เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

กลุ่มอาการหยุดยาแก้ซึมเศร้าและยาแก้ซึมเศร้า

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง กลุ่มอาการหยุดยาแก้ซึมเศร้าและยาแก้ซึมเศร้า

กลุ่มอาการหยุดยาแก้ซึมเศร้า vs. ยาแก้ซึมเศร้า

กลุ่มอาการหยุดยาแก้ซึมเศร้า (Antidepressant discontinuation syndrome) เป็นภาวะที่เกิดขึ้นหลังจากการขัดจังหวะ การลดขนาด หรือการหยุดยาแก้ซึมเศร้า รวมทั้งกลุ่ม Selective serotonin re-uptake inhibitors (SSRIs) หรือ serotonin-norepinephrine reuptake inhibitors (SNRIs) โดยมีอาการต่าง ๆ รวมทั้งอาการคล้ายเป็นหวัด และปัญหาทางการนอน ทางประสาทสัมผัส ทางการเคลื่อนไหว ทางอารมณ์ และทางความคิด ในกรณีโดยมาก อาการจะอ่อน ไม่คงอยู่นาน และหายเองโดยไม่ต้องรักษา ส่วนกรณีที่รุนแรง บ่อยครั้งจะรักษาได้โดยให้กลับไปทานยาอีก ซึ่งปกติจะหายภายใน 1 วัน. แผงยาโปรแซ็ก (ฟลูอ๊อกซิติน) ซึ่งเป็นยาแก้ซึมเศร้ากลุ่ม selective serotonin reuptake inhibitor (SSRI) โครงสร้างทางเคมีของ venlafaxine ซึ่งเป็นยาแก้ซึมเศร้ากลุ่ม Serotonin-norepinephrine reuptake inhibitor (SNRI) ยาแก้ซึมเศร้า (Antidepressant) เป็นยาเพื่อรักษาโรคซึมเศร้าและโรคอื่น ๆ รวมทั้ง dysthymia, โรควิตกกังวล, โรคย้ำคิดย้ำทำ, ความผิดปกติในการรับประทาน (eating disorder), ความเจ็บปวดเรื้อรัง, ความเจ็บปวดเหตุประสาท (neuropathic pain), และในบางกรณี อาการปวดระดู การกรน โรคไมเกรน โรคสมาธิสั้น การติด การติดสารเสพติด และความผิดปกติในการนอน โดยสามารถใช้เดี่ยว ๆ หรือรวมกับยาชนิดอื่น ๆ ตามที่แพทย์สั่ง กลุ่มยาแก้ซึมเศร้าที่สำคัญที่สุดรวมทั้ง selective serotonin reuptake inhibitors (SSRIs), serotonin-norepinephrine reuptake inhibitors (SNRIs), tricyclic antidepressants (TCAs), monoamine oxidase inhibitors (MAOIs), reversible monoamine oxidase A inhibitors (rMAO-A inhibitors), tetracyclic antidepressants (TeCAs), และ noradrenergic and specific serotonergic antidepressant (NaSSAs) โดยมียาสมุนไพรจากพืช Hypericum perforatum (St John's wort) ที่ใช้รักษาโรคซึมเศร้าเหมือนกัน.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง กลุ่มอาการหยุดยาแก้ซึมเศร้าและยาแก้ซึมเศร้า

กลุ่มอาการหยุดยาแก้ซึมเศร้าและยาแก้ซึมเศร้า มี 22 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): ฟลูอ็อกเซทีนกลุ่มอาการเซโรโทนินการทดลองทางคลินิกการตั้งครรภ์การติดการนอนไม่หลับฝันร้ายรายงานผู้ป่วยสารสื่อประสาทสารเสพติดอาการท้องร่วงอารมณ์อาเจียนครึ่งชีวิตความชุกของโรคประชานประสาทสัมผัสปวดศีรษะโรคจิตโดพามีนเซโรโทนินSelective serotonin re-uptake inhibitors

ฟลูอ็อกเซทีน

ฟลูอ็อกเซทีน (Fluoxetine) หรือชื่อทางการค้าคือ โปรแซ็ค (Prozac) และ ซาราเฟ็ม (Sarafem) เป็นยาแก้ซึมเศร้าแบบรับประทานประเภท selective serotonin reuptake inhibitor (SSRI) ใช้รักษาโรคซึมเศร้า (MDD) โรคย้ำคิดย้ำทำ (OCD) โรคหิวไม่หายแบบทานแล้วอาเจียน (bulimia nervosa) โรคตื่นตระหนก (panic disorder) และความละเหี่ยก่อนระดู (premenstrual dysphoric disorder ตัวย่อ PMDD) เป็นยาที่อาจลดความเสี่ยงการฆ่าตัวตายในคนไข้อายุเกิน 65 ปี และเป็นยาที่ใช้รักษาการหลั่งน้ำอสุจิเร็ว (premature ejaculation) ได้ด้วย ผลข้างเคียงที่สามัญก็คือนอนไม่หลับ ไม่อยากอาหาร ปากแห้ง เป็นผื่น และฝันผิดปกติ ผลข้างเคียงที่รุนแรงรวมทั้งเซโรโทนินเป็นพิษ (serotonin syndrome) อาการฟุ้งพล่าน การชัก โอกาสเสี่ยงฆ่าตัวตายสูงขึ้นสำหรับคนอายุต่ำกว่า 25 ปี และความเสี่ยงการเลือดออกสูงขึ้น --> ถ้าหยุดแบบฉับพลัน อาจมีอาการหยุดยา ซึ่งเกิดขึ้นพร้อมกับความวิตกกังวล ความเวียนหัวคลื่นไส้ และการรับรู้สัมผัสที่เปลี่ยนไป ยังไม่ชัดเจนว่า ยาปลอดภัยสำหรับหญิงมีครรภ์หรือไม่ --> แต่ว่าถ้าทานยาอยู่แล้ว ก็ยังเหมาะสมที่จะทานต่อไปเมื่อให้นมลูก กลไกการทำงานของยายังไม่ชัดเจน แต่เชื่อว่ายาเพิ่มการทำงานของระบบเซโรโทนินในสมอง บริษัท Eli Lilly and Company ค้นพบยาในปี..

กลุ่มอาการหยุดยาแก้ซึมเศร้าและฟลูอ็อกเซทีน · ฟลูอ็อกเซทีนและยาแก้ซึมเศร้า · ดูเพิ่มเติม »

กลุ่มอาการเซโรโทนิน

กลุ่มอาการเซโรโทนิน หรือ เซโรโทนินเป็นพิษ (Serotonin syndrome ตัวย่อ SS หรือ serotonin toxicity) เป็นกลุ่มอาการที่อาจเกิดขึ้นหลังจากการใช้ยาที่มีฤทธิ์ต่อระบบประสาทที่ใช้เซโรโทนิน (serotonergic) เป็นสารสื่อประสาท อาการอาจจะมีจากน้อยจนถึงรุนแรง รวมทั้ง ตัวร้อน อยู่ไม่สุข ไวรีเฟล็กซ์ สั่น เหงื่อออก รูม่านตาขยาย และท้องร่วง อุณหภูมิร่างกายสามารถเพิ่มขึ้นเกิน 41.1 องศาเซลเซียส ซึ่งมีผลเป็นภาวะแทรกซ้อนคือ การชัก และการเสียกล้ามเนื้ออย่างทั่วไป (rhabdomyolysis) กลุ่มอาการปกติมีเหตุมาจากการใช้ยาที่มีฤทธิ์ต่อระบบเซโรโทนิน 2 ชนิดหรือมากกว่านั้น ซึ่งอาจรวม selective serotonin reuptake inhibitor (SSRI), monoamine oxidase inhibitor (MAOI), tricyclic antidepressants (TCAs), แอมเฟตามีน, meperidine, ทรามาดอล, dextromethorphan, buspirone, ยาสมุนไพร Hypericum perforatum (St. John's wort), triptans, MDMA (ecstasy), metoclopramide, ondansetron, หรือโคเคน โดยเกิดขึ้นในอัตรา 15% สำหรับผู้ที่ใช้ยากลุ่ม SSRI เกิน อาการจะเริ่มขึ้นปกติภายในหนึ่งวันหลังจากมีเซโรโทนินในระบบประสาทกลางมากเกิน การวินิจฉัยอาศัยอาการคนไข้และประวัติการให้ยา แพทย์ต้องกันอาการที่คล้ายกันอื่น ๆ เช่น กลุ่มอาการร้ายจากยาระงับอาการทางจิต (neuroleptic malignant syndrome) ไข้สูงอย่างร้าย แอนติโคลิเนอร์จิกเป็นพิษ (anticholinergic toxicity) โรคลมเหตุร้อน และเยื่อหุ้มสมองอักเสบ ยังไม่มีการทดสอบในแล็บที่สามารถยืนยันการวินิจฉัยได้ การรักษาเบื้องต้นก็คือหยุดยาที่อาจเป็นเหตุ ในคนที่อยู่ไม่เป็นสุข สามารถใช้ยากลุ่มเบ็นโซไดอาเซพีน แต่ถ้ายังไม่พอ ยาต้านเซโรโทนิน (serotonin antagonist) เช่น cyproheptadine ก็สามารถใช้ได้ ในบุคคลที่อุณหภูมิกายสูง อาจต้องใช้วิธีที่ทำให้ตัวเย็น จำนวนคนไข้ที่มีอาการแต่ละปียังไม่ชัดเจน ถ้าได้การรักษาที่ถูกต้อง โอกาสเสียชีวิตมีน้อยกว่า 1% การเสียชีวิตของหญิงวัยรุ่นอายุ 18 ปี (Libby Zion) ที่โด่งดังเพราะอาการนี้ มีผลเปลี่ยนแปลงหลักสูตรการศึกษาแพทย์ในรัฐนิวยอร์ก.

กลุ่มอาการหยุดยาแก้ซึมเศร้าและกลุ่มอาการเซโรโทนิน · กลุ่มอาการเซโรโทนินและยาแก้ซึมเศร้า · ดูเพิ่มเติม »

การทดลองทางคลินิก

การวิจัยเชิงทดลองทางคลินิก (clinical trials) คือชุดของกระบวนการในการวิจัยทางการแพทย์และการพัฒนายาที่ทำขึ้นเพื่อประเมินข้อมูลเกี่ยวกับความปลอดภัย (รวมทั้งผลไม่พึงประสงค์จากยาและผลข้างเคียงของวิธีการรักษา) และประสิทธิภาพของเครื่องมือต่างๆ ในการให้บริการสุขภาพ (เช่น ยา การตรวจ อุปกรณ์ วิธีการรักษา ฯลฯ) การวิจัยจะเริ่มขึ้นได้ก็ต่อเมื่อได้มีการศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับประสิทธิภาพและความปลอดภัยจากการศึกษาที่ไม่ใช่ทางคลินิกจนได้ข้อมูลที่น่าพอใจแล้ว และผ่านการรับรองขององค์กรจริยธรรมที่เกี่ยวข้อง ในการทำวิจัยเช่นนี้ผู้วิจัยจะรวบรวมอาสาสมัครทั้งที่มีสุขภาพปกติและ/หรือป่วยด้วยภาวะที่สนใจเข้ามาศึกษาในการวิจัยนำร่องขนาดเล็กก่อน จากนั้นจึงเริ่มการวิจัยขนาดใหญ่ต่อไป ส่วนใหญ่ทำโดยเปรียบเทียบของใหม่กับของเก่าที่ใช้อยู่ เมื่อศึกษาพบว่ามีความปลอดภัยและมีประสิทธิภาพแล้ว การวิจัยลำดับถัดไปจะเพิ่มจำนวนผู้เข้าร่วมการวิจัยให้มากขึ้น การวิจัยเช่นนี้มีขนาดแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับความเหมาะสม อาจทำในศูนย์วิจัยแห่งเดียวหรือหลายศูนย์หลายประเทศพร้อมๆ กัน ก็มี หมวดหมู่:การวิจัยทางคลินิก หมวดหมู่:การออกแบบการทดลอง หมวดหมู่:เภสัชวิทยา หมวดหมู่:อุตสาหกรรมยา หมวดหมู่:วิทยาการระบาด หมวดหมู่:วิธีการประเมินผล หมวดหมู่:การค้นพบยาเสพติด หมวดหมู่:สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา หมวดหมู่:การทดลองทางคลินิก หมวดหมู่:การวิจัยทางการพยาบาล.

กลุ่มอาการหยุดยาแก้ซึมเศร้าและการทดลองทางคลินิก · การทดลองทางคลินิกและยาแก้ซึมเศร้า · ดูเพิ่มเติม »

การตั้งครรภ์

การตั้งครรภ์ คือ การเจริญของลูกตั้งแต่หนึ่ง ที่เรียก เอ็มบริโอหรือทารกในครรภ์ ในมดลูกของหญิง เป็นชื่อสามัญของการตั้งครรภ์ในมนุษย์ การตั้งครรภ์แฝดเกี่ยวข้องกับการมีเอ็มบริโอหรือตัวอ่อนมากกว่าหนึ่งในการตั้งครรภ์ครั้งเดียว เช่น ฝาแฝด การคลอดปกติเกิดราว 38 สัปดาห์หลังการเริ่มตั้งท้อง หรือ 40 สัปดาห์หลังเริ่มระยะมีประจำเดือนปกติครั้งสุดท้ายในหญิงซึ่งมีความยาวรอบประจำเดือนสี่สัปดาห์ การร่วมเพศหรือเทคโนโลยีช่วยเจริญพันธุ์ทำให้เกิดการเริ่มตั้งท้อง เอ็มบริโอเป็นลูกที่กำลังเจริญในช่วง 8 สัปดาห์แรกหลังเริ่มตั้งท้อง จากนั้นใช้คำว่า ทารกในครรภ์ จนกระทั่งคลอด นิยามทางการแพทย์หรือกฎหมายของหลายสังคมมีว่า การตั้งครรภ์ของมนุษย์แบ่งเป็น 3 ไตรมาสเพื่อง่ายต่อการอ้างอิงช่วงการเจริญก่อนเกิด ไตรมาสแรกมีความเสี่ยงการแท้งเอง (การตายธรรมชาติของตัวอ่อนหรือทารกในครรภ์) สูงสุด ในไตรมาสที่สองเริ่มเฝ้าสังเกตและวินิจฉัยการเจริญของทารกในครรภ์ได้ง่ายขึ้น ไตรมาสที่สามมีการเจริญของทารกในครรภ์เพิ่มและการเจริญของแหล่งสะสมไขมันของทารกในครรภ์ จุดความอยู่รอดได้ของทารกในครรภ์ (point of fetal viability) หรือจุดเวลาที่ทารกในครรภ์สามารถดำรงชีวิตได้นอกมดลูก ปกติตรงกับปลายไตรมาสที่ 2 หรือต้นไตรมาสที่ 3 ทารกที่คลอดก่อนจุดนี้มีความเสี่ยงสูงต่อภาวะทางการแพทย์หรือตาย ในสหรัฐอเมริกาและสหราชอาณาจักร 40% ของการตั้งครรภ์เป็นการตั้งครรภ์ที่ไม่ได้ตั้งใจ และระหว่าง 25% ถึง 50% ของการตั้งครรภ์ที่ไม่ได้ตั้งใจเหล่านี้เป็นการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ ในการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ที่เกิดในสหรัฐอเมริกา หญิง 60% ใช้การคุมกำเนิดระหว่างเดือนที่เกิดการตั้งครร.

กลุ่มอาการหยุดยาแก้ซึมเศร้าและการตั้งครรภ์ · การตั้งครรภ์และยาแก้ซึมเศร้า · ดูเพิ่มเติม »

การติด

การติด (addiction) หมายถึง การแสดงพฤติกรรมหนึ่งซ้ำ ๆ แม้จะมีผลเสีย หรือมีความบกพร่องทางประสาทวิทยาอันนำไปสู่พฤติกรรมดังกล่าว การติด เช่น การติดสารเสพติด การติดอาหาร การติดออกกำลังกาย การติดคอมพิวเตอร์และการพนัน.

กลุ่มอาการหยุดยาแก้ซึมเศร้าและการติด · การติดและยาแก้ซึมเศร้า · ดูเพิ่มเติม »

การนอนไม่หลับ

การนอนไม่หลับ (insomnia) เป็นความผิดปกติของการนอนหลับซึ่งไม่สามารถนอนหลับหรือนอนหลับได้ไม่นานเท่าที่ต้องการPunnoose Ann, Golub Robert, E Alison.(2012)"Insomnia", "JAMA".

กลุ่มอาการหยุดยาแก้ซึมเศร้าและการนอนไม่หลับ · การนอนไม่หลับและยาแก้ซึมเศร้า · ดูเพิ่มเติม »

ฝันร้าย

ฝันร้าย (nightmare) เป็นความฝันไม่น่าอภิรมย์ที่สามารถทำให้เกิดการตอบสนองทางอารมณ์เชิงลบอย่างรุนแรงจากจิต ที่โดยทั่วไปมักเป็นความกลัวหรือสยอง แต่ยังรวมถึงความสิ้นหวัง ความวิตกกังวลและความเศร้าใหญ่หลวงด้วย ความฝันอาจมีสถานการณ์อันตราย ไม่สบาย ความกลัวทางจิตหรือทางกาย ผู้ที่ฝันร้ายโดยทั่วไปมักตื่นขึ้นโดยความทุกข์ทรมานและอาจไม่สามารถกลับไปนอนหลับได้เป็นระยะเวลานาน ฝันร้ายสามารถเกิดจากสาเหตุทางกายภาพ เช่น การนอนหลับในที่ตำแหน่งที่ไม่สบายหรือติดขัด มีไข้ หรือสาเหตุทางจิตวิทยา เช่น ความเครียด ความวิตกกังวลและการย่อยอนุพันธ์ฝิ่น (opioid drugs) ที่ใช้ในยาแก้ปวด เช่น ออกซิโคโดนและไฮโดรโคโดน ก็ได้ การรับประทานก่อนเข้านอน ซึ่งเพิ่มเมแทบอลิซึมของร่างกายและกิจกรรมของสมอง ก็สามารถเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดฝันร้ายได้ ฝันร้ายกลับเป็นซ้ำที่สามารถรบกวนรูปแบบการนอนหลับและเป็นเหตุของการนอนไม่หลับอาจต้องการความช่วยเหลือทางการแพท.

กลุ่มอาการหยุดยาแก้ซึมเศร้าและฝันร้าย · ฝันร้ายและยาแก้ซึมเศร้า · ดูเพิ่มเติม »

รายงานผู้ป่วย

ในสาขาการแพทย์ รายงานผู้ป่วย"ศัพท์บัญญัติอังกฤษ-ไทย, ไทย-อังกฤษ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (คอมพิวเตอร์) รุ่น ๑.๑", ให้ความหมายของ case ว่า "กรณี, ผู้ป่วย, คนไข้" และของ report ว่า "รายงาน" หรือ รายงานกรณี หรือ รายงานเค้ส (case report) เป็นรายงานอย่างละเอียดเกี่ยวกับอาการ อาการแสดง การวินิจฉัย การรักษาพยาบาล และการติดตามผู้ป่วยคนหนึ่ง และอาจจะมีข้อมูลทางประชากรอื่น ๆ เกี่ยวกับผู้ป่วย ปกติจะเป็นรายงานเกี่ยวกับเค้สที่แปลกหรือใหม่ และบางครั้งจะมีการทบทวนวรรณกรรมของเค้สอื่น ๆ ที่ได้รับรายงานมาแล้ว.

กลุ่มอาการหยุดยาแก้ซึมเศร้าและรายงานผู้ป่วย · ยาแก้ซึมเศร้าและรายงานผู้ป่วย · ดูเพิ่มเติม »

สารสื่อประสาท

รสื่อประสาท (neurotransmitter) คือ สารเคมีที่มีหน้าที่ในการนำ, ขยาย และควบคุมสัญญาณไฟฟ้าจากเซลล์ประสาทเซลล์หนึ่งไปยังอีกเซลล์หนึ่ง ตามระบอบความเชื่อ ที่ตั้งขึ้นในทศวรรษที่ 1960 โดยที่สารเคมีนั้นจะเป็นสารสื่อประสาทได้จะต้องเป็นจริงตามเงื่อนไขดังนี้.

กลุ่มอาการหยุดยาแก้ซึมเศร้าและสารสื่อประสาท · ยาแก้ซึมเศร้าและสารสื่อประสาท · ดูเพิ่มเติม »

สารเสพติด

รเสพติด หรือ ยาเสพติดหมายถึง ยาหรือสารเคมีหรือวัตถุชนิดใดๆ เมื่อเสพเข้าสู่ร่างกายแล้วไม่ว่าจะโดยรับประทาน ดม สูบ ฉีด หรือวิธีใดก็ตาม ทำให้เกิดผลต่อร่างกายและจิตใ.

กลุ่มอาการหยุดยาแก้ซึมเศร้าและสารเสพติด · ยาแก้ซึมเศร้าและสารเสพติด · ดูเพิ่มเติม »

อาการท้องร่วง

อาการท้องร่วง (diarrhea หรือ diarrhoea) เป็นภาวะมีการถ่ายอุจจาระเหลวหรือเป็นน้ำอย่างน้อยสามครั้งต่อวัน มักกินเวลาไม่กี่วันและอาจทำให้เกิดภาวะขาดน้ำจากการเสียสารน้ำ อาการแสดงของภาวะขาดน้ำมักเริ่มด้วยการเสียความตึงตัวของผิวหนังและบุคลิกภาพเปลี่ยน ซึ่งสามารถลุกลามเป็นการถ่ายปัสสาวะลดลง สีผิวหนังซีด อัตราหัวใจเต้นเร็ว และการตอบสนองลดลงเมื่อภาวะขาดน้ำรุนแรง อย่างไรก็ดี อุจจาระเหลวแต่ไม่เป็นน้ำในทารกที่กินนมแม่อาจเป็นปกติ สาเหตุที่พบบ่อยที่สุด คือ การติดเชื้อของลำไส้อาจเนื่องจากไวรัส แบคทีเรียหรือปรสิต เป็นภาวะที่เรียก กระเพาะและลำไส้เล็กอักเสบ (gastroenteritis) การติดเชื้อเหล่านี้มักได้รับจากอาหารหรือน้ำที่มีการปนเปื้อนอุจจาระ หรือโดยตรงจากบุคคลอื่นที่ติดเชื้อ อาการท้องร่วงอารจแบ่งได้เป็นสามประเภท คือ อาการท้องร่วงเป็นน้ำระยะสั้น อาการท้องร่วงเป็นเลือดระยะสั้น และหากกินเวลานานกว่าสองสัปดาห์จะเป็นอาการท้องร่วงเรื้อรัง อาการท้องร่วงเป็นน้ำระยะสั้นอาจเนื่องจากการติดเชื้ออหิวาตกโรคซึ่งพบยากในประเทศพัฒนาแล้ว หากมีเลือดอยู่ด้วยจะเรียก โรคบิด อาการท้องร่วงมีบางสาเหตุที่ไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อซึ่งมีภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานเกิน ภาวะไม่ทนต่อแล็กโทส (แพ้นม) โรคลำไส้อักเสบ ยาจำนวนหนึ่ง และกลุ่มอาการลำไส้ไวเกินต่อการกระตุ้น ในผู้ป่วยส่วนมาก ไม่จำเป็นต้องเพาะเชื้ออุจจาระเพื่อยืนยันสาเหตุแน่ชัด การป้องกันอาการท้องร่วงจากการติดเชื้อทำได้โดยปรับปรุงการสุขาภิบาล มีน้ำดื่มสะอาดและล้างมือด้วยสบู่ แนะนำให้เลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างน้อยหกเดือนเช่นเดียวกับการรับวัคซีนโรตาไวรัส สารน้ำเกลือแร่ (ORS) ซึ่งเป็นน้ำสะอาดที่มีเกลือและน้ำตาลปริมาณหนึ่ง เป็นการรักษาอันดับแรก นอกจากนี้ยังแนะนำยาเม็ดสังกะสี มีการประเมินว่าการรักษาเหล่านี้ช่วยชีวิตเด็ก 50 ล้านคนใน 25 ปีที่ผ่านมา เมื่อบุคคลมีอาการท้องร่วง แนะนำให้กินอาหารเพื่อสุขภาพและทารกกินนมแม่ต่อไป หากหา ORS พาณิชย์ไม่ได้ อาจใช้สารละลายทำเองก็ได้ ในผู้ที่มีภาวะขาดน้ำรุนแรง อาจจำเป็นต้องให้สารน้ำเข้าหลอดเลือดดำ ทว่า ผู้ป่วยส่วนมากสามารถรักษาได้ดีด้วยสารน้ำทางปาก แม้ว่ามีการใช้ยาปฏิชีวนะน้อย แต่อาจแนะนำให้ผู้ป่วยซึ่งมีอาการท้องร่วงเป็นเลือดและไข้สูง ผู้ที่มีอาการท้องร่วงรุนแรงหลังท่องเที่ยว และผู้ที่เพาะแบคทีเรียหรือปรสิตบางชนิดขึ้นในอุจจาระ โลเพอราไมด์อาจช่วยลดจำนวนการถ่ายอุจจาระ แต่ไม่แนะนำในผู้ป่วยรุนแรง มีผู้ป่วยอาการท้องร่วงประมาณ 1,700 ถึง 5,000 ล้านคนต่อปี พบมากที่สุดในประเทศกำลังพัฒนาซึ่งเด็กเล็กมีอาการท้องร่วงโดยเฉลี่ย 3 ครั้งต่อปี มีการประเมินยอดผู้เสียชีวิตจากอาการท้องร่วง 1.26 ล้านคนในปี 2556 ลดลงจาก 2.58 ล้านคนในปี 2533 ในปี 2555 อาการท้องร่วงเป็นสาเหตุการเสียชีวิตที่พบมากที่สุดอันดับสองในเด็กอายุน้อยกว่า 5 ปี (0.76 ล้านคนหรือ 11%) คราวอาการท้องร่วงบ่อยยังเป็นสาเหตุทุพโภชนาการที่พบมากและเป็นสาเหตุที่พบมากที่สุดในเด็กอายุน้อยกว่าห้าปี ปัญหาระยะยาวอื่นซึ่งอาจเกิดได้มีการเติบโตช้าและพัฒนาการทางสติปัญญาไม่ดี.

กลุ่มอาการหยุดยาแก้ซึมเศร้าและอาการท้องร่วง · ยาแก้ซึมเศร้าและอาการท้องร่วง · ดูเพิ่มเติม »

อารมณ์

ตัวอย่างอารมณ์พื้นฐาน ในทางจิตวิทยา ปรัชญา และสาขาย่อยอื่น ๆ อารมณ์ หมายถึงประสบการณ์ในความรู้สำนึกและอัตวิสัยที่ถูกกำหนดลักษณะเฉพาะโดยการแสดงออกทางจิตสรีรวิทยา ปฏิกิริยาทางชีววิทยา และสภาพจิตใจ อารมณ์มักจะเกี่ยวข้องและถูกจัดว่ามีอิทธิพลซึ่งกันและกันกับพื้นอารมณ์ พื้นอารมณ์แต่กำเนิด บุคลิกภาพ นิสัย และแรงจูงใจ เช่นเดียวกับที่ได้รับอิทธิพลจากฮอร์โมนและสารสื่อประสาท อาทิ โดพามีน นอราดรีนาลีน เซโรโทนิน ออกซิโทซิน และคอร์ซิทอล อารมณ์มักเป็นพลังขับดันเบื้องหลังพฤติกรรมไม่ว่าเชิงบวกหรือเชิงลบ Gaulin, Steven J. C. and Donald H. McBurney.

กลุ่มอาการหยุดยาแก้ซึมเศร้าและอารมณ์ · ยาแก้ซึมเศร้าและอารมณ์ · ดูเพิ่มเติม »

อาเจียน

อาเจียน เป็นอาการขับออกซึ่งสิ่งต่างๆ ที่อยู่ในท้องอย่างเฉียบพลันออกทางปาก และบางครั้งทางจมูกด้วย การอาเจียนที่ไม่พึงประสงค์เกิดมาจากหลายสาเหตุตั้งแต่เยื่อบุกระเพาะอักเสบ หรือ ได้รับสารพิษ จนไปถึงเนื้องอกในสมอง เมารถเมาเรือ หรือแม้กระทั่งมาจากความดันในกะโหลกสูง อาการที่อยากจะอาเจียนเรียกว่าอาการคลื่นไส้ อาการนี้มักจะเกิดก่อนการอาเจียน แต่ไม่ได้แปลว่ามีอาการนี้แล้วจะต้องอาเจียนเสมอไป ยาแก้อาเจียนอาจจะต้องใช้ระงับการอาเจียนในรายที่มีอาการหนักมาก.

กลุ่มอาการหยุดยาแก้ซึมเศร้าและอาเจียน · ยาแก้ซึมเศร้าและอาเจียน · ดูเพิ่มเติม »

ครึ่งชีวิต

ครึ่งชีวิต (t½) (Half-life) คือเวลาที่สารกัมมันตรังสีใช้ในการสลายตัวเหลือครึ่งหนึ่งของที่มีอยู่เดิม มักถูกใช้เพื่ออธิบายคุณสมบัติของการสลายตัวของสารกัมมันตรังสี แต่อาจจะใช้เพื่ออธิบายปริมาณใด ๆ ก็ตามที่มีสลายตัวแบบเอ็กโพเนนเชียลด้วย จุดกำเนิดของคำศัพท์คำนี้ ได้ระบุไว้ว่าเออร์เนสต์ รัทเทอร์ฟอร์ดได้ค้นพบหลักการนี้ในปี 1907 และเรียกว่า "ช่วงเวลาครึ่งชีวิต" (half-life period) ต่อมาคำนี้ถูกย่อให้สั้นลงเหลือเป็น "ครึ่งชีวิต" (half-life) ในช่วงต้นทศวรรษปี 1950 หมวดหมู่:กัมมันตรังสี หมวดหมู่:นิวเคลียร์เคมี หมวดหมู่:ฟิสิกส์นิวเคลียร์ หมวดหมู่:การยกกำลัง.

กลุ่มอาการหยุดยาแก้ซึมเศร้าและครึ่งชีวิต · ครึ่งชีวิตและยาแก้ซึมเศร้า · ดูเพิ่มเติม »

ความชุกของโรค

ในทางระบาดวิทยา ความชุกของโรค (Prevalence) หมายถึงจำนวนกรณีผู้ป่วยที่เป็นโรคทั้งหมดในประชากร ณ เวลาหนึ่งๆ หรือกล่าวคือจำนวนผู้ป่วยในประชากรหนึ่งๆ หารด้วยจำนวนประชากรทั้งหมด ค่านี้ใช้ประมาณว่าโรคนี้เกิดบ่อยมากเพียงใดในประชากรที่ช่วงเวลาหนึ่งๆ ซึ่งช่วยให้แพทย์ทราบความน่าจะเป็นในการวินิจฉัยโรคและข้อมูลนี้ยังใช้ในงานของนักระบาดวิทยา ผู้ให้บริการสาธารณสุข ภาครัฐ และบริษัทประกันภัย สูตรคณิตศาสตร์ในการคำนวณความชุกของโรคคือ ให้ a.

กลุ่มอาการหยุดยาแก้ซึมเศร้าและความชุกของโรค · ความชุกของโรคและยาแก้ซึมเศร้า · ดูเพิ่มเติม »

ประชาน

ประชาน หรือ ปริชาน หรือ การรับรู้ (Cognition) เป็น "การกระทำหรือกระบวนการทางใจเพื่อให้ได้ความรู้ความเข้าใจผ่านความคิด ประสบการณ์ และประสาทสัมผัส" ซึ่งรวมกระบวนการต่าง ๆ รวมทั้ง.

กลุ่มอาการหยุดยาแก้ซึมเศร้าและประชาน · ประชานและยาแก้ซึมเศร้า · ดูเพิ่มเติม »

ประสาทสัมผัส

ประสาทสัมผัส (Sense)"ศัพท์บัญญัติอังกฤษ-ไทย, ไทย-อังกฤษ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (คอมพิวเตอร์) รุ่น ๑.๑" ให้ความหมายของ sense ว่า ความรู้สึก, การรับรู้, การกำหนดรู้, ประสาทสัมผัส เป็นสมรรถภาพในสรีระของสิ่งมีชีวิตที่ให้ข้อมูลเพื่อให้เกิดการรับรู้ (perception) มีการศึกษาประเด็นเกี่ยวกับการทำงาน การจำแนกประเภท และทฤษฎีของประสาทสัมผัส ในวิชาหลายสาขา โดยเฉพาะในวิทยาศาสตร์ประสาท จิตวิทยาปริชาน (หรือประชานศาสตร์) และปรัชญาแห่งการรับรู้ (philosophy of perception) ระบบประสาทของสัตว์นั้นมีระบบรับความรู้สึกหรืออวัยวะรับความรู้สึก สำหรับความรู้สึกแต่ละอย่าง มนุษย์เองก็มีประสาทสัมผัสหลายอย่าง การเห็น การได้ยิน การลิ้มรส การได้กลิ่น การถูกต้องสัมผัส เป็นประสาทสัมผัสห้าทางที่รู้จักกันมาตั้งแต่โบราณ แต่ว่า ความสามารถในการตรวจจับตัวกระตุ้นอื่น ๆ นอกเหนือจากนั้นก็ยังมีอยู่ รวมทั้ง อุณหภูมิ ความรู้สึกเกี่ยวกับเคลื่อนไหว (proprioception) ความเจ็บปวด (nociception) ความรู้สึกเกี่ยวกับการทรงตัว และความรู้สึกเกี่ยวกับตัวกระตุ้นภายในต่าง ๆ (เช่นมีเซลล์รับความรู้สึกเชิงเคมี คือ chemoreceptor ที่ตรวจจับระดับความเข้มข้นของเกลือและคาร์บอนไดออกไซด์ ที่อยู่ในเลือด) และความสามารถต่าง ๆ เหล่านี้สามารถเรียกว่าเป็นประสาทสัมผัสโดยต่างหากได้เพียงไม่กี่อย่าง เพราะว่า ประเด็นว่า อะไรเรียกว่า ประสาทสัมผัส (sense) ยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ ทำให้ยากที่จะนิยามความหมายของคำว่า ประสาทสัมผัส อย่างแม่นยำ สัตว์ต่าง ๆ มีตัวรับความรู้สึกเพื่อที่จะสัมผัสโลกรอบ ๆ ตัว มีระดับความสามารถที่ต่าง ๆ กันไปแล้วแต่สปีชีส์ เมื่อเทียบกันแล้ว มนุษย์มีประสาทสัมผัสทางจมูกที่ไม่ดี และสัตว์เหล่าอื่นก็อาจจะไม่มีประสาทสัมผัส 5 ทางที่กล่าวถึงไปแล้วอย่างใดอย่างหนึ่ง สัตว์บางอย่างอาจจะรับข้อมูลเกี่ยวกับตัวกระตุ้นและแปลผลข้อมูลเหล่านั้นต่างไปจากมนุษย์ และสัตว์บางชนิดก็สามารถสัมผัสโลกโดยวิธีที่มนุษย์ไม่สามารถ เช่นมีสัตว์บางชนิดสามารถสัมผัสสนามไฟฟ้าและสนามแม่เหล็ก สามารถสัมผัสแรงดันน้ำและกระแสน้ำ.

กลุ่มอาการหยุดยาแก้ซึมเศร้าและประสาทสัมผัส · ประสาทสัมผัสและยาแก้ซึมเศร้า · ดูเพิ่มเติม »

ปวดศีรษะ

อาการปวดศีรษะคืออาการปวดซึ่งเกิดกับบริเวณใดๆ ของศีรษะและคอ ซึ่งอาจเป็นอาการของหลายๆ ภาวะที่เกิดกับศีรษะและคอ ทั้งนี้เนื่องจากเนื้อเยื่อสมองนั้นไม่สามารถรับรู้ความเจ็บปวดได้เนื่องจากไม่มีตัวรับรู้ความรู้สึกเจ็บปวด ดังนั้นอาการปวดศีรษะส่วนใหญ่เกิดจากความผิดปกติของอวัยวะอื่นๆ รอบๆ สมองที่สามารถรับรู้ความรู้สึกเจ็บปวดได้ โดยอวัยวะเหล่านี้อาจแบ่งออกได้เป็นสองกลุ่ม คือ ส่วนที่อยู่ในกะโหลกศีรษะ (หลอดเลือด เยื่อหุ้มสมอง และเส้นประสาทสมอง) และนอกกะโหลกศีรษะ (เยื่อหุ้มกระดูกของกะโหลกศีรษะ กล้ามเนื้อ เส้นประสาท หลอดเลือด เนื้อเยื่อใต้ผิวหนัง ตา หู โพรงอากาศ และเยื่อบุ) ระบบการจำแนกประเภทอาการปวดศีรษะมีใช้อยู่หลายระบบ ระบบหนึ่งซึ่งเป็นที่รู้จักแพร่หลายคือระบบของ International Headache Society (สมาคมอาการปวดศีรษะนานาชาติ) วิธีการรักษาอาการปวดศีรษะขึ้นอยู่กับโรคที่เป็นสาเหตุ แต่ส่วนใหญ่มักมีการใช้ยาแก้ปวดร่วมในการรักษาด้วยเสมอ.

กลุ่มอาการหยุดยาแก้ซึมเศร้าและปวดศีรษะ · ปวดศีรษะและยาแก้ซึมเศร้า · ดูเพิ่มเติม »

โรคจิต

รคจิต หรือ วิกลจริต (psychosis) คือ โรคกลุ่มเล็กๆ กลุ่มหนึ่ง ในกลุ่มโรคทางจิตเวชทั้งหมด ที่มีหลายโรค (โรคทางจิตเวช ได้แก่ โรคจิต โรคอารมณ์แปรปรวน โรควิตกกังวล โรคซึมเศร้า โรคเครียดที่เกิดจากสถานการณ์ร้ายแรงในชีวิต โรคปรับตัวผิดปกติ บุคลิกภาพบกพร่อง ฯลฯ).

กลุ่มอาการหยุดยาแก้ซึมเศร้าและโรคจิต · ยาแก้ซึมเศร้าและโรคจิต · ดูเพิ่มเติม »

โดพามีน

มีน (Dopamine) เป็นสารประกอบอินทรีย์ในกลุ่มเดียวกัน แคทิคอลลามีน และ เฟนเอทิลเอมีน ซึ่งมีความสำคัญกับสมองและร่างกาย ซื่อโดพามีน ได้จากโครงสร้างทางเคมี ซึ่งสังเคราะห์โดยการเปลี่ยนหมู่กรดอินทรีย์ของ L-DOPA ( L-3,4-dihydroxyphenylalanine) ให้เป็นหมู่อะมิโน ซึ่งเป็นสารเคมีที่ผลิตขึ้นในสมองและไต และพบว่าพืชและสัตว์บางชนิดก็สามารถสังเคราะห์ได้เช่นกัน ในสมอง โดพามีนทำหน้าที่เป็นสารสื่อประสาท (neurotransmitter) คอยกระตุ้น ตัวรับโดพามีน (dopamine receptor) โดพามีนทำหน้าที่เป็นฮอร์โมนประสาท (neurohormone) ที่หลั่งมาจากสมองส่วนไฮโปทาลามัส (hypothalamus) หน้าที่หลักของฮอร์โมนตัวนี้คือยับยั้งการหลั่งโปรแลคติน (prolactin) จากต่อมใต้สมองส่วนหน้า (anterior pituitary) โดพามีนสามารถใช้เป็นยา ซึ่งมีผลต่อระบบประสาทซิมพาเทติก (sympathetic nervous system) โดยมีผลลัพธ์คือ อัตราการเต้นของหัวใจเพิ่มขึ้น แรงดันโลหิตเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม เมื่อโดพามีนไม่สามารถผ่านโครงสร้างกั้นระหว่างเลือดและสมอง (blood-brain barrier) โดพามีนที่ใช้เป็นยา จะไม่มีผลโดยตรงต่อระบบประสาทส่วนกลาง การเพิ่มปริมาณของโดพามีนในสมองของผู้ป่วยที่เป็นโรคต่างๆ เช่น พาร์คินสัน สามารถให้สารตั้งต้นแบบสังเคราะห์แก่โดพามีน เช่น L-DOPA เพื่อให้สามารถผ่านโครงสร้างกั้นระหว่างเลือดและสมองได้ โดพามีนเป็นสารสื่อประสาทกลุ่มแคทีโคลามีน (catecholamines) ที่สร้างมาจากกรดอะมิโนไทโรซีน (tyrosine) โดยอาศัยการทำงานของเอนไซม์ไทโรซีนไฮดรอกซิเลส (tyrosine hydroxylase) ในสมอง มีปริมาณโดพามีนประมาณร้อยละ 80 ของสารกลุ่มแคทีโคลามีนที่ถูกสร้างขึ้นทั้งหมด นอกจากนี้โดพามีนยังจัดเป็นนิวโรฮอร์โมน (neurohormone) ที่หลั่งจากสมองส่วนไฮโปธาลามัส ซึ่งทำหน้าที่ยับยั้งการหลั่งโปรแลกตินจากกลีบส่วนหน้าของต่อมพิทูอิตารี เมื่อโดพามีนถูกปลดปล่อยจากเซลล์ประสาทโดพามีนแล้ว จะมีผลต่อสมองส่วนต่างๆ ในหลายด้าน ซึ่งได้แก.

กลุ่มอาการหยุดยาแก้ซึมเศร้าและโดพามีน · ยาแก้ซึมเศร้าและโดพามีน · ดูเพิ่มเติม »

เซโรโทนิน

ซโรโทนิน (serotonin) (5-hydroxytryptamine, or 5-HT) เป็นสารสื่อประสาทที่มีโครงสร้างทางเคมีเป็นโมโนอะมีน (monoamine neurotransmitter) พบมากในระบบทางเดินอาหารของสัตว์ (gastrointestinal tract of animals) และประมาณ 80-90% ของปริมาณเซโรโทนินรวมในร่างกายมนุษย์พบใน enterochromaffin cells ซึ่งเป็นเซลล์ในทางเดินอาหาร (gut) ซึ่งมันทำหน้าที่ในการควบคุมการเคลื่อนไหวของทางเดินอาหาร ส่วนเซโรโทนินในร่างกายอีก 10-20% นั้น ถูกสังเคราะห์ในระบบประสาทส่วนกลางจากเซลล์ประสาทที่สามารถสร้างเซโรโทนินได้ (serotonergic neurons) ซึ่งทำหน้าที่เป็นสารสื่อประสาท ซึ่งมีบทบาทหลายหน้าที่เช่น การควบคุมความหิว อารมณ์ และความโกรธ เซโรโทนินยังพบในเห็ดและพืชผักผลไม้ต่างๆอีกด้ว.

กลุ่มอาการหยุดยาแก้ซึมเศร้าและเซโรโทนิน · ยาแก้ซึมเศร้าและเซโรโทนิน · ดูเพิ่มเติม »

Selective serotonin re-uptake inhibitors

Selective serotonin re-uptake inhibitors หรือ serotonin-specific reuptake inhibitors (ตัวย่อ SSRI, SSRIs) เป็นกลุ่มยา (class of drugs) ที่ปกติใช้เป็นยาแก้ซึมเศร้าเพื่อรักษาโรคซึมเศร้า (MDD) และโรควิตกกังวล กลไกการทำงานของ SSRIs ยังเป็นเรื่องไม่ชัดเจน แต่เชื่อว่า SSRI เพิ่มระดับสารสื่อประสาทเซโรโทนินนอกเซลล์ประสาทโดยจำกัดการนำไปใช้ใหม่ในเซลล์ก่อนไซแนปส์ (presynaptic) เป็นการเพิ่มระดับเซโรโทนินในช่องไซแนปส์ (synaptic cleft) ที่สามารถเข้ายึดกับตัวรับ (receptor) ของเซลล์หลังไซแนปส์ (postsynaptic) ได้ ยาแต่ละประเภทมีการเลือกสรร (selectivity) ในระดับต่าง ๆ กันต่อตัวขนส่งโมโนอะมีนประเภทอื่น ๆ แต่ SSRIs แบบบริสุทธิ์จะมีสัมพรรคภาพ (affinity) ที่อ่อนต่อโปรตีนขนส่งนอร์เอพิเนฟรินและโปรตีนขนส่งโดพามีน SSRIs เป็นยาแก้ซึมเศร้าที่แพทย์สั่งให้คนไข้มากที่สุดในประเทศหลาย ๆ ประเทศ แต่ประสิทธิผลของ SSRIs ต่อโรคซึมเศร้าในระดับอ่อนหรือปานกลางยังเป็นเรื่องขัดแย้ง.

Selective serotonin re-uptake inhibitorsและกลุ่มอาการหยุดยาแก้ซึมเศร้า · Selective serotonin re-uptake inhibitorsและยาแก้ซึมเศร้า · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง กลุ่มอาการหยุดยาแก้ซึมเศร้าและยาแก้ซึมเศร้า

กลุ่มอาการหยุดยาแก้ซึมเศร้า มี 35 ความสัมพันธ์ขณะที่ ยาแก้ซึมเศร้า มี 145 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 22, ดัชนี Jaccard คือ 12.22% = 22 / (35 + 145)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง กลุ่มอาการหยุดยาแก้ซึมเศร้าและยาแก้ซึมเศร้า หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่: