โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

กล้ามเนื้อหัวใจตายเหตุขาดเลือด

ดัชนี กล้ามเนื้อหัวใจตายเหตุขาดเลือด

กล้ามเนื้อหัวใจตายเหตุขาดเลือด (Myocardial infarction; MI) หรือรู้จักกันว่า อาการหัวใจล้ม (heart attack) เกิดเมื่อเลือดไหลสู่ส่วนใดส่วนหนึ่งของหัวใจลดลงหรือหยุดไหล ทำให้เกิดความเสียหายต่อกล้ามเนื้อหัวใจ อาการที่พบมากที่สุด คือ เจ็บอกหรือแน่นหน้าอกซึ่งอาจร้าวไปไหล่ แขน หลัง คอหรือกราม บ่อยครั้งเจ็บบริเวณกลางอกหรืออกด้านซ้ายและกินเวลาไม่ใช่เพียงไม่กี่นาที อาการแน่นหน้าอกบางทีอาจรู้สึกคล้ายอาการแสบร้อนกลางอก อาการอื่น ได้แก่ การหายใจลำบาก คลื่นไส้ รู้สึกหมดสติ เหงื่อแตก หรือรู้สึกล้า ผู้ป่วยประมาณ 30% มีอาการไม่ตรงแบบ หญิงมักมีอาการไม่ตรงแบบมากกว่าชาย ในผู้ป่วยอายุกว่า 75 ปีขึ้นไป ประมาณ 5% เคยมี MI โดยไม่มีหรือมีประวัติอาการเพียงเล็กน้อย MI ครั้งหนึ่งอาจทำให้เกิดภาวะหัวใจล้มเหลว ภาวะหัวใจเสียจังหวะ ช็อกเหตุหัวใจ หรือหัวใจหยุด MI ส่วนใหญ่เกิดจากโรคหลอดเลือดหัวใจ ปัจจัยเสี่ยง ได้แก่ ความดันโลหิตสูง สูบบุหรี่ เบาหวาน ไม่ออกกำลังกาย โรคอ้วน ภาวะคอเลสเทอรอลสูงในเลือด กินอาหารเลวและบริโภคแอลกอฮอล์มากเกินเป็นต้น กลไกพื้นเดิมของ MI ปกติเกิดจากการแตกของแผ่นโรคท่อเลือดแดงและหลอดเลือดแดงแข็ง (atherosclerotic plaque) ทำให้เกิดการอุดกั้นสมบูรณ์หลอดเลือดหัวใจ MI ที่เกิดจากการบีบเกร็งของหลอดเลือดหัวใจซึ่งอาจเกิดได้จากโคเคน ความเครียดทางอารมณ์อย่างสำคัญ และความเย็นจัด เป็นต้น นั้นพบน้อย มีการทดสอบจำนวนหนึ่งเป็นประโยชน์ช่วยวินิจฉัยรวมทั้งภาพคลื่นไฟฟ้าหัวใจ การทดสอบเลือด และการบันทึกภาพรังสีหลอดเลือดหัวใจ ECG ซึ่งเป็นบันทึกกัมมันตภาพไฟฟ้าของหัวใจ อาจยืนยัน MI ชนิด ST ยก (STEMI) หากมีการยกของ ST การทดสอบที่ใช้ทั่วไปมีทั้งโทรโปนินและครีเอตีนไคเนสเอ็มบีที่ใช้น้อยกว่า การรักษา MI นั้นสำคัญที่เวลา แอสไพรินเป็นการรักษาทันทีี่เหมาะสมสำหรับผู้ที่สงสัยเป็น MI อาจใช้ไนโตรกลีเซอรีนหรือโอปิออยด์เพื่อช่วยระงับอาการเจ็บอก ทว่า ยาทั้งสองไม่ได้เพิ่มผลลัพธ์โดยรวมของการรักษา การให้ออกซิเจนเสริมอาจให้ในผู้ป่วยระดับออกซิเจนต่ำหรือหายใจกระชั้น ในผู้ป่วย STEMI การรักษาเป็นไปเพื่อพยายามฟื้นฟูการไหลเวียนโลหิตสู่หัวใจ และอาจรวมถึงการถ่างขยายหลอดเลือดหัวใจ (percutaneous coronary intervention, PCI) ซึ่งมีการผลักหลอดเลือดแดงให้เปิดออกและอาจถ่ายขยาย หรือการสลายลิ่มเลือด ซึ่งมีการใช้ยาเพื่อขจัดบริเวณที่เกิดการอุดกั้น ผู้มีกล้ามเนื้อหัวใจตายเหตุขาดเลือดแบบไม่มี ST ยก (NSTEMI) มักรักษาด้วยยาละลายลิ่มเลือดเฮปาริน และการใช้ PCI อีกครั้งในผู้ป่วยความเสี่ยงสูง ในผู้ป่วยที่มีการอุดกั้นของหลอดเลือดหัวใจหลายเส้นและโรคเบาหวาน อาจแนะนำการผ่าตัดทางเลี่ยงหลอดเลือดหัวใจแทนศัลยกรรมตกแต่งหลอดเลือด หลังเป็น MI ตรงแบบแนะนำการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิต ร่วมกับการรักษาระยะยาวด้วยแอสไพริน เบตาบล็อกเกอร์ และสแตติน เกิดกล้ามเนื้อหัวใจตายเหตุขาดเลือดทั่วโลกประมาณ 15.9 ล้านครั้งในปี 2558 กว่า 3 ล้านคนมี MI ชนิด ST ยก และกว่า 4 ล้านคนเป็น NSTEMI สำหรับ STEMI เกิดในชายมากกว่าหญิงสองเท่า มีผู้ป่วย MI ประมาณหนึ่งล้านคนทุกปีในสหรัฐ ในประเทศพัฒนาแล้ว โอกาสเสียชีวิตในผู้ป่วย STEMI อยู่ี่ประมาณ 10% อัตรา MI สำหรับอายุต่าง ๆ ลดลงทั่วโลกระหว่างปี 2533 ถึง 2553 ในปี 2554 MI เป็นภาวะที่มีราคาแพงที่สุดห้าอันดับแรกระหว่างการให้เข้าโรงพยาบาลผู้ป่วยในในสหรัฐ โดยมีมูลค่าประมาณ 11,500 ล้านดอลลาร์สหรัฐสำหรับการรักษาในโรงพยาบาล 612,000 ครั้ง.

41 ความสัมพันธ์: กล้ามเนื้อหัวใจกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบการบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจการสูบบุหรี่การถ่างขยายหลอดเลือดหัวใจการทบทวนวรรณกรรมการตรวจเลือดภาวะหัวใจวายยาระงับปวดรังสีเอกซ์สแตตินหัวใจหยุดเต้นหัวใจเต้นผิดจังหวะหทัยวิทยาออกซิเจนอาการหายใจลำบากอาเจียนองค์การอนามัยโลกคลื่นไส้ความล้าความวิตกกังวลความดันโลหิตสูงแอลกอฮอล์แอสไพรินใจสั่นโรคระบบหัวใจหลอดเลือดโรคหลอดเลือดแดงแข็งโรคหลอดเลือดเลี้ยงหัวใจโรคอ้วนโรคไตเรื้อรังโอปิออยด์โคเคนไบโอมาร์คเกอร์ไตรกลีเซอไรด์ไตวายไนโตรกลีเซอรีนเบาหวานเบตาบล็อกเกอร์เหงื่อเฮพารินเจ็บหน้าอก

กล้ามเนื้อหัวใจ

กล้ามเนื้อหัวใจ (Cardiac muscle) เป็นกล้ามเนื้อลายชนิดหนึ่งที่อยู่นอกอำนาจจิตใจ (involuntary) พบที่หัวใจ ทำหน้าที่ในการสูบฉีดโลหิตไปยังระบบไหลเวียนโลหิตโดยการหดตัวของกล้ามเนื้อ.

ใหม่!!: กล้ามเนื้อหัวใจตายเหตุขาดเลือดและกล้ามเนื้อหัวใจ · ดูเพิ่มเติม »

กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ

กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ (myocarditis, inflammatory cardiomyopathy) คือภาวะที่มีการอักเสบของกล้ามเนื้อหัวใจ ส่วนใหญ่เกิดจากการติดเชื้อไวรัส ที่พบบ่อยเช่น parvovirus B19 นอกจากนี้ยังอาจเกิดจากเชื้ออื่นที่ไม่ใช่ไวรัสก็ได้แต่พบน้อยกว่า เชื้ออื่นเหล่านี้เช่น Borrelia burgdorferi (โรคไลม์) หรือ Trypanosoma cruzi หรือเกิดจากการแพ้ยา เป็นต้น หมวดหมู่:การอักเสบ หมวดหมู่:โรคหัวใจ หมวดหมู่:โรคหัวใจรูมาติกเรื้อรัง.

ใหม่!!: กล้ามเนื้อหัวใจตายเหตุขาดเลือดและกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ · ดูเพิ่มเติม »

การบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจ

การติดเครื่องตรวจคลื่นไฟฟ้าห้วใจแบบ 12 ขั้วไฟฟ้า การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ เป็นการตรวจทางการแพทย์อย่างหนึ่งเพื่อดูกิจกรรมทางไฟฟ้าของหัวใจตลอดช่วงระยะเวลาหนึ่งด้วยการรับสัญญาณไฟฟ้าผ่านขั้วไฟฟ้าที่ติดบนผิวหนังบริเวณหน้าอก และบันทึกหรือแสดงบนจอภาพด้วยอุปกรณ์ที่อยู่ภายนอกร่างก.

ใหม่!!: กล้ามเนื้อหัวใจตายเหตุขาดเลือดและการบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจ · ดูเพิ่มเติม »

การสูบบุหรี่

การสูบบุหรี่ เป็นการกระทำเพื่อเผาไหม้สสารชนิดหนึ่งจนเกิดเป็นควันออกมาผ่านการหายใจ เพื่อให้ได้รสชาติและดูดซึมเข้ากระแสเลือด โดยปกติแล้วสารดังกล่าวคือใบไม้แห้งจำพวกยาสูบที่ม้วนไว้ในกระดาษจนเกิดเป็นวัตถุทรงกระบอกขนาดเล็ก เรียกว่า "บุหรี่" การสูบบุหรี่ถือเป็นช่องทางการรับยาช่องทางหนึ่งเพื่อความผ่อนคลาย เนื่องจากการเผาไหม้ใบไม้แห้งทำให้ใบไม้ระเหยและนำพาตัวยาสำคัญเข้าสู่ปอด โดยสารเหล่านี้จะซึมเข้ากระแสเลือดอย่างรวดเร็วและเข้าถึงเนื้อเยื่อร่างกาย ในกรณีการสูบบุหรี่ สารเหล่านี้จะบรรจุในส่วนผสมของอนุภาคละอองลอยและแก๊ส และมีสารจำพวกแอลคาลอยด์อย่างนิโคตินด้วย การระเหยนี้ทำให้เกิดละอองลอยและแก๊สร้อนก่อตัวขึ้นมา ทำให้การหายใจเข้าลึก ๆ จะเป็นการนำพาสารต่าง ๆ เข้าไปในปอด และเกิดการดูดซึมตัวยาสำคัญเข้ากระแสเลือด ในบางวัฒนธรรม การสูบบุหรี่เป็นหนึ่งในพิธีการ โดยผู้เข้าร่วมพิธีจะสูบบุหรี่เพื่อทำให้เกิดภาวะคล้ายภวังค์ ซึ่งเชื่อกันว่าจะนำไปสู่ "การรู้แจ้ง" การสูบบุหรี่มีผลกระทบที่ไม่ดีต่อสุขภาพ เพราะการสูดควันเข้าไปทำให้เกิดความเสี่ยงในกระบวนการทางสรีรวิทยา เช่น การหายใจ โรคที่เกิดจากการสูบยาสูบคร่านักสูบระยะยาวประมาณครึ่งหนึ่งเมื่อเทียบกับอัตราการตายเฉลี่ยของผู้ที่ไม่สูบ การสูบบุหรี่เป็นสาเหตุการเสียชีวิตมากกว่า 5 ล้านครั้งต่อปี นับตั้งแต่ปี 2533-2558.

ใหม่!!: กล้ามเนื้อหัวใจตายเหตุขาดเลือดและการสูบบุหรี่ · ดูเพิ่มเติม »

การถ่างขยายหลอดเลือดหัวใจ

การถ่างขยายหลอดเลือดหัวใจ (percutaneous coronary intervention, ย่อ: PCI) เป็นหัตถการที่มิใช่การผ่าตัดใช้เพื่อรักษาการตีบแคบของหลอดเลือดหัวใจซึ่งพบในโรคหลอดเลือดหัวใจ เริ่มจากการเข้าถึงกระแสเลือดผ่านหลอดเลือดแดงต้นขาหรือข้อมือ แล้วใช้หลอดสวนหลอดเลือดหัวใจเพื่อดูหลอดเลือดทางภาพรังสีเอกซ์ หลังจากนั้น นักหทัยวิทยาปฏิบัติรักษาสามารถศัลยกรรมตกแต่งหลอดเลือดหัวใจ (coronary angioplasty) โดยใช้หลอดสวนบอลลูนซึ่งมีการสอดบอลลูนปล่อยลมเข้าไปในหลอดเลือดแดงที่อุดตันแล้วสูบลมเข้าเพื่อบรรเทาการตีบแคบ สามารถอุปกรณ์บางอย่างเช่น ดลวด (stent) เพื่อถ่างหลอดเลือดให้เปิด นอกจากนี้ หัตถการอื่น ๆ อีกจำนวนหนึ่งก็สามารถทำได้เช่นกัน PCI ปฐมภูมิเป็นการใช้ PCI อย่างรีบด่วนมากในผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจตายเหตุขาดเลือด โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีหลักฐานหัวใจเสียหายรุนแรงบนภาพคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (MI ชนิด ST ยก) นอกจากนี้ PCI ยังใช้ในผู้ป่วยหลังเกิดกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดแบบอื่นหรืออาการปวดเค้นไม่เสถียร ซ่ึ่งมีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดอาการเพิ่ม สุดท้าย PCI อาจใช้ในผู้ป่วยอาการปวดเค้นเสถียรโดยเฉพาะอย่างยิ่งหากใช้ยาควบคุมอาการได้ยาก PCI เป็นทางเลือดของการปลูกถ่ายทางเลี่ยงหลอดเลือดหัวใจ (coronary artery bypass grafting) ซึ่งเลี่ยงหลอดเลือดที่ตีบตันโดยใช้หลอดเลือดปลูกถ่ายจากตำแหน่งอื่นในร่างกาย ในบางกรณี (เช่น มีการอุดกั้นมาก หรือมีโรคพื้นเดิมเบาหวาน) CABG อาจให้ผลดีกว่า ศัลยกรรมตกแต่งหลอดเลือดหัวใจริเริ่มครั้งแรกในปี 1977 โดยอันเดรอัส กรูเอนท์ซิกในประเทศสวิสเซอร์แลนด์ หมวดหมู่:หัตถการเกี่ยวกับหัวใจ.

ใหม่!!: กล้ามเนื้อหัวใจตายเหตุขาดเลือดและการถ่างขยายหลอดเลือดหัวใจ · ดูเพิ่มเติม »

การทบทวนวรรณกรรม

การทบทวนวรรณกรรม (literature review) เป็นเนื้อหาหลักส่วนหนึ่งในการเขียนรายงานการวิจัย โดยเน้นอธิบายเกี่ยวกับงานวิจัยหรือความรู้ในหัวข้อเดียวกันหรือใกล้เคียงในอดีต โดยการทบทวนวรรณกรรมนั้นมีจุดหมายในการรวบรวมข้อมูลปัจจุบันของผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง การทบทวนวรรณกรรมมักจะพบได้ในงานเขียนด้านวิชาการ เช่นในวิทยานิพนธ์ ดุษฎีนิพนธ์ หรือผลงานในวารสารวิชาการ การทบทวนวรรณกรรมมักจะถูกลำดับเป็นส่วนที่สองของงานเขียนต่อจากบทนำ และมักจะอยู่ก่อนหน้าเป้าหมายงานวิจัย และขั้นตอนการวิจั.

ใหม่!!: กล้ามเนื้อหัวใจตายเหตุขาดเลือดและการทบทวนวรรณกรรม · ดูเพิ่มเติม »

การตรวจเลือด

การเจาะหลอดเลือดดำ การตรวจเลือด คือ การตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการทางการแพทย์จากเลือดซึ่งปกติแล้วได้จากการเก็บสิ่งส่งตรวจโดยการเจาะเก็บเลือดจากหลอดเลือดดำบริเวณแขนหรือปลายนิ้ว การตรวจเลือดใช้สำหรับตรวจสอบสถาวะทางสรีรวิทยาและชีวเคมี เช่น โรค แร่ธาตุ การใช้ยาอย่างมีประสิทธิภาพ และการทำงานของอวัยวะต่างๆ นอกจากนี้ ยังสามารถใช้ในการทดสอบสารเสพติด ถึงแม้เราจะใช้คำว่า "การตรวจเลือด" แต่การตรวจเลือดโดยทั่วไป (ยกเว้นทางโลหิตวิทยา) เราจะตรวจจากพลาสมาหรือซีรัมแทนของเซลล์เม็ดเลือ.

ใหม่!!: กล้ามเนื้อหัวใจตายเหตุขาดเลือดและการตรวจเลือด · ดูเพิ่มเติม »

ภาวะหัวใจวาย

วะหัวใจวาย หรือภาวะหัวใจล้มเหลว (Heart Failure (HF)) มักใช้หมายถึงภาวะหัวใจวายเรื้อรัง (chronic heart failure (CHF)) เกิดเมื่อหัวใจไม่สามารถสูบฉีดเลือดเพียงพอเพื่อคงการไหลของเลือดเพื่อสนองความต้องการของร่างกาย คำว่า โรคหัวใจเลือดคั่ง (Congestive heart failure (CHF) หรือ congestive cardiac failure (CCF)) มักใช้แทนคำว่า หัวใจวายเรื้อรัง ได้ อาการและอาการแสดงโดยทั่วไปมีหายใจกระชั้น เหนี่อยเกิน และขาบวม การหายใจกระชั้นมักเลวลงเมื่อออกกำลังกาย เมื่อนอนราบและเมื่อกลางคืนขณะหลับ มักมีข้อจำกัดปริมาณการออกกำลังกายที่ผู้ป่วยทำได้ แม้รักษาอย่างดีแล้ว สาเหตุทั่วไปของภาวะหัวใจวาย ได้แก่ โรคหลอดเลือดหัวใจซึ่งรวมกล้ามเนื้อหัวใจตายเหตุขาดเลือด (อาการหัวใจล้ม) ก่อนหน้านี้, ความดันโลหิตสูง, หัวใจห้องบนเต้นแผ่วระรัว (atrial fibrillation), โรคลิ้นหัวใจ (valvular heart disease), และโรคกล้ามเนื้อหัวใจ (cardiomyopathy) สาเหตุเหล่านี้ทำให้เกิดอาการหัวใจล้มโดยเปลี่ยนโครงสร้างหรือการทำหน้าที่ของหัวใจ มีอาการหัวใจล้มสองประเภทหลัก คือ อาการหัวใจล้มจากการทำหน้าที่ผิดปรกติของหัวใจห้องล่างซ้ายและอาการหัวใจล้มโดยมีเศษส่วนการสูบฉีดปกติแล้วแต่ว่าหัวใจห้องล่างซ้ายมีความสามารถหดตัวหรือไม่ หรือความสามารถคลายตัวของหัวใจ ปกติจัดลำดับความรุนแรงของโรคจากความสามารถการออกกำลังกายที่ลดลง ภาวะหัวใจวายมิใช่อย่างเดียวกับกล้ามเนื้อหัวใจตายเหตุขาดเลือดหรือหัวใจหยุด (ซึ่งเลือดหยุดไหลทั้งหมด) ฦโรคอื่นซึ่งอาจมีอาการคล้ายกับภาวะหัวใจวาย เช่น โรคอ้วน ปัญหาไต ปัญหาตับ โลหิตจาง และโรคไทรอยด์ เป็นต้น การวินิจฉัยภาวะนี้อาศัยประวัติของอาการและการตรวจร่างกาย ยืนยันด้วยการบันทึกภาพหัวใจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง (echocardiography) การตรวจเลือด การบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจและการฉายรังสีทรวงอกอาจมีประโยชน์เพื่อตัดสินสาเหตุเบื้องหลัง การรักษาขึ้นอยู่กับความรุนแรงและสาเหตุของโร.

ใหม่!!: กล้ามเนื้อหัวใจตายเหตุขาดเลือดและภาวะหัวใจวาย · ดูเพิ่มเติม »

ยาระงับปวด

ระงับปวด ยาบรรเทาปวด หรือ ยาแก้ปวด (analgesic หรือ painkiller) เป็นกลุ่มของยาที่ใช้บรรเทาความเจ็บปวด มีผลหลายทางทั้งระบบประสาทส่วนปลาย (peripheral nervous system) และระบบประสาทส่วนกลาง (central nervous system) ประกอบด้ว.

ใหม่!!: กล้ามเนื้อหัวใจตายเหตุขาดเลือดและยาระงับปวด · ดูเพิ่มเติม »

รังสีเอกซ์

รังสีเอกซ์มือของอัลแบร์ต ฟอน คืลลิเคอร์ ถ่ายโดยวิลเฮล์ม คอนราด เรินต์เกน รังสีเอกซ์ (X-ray หรือ Röntgen ray) เป็นรังสีแม่เหล็กไฟฟ้า ที่มีความยาวคลื่นในช่วง 10 ถึง 0.01 นาโนเมตร ตรงกับความถี่ในช่วง 30 ถึง 30,000 เพตะเฮิรตซ์ (1015 เฮิรตซ์) ในเบื้องต้นมีการใช้รังสีเอกซ์สำหรับถ่ายภาพเพื่อการวินิจฉัยโรค และงานผลึกศาสตร์ (crystallography) รังสีเอกซ์เป็นการแผ่รังสีแบบแตกตัวเป็นไอออน และมีอันตรายต่อมนุษย์ รังสีเอกซ์ค้นพบโดยวิลเฮล์ม คอนราด เรินต์เกน เมื่อ ค.ศ. 1895 ทฤษฎีอิเล็กตรอนสมัยปัจจุบัน อธิบายถึงการเกิดรังสีเอกซ์ว่า ธาตุประกอบด้วยอะตอมจำนวนมากในอะตอมแต่ละตัวมีนิวเคลียสเป็นใจกลาง และมีอิเล็กตรอนวิ่งวนเป็นชั้น ๆ ธาตุเบาจะมีอิเล็กตรอนวิ่งวนอยู่น้อยชั้น และธาตุหนักจะมีอิเล็กตรอนวิ่งวนอยู่หลายชั้น เมื่ออะตอมธาตุหนักถูกยิงด้วยกระแสอิเล็กตรอน จะทำให้อิเล็กตรอนที่อยู่ชั้นในถูกชนกระเด็นออกมาวิ่งวนอยู่รอบนอกซึ่งมีภาวะไม่เสถียรและจะหลุดตกไปวิ่งวนอยู่ชั้นในอีก พร้อมกับปล่อยพลังงานออกในรูปรังสี ถ้าอิเล็กตรอนที่ยิงเข้าไปมีพลังงานมาก ก็จะเข้าไปชนอิเล็กตรอนในชั้นลึก ๆ ทำให้ได้รังสีที่มีพลังงานมาก เรียกว่า ฮาร์ดเอกซเรย์ (hard x-ray) ถ้าอิเล็กตรอนที่ใช้ยิงมีพลังงานน้อยเข้าไปได้ไม่ลึกนัก จะให้รังสีที่เรียกว่า ซอฟต์เอกซเรย์ (soft x-ray) กระบวนการเกิดหรือการผลิตรังสีเอกซ์ทั้งโดยฝีมือมนุษย์และในธรรมชาติ มีอยู่ 2 วิธีใหญ่ ๆ คือ.

ใหม่!!: กล้ามเนื้อหัวใจตายเหตุขาดเลือดและรังสีเอกซ์ · ดูเพิ่มเติม »

สแตติน

pmid.

ใหม่!!: กล้ามเนื้อหัวใจตายเหตุขาดเลือดและสแตติน · ดูเพิ่มเติม »

หัวใจหยุดเต้น

หัวใจหยุดเต้น (cardiac arrest) คือภาวะซึ่งหัวใจไม่มีการบีบตัว ทำงานผิดปกติ หรือทำงานช้าลง ทำให้ไม่มีการไหลเวียนเลือด ทำให้ไม่มีการลำเลียงออกซิเจนไปเลี้ยงร่างกายส่วนต่างๆ เกิดอาการของการทำงานผิดปกติที่อวัยวะต่างๆ ที่เห็นได้อย่างหนึ่งคือการทำงานของสมอง ซึ่งเมื่อไม่มีเลือดเลี้ยงทำให้หมดสติ หากหัวใจหยุดเต้นนานกว่า 5 นาที มีโอกาสเกิดความเสียหายต่อเนื้อสมองได้มาก การช่วยเหลือในทันทีจึงเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อช่วยให้ผู้ป่วยรอดชีวิตและมีการฟื้นตัวของสมองที่ดี หัวใจหยุดเต้นเป็นภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์ บางครั้งหากได้รับการรักษาทันท่วงทีอาจทำให้หัวใจกลับมาเต้นใหม่ได้ หากมีหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลันโดยไม่คาดฝันจนเสียชีวิตใช้ศัพท์ว่า sudden cardiac death วิธีสำคัญในการรักษาภาวะหัวใจหยุดเต้นคือการช่วยกู้ชีพ (CPR) เพื่อสร้างการไหลเวียนของเลือดให้มีเลือดไปเลี้ยงร่างกาย พิจารณาสัญญาณไฟฟ้าหัวใจว่าเป็นชนิดที่สามารถช็อกไฟฟ้าเพื่อช่วยเหลือได้หรือไม่และให้การรักษาตามความเหมาะสม.

ใหม่!!: กล้ามเนื้อหัวใจตายเหตุขาดเลือดและหัวใจหยุดเต้น · ดูเพิ่มเติม »

หัวใจเต้นผิดจังหวะ

หัวใจเต้นผิดจังหวะคือภาวะใดๆ ที่เกิดความผิดปกติขึ้นในการนำไฟฟ้าของหัวใจ หัวใจอาจเต้นเร็วหรือช้ากว่าปกติ และมีจังหวะสม่ำเสมอหรือไม่สม่ำเสมอก็ได้ ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะบางชนิดเป็นภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์ซึ่งอาจเป็นอันตรายถึงชีวิต ทำให้เกิดภาวะหัวใจหยุดและเสียชีวิตได้ทันที ชนิดอื่นซึ่งไม่เป็นอันตรายถึงชีวิตนั้นอาจทำให้เกิดความรู้สึกใจสั่น หรือไม่สบายตัวเล็กน้อย ความรู้สึกใจสั่นนี้อาจเกิดจากภาวะหัวใจเต้นแผ่วระรัวไม่ว่าจะเป็นห้องบนหรือห้องล่าง หรือการนำสัญญาณไฟฟ้าหัวใจผิดปกติ หรือภาวะอื่นๆ และบางชนิดอาจไม่มีอาการใดๆ เลย แต่เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนซึ่งอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตหรือทำให้เกิดความพิการได้ เช่น โรคหลอดเลือดสมอง หรือเกิดลิ่มเลือดอุดตันหลอดเลือด ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะบางชนิดอาจผิดปกติเพียงเล็กน้อยและมีผลเสียน้อยจนถือเป็นความแตกต่างระหว่างบุคคลที่ไม่ถือเป็นโรค หมวดหมู่:หัวใจเต้นผิดจังหวะ หมวดหมู่:ภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์.

ใหม่!!: กล้ามเนื้อหัวใจตายเหตุขาดเลือดและหัวใจเต้นผิดจังหวะ · ดูเพิ่มเติม »

หทัยวิทยา

หทัยวิทยา (cardiology) คือ การแพทย์แขนงหนึ่งที่ศึกษาเกี่ยวกับความผิดปกติของหัวใจ ซึ่งจะมีทั้งการวินิจฉัยและรักษาโรคเกี่ยวกับหัวใจ เช่น โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด (congenital heart defect: CHD) โรคหลอดเลือดหัวใจ ภาวะหัวใจวาย โรคลิ้นหัวใจ (valvular heart disease) และ ระบบไฟฟ้าของหัวใจ (electrophysiology) แพทย์เฉพาะทางที่ศึกษาด้านนี้เรียกว่า นักหทัยวิทยา หรือ หทัยแพทย์ (cardiologist) ซึ่งต้องสำเร็จการศึกษาแพทยศาสตรบัณฑิต แพทย์ประจำบ้านด้านอายุรศาสตร์ และแพทย์ประจำบ้านต่อยอดด้านโรคหัวใ.

ใหม่!!: กล้ามเนื้อหัวใจตายเหตุขาดเลือดและหทัยวิทยา · ดูเพิ่มเติม »

ออกซิเจน

ออกซิเจน (Oxygen) เป็นธาตุในตารางธาตุที่มีสัญลักษณ์ O และเลขอะตอม 8 ธาตุนี้พบมาก ทั้งบนโลกและทั่วทั้งจักรวาล โมเลกุลออกซิเจน (O2 หรือที่มักเรียกว่า free oxygen) บนโลกมีความไม่เสถียรทางเทอร์โมไดนามิกส์จึงเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชันกับธาตุอื่น ๆ ได้ง่าย ออกซิเจนเกิดขึ้นครั้งแรกในโลกจากการสังเคราะห์ด้วยแสงของแบคทีเรียและพื.

ใหม่!!: กล้ามเนื้อหัวใจตายเหตุขาดเลือดและออกซิเจน · ดูเพิ่มเติม »

อาการหายใจลำบาก

อาการหายใจลำบากหรืออาการหอบ (dyspnea, shortness of breath) เป็นอาการที่ผู้ป่วยรู้สึกว่าหายใจได้ไม่เพียงพอต่อความต้องการ นิยามโดยสมาคมโรคทรวงอกแห่งประเทศสหรัฐอเมริกากล่าวถึงอาการหายใจลำบากไว้ว่าหมายถึง "ประสบการณ์โดยอัตวิสัยที่คนผู้หนึ่งหายใจไม่สะดวก เป็นความรู้สึกที่วัดไม่ได้ ซึ่งมีความรุนแรงหลายระดับ" และแนะนำให้ผู้ที่ตรวจรักษาผู้ป่วยที่มีอาการหายใจลำบาก ประเมินความรุนแรงของความรู้สึกที่ว่านี้ ระดับของความลำบากที่ปรากฎ และผลกระทบที่มีต่อกิจกรรมในการใช้ชีวิตประจำวัน ความรู้สึกหายใจลำบากนี้มีหลายแบบ (เชิงคุณภาพ) เช่น รู้สึกว่าต้องใช้แรงมากในการหายใจ รู้สึกแน่นอยู่ในอก หรือรู้สึกหิวอากาศ หายใจไม่เพียงพอต่อความต้องการ เป็นต้น อาการหายใจลำบากเป็นอาการปกติของการออกกำลังกายอย่างหนัก แต่หากเกิดขึ้นในขณะที่ไม่ได้ออกกำลังกาย หรือออกแรงเพียงเล็กน้อย จะถือเป็นความผิดปกติ โรคที่เป็นสาเหตุมีอยู่หลายอย่าง เช่น โรคหืด ปอดอักเสบ หัวใจขาดเลือด โรคเนื้อปอด หัวใจวาย ปอดอุดกั้นเรื้อรัง หรือโรคทางจิตใจ เช่น โรคแพนิก โรควิตกกังวล เป็นต้น การรักษาอาการหายใจลำบากมีหลายวิธี ขึ้นอยู่กับโรคที่เป็นสาเหต.

ใหม่!!: กล้ามเนื้อหัวใจตายเหตุขาดเลือดและอาการหายใจลำบาก · ดูเพิ่มเติม »

อาเจียน

อาเจียน เป็นอาการขับออกซึ่งสิ่งต่างๆ ที่อยู่ในท้องอย่างเฉียบพลันออกทางปาก และบางครั้งทางจมูกด้วย การอาเจียนที่ไม่พึงประสงค์เกิดมาจากหลายสาเหตุตั้งแต่เยื่อบุกระเพาะอักเสบ หรือ ได้รับสารพิษ จนไปถึงเนื้องอกในสมอง เมารถเมาเรือ หรือแม้กระทั่งมาจากความดันในกะโหลกสูง อาการที่อยากจะอาเจียนเรียกว่าอาการคลื่นไส้ อาการนี้มักจะเกิดก่อนการอาเจียน แต่ไม่ได้แปลว่ามีอาการนี้แล้วจะต้องอาเจียนเสมอไป ยาแก้อาเจียนอาจจะต้องใช้ระงับการอาเจียนในรายที่มีอาการหนักมาก.

ใหม่!!: กล้ามเนื้อหัวใจตายเหตุขาดเลือดและอาเจียน · ดูเพิ่มเติม »

องค์การอนามัยโลก

องค์การอนามัยโลก (World Health Organization ตัวย่อ WHO) เป็นทบวงการชำนัญพิเศษของสหประชาชาติ ซึ่งรับผิดชอบการประสานงานด้านสาธารณสุขระหว่างประเทศ ก่อตั้งเมื่อ 7 เมษายน..

ใหม่!!: กล้ามเนื้อหัวใจตายเหตุขาดเลือดและองค์การอนามัยโลก · ดูเพิ่มเติม »

คลื่นไส้

อาการคลื่นไส้คือความรู้สึกไม่สบายไม่สงบในกระเพาะอาหารที่ทำให้เกิดความต้องการที่จะอาเจียนโดยอยู่นอกเหนือการควบคุม อาการนี้อาจเกิดขึ้นก่อนการอาเจียน อย่างไรก็ดีคนที่มีอาการคลื่นไส้อาจไม่อาเจียนก็ได้ หากเป็นต่อเนื่องยาวนานสามารถทำให้เกิดปัญหาได้.

ใหม่!!: กล้ามเนื้อหัวใจตายเหตุขาดเลือดและคลื่นไส้ · ดูเพิ่มเติม »

ความล้า

วามล้า หรือ ความอ่อนล้า เป็นความรู้สึกเหนื่อยเชิงจิตวิสัย ซึ่งแตกต่างจากความอ่อนแอ (weakness) และมีการตั้งต้นทีละน้อย ความล้าสามารถบรรเทาได้โดยได้รับการพักผ่อนชั่วระยะเวลาหนึ่ง ซึ่งต่างจากความอ่อนแอ ความล้าอาจมีสาเหตุทางร่างกายหรือจิตใจก็ได้ ความล้าทางกายภาพเป็นสภาพที่กล้ามเนื้อไม่สามารถธำรงสมรรถภาพทางกายภาพเหมาะสมได้ชั่วคราว และกิจกรรมทางกายอย่างหักโหมยิ่งทำให้ความล้ารุนแรงขึ้น ความล้าทางจิตใจเป็นการลดสมรรถภาพการรู้สูงสุดไปชั่วคราว อันเป็นผลมาจากกิจกรรมการคิดยาวนาน ความล้าสามารถแสดงออกมาเป็นอาการง่วงซึม ภาวะง่วงงุน หรือความล้ามุ่งประเด็นตั้งใ.

ใหม่!!: กล้ามเนื้อหัวใจตายเหตุขาดเลือดและความล้า · ดูเพิ่มเติม »

ความวิตกกังวล

วิตกกังวล (Anxiety) เป็นอารมณ์อันไม่พึงประสงค์ที่เกิดจากความยุ่งเหยิงภายในจิตใจ มักเกิดขึ้นพร้อมกับพฤติกรรมทางประสาท อาทิ ความแปรปรวนทางอารมณ์, ความวิตกกังวลทางกาย และภาวะคิดรำพึงความวิตกกังวลเป็นรู้สึกเชิงลบที่เป็นนามธรรม เกิดขึ้นได้เมื่อครุ่นคิดคาดการณ์ถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคต อาทิ คิดเรื่องที่ตนเองจะตาย และการคิดคำนึงถึงเรื่องต่างๆ ความวิตกกังวลเป็นอารมณ์คนละอย่างกับความกลัวซึ่งความกลัวนั้นเป็นการตอบสนองต่อเหตุการณ์ใกล้ตัวและเป็นรูปธรรมมากกว่า ความวิตกกังวลเป็นความรู้สึกกระวนกระวายและกังวลใจ ผู้มีอาการนี้มักจะตอบสนองต่อภาวะถูกคุกคามต่างๆอย่างเกินจริง ความวิตกกังวลนอกจากจะส่งผลทางด้านจิตประสาทแล้ว ยังอาจก่อให้เกิดความตึงเครียดในกล้ามเนื้อและความอิดโรยของร่างกายได้อีกด้วย ความวิตกกังวลหาได้เกิดจากความนึกคิดได้อย่างเดียว ยาบางประเภทอาจเป็นสาเหตุให้เกิดความวิตกกังวลได้.

ใหม่!!: กล้ามเนื้อหัวใจตายเหตุขาดเลือดและความวิตกกังวล · ดูเพิ่มเติม »

ความดันโลหิตสูง

รคความดันโลหิตสูง (hypertension) เป็นโรคเรื้อรังชนิดหนึ่งที่ผู้ป่วยมีความดันเลือดในหลอดเลือดแดงสูงกว่าปกติตลอดเวลา ความดันเลือดประกอบด้วยสองค่า ได้แก่ ความดันช่วงหัวใจบีบและความดันช่วงหัวใจคลาย ซึ่งเป็นความดันสูงสุดและต่ำสุดในระบบหลอดเลือดแดงตามลำดับ ความดันช่วงหัวใจบีบเกิดเมื่อหัวใจห้องล่างซ้ายบีบตัวมากที่สุด ความดันช่วงหัวใจคลายเกิดเมื่อหัวใจห้องล่างซ้ายคลายตัวมากที่สุดก่อนการบีบตัวครั้งถัดไป ความดันเลือดปกติขณะพักอยู่ในช่วง 100–140 มิลลิเมตรปรอทในช่วงหัวใจบีบ และ 60–90 มิลลิเมตรปรอทในช่วงหัวใจคลาย ความดันโลหิตสูงหมายถึง ความดันเลือดมากกว่าหรือเท่ากับ 140/90 มิลลิเมตรปรอทตลอดเวลา ส่วนในเด็กจะใช้ตัวเลขต่างไป ปกติความดันโลหิตสูงไม่ก่อให้เกิดอาการในทีแรก แต่ความดันโลหิตสูงต่อเนื่องเมื่อผ่านไปเป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญของโรคหัวใจเหตุความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง ท่อเลือดแดงโป่งพอง โรคหลอดเลือดแดงส่วนปลาย และโรคไตเรื้อรัง ความดันโลหิตสูงแบ่งออกเป็นความดันโลหิตสูงปฐมภูมิ (ไม่ทราบสาเหตุ) และความดันโลหิตสูงแบบทุติยภูมิ ผู้ป่วยส่วนใหญ่ราวร้อยละ 90–95 จัดเป็นความดันโลหิตสูงปฐมภูมิ หมายถึงมีความดันโลหิตสูงโดยไม่มีเหตุพื้นเดิมชัดเจน ที่เหลืออีกร้อยละ 5–10 จัดเป็นความดันโลหิตสูงแบบทุติยภูมิมักมีสาเหตุที่สามารถบอกได้ เช่น โรคไตเรื้อรัง ท่อเลือดแดงหรือหลอดเลือดแดงไตตีบแคบ หรือโรคของต่อมไร้ท่อ เช่น แอลโดสเตอโรน คอร์ติซอลหรือแคทิโคลามีนเกิน อาหารและการเปลี่ยนวิถีชีวิตสามารถช่วยควบคุมความดันเลือดและลดความเสี่ยงของภาวะแทรกซ้อนต่อสุขภาพ แม้การรักษาด้วยยายังมักจำเป็นในผู้ที่การเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตยังไม่พอหรือไม่ได้ผล การรักษาความดันในหลอดเลือดแดงสูงปานกลาง (นิยามเป็น >160/100 มิลลิเมตรปรอท) ด้วยยาสัมพันธ์กับการคาดหมายคงชีพที่เพิ่มขึ้น ประโยชน์ของการรักษาความดันเลือดระหว่าง 140/90 ถึง 160/100 มิลลิเมตรปรอทไม่ค่อยชัดเจน บางบทปริทัศน์ว่าไม่มีประโยชน์ แต่บ้างก็ว่ามี.

ใหม่!!: กล้ามเนื้อหัวใจตายเหตุขาดเลือดและความดันโลหิตสูง · ดูเพิ่มเติม »

แอลกอฮอล์

รงสร้างของแอลกอฮอล์ ในทางเคมี แอลกอฮอล์ (alcohol) คือสารประกอบอินทรีย์ ที่มีหมู่ไฮดรอกซิล (-OH) ต่อกับอะตอมคาร์บอนของหมู่แอลคิลหรือหมู่ที่แทนแอลคิล สูตรทั่วไปของแอลกอฮอล์แบบอะลิฟาติกไฮโดรคาร์บอน (สารประกอบไฮโดรคาร์บอนที่เป็นสายตรง) คือ CnH2n+1OH โดยทั่วไป แอลกอฮอล์ มักจะอ้างถึงเอทานอลเกือบจะเพียงอย่างเดียว หรือเรียกอีกอย่างว่า grain alcohol ซึ่งเป็นของเหลวที่ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น และสามารถระเหยได้ ซึ่งเกิดจากการหมักน้ำตาล นอกจากนี้ยังสามารถใช้อ้างถึงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เป็นที่มาของคำว่าโรคพิษสุรา (alcoholism) เอทานอลเป็นยาเสพติดที่มีฤทธิ์กดประสาท ที่ลดการตอบสนองของระบบประสาทส่วนกลาง แอลกอฮอล์ชนิดอื่น ๆ จะอธิบายด้วยคำวิเศษณ์เพิ่มเติม เช่น isopropyl alcohol (ไอโซโพรพิล แอลกอฮอล์) หรือด้วยคำอุปสรรคว่า -ol เช่น isopropanol (ไอโซโพรพานอล).

ใหม่!!: กล้ามเนื้อหัวใจตายเหตุขาดเลือดและแอลกอฮอล์ · ดูเพิ่มเติม »

แอสไพริน

แอสไพริน (aspirin) (BAN, USAN) หรือกรดอะซีทัลซาลิซิลิก (acetylsalicylic acid, ASA) เป็นยาซาลิซิเลต มักใช้เป็นยาระงับปวด ยาลดไข้และยาแก้อักเสบ แอสไพรินยังมีฤทธิ์ต้านเกล็ดเลือดโดยยับยั้งการผลิตทรอมบ็อกเซน ซึ่งปกติเชื่อมโมเลกุลเกล็ดเลือดเข้าด้วยกันเพื่อสร้างปื้นเหนือผนังหลอดเลือดที่เสียหาย เนื่องจากปื้นเกล็ดเลือดสามารถใหญ่เกินไปได้และยังขัดขวางการไหลของเลือด ทั้งเฉพาะที่และที่อยู่หลังจากนั้น แอสไพรินยังใช้ระยะยาวที่ขนาดต่ำเพื่อช่วยป้องกันอาการหัวใจล้ม โรคหลอดเลือดสมองและการเกิดลิ่มเลือดในผู้ที่มีความเสี่ยงสูงเกิดลิ่มเลือด นอกจากนี้ อาจให้แอสไพรินขนาดต่ำทันทีหลังอาการหัวใจล้มเพื่อลดความเสี่ยงอาการหัวใจลมอีกหนและการตายของเนื้อเยื่อหัวใจ แอสไพรินอาจให้ผลป้องกันมะเร็งบางชนิด โดยเฉพาะมะเร็งลำไส้ใหญ่ ฤทธิ์ข้างเคียงหลักของแอสไพริน คือ แผลกระเพาะและลำไส้ เลือดไหลในกระเพาะอาหารและเสียงในหู โดยเฉพาะในขนาดสูง ในเด็กและวัยรุ่น ไม่แนะนำแอสไพรินสำหรับอาการคล้ายหวัดหรือการเจ็บป่วยจากไวรัส เพราะเสี่ยงต่อกลุ่มอาการไรย์ (Reye's syndrome) แอสไพรินอยู่ในกลุ่มยารักษาโรคชื่อ ยาแก้อักเสบชนิดไม่ใช่สเตอรอยด์ (nonsteroidal anti-inflammatory drugs, NSAIDs) แต่กลไกออกฤทธิ์ของมันต่างจาก NSAIDs อื่นส่วนมาก แม้มันและยาอื่นที่มีโครงสร้างคล้ายกัน เรียก ซาลิซิเลต มีฤทธิ์คล้ายกับ NSAIDs (ลดไข้ แก้อักเสบ ระงับปวด) และยับยั้งเอนไซม์ไซโคลออกซิจีเนส (cyclooxygenase, COX) ตัวเดียวกัน แต่แอสไพรินยับยั้งแบบผันกลับไม่ได้ และไม่เหมือนยาอื่น มีผลกับเอนไซม์ COX-1 มากกว่า COX-2 เอ็ดเวิร์ด สโตน แห่งวิทยาลัยวอแดม (Wadham College) มหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด ค้นพบส่วนประกอบกัมมันต์ของแอสไพรินครั้งแรกจากเปลือกต้นวิลโลว์ใน..

ใหม่!!: กล้ามเนื้อหัวใจตายเหตุขาดเลือดและแอสไพริน · ดูเพิ่มเติม »

ใจสั่น

ใจสั่น (palpitation) เป็นอาการอย่างหนึ่ง หมายถึงการที่ผู้ป่วยรู้สึกถึงการเต้นของหัวใจ อาจมีสาเหตุจากหัวใจเต้นผิดจังหวะ เช่น เต้นเร็วผิดปกติ หรือไม่เต้นเป็นช่วงๆ หรืออาจเป็นจากความวิตกกังวลโดยไม่มีสาเหตุจากโรคทางกาย เมื่อมีอาการใจสั่นอาจมีอาการอื่นร่วม เช่น เวียนศีรษะ หายใจลำบาก เป็นต้น โรคที่ทำให้มีอาการใจสั่นมีหลายอย่าง นับรวมถึงโรคหลอดเลือดหัวใจ หอบหืด ถุงลมโป่งพอง มะเร็งปอด และอื่นๆ อีกมาก หมวดหมู่:หัวใจเต้นผิดจังหวะ หมวดหมู่:อาการและอาการแสดงที่เกี่ยวกับระบบไหลเวียนโลหิต.

ใหม่!!: กล้ามเนื้อหัวใจตายเหตุขาดเลือดและใจสั่น · ดูเพิ่มเติม »

โรคระบบหัวใจหลอดเลือด

รคหัวใจและหลอดเลือดหมายถึงโรคใดๆที่มีผลต่อระบบหัวใจและหลอดเลือด, โดยเฉพาะอย่างยิ่งระบบหัวใจ, โรคหลอดเลือดสมองและโรคหลอดเลือดไต, และโรคหลอดเลือดแดงส่วนปล.

ใหม่!!: กล้ามเนื้อหัวใจตายเหตุขาดเลือดและโรคระบบหัวใจหลอดเลือด · ดูเพิ่มเติม »

โรคหลอดเลือดแดงแข็ง

รคหลอดเลือดแดงแข็ง หรือ โรคท่อเลือดแดงและหลอดเลือดแดงแข็ง (Atherosclerosis) เป็นกลุ่มอาการที่เกิดกับหลอดเลือดแดง เกิดจากปฏิกิริยาการอักเสบเรื้อรังที่ผนังหลอดเลือดแดง ส่วนใหญ่เป็นจากการสะสมของเม็ดเลือดขาวแมคโครฟาจและถูกกระตุ้นโดยไขมันแอลดีแอลโดยไม่มีการกำจัดไขมันและคอเลสเตอรอลออกที่ดีพอจากการทำงานของแมคโครฟาจโดยไขมันเอชดีแอล.

ใหม่!!: กล้ามเนื้อหัวใจตายเหตุขาดเลือดและโรคหลอดเลือดแดงแข็ง · ดูเพิ่มเติม »

โรคหลอดเลือดเลี้ยงหัวใจ

รคหลอดเลือดหัวใจ (Coronary artery disease (CAD)) หรือที่เรียกว่าโรคหลอดเลือดแดงหัวใจแข็ง (accessdate หรือ atherosclerotic cardiovascular disease หรือ coronary heart disease) หรือ โรคหัวใจขาดเลือด (ischemic heart disease (IHD)) เป็นชนิดที่พบบ่อยที่สุดของโรคหัวใจ และ สาเหตุของโรคหัวใจล้มเหลว.

ใหม่!!: กล้ามเนื้อหัวใจตายเหตุขาดเลือดและโรคหลอดเลือดเลี้ยงหัวใจ · ดูเพิ่มเติม »

โรคอ้วน

รคอ้วนเป็นสภาวะทางการแพทย์ที่มีการสะสมไขมันร่างกายมากถึงขนาดที่อาจมีผลเสียต่อสุขภาพ ทำให้มีการคาดหมายคงชีพลดลง และมีปัญหาสุขภาพเพิ่มขึ้น หรืออย่างใดอย่างหนึ่งWHO 2000 p.6 การพิจารณาว่าบุคคลใดอ้วนนั้นพิจารณาจากดัชนีมวลกาย (BMI) ซึ่งเป็นการวัด มีค่าเท่ากับน้ำหนัก (หน่วยเป็นกิโลกรัม) หารด้วยส่วนสูง (หน่วยเป็นเมตร) ยกกำลังสอง บุคคลที่มีดัชนีมวลกายเกิน 30 กิโลกรัมต่อตารางเมตรถือว่าเป็นโรคอ้วน โดยในช่วง 25-30 กิโลกรัมต่อตารางเมตรนิยามเป็นน้ำหนักเกิน โรคอ้วนเพิ่มโอกาสการป่วยเป็นโรคหลายอย่าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคหัวใจ เบาหวานชนิดที่ 2 ภาวะหยุดหายใจขณะหลับชนิดอุดกั้น มะเร็งบางชนิด และโรคข้อเสื่อม โรคอ้วนมีสาเหตุมาจากการรับพลังงานจากอาหารมากเกิน การขาดกิจกรรมทางกาย และความเสี่ยงทางพันธุกรรมร่วมกันมากที่สุด แม้ว่าผู้ป่วยน้อยรายจะเกิดจากยีน ความผิดปกติของต่อมไร้ท่อ ยาหรือการป่วยจิตเวชเป็นหลัก สำหรับมุมมองที่ว่าคนอ้วนบางรายกินน้อยแต่น้ำหนักเพิ่มเพราะเมแทบอลิซึมช้านั้นมีหลักฐานสนับสนุนจำกัด โดยเฉลี่ยแล้ว คนอ้วนมีการเสียพลังงานมากกว่าคนผอมเนื่องจากต้องใช้พลังงานมากกว่าในการรักษามวลร่างกายที่เพิ่มขึ้น การจำกัดอาหารและการออกกำลังกายเป็นหลักของการรักษาโรคอ้วน สามารถปรับปรุงคุณภาพอาหารได้โดยการลดการบริโภคอาหารพลังงานสูง เช่น อาหารที่มีไขมันและน้ำตาลสูง และโดยการเพิ่มการรับใยอาหาร อาจบริโภคยาลดวามอ้วนเพื่อลดความอยากอาหารหรือลดการดูดซึมไขมันเมื่อใช้ร่วมกันกับอาหารที่เหมาะสม หากอาหาร การออกกำลังกายและยาไม่ได้ผล การทำบอลลูนกระเพาะอาหาร (gastric ballon) อาจช่วยให้น้ำหนักลดได้ หรืออาจมีการผ่าตัดเพื่อลดปริมาตรกระเพาะอาหารและความยาวลำไส้ หรืออย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งทำให้รู้สึกอิ่มเร็วขึ้นและลดความสามารถในการดูดซึมสารอาหาร โรคอ้วนเป็นสาเหตุการตายอันดับต้น ๆ ทั่วโลกที่สามารถป้องกันได้ โดยมีอัตราเพิ่มขึ้นทั้งในผู้ใหญ่และเด็ก ทางการมองว่าโรคอ้วนเป็นหนึ่งในปัญหาสาธารณสุขที่ร้ายแรงที่สุดในคริสต์ศตวรรษที่ 21 โรคอ้วนถูกระบุว่าเป็นปัญหาในโลกสมัยใหม่อย่างมาก (โดยเฉพาะอย่างยิ่งในโลกตะวันตก) ทว่าในอดีต ความอ้วนถูกมองอย่างกว้างขวางว่าเป็นสัญลักษณ์แห่งความมั่งคั่งและความอุดมสมบูรณ์ และกระทั่งปัจจุบันก็ยังมีความเชื่อดังกล่าวในบางบริเวณของโลก ใน..

ใหม่!!: กล้ามเนื้อหัวใจตายเหตุขาดเลือดและโรคอ้วน · ดูเพิ่มเติม »

โรคไตเรื้อรัง

โรคไตเรื้อรังคือภาวะซึ่งมีค่อยๆ มีการเสื่อมของการทำงานของไตเป็นเวลานาน อาจใช้เวลาเป็นเดือนหรือเป็นปี อาการของการที่ไตทำงานเสื่อมลงนั้นเกือบทั้งหมดเป็นอาการซึ่งไม่มีความจำเพาะ อาจมีอาการเพียงความรู้สึกไม่สบายตัวหรือไม่รู้สึกอยากอาหารได้ ส่วนใหญ่การวินิจฉัยไตวายเรื้อรังจะพบจากการตรวจคัดกรองในผู้ที่มีความเสี่ยงของการเป็นโรคไต เช่น ผู้ป่วยความดันเลือดสูง เบาหวาน หรือผู้ที่มีญาติเป็นโรคไตเรื้อรัง นอกจากนี้ยังอาจตรวจพบเมื่อผู้ป่วยมีอาการจากภาวะแทรกซ้อนของโรคไต เช่น โรคของระบบหัวใจหลอดเลือด ซีด หรือเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ เป็นต้น.

ใหม่!!: กล้ามเนื้อหัวใจตายเหตุขาดเลือดและโรคไตเรื้อรัง · ดูเพิ่มเติม »

โอปิออยด์

อปิออยด์ (opioid) เป็นสารที่เชื่อมกับโอปิออยด์ รีเซพเตอร์ (opioid receptor) พบในระบบประสาทส่วนกลาง (central nervous system) และ ระบบทางเดินอาหาร (gastrointestinal tract) โอปิออยด์มี 4 กลุ่มคือ.

ใหม่!!: กล้ามเนื้อหัวใจตายเหตุขาดเลือดและโอปิออยด์ · ดูเพิ่มเติม »

โคเคน

ส่วนประกอบทางเคมีของโคเคน โคเคน (cocaine) คือ crystalline tropane alkaloid ซึ่งสกัดมาจากใบของต้นโคคา (Coca) ซึ่งออกฤทธิ์เป็นสารกระตุ้นมีผลต่อระบบประสาทส่วนกลาง และเป็นสารที่ระงับความต้องการของร่างกาย (Appetite Suppressant) อีกนัยหนึ่งโคเคนอีน เป็นสาร Dopamine reuptake inhibitor ซึ่งผู้ได้รับสารนี้จะรู้สึกมีความสุข และมีพลังงานเพิ่มอย่างสูงในระยะเวลาสั้นๆ ผู้ที่ใช้สารเสพติดนี้ส่วนใหญ่มีอาการเครียด หรือวิตกกังวลอย่างรุนแรง พักผ่อนไม่เพียงพอ และต้องการผ่อนคลายความตึงเครียดลง ถึงแม้ว่าโคเคนจะเป็นสารเสพติด แต่ก็ได้มีการใช้ในวงการแพทย์โดยใช้เป็นสาร Topical Anesthesia มีการใช้ร่วมในเด็ก โดยเฉพาะการศัลยกรรม ตา จมูก และคอ ถ้าใครเสพสารนี้ไปแล้วจะต้องการสารโคเคนตลอดจนตาย ข้อเสียของการใช้สารโคเคนคือ มีผลให้ระบบการหายใจล้มเหลว มีโอกาสเป็น โรคหัวใจ และอัมพาต ในผู้ใช้สารโคเคนเป็นระยะเวลานาน หลังจากโคเคนหมดฤทธิ์แล้วอาจจะทำให้เกิดอาการซึมเศร้าเนื่องจากภาวะการลดระดับของสารโดปามีนในสมองอย่างฉับพลัน หลังจากการกระตุ้นของสารเสพติด หมวดหมู่:สารก่อวิรูป หมวดหมู่:ยาเสพติด.

ใหม่!!: กล้ามเนื้อหัวใจตายเหตุขาดเลือดและโคเคน · ดูเพิ่มเติม »

ไบโอมาร์คเกอร์

อมาร์คเกอร์ (Biomarkers) หรือ ไบโอโลจิคอล มาร์คเกอร์ (Biological markers) เป็นซากดึกดำบรรพ์ที่มีโมเลกุลซับซ้อนที่ได้มาจากสารชีวเคมี โดยเฉพาะไขมันที่ยังคงอยู่ แสดงให้เห็นถึงสิ่งมีชีวิตนั้น ๆ ไบโอมาร์คเกอร์สามารถวัดได้ทั้งน้ำมันดิบ และ สารสกัดของหินต้นกำเนิดปิโตรเลียม (บิทูเมน) ทำให้สามารถหาความสัมพันธ์ของหินต้นกำเนิดปิโตรเลียมกับน้ำมันดิบ และนักธรณีสามารถแปลความหมายลักษณะเฉพาะของหินต้นกำเนิดปิโตรเลียมได้จากตัวอย่างที่เป็นน้ำมัน.

ใหม่!!: กล้ามเนื้อหัวใจตายเหตุขาดเลือดและไบโอมาร์คเกอร์ · ดูเพิ่มเติม »

ไตรกลีเซอไรด์

ตัวอย่างไตรกลีเซอไรด์ ซ้าย: กลีเซอรอล, ขวาจากบนลงล่าง: กรดพาล์มมิติก, กรดโอเลอิก, กรดลิโนเลนิก, สูตรเคมี: C55H98O6 ไตรกลีเซอไรด์ (triglyceride) หรือไตรเอซิลกลีเซอรอล (Triacylglycerol) เป็นไขมันที่ประกอบด้วยกรดไขมันสามโมเลกุลรวมตัวกับกลีเซอรอลหนึ่งโมเลกุล กรดไขมันที่มาประกอบเป็นไตรกลีเซอไรด์นั้นอาจจะเป็นกรดไขมันชนิดเดียวกัน เช่น ไตรสเตียริน มีกรดสเตียริกเป็นองค์ประกอบเท่านั้น หรือเป็นกรดไขมันคนละชนิด เช่น 1-พาล์มิโทสเตียริน (1-Palmitostearin) หมายถึงไตรกลีเซอไรด์ที่กรดไขมันตัวแรกเป็นกรดพาล์มมิติก ส่วนกรดไขมันตัวที่ 2 และ 3 เป็นกรดสเตียริก เป็นพลังงานสะสมในสัตว์ และใช้สะสมใต้ผิวหนังเพื่อรักษาอุณหภูมิของร่างกาย โดยสะสมในเซลล์ไขมัน (Adipocyte หรือ Fat cell) ในรูปเม็ดไขมัน หรืออยู่ในรูปไมเซลล์ (Micelle) ปัญหาและอันตรายจากโรคไตรกลีเซอไรด์สูงในเลือดทำให้ หลอดเลือดแดงแข็งตัว ถ้าเกิดที่หัวใจทำให้เป็นโรคหัวใจขาดเลือด ถ้าเกิดที่สมองทำให้เป็นอัมพาต หรือ ทำให้เกิดอาการร่วมคือ ปวดท้อง ตับโต ม้ามโต และทำให้ระบบประสาททำงานผิดปกติ ปวดข้อ แหล่งอาหารที่ทำให้ไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูง ได้แก่ อาหารทุกชนิดที่มีปริมาณไขมันสูง โดยเฉพาะไขมันสัตว์ น้ำตาล อาหารรสหวานจัด ขนมหวานทุกชนิด เนื่องจากร่างกายสามารถนำไปสร้างเป็นไตรกลีเซอไรด์ คนอายุ 30 ปีขึ้นไปไม่ควรมีค่า triglyceride เกิน 200 mg/dl.

ใหม่!!: กล้ามเนื้อหัวใจตายเหตุขาดเลือดและไตรกลีเซอไรด์ · ดูเพิ่มเติม »

ไตวาย

ตวาย (renal failure, kidney failure, renal insufficiency) เป็นภาวะซึ่งการทำงานของไตผิดปกติไปจนไม่สามารถกรองสารพิษและของเสียออกจากเลือดได้เพียงพอ แบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือชนิดเฉียบพลัน (ไตเสียหายเฉียบพลัน) และเรื้อรัง (ไตวายเรื้อรัง) ซึ่งเกิดจากโรคหรือภาวะอื่นๆ ได้หลายสาเหตุ ไตที่วายจะมีอัตราการกรองผ่านโกลเมอรูลัสลดลง ตรวจเคมีในเลือดมักพบว่ามีระดับครีแอทินีนในซีรัม (serum creatinine) สูงขึ้น ปัญหาที่เกิดจากการทำงานผิดปกติของไตได้แก่ความผิดปกติของปริมาณสารน้ำในร่างกาย กรดด่างไม่สมดุล ระดับโพแทสเซียม แคลเซียม ฟอสเฟต ผิดปกติ เมื่อเป็นเรื้อรังทำให้เลือดจาง กระดูกหักแล้วหายช้า ในบางสาเหตุอาจทำให้มีปัสสาวะเป็นเลือดหรือมีโปรตีนปนในปัสสาวะได้ การเป็นโรคไตเรื้อรังส่งผลต่อโรคอื่นๆ เช่น โรคระบบหัวใจหลอดเลือด ได้อย่างมาก.

ใหม่!!: กล้ามเนื้อหัวใจตายเหตุขาดเลือดและไตวาย · ดูเพิ่มเติม »

ไนโตรกลีเซอรีน

ไนโตรกลีเซอรีน (Nitroglycerin) มีชื่ออื่นๆ เช่น ไตรไนโตรกลีเซอรีน (trinitroglycerin), กลีเซอรีล ไตรไนเตรต (glyceryl trinitrate) เป็นต้น เป็นสารประกอบทางเคมีชนิดหนึ่ง ปกติเป็นของเหลว ระเบิดได้ ลื่นมัน เป็นพิษ ไม่มีสี และหนัก ได้จากการไนเตรตสารกลีเซอรอล นิยมใช้ในการผลิตวัตถุระเบิด โดยเฉพาะไดนาไมต์ และใช้ในอุตสาหกรรมการก่อสร้างและรื้อทำลาย นอกจากนี้ยังมีใช้ในการแพทย์ เพื่อขยายหลอดเลือดหัวใจ ในคนไข้ที่เป็นโรคหัวใจ ไนโตรกลีเซอรีน (C_3H_5(ONO_2)_3) หรือที่รู้จักในชื่อของไดนาไมต์ ซึ่งเป็นวัตถุระเบิดที่มีความรุนแรงสามเท่าของดินปืน อัลเฟรด โนเบล เป็นผู้ค้นพบและผลิตในยุคต้นๆ และทำความร่ำรวยให้กับเขาอย่างมหาศาล ซึ่งต่อมาใช้เป็นรางวัลโนเบลจนถึงปัจจุบัน หมวดหมู่:สารเคมี หมวดหมู่:วัตถุระเบิด.

ใหม่!!: กล้ามเนื้อหัวใจตายเหตุขาดเลือดและไนโตรกลีเซอรีน · ดูเพิ่มเติม »

เบาหวาน

รคเบาหวาน (Diabetes mellitus (DM) หรือทั่วไปว่า Diabetes) เป็นกลุ่มโรคเกี่ยวกับการเผาผลาญอาหารซึ่งมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงเป็นเวลานาน น้ำตาลในเลือดสูงก่อให้เกิดอาการปัสสาวะบ่อย กระหายน้ำและความหิวเพิ่มขึ้น หากไม่ได้รับการรักษา เบาหวานอาจก่อให้เกิดอาการแทรกซ้อนจำนวนมาก ภาวะแทรกซ้อนเฉียบพลัน ได้แก่ ภาวะเลือดเป็นกรดจากคีโตนจากเบาหวาน (diabetic ketoacidosis) และโคม่าเนื่องจากออสโมลาร์สูงที่ไม่ได้เกิดจากคีโตน (nonketotic hyperosmolar coma) ภาวะแทรกซ้อนระยะยาวที่ร้ายแรงรวมถึงโรคหัวใจ, โรคหลอดเลือดสมอง, ไตวาย, แผลที่เท้าและความเสียหายต่อตา เบาหวานเกิดจากตับอ่อนผลิตอินซูลินไม่เพียงพอหรือเซลล์ร่างกายไม่ตอบสนองอย่างเหมาะสมต่ออินซูลินที่ผลิตอย่างใดอย่างหนึ่ง น้ำตาลที่ถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกายจะถูกนำไปเปลี่ยนเป็นพลังงานโดยการควบคุมของอินซูลิน ในเมื่ออินซูลินมีปัญหา ทำให้ไม่สามารถดึงน้ำตาลไปใช้ได้ จึงมีน้ำตาลตกค้างในกระแสเลือดมาก ไตจึงขับของเสียออกมาทางปัสสาวะ อันเป็นเหตุให้ปัสสาวะหวานนั้นเอง เบาหวานมีสามชนิดหลัก ได้แก.

ใหม่!!: กล้ามเนื้อหัวใจตายเหตุขาดเลือดและเบาหวาน · ดูเพิ่มเติม »

เบตาบล็อกเกอร์

เบต้า บล็อกเกอร์ (Beta blockers หรือบางครั้งเขียน β-blockers) เป็นยาลดความดันชนิดหนึ่ง ออกฤทธิ์ผ่านทางระบบประสาท โดยยับยั้งผลของการกระตุ้นของ Adrenalin หรือ Norepinephrine เป็นผลให้หัวใจเต้นช้าลง และเบาลง ช่วยลดความเสี่ยงการเกิดภาวะหัวใจขาดเลือด ลดภาวะบางอย่างที่ทำให้หัวใจเต้นเร็วขึ้น เช่น อาการตื่นเต้น รักษาโรคต่าง ๆ เช่น ต้อหิน ไมเกรน กระวนกระวาย ตื่นเต้น ต่อมธัยรอยด์เป็นพิษ เป็นต้น หมวดหมู่:ยาลดความดัน หมวดหมู่:บทความยาที่ต้องการภาพประกอบ.

ใหม่!!: กล้ามเนื้อหัวใจตายเหตุขาดเลือดและเบตาบล็อกเกอร์ · ดูเพิ่มเติม »

เหงื่อ

หยดเหงื่อบนใบหน้า เหงื่อ เป็นของเสียชนิดหนึ่งที่ร่างกายขับออกมาในรูปของเหลว และจะขับออกมาทางผิวหนังหรือตามซอกต่างๆของร่างกาย มักมีรสเค็มเพราะมีเกลือเป็นส่วนประกอบ การออกกำลังกายหรือเวลาอากาศร้อนก็มีเหงื่อได้เช่นกัน เหงื่อประกอบด้วย น้ำ 99% ส่วนอีก 1% ได้แก่ โซเดียมคลอไรด์ ยูเรีย น้ำตาล ไขมัน กรดอะมิโนบางชนิด โพแทสเซียม แมกนีเซียม เหล็ก.

ใหม่!!: กล้ามเนื้อหัวใจตายเหตุขาดเลือดและเหงื่อ · ดูเพิ่มเติม »

เฮพาริน

ปาริน (heparin) เป็นสารไกลโคซามิโนไกลแคน ที่มีหมู่ซัลเฟตอยู่จำนวนมาก ใช้กันแพร่หลายในฐานะเป็นยาต้านการแข็งตัวของเลือดแบบฉีด และยังเป็นชีวโมเลกุลที่มีความหนาแน่นของประจุลบมากที่สุดเท่าที่รู้จักอีกด้วย นอกจากนี้ยังสามารถใช้เป็นสารต้านการแข็งตัวของเลือดเคลือบบนผิวภายในของวัสดุที่ใช้ในการทดลองและอุปกรณ์ทางการแพทย์อย่างหลอดทดลองและเครื่องฟอกเลือดได้อีกด้วย เฮปารินที่มีคุณภาพระดับใช้เป็นยานั้นได้จากเนื้อเยื่อเมือกของสัตว์เช่นลำไส้หมูหรือปอดวัว แม้สารนี้จะมีใช้เป็นสารต้านการแข็งตัวของเลือดอยู่ทั่วไปในการแพทย์แต่บทบาททางสรีรวิทยาที่แท้จริงนั้นยังไม่เป็นที่แน่ชัด เนื่องจากส่วนใหญ่แล้วสมบัติการต้านการแข็งตัวในเลือดนั้นได้จาก heparan sulfate proteoglycans ที่มาจากเซลล์บุผิว endothelium ส่วนใหญ่เฮปารินมักถูกเก็บอยู่ใน secretory granule ของ mast cell และจะถูกปล่อยออกมาก็ต่อเมื่ออยู่ในหลอดเลือดของเนื้อเยื่อที่กำลังมีการบาดเจ็บ มีการเสนอว่าหน้าที่ที่แท้จริงของเฮปารินไม่ใช่การต้านการแข็งตัวของเลือดแต่เป็นเพื่อป้องกันบริเวณเนื้อเยื่อที่กำลังมีการบาดเจ็บอยู่นั้นจากแบคทีเรียและสิ่งแปลกปลอมอื่นๆ นอกจากนี้ยังพบว่ามีเฮปารินอยู่ในสิ่งมีชีวิตหลายสปีชีส์ รวมทั้งสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังที่ไม่มีระบบการแข็งตัวของเลือดด้ว.

ใหม่!!: กล้ามเนื้อหัวใจตายเหตุขาดเลือดและเฮพาริน · ดูเพิ่มเติม »

เจ็บหน้าอก

อาการเจ็บหน้าอกอาจเป็นอาการของภาวะที่มีอันตรายหลายอย่าง รวมถึงโรคหัวใจขาดเลือด ส่วนใหญ่เบื้องต้นมักถือเป็นภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์ไว้ก่อนจนกว่าจะยืนยันได้ว่าไม่ใช่ ทั้งนี้สาเหตุของอาการเจ็บหน้าอกมีมากมาย และส่วนใหญ่ไม่ใช่โรคหัวใจ หมวดหมู่:ความเจ็บปวด.

ใหม่!!: กล้ามเนื้อหัวใจตายเหตุขาดเลือดและเจ็บหน้าอก · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Heart attackMyocardial infarctionกล้ามเนื้อหัวใจตายกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันหัวใจขาดเลือดอาการหัวใจล้มโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดโรคกล้ามเนื้อหัวใจตาย

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »