โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

กองทัพสหรัฐและยุทธการที่โมกาดิชู (พ.ศ. 2536)

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง กองทัพสหรัฐและยุทธการที่โมกาดิชู (พ.ศ. 2536)

กองทัพสหรัฐ vs. ยุทธการที่โมกาดิชู (พ.ศ. 2536)

กองทัพสหรัฐ (United States Armed Forces) เป็นกองทหารของสหรัฐ ประกอบด้วยกองทัพบก กองทัพเรือ เหล่านาวิกโยธิน, กองทัพอากาศและหน่วยยามฝั่ง สหรัฐมีประเพณีพลเรือนควบคุมทหารอย่างเข้มแข็ง ประธานาธิบดีสหรัฐเป็นผู้บัญชาการทหาร และมีกระทรวงกลาโหมทำหน้าที่เป็นองค์กรหลักซึ่งนำนโยบายทางทหารไปปฏิบัติ กระทรวงกลาโหมมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ซึ่งเป็นพลเรือนและอยู่ในคณะรัฐมนตรี เป็นเจ้ากระทรวง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมอยู่ในอันดับที่สองของสายการบังคับบัญชาของทหาร รองแต่เพียงประธานาธิบดี และทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยหลักของประธานาธิบดีในกิจการทั้งปวงที่เกี่ยวข้องกับกระทรวง ประธานาธิบดีมีสภาความมั่นคงแห่งชาติ (National Security Council) เป็นที่ปรึกษา ซึ่งมีที่ปรึกษาฝ่ายความมั่นคงแห่งชาติ (National Security Advisor) เป็นผู้นำ เพื่อประสานงานการปฏิบัติทางทหารกับการทูต ประธานาธิบดีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมมีเสนาธิการร่วม (Joint Chiefs of Staff) เจ็ดคนเป็นที่ปรึกษา ซึ่งสมาชิกประกอบด้วยหัวหน้าเหล่าทัพต่าง ๆ ของกระทรวงและหัวหน้าสำนักงานหน่วยรักษาดินแดน (National Guard Bureau) โดยประธานเสนาธิการร่วมและรองประธานเสนาธิการร่วมเป็นผู้สรรหาผู้นำ ผู้บัญชาการหน่วยยามฝั่งไม่เป็นสมาชิกของเสนาธิการร่วม ทุกเหล่าทัพประสานงานระหว่างปฏิบัติการและภารกิจร่วม ภายใต้การบังคับบัญชาพลรบรวม (Unified Combatant Command) ซึ่งอยู่ในอำนาจของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ยกเว้นหน่วยยามฝั่ง หน่วยยามฝั่งอยู่ในการบริหารจัดการของกระทรวงความมั่นคงแห่งมาตุภูมิ และได้รับคำสั่งปฏิบัติการจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงความมั่นคงแห่งมาตุภูมิ ประธานาธิบดีหรือรัฐสภาคองเกรสอาจโอนอำนาจการบังคับบัญชาหน่วยยามฝั่งไปให้กระทรวงทหารเรือ ในยามสงครามได้ เหล่าทัพทั้งห้าล้วนจัดเป็นหน่วยที่แต่งเครื่องแบบสหรัฐอันมีอยู่เจ็ดหน่วย อีกสองหน่วยได้แก่ หน่วยบริการสาธารณสุข และ หน่วยการบริหารมหาสมุทรและบรรยากาศแห่งชาติสหรัฐ นับแต่ก่อตั้ง กองทัพมีบทบาทสำคัญในประวัติศาสตร์สหรัฐ สัมผัสความสามัคคีและเอกลักษณ์ของชาติถูกสร้างขึ้นจากผลของชัยชนะในสงครามบาร์บารีทั้งสองครั้ง กระนั้น บิดาผู้ก่อตั้งยังไม่ไว้ใจการมีกำลังทหารถาวร จนกระทั่งสงครามโลกครั้งที่สองปะทุ สหรัฐจึงตั้งกองทัพบกประจำการขนาดใหญ่อย่างเป็นทางการ รัฐบัญญัติความมั่นคงแห่งชาต.. การรบที่โมกาดิชู หรือที่ชาวโซมาเลียเรียกว่า Ma-alinti Rangers (แปลว่าวันแห่งพวกเรนเจอร์) คือการรบภายใต้ปฏิบัติการโกธิคเซอร์เพนท์ (Operation Gothic Serpent) ซึ่งมีจุดมุ่งหมายในการจับกุมขุนศึกแห่งพันธมิตรแห่งชาติโซมาเลียที่ภักดีต่อโมฮัมเมด ฟาราห์ ไอดิด 2 คน คือ Omar Salad Elmi และ Mohamed Hassan Awale การสู้รบเริ่มขึ้นในวันที่ 3 และวันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2536 (1993) นำโดยกองกำลังสหรัฐอเมริกา สนับสนุนด้วยกองกำลังปฏิบัติการณ์สหประชาชาติในโซมาเลียชุดที่ 2 (UNOSOM II) ต่อสู้กับทหารบ้านชาวโซมาเลียที่ภักดีต่อโมฮัมเมด ฟาราห์ ไอดิด การรบในกรุงโมกาดิชูครั้งนี้ถือเป็นครั้งแรก โดยครั้งที่สองนั้นเกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2549 (2006) กองกำลังร่วมเรนเจอร์ของสหรัฐฯ ถูกจัดตั้งขึ้นเฉพาะยุทธการครั้งนี้ ประกอบด้วย กองกำลังปฏิบัติการณ์พิเศษเดลตา (Delta Force) มีหน้าที่บุกไปจับ เป้าหมายทั้ง 2คน, หน่วยรบเนวีซีล ทีม 6 (Navy SEAL Team Six) และกองพันเรนเจอร์ที่ 3 สังกัดกรมเรนเจอร์ที่ 75 (3rd Ranger Battalion, 75th Ranger Regiment) ของกองทัพบกสหรัฐฯ มีหน้าที่คุ้มกัน 4 มุมตึกของเป้าหมาย โดยการจู่โจมลงมาจาก เฮลิคอปเตอร์ที่ลอยอยู่เหนือพื้นดิน โดยใช้การลงสู่พื้นแบบ ฟาสต์ โรป Fast Ropeส่วนการสนับสนุนทางอากาศนั้น กองร้อยการบินปฏิบัติการณ์พิเศษที่ 160 ("The Night Stalkers") เป็นผู้รับผิดชอบ และสมาชิกของพลร่มกู้ภัยและทหารควบคุมการบินของกองทัพอากาศสหรัฐฯ เป็นผู้ดำเนินการขนส่งกองกำลังจากที่มั่นไปยังชานเมืองโมกาดิชู เพื่อทำการจับกุมบรรดาผู้นำของทหารบ้านที่ภักดีต่อไอดิด กองกำลังจู่โจมประกอบด้วยอากาศยาน 19 ลำ, ยานพาหนะ 20 คัน และทหาร 160 นาย โดยระหว่างปฏิบัติการณ์นั้น เฮลิคอปเตอร์ MH-60 แบล็คฮอว์คของสหรัฐฯ ถูกยิงตก 2 ลำ รหัสเรียกขาน super 61และ super 64โดยเครื่องยิงจรวด RPG-7 ของทหารบ้าน ในขณะที่อีก 3 ลำ ได้รับความเสียหาย และ ขบวนรถที่จะใช้เพื่อขนเป้าหมายที่จับกุมได้กลับนั้น เกิดความผิดพลาดในการเดินทาง เพราะถูกฝูงชนเข้าปะทะโดยใช้ จรวดRPG-7 และ การซุมยิงจากตึก และ บ้านเรือนสองฟากถนน ทำให้ทั้งสองฝ่ายคลาดกัน ทหารที่ติดอยู่ที่จุดตกบางส่วนสามารถอพยพกลับมายังจุดนัดพบและใช้เป็นฐานที่มั่นชั่วคราวได้ ในขณะที่คนอื่นๆ ติดอยู่ตรงจุดตก.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง กองทัพสหรัฐและยุทธการที่โมกาดิชู (พ.ศ. 2536)

กองทัพสหรัฐและยุทธการที่โมกาดิชู (พ.ศ. 2536) มี 1 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): สหรัฐ

สหรัฐ

หรัฐอเมริกา (United States of America) โดยทั่วไปเรียก สหรัฐ (United States) หรือ อเมริกา (America) เป็นสหพันธ์สาธารณรัฐ ประกอบด้วยรัฐ 50 รัฐ และหนึ่งเขตปกครองกลาง ห้าดินแดนปกครองตนเองสำคัญ และเกาะเล็กต่าง ๆ โดย 48 รัฐและเขตปกครองกลางตั้งอยู่ ณ ทวีปอเมริกาเหนือระหว่างประเทศแคนาดาและเม็กซิโก รัฐอะแลสกาอยู่มุมตะวันตกเฉียงเหนือของทวีปอเมริกาเหนือ มีเขตแดนติดต่อกับประเทศแคนาดาทางทิศตะวันออกและข้ามช่องแคบเบริงจากประเทศรัสเซียทางทิศตะวันตก และรัฐฮาวายเป็นกลุ่มเกาะในมหาสมุทรแปซิฟิกกลาง ดินแดนของสหรัฐกระจายอยู่ตามมหาสมุทรแปซิฟิกและทะเลแคริบเบียน ครอบคลุมเขตเวลาเก้าเขต ภูมิศาสตร์ ภูมิอากาศและสัตว์ป่าของประเทศหลากหลายอย่างยิ่ง สหรัฐมีพื้นที่ขนาด 9.8 ล้านตารางกิโลเมตร มีประชากรราว 326 ล้านคน ทำให้มีพื้นที่ขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 4 ของโลก และมีประชากรมากเป็นอันดับที่ 3 ของโลก เป็นประเทศซึ่งมีความหลากหลายทางเชื้อชาติและวัฒนธรรม และเป็นที่พำนักของประชากรเข้าเมืองใหญ่สุดในโลกAdams, J.Q., and Pearlie Strother-Adams (2001).

กองทัพสหรัฐและสหรัฐ · ยุทธการที่โมกาดิชู (พ.ศ. 2536)และสหรัฐ · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง กองทัพสหรัฐและยุทธการที่โมกาดิชู (พ.ศ. 2536)

กองทัพสหรัฐ มี 29 ความสัมพันธ์ขณะที่ ยุทธการที่โมกาดิชู (พ.ศ. 2536) มี 18 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 1, ดัชนี Jaccard คือ 2.13% = 1 / (29 + 18)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง กองทัพสหรัฐและยุทธการที่โมกาดิชู (พ.ศ. 2536) หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »