โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

กลุ่มภาษาเตอร์กิกและรายชื่อภาษา

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง กลุ่มภาษาเตอร์กิกและรายชื่อภาษา

กลุ่มภาษาเตอร์กิก vs. รายชื่อภาษา

กลุ่มภาษาเตอร์กิกเป็นกลุ่มของภาษาที่แพร่กระจายจากยุโรปตะวันออก ผ่านทะเลเมดิเตอร์เรเนียนไปถึงไซบีเรียและจีนตะวันตก และจัดเป็นส่วนหนึ่งของสมมติฐานตระกูลภาษาอัลไตอิก กลุ่มภาษานี้มีผู้พูดเป็นภาษาแม่ราว 180 ล้านคน ถ้ารวมผู้ที่พูดเป็นภาษาที่สองด้วยมีราว 200 ล้านคน ส่วนใหญ่เป็นผู้พูดภาษาตุรกี ซึ่งคิดเป็น 40%ของผู้พูดกลุ่มภาษานี้ทั้งหม. รายชื่อภาษาต่าง ๆ ทั่วโลกเรียงตามลำดับตัวอักษร.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง กลุ่มภาษาเตอร์กิกและรายชื่อภาษา

กลุ่มภาษาเตอร์กิกและรายชื่อภาษา มี 44 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): กลุ่มภาษาจีนภาษาชะกะไตภาษาบาราบาภาษาชูวัชภาษาชูเลียมภาษาฟุยุ-คีร์กิซภาษากากาอุซภาษาการากัลปักภาษาญี่ปุ่นภาษารัสเซียภาษาละตินภาษาอัฟซาร์ภาษาอัลไตภาษาอายนีภาษาอาหรับภาษาอาเซอร์ไบจานภาษาอุยกูร์ภาษาอุซเบกภาษาอูรดูภาษาควาซไควภาษาคากัสภาษาคาราไช-บัลคาร์ภาษาคาลาซภาษาคาซัคภาษาคาซาร์ภาษาคาไรม์ภาษาคีร์กีซภาษาตาตาร์ภาษาตาตาร์ไครเมียภาษาตุรกี...ภาษาตุรกีกากาอุซบอลข่านภาษาตูวันภาษาซาลาร์ภาษาซาฮาภาษาแบชเคียร์ภาษาโตฟาภาษาโนไกภาษาเกาหลีภาษาเครียมชากภาษาเตอร์กิกเก่าภาษาเติร์กโคราซานีภาษาเติร์กเมนภาษาเปอร์เซียภาษาเปเชเนก ขยายดัชนี (14 มากกว่า) »

กลุ่มภาษาจีน

ัฒนาการของภาษาจีนสำเนียงต่างๆ ภาษาจีน (汉语 - 漢語 - Hànyǔ - ฮั่นอวี่, 华语 - 華語 - Huáyǔ - หัวอวี่ หรือ 中文 - Zhōngwén - จงเหวิน) เป็นหนึ่งในตระกูลภาษาจีน-ทิเบต ชาวจีนส่วนใหญ่ถือภาษาจีนพูดชนิดต่าง ๆ ว่าเป็นภาษาเดียว โดยทั่วไปแล้ว ภาษาพูดในกลุ่มภาษาจีนเป็นภาษาที่มีเสียงวรรณยุกต์และไม่อ่านเนื่องเสียง อย่างไรก็ดี ยังมีความแตกต่างกันในภาษาพูดแต่ละภาษาอยู่มาก ความต่างเหล่านี้เทียบได้กับ ความแตกต่างระหว่างภาษาของภาษากลุ่มโรมานซ์ เราอาจแบ่งภาษาพูดของจีนได้ 6 ถึง 12 กลุ่ม ขึ้นอยู่กับเกณฑ์ที่ใช้ในการแบ่ง ที่เป็นที่รู้จักดี เช่น กลุ่มแมนดาริน กลุ่มหวู และกลุ่มกวางตุ้ง ยังเป็นที่โต้เถียงกันถึงปัจจุบันว่าภาษาพูดบางกลุ่มควรจัดเป็น "ภาษา" หรือเป็นแค่ "สำเนียง" ประชากรประมาณ 1/5 ของโลกพูดภาษาจีนแบบใดแบบหนึ่งเป็นภาษาแม่ ทำให้เป็นภาษาที่มีคนพูดเป็นภาษาแม่มากที่สุด สำเนียงพูดที่ถือเป็นมาตรฐาน คือ สำเนียงปักกิ่ง หรือ ภาษาฮั่น ซึ่งอยู่ในกลุ่มภาษาแมนดาริน ภาษาจีนกลาง หรือ ภาษาจีนแมนดาริน (Standard Mandarin) เป็นภาษาทางการของสาธารณรัฐประชาชนจีน และสาธารณรัฐจีนหรือไต้หวัน เป็นหนึ่งในภาษาทางการ 4 ภาษาทางการของประเทศสิงคโปร์ (ร่วมกับ ภาษาอังกฤษ ภาษามลายู และภาษาทมิฬ) และเป็นหนึ่งใน 6 ภาษาที่ใช้ในองค์การสหประชาชาติ (ร่วมกับ ภาษาอังกฤษ ภาษาอาหรับ ภาษาฝรั่งเศส ภาษารัสเซีย และภาษาสเปน) ภาษาจีนกวางตุ้ง เป็นภาษาทางการของ ฮ่องกง (ร่วมกับภาษาอังกฤษ) และมาเก๊า (ร่วมกับภาษาโปรตุเกส) นอกจากนี้ ภาษาเขียนยังได้เปลี่ยนแปลงตามระยะเวลา แต่การเปลี่ยนแปลงของภาษาเขียน ช้ากว่าการเปลี่ยนแปลงของภาษาพูดอย่างมาก จึงไม่ถูกจำกัดโดยความเปลี่ยนแปลงของภาษาพูดโดยส่วนใหญ่ ในปัจจุบัน ภาษาจีนใช้อักษรมาตรฐาน 2 รูปแบบทั่วโลก ได้แก่ อักษรจีนตัวเต็ม และ อักษรจีนตัวย่อ แผ้นที่แสดงพื้นที่ที่มีกลุ่มคนพูดภาษาจีนต่างๆ ในประเทศจีน.

กลุ่มภาษาจีนและกลุ่มภาษาเตอร์กิก · กลุ่มภาษาจีนและรายชื่อภาษา · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาชะกะไต

ษาชะกะไต (ภาษาชะกะไต: جغتای; ภาษาตุรกี: Çağatayca; ภาษาอุยกูร์: چاغاتاي Chaghatay; ภาษาอุซเบก: ﭼىﻐﺎتوي Chig'atoy) เป็นภาษากลุ่มเตอร์กิกที่ตายแล้ว เคยใช้พูดในเอเชียกลางและบริเวณโคราซาน คำว่า “ชะกะไต” มีความเกี่ยวพันกับเขตของชะกะไตข่านทางตะวันตกของจักรวรรดิมองโกเลียที่อยู่ในความครอบครองของชะกะไตข่าน ลูกชายคนที่สองของเจงกีสข่าน ชาวตุรกีชะกะไตและชาวตาตาร์จำนวนมากที่เคยพูดภาษานี้เป็นลูกหลานที่สืบตระกูลมาจากชะกะไตข่าน.

กลุ่มภาษาเตอร์กิกและภาษาชะกะไต · ภาษาชะกะไตและรายชื่อภาษา · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาบาราบา

ษาบาราบา เป็นภาษากลุ่มเตอร์กิก มีผู้พูด 8,000 คนในไซบีเรีย ประเทศรัสเซีย ใกล้เคียงกับภาษาตาตาร์มาก จนบางครั้งถือว่าเป็นสำเนียงของภาษาตาตาร์ อยู่ในภาษากลุ่มเคียปชัก โดยมีความสัมพันธ์กับภาษาบัสกีร์ซึ่งเป็นภาษาในกลุ่มเดียวกันน้อยที่สุด ไม่มีฐานะเป็นภาษาราชการ เฉพาะสำเนียงกาซาน ตาตาร์เท่านั้นที่ใช้ในงานเขียน.

กลุ่มภาษาเตอร์กิกและภาษาบาราบา · ภาษาบาราบาและรายชื่อภาษา · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาชูวัช

ษาชูวัช (ภาษาชูวัช: Чӑвашла, Čăvašla, สัทอักษร:; อาจสะกดเป็น Chăvash, Chuwash, Chovash, Chavash, Çuvaş หรือ Çuaş) เป็นภาษากลุ่มเตอร์กิก ใช้พูดในบริเวณเทือกเขายูรัลทางตอนกลางของรัสเซีย เป็นภาษาราชการของสาธารณรัฐชูวัชในประเทศรัสเซีย มีผู้พูดราว 2 ล้านคน เขียนด้วยอักษรซีริลลิก ภาษาที่มีอิทธิพลต่อภาษาชูวัชได้แก่ ภาษาตาตาร์ ภาษากลุ่มฟินโน-อูกริก ภาษารัสเซีย ภาษามารี ภาษามองโกเลีย ภาษาอาหรับ และภาษาเปอร์เซีย แต่โบราณ ภาษาชูวัชเขียนด้วยอักษรออร์คอน เปลี่ยนเป็นอักษรอาหรับเมื่อเข้ารับอิสลาม เมื่อถูกยึดครองโดยมองโกเลีย ระบบการเขียนได้หายไป อักษรแบบใหม่ถูกประดิษฐ์ขึ้นโดย อีวาน ยาคอฟเลวิช ยาคอฟเลฟ ใน..

กลุ่มภาษาเตอร์กิกและภาษาชูวัช · ภาษาชูวัชและรายชื่อภาษา · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาชูเลียม

ภาษาชูเลียม (ภาษารัสเซีย: Чулымский язык)เป็นภาษาที่พูดโดยชาวชูเลียมซึ่งเรียกตนเองว่า Ös ภาษานี้มีหลายสำเนียง แต่บางสำเนียงกลายเป็นภาษาตายไปแล้ว มีผู้พูดอยู่ในรัสเซีย บริเวณไซบีเรียกลาง ทางเหนือของเทือกเขาอัลไต บริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำชูเลียม ผู้พูดทั้งหมดใช้ภาษารัสเซียเป็นภาษาที่สอง ชูเลียม.

กลุ่มภาษาเตอร์กิกและภาษาชูเลียม · ภาษาชูเลียมและรายชื่อภาษา · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาฟุยุ-คีร์กิซ

ษาฟุยุ-คีร์กิซ (Fuyü Gïrgïs หรือ Fu-Yu Kirgiz) เป็นภาษากลุ่มเตอร์กิกที่ใช้พูดทางตะวันออกสุดของมณฑลเฮยลองเจียน (Heilongjiang) ที่อยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของจีน มีผู้พูดน้อย และไม่ถือเป็นสำเนียงของภาษาคีร์กิซ.

กลุ่มภาษาเตอร์กิกและภาษาฟุยุ-คีร์กิซ · ภาษาฟุยุ-คีร์กิซและรายชื่อภาษา · ดูเพิ่มเติม »

ภาษากากาอุซ

ษากากาอุซ (Gagauz dili) เป็นภาษากลุ่มเตอร์กิกที่พูดโดยชาวกากาอุซ เป็นภาษาราชการของกากาอุเซีย ในสาธารณรัฐมอลโดวา มีผู้พูดราว 150,000 คน เริ่มแรกเขียนด้วยอักษรกรีก เปลี่ยนมาใช้อักษรซีริลลิกใน..

กลุ่มภาษาเตอร์กิกและภาษากากาอุซ · ภาษากากาอุซและรายชื่อภาษา · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาการากัลปัก

ษาการากัลปักเป็นภาษากลุ่มเตอร์กิก พูดโดยชาวการากัลปักที่อยู่ในการากัลปักสถาน ประเทศอุซเบกิสถาน ใกล้เคียงกับภาษาคาซัคและภาษาโนไก คำศัพท์และไวยากรณ์ส่วนใหญ่ได้รับอิทธิพลจากภาษาอุซเบก เป็นภาษารูปคำติดต่อที่มีการเปลี่ยนเสียงสระเช่นเดียวกับภาษาฮังการีและภาษาตุรกี ไม่มีการแบ่งเพศทางไวยากรณ์ เรียงประโยคแบบประธาน-กรรม-กริยา เริ่มแรกภาษานี้เขียนด้วยอักษรอาหรับจนถึง..

กลุ่มภาษาเตอร์กิกและภาษาการากัลปัก · ภาษาการากัลปักและรายชื่อภาษา · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาญี่ปุ่น

ษาญี่ปุ่น (日本語) เป็นภาษาทางการของประเทศญี่ปุ่น ปัจจุบันมีผู้ใช้ทั่วโลกราว 130 ล้านคน นอกเหนือจากประเทศญี่ปุ่นแล้ว รัฐอังกาอูร์ สาธารณรัฐปาเลา ได้กำหนดให้ภาษาญี่ปุ่นเป็นภาษาทางการภาษาหนึ่ง นอกจากนี้ภาษาญี่ปุ่นยังถูกใช้ในหมู่ชาวญี่ปุ่นที่ย้ายไปอยู่นอกประเทศ นักวิจัยญี่ปุ่น และนักธุรกิจต่างๆ คำภาษาญี่ปุ่นได้รับอิทธิพลมาจากภาษาต่างประเทศเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะภาษาจีน ที่ได้นำมาเผยแพร่มาในประเทศญี่ปุ่นเมื่อกว่า 1,500 ปีที่แล้ว และตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 19 เป็นต้นมา ก็ได้มีการยืมคำจากภาษาต่างประเทศที่ไม่ใช่ภาษาจีนมาใช้อีกเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะภาษากลุ่มอินโด-ยูโรเปียน เช่นคำที่มาจากภาษาดัตช์ ビール (bier แปลว่า เบียร์) และ コーヒー (koffie แปลว่า กาแฟ).

กลุ่มภาษาเตอร์กิกและภาษาญี่ปุ่น · ภาษาญี่ปุ่นและรายชื่อภาษา · ดูเพิ่มเติม »

ภาษารัสเซีย

ษารัสเซีย (русский язык) เป็นภาษากลุ่มสลาวิกที่ใช้เป็นภาษาพูดอย่างกว้างขวางที่สุด ภาษารัสเซียจัดอยู่ในกลุ่มอินโด-ยูโรเปียน ดังนั้นจึงมีความสัมพันธ์กับภาษาสันสกฤต ภาษากรีก และภาษาละติน รวมไปถึงภาษาในกลุ่มเจอร์แมนิก โรมานซ์ และเคลติก (หรือเซลติก) ยุคใหม่ ตัวอย่างของภาษาทั้งสามกลุ่มนี้ได้แก่ภาษาอังกฤษ ภาษาฝรั่งเศส และภาษาไอริชตามลำดับ ส่วนภาษาเขียนนั้นมีหลักฐานยืนยันปรากฏอยู่เริ่มจากคริสต์ศตวรรษที่ 10 ในปัจจุบัน ภาษารัสเซียเป็นภาษาที่มีการใช้นอกประเทศรัสเซียด้วย มีเอกสารทางวิทยาศาสตร์จำนวนหนึ่งตีพิมพ์เป็นภาษารัสเซีย รวมทั้งความรู้ในระดับมหาวิทยาลัยจำนวนหนึ่ง ภาษารัสเซียเป็นภาษาที่มีความสำคัญทางการเมืองในยุคที่สหภาพโซเวียตเรืองอำนาจและยังเป็นภาษาราชการภาษาหนึ่งของสหประชาชาต.

กลุ่มภาษาเตอร์กิกและภาษารัสเซีย · ภาษารัสเซียและรายชื่อภาษา · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาละติน

ษาละติน (Latin) เป็นภาษาโบราณในภาษากลุ่มอินโด-ยูโรเปียน มีต้นกำเนิดในที่ราบลาติอุม (Latium) ซึ่งเป็นพื้นที่รอบๆกรุงโรม และได้ชื่อว่าเป็นภาษาทางการในการสื่อสารของจักรวรรดิโรมัน ต่อมาภาษาละตินได้ถูกกำหนดให้เป็นภาษาสื่อสารและในพิธีสวดของศาสนจักรโรมันคาทอลิก และยังเป็นภาษาที่ใช้โดยนักวิทยาศาสตร์ นักปรัชญา และนักเทววิทยาของยุโรป ตั้งแต่ตลอดยุคกลางจนมาถึงยุคสมัยใหม่ ภาษาละตินจึงเป็นภาษาต้นฉบับของงานเขียนที่ทรงคุณค่าทั้งทางประวัติศาสตร์ และทางวรรณกรรมเป็นจำนวนมาก ภาษาอังกฤษได้รับคำในภาษาละตินเข้ามาในภาษาตนเป็นจำนวนมาก เนื่องจากอิทธิพลของเจ้าปกครองชาวแองโกล-นอร์มัน ซึ่งใช้ภาษาฝรั่งเศส นอกจากนี้คำศัพท์ที่ใช้ในสาขาวิทยาศาสตร์และการแพทย์ ล้วนเป็นคำศัพท์ภาษาละตินหรือสร้างจากภาษาละติน ภาษาละตินเป็นภาษามีวิภัติปัจจัย (การผันคำ) มีการก 7 การก (case), มีเพศ 3 เพศ, และมีพจน์ 2 พจน์ ภาษาอื่น ๆ อีกหลายภาษาที่ใช้ในปัจจุบัน พัฒนาสืบต่อมาจากภาษาละตินพื้นบ้าน ซึ่งจะเรียกกลุ่มภาษาเหล่านี้ว่า ภาษากลุ่มโรมานซ์ ภาษาที่อยู่ในกลุ่มภาษาโรมานซ์ที่สำคัญได้แก่ ภาษาฝรั่งเศส ภาษาโรมาเนีย ภาษาอิตาลี ภาษาโปรตุเกส และภาษาสเปน ภาษาส่วนใหญ่ในภาษากลุ่มอินโด-ยูโรเปียนก็มีความสัมพันธ์บางอย่างกับภาษาละติน แม้ภาษาละตินในปัจจุบัน จะมีผู้ใช้น้อยมากจนถูกนับว่าเกือบเป็นภาษาสูญแล้ว แต่การศึกษาภาษาละตินในโรงเรียนและในมหาวิทยาลัยก็ยังคงมีอยู่อย่างแพร่หลาย นอกจากนี้อักษรละติน (ที่พัฒนามาจากอักษรกรีก) ยังคงมีใช้ในหลายภาษา และเป็นอักษรที่ใช้มากที่สุดในโลก.

กลุ่มภาษาเตอร์กิกและภาษาละติน · ภาษาละตินและรายชื่อภาษา · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาอัฟซาร์

ษาอัฟซาร์ (Afshar or Afshari) เป็นภาษากลุ่มเตอร์กิก มีผู้พูดในอิหร่านและอัฟกานิสถาน บางครั้งถูกจัดให้เป็นสำเนียงหนึ่งของภาษาอาเซอรี ภาษานี้มีคำยืมจากภาษาดารีมาก และเปลี่ยนเสียง /a/ เป็น /ɒ/ เช่นเดียวกับในภาษาอุซเบก ในหลายกรณี เสียงสระในภาษาอัฟซาร์ เป็นสระปากไม่ห่อในขณะที่ในภาษาอาเซอรีเป็นสระปากห่อ เช่น jiz (100) เป็น jyz ในภาษาอาเซอรีมาตรฐาน.

กลุ่มภาษาเตอร์กิกและภาษาอัฟซาร์ · ภาษาอัฟซาร์และรายชื่อภาษา · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาอัลไต

ษาอัลไต เป็นภาษากลุ่มเตอร์กิก ใช้พูดในสาธารณรัฐอัลไตในรัสเซีย ก่อน..

กลุ่มภาษาเตอร์กิกและภาษาอัลไต · ภาษาอัลไตและรายชื่อภาษา · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาอายนี

ภาษาอายนี เป็นภาษากลุ่มเตอร์กิก ใช้พูดในภาคตะวันตกของจีน บางครั้งเรียกว่าภาษาไอนุ แต่ไม่เกี่ยวข้องกับภาษาไอนุในญี่ปุ่นและรัสเซีย เป็นภาษาที่มีลักษณะผสมคือ ไวยากรณ์เป็นแบบภาษากลุ่มเตอร์กิก แต่คำศัพท์มากจากภาษากลุ่มอินโด-อิหร่าน ใช้พูดโดยชาวอายนี ใกล้เคียงกับภาษาอุยกูร์ อายนี.

กลุ่มภาษาเตอร์กิกและภาษาอายนี · ภาษาอายนีและรายชื่อภาษา · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาอาหรับ

ษาอาหรับ (العربية; Arabic Language) เป็นภาษากลุ่มเซมิติก ที่มีผู้พูดมากที่สุด ซึ่งมีความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดพอควรกับภาษาฮีบรูและภาษาอราเมอิก โดยพัฒนามาจากภาษาเดียวกันคือภาษาเซมิติกดั้งเดิม ภาษาอาหรับสมัยใหม่ถือว่าเป็นภาษาขนาดใหญ่ แบ่งเป็นสำเนียงย่อยได้ถึง 27 สำเนียง ในระบบ ISO 639-3 ความแตกต่างของการใช้ภาษาพบได้ทั่วโลกอาหรับ โดยมีภาษาอาหรับมาตรฐานซึ่งใช้ในหมู่ผู้นับถือศาสนาอิสลาม ภาษาอาหรับสมัยใหม่มาจากภาษาอาหรับคลาสสิกซึ่งเป็นภาษาเดียวที่เหลืออยู่ในภาษากลุ่มอาหรับเหนือโบราณ เริ่มพบในพุทธศตวรรษที่ 11 และกลายเป็นภาษาทางศาสนาของศาสนาอิสลามตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 12 เป็นภาษาของคัมภีร์อัลกุรอาน และภาษาของการนมาซและบทวิงวอนของชาวมุสลิมทั่วโลก ชาวมุสลิมจะเริ่มศึกษาภาษาอาหรับตั้งแต่ยังเด็ก เพื่ออ่านอัลกุรอานและทำการนมาซ ภาษาอาหรับเป็นแหล่งกำเนิดของคำยืมจำนวนมากในภาษาที่ใช้โดยมุสลิมและภาษาส่วนใหญ่ในยุโรป ภาษาอาหรับเองก็มีการยืมคำจากภาษาเปอร์เซียและภาษาสันสกฤตด้วย ในช่วงยุคกลาง ภาษาอาหรับเป็นภาษาหลักในการขับเคลื่อนวัฒนธรรมโดยเฉพาะทางวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และปรัชญา จึงทำให้ภาษาในยุโรปจำนวนมากยืมคำไปจากภาษาอาหรับ โดยเฉพาะภาษาสเปนและภาษาโปรตุเกส ทั้งนี้เพราะอารยธรรมอาหรับเคยแผ่ขยายไปถึงคาบสมุทรไอบีเรี.

กลุ่มภาษาเตอร์กิกและภาษาอาหรับ · ภาษาอาหรับและรายชื่อภาษา · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาอาเซอร์ไบจาน

thumbnail ภาษาอาเซอรี หรือ ภาษาอาเซอร์ไบจาน เป็นภาษาราชการของประเทศอาเซอร์ไบจาน มีชื่อเรียกในภาษาของตนว่า Azərbaycan dili บางสำเนียงของภาษานี้ใช้พูดในอิหร่าน ซึ่งใช้เป็นภาษากลางระหว่างภาษาส่วนน้อยอื่นๆคือ ภาษาเคิร์ด ภาษาอาร์มีเนียและภาษาตาเลชิ มีผู้พูดภาษานี้ในสาธารณรัฐดาเกสถานในรัสเซีย จอร์เจียตะวันตกเฉียงใต้ อิหร่านภาคเหนือ และภาคตะวันออกของตุรกี เป็นภาษาในกลุ่มภาษาอัลไตอิก มีผู้พูดเป็นภาษาแม่ประมาณ 23 – 30 ล้านคน โดยมีราว 16- 23 ล้านคนในอิหร่านและ 7 ล้านคนในอาเซอร์ไบจาน และ 800,000 ในที่อื่นๆ เป็นภาษากลุ่มเตอร์กิก ใกล้เคียงกับภาษาตุรกี ได้รับอิทธิพลจากภาษาเปอร์เซียและภาษาอาหรับ ผู้พูดภาษานี้พอจะเข้าใจกันได้กับผู้พูดภาษากลุ่มเตอร์กิก สาขาโอคุซอื่นๆ เช่น ภาษาตุรกี ที่ใช้พูดในตุรกี ไซปรัสและแหลมบอลข่าน รวมทั้งภาษาเติร์กเมนด้ว.

กลุ่มภาษาเตอร์กิกและภาษาอาเซอร์ไบจาน · ภาษาอาเซอร์ไบจานและรายชื่อภาษา · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาอุยกูร์

ษาอุยกูร์ เป็นภาษากลุ่มเตอร์กิก พูดโดยชาวอุยกูร์ในเขตปกครองตนเองซินเจียงอุยกูร์ ประเทศจีน.

กลุ่มภาษาเตอร์กิกและภาษาอุยกูร์ · ภาษาอุยกูร์และรายชื่อภาษา · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาอุซเบก

ษาอุซเบก (อักษรละติน: O'zbek tili ออซเบก ติลี; อักษรซีริลลิก: Ўзбек) เป็นภาษากลุ่มเตอร์กิกที่พูดโดยชาว อุซเบกในประเทศอุซเบกิสถานและพื้นที่อื่น ๆ ในเอเชียกลาง ภาษาที่ใกล้เคียงที่สุดในเชิงคำและไวยากรณ์คือภาษาอุยกูร์ ภาษาเปอร์เซียและภาษารัสเซียได้มีอิทธิพลสำคัญต่อภาษาอุซเบก ภาษาอุซเบกเป็นภาษาราชการของประเทศอุซเบกิสถาน และมีคนพูดเป็นภาษาแม่ประมาณ 18.5 ล้านคน ภาษาอุซเบกก่อนปีพ.ศ. 2535 เขียนด้วยอักษรซีริลลิก แต่ในปัจจุบีนมีการใช้อักษรละตินเขียนในประเทศอุซเบกิสถาน ส่วนชาวจีนที่พูดภาษาอุซเบกใช้อักษรอาหรับเขียน อิทธิพลของศาสนาอิสลามรวมถึงภาษาอาหรับแสดงชัดเจนในภาษาอุซเบก รวมถึงอิทธิพลของภาษารัสเซียในช่วงที่ประเทศอุซเบกิสถานอยู่ภายใต้การยึดครองของจักรวรรดิรัสเซีย และ โซเวียต คำภาษาอาหรับส่วนใหญ่ผ่านเข้ามายังภาษาอุซเบกผ่านทางภาษาเปอร์เซีย ภาษาอุซเบกแบ่งเป็นภาษาย่อย ๆ จำนวนมาก ซึ่งมีความแตกต่างอย่างมากระหว่างภูมิภาค อย่างไรก็ดี มีภาษาย่อยที่เข้าใจกันทั่วไป ซึ่งใช้ในสื่อมวลชนและในสิ่งตีพิมพ์ส่วนใหญ่ นักภาษาศาสตร์บางคนถือว่าภาษาที่พูดในประเทศอัฟกานิสถานตอนเหนือโดยชาวอุซเบกพื้นเมือง เป็นภาษาย่อยของภาษาอุซเบก.

กลุ่มภาษาเตอร์กิกและภาษาอุซเบก · ภาษาอุซเบกและรายชื่อภาษา · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาอูรดู

ษาอูรดู (اردو) เป็นภาษาหนึ่งในภาษากลุ่มอินโด-อารยัน ซึ่งพัฒนามาจากหลายภาษารวมกันคือ ภาษาเปอร์เซีย ตุรกี อาหรับ ฮินดี และ สันสกฤต นิยมใช้กันมากในช่วงสมัยรัฐสุลต่านเดลฮี และจักรวรรดิโมกุล (ค.ศ.๑๒๐๐ - ๑๘๐๐) ภาษาอูรดู อยู่ในอันดับที่ ๒๐ ของภาษาที่มีคนใช้เป็นภาษาแม่ และเป็นภาษาราชการของประเทศปากีสถาน นอกจากนี้ยังเป็นภาษาหนึ่งในภาษาราชการ ๒๓ ภาษา ของประเทศอินเดี.

กลุ่มภาษาเตอร์กิกและภาษาอูรดู · ภาษาอูรดูและรายชื่อภาษา · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาควาซไคว

ษาควาซไคว (Qashqai อาจสะกดเป็น Ghashghai, Qashqa'i, Qashqay, และ Kashkai) เป็นภาษากลุ่มเตอร์กิก ใช้พูดโดยชาวควาซไควที่เป็นชนกลุ่มน้อนในเขตฟาร์ของอิหร่าน มีผู้พูดประมาณ 500,000 คน ใกล้เคียงกับภาษาอาเซอรี เขียนด้วยอักษรอาหรับดัดแปลงแบบเปอร์เซีย ผู้พูดส่วนใหญ่จะใช้ภาษาเปอร์เซียได้ด้ว.

กลุ่มภาษาเตอร์กิกและภาษาควาซไคว · ภาษาควาซไควและรายชื่อภาษา · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาคากัส

ษาคาดัสเป็นภาษากลุ่มเตอร์กิกและเป็นภาษาราชการของสาธารณรัฐคากัสเซียในรัสเซีย ที่อยู่ทางภาคกลางตอนใต้ของไซบีเรียใช้พูดโดยชาวคากัสที่ส่วนใหญ่อยู่ทางใต้ของสาธารณรัฐคากัส ไซบีเรีย หรือคากัสเซียในรัสเซีย มีชาวคากัสที่พูดภาษานี้ราว 60,168 คน ส่วนใหญ่พูดภาษารัสเซียได้ด้วย ภาษาคากัสแบ่งได้เป็นหลายสำเนียงตามเผ่าย่อยต่างๆ หลักฐานการศึกษาภาษาคากัสเริ่มเมื่อราวพุทธศตวรรษที่ 24 โดยนักภาษาศาสตร์ชาวฟินแลนด์ Matthias Castren ผู้ที่เดินทางไปในเอเชียตอนเหนือและตอนกลางระหว่าง..

กลุ่มภาษาเตอร์กิกและภาษาคากัส · ภาษาคากัสและรายชื่อภาษา · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาคาราไช-บัลคาร์

ษาคาราไช-บัลคาร์ (Karachay-Balkar language) เป็นภาษากลุ่มเตอร์กิก ใช้พูดโดยชาวคาราไชและชาวบัลคาร์ มีภาษาถิ่นสองแบบคือสำเนียงคาราไชและสำเนียงบัลคาร์ ซึ่งมีหน่วยเสียงพยัญชนะบางตัวต่างกัน เช่น เสียง ของสำเนียงคาราไช เป็นเสียง ในสำเนียงบัลคาร.

กลุ่มภาษาเตอร์กิกและภาษาคาราไช-บัลคาร์ · ภาษาคาราไช-บัลคาร์และรายชื่อภาษา · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาคาลาซ

ษาคาลาซ เป็นภาษาที่ใช้พูดในอัฟกานิสถานและอิหร่าน อยู่ในภาษากลุ่มเตอร์กิก มีผู้พูด 42,000 เมื่อ..

กลุ่มภาษาเตอร์กิกและภาษาคาลาซ · ภาษาคาลาซและรายชื่อภาษา · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาคาซัค

ษาคาซัค (Kazakh, Kazak, Qazaq, Қазақ тілі, Qazaq tili: คาซัค ติลิ) เป็นภาษากลุ่มเตอร์กิก ที่มีรหัส ISO 639 ว่า kaz และ kk ภาษาคาซัคเป็นหนึ่งในภาษาราชการของประเทศคาซัคสถาน และนอกจากนี้ยังมีคนพูดภาษานี้ในอัฟกานิสถาน จีน อิหร่าน คีร์กีซสถาน มองโกเลีย รัสเซีย ทาจิกิสถาน ตุรกี เติร์กเมนิสถาน ยูเครน และอุซเบกิสถาน ในเยอรมนีมีคนที่พูดภาษาคาซัคตั้งแต่ครึ่งหลังของคริสต์ศตวรรษที่ 20 เป็นต้นมา ทั่วโลกมีคนพูดภาษาคาซัคเป็นภาษาแม่ประมาณ 6.5 ล้านคน เขียนโดยใช้อักษรซีริลลิก อักษรละติน (ในตุรกี) และอักษรอาหรับที่มีการดัดแปลง (ในประเทศจีน อิหร่าน และอัฟกานิสถาน).

กลุ่มภาษาเตอร์กิกและภาษาคาซัค · ภาษาคาซัคและรายชื่อภาษา · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาคาซาร์

ษาคาซาร์ เป็นภาษาที่พูดโดยเผ่าคาร์ซาร์ในเอเชียกลางในยุคกลาง อยู่ในภาษากลุ่มเตอร์กิก ใกล้เคียงกับภาษาฮั่น มีข้อโต้แย้งกันมากว่าภาษาคาซาร์ควรอยู่ในสาขาใดของภาษากลุ่มเตอร์กิกถ้าจะจัดให้อยู่ในกลุ่มนี้ บางคนเสนอว่าน่าจะจัดให้อยู่ในภาษากลุ่มอิหร่านหรือภาษากลุ่มคอเคเซียน อาจได้รับอิทธิพลจากภาษาเตอร์กิกโบราณและภาษาอุยกูร์ นักวิชาการอาหรับในยุคกลางจำแนกให้ภาษาคาซาร์คล้ายกับภาษาของชาวเติร์กเช่น ภาษาโอคุซ นอกจากนั้นภาษาคาซาร์และภาษากลุ่มโอคุซมีความใกล้เคียงกับภาษาอื่น เพราะภาษาบัลการ์อาจได้รับอิทธิพลจากภาษาเตอร์กิกโบราณและภาษาอุยกูร์ นักวิชาการปัจจุบันได้ตั้งสมมติฐานโอคุซโดยสันนิษฐานว่าภาษาคาซาร์มีจุดกำเนิดจากยุคของกอกเติร์ก ซึ่งเป็นไปได้ว่าภาษาเตอร์กิกโบราณแบบของกอกเติร์กมีการใช้เป็นภาษาทางการในช่วงต้นของประวัติภาษาคาซาร์แต่ไม่มีหลักฐานเหลืออยู่ จารึกอักษรออร์คอน ที่ใช้เขียนภาษาคาซาร์ ตัวอย่างของภาษาคาซาร์ที่เหลืออยู่ในปัจจุบันมีน้อยมาก ส่วนใหญ่เป็นชื่อที่ยังเหลืออยู่ในเอกสารทางประวัติศาสตร์ที่เหลืออยู่ในภาษาฮีบรู ภาษาคาซาร์ที่เหลืออยู่เป็นข้อความที่เขียนด้วยอักษรรูนส์แบบเตอร์กิก แต่ก็ยังพบภาษาคาซาร์ที่เขียนด้วยอักษรซีริลลิก อักษรกรีก อักษรฮีบรู อักษรละติน อักษรอาหรับหรืออักษรจอร์เจียในชุมชนที่ต่างกัน.

กลุ่มภาษาเตอร์กิกและภาษาคาซาร์ · ภาษาคาซาร์และรายชื่อภาษา · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาคาไรม์

ษาคาไรม์ (Karaim language) เป็นภาษากลุ่มเตอร์กิกที่ได้รับอิทธิพลจากภาษาฮีบรูในทำนองเดียวกับภาษายิดดิชหรือภาษาลาดิโน พูดโดยชาวคาไรต์ในไครเมียซึ่งเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่นับถือศาสนายูดายในไครเมีย ลิธัวเนีย โปแลนด์และยูเครนตะวันตกเหลือผู้พูดอยู่เพียง 6 คน ภาษาคาไรม์สำเนียงลิธัวเนียเคยใช้พูดในกลุ่มชุมชนขนาดเล็กบริเวณเมืองตราไก ชาวคาไรต์เหล่านี้ถูกซื้อมาโดยแกรนด์ดุ๊กเวียเตาตัสแห่งลิธัวเนียเมื่อราว..

กลุ่มภาษาเตอร์กิกและภาษาคาไรม์ · ภาษาคาไรม์และรายชื่อภาษา · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาคีร์กีซ

ษาคีร์กีซ (Kyrgyz Language; Кыргыз тили, Kyrgyz tili; قىرعىز تىلى) เป็นภาษากลุ่มเตอร์กิกตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นภาษาราชการของประเทศคีร์กีซสถานคู่กับภาษารัสเซีย มีผู้พูด 7 ล้านคน ในคีร์กีซสถาน จีน อัฟกานิสถาน คาซัคสถาน ทาจิกิสถาน ตุรกี อุซเบกิสถาน ปากีสถานและรัสเซีย เขียนด้วยอักษรซีริลลิกดัดแปลงในคีร์กีซสถาน และอักษรอาหรับดัดแปลงในจีน เคยเขียนด้วยอักษรละตินในช่วง..

กลุ่มภาษาเตอร์กิกและภาษาคีร์กีซ · ภาษาคีร์กีซและรายชื่อภาษา · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาตาตาร์

ษาตาตาร์ เป็นภาษากลุ่มเติร์ก ตระกูลยูราล-อัลไตอิก พูดโดยชาวตาตาร์ จัดเป็นภาษารูปคำติดต่อ มีผู้พูดในบางส่วนของยุโรป รัสเซีย ไซบีเรีย จีน ตุรกี โปแลนด์ ยูเครน ฟินแลนด์ และเอเชียกลาง เป็นภาษาราชการของสาธารณรัฐตาตาร์สถาน เขียนด้วยอักษรซีริลลิกโดยมีอักษรเฉพาะที่ไม่ได้ใช่ในภาษากลุ่มสลาวิก.

กลุ่มภาษาเตอร์กิกและภาษาตาตาร์ · ภาษาตาตาร์และรายชื่อภาษา · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาตาตาร์ไครเมีย

ษาตาตาร์ ไครเมีย หรือภาษาไครเมีย ภาษาตุรกีไครเมีย เป็นภาษาของชาวตาตาร์ไครเมีย ใช้พูดในไครเมีย เอเชียกลาง โดยเฉพาะในอุซเบกิสถาน และผู้อพยพชาวตาตาร์ ไครเมียในตุรกี โรมาเนีย บัลแกเรีย เป็นคนละภาษากับภาษากวาซัน ตาตาร.

กลุ่มภาษาเตอร์กิกและภาษาตาตาร์ไครเมีย · ภาษาตาตาร์ไครเมียและรายชื่อภาษา · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาตุรกี

ษาตุรกี (Türkçe ตืร์กเช หรือ Türk dili ตืร์ก ดิลิ) เป็นภาษากลุ่มเตอร์กิก เป็นภาษาที่มีผู้พูด 65 – 73 ล้านคนทั่วโลกซึ่งถือเป็นภาษากลุ่มเตอร์กิกที่มีผู้พูดมากที่สุด ผู้พูดส่วนใหญ่อยู่ในตุรกี และมีกระจายอยู่ในไซปรัส บัลแกเรีย กรีซ และยุโรปตะวันออก และมีผู้พูดอีกหลายสิบล้านคนที่อพยพไปอยู่ในยุโรปตะวันตกโดยเฉพาะเยอรมัน ต้นกำเนิดของภาษาพบในเอเชียกลางซึ่งมีการเขียนครั้งแรกเมื่อประมาณ 1,200 ปีมาแล้ว ภาษาตุรกีออตโตมันได้แพร่ขยายไปทางตะวันตกซึ่งเป็นผลมาจากการขยายตัวของจักรวรรดิออตโตมัน พ.ศ. 2471 หลังการปฏิรูปของอตาเตริ์กซึ่งเป็นปีแรกๆของยุคสาธารณรัฐใหม่ มีการปรับปรุงภาษาโดยแทนที่อักษรอาหรับในยุคออตโตมันด้วยอักษรละตินที่เพิ่มเครื่องหมายการออกเสียง มีการตั้งสมาคมภาษาตุรกีเพื่อลดการใช้คำยืมจากภาษาเปอร์เซียกับภาษาอาหรับ หันมาใช้คำดั้งเดิมของภาษากลุ่มเตอร์กิกแทน ลักษณะเด่นของภาษาตุรกีคือมีการเปลี่ยนเสียงสระและการเชื่อมคำแบบรูปคำติดต่อ การเรียงคำโดยทั่วไปเป็นแบบประธาน-กรรม-กริยา ไม่มีการแบ่งเพศของคำนาม.

กลุ่มภาษาเตอร์กิกและภาษาตุรกี · ภาษาตุรกีและรายชื่อภาษา · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาตุรกีกากาอุซบอลข่าน

ษาตุรกีกากาอุซบอลข่าน (Balkan Gagauz Turkish) หรือภาษาตุรกีบอลข่าน เป็นภาษากลุ่มเตอร์กิกที่ใช้พูดในตุรกี กรีซ และสาธารณรัฐมาซิโดเนีย เป็นภาษาที่ต่างจากภาษากากาอุซและภาษาตุรกี.

กลุ่มภาษาเตอร์กิกและภาษาตุรกีกากาอุซบอลข่าน · ภาษาตุรกีกากาอุซบอลข่านและรายชื่อภาษา · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาตูวัน

ษาตูวัน (ภาษาตูวัน: тыва дыл tyva dyl), เป็นภาษากลุ่มเตอร์กิก มีผู้พูด 200,000 คนในสาธารณรัฐตูวา ในไซบีเรียกลางตอนใต้ มีคำยืมจากภาษามองโกเลียและภาษารัสเซียมาก มีชาวตูวันกลุ่มเล็กๆอยู่ในจีนและมองโกเลียด้ว.

กลุ่มภาษาเตอร์กิกและภาษาตูวัน · ภาษาตูวันและรายชื่อภาษา · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาซาลาร์

ษาซาลาร์เป็นภาษากลุ่มเตอร์กิก พูดโดยชาวซาลาร์ที่อยู่ในมณฑลชิงไห่ และกานซูในประเทศจีน มีอยู่ในเมืองกุลจา (Ghulja) ในเขตปกครองตนเองซินเจียงอุยกูร์ด้วย ชาวซาลาร์มีประมาณ 90,000 คน โดยพูดภาษาซาลาร์ 70,000 คน ที่เหลือพูดภาษาจีน ชาวซาลาร์อพยพเข้ามาอยู่ในบริเวณที่อยู่ปัจจุบันเมื่อราว..

กลุ่มภาษาเตอร์กิกและภาษาซาลาร์ · ภาษาซาลาร์และรายชื่อภาษา · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาซาฮา

ษาซาฮาหรือภาษายากุต เป็นภาษากลุ่มเตอร์กิก มีผู้พูด 363,000 คน ในสาธารณรัฐซาฮาของรัสเซีย การเรียงประโยคเป็นแบบประธาน-กริยาวิเศษณ์-กรรม-กริยา คำแสดงความเป็นเจ้าของมาก่อนคำที่เป็นเจ้าของ คำขยายตามหลังนามที่ถูกขยาย คำนามมีรุปเอกพจน์กับพหูพจน์ ไม่แบ่งเพศของนาม แต่มีการแยกสรรพนามบุรุษที่ 3 ระหว่างนามที่มีกับไม่มีชีวิต.

กลุ่มภาษาเตอร์กิกและภาษาซาฮา · ภาษาซาฮาและรายชื่อภาษา · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาแบชเคียร์

ษาแบชเคียร์ (Bashkir language) เป็นภาษากลุ่มเตอร์กิก มีผู้พูดเป็นภาษาแม่ในรัสเซียมากกว่า 1,047,000 คน เมื่อ..

กลุ่มภาษาเตอร์กิกและภาษาแบชเคียร์ · ภาษาแบชเคียร์และรายชื่อภาษา · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาโตฟา

ษาโตฟา เป็นภาษากลุ่มเตอร์กิกใช้พูดในบริเวณอีร์กุส ออบลาสต์ในรัสเซีย ใกล้เคียงกับภาษาตูวัน ซึ่งมีสำเนียงลูกผสมระหว่างสองภาษาเกิดขึ้นคือ สำเนียงตูฮาและเซนเจล ตูวัน วึ่งถือเป็นสำเนียงของทั้งสองภาษา ภาษานี้มีการพัฒนาเสียงวรรณยุกต์ระดับต่ำสำหรับสระเสียงสั้น.

กลุ่มภาษาเตอร์กิกและภาษาโตฟา · ภาษาโตฟาและรายชื่อภาษา · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาโนไก

ษาโนไก หรือภาษาตาตาร์ โนไก เป็นภาษาที่ใช้พูดทางตะวันตกเฉียงใต้ของรัสเซีย แบ่งได้เป็นสำเนียงหลักสามสำเนียงคือ Qara-Nogay (โนไกเหนือหรือโนไกดำ), ใช้พูดในดาเกสถาน Nogai Proper, ใช้พูดใน Stavropol; และ Aqnogay (โนไกตะวันตกหรือโนไกขาว), ใช้พูดในบริเวณแม่น้ำกูบัน Qara-Nogay และNogai Proper มีลักษณะทางภาษาศาสตร์ใกล้เคียงกันแต่ Aqnogay มีลักษณะที่ต่างออกไป จัดอยู่ในภาษากลุ่มเคียปชัก-โนไก ของภาษากลุ่มเตอร์กิก สาขาเคียปชัก เช่นเดียวกับภาษาตาตาร์ ไครเมีย ภาษาการากัลปัก และภาษาคีร์กีซ.

กลุ่มภาษาเตอร์กิกและภาษาโนไก · ภาษาโนไกและรายชื่อภาษา · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาเกาหลี

ษาเกาหลี (한국어 หรือ 조선말, ดูในส่วนชื่อ) เป็นภาษาที่ส่วนใหญ่พูดใน ประเทศเกาหลีใต้ และ ประเทศเกาหลีเหนือ ซึ่งใช้เป็นภาษาราชการ และมีคนชนเผ่าเกาหลีที่อาศัยอยู่ในประเทศจีนพูดโดยทั่วไป(ในจังหวัดปกครองตนเองชนชาติเกาหลีเหยียนเปียน มณฑลจี๋หลิน ซึ่งมีพรมแดนติดกับเกาหลีเหนือ) ทั่วโลกมีคนพูดภาษาเกาหลี 78 ล้านคน รวมถึงกลุ่มคนในอดีตสหภาพโซเวียต สหรัฐอเมริกา แคนาดา บราซิล ญี่ปุ่น และเมื่อเร็ว ๆ นี้ก็มีผู้พูดใน ฟิลิปปินส์ ด้วย การจัดตระกูลของภาษาเกาหลีไม่เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไป แต่คนส่วนมากมักจะถือเป็นภาษาเอกเทศ นักภาษาศาสตร์บางคนได้จัดกลุ่มให้อยู่ใน ตระกูลภาษาอัลไตอิกด้วย ทั้งนี้เนื่องจากภาษาเกาหลีมีวจีวิภาคแบบภาษาคำติดต่อ ส่วนวากยสัมพันธ์หรือโครงสร้างประโยคนั้น เป็นแบบประธาน-กรรม-กริยา (SOV) อักษรเกาหลี เรียกว่าอักษรฮันกึล ใช้แทนเสียงของแต่ละพยางค์ นอกจากนี้ใช้ยังตัวอักขระแบบจีนเรียกว่าอักษรฮันจา ในการเขียนด้วย ในขณะที่คำศัพท์ที่ใช้กันส่วนใหญ่เป็นคำภาษาเกาหลีแท้ โดยที่มีคำศัพท์มากกว่า 50% มาจากภาษาจีนทั้งทางตรงและทางอ้อม.

กลุ่มภาษาเตอร์กิกและภาษาเกาหลี · ภาษาเกาหลีและรายชื่อภาษา · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาเครียมชาก

ษาเครียมชาก (Krymchak language) เป็นภาษากลุ่มเตอร์กิกที่ใช้พูดในไครเมียโดยชาวเครียมชาก บางครั้งจัดเป็นสำเนียงของภาษาตาตาร์ไครเมียเรียกภาษาตาตาร์ไครเมียของชาวยิว ภาษานี้มีคำยืมจากภาษาฮีบรูมาก ก่อนยุคสหภาพโซเวียต เคยเขียนด้วยอักษรฮีบรู จนถึงยุคของสหภาพโซเวียตเมื่อราว..

กลุ่มภาษาเตอร์กิกและภาษาเครียมชาก · ภาษาเครียมชากและรายชื่อภาษา · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาเตอร์กิกเก่า

ภาษาเตอร์กิกเก่า ใช้พูดโดยชาวกอกเติร์กและใช้ในจารึกอักษรออร์คอน ใกล้เคียงกับภาษาอุยกูร์โบราณ รวมทั้งภาษาเติร์กในเขตไซบีเรีย เป็นบรรพบุรุษของภาษากลุ่มเติร์กตะวันตก เช่นภาษาโอคุซและภาษาเคียปชัก เตอร์กิกเก่า.

กลุ่มภาษาเตอร์กิกและภาษาเตอร์กิกเก่า · ภาษาเตอร์กิกเก่าและรายชื่อภาษา · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาเติร์กโคราซานี

ษาเติร์กโคราซานี (تركي خراساني / Turki Khorasani) เป็นภาษาหนึ่งในภาษากลุ่มเตอร์กิกใช้พูดทางตอนเหนือของโคราซาน ผู้พูดภาษานี้พูดภาษาเปอร์เซียได้ด้ว.

กลุ่มภาษาเตอร์กิกและภาษาเติร์กโคราซานี · ภาษาเติร์กโคราซานีและรายชื่อภาษา · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาเติร์กเมน

ษาเติร์กเมน (Turkmen, Туркмен, ISO 639-1: tk, ISO 639-2: tuk) คือชื่อภาษาราชการของประเทศเติร์กเมนิสถาน.

กลุ่มภาษาเตอร์กิกและภาษาเติร์กเมน · ภาษาเติร์กเมนและรายชื่อภาษา · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาเปอร์เซีย

ษาเปอร์เซีย หรือ ฟาร์ซี (فارسی Farsi, ฟอร์ซี ชื่อท้องถิ่นใน ประเทศอิหร่าน และประเทศอัฟกานิสถาน), ทาจิก (Tajik, ภาษาย่อยในเอเชียกลาง) หรือ ดารี (Dari ชื่อท้องถิ่นในประเทศอัฟกานิสถาน) เป็นภาษาที่พูดใน ประเทศอิหร่าน ประเทศอัฟกานิสถาน ประเทศทาจิกิสถาน ประเทศบาห์เรน และประเทศอุซเบกิสถาน เป็นภาษาทางการใน 3 ประเทศแรกที่กล่าวไว้ คนที่พูดเป็นภาษาแม่มีอยู่ประมาณ 75 ล้านคน เป็นสมาชิกของภาษากลุ่มอินโด-ยูโรเปียน เป็นชนิดประธาน กรรม กร.

กลุ่มภาษาเตอร์กิกและภาษาเปอร์เซีย · ภาษาเปอร์เซียและรายชื่อภาษา · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาเปเชเนก

ภาษาเปเชเนก (Pecheneg language) เป็นภาษากลุ่มเตอร์กิกที่ตายแล้ว เคยใช้พูดโดยชาวเปเชเนกในยุโรปตะวันออก มีลักษณะคล้ายกับภาษากลุ่มโอคุซที่เป็นกลุ่มย่อยของภาษากลุ่มเตอร์กิก แต่มีหลักฐานหลงเหลืออยู่น้อย นักภาษาศาสตร์จัดให้อยู่ในภาษากลุ่มโปรโต-คัสเปียนซึ่งเป็นกลุ่มย่อยของภาษากลุ่มเคียปชัก ปแชเนก.

กลุ่มภาษาเตอร์กิกและภาษาเปเชเนก · ภาษาเปเชเนกและรายชื่อภาษา · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง กลุ่มภาษาเตอร์กิกและรายชื่อภาษา

กลุ่มภาษาเตอร์กิก มี 63 ความสัมพันธ์ขณะที่ รายชื่อภาษา มี 707 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 44, ดัชนี Jaccard คือ 5.71% = 44 / (63 + 707)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง กลุ่มภาษาเตอร์กิกและรายชื่อภาษา หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »