โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

กองทัพน้อยเชโกสโลวาเกียที่ 1 ในสหภาพโซเวียต

ดัชนี กองทัพน้อยเชโกสโลวาเกียที่ 1 ในสหภาพโซเวียต

กองทัพน้อยกองทัพเชโกสโลวาเกียที่ 1 (Prvý československý armádny zbor, První československý armádní sbor) เป็นกองกำลังทหารของกองทัพพลัดถิ่นเชโกสโลวาเกีย กองทัพต่อสู้บนแนวรบด้านตะวันออกเคียงบ่าเคียงไหลกับกองทัพแดงแห่งสหภาพโซเวียตในสงครามโลกครั้งที่สอง กองทัพน้อยเป็นกองกำลังที่ใหญ่ที่สุดของหน่วยเชโกสโลวักที่ต่อสู้ในด้านโซเวียตในแนวรบด้านตะวันออก กองทัพน้อยกองทัพเชโกสโลวาเกียที่ 1 ก่อตั้งขึ้นในเมือง Buzuluk ในเทือกเขายูรัลเป็นครั้งแรกที่หน่วยสัมพันธมิตรต่อสู้เคียงข้างกองทัพแดงในดินแดนโซเวียต กองทัพถูกสร้างขึ้นจากอดีตสมาชิกของเชโกสโลวักลีเจียน, พลเมืองเชโกสโลวัก (ส่วนใหญ่อพยพ) ที่อาศัยอยู่ในสหภาพโซเวียต, เชลยสงครามสโลวักและผู้แปรพักตร์ และ Volhynian Czechs (พลเมืองโซเวียตที่เป็นชาวเช็กโดยกำเนิด) พลโท ลุดวีก สโวโบดา ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้บัญชาการหน่วยเมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม 1942 แม้จะมีแผนการของผู้นำทางการเมืองของเชโกสโลวาเกียผู้ซึ่งตั้งใจจะรักษากองทัพไว้เพื่อช่วยในการปลดปล่อยเชโกสโลวาเกียในอนาคต เจ้าหน้าที่กองพันพยายามที่จะนำหน่วยเข้าต่อสู้โดยเร็วที่สุด หลังจากส่งจดหมายส่วนตัวถึงโจเซฟ สตาลินแล้ว ในที่สุดกองทัพน้อยก็ประสบความสำเร็จและกองทัพถูกส่งเข้าปฏิบัติงาน โดยมีส่วนร่วมในการต่อสู้ป้องกันในยุทธการที่โซโคโลโว ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของยุทธการที่คาร์คอฟครั้งที่ 3 ในเดือนมีนาคม 1943 ในเวลานั้นกองทัพเป็นหนึ่งในกองพันทหารราบติดอาวุธที่ดีที่สุดในแนวรบด้านตะวันออก อย่างไรก็ตามกองทัพขาดอาวุธต่อต้านรถถังและปืนใหญ่อย่างหนักซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการสนับสนุนหน่วยโซเวียต ด้วยเหตุนี้ในระหว่างการสู้รบกองทัพได้รับความเสียหายอย่างหนักจากการโจมตีโดยกองพลยานเกราะเยอรมันและถูกถอนออกจากแนวหน้า ในเดือนพฤษภาคมปี 1943 ส่วนที่เหลือของกองพันสนามอิสระเชโกสโลวาเกียที่ 1 และกรมทหารสำรองเชโกสโลวาเกียที่ 1 ได้รับการจัตตั้งขึ่นใหม่เป็นกองพลอิสระน้อยเชโกสโลวาเกียที่ 1 โดยที่มีชาว Rusyn และ ยูเครนเป็นกำลังเสริม และ นักโทษที่ได้รับการปล่อยตัวออกมาจากกูลัค กองพลน้อยมีบทบาทสำคัญในยุทธการที่เคียฟปี 1943 และกองกำลังของเชโกสโลวาเกียถึอเป็นหน่วยแรก ๆ ที่ไปถึงใจกลางของเมืองหลวงของยูเครน กองพลน้อยได้รับความเสียหายเล็กน้อยโดยเสียชีวิตและสูญหาย 33 นาย ได้รับบาดเจ็บ 82 นาย ในขณะที่กองกำลังมีกำลังทั้งหมด 3,348 น.

10 ความสัมพันธ์: กองทัพแดงการรุกปรากยุทธการที่คาร์คอฟครั้งที่ 3ยุทธการที่เคียฟ (ค.ศ. 1943)รัฐบาลพลัดถิ่นเชโกสโลวาเกียสหภาพโซเวียตสงครามโลกครั้งที่สองแนวรบด้านตะวันออก (สงครามโลกครั้งที่สอง)โจเซฟ สตาลินเคียฟ

กองทัพแดง

accessdate.

ใหม่!!: กองทัพน้อยเชโกสโลวาเกียที่ 1 ในสหภาพโซเวียตและกองทัพแดง · ดูเพิ่มเติม »

การรุกปราก

การรุกปราก(Пражская стратегическая наступательная операция การรุกปรากทางยุทธศาสตร์)เป็นปฏิบัติการสำคัญครั้งสุดท้ายของโซเวียตในสงครามโลกครั้งที่สองในทวีปยุโรป.การรุกรานและสู้รบจากกรุงปราก,เป็นการสู้รบในแนวรบด้านตะวันออก ตั้งแต่วันที่ 6 พฤษภาคม - 11 พฤษภาคม..

ใหม่!!: กองทัพน้อยเชโกสโลวาเกียที่ 1 ในสหภาพโซเวียตและการรุกปราก · ดูเพิ่มเติม »

ยุทธการที่คาร์คอฟครั้งที่ 3

ทธการที่คาร์คอฟครั้งที่ 3 เป็นหนึ่งในการสู้รบในแนวรบด้านตะวันออกของสงครามโลกครั้งที่สอง.ปฏิบัติการโดยกองทัพกลุ่มตอนใต้ได้ต่อสู้รบกับกองทัพแดง,บริเวณรอบๆของเมืองคาร์คอฟ (ปัจจุบันคือคาร์คิฟ) ระหว่างวันที่ 19 กุมภาพันธ์ และ 15 มีนาคม ปี..

ใหม่!!: กองทัพน้อยเชโกสโลวาเกียที่ 1 ในสหภาพโซเวียตและยุทธการที่คาร์คอฟครั้งที่ 3 · ดูเพิ่มเติม »

ยุทธการที่เคียฟ (ค.ศ. 1943)

ทธการที่เคียฟครั้งที่สอง เป็นปฏิบัติการเชิงยุทธศาสตร์สามด้านโดยกองทัพแดงและเป็นหนึ่งในปฏิบัติการของการโจมตีโต้กลับโดยกองทัพเวร์มัคท์ซึ่งเกิดขึ้นในระหว่างวันที่ 3 ตุลาคม ถึงวันที่ 22 ธันวาคม..

ใหม่!!: กองทัพน้อยเชโกสโลวาเกียที่ 1 ในสหภาพโซเวียตและยุทธการที่เคียฟ (ค.ศ. 1943) · ดูเพิ่มเติม »

รัฐบาลพลัดถิ่นเชโกสโลวาเกีย

รัฐบาลพลัดถิ่นเชโกสโลวาเกีย, หรือมีชื่ออย่างเป็นการการคือ รัฐบาลชั่วคราวแห่งเชโกสโลวาเกีย (Prozatímní státní zřízení československé), เป็นรัฐบาลที่จัตตั้งขึ่นโดย คณะกรรมาธิการแห่งชาติเพื่อการปลดปล่อยเชโกสโลวาเกีย รัฐบาลพลัดถิ่นเชโกสโลวาเกียได้รับการยอมรับครั้งแรกทางการทูตของอังกฤษ ชื่อนี้ถูกนำมาใช้โดยฝ่านสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่สองในขณะที่พวกเขารู้จักกันในภายหลัง คณะกรรมาธิการก่อตั้งขึ้นโดยอดีตประธานาธิบดีเชโกสโลวาเกีย Edvard Beneš ที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศสในเดือนตุลาคม 1939Crampton, R. J. Eastern Europe in the Twentieth Century — and after.

ใหม่!!: กองทัพน้อยเชโกสโลวาเกียที่ 1 ในสหภาพโซเวียตและรัฐบาลพลัดถิ่นเชโกสโลวาเกีย · ดูเพิ่มเติม »

สหภาพโซเวียต

หภาพสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียต (Сою́з Сове́тских Социалисти́ческих Респу́блик - CCCP; Union of Soviet Socialist Republics - USSR) หรือย่อเป็น สหภาพโซเวียต (Soviet Union) เป็นประเทศอภิมหาอำนาจในอดีตบนทวีปยูเรเชีย ระหว่างปี..

ใหม่!!: กองทัพน้อยเชโกสโลวาเกียที่ 1 ในสหภาพโซเวียตและสหภาพโซเวียต · ดูเพิ่มเติม »

สงครามโลกครั้งที่สอง

งครามโลกครั้งที่สอง (World War II หรือ Second World Warคำว่าสงครามโลกครั้งที่สองในภาษาอังกฤษนั้น ในเอกสารประวัติศาสตร์อย่างเป็นทางการของสหราชอาณาจักรและชาติตะวันตกใช้คำว่า "Second World War" ส่วนในสหรัฐใช้คำว่า "World War II" (ย่อเป็น "WWII" หรือ "WW2") ซึ่งเอกสารประวัติศาสตร์อย่างเป็นทางการในประเทศส่วนใหญ่มักจะใช้ภาษาอังกฤษว่า "Second World War" (เช่น Zweiter Weltkrieg ในภาษาเยอรมัน; Segunda Guerra mundial ในภาษาสเปน; Seconde Guerre mondiale ในภาษาฝรั่งเศส) แต่ทั้งสองคำนี้โดยทั่วไปแล้วสามารถใช้แทนกันได้; แม้ในประวัติศาสตร์การทหารอย่างเป็นทางการ คำว่า "Second World War" ถูกสร้างขึ้นโดย แฟรงก์ บี. เคลล็อก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกา; ส่วนคำว่า "World War II" พบใช้เป็นครั้งแรกในนิตยสาร ไทมส์ เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน ค.ศ. 1939 ซึ่งเป็นผู้ประดิษฐ์คำว่า "World War I" ขึ้นในอีกสามเดือนต่อมา; มักย่อเป็น WWII หรือ WW2) เป็นสงครามทั่วโลกกินเวลาตั้งแต่ปี 1939 ถึง 1945 ประเทศส่วนใหญ่ในโลกมีส่วนเกี่ยวข้อง รวมทั้งรัฐมหาอำนาจทั้งหมด แบ่งเป็นพันธมิตรทางทหารคู่สงครามสองฝ่าย คือ ฝ่ายสัมพันธมิตรและฝ่ายอักษะ เป็นสงครามที่กว้างขวางที่สุดในประวัติศาสตร์ มีทหารกว่า 100 ล้านนายจากกว่า 30 ประเทศเข้าร่วมโดยตรง สงครามนี้มีลักษณะเป็น "สงครามเบ็ดเสร็จ" คือ ประเทศผู้ร่วมสงครามหลักทุ่มขีดความสามารถทางเศรษฐกิจ อุตสาหกรรมและวิทยาศาสตร์ทั้งหมดเพื่อความพยายามของสงคราม โดยลบเส้นแบ่งระหว่างทรัพยากรของพลเรือนและทหาร ประเมินกันว่าสงครามมีมูลค่าราว 1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ประเมินกันว่ามีผู้เสียชีวิตระหว่าง 50 ถึง 85 ล้านคน ด้วยประการทั้งปวง สงครามโลกครั้งที่สองจึงนับว่าเป็นสงครามขนาดใหญ่ที่สุด ใช้เงินทุนมากที่สุด และมีผู้เสียชีวิตสูงสุดในประวัติศาสตร์มนุษยชาติ จักรวรรดิญี่ปุ่นซึ่งมีเป้าหมายครอบงำทวีปเอเชียและแปซิฟิกและทำสงครามกับจีนมาตั้งแต่ปี 1937 แล้ว แต่โดยทั่วไปถือว่าสงครามโลกครั้งที่สองเริ่มตั้งแต่การบุกครองโปแลนด์ของเยอรมนีในวันที่ 1 กันยายน 1939 นำไปสู่การประกาศสงครามต่อเยอรมนีของประเทศฝรั่งเศสและสหราชอาณาจักร ตั้งแต่ปลายปี 1939 ถึงต้นปี 1941 ในการทัพและสนธิสัญญาต่าง ๆ ประเทศเยอรมนีพิชิตหรือควบคุมยุโรปภาคพื้นทวีปได้ส่วนใหญ่ และตั้งพันธมิตรอักษะกับอิตาลีและญี่ปุ่น ภายใต้สนธิสัญญาโมโลตอฟ–ริบเบนทรอพเมื่อเดือนสิงหาคม 1939 เยอรมนีและสหภาพโซเวียตแบ่งแลผนวกดินแดนประเทศเพื่อนบ้านยุโรปของตน ได้แก่ โปแลนด์ ฟินแลนด์ โรมาเนียและรัฐบอลติก สงครามดำเนินต่อส่วนใหญ่ระหว่างชาติฝ่ายอักษะยุโรปและแนวร่วมสหราชอาณาจักรและเครือจักรภพบริติช โดยมีการทัพอย่างการทัพแอฟริกาเหนือและแอฟริกาตะวันออก ยุทธการที่บริเตนซึ่งเป็นการสู้รบทางอากาศ การทัพทิ้งระเบิดเดอะบลิตซ์ การทัพบอลข่าน ตลอดจนยุทธการที่แอตแลนติกที่ยืดเยื้อ ในเดือนมิถุนายน 1941 ชาติอักษะยุโรปบุกครองสหภาพโซเวียต เปิดฉากเขตสงครามภาคพื้นดินที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ ซึ่งทำให้กำลังทหารสำคัญของฝ่ายอักษะตกอยู่ในสงครามบั่นทอนกำลัง ในเดือนธันวาคม 1941 ญี่ปุ่นโจมตีสหรัฐและอาณานิคมยุโรปในมหาสมุทรแปซิฟิก และพิชิตมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกส่วนมากได้อย่างรวดเร็ว การรุกของฝ่ายอักษะยุติลงในปี 1942 หลังญี่ปุ่นปราชัยในยุทธนาวีที่มิดเวย์ใกล้กับฮาวายที่สำคัญ และเยอรมนีปราชัยในแอฟริกาเหนือและจากนั้นที่สตาลินกราดในสหภาพโซเวียต ในปี 1943 จากความปราชัยของเยอรมนีติด ๆ กันที่เคิสก์ในยุโรปตะวันออก การบุกครองอิตาลีของฝ่ายสัมพันธมิตรซึ่งนำให้อิตาลียอมจำนน จนถึงชัยของฝ่ายสัมพันธมิตรในมหาสมุทรแปซิฟิก ฝ่ายอักษะเสียการริเริ่มและต้องล่าถอยทางยุทธศาสตร์ในทุกแนวรบ ในปี 1944 ฝ่ายสัมพันธมิตรบุกครองฝรั่งเศสในการยึดครองของเยอรมนี ขณะเดียวกันกับที่สหภาพโซเวียตยึดดินแดนที่เสียไปทั้งหมดคืนและบุกครองเยอรมนีและพันธมิตร ระหว่างปี 1944 และ 1945 ญี่ปุ่นปราชัยสำคัญในทวีปเอเชียในภาคกลางและภาคใต้ของจีนและพม่า ขณะที่ฝ่ายสัมพันธมิตรก่อความเสียหายต่อกองทัพเรือญี่ปุ่นและยึดหมู่เกาะแปซิฟิกตะวันตกที่สำคัญ สงครามในยุโรปยุติลงหลังกองทัพแดงยึดกรุงเบอร์ลินได้ และการยอมจำนนอย่างไม่มีเงื่อนไขของเยอรมนีเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 1945 แม้จะถูกโดดเดี่ยวและตกอยู่ในสภาพเสียเปรียบอย่างยิ่ง ญี่ปุ่นยังปฏิเสธที่จะยอมจำนน กระทั่งมีการทิ้งระเบิดนิวเคลียร์สองลูกถล่มญี่ปุ่น และการบุกครองแมนจูเรีย จึงได้นำไปสู่การยอมจำนนอย่างเป็นทางการของญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 2 กันยายน 1945 สงครามยุติลงด้วยชัยชนะของฝ่ายสัมพันธมิตร ผลของสงครามได้เปลี่ยนแปลงการวางแนวทางการเมืองและโครงสร้างสังคมของโลก สหประชาชาติถูกสถาปนาขึ้น เพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศและเพื่อป้องกันความขัดแย้งในอนาคต สหรัฐอเมริกากับสหภาพโซเวียตก้าวเป็นอภิมหาอำนาจของโลกอันเป็นคู่ปรปักษ์กัน นำไปสู่ความขัดแย้งบนเวทีแห่งสงครามเย็น ซึ่งได้ดำเนินต่อมาอีก 46 ปีหลังสงคราม ขณะเดียวกัน การยอมรับหลักการการกำหนดการปกครองด้วยตนเอง เร่งให้เกิดการเคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้องเอกราชในทวีปเอเชียและทวีปแอฟริกา พร้อม ๆ กับที่หลายประเทศได้มุ่งหน้าฟื้นฟูเศรษฐกิจซึ่งอุตสาหกรรมได้รับความเสียหายระหว่างสงคราม และบูรณาการทางการเมืองได้เกิดขึ้นทั่วโลกในความพยายามที่จะรักษาเสถียรภาพความสัมพันธ์หลังสงคราม.

ใหม่!!: กองทัพน้อยเชโกสโลวาเกียที่ 1 ในสหภาพโซเวียตและสงครามโลกครั้งที่สอง · ดูเพิ่มเติม »

แนวรบด้านตะวันออก (สงครามโลกครั้งที่สอง)

แนวรบด้านตะวันออกเป็นเขตสงครามหนึ่งในสงครามโลกครั้งที่สอง มีอักษะประเทศในทวีปยุโรป และคู่สงครามร่วมฟินแลนด์ฝ่ายหนึ่ง กับสหภาพโซเวียต โปแลนด์และชาติสัมพันธมิตรจำนวนหนึ่งอีกฝ่ายหนึ่งเป็นคู่สงคราม เขตสงครามนี้กินอาณาบริเวณยุโรปตะวันออก บางส่วนของยุโรปเหนือและยุโรปใต้ สู้รบกันระหว่างวันที่ 22 มิถุนายน..

ใหม่!!: กองทัพน้อยเชโกสโลวาเกียที่ 1 ในสหภาพโซเวียตและแนวรบด้านตะวันออก (สงครามโลกครั้งที่สอง) · ดูเพิ่มเติม »

โจเซฟ สตาลิน

ซฟ สตาลิน (รัสเซีย: Иосиф Виссарионович Сталин Iosif Vissarionovich Stalin อิโอซิฟ วิซซาริโอโนวิช สตาลิน; อังกฤษ: Joseph Stalin) (1 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1878 - 5 มีนาคม ค.ศ. 1953) เป็นผู้นำของสหภาพโซเวียต ตั้งแต่กลางทศวรรษที่ 1920 ถึง..

ใหม่!!: กองทัพน้อยเชโกสโลวาเกียที่ 1 ในสหภาพโซเวียตและโจเซฟ สตาลิน · ดูเพิ่มเติม »

เคียฟ

ียฟ (Київ, Kyyiv, คืยิว; Киев, Kiyev, คียิฟ; Kiev, Kyiv) เป็นเมืองหลวงและเมืองที่ใหญ่ที่สุดของประเทศยูเครน และยังเป็น 1 ใน 4 เมืองเจ้าภาพฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2012 ด้วย โดยมีสนามกีฬาโอลิมปิกแห่งชาติเคียฟเป็นสถานที่แข่งขัน ตั้งอยู่ภาคกลางตอนเหนือของประเทศ ริมฝั่งแม่น้ำนีเปอร์ (Dnieper) ในปี พ.ศ. 2544 เคียฟมีประชากร 2,660,401 คน ในปัจจุบันคาดว่าเพิ่มเป็นมากกว่า 3.5 ล้านคน.

ใหม่!!: กองทัพน้อยเชโกสโลวาเกียที่ 1 ในสหภาพโซเวียตและเคียฟ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

1st Czechoslovak Army Corps in the USSRกองทัพน้อยกองทัพเชโกสโลวาเกียที่ 1 ประจำสหภาพโซเวียต

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »