โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

กลุ่มภาษามองโกล

ดัชนี กลุ่มภาษามองโกล

กลุ่มภาษามองโกล (Mongolic languages) เป็นกลุ่มของภาษาที่ใช้พูดในเอเชียกลาง มีสมาชิก 13 ภาษา นักภาษาศาสตร์บางกลุ่มรวมกลุ่มภาษามองโกลเข้ากับกลุ่มภาษาตังกูสิต กลุ่มภาษาเตอร์กิก เป็นตระกูลภาษาอัลไตอิก แต่ยังไม่เป็นที่ยอมรับโดยทั่วไป ภาษาในกลุ่มนี้ที่เป็นที่รู้จักกันดีคือภาษามองโกเลีย ซึ่งเป็นภาษาแม่ของชาวมองโกล มีผู้พูด 5.7 ล้านคนในมองโกเลีย รัสเซียและจีน ภาษานิกูดารี ซึ่งเป็นภาษากลุ่มมองโกลที่จัดจำแนกไม่ได้ ยังคงมีผู้พูดราว 100 คนในเฮรัต อัฟกานิสถาน.

26 ความสัมพันธ์: กลุ่มภาษาจีนกลุ่มภาษาตุงกูซิกกลุ่มภาษาเตอร์กิกภาษาบอนันภาษามองโกลคามนิกันภาษาออร์ดอสภาษาอัลไตภาษาทิเบตภาษาคีตันภาษาตงเซียงภาษาโมโคลมองโกเลียมณฑลชิงไห่มณฑลกานซู่ราชวงศ์เว่ยเหนืออักษรมองโกเลียอักษรอาหรับอักษรจีนอักษรคีตันตระกูลภาษาอัลไตประเทศอัฟกานิสถานประเทศจีนเอเชียกลางเจงกีส ข่านเขตปกครองตนเองมองโกเลียในเขตปกครองตนเองซินเจียงอุยกูร์

กลุ่มภาษาจีน

ัฒนาการของภาษาจีนสำเนียงต่างๆ ภาษาจีน (汉语 - 漢語 - Hànyǔ - ฮั่นอวี่, 华语 - 華語 - Huáyǔ - หัวอวี่ หรือ 中文 - Zhōngwén - จงเหวิน) เป็นหนึ่งในตระกูลภาษาจีน-ทิเบต ชาวจีนส่วนใหญ่ถือภาษาจีนพูดชนิดต่าง ๆ ว่าเป็นภาษาเดียว โดยทั่วไปแล้ว ภาษาพูดในกลุ่มภาษาจีนเป็นภาษาที่มีเสียงวรรณยุกต์และไม่อ่านเนื่องเสียง อย่างไรก็ดี ยังมีความแตกต่างกันในภาษาพูดแต่ละภาษาอยู่มาก ความต่างเหล่านี้เทียบได้กับ ความแตกต่างระหว่างภาษาของภาษากลุ่มโรมานซ์ เราอาจแบ่งภาษาพูดของจีนได้ 6 ถึง 12 กลุ่ม ขึ้นอยู่กับเกณฑ์ที่ใช้ในการแบ่ง ที่เป็นที่รู้จักดี เช่น กลุ่มแมนดาริน กลุ่มหวู และกลุ่มกวางตุ้ง ยังเป็นที่โต้เถียงกันถึงปัจจุบันว่าภาษาพูดบางกลุ่มควรจัดเป็น "ภาษา" หรือเป็นแค่ "สำเนียง" ประชากรประมาณ 1/5 ของโลกพูดภาษาจีนแบบใดแบบหนึ่งเป็นภาษาแม่ ทำให้เป็นภาษาที่มีคนพูดเป็นภาษาแม่มากที่สุด สำเนียงพูดที่ถือเป็นมาตรฐาน คือ สำเนียงปักกิ่ง หรือ ภาษาฮั่น ซึ่งอยู่ในกลุ่มภาษาแมนดาริน ภาษาจีนกลาง หรือ ภาษาจีนแมนดาริน (Standard Mandarin) เป็นภาษาทางการของสาธารณรัฐประชาชนจีน และสาธารณรัฐจีนหรือไต้หวัน เป็นหนึ่งในภาษาทางการ 4 ภาษาทางการของประเทศสิงคโปร์ (ร่วมกับ ภาษาอังกฤษ ภาษามลายู และภาษาทมิฬ) และเป็นหนึ่งใน 6 ภาษาที่ใช้ในองค์การสหประชาชาติ (ร่วมกับ ภาษาอังกฤษ ภาษาอาหรับ ภาษาฝรั่งเศส ภาษารัสเซีย และภาษาสเปน) ภาษาจีนกวางตุ้ง เป็นภาษาทางการของ ฮ่องกง (ร่วมกับภาษาอังกฤษ) และมาเก๊า (ร่วมกับภาษาโปรตุเกส) นอกจากนี้ ภาษาเขียนยังได้เปลี่ยนแปลงตามระยะเวลา แต่การเปลี่ยนแปลงของภาษาเขียน ช้ากว่าการเปลี่ยนแปลงของภาษาพูดอย่างมาก จึงไม่ถูกจำกัดโดยความเปลี่ยนแปลงของภาษาพูดโดยส่วนใหญ่ ในปัจจุบัน ภาษาจีนใช้อักษรมาตรฐาน 2 รูปแบบทั่วโลก ได้แก่ อักษรจีนตัวเต็ม และ อักษรจีนตัวย่อ แผ้นที่แสดงพื้นที่ที่มีกลุ่มคนพูดภาษาจีนต่างๆ ในประเทศจีน.

ใหม่!!: กลุ่มภาษามองโกลและกลุ่มภาษาจีน · ดูเพิ่มเติม »

กลุ่มภาษาตุงกูซิก

300px กลุ่มภาษาตุงกูซิก (Tungusic languages) หรือ กลุ่มภาษาแมนจู-ตุงกุส เป็นภาษาที่ใช้พูดในไซบีเรียตะวันออกและแมนจูเรีย ยังเป็นที่โต้เถียงอยู่ว่าควรจัดให้อยู่ในตระกูลภาษาอัลตาอิกหรือไม่ ภาษานี้รวมอยู่ในกลุ่มภาษาเตอร์กิกและกลุ่มภาษามองโกลตามลำดับ ภาษาในกลุ่มนี้ส่วนใหญ่เป็นภาษาที่ใกล้ต.

ใหม่!!: กลุ่มภาษามองโกลและกลุ่มภาษาตุงกูซิก · ดูเพิ่มเติม »

กลุ่มภาษาเตอร์กิก

กลุ่มภาษาเตอร์กิกเป็นกลุ่มของภาษาที่แพร่กระจายจากยุโรปตะวันออก ผ่านทะเลเมดิเตอร์เรเนียนไปถึงไซบีเรียและจีนตะวันตก และจัดเป็นส่วนหนึ่งของสมมติฐานตระกูลภาษาอัลไตอิก กลุ่มภาษานี้มีผู้พูดเป็นภาษาแม่ราว 180 ล้านคน ถ้ารวมผู้ที่พูดเป็นภาษาที่สองด้วยมีราว 200 ล้านคน ส่วนใหญ่เป็นผู้พูดภาษาตุรกี ซึ่งคิดเป็น 40%ของผู้พูดกลุ่มภาษานี้ทั้งหม.

ใหม่!!: กลุ่มภาษามองโกลและกลุ่มภาษาเตอร์กิก · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาบอนัน

ษาบอนัน (Bonan language; ออกเสียง, Baonang; ภาษาจีน 保安语 Bǎoān) เป็นภาษาในกลุ่มภาษามองโกลของชาวบอนันในประเทศจีน เมื่อ..

ใหม่!!: กลุ่มภาษามองโกลและภาษาบอนัน · ดูเพิ่มเติม »

ภาษามองโกลคามนิกัน

ษามองโกลคามนิกัน (Khamnigan) เป็นภาษาในกลุ่มภาษามองโกลที่ใช้พูดในบริเวณทะเลสาบไบกัลป์ ชาวคามนิกันปกติเป็นผู้ที่พูดได้สองภาษา คือพูดได้ทั้งภาษาในกลุ่มภาษามองโกลและกลุ่มภาษาตังกูสิต โดยภาษากลุ่มตันกูสิตที่พูดคือภาษาอีเวนกี ส่วนภาษาคามนิกันเป็นภาษาในกลุ่มภาษามองโกลที่มีลักษณะเป็นเอกเทศ ไม่ได้เป็นสำเนียงของภาษามองโกลหรือภาษาบูรยัตที่ใช้พูดในรัสเซียหรือมองโกเลีย การใช้ภาษานี้ในรัสเซียกำลังลดลง เหลือผู้พูดอยู่น้อยแต่สถานะในมองโกเลียยังไม่แน่ชัด แต่กลุ่มชนในจีนยังคงใช้ทั้งสองภาษาอยู่ ภาษาอีเวนกีที่ชาวคามนิกันใช้จะได้รับอิทธิพลจากภาษากลุ่มมองโกลมาก โดยเฉพาะการใช้คำศัพท์ ส่วนภาษามองโกลจะเป็นภาษาที่มีลักษณะอนุรักษนิยมมาก และได้รับอิทธิพลจากภาษาอีเวนกีน้อย แม้จะมีระบบไวยากรณ์พหูพจน์แบบภาษาอีเวนกี ซึ่งภาษากลุ่มมองโกลอื่นๆไม่มี.

ใหม่!!: กลุ่มภาษามองโกลและภาษามองโกลคามนิกัน · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาออร์ดอส

ษาออร์ดอส (Ordos หรือ Urdus; ภาษามองโกเลีย: ᠣᠷᠳᠣᠰ; ภาษาจีน: 鄂尔多斯 È'ěrduōsī) เป็นสำเนียงของภาษามองโกเลียที่ใช้พูดในเมืองออร์ดอส ในมองโกเลียใน บางครั้งจัดให้เป็นภาษาหนึ่งในกลุ่มภาษามองโกล หรือจัดให้เป็นสำเนียงของภาษามองโกเลียมาตรฐานทางใต้ ระบบหน่วยเสียงสระของภาษาออร์ดอสในคำขึ้นต้นพยางค์คล้ายกับภาษามองโกเลียจักคาร์ โดยต่างกันที่ใช้ และ แทนที่ และ ในสำเนียงทางใต้ *ɔ จะรวมไปเป็น /ʊ/ เช่น ɔrtɔs กลายเป็น ʊrtʊs ส่วนสำเนียงของภาษามองโกเลียอื่นๆจะรักษาความแตกต่างไว้ได้ ส่วนพยางค์ที่ตามมารวมทั้งคำที่ลงท้ายด้วยพยางค์เปิด มีความคล้ายคลึงกับภาษามองโกเลียกลาง รากศัพท์ของภาษาออร์ดอสเป็นเช่นเดียว กับภาษามองโกเลียอื่นๆ โดยมีคำยืมจากภาษาจีนและภาษาทิเบต.

ใหม่!!: กลุ่มภาษามองโกลและภาษาออร์ดอส · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาอัลไต

ษาอัลไต เป็นภาษากลุ่มเตอร์กิก ใช้พูดในสาธารณรัฐอัลไตในรัสเซีย ก่อน..

ใหม่!!: กลุ่มภาษามองโกลและภาษาอัลไต · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาทิเบต

ษาทิเบตเป็นภาษาในตระกูลทิเบต-พม่า ภาษาทิเบตมีภาษาถิ่นหลายกลุ่มคือ ภาษากลาง อยู่ในเขตปกครองตนเองทิเบต เช่นที่ ลาซา สำเนียงคาม อยู่ในเขตแคว้นคาม สำเนียงอัมโด อยู่ในแคว้นอัมโด ภาษาถิ่นอื่น ๆ ได้แก่ภาษาของชนเชื้อสายทิเบตในเนปาล เช่นชาวเศรป.

ใหม่!!: กลุ่มภาษามองโกลและภาษาทิเบต · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาคีตัน

ษาคีตัน เป็นภาษาที่เคยใช้พูดในหมู่ชาวคีตัน มีอักษรเป็นของตนเองคืออักษรคีตันซึ่งมีสองแบบคืออักษรเล็กกับอักษรใหญ่ อักษรใหญ่ได้อิทธิพลจากอักษรจีน ส่วนอักษรเล็กประดิษฐ์โดยเดียลา เมื่อ..

ใหม่!!: กลุ่มภาษามองโกลและภาษาคีตัน · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาตงเซียง

ษาซานตา (Santa language) หรือภาษาตงเซียง (Dongxiang;ภาษาจีน: 东乡语) เป็นภาษากลุ่มมองโกลที่ใช้พูดโดยชาวตงเซียงในภาคตะวันตกเฉียงเหนือของจีน ภาษาตงเซียงไม่มีการเปลี่ยนเสียงสระและไม่มีความต่างของความยาวเสียงสร.

ใหม่!!: กลุ่มภาษามองโกลและภาษาตงเซียง · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาโมโคล

ษาโมโคล เป็นภาษากลุ่มมองโกลที่ใช้พูดในอัฟกานิสถาน โดยกลุ่มชนจำนวนน้อยในเฮรัต เมื่อ..

ใหม่!!: กลุ่มภาษามองโกลและภาษาโมโคล · ดูเพิ่มเติม »

มองโกเลีย

มองโกเลีย อาจหมายถึง.

ใหม่!!: กลุ่มภาษามองโกลและมองโกเลีย · ดูเพิ่มเติม »

มณฑลชิงไห่

มณฑลชิงไห่ ชื่อย่อ ชิง(青)‘ชิงไห่’ แปลว่าทะเลสีเขียวชื่อทะเลสาบน้ำเค็มที่ใหญ่ที่สุด ของจีนที่อยู่ในมณฑล มีเมืองหลวงชี่อ ซีหนิง (西宁)มีเนื้อที่ทั้ง 721,000 ก.ม.

ใหม่!!: กลุ่มภาษามองโกลและมณฑลชิงไห่ · ดูเพิ่มเติม »

มณฑลกานซู่

มณฑลกานซู่ หรือ มณฑลกังซก (จีนตัวย่อ: 甘肃省, จีนตัวเต็ม: 甘粛省) ชื่อย่อ กาน หรือ หล่ง (甘, 陇) ตั้งอยู่ทางภาคตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศจีน ตอนบนของแม่น้ำฮวงโห (แม่น้ำเหลือง) มีเมืองหลวงชื่อ หลานโจว.

ใหม่!!: กลุ่มภาษามองโกลและมณฑลกานซู่ · ดูเพิ่มเติม »

ราชวงศ์เว่ยเหนือ

ราชวงศ์เว่ยเหนือ (Northern Wei, 929 – 1078) ราชวงศ์หนึ่งที่ปกครองแผ่นดินจีนในยุคที่เรียกว่า ยุคราชวงศ์เหนือ-ใต้ โดยปกครองระหว่าง..

ใหม่!!: กลุ่มภาษามองโกลและราชวงศ์เว่ยเหนือ · ดูเพิ่มเติม »

อักษรมองโกเลีย

อักษรมองโกเลีย (17px Mongγol bičig, ซีริลลิก: Монгол бичиг, Mongol bichig) เป็นอักษรที่ใช้เขียนภาษามองโกเลีย เมื่อ..

ใหม่!!: กลุ่มภาษามองโกลและอักษรมองโกเลีย · ดูเพิ่มเติม »

อักษรอาหรับ

อักษรอาหรับ เป็นอักษรที่มีความสำคัญในศาสนาอิสลาม เพราะคัมภีร์อัลกุรอานเขียนด้วยอักษรนี้ อักษรนี้จึงมีใช้แพร่หลายในกลุ่มผู้นับถือศาสนาอิสลาม แม้แต่ภาษานอกกลุ่มเซมิติก เช่น ภาษาเปอร์เซีย ภาษาอูรดู และภาษามลายูปัตตานี ตัวอักษรมีหลายแบบแต่รูปร่างของอักษรเหมือนกัน.

ใหม่!!: กลุ่มภาษามองโกลและอักษรอาหรับ · ดูเพิ่มเติม »

อักษรจีน

รูปอักษรจีนของคำว่า "ฮั่นจื้อ"-คันจิ-ฮันจา-ฮั้นถื่อ (漢字 / 汉字 หมายถึง "อักษรจีน") สีแดงเป็นอักษรจีนตัวย่อ อักษรจีน คืออักษรภาพ (logogram) ที่โดยหลัก ๆ ในปัจจุบันใช้สำหรับเขียนภาษาจีน (เรียกว่า ฮั่นจื้อ) และภาษาญี่ปุ่น (เรียกว่า คันจิ) นอกจากนี้ก็ยังใช้เขียนระบบเลขของภาษาอื่นด้วย ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดที่สุดเช่นภาษาเกาหลี (เรียกว่า ฮันจา) และภาษาเวียดนาม (เรียกว่า จื๋อโนม) และยังคงหลงเหลืออยู่ในภาษาเหล่านี้ในบางระดับ อักษรจีนเป็นระบบการเขียนที่ใช้กันมาอย่างต่อเนื่องอันเก่าแก่ที่สุดในโลก นักภาษาศาสตร์ส่วนใหญ่เชื่อว่า การเขียนในจีนที่เก่าสุดเริ่มเมื่อ 957 ปีก่อนพุทธศักราช ไม่มีหลักฐานแสดงความเกี่ยวข้องกับการเขียนในบริเวณอื่น ตัวอย่างการเขียนภาษาจีนที่เก่าสุดมีอายุราว 957 – 407 ปี ก่อนพุทธศักราช (ราชวงศ์ซาง) ซึ่งเป็นจารึกบนกระดูกวัวและกระดองเต..

ใหม่!!: กลุ่มภาษามองโกลและอักษรจีน · ดูเพิ่มเติม »

อักษรคีตัน

วคีตันมีอำนาจปกครองแมนจูเรียในช่วง..

ใหม่!!: กลุ่มภาษามองโกลและอักษรคีตัน · ดูเพิ่มเติม »

ตระกูลภาษาอัลไต

ตระกูลภาษาอัลไต (Altaic language family) ตระกูลภาษานี้ใช้พูดกันตั้งแต่ป่าสนในไซบีเรียตะวันออกข้ามทุ่งหญ้าและทะเลทรายของเอเชียกลางไปจรดประเทศตุรกี และบางส่วนของประเทศจีน คนในแถบนี้มีลักษณะทางวัฒนธรรมแบบเลี้ยงสัตว์เร่ร่อนไปตามทุ่งหญ้าและทะเลทราย เช่น พวกเตอร์กและมองโกลบางเผ่า บางพวกก็อาศัยอยู่ตามป่าเขาและล่าสัตว์ เช่น พวกมองโกลบางพวกและพวกตุงกุส มีบางส่วนเท่านั้นที่รับวัฒนธรรมใกล้เคียงอย่างวัฒนธรรมจีนที่มีลักษณะแบบเกษตรกรรม เช่น ชาวเกาหลีและชาวญี่ปุ่นซึ่งอาจเป็นพวกตุงกุสดั้งเดิม (Proto-Tungusic) โดยอพยพมายังคาบสมุทรเกาหลีและหมู่เกาะญี่ปุ่นก่อนพวกอื่น ในปัจจุบันนี้ผู้ที่ใช้ตระกูลภาษานี้มีประมาณ 270 ล้านคนทั่วโลก.

ใหม่!!: กลุ่มภาษามองโกลและตระกูลภาษาอัลไต · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศอัฟกานิสถาน

อัฟกานิสถาน (Afghanistan; افغانستان) เป็นประเทศในภูมิภาคเอเชียใต้ มีอาณาเขตทางทิศตะวันตกจรดประเทศอิหร่าน ทางทิศใต้และตะวันออกติดปากีสถาน ทางทิศเหนือติดเติร์กเมนิสถาน อุซเบกิสถาน และทาจิกิสถาน ส่วนทางทิศตะวันออกสุดติดประเทศจีน อัฟกานิสถานเป็นประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเล ระหว่างการล้มตอลิบานโดยการรุกรานอัฟกานิสถานของสหรัฐอเมริกา และความสำเร็จของโลยา จีร์กา ในปี พ.ศ. 2546 ชาวตะวันตกเรียกอัฟกานิสถานว่า Transitional Islamic State of Afghanistan อย่างไรก็ดี ภายใต้รัฐธรรมนูญของอัฟกานิสถานฉบับปัจจุบัน ประเทศนี้เรียกว่า สาธารณรัฐอิสลามอัฟกานิสถาน ในปัจจุบันเป็นหนึ่งในประเทศที่ยากจนที่สุดในโลก.

ใหม่!!: กลุ่มภาษามองโกลและประเทศอัฟกานิสถาน · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศจีน

ประเทศจีน มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐประชาชนจีน (People's Republic of China (PRC)) เป็นรัฐเอกราชในเอเชียตะวันออก เป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดในโลก กว่า 1,300 ล้านคน เป็นรัฐพรรคการเมืองเดียวปกครองโดยพรรคคอมมิวนิสต์จีน มีเมืองหลวงอยู่ที่กรุงปักกิ่ง ประเทศจีนแบ่งการปกครองออกเป็น 22 มณฑล (ไม่รวมพื้นที่พิพาทไต้หวัน) 5 เขตปกครองตนเอง 4 เทศบาลนคร (ปักกิ่ง เทียนจิน เซี่ยงไฮ้ และฉงชิ่ง) และ 2 เขตบริหารพิเศษ ได้แก่ ฮ่องกงและมาเก๊า ประเทศจีนมีพื้นที่ 9.6 ล้านตารางกิโลเมตร นับเป็นประเทศที่มีพื้นที่ทั้งหมดใหญ่ที่สุดในโลกเป็นอันดับ 3 หรือ 4 แล้วแต่วิธีการวัด ลักษณะภูมิประเทศของจีนมีความหลากหลาย ตั้งแต่ป่าสเต็ปป์และทะเลทรายในพื้นที่แห้งแล้งทางตอนเหนือของประเทศติดกับประเทศมองโกเลียและไซบีเรียของรัสเซีย และป่าฝนกึ่งโซนร้อนในพื้นที่ชื้นทางใต้ซึ่งติดกับเวียดนาม ลาว และพม่า ส่วนภูมิประเทศทางตะวันตกนั้นขรุขระและเป็นที่สูง โดยมีเทือกเขาหิมาลัยและเทือกเขาเทียนชานกั้นเป็นพรมแดนตามธรรมชาติกับประเทศอินเดีย เนปาล และเอเชียกลาง ในทางตรงกันข้าม แนวชายฝั่งด้านตะวันออกของจีนแผ่นดินใหญ่นั้นเป็นที่ราบต่ำ และมีแนวชายฝั่งยาว 14,500 กิโลเมตร (ยาวที่สุดเป็นอันดับที่ 11 ของโลก) ซึ่งติดต่อกับทะเลจีนใต้ทางใต้ และทะเลจีนตะวันออกทางตะวันออก นอกจากนี้ยังมีประเทศที่เป็นเกาะอยู่ใกล้เคียง ได้แก่ เกาหลี และญี่ปุ่น อารยธรรมจีนโบราณ ซึ่งถือว่าเป็นหนึ่งอารยธรรมยุคแรกเริ่มของโลก เจริญรุ่งเรืองในลุ่มแม่น้ำเหลืองอันอุดมสมบูรณ์ ซึ่งไหลผ่านที่ราบลุ่มจีนเหนือ จีนยึดระบบการเมืองแบบราชาธิปไตยหลายสหัสวรรษ จีนรวมกันเป็นปึกแผ่นครั้งแรกในสมัยราชวงศ์ฉินเมื่อ 221 ปีก่อนคริสตกาล ส่วนราชวงศ์สุดท้าย ราชวงศ์ชิง สิ้นสุดลงในปี..

ใหม่!!: กลุ่มภาษามองโกลและประเทศจีน · ดูเพิ่มเติม »

เอเชียกลาง

แผนที่เอเชียกลางแสดงเขตแดนตามคำนิยามที่ต่างกัน 3 แบบ เอเชียกลาง(อังกฤษ: Central Asia หรือ Middle Asia รัสเซีย: Центральная Азия) เป็นพื้นที่กว้างใหญ่ในทวีปเอเชียที่ไม่มีทางออกทะเล มีคำนิยามที่ต่างกันออกไปสำหรับขอบเขตของดินแดนที่จัดอยู่ในภูมิภาคเป็นเอเชียกลาง และยังไม่มีคำนิยามใดที่เป็นที่ยอมรับโดยส่วนใหญ่ อย่างไรก็ตามลักษณะโดยทั่วไปของดินแดนในภูมิภาคนี้คือ มีความเกี่ยวข้องทางประวัติศาสตร์กับกลุ่มชนร่อนเร่ (nomad) และ เส้นทางสายไหม ซึ่งทำให้ในอดีตนั้นดินแดนในภูมิภาคนี้เป็นเสมือนเส้นทางของ สินค้า คน รวมถึง แนวความคิด ระหว่างยุโรป ตะวันออกกลาง เอเชียใต้ และเอเชียตะวันออก.

ใหม่!!: กลุ่มภาษามองโกลและเอเชียกลาง · ดูเพิ่มเติม »

เจงกีส ข่าน

งกีส ข่าน (Чингис Хаан, Chinggis Khaan, Činggis Qaɣan; หรือ,; Genghis Khan; พ.ศ. 1705 หรือ 1708 — 18 สิงหาคม พ.ศ. 1770) เจงกีส แปลว่า “เวิ้งสมุทร, มหาสมุทร” (ซึ่งเปรียบได้ว่า เจงกีส ข่าน มีความยิ่งใหญ่ ดั่งเวิ้งมหาสมุทรนั่นเอง) จักรพรรดินักรบชาวมองโกลผู้พิชิต ผู้ก่อตั้งจักรวรรดิมองโกล เดิมมีนามว่า เตมูจิน (Temüjin) ตามสถานที่เกิดริมฝั่งแม่น้ำโอนอน เป็นผู้นำครอบครัวแทนบิดาเมื่ออายุเพียง 13 ปี และต้องดิ้นรนต่อสู้ขับเคี่ยวกับชนเผ่าต่าง ๆ ที่เป็นอริอยู่หลายปี ปราบเผ่า “ไนแมน” ทางด้านตะวันตก พิชิตชนชาติ “ตันกุต” (เซี่ยตะวันตก) และยอมรับการจำนนของชาว “อุยกูร์” ในปี..

ใหม่!!: กลุ่มภาษามองโกลและเจงกีส ข่าน · ดูเพิ่มเติม »

เขตปกครองตนเองมองโกเลียใน

ตปกครองตนเองมองโกเลียใน (มองโกล) มีลักษณะพื้นที่แคบยาวพาดตามชายแดนภาคเหนือของจีน กั้นระหว่างจีนกับประเทศมองโกเลียและรัสเซีย มีเมืองหลวงชื่อ ฮูฮอต มีเนื้อที่ 1,183,000 ก.ม.

ใหม่!!: กลุ่มภาษามองโกลและเขตปกครองตนเองมองโกเลียใน · ดูเพิ่มเติม »

เขตปกครองตนเองซินเจียงอุยกูร์

ตปกครองตนเองซินเจียงอุยกูร์ (شىنجاڭ ئۇيغۇر ئاپتونوم رايونى-; 新疆维吾尔自治区) เป็นเขตปกครองตนเองของจีนในภาคตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศ เป็นเขตปกครองใหญ่ที่สุดของจีน เป็นเขตการปกครองชาติที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับ 8 ของโลก กินพื้นที่กว่า 1.6 ล้านตารางกิโลเมตรและเป็นเขตการปกครองที่มีประชากรมากที่สุดติดอันดับหนึ่งในสิบ มีดินแดนพิพาทอักไสชินที่จีนบริหารอยู่ ซินเจียงมีพรมแดนติดต่อกับประเทศรัสเซีย มองโกเลีย คาซัคสถาน คีร์กีซสถาน ทาจิกิซสถาน อัฟกานิสถาน ปากีสถานและอินเดีย นอกจากนี้ยังมีพรมแดนติดต่อกับทิเบต มีน้ำมันสำรองอุดมสมบูรณ์และเป็นภาคที่ผลิตแก๊สธรรมชาติใหญ่ที่สุดของจีน.

ใหม่!!: กลุ่มภาษามองโกลและเขตปกครองตนเองซินเจียงอุยกูร์ · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »