โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

กลุ่มภาษาบอร์เนียว-ฟิลิปปินส์และตระกูลภาษาออสโตรนีเซียน

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง กลุ่มภาษาบอร์เนียว-ฟิลิปปินส์และตระกูลภาษาออสโตรนีเซียน

กลุ่มภาษาบอร์เนียว-ฟิลิปปินส์ vs. ตระกูลภาษาออสโตรนีเซียน

กลุ่มภาษาบอร์เนียว-ฟิลิปปินส์ (Borneo-Philippines languages) หรือกลุ่มภาษาเอสเปโรนีเซีย หรือกลุ่มภาษามาลาโย-โพลีเนเซียตะวันตกนอก เป็นภาษาตระกูลออสโตรนีเซียนที่รวมภาษาของฟิลิปปินส์ เกาะบอร์เนียว คาบสมุทรทางเหนือของเกาะซูลาเวซี และเกาะมาดากัสการ์ (Wouk and Ross 2002) ภายในกลุ่มมาลาโย-โพลีเนเซียตะวันตกแบ่งได้เป็นสองกลุ่มคือกลุ่มนอก (บอร์เนียว-ฟิลิปปินส์) และกลุ่มใน (ซุนดา-ซูลาเวซี) การแบ่งแบบนี้ถือเป็นการแบ่งตามภูมิศาสตร. ตระกูลภาษาออสโตรนีเซียน เป็นตระกูลภาษาที่มีผู้พูดกระจายไปทั่วหมู่เกาะในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และมหาสมุทรแปซิฟิก มีจำนวนน้อยบนผืนแผ่นดินของทวีปเอเชีย อยู่ในระดับมาตรฐานเดียวกับตระกูลภาษาอินโด-ยุโรเปียนและตระกูลภาษายูราลิกคือสามารถสืบหาภาษาดั้งเดิมของตระกูลได้ คำว่าออสโตรนีเซียนมาจากภาษาละติน austro (ลมใต้) รวมกับคำภาษากรีก nesos (เกาะ) ตระกูลภาษานี้ได้ชื่อนี้ เพราะส่วนมากใช้พูดในบริเวณหมู่เกาะ มีเพียงไม่กี่ภาษา เช่น ภาษามลายู และ ภาษาจามที่ใช้พูดบนผืนแผ่นดิน สมาชิกของตระกูลนี้มีถึง 1,268 ภาษา หรือประมาณ 1 ใน 5 ของภาษาที่รู้จักกันทั่วโลก การแพร่กระจายจากแหล่งกำเนิดของภาษาถือว่ากว้างไกล เริ่มตั้งแต่เกาะมาดากัสการ์ ไปจนถึงเกาะทางตะวันออกของมหาสมุทรแปซิฟิก ภาษาราปานูอี ภาษามาลากาซี และ ภาษาฮาวาย เป็นภาษาที่ใช้พูดตามรอบนอกของขอบเขตที่มีการใช้ภาษาตระกูลนี้ ภาษาตระกูลนี้มีสาขามากมาย ส่วนมากพบในไต้หวัน ภาษากลุ่มเกาะฟอร์โมซาในไต้หวันเป็นสาขาหลักของภาษาในตระกูลนี้ มีถึง 9 สาขา ภาษาที่ใช้พูดนอกเกาะฟอร์โมซาทั้งหมดอยู่ในภาษากลุ่มมาลาโย-โพลีเนเซีย ซึ่งบางครั้งเรรียกว่าภาษานอกเกาะฟอร์โมซ.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง กลุ่มภาษาบอร์เนียว-ฟิลิปปินส์และตระกูลภาษาออสโตรนีเซียน

กลุ่มภาษาบอร์เนียว-ฟิลิปปินส์และตระกูลภาษาออสโตรนีเซียน มี 9 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): ภาษาฟิลิปีโนภาษามาลากาซีภาษาอีโลกาโนภาษาฮีลีไกโนนภาษาตากาล็อกภาษาเซบัวโนประเทศฟิลิปปินส์ประเทศไต้หวันเกาะมาดากัสการ์

ภาษาฟิลิปีโน

ษาฟิลิปปินส์ หรือ ภาษาฟิลิปีโน (Filipino) เป็นภาษาประจำชาติและภาษาราชการภาษาหนึ่งของประเทศฟิลิปปินส์คู่กับภาษาอังกฤษ กำหนดเมื่อ พ.ศ. 2530 ภาษานี้เป็นสำเนียงมาตรฐานของภาษาตากาล็อก เมื่อ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2480 สถาบันภาษาแห่งชาติเลือกภาษาตากาล็อกซึ่งเป็นภาษาท้องถิ่นที่มีการใช้เป็นภาษาเขียนมากที่สุดมาเป็นพื้นฐานของภาษาประจำชาติภาษาใหม่ใน พ.ศ. 2504 ภาษานี้เป็นที่รู้จักในชื่อ ปิลิปีโน และเปลี่ยนชื่อเป็นภาษาฟิลิปปินส์เมื่อ พ.ศ. 2515.

กลุ่มภาษาบอร์เนียว-ฟิลิปปินส์และภาษาฟิลิปีโน · ตระกูลภาษาออสโตรนีเซียนและภาษาฟิลิปีโน · ดูเพิ่มเติม »

ภาษามาลากาซี

ษามาลากาซี (Malagasy หรือ Malgache ในภาษาฝรั่งเศส) เป็นภาษาราชการของประเทศมาดากัสการ.

กลุ่มภาษาบอร์เนียว-ฟิลิปปินส์และภาษามาลากาซี · ตระกูลภาษาออสโตรนีเซียนและภาษามาลากาซี · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาอีโลกาโน

ษาอีโลกาโนเป็นภาษาที่มีผู้พูดมากเป็นลำดับสามในฟิลิปปินส์ เป็นภาษาตระกูลออสโตรนีเซียนซึ่งใกล้เคียงกับภาษาอินโดนีเซีย ภาษามลายู ภาษาฟิจิ ภาษาเมารี ภาษาฮาวาย ภาษามาลากาซี ภาษาซามัว ภาษาตาฮิติ ภาษาชาร์โมโร ภาษาเตตุมและภาษาไปวัน.

กลุ่มภาษาบอร์เนียว-ฟิลิปปินส์และภาษาอีโลกาโน · ตระกูลภาษาออสโตรนีเซียนและภาษาอีโลกาโน · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาฮีลีไกโนน

ษาฮีลีไกโนน (ฟิลิปีโนและHiligaynon) เป็นภาษาตระกูลออสโตรนีเซียใช้พูดในวิซายาตะวันตก ประเทศฟิลิปปินส์ ส่วนใหญ่อยู่ในจังหวัดอีโลอีโลและเนโกรส และจังหวัดอื่น ๆ ในเกาะปาไน เช่น คาปิซ, อันตีเก, อักลัน และกีมารัส มีผู้พูด 7 ล้านคน ใช้เป็นภาษาแม่ และใช้เป็นภาษาที่สองอีก 4 ล้านคน.

กลุ่มภาษาบอร์เนียว-ฟิลิปปินส์และภาษาฮีลีไกโนน · ตระกูลภาษาออสโตรนีเซียนและภาษาฮีลีไกโนน · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาตากาล็อก

ษาตากาล็อก เป็นหนึ่งในภาษาหลักของสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ เป็นหนึ่งในตระกูลภาษาออสโตรนีเซียน มีความสัมพันธ์กับภาษาอินโดนีเซีย ภาษามลายู ภาษาฟิจิ ภาษาเมารี ภาษาฮาวาย ภาษามาลากาซี ภาษาซามัว ภาษาตาฮีตี ภาษาชามอร์โร ภาษาเตตุม และตระกูลภาษาออสโตรนีเซียนในไต้หวันเป็นภาษาประจำชาติและภาษาราชการคู่กับภาษาอังกฤษในประเทศฟิลิปปินส์ ใช้เป็นภาษากลางภายในประเทศ มีผู้พูดราว 85 ล้านคน ในทางธุรกิจนิยมใช้ภาษาอังกฤษมากกว.

กลุ่มภาษาบอร์เนียว-ฟิลิปปินส์และภาษาตากาล็อก · ตระกูลภาษาออสโตรนีเซียนและภาษาตากาล็อก · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาเซบัวโน

ษาเซบู (Cebuano; Sebwano; เซบู: Sinugboanon) เป็นภาษาตระกูลออสโตรนีเซียน มีผู้พูดในฟิลิปปินส์ 18 ล้านคน ชื่อในภาษาอังกฤษมาจากชื่อเกาะเซบู รวมกับปัจจัยจากภาษาสเปน -ano หมายถึง ที่เกี่ยวกับเชื้อชาต.

กลุ่มภาษาบอร์เนียว-ฟิลิปปินส์และภาษาเซบัวโน · ตระกูลภาษาออสโตรนีเซียนและภาษาเซบัวโน · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศฟิลิปปินส์

ฟิลิปปินส์ (Philippines; Pilipinas) หรือชื่อทางการว่า สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ (Republic of the Philippines; Republika ng Pilipinas) เป็นประเทศเอกราชที่เป็นหมู่เกาะในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตั้งอยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตก ประกอบด้วยเกาะ 7,641 เกาะ ซึ่งจัดอยู่ในเขตภูมิศาสตร์ใหญ่ 3 เขตจากเหนือจรดใต้ ได้แก่ ลูซอน, วิซายัส และมินดาเนา เมืองหลวงของประเทศคือมะนิลา ส่วนเมืองที่มีประชากรมากที่สุดคือนครเกซอน ทั้งสองเป็นส่วนหนึ่งของเมโทรมะนิลา ฟิลิปปินส์มีอาณาเขตติดต่อกับทะเลจีนใต้ทางทิศตะวันตก ทะเลฟิลิปปินทางทิศตะวันออก และทะเลเซเลบีสทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ โดยมีพรมแดนทางทะเลร่วมกับไต้หวันทางทิศเหนือ ปาเลาทางทิศตะวันออก มาเลเซียและอินโดนีเซียทางทิศใต้ และเวียดนามทางทิศตะวันตก ฟิลิปปินส์ตั้งอยู่ในแถบวงแหวนไฟและใกล้กับเส้นศูนย์สูตร ทำให้มีแนวโน้มสูงที่จะประสบภัยจากแผ่นดินไหวและไต้ฝุ่น แต่ก็ทำให้มีทั้งทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์และความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยิ่งเช่นกัน ฟิลิปปินส์มีเนื้อที่ประมาณ 300,000 ตารางกิโลเมตร (115,831 ตารางไมล์) และมีประชากรประมาณ 100 ล้านคน นับเป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดเป็นอันดับที่ 8 ในเอเชีย และเป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดเป็นอันดับที่ 12 ของโลก นอกจากนี้ ณ ปี..

กลุ่มภาษาบอร์เนียว-ฟิลิปปินส์และประเทศฟิลิปปินส์ · ตระกูลภาษาออสโตรนีเซียนและประเทศฟิลิปปินส์ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศไต้หวัน

ประเทศไต้หวัน (Taiwan) หรือชื่อทางการว่า สาธารณรัฐจีน (Republic of China) เป็นรัฐในทวีปเอเชียตะวันออก ปัจจุบันประกอบด้วยเกาะใหญ่ 5 แห่ง คือ จินเหมิน (金門), ไต้หวัน, เผิงหู (澎湖), หมาจู่ (馬祖), และอูชิว (烏坵) กับทั้งเกาะเล็กเกาะน้อยอีกจำนวนหนึ่ง ท้องที่ดังกล่าวเรียกรวมกันว่า "พื้นที่ไต้หวัน" (臺灣地區) ไต้หวันด้านตะวันตกติดกับจีนแผ่นดินใหญ่ ด้านตะวันออกและตะวันออกเฉียงเหนือติดกับญี่ปุ่น และด้านใต้ติดกับฟิลิปปินส์ กรุงไทเปเป็นเมืองหลวง ส่วนไทเปใหม่เป็นเขตปกครองที่จัดตั้งขึ้นใหม่ กินพื้นที่กรุงไทเป และเป็นเขตซึ่งประชากรหนาแน่นที่สุดในเวลานี้ เกาะไต้หวันนั้นเดิมเป็นที่อยู่ของชนพื้นเมือง และมีชาวจีนจากแผ่นดินใหญ่เข้ามาอาศัยร่วมด้วย จนกระทั่งชาววิลันดาและสเปนเดินทางเข้ามาในยุคสำรวจเมื่อศตวรรษที่ 17 และมาตั้งบ้านเรือนกลายเป็นนิคมใหญ่โต ต่อมาในปี 1662 ราชวงศ์หมิงในแผ่นดินใหญ่ถูกราชวงศ์ชิงแทนที่ เจิ้ง เฉิงกง (鄭成功) ขุนศึกหมิง รวมกำลังหนีมาถึงเกาะไต้หวัน และเข้ารุกไล่ฝรั่งออกไปได้อย่างราบคาบ เขาจึงตั้งราชอาณาจักรตงหนิง (東寧) ขึ้นบนเกาะเพื่อ "โค่นชิงฟื้นหมิง" (反清復明) แต่ในปี 1683 ราชวงศ์ชิงปราบปรามอาณาจักรตงหนิงและเข้าครอบครองไต้หวันเป็นผลสำเร็จ ไต้หวันจึงกลายเป็นมณฑลหนึ่งของจีน อย่างไรก็ดี ความบาดหมางระหว่างจีนกับญี่ปุ่นเป็นเหตุให้ญี่ปุ่นได้ไต้หวันไปในปี 1895 ก่อนเสียไต้หวันคืนให้แก่จีนหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ช่วงนั้น มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองในจีน พรรคชาตินิยม (國民黨) ได้เป็นใหญ่ แต่ไม่นานก็เสียทีให้แก่พรรคสังคมนิยม (共产党) พรรคชาตินิยมจึงหนีมายังเกาะไต้หวัน แล้วสถาปนาสาธารณรัฐจีนขึ้นบนเกาะไต้หวันแยกต่างหากจากสาธารณรัฐประชาชนจีนบนแผ่นดินใหญ่ อย่างไรก็ดี จีนยังคงถือว่า ไต้หวันเป็นมณฑลหนึ่งของตน และไต้หวันเองก็ยังมิได้รับการยอมรับจากนานาชาติว่าเป็นประเทศเอกราชมาจนบัดนี้ ในช่วงทศวรรษ 1980 ถึงต้นทศวรรษ 1990 การเมืองการปกครองสาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) ได้เจริญรุ่งเรืองจนเป็นประชาธิปไตยที่มีพรรคการเมืองหลายพรรคและมีการเลือกตั้งทั่วหน้า อนึ่ง ในช่วงกลางศตวรรษที่ 20 เศรษฐกิจไต้หวันงอกงามอย่างรวดเร็ว ไต้หวันจึงกลายเป็นประเทศพัฒนาแล้ว ทั้งได้ชื่อว่าเป็นหนึ่งในสี่เสือแห่งเอเชีย มีอุตสาหกรรมล้ำหน้า และมีเศรษฐกิจใหญ่โตเป็นอันดับที่ 19 ของโลก อุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีชั้นสูงของไต้หวันยังมีบทบาทสำคัญมากในเศรษฐกิจโลก เป็นเหตุให้ไต้หวันได้เป็นสมาชิกองค์การการค้าโลกและความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก นอกจากนี้ เสรีภาพของสื่อมวลชน เสรีภาพทางเศรษฐกิจ การสาธารณสุข การศึกษา และการพัฒนามนุษย์ในไต้หวันยังได้รับการจัดอยู่ในอันดับสูงด้วยhttp://www.dgbas.gov.tw/public/Data/366166371.pdf.

กลุ่มภาษาบอร์เนียว-ฟิลิปปินส์และประเทศไต้หวัน · ตระกูลภาษาออสโตรนีเซียนและประเทศไต้หวัน · ดูเพิ่มเติม »

เกาะมาดากัสการ์

right เกาะมาดากัสการ์ (Madagascar Island) เกาะมาดากัสการ์ตั้งอยู่ทางตะวันออกของทวีปแอฟริกาบนมหาสมุทรอินเดีย มีช่องแคบโมซัมบิกคั่นระหว่างเกาะกับฝั่งทวีปแอฟริกาห่างกันเพียง 300 ไมล์ เกาะมาดากัสการ์มีพื้นที่ 587,713 ตารางกิโลเมตร ถือเป็นเกาะที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 4 ของโลก ขนาดเท่า ๆ กับประเทศสเปน และเป็นเกาะที่ใหญ่ที่สุดในมหาสมุทรอินเดีย ซึ่งทั้งเกาะเป็นอาณาเขตของประเทศมาดากัสการ์ สภาพพื้นที่ส่วนใหญ่ของเกาะเป็นภูเขาสูงและที่ราบสูงในระดับตั้งแต่ 800-1800 เมตร มีที่ราบลุ่มอยู่ทางฝั่งตะวันออกของเกาะมีความยาวตั้งแต่เหนือจรดใต้ คำว่า "มาดากัสการ์" มีความหมายว่า "ดินแดนแห่งบรรพบุรุษ" เนื่องจากชาวพื้นเมืองที่นี่มีความเชื่อว่า เมื่อตายไปแล้ว วิญญาณของผู้ที่เสียชีวิตจะยังคงปกป้องสิ่งที่ชีวิตที่เหลือ เกาะมาดากัสการ์เริ่มมีมนุษย์เข้ามาอาศัยราว 2,000 ปีที่แล้ว ไม่ใช่มาจากผืนแผ่นดินใหญ่แอฟริกา หากแต่อพยพมาไกลจากอินโดนีเซีย เกาะมาดากัสการ์เกิดขึ้นมาครั้งเมื่อติดเป็นผืนแผ่นดินเดียวกับมหาทวีปกอนด์วานา ที่ถือกำเนิดเมื่อ 180 ล้านปีก่อน จนกระทั่ง 140 ล้านปีก่อน กอนด์วานาได้แตกตัวแยกออกจากกัน เกาะมาดากัสการ์ได้แยกตัวออกมาจากทวีปแอฟริกาเมื่อ 70 ล้านปีก่อน โดยเริ่มแรกอยู่ติดกับส่วนที่เป็นอินเดียในปัจจุบัน จากนั้นเมื่อ 40 ล้านปีก่อน อินเดียได้แยกตัวลอยขึ้นเหนือไปชนกับภูมิภาคเอเชียใต้ จนให้เกิดเป็นแนวเทือกเขาหิมาลัย ในขณะที่เกาะมาดากัสการ์ได้อยู่ในแนวภูมิอากาศที่แห้งแล้ง ส่งผลให้ทางตอนใต้ของเกาะมีสภาพที่แห้งแล้ง แต่ต่อมาได้ค่อย ๆ เคลื่อนที่อย่างช้า ๆ จนกระทั่งอยู่ใน ณ ที่อยู่ปัจจุบัน เมื่อ 60 ล้านปีก่อน และได้รับผลกระทบจากพายุไซโคลนที่พัดกระหน่ำชายฝั่งตะวันออกของแอฟริกา ซึ่งอิทธิพลทำให้เกาะมาดากัสการ์มีสภาพอากาศและภูมิประเทศที่หลากหลายแตกต่างกันอย่างสุดขั้วในปัจจุบัน โดยมีฤดูแล้งนานถึงครึ่งปี และอีกครึ่งปีฝนตกหนัก ซึ่งปริมาณน้ำฝนที่ตกมาเฉลี่ยวันละ 10 นิ้ว ส่งผลให้น้ำท่วมเอ่อล้นเกิดเป็นแม่น้ำและทะเลสาบหลายแห่ง และทุกวันนี้ตัวเกาะก็ยังคงเคลื่อนที่ต่อไปในทางเหนือเฉลี่ยปีละ 3-4 นิ้ว นั่นจึงทำให้เกาะมาดากัสการ์มีลักษณะของพืชพันธุ์และสัตว์ที่หลากหลายแห่งหนึ่งของโลก จนได้รับสมญาว่า "ทวีปที่ 8 ของโลก" ในบางประเภทพบได้แต่เฉพาะบนเกาะนี้เท่านั้น จากการปรับตัววิวัฒนาการให้เข้ากับสภาพแวดล้อมที่อาศัย เช่น ลีเมอร์ ซึ่งสภาพความหลากหลายของพืชและสัตว์บนเกาะถูกนำไปสร้างเป็นภาพยนตร์การ์ตูนโดยบริษัท ดรีมเวิร์กสแอนิเมชัน เรื่อง มาดากัสการ์ ในปี ค.ศ. 2005 Madagascar, "Mutant Planet" สารคดีทางอนิมอลพลาเน็ต.

กลุ่มภาษาบอร์เนียว-ฟิลิปปินส์และเกาะมาดากัสการ์ · ตระกูลภาษาออสโตรนีเซียนและเกาะมาดากัสการ์ · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง กลุ่มภาษาบอร์เนียว-ฟิลิปปินส์และตระกูลภาษาออสโตรนีเซียน

กลุ่มภาษาบอร์เนียว-ฟิลิปปินส์ มี 30 ความสัมพันธ์ขณะที่ ตระกูลภาษาออสโตรนีเซียน มี 60 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 9, ดัชนี Jaccard คือ 10.00% = 9 / (30 + 60)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง กลุ่มภาษาบอร์เนียว-ฟิลิปปินส์และตระกูลภาษาออสโตรนีเซียน หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »