไฟทิงฟอลคอน

กองทัพสหรัฐ vs. เอฟ-16 ไฟทิงฟอลคอน

กองทัพสหรัฐ (United States Armed Forces) เป็นกองทหารของสหรัฐ ประกอบด้วยกองทัพบก กองทัพเรือ เหล่านาวิกโยธิน, กองทัพอากาศและหน่วยยามฝั่ง สหรัฐมีประเพณีพลเรือนควบคุมทหารอย่างเข้มแข็ง ประธานาธิบดีสหรัฐเป็นผู้บัญชาการทหาร และมีกระทรวงกลาโหมทำหน้าที่เป็นองค์กรหลักซึ่งนำนโยบายทางทหารไปปฏิบัติ กระทรวงกลาโหมมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ซึ่งเป็นพลเรือนและอยู่ในคณะรัฐมนตรี เป็นเจ้ากระทรวง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมอยู่ในอันดับที่สองของสายการบังคับบัญชาของทหาร รองแต่เพียงประธานาธิบดี และทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยหลักของประธานาธิบดีในกิจการทั้งปวงที่เกี่ยวข้องกับกระทรวง ประธานาธิบดีมีสภาความมั่นคงแห่งชาติ (National Security Council) เป็นที่ปรึกษา ซึ่งมีที่ปรึกษาฝ่ายความมั่นคงแห่งชาติ (National Security Advisor) เป็นผู้นำ เพื่อประสานงานการปฏิบัติทางทหารกับการทูต ประธานาธิบดีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมมีเสนาธิการร่วม (Joint Chiefs of Staff) เจ็ดคนเป็นที่ปรึกษา ซึ่งสมาชิกประกอบด้วยหัวหน้าเหล่าทัพต่าง ๆ ของกระทรวงและหัวหน้าสำนักงานหน่วยรักษาดินแดน (National Guard Bureau) โดยประธานเสนาธิการร่วมและรองประธานเสนาธิการร่วมเป็นผู้สรรหาผู้นำ ผู้บัญชาการหน่วยยามฝั่งไม่เป็นสมาชิกของเสนาธิการร่วม ทุกเหล่าทัพประสานงานระหว่างปฏิบัติการและภารกิจร่วม ภายใต้การบังคับบัญชาพลรบรวม (Unified Combatant Command) ซึ่งอยู่ในอำนาจของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ยกเว้นหน่วยยามฝั่ง หน่วยยามฝั่งอยู่ในการบริหารจัดการของกระทรวงความมั่นคงแห่งมาตุภูมิ และได้รับคำสั่งปฏิบัติการจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงความมั่นคงแห่งมาตุภูมิ ประธานาธิบดีหรือรัฐสภาคองเกรสอาจโอนอำนาจการบังคับบัญชาหน่วยยามฝั่งไปให้กระทรวงทหารเรือ ในยามสงครามได้ เหล่าทัพทั้งห้าล้วนจัดเป็นหน่วยที่แต่งเครื่องแบบสหรัฐอันมีอยู่เจ็ดหน่วย อีกสองหน่วยได้แก่ หน่วยบริการสาธารณสุข และ หน่วยการบริหารมหาสมุทรและบรรยากาศแห่งชาติสหรัฐ นับแต่ก่อตั้ง กองทัพมีบทบาทสำคัญในประวัติศาสตร์สหรัฐ สัมผัสความสามัคคีและเอกลักษณ์ของชาติถูกสร้างขึ้นจากผลของชัยชนะในสงครามบาร์บารีทั้งสองครั้ง กระนั้น บิดาผู้ก่อตั้งยังไม่ไว้ใจการมีกำลังทหารถาวร จนกระทั่งสงครามโลกครั้งที่สองปะทุ สหรัฐจึงตั้งกองทัพบกประจำการขนาดใหญ่อย่างเป็นทางการ รัฐบัญญัติความมั่นคงแห่งชาต.. อฟ-16 ไฟทิงฟอลคอน (F-16 Fighting Falcon) เป็นเครื่องบินขับไล่หลากบทบาทที่เดิมที่พัฒนาขึ้นโดยบริษัทGeneral Dynamicsเพื่อกองทัพอากาศสหรัฐ มันถูกออกแบบให้เป็นเครื่องบินขับไล่ตอนกลางวันน้ำหนักเบา มันได้กลายมาเป็นเครื่องบินขับไล่ที่ประสบความสำเร็จ ความสามารถรอบตัวของมันเป็นเหตุผลหนักที่มันทำการตลาดได้เยี่ยมโดยมันถูกเลือกโดยกองทัพอากาศของ 25 ประเทศLockheed Martin press release (8 June 2008).

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง กองทัพสหรัฐและเอฟ-16 ไฟทิงฟอลคอน

กองทัพสหรัฐและเอฟ-16 ไฟทิงฟอลคอน มี 4 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): กองทัพอากาศสหรัฐสงครามอ่าวเปอร์เซียสงครามเกาหลีสงครามเวียดนาม

กองทัพอากาศสหรัฐ

กองทัพอากาศสหรัฐ (United States Air Force; USAF) คือกองกำลังพิเศษทางอากาศและอวกาศของกองทัพสหรัฐ และเป็นกองกำลังหนึ่งในเจ็ดของหน่วยงานที่ใส่เครื่องแบบของสหรัฐ ในอดีตวันที่ 1 สิงหาคม..

กองทัพสหรัฐและกองทัพอากาศสหรัฐ · กองทัพอากาศสหรัฐและเอฟ-16 ไฟทิงฟอลคอน · ดูเพิ่มเติม »

สงครามอ่าวเปอร์เซีย

งครามอ่าวเปอร์เซีย หรือ สงครามอ่าว (Gulf War, 2 สิงหาคม 2533 – 28 กุมภาพันธ์ 2534) ชื่อรหัสปฏิบัติการโล่ทะเลทราย (Operation Desert Shield, 2 สิงหาคม 2533 – 17 มกราคม 2534) เป็นปฏิบัติการนำสู่การสั่งสมกำลังและการป้องกันของซาอุดีอาระเบียและปฏิบัติการพายุทะเลทราย (Operation Desert Storm, 17 มกราคม 2534 – 28 กุมภาพันธ์ 2534) ในระยะสู้รบ เป็นสงครามในภูมิภาคอ่าวเปอร์เซียระหว่างกำลังผสมจาก 34 ชาตินำโดยสหรัฐอเมริกาต่อประเทศอิรักหลังการบุกครองและผนวกคูเวตของอิรัก สงครามนี้มีชื่ออื่น เช่น สงครามอ่าวเปอร์เซีย, สงครามอ่าวครั้งที่หนึ่ง, สงครามคูเวต, สงครามอิรัก ซึ่งคำว่า "สงครามอิรัก" ต่อมาใช้เรียกการบุกครองอิรักเมื่อปี 2546 แทน การยึดครองคูเวตของกองทัพอิรักซึ่งเริ่มเมื่อวันที่ 2 สิงหาคม 2533 นั้นถูกนานาชาติประณาม และสมาชิกคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติพลันใช้วิธีการบังคับทางเศรษฐกิจต่ออิรัก ประธานาธิบดี จอร์จ เอช. ดับเบิลยู. บุช วางกำลังสหรัฐเข้าสู่ซาอุดีอาระเบียและกระตุ้นให้ประเทศอื่นส่งกำลังของตนไปที่นั้นด้วย มีหลายชาติเข้าร่วมกำลังผสม ซึ่งเป็นพันธมิตรทางทหารที่ใหญ่ที่สุดนับแต่สงครามโลกครั้งที่สอง กำลังทหารของกำลังผสมส่วนใหญ่มาจากสหรัฐ โดยมีซาอุดีอาระเบีย สหราชอาณาจักรและอียิปต์เป็นผู้มีส่วนร่วมรายใหญ่ตามลำดับ ซาอุดีอาระเบียสมทบเงิน 36,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐจากค่าสงคราม 60,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ สงครามนี้มีการริเริ่มการถ่ายทอดข่าวสดจากแนวหน้าของการสู้รบ หลัก ๆ โดยเครือข่ายซีเอ็นเอ็นของสหรัฐ สงครามนี้ยังได้ชื่อเล่นว่า สงครามวิดีโอเกม หลังการถ่ายทอดภาพรายวันจากกล้องบนเครื่องบินทิ้งระเบิดสหรัฐระหว่างปฏิบัติการพายุทะเลทราย ความขัดแย้งระยะแรกเพื่อขับกองทัพอิรักออกจากคูเวตเริ่มด้วยทางระดมทิ้งระเบิดทางอากาศและทางเรือเมื่อวันที่ 17 มกราคม 2534 และดำเนินไปห้าสัปดาห์ ตามด้วยการโจมตีภาคพื้นดินเมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ สงครามสิ้นสุดด้วยชัยชนะอย่างขาดลอยของกำลังผสม ซึ่งขับกองทัพอิรักออกจากคูเวตและรุกเข้าดินแดนอิรัก กำลังผสมยุติการบุกและประกาศหยุดยิงหลังการทัพภาคพื้นเริ่ม 100 ชั่วโมง การสู้รบทางอากาศและทางบกจำกัดอยู่ในประเทศอิรัก คูเวตและบางพื้นที่ตรงพรมแดนซาอุดีอาระเบีย ประเทศอิรักปล่อยขีปนาวุธสกั๊ดต่อเป้าหมายทางทหารของกำลังผสมและต่ออิสราเอล.

กองทัพสหรัฐและสงครามอ่าวเปอร์เซีย · สงครามอ่าวเปอร์เซียและเอฟ-16 ไฟทิงฟอลคอน · ดูเพิ่มเติม »

สงครามเกาหลี

งครามเกาหลี (25 มิถุนายน 1950 – 27 กรกฎาคม 1953) เป็นสงครามระหว่างสาธารณรัฐเกาหลี (เกาหลีใต้) โดยได้รับการสนับสนุนจากสหประชาชาติฝ่ายหนึ่ง กับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลี (เกาหลีเหนือ) โดยได้รับการสนับสนุนจากสาธารณรัฐประชาชนจีนเป็นหลัก อีกฝ่ายหนึ่ง สงครามเกาหลีเป็นผลจากเขตทางการเมืองของเกาหลีโดยความตกลงที่ฝ่ายสัมพันธมิตรผู้ชนะกระทำเมื่อสงครามแปซิฟิกยุติ คาบสมุทรเกาหลีถูกจักรวรรดิญี่ปุ่นปกครองตั้งแต่ปี 1910 กระทั่งสงครามโลกครั้งที่สองสิ้นสุด หลังการยอมจำนนของจักรวรรดิญี่ปุ่นในเดือนกันยายน 1945 นักปกครองชาวอเมริกันได้แบ่งคาบสมุทรตามเส้นขนานที่ 38 โดยกองกำลังทหารสหรัฐยึดครองส่วนใต้ และกองกำลังทหารโซเวียตยึดครองส่วนเหนือ ความล้มเหลวในการจัดการเลือกตั้งเสรีทั่วคาบสมุทรเกาหลีในปี 1948 ยิ่งตอกลึกการแบ่งแยกระหว่างสองฝ่าย เกาหลีเหนือจึงสถาปนารัฐบาลคอมมิวนิสต์ ขณะที่เกาหลีใต้สถาปนารัฐบาลประชาธิปไตยในนาม เส้นขนานที่ 38 กลายเป็นพรมแดนทางการเมืองเพิ่มขึ้นระหว่างสองรัฐเกาหลี แม้การเจรจาเพื่อรวมประเทศยังคงดำเนินต่อมาหลายเดือนก่อนเกิดสงคราม แต่ความตึงเครียดยิ่งทวีขึ้น เกิดการรบปะทะและการตีโฉบฉวยข้ามพรมแดนเส้นขนานที่ 38 อยู่เนือง ๆ สถานการณ์บานปลายเป็นการสงครามเปิดเผยเมื่อกองกำลังเกาหลีเหนือบุกครองเกาหลีใต้เมื่อวันที่ 25 มิถุนายน 1950 ปีเดียวกัน สหภาพโซเวียตคว่ำบาตรคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ เพื่อเป็นการประท้วงที่รัฐบาลก๊กมินตั๋ง/สาธารณรัฐจีนเป็นผู้แทนของจีน ซึ่งลี้ภัยไปยังเกาะไต้หวันหลังปราชัยสงครามกลางเมืองจีน เมื่อขาดเสียงไม่เห็นพ้องจากสหภาพโซเวียต ซึ่งมีอำนาจยับยั้งข้อมติคณะมนตรีความมั่นคงฯ สหรัฐอเมริกาและประเทศอื่นจึงผ่านข้อมติที่อนุญาตให้แทรกแซงทางทหารในเกาหลี สหรัฐอเมริกาจัดหาทหารคิดเป็น 88% ของทหารนานาชาติ 341,000 นาย ที่ถูกส่งไปช่วยเหลือกองกำลังเกาหลีใต้ขับการบุกครอง โดยมีรัฐสมาชิกสหประชาชาติอื่นอีก 20 ประเทศเสนอความช่วยเหลือ หลังประสบความสูญเสียอย่างหนักในช่วงสองเดือนแรก ฝ่ายตั้งรับถูกผลักดันกลับไปยังพื้นที่เล็ก ๆ ทางใต้ของคาบสมุทรเกาหลี ซึ่งมีชื่อว่า วงรอบปูซาน จากนั้น การรุกโต้ตอบอย่างรวดเร็วของสหประชาชาติได้ขับทหารเกาหลีเหนือผ่านเส้นขนานที่ 38 ขึ้นไปเกือบถึงแม่น้ำยาลู เมื่อสาธารณรัฐประชาชนจีนเข้าสู่สงครามโดยอยู่ฝ่ายเดียวกับเกาหลีเหนือ การเข้าแทรกแซงของจีนบีบให้กองกำลังเกาหลีใต้และพันธมิตรถอยกลับไปใต้เส้นขนานที่ 38 อีกครั้ง แม้สหภาพโซเวียตจะมิได้ส่งทหารเข้าร่วมในความขัดแย้งโดยตรง แต่ก็ให้ความช่วยเหลือด้านยุทธปัจจัยแก่ทั้งกองทัพเกาหลีเหนือและจีน การสู้รบยุติลงเมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 1953 เมื่อมีการลงนามในความตกลงการสงบศึก ความตกลงดังกล่าวฟื้นฟูพรมแดนระหว่างประเทศใกล้กับเส้นขนานที่ 38 และสถาปนาเขตปลอดทหารเกาหลี แนวกันชนที่มีการป้องกันกว้าง 4.0 กิโลเมตร ระหว่างสองชาติเกาหลี อุบัติการณ์ขนาดย่อมยังคงดำเนินต่อมาตราบจนปัจจุบัน ปัจจัยที่ทำให้สงครามเกาหลียุติเพราะ สตาลินเสียชีวิต และรัฐบาลใหม่โซเวียต ให้บอกให้จีนและเกาหลีเหนือยุติสงครามเกาหลี จากมุมมองวิทยาศาสตร์การทหาร สงครามเกาหลีเป็นการรวมยุทธศาสตร์และยุทธวิธีของสงครามโลกครั้งที่หนึ่งและสงครามโลกครั้งที่สองเข้าด้วยกัน โดยเริ่มต้นจากการสงครามเคลื่อนที่ด้วยการเข้าตีของทหารราบอย่างรวดเร็ว ตามด้วยการตีโฉบฉวยทิ้งระเบิดทางอากาศ แต่กลายเป็นสงครามสนามเพลาะที่อยู่นิ่งเมื่อถึงเดือนกรกฎาคม 1951.

กองทัพสหรัฐและสงครามเกาหลี · สงครามเกาหลีและเอฟ-16 ไฟทิงฟอลคอน · ดูเพิ่มเติม »

สงครามเวียดนาม

งครามเวียดนาม หรือ สงครามอินโดจีนครั้งที่สอง หรือที่ชาวเวียดนามรู้จักกันในชื่อ สงครามอเมริกา เป็นสงครามตัวแทนสมัยสงครามเย็นที่เกิดขึ้นในประเทศเวียดนาม ลาวและกัมพูชาตั้งแต่เดือนธันวาคม 2498 กระทั่งกรุงไซ่ง่อนแตกเมื่อวันที่ 30 เมษายน 2518 สงครามเวียดนามนี้เกิดขึ้นหลังสงครามอินโดจีนครั้งที่หนึ่ง และมีเวียดนามเหนือซึ่งได้รับการสนับสนุนจากจีน สหภาพโซเวียตและพันธมิตรคอมมิวนิสต์อื่นเป็นคู่สงครามฝ่ายหนึ่ง กับรัฐบาลเวียดนามใต้ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากสหรัฐและประเทศที่ต่อต้านคอมมิวนิสต์อื่นเป็นคู่สงครามอีกฝ่ายหนึ่ง เวียดกง (หรือ แนวร่วมปลดปล่อยแห่งชาติ) เป็นแนวร่วมประชาชนคอมมิวนิสต์เวียดนามใต้ที่ติดอาวุธเบาซึ่งมีเวียดนามเหนือสั่งการ สู้รบในสงครามกองโจรต่อกำลังต่อต้านคอมมิวนิสต์ในภูมิภาค กองทัพประชาชนเวียดนาม (กองทัพเวียดนามเหนือ) ต่อสู้ในสงครามตามแบบมากกว่า และบางครั้งส่งหน่วยขนาดใหญ่เข้าสู่ยุทธการ เมื่อสงครามดำเนินไป ส่วนการต่อสู้ของเวียดกงลดลงขณะที่บทบาทของกองทัพประชาชนเวียดนามเพิ่มขึ้น กำลังสหรัฐและเวียดนามใต้อาศัยความเป็นเจ้าเวหาและอำนาจการยิงที่เหนือกว่าเพื่อดำเนินปฏิบัติการค้นหาและทำลาย ซึ่งรวมถึงกำลังภาคพื้นดิน ปืนใหญ่และการโจมตีทางอากาศ ตลอดห้วงสงคราม สหรัฐดำเนินการทัพทิ้งระเบิดทางยุทธศาสตร์ขนานใหญ่ต่อเวียดนามเหนือ และต่อมาน่านฟ้าเวียดนามเหนือกลายเป็นน่านฟ้าที่มีการป้องกันหนาแน่นที่สุดในโลก รัฐบาลสหรัฐมองว่าการเข้ามามีส่วนในสงครามของตนเป็นหนทางป้องกันการยึดเวียดนามใต้ของคอมมิวนิสต์อันเป็นส่วนหนึ่งของยุทธศาสตร์การจำกัดการขยายตัวของลัทธิที่ไม่พึงปรารถนาที่ใหญ่กว่า โดยมีเป้าหมายที่แถลงไว้เพื่อหยุดการแพร่ของคอมมิวนิสต์ ตามทฤษฎีโดมิโนของสหรัฐ หากรัฐหนึ่งกลายเป็นคอมมิวนิสต์ รัฐอื่นในภูมิภาคก็จะเป็นไปด้วย ฉะนั้น นโยบายของสหรัฐจึงถือว่าการผ่อนปรนการแพร่ของคอมมิวนิสต์ทั่วประเทศเวียดนามนั้นยอมรับไม่ได้ รัฐบาลเวียดนามเหนือและเวียดกงต่อสู้เพื่อรวมเวียดนามอยู่ในการปกครองคอมมิวนิสต์ ทั้งสองมองข้อพิพาทนี้เป็นสงครามอาณานิคม ซึ่งเริ่มแรกสู้กับฝรั่งเศส โดยได้รับการสนับสนุนจากสหรัฐ แล้วต่อมาสู้กับเวียดนามใต้ ซึ่งถูกมองว่าเป็นรัฐหุ่นเชิดของสหรัฐ ที่ปรึกษาทางทหารชาวอเมริกันมาถึงอินโดจีนขณะนั้นเริ่มตั้งแต่ปี 2493 การเข้ามามีส่วนของสหรัฐเพิ่มขึ้นในช่วงต้นคริสต์ทศวรรษ 1960 โดยมีระดับทหารเพิ่มเป็นสามเท่าในปี 2494 และเพิ่มอีกสามเท่าในปีต่อมา การเข้ามามีส่วนของสหรัฐทวีขึ้นอีกหลังเหตุการณ์อ่าวตังเกี๋ย ปี 2507 ซึ่งเรือพิฆาตของสหรัฐปะทะกับเรือโจมตีเร็วของเวียดนามเหนือ ซึ่งตามติดด้วยข้อมติอ่าวตังเกี๋ยซึ่งอนุญาตให้ประธานาธิบดีสหรัฐเพิ่มทหารในพื้นที่ หน่วยรบปกติของสหรัฐถูกจัดวางเริ่มตั้งแต่ปี 2498 ปฏิบัติการข้ามพรมแดนระหว่างประเทศ โดยพื้นที่ติดต่อกับประเทศลาวและกัมพูชาถูกกองทัพสหรัฐทิ้งระเบิดอย่างหนักขณะที่การเข้ามามีส่วนในสงครามของสหรัฐเพิ่มขึ้นสูงสุดในปี 2511 ปีเดียวกัน ฝ่ายคอมมิวนิสต์เปิดฉากการรุกตรุษญวน การรุกตรุษญวนไม่สัมฤทธิ์ผลในการโค่นรัฐบาลเวียดนามใต้ แต่ได้กลายเป็นจุดพลิกผันของสงคราม เพราะได้แสดงว่าเวียดนามใต้ไม่อาจป้องกันตัวเองจากเวียดนามเหนือได้ แม้สหรัฐจะทุ่มความช่วยเหลือทางทหารอย่างมหาศาลหลายปี ด้วยจุดชัยชนะของสหรัฐนั้นไม่ชัดเจน จึงค่อย ๆ มีการถอนกำลังภาคพื้นดินของสหรัฐโดยเป็นส่วนหนึ่งของนโยบายเรียก การแผลงเป็นเวียดนาม (Vietnamization) ซึ่งมุ่งยุติการเข้ามามีส่วนในสงครามของสหรัฐขณะที่โอนภารกิจต่อสู้กับคอมมิวนิสต์ให้เวียดนามใต้เอง แม้ภาคีทุกฝ่ายลงนามข้อตกลงสันติภาพปารีสในเดือนมกราคม 2516 แล้วก็ตาม แต่การสู้รบยังดำเนินต่อไป ในสหรัฐและโลกตะวันตก มีการพัฒนาขบวนการต่อต้านสงครามเวียดนามขนาดใหญ่ขึ้น ขบวนการนี้ทั้งเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมต่อต้าน (Counterculture) แห่งคริสต์ทศวรรษ 1960 และเป็นปัจจัยหนึ่งของมัน การมีส่วนร่วมทางทหารของสหรัฐยุติลงเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2516 อันเป็นผลมาจากคำแปรญัตติเคส–เชิร์ช (Case–Church Amendment) ที่รัฐสภาสหรัฐผ่าน การยึดกรุงไซ่ง่อนโดยกองทัพประชาชนเวียดนามในเดือนเมษายน 2518 เป็นจุดสิ้นสุดของสงคราม และมีการรวมชาติเวียดนามเหนือกับเวียดนามใต้ในปีต่อมา สงครามนี้คร่าชีวิตมนุษย์ไปมหาศาล ประเมินตัวเลขทหารและพลเรือนชาวเวียดนามที่ถูกสังหารมีตั้งแต่น้อยกว่า 1 ล้านคนเล็กน้อย ไปถึงกว่า 3 ล้านคน ชาวกัมพูชาเสียชีวิตราว 2-3 แสนคนHeuveline, Patrick (2001).

กองทัพสหรัฐและสงครามเวียดนาม · สงครามเวียดนามและเอฟ-16 ไฟทิงฟอลคอน · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง กองทัพสหรัฐและเอฟ-16 ไฟทิงฟอลคอน

กองทัพสหรัฐ มี 29 ความสัมพันธ์ขณะที่ เอฟ-16 ไฟทิงฟอลคอน มี 78 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 4, ดัชนี Jaccard คือ 3.74% = 4 / (29 + 78)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง กองทัพสหรัฐและเอฟ-16 ไฟทิงฟอลคอน หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »