เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

กษัตริย์แห่งโรมและมาส์

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง กษัตริย์แห่งโรมและมาส์

กษัตริย์แห่งโรม vs. มาส์

แม่หมาป่าคาปิโตลีนา สัญลักษณ์อำนาจของกษัตริย์แห่งโรม กษัตริย์แห่งโรม (Rex Romae) เป็นตำแหน่งผู้ปกครองสูงสุดของราชอาณาจักรโรมัน มีอำนาจในฐานะหัวหน้าฝ่ายบริหาร ตุลาการ และนิติบัญญัติ ตามตำนานแล้ว กษัตริย์คนแรกคือโรมุลุส ซึ่งได้สร้างกรุงโรมขึ้นเมื่อ 753 ปีก่อนคริสต์ศักราชบนเขาแพละไทน์ กรุงโรมมีกษัตริย์ทั้งหมด 7 คนซึ่งปกครองกรุงโรมจนถึง 509 ปีก่อนคริสต์ศักราช กษัตริย์คนที่เจ็ดถูกโค่นจากอำนาจจากเหตุข่มขืนลูเครเชีย แม้จะมีชื่อตำแหน่งว่าเป็นกษัตริย์แต่ก็เป็นเพียงชื่อตำแหน่งในทางปกครองเท่านั้น กษัตริย์แต่ละคนมาจากการเลือกตั้งแบบปลอดการแข่งขัน และไม่จำเป็นต้องเกี่ยวข้องทางสายเลือดกับกษัตริย์คนก่อน ระบอบการปกครองเช่นนี้จึงไม่มีชนชั้นราชวงศ์ ตำแหน่งกษัตริย์เป็นตำแหน่งที่มีอำนาจเบ็ดเสร็จเด็ดขาดเหนือผู้คน แม้กรุงโรมจะมีวุฒิสภาแต่ก็เป็นเพียงสภาที่มีอำนาจน้อยนิดในทางปกครองเท่านั้น หน้าที่หลักของวุฒิสภาคือการสนองความปรารถนาของกษัตริย์ นอกจากโรมุลุสผู้เป็นกษัตริย์คนแรกแล้ว กษัตริย์คนต่อมามาจากการเลือกตั้งโดยประชาชนกรุงโรม วุฒิสภาจะแต่งตั้งวุฒิสมาชิกกลุ่มหนึ่งเป็นคณะอินแตร์เรกส์ (Interrex) ซึ่งจะเป็นคณะที่สรรหาและเสนอชื่อผู้ลงสมัครรับเลือกหนึ่งคนเป็นกษัตริย์ หากผู้สมัครคนนั้นแพ้การเลือกตั้ง คณะอินแตร์เรกส์ก็จะสรรหาผู้ลงสมัครรับเลือกคนใหม่ ผู้ที่ถูกเสนอชื่ออาจจะเป็นใครก็ได้โดยไม่เกี่ยงที่มา อาทิ ลูกิอุส ตาร์กวินิอุส ปริสกุส กษัตริย์คนที่ 5 มีต้นกำเนิดเป็นเพียงสามัญชนผู้อพยพมาจากอีทรัสคัน นครรัฐเพื่อนบ้าน อย่างไรก็ตาม ในตอนปลายยุคได้เกิดการแก่งแย่งอำนาจกันขึ้น ทำให้กษัตริย์องค์ที่ 6 และ 7 ไม่ได้มีที่มาจากการเลือกตั้งโดยประชาชน แต่มาจากการลงมติแต่งตั้งของวุฒิสภาเท่านั้น. มาส์ เทพมาส์ (Mars) เป็นเทพในตำนานเทพปกรณัมโรมันที่เทียบเท่ากับเทพแอรีสในตำนานเทพปกรณัมกรีก เทพมาร์สเป็นเทพแห่งสงคราม เป็นลูกของเทพีจูโนและเทพจูปิเตอร์ เป็นสามีของเทพีเบลโลนาและคนรักของเทพีวีนัส มาส์เป็นเทพทางการทหารที่เป็นที่สักการะของกองทหารโรมัน นักรบโรมันถือว่ามาส์เป็นเทพที่มีความสำคัญเป็นลำดับสองรองจากเทพจูปิเตอร์ เดือนที่ฉลองคือเดือนมีนาคมซึ่งเป็นชื่อเดือนที่ตั้งตามชื่อของเทพและเดือนตุลาคม คำว่า “Mars” ไม่มีรากจากคำในตระกูลภาษาโปรโต-อินโด-ยูโรเปียนซึ่งทำให้สันนิษฐานกันว่ามาจากเทพแห่งการเกษตรกรรมของอีทรัสคันชื่อเทพมาริส เดิมเทพมาส์เป็นเทพแห่งความอุดมสมบูรณ์และพืชพันธุ์และเป็นผู้พิทักษ์วัว ทุ่งการเกษตรกรรม พืชผัก และเกษตรกร ในคริสต์ศตวรรษที่ 2 ก่อนคริสต์ศักราช รัฐบุรุษโรมันคาโตผู้อาวุโส ได้ทำอะไรสักอย่างหนึ่งก็ไม่ทราบแน่ชัด หรือมีความเกี่ยวข้องอย่างใดอย่างหนึ่งที่ไม่ทราบแน่ชัดกับเทพมาส์ ต่อมาเทพมาส์ก็มาเกี่ยวข้องกับการศึกสงครามที่เกิดขึ้นบ่อยครั้งขึ้นเมื่อจักรวรรดิโรมันเริ่มขยายตัว เทพมาส์ไม่เหมือนเทพแอรีสของตำนานเทพปกรณัมกรีกเพราะเป็นเทพที่เป็นที่นับถือและมีความสำคัญพอ ๆ กับเทพจูปิเตอร์ และถือกันว่าเป็นเทพในนามของกรุงโรม และยังถือกันว่าเป็นพ่อของรอมิวลุส ฉะนั้นชาวโรมจึงสืบเชื้อสายมาจากเทพม.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง กษัตริย์แห่งโรมและมาส์

กษัตริย์แห่งโรมและมาส์ มี 2 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): อารยธรรมอีทรัสคันโรมุลุสและแรมุส

อารยธรรมอีทรัสคัน

อารยธรรมอีทรัสคัน (Etruscan civilization) เป็นคำใหม่ที่ใช้เรียกอารยธรรมและวิธีการใช้ชีวิตของชนในอิตาลีโบราณและคอร์ซิกาที่ชาวโรมันเรียกว่า “อีทรัสคิ” (Etrusci) หรือ “ทัสคิ” (Tusci) ภาษากรีกแอตติคสำหรับชนกลุ่มนี้คือ “Τυρρήνιοι” (Tyrrhēnioi) ที่แผลงมาเป็นภาษาลาติน “Tyrrhēni” (อีทรัสคัน), “Tyrrhēnia” (อีทรูเรีย (Etruria)) และ “Mare Tyrrhēnum” (ทะเลไทเรเนียน (Tyrrhenian Sea)) ชาวอีทรัสคันเองเรียกตนเองว่า “Rasenna” (ราเซนา) ที่แผลงมาเป็น “Rasna” หรือ “Raśna” (ราซนา) ชาวอีทรัสคันมีภาษาและวัฒนธรรมที่เป็นของตนเองแต่ไม่ทราบที่มาตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ก่อนการก่อตั้งกรุงโรมมาจนกระทั่งกลืนไปกับชาวโรมันโบราณในสาธารณรัฐโรมัน ในจุดที่รุ่งเรืองสูงสุดระหว่าสมัยการก่อตั้งกรุงโรมและราชอาณาจักรโรมันอีทรัสคันประกอบด้วยสามรัฐในสมาพันธรัฐ: ในอีทรูเรีย, ในบริเวณลุ่มแม่น้ำโป (Po Valley) กับทางตะวันออกของเทือกเขาแอลป์ และในบริเวณละติอุมและคัมปาเนีย กรุงโรมเองก็อยู่ในดินแดนที่เป็นของอีทรัสคัน และมีหลักฐานว่าในสมัยแรกของโรมเป็นสมัยที่ครอบคลุมโดยอีทรัสคันจนกระทั่งเวอิอิ (Veii) โจมตีกรุงโรมในปี 396 ก่อนคริสต์ศักราช อารยธรรมที่กล่าวว่าเป็นอารยธรรมอีทรัสคันอย่างแน่นอนวิวัฒนาการขึ้นในอิตาลีหลังจากราวปี 800 ก่อนคริสต์ศักราชในบริเวณที่เป็นอารยธรรมวิลลาโนวัน (Villanovan culture) ของยุคเหล็กก่อนหน้านั้น อารยธรรมอีทรัสคันมาเสื่อมโทรมลงราวศตวรรษที่ 7 ก่อนคริสต์ศักราชเมื่อมาได้รับอิทธิพลจากนักการค้าชาวกรีกและเพื่อนบ้านของกรีซกรีซใหญ่ (Magna Graecia), อารยธรรมกรีกทางตอนใต้ของอิตาลี หลังจากปี 500 ก่อนคริสต์ศักราชอำนาจทางการเมืองของอีทรัสคันก็สิ้นสุดลงCary, M.; Scullard, H. H., A History of Rome. Page 28.

กษัตริย์แห่งโรมและอารยธรรมอีทรัสคัน · มาส์และอารยธรรมอีทรัสคัน · ดูเพิ่มเติม »

โรมุลุสและแรมุส

รูปหล่อสำริดแสดงโรมุลุสและแรมุสซึ่งมีแม่หมาป่าเป็นผู้เลี้ยงดู แผ่นเงินรูปโรมุลุสและแรมุส สมัยศตวรรษที่ 3 ก่อนคริสต์ศักราช โรมุลุส (Romvlvs; 771 ปีก่อนคริสต์ศักราช - 717 ปีก่อนคริสต์ศักราช) และ แรมุส (Remvs; 771 ปีก่อนคริสต์ศักราช - 753 ปีก่อนคริสต์ศักราช) เป็นบุคคลในเรื่องปรัมปราเกี่ยวกับการก่อตั้งกรุงโรม ทั้งสองเป็นบุตรชายฝาแฝดของเรอา ซิลวิอา นักบวชหญิงพรหมจรรย์ กับมาร์ส เทพเจ้าแห่งสงคราม ตำนานการก่อตั้งกรุงโรมปรากฏอยู่ในบันทึกของพลูทาร์ก นักปราชญ์กรีก และลิวี นักประวัติศาสตร์ชาวโรมัน โดยตำนานกล่าวว่า โรมุลุสและแรมุสถูกทิ้งไว้ริมแม่น้ำไทเบอร์มาตั้งแต่แบเบาะ และเติบโตขึ้นจากการเลี้ยงดูของหมาป่า เมื่ออายุ 18 ปี โรมุลุสและแรมุสออกเดินทางจากหมู่บ้านเพื่อไปตั้งหมู่บ้านใหม่ หมู่บ้านของโรมุลุสชื่อ "โรม" หมู่บ้านของแรมุสชื่อ "รีมอเรีย" (ปัจจุบัน ไม่มีผู้ใดทราบตำแหน่งที่แน่นอนของหมู่บ้านนี้แล้ว) ต่อมาทั้งคู่เกิดขัดแย้งกันและได้ประลองกำลังกันเมื่อวันที่ 21 เมษายน 753 ปีก่อนคริสต์ศักราช และแรมุสเสียชีวิตในการประลองครั้งนั้น ต่อมาโรมุลุสได้เป็นกษัตริย์องค์แรกของโรม โรมุลุสปกครองกรุงโรมอยู่เป็นเวลา 38 ปี และหายสาบสูญไปหลังจากเกิดพายุอย่างกะทันหัน ตำนานกล่าวว่า โรมุลุสไปเกิดใหม่บนสวรรค์ในนามของ "กวิรีนุส" (Qvirinvs).

กษัตริย์แห่งโรมและโรมุลุสและแรมุส · มาส์และโรมุลุสและแรมุส · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง กษัตริย์แห่งโรมและมาส์

กษัตริย์แห่งโรม มี 7 ความสัมพันธ์ขณะที่ มาส์ มี 8 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 2, ดัชนี Jaccard คือ 13.33% = 2 / (7 + 8)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง กษัตริย์แห่งโรมและมาส์ หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่: