กลุ่มอาการดาวน์และการสร้างไข่
ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง
ความแตกต่างระหว่าง กลุ่มอาการดาวน์และการสร้างไข่
กลุ่มอาการดาวน์ vs. การสร้างไข่
กลุ่มอาการดาวน์ หรือ ดาวน์ซินโดรม (Down syndrome) เป็นโรคพันธุกรรมที่ที่เกิดจากการมีโครโมโซม 21 เกินมาทั้งอันหรือบางส่วน ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะมีพัฒนาการล่าช้า มีใบหน้าเป็นลักษณะเฉพาะ และมีความพิการทางสติปัญญาระดับเล็กน้อยถึงปานกลาง ระดับเชาวน์ปัญญาโดยเฉลี่ยของผู้ป่วยกลุ่มอาการดาวน์ในวัยผู้ใหญ่ตอนต้นอยู่ประมาณ 50 เทียบเท่ากับเด็กอายุ 8-9 ปี อย่างไรก็ดีระดับสติปัญญาของผู้ป่วยเหล่านี้อาจมีความแตกต่างกันได้มาก สาเหตุที่พบบ่อยที่สุดก็คือ การมีโครโมโซมเกินไป 1 แท่ง คือ โครโมโซมคู่ที่ 21 มี 3 แท่ง แทนที่จะมี 2 แท่ง ซึ่งทางการแพทย์เรียกว่า แฝดสามของโครโมโซม (trisomy) 21 มีมากถึง 95% สาเหตุรองลงมาเรียกว่า การสับเปลี่ยนของโครโมโซม (translocation) คือมีโครโมโซมย้ายที่ เช่น โครโมโซมคู่ที่ 14 มายึดติดกับคู่ที่ 21 เป็นต้น พบได้ 4% ส่วนสาเหตุที่พบได้น้อยที่สุดคือมีโครโมโซมทั้ง 46 และ 47 แท่งในคน ๆ เดียว พบได้เพียง 1% เท่านั้นเรียกว่า โมเซอิค (mosaic) ภาวะนี้สามารถวินิจฉัยได้ทั้งขณะตั้งครรภ์ผ่านการคัดกรองขณะตั้งครรภ์และตามด้วยการตรวจวินิจฉัยยืนยัน หรือวินิจฉัยได้หลังคลอดผ่านการตรวจร่างกายและการตรวจพันธุกรรม ในปัจจุบันเมื่อมีการตรวจคัดกรองแพร่หลาย ผู้ตั้งครรภ์จำนวนหนึ่งเลือกยุติการตั้งครรภ์เมื่อตรวจพบภาวะนี้ ผู้ป่วยกลุ่มอาการดาวน์ควรได้รับการตรวจคัดกรองปัญหาสุขภาพเป็นระยะตลอดชีวิต ผู้ป่วยสามารถพัฒนาคุณภาพชีวิตได้ผ่านการศึกษาและการดูแลที่เหมาะสม หลายคนสามารถเข้าโรงเรียนและเรียนในชั้นเรียนปกติได้ บางรายอาจต้องได้รับการศึกษาพิเศษ บางรายจบการศึกษาระดับมัธยมปลาย และจำนวนหนึ่งเรียนต่อในระดับอุดมศึกษาได้ ผู้ป่วยกลุ่มอาการดาวน์วัยผู้ใหญ่ในสหรัฐอเมริการ้อยละ 20 ทำงานและมีรายได้ในระดับหนึ่ง แม้หลายคนจะจำเป็นต้องได้รับการจัดสถานที่ทำงานเป็นพิเศษ หลายรายจำเป็นต้องได้รับความช่วยเหลือทางการเงินและทางกฎหมาย อายุขัยเฉลี่ยของผู้ป่วยอยู่ที่ 50-60 ปี ในประเทศพัฒนาแล้วที่มีบริการสาธารณสุขที่เหมาะสม กลุ่มอาการดาวน์เป็นภาวะโครโมโซมผิดปกติที่พบบ่อยที่สุดชนิดหนึ่งในมนุษย์ โดยพบในทารกแรกเกิดมีชีวิตถึง 1 ใน 1000 คน เป็นสาเหตุการเสียชีวิตถึง 36,000 ราย ใน.. การสร้างเซลล์สืบพันธุ์เพศเมียในสัตว์ (oogenesis) เป็นการสร้างเซลล์ไข่ เกิดในรังไข่ ซึ่งมีเซลล์เริ่มต้นเรียกprimary oocyte ซึ่งจะเพิ่มจำนวนตัวเองด้วยการแบ่งเซลล์แบบไมโทซิส เมื่อเซลล์นี้เริ่มแบ่งตัวแบบไมโอซิส จะค้างอยู่ที่ระยะโพรเฟส I จนกระทั่งได้รับฮอร์โมน FSH จึงแบ่งตัวต่อจนสิ้นสุดไมโอซิส I ได้ 2 เซลล์ขนาดไม่เท่ากัน เซลล์ที่มีขนาดใหญ่เรียกว่า secondary oocyte เซลล์ที่มีขนาดเล็กเรียกว่า first polar body secondary oocyte จะแบ่งตัวต่อไปจนถึงระยะเมตาเฟส II แล้วค้างไว้จนกระทั่งตกไข่ เมื่อไข่ตกแล้วถ้าไม่ได้รับการผสม เซลล์ไข่จะฝ่อไป ถ้าได้รับการผสม secondary oocyteจะแบ่งตัวต่อจนสิ้นสุดไมโอซิส II ได้เซลล์ไข่กับ second polar body หลังจากนั้นเซลล์ไข่จะปฏิสนธิกับสเปิร์มได้ไซโกต.
ความคล้ายคลึงกันระหว่าง กลุ่มอาการดาวน์และการสร้างไข่
กลุ่มอาการดาวน์และการสร้างไข่ มี 0 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย)
รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้
- สิ่งที่ กลุ่มอาการดาวน์และการสร้างไข่ มีเหมือนกัน
- อะไรคือความคล้ายคลึงกันระหว่าง กลุ่มอาการดาวน์และการสร้างไข่
การเปรียบเทียบระหว่าง กลุ่มอาการดาวน์และการสร้างไข่
กลุ่มอาการดาวน์ มี 22 ความสัมพันธ์ขณะที่ การสร้างไข่ มี 5 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 0, ดัชนี Jaccard คือ 0.00% = 0 / (22 + 5)
การอ้างอิง
บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง กลุ่มอาการดาวน์และการสร้างไข่ หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่: