โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

กลุ่มอาการเรตต์และเปลือกสมอง

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง กลุ่มอาการเรตต์และเปลือกสมอง

กลุ่มอาการเรตต์ vs. เปลือกสมอง

กลุ่มอาการเรตต์ (Rett syndrome) ซึ่งเดิมใช้ว่า ภาวะเลือดมีแอมโมเนียมากสมองฝ่อ (cerebroatrophic hyperammonemia) เป็นความผิดปรกติทางประสาทวิทยาหลังคลอดทางพันธุกรรมพบน้อยของเนื้อเทาของสมอง ซึ่งพบเกือบทั้งหมดในหญิง แต่มีพบในผู้ป่วยชาย ลักษณะคลินิกมีมือเท้าเล็กและอัตราการเติบโตของศีรษะลดลง (บ้างมีหัวเล็กเกิน) สังเกตการเคลื่อนไหวของมือแบบฉบับซ้ำ ๆ เช่น บีบบิด (wringing) และ/หรือ การเอามือใส่ปากซ้ำ ๆ ได้ ผู้ป่วยกลุ่มอาการเรตต์เสี่ยงต่อความผิดปรกติทางระบบทางเดินอาหารและมีการชักได้ถึง 80% ตรงแบบ ผู้ป่วยไม่มีทักษะการพูด และประมาณ 50% เดินไม่ได้ กระดูกสันหลังคด ไม่เติบโต และท้องผูกพบมากและอาจเป็นปัญหาได้ อาการแสดงของความผิดปกตินี้สับสนได้ง่ายกับอาการแสดงของกลุ่มอาการแอนเจิลมัน อัมพาตสมองใหญ่และโรคออทิซึม กลุ่มอาการเรตต์เกิดในประมาณ 1:10,000 การเกิดรอดหญิงในทุกภูมิศาสตร์ และทุกเชื้อชาติเผ่าพันธุ์ ใน DSM-IV-TR กลุ่มอาการเรตต์แสดงรายการใต้ประเภทความผิดปกติของพัฒนาการที่กระจายไปทุกด้าน (pervasive developmental disorder) ร่วมกับสเปกตรัมออทิซึม (autism spectrum disorder) และความผิดปกติที่ทำให้ไม่มีบูรณภาพในวัยเด็ก (childhood disintegrative disorder) บ้างแยกว่า การจำแนกมาอยู่กลุ่มนี้ผิด เช่นเดียวกับความผิดปกติมิใช่ออทิซึมอย่างกลุ่มอาการเอ็กซ์เปราะ (fragile X syndrome) ภาวะปุ่มแข็ง (tuberous sclerosis) หรือกลุ่มอาการดาวน์ซึ่งสามารถเห็นลักษณะออทิซึมได้ มีการเสนอให้ถอนโรคนี้ออกจาก DSM-5 เนื่องจากมีสมุฏฐานจำเพาะ แอนเดรียส เรตต์ (Andreas Rett) กุมารแพทย์ชาวออสเตรีย อธิบายโรคนี้ครั้งแรกเมื่อ.. ปลือกสมอง"ศัพท์บัญญัติอังกฤษ-ไทย, ไทย-อังกฤษ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (คอมพิวเตอร์) รุ่น ๑.๑"หรือ ส่วนนอกของสมองใหญ่ หรือ คอร์เทกซ์สมองใหญ่"ศัพท์บัญญัติอังกฤษ-ไทย, ไทย-อังกฤษ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (คอมพิวเตอร์) รุ่น ๑.๑", ให้ความหมายของ cerebral ว่า "-สมองใหญ่" หรือ "-สมอง" หรือ เซรีบรัลคอร์เทกซ์ หรือบางครั้งเรียกสั้น ๆ เพียงแค่ว่า คอร์เทกซ์ (แต่คำว่า คอร์เทกซ์ สามารถหมายถึงส่วนย่อยส่วนหนึ่ง ๆ ในเปลือกสมองด้วย) (Cerebral cortex, cortex, Cortex cerebri) เป็นชั้นเนื้อเยื่อเซลล์ประสาทชั้นนอกสุดของซีรีบรัม (หรือเรียกว่าเทเลนฟาลอน) ที่เป็นส่วนของสมองในสัตว์มีกระดูกสันหลังบางพวก เป็นส่วนที่ปกคลุมทั้งซีรีบรัมทั้งซีรีเบลลัม มีอยู่ทั้งซีกซ้ายซีกขวาของสมอง เปลือกสมองมีบทบาทสำคัญในระบบความจำ ความใส่ใจ ความตระหนัก (awareness) ความคิด ภาษา และการรับรู้ (consciousness) เปลือกสมองมี 6 ชั้น แต่ละชั้นประกอบด้วยเซลล์ประสาทต่าง ๆ กัน และการเชื่อมต่อกับสมองส่วนอื่น ๆ ที่ไม่เหมือนกัน เปลือกสมองของมนุษย์มีความหนา 2-4 มิลลิเมตร ในสมองดอง เปลือกสมองมีสีเทา ดังนั้น จึงมีชื่อว่าเนื้อเทา มีสีดังนั้นก็เพราะประกอบด้วยเซลล์ประสาทและแอกซอนที่ไม่มีปลอกไมอีลิน เปรียบเทียบกับเนื้อขาว (white matter) ที่อยู่ใต้เนื้อเทา ซึ่งประกอบด้วยแอกซอนที่โดยมากมีปลอกไมอีลิน ที่เชื่อมโยงกับเซลล์ประสาทในเขตต่าง ๆ ของเปลือกสมองและในเขตอื่น ๆ ของระบบประสาทกลาง ผิวของเปลือกสมองดำรงอยู่เป็นส่วนพับในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่มีขนาดใหญ่ จนกระทั่งว่า ผิวเปลือกสมองของมนุษย์มากกว่าสองในสามส่วน อยู่ใต้ช่องที่เรียกว่า "ร่อง" (sulci) ส่วนใหม่ที่สุดของเปลือกสมองตามวิวัฒนาการชาติพันธุ์ ก็คือ คอร์เทกซ์ใหม่ (neocortex) หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ไอโซคอร์เทกซ์ ซึ่งมีชั้น 6 ชั้น ส่วนที่เก่าแก่ที่สุดก็คือฮิปโปแคมปัส หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า อาร์คิคอร์เทกซ์ ซึ่งมีชั้น 3 ชั้นเป็นอย่างมาก และแบ่งเขตออกเป็นฟิลด์ย่อยของฮิปโปแคมปัส (Hippocampal subfields) เซลล์ในชั้นต่าง ๆ ของเปลือกสมองเชื่อมต่อกันเป็นแนวตั้ง รวมตัวกันเป็นวงจรประสาทขนาดเล็กที่เรียกว่า "คอลัมน์ในคอร์เทกซ์" (cortical columns) เขตต่าง ๆ ในคอร์เทกซ์ใหม่ สามารถแบ่งออกเป็นเขตต่าง ๆ ที่เรียกว่า เขตบร็อดแมนน์ (Brodmann areas) แต่ละเขตมีลักษณะต่าง ๆ กันเป็นต้นว่า ความหนา ชนิดของเซลล์โดยมาก และตัวบ่งชี้สารเคมีประสาท (neurochemical markers).

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง กลุ่มอาการเรตต์และเปลือกสมอง

กลุ่มอาการเรตต์และเปลือกสมอง มี 1 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): เนื้อเทา

เนื้อเทา

นื้อเทา (Grey matter หรือ Gray matter, Substantia grisea) เป็นส่วนสำคัญของระบบประสาทกลาง ซึ่งประกอบด้วยตัวเซลล์ neuropil (คือเดนไดรท์ และแอกซอนไม่มีปลอกไมอีลิน) เซลล์เกลีย และหลอดเลือดฝอย (capillary) เนื้อเทามีตัวเซลล์ประสาท ซึ่งแตกต่างจากเนื้อขาว (white matter) ซึ่งมีแต่แอกซอนมีปลอกไมอีลินและไม่มีเซลล์ประสาท สีของเนื้อขาวเกิดจากสีขาวของปลอกไมอีลินซึ่งไม่เหมือนกับเนื้อเทา ในเนื้อเยื่อที่มีชีวิต เนื้อเทามีสีเทาแกมน้ำตาล ที่มีต้นเหตุจากหลอดเลือดฝอยและตัวเซลล์ประสาท.

กลุ่มอาการเรตต์และเนื้อเทา · เนื้อเทาและเปลือกสมอง · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง กลุ่มอาการเรตต์และเปลือกสมอง

กลุ่มอาการเรตต์ มี 4 ความสัมพันธ์ขณะที่ เปลือกสมอง มี 82 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 1, ดัชนี Jaccard คือ 1.16% = 1 / (4 + 82)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง กลุ่มอาการเรตต์และเปลือกสมอง หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »