เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

กองทัพที่ 6 (เวร์มัคท์)และปฏิบัติการพายุฤดูหนาว

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง กองทัพที่ 6 (เวร์มัคท์)และปฏิบัติการพายุฤดูหนาว

กองทัพที่ 6 (เวร์มัคท์) vs. ปฏิบัติการพายุฤดูหนาว

กองทัพที่ 6 เป็นกองทัพสนามของเวร์มัคท์ ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง กองทัพที่ 6 เป็นที่รู้จักจากการถูกทำลายโดยกองทัพแดง ที่ ยุทธการที่สตาลินกราด ในช่วงฤดูหนาวปี 1942/43 นอกจากนี้กองทัพที่ 6 ยังได้ก่ออาชญากรสงคราม (ชึ่งเป็นการสังหารหมู่ชาวยิว 30,000 คนที่ เบบียาร์) กองทัพที่ 6 อยู่ภายได้การปัญชาการโดยจอมพล วัลเทอร์ ฟอน ไรเชอเนา ในช่วง ปฏิบัติการบาร์บารอสซา ในปี 1941. ปฏิบัติการ"พายุฤดูหนาว" (Unternehmen Wintergewitter) เป็นการรุกของกองทัพเยอรมันในสงครามโลกครั้งที่สองซึ่งกองทัพยานเกราะที่ 4 ของเยอรมันได้พยายามในการเปิดวงล้อมของกองทัพแดงแห่งโซเวียตเพื่อช่วยเหลือกองทัพที่ 6 ในเมืองสตาลินกราดที่กำลังถูกล้อมอยู่ในระหว่างยุทธการสตาลินกราด ในช่วงปลายเดือนพฤศจิกายน ปี 1942, กองทัพแดงได้ประสบความสำเร็จในแผนปฏิบัติการยูเรนัส (Operation Uranus),ด้วยการล้อมทหารฝ่ายอักษะจำนวนประมาณ 300,000 นายทั้งในและรอบๆตัวเมืองสตาลินกราด,กองกำลังเยอรมันที่อยู่ภายในวงล้อมสตาลินกราดและที่อยู่ภายนอกซึ่งได้รับคำสั่งและจัดระเบียบใหม่ภายใต้ของกองทัพกลุ่มดอน,ภายใต้การบังคับบัญชาของจอมพลเอริช ฟอน มันชไตน์ ในขณะเดียวกัน,ทางฝ่ายกองทัพแดงได้ดำเนินการอย่างต่อเนืองในการจัดสรรทรัพยากรให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้เพื่อเริ่มต้นในตอนท้ายของแผนการปฏิบัติการเสาร์ (Operation Saturn),ซึ่งวัตถุประสงค์แผนนี้คือเพื่อแยกกองทัพกลุ่มเอออกจากส่วนที่เหลือของกองทัพเยอรมัน เพื่อแก้ไขสถานการณ์,ทางลุฟท์วัฟเฟอได้พยายามจัดส่งทรัพยากรสนับสนุนต่างๆ เช่น เสบียง กระสุน เป็นต้นไปให้แก่กองกำลังเยอรมันที่ติดอยู่ในวงล้อมสตาลินกราดจากทางอากาศ เมื่อลุฟท์วัฟเฟอได้พิสูจน์ถึงด้วยไร้ความสามารถในการปฏิบัติภารกิจของตนและมันได้กลายเป็นที่ประจักษ์ว่าการฝ่าวงล้อมที่ประสบความสำเร็จอาจเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อได้เปิดฉากให้เร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ มันชไตน์จึงตัดสินใจอย่างโล่งใจ ในขั้นแรก มันชไตน์ได้เข้านัดพบกับกองพลยานเกราะพันเซอร์ทั้งสี่ เนื่องจากเยอรมันไม่เต็มใจที่จะลดขนาดกองพลลงโดยการโยกย้ายกองกำลังหน่วยทหารเยอรมัน ภารกิจเพื่อเปิดเส้นทางจากกองทัพเยอรมันที่ 6 ไปยังกองทัพพันเซอร์ที่ 4 กองกำลังเยอรมันได้ตกหลุมพรางเข้าปะทะกับกองทัพโซเวียตหลายครั้งที่ได้รับมอบหมายภารกิจในการทำลายล้างกองกำลังเยอรมันที่ถูกโอบล้อมและการรุกของพวกเขาอยู่รอบบริเวณแม่น้ำ Chir ตอนล่าง การรุกรานของเยอรมันได้ดักจับกองทัพแดงด้วยความประหลาดใจและได้รับผลประโยชน์มหาศาลในวันแรก กองกำลังหัวหอกได้มีความสุขที่ได้รับการสนับสนุนทางอากาศและสามารถเอาชนะการโจมตีตอบโต้กลับโดยทหารโซเวียตได้ โดยวันที่ 13 ธันวาคม โซเวียตได้ต้านทานการรุกรานของเยอรมันให้ชะลอลงเป็นอย่างมาก แม้ว่ากองกำลังเยอรมันจะเข้าสู่พื้นที่โดยรอบของ Verkhne-Kumskiy กองทัพแดงได้เปิดฉากปฏิบัติการลิตเติลแซเทิร์น เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม ปฏิบัติการลิตเติลแซเทิร์นได้ทำการบดขยี้กองทัพที่ 8 ของอิตาลีบนปีกซ้ายของกองทัพกลุ่มดอน ได้คุกคามความอยู่รอดของกองกำลังกลุ่มทั้งหมดของมันชไตน์ ด้วยการต้านทานและความเสียหายที่เพิ่มมากขึ้น มันชไตน์ได้เรียกร้องให้ฮิตเลอร์และผู้บัญชาการแห่งกองทัพที่ 6 นายพล ฟรีดริช เพาลุส เพื่อยินยอมให้กองทัพที่ 6 ทำการทะลวงฝ่าออกจากสตาลินกราด แต่ทั้งสองกลับปฏิเสธ กองทัพพันเซอร์ที่ 4 ยังคงพยายามที่จะเปิดเส้นทางไปยังกองทัพที่ 6 เมื่อวันที่ 18-19 ธันวาคม แต่ไม่สามารถที่จะทำเช่นนั้นได้โดยปราศจากความช่วยเหลือจากกองกำลังภายในวงล้อมสตาลินกราด มันชไตน์ได้ออกคำสั่งยุติการโจมตีเมื่อวันที่ 23 ธันวาคม และโดยคริสต์มาสอีฟ กองทัพพันเซอร์ที่ 4 ได้เริ่มทำการถอนกำลังไปยังจุดเริ่มต้น เนื่องจากความล้มเหลวของกองทัพที่ 6 ที่จะทะลวงฝ่าออกจากการโอบล้อมของโซเวียต กองทัพแดงสามารถดำเนินการบีบคั้นอย่างต่อเนื่องกับกองกำลังเยอรมันในสตาลินกร.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง กองทัพที่ 6 (เวร์มัคท์)และปฏิบัติการพายุฤดูหนาว

กองทัพที่ 6 (เวร์มัคท์)และปฏิบัติการพายุฤดูหนาว มี 4 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): ฟรีดริช เพาลุสกองทัพแดงยุทธการที่สตาลินกราดสงครามโลกครั้งที่สอง

ฟรีดริช เพาลุส

ฟรีดริช วิลเฮล์ม แอร์นสท์ เพาลุส (Friedrich Wilhelm Ernst Paulus; 23 กันยายน ค.ศ. 1890 - 1 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1957) เป็นนายทหารในกองทัพเยอรมันตั้งแต..

กองทัพที่ 6 (เวร์มัคท์)และฟรีดริช เพาลุส · ปฏิบัติการพายุฤดูหนาวและฟรีดริช เพาลุส · ดูเพิ่มเติม »

กองทัพแดง

accessdate.

กองทัพที่ 6 (เวร์มัคท์)และกองทัพแดง · กองทัพแดงและปฏิบัติการพายุฤดูหนาว · ดูเพิ่มเติม »

ยุทธการที่สตาลินกราด

ทธการสตาลินกราด เป็นยุทธการใหญ่ของสงครามโลกครั้งที่สอง ซึ่งนาซีเยอรมนีและพันธมิตรฝ่ายหนึ่ง สู้รบกับสหภาพโซเวียตอีกฝ่ายหนึ่ง เพื่อแย่งชิงการควบคุมนครสตาลินกราด (ปัจจุบันคือ วอลโกกราด ทางตะวันตกเฉียงใต้ของสหพันธรัฐรัสเซีย) ยุทธการดำเนินไประหว่างวันที่ 21 สิงหาคม..

กองทัพที่ 6 (เวร์มัคท์)และยุทธการที่สตาลินกราด · ปฏิบัติการพายุฤดูหนาวและยุทธการที่สตาลินกราด · ดูเพิ่มเติม »

สงครามโลกครั้งที่สอง

งครามโลกครั้งที่สอง (World War II หรือ Second World Warคำว่าสงครามโลกครั้งที่สองในภาษาอังกฤษนั้น ในเอกสารประวัติศาสตร์อย่างเป็นทางการของสหราชอาณาจักรและชาติตะวันตกใช้คำว่า "Second World War" ส่วนในสหรัฐใช้คำว่า "World War II" (ย่อเป็น "WWII" หรือ "WW2") ซึ่งเอกสารประวัติศาสตร์อย่างเป็นทางการในประเทศส่วนใหญ่มักจะใช้ภาษาอังกฤษว่า "Second World War" (เช่น Zweiter Weltkrieg ในภาษาเยอรมัน; Segunda Guerra mundial ในภาษาสเปน; Seconde Guerre mondiale ในภาษาฝรั่งเศส) แต่ทั้งสองคำนี้โดยทั่วไปแล้วสามารถใช้แทนกันได้; แม้ในประวัติศาสตร์การทหารอย่างเป็นทางการ คำว่า "Second World War" ถูกสร้างขึ้นโดย แฟรงก์ บี. เคลล็อก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกา; ส่วนคำว่า "World War II" พบใช้เป็นครั้งแรกในนิตยสาร ไทมส์ เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน ค.ศ. 1939 ซึ่งเป็นผู้ประดิษฐ์คำว่า "World War I" ขึ้นในอีกสามเดือนต่อมา; มักย่อเป็น WWII หรือ WW2) เป็นสงครามทั่วโลกกินเวลาตั้งแต่ปี 1939 ถึง 1945 ประเทศส่วนใหญ่ในโลกมีส่วนเกี่ยวข้อง รวมทั้งรัฐมหาอำนาจทั้งหมด แบ่งเป็นพันธมิตรทางทหารคู่สงครามสองฝ่าย คือ ฝ่ายสัมพันธมิตรและฝ่ายอักษะ เป็นสงครามที่กว้างขวางที่สุดในประวัติศาสตร์ มีทหารกว่า 100 ล้านนายจากกว่า 30 ประเทศเข้าร่วมโดยตรง สงครามนี้มีลักษณะเป็น "สงครามเบ็ดเสร็จ" คือ ประเทศผู้ร่วมสงครามหลักทุ่มขีดความสามารถทางเศรษฐกิจ อุตสาหกรรมและวิทยาศาสตร์ทั้งหมดเพื่อความพยายามของสงคราม โดยลบเส้นแบ่งระหว่างทรัพยากรของพลเรือนและทหาร ประเมินกันว่าสงครามมีมูลค่าราว 1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ประเมินกันว่ามีผู้เสียชีวิตระหว่าง 50 ถึง 85 ล้านคน ด้วยประการทั้งปวง สงครามโลกครั้งที่สองจึงนับว่าเป็นสงครามขนาดใหญ่ที่สุด ใช้เงินทุนมากที่สุด และมีผู้เสียชีวิตสูงสุดในประวัติศาสตร์มนุษยชาติ จักรวรรดิญี่ปุ่นซึ่งมีเป้าหมายครอบงำทวีปเอเชียและแปซิฟิกและทำสงครามกับจีนมาตั้งแต่ปี 1937 แล้ว แต่โดยทั่วไปถือว่าสงครามโลกครั้งที่สองเริ่มตั้งแต่การบุกครองโปแลนด์ของเยอรมนีในวันที่ 1 กันยายน 1939 นำไปสู่การประกาศสงครามต่อเยอรมนีของประเทศฝรั่งเศสและสหราชอาณาจักร ตั้งแต่ปลายปี 1939 ถึงต้นปี 1941 ในการทัพและสนธิสัญญาต่าง ๆ ประเทศเยอรมนีพิชิตหรือควบคุมยุโรปภาคพื้นทวีปได้ส่วนใหญ่ และตั้งพันธมิตรอักษะกับอิตาลีและญี่ปุ่น ภายใต้สนธิสัญญาโมโลตอฟ–ริบเบนทรอพเมื่อเดือนสิงหาคม 1939 เยอรมนีและสหภาพโซเวียตแบ่งแลผนวกดินแดนประเทศเพื่อนบ้านยุโรปของตน ได้แก่ โปแลนด์ ฟินแลนด์ โรมาเนียและรัฐบอลติก สงครามดำเนินต่อส่วนใหญ่ระหว่างชาติฝ่ายอักษะยุโรปและแนวร่วมสหราชอาณาจักรและเครือจักรภพบริติช โดยมีการทัพอย่างการทัพแอฟริกาเหนือและแอฟริกาตะวันออก ยุทธการที่บริเตนซึ่งเป็นการสู้รบทางอากาศ การทัพทิ้งระเบิดเดอะบลิตซ์ การทัพบอลข่าน ตลอดจนยุทธการที่แอตแลนติกที่ยืดเยื้อ ในเดือนมิถุนายน 1941 ชาติอักษะยุโรปบุกครองสหภาพโซเวียต เปิดฉากเขตสงครามภาคพื้นดินที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ ซึ่งทำให้กำลังทหารสำคัญของฝ่ายอักษะตกอยู่ในสงครามบั่นทอนกำลัง ในเดือนธันวาคม 1941 ญี่ปุ่นโจมตีสหรัฐและอาณานิคมยุโรปในมหาสมุทรแปซิฟิก และพิชิตมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกส่วนมากได้อย่างรวดเร็ว การรุกของฝ่ายอักษะยุติลงในปี 1942 หลังญี่ปุ่นปราชัยในยุทธนาวีที่มิดเวย์ใกล้กับฮาวายที่สำคัญ และเยอรมนีปราชัยในแอฟริกาเหนือและจากนั้นที่สตาลินกราดในสหภาพโซเวียต ในปี 1943 จากความปราชัยของเยอรมนีติด ๆ กันที่เคิสก์ในยุโรปตะวันออก การบุกครองอิตาลีของฝ่ายสัมพันธมิตรซึ่งนำให้อิตาลียอมจำนน จนถึงชัยของฝ่ายสัมพันธมิตรในมหาสมุทรแปซิฟิก ฝ่ายอักษะเสียการริเริ่มและต้องล่าถอยทางยุทธศาสตร์ในทุกแนวรบ ในปี 1944 ฝ่ายสัมพันธมิตรบุกครองฝรั่งเศสในการยึดครองของเยอรมนี ขณะเดียวกันกับที่สหภาพโซเวียตยึดดินแดนที่เสียไปทั้งหมดคืนและบุกครองเยอรมนีและพันธมิตร ระหว่างปี 1944 และ 1945 ญี่ปุ่นปราชัยสำคัญในทวีปเอเชียในภาคกลางและภาคใต้ของจีนและพม่า ขณะที่ฝ่ายสัมพันธมิตรก่อความเสียหายต่อกองทัพเรือญี่ปุ่นและยึดหมู่เกาะแปซิฟิกตะวันตกที่สำคัญ สงครามในยุโรปยุติลงหลังกองทัพแดงยึดกรุงเบอร์ลินได้ และการยอมจำนนอย่างไม่มีเงื่อนไขของเยอรมนีเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 1945 แม้จะถูกโดดเดี่ยวและตกอยู่ในสภาพเสียเปรียบอย่างยิ่ง ญี่ปุ่นยังปฏิเสธที่จะยอมจำนน กระทั่งมีการทิ้งระเบิดนิวเคลียร์สองลูกถล่มญี่ปุ่น และการบุกครองแมนจูเรีย จึงได้นำไปสู่การยอมจำนนอย่างเป็นทางการของญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 2 กันยายน 1945 สงครามยุติลงด้วยชัยชนะของฝ่ายสัมพันธมิตร ผลของสงครามได้เปลี่ยนแปลงการวางแนวทางการเมืองและโครงสร้างสังคมของโลก สหประชาชาติถูกสถาปนาขึ้น เพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศและเพื่อป้องกันความขัดแย้งในอนาคต สหรัฐอเมริกากับสหภาพโซเวียตก้าวเป็นอภิมหาอำนาจของโลกอันเป็นคู่ปรปักษ์กัน นำไปสู่ความขัดแย้งบนเวทีแห่งสงครามเย็น ซึ่งได้ดำเนินต่อมาอีก 46 ปีหลังสงคราม ขณะเดียวกัน การยอมรับหลักการการกำหนดการปกครองด้วยตนเอง เร่งให้เกิดการเคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้องเอกราชในทวีปเอเชียและทวีปแอฟริกา พร้อม ๆ กับที่หลายประเทศได้มุ่งหน้าฟื้นฟูเศรษฐกิจซึ่งอุตสาหกรรมได้รับความเสียหายระหว่างสงคราม และบูรณาการทางการเมืองได้เกิดขึ้นทั่วโลกในความพยายามที่จะรักษาเสถียรภาพความสัมพันธ์หลังสงคราม.

กองทัพที่ 6 (เวร์มัคท์)และสงครามโลกครั้งที่สอง · ปฏิบัติการพายุฤดูหนาวและสงครามโลกครั้งที่สอง · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง กองทัพที่ 6 (เวร์มัคท์)และปฏิบัติการพายุฤดูหนาว

กองทัพที่ 6 (เวร์มัคท์) มี 14 ความสัมพันธ์ขณะที่ ปฏิบัติการพายุฤดูหนาว มี 14 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 4, ดัชนี Jaccard คือ 14.29% = 4 / (14 + 14)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง กองทัพที่ 6 (เวร์มัคท์)และปฏิบัติการพายุฤดูหนาว หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่: