โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

กลุ่มดาวนายพรานและดาวนักขัตฤกษ์

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง กลุ่มดาวนายพรานและดาวนักขัตฤกษ์

กลุ่มดาวนายพราน vs. ดาวนักขัตฤกษ์

กลุ่มดาวนายพราน (Orion) เป็นกลุ่มดาวที่มีชื่อเสียง คนไทยเรียกว่า ดาวเต่า การที่มีดาวฤกษ์สว่างหลายดวงเป็นสมาชิก และมีตำแหน่งอยู่บริเวณเส้นศูนย์สูตรฟ้า ทำให้มองเห็นได้ทั่วโลก และอาจเป็นที่รู้จักกว้างขวางที่สุดในบรรดากลุ่มดาวบนท้องฟ้า ดาวสามดวงที่ประกอบกันเป็น "เข็มขัดของนายพราน" เป็นดาวที่มีความสว่างปานกลางแต่ก็สามารถสังเกตเห็นได้ง่าย สำหรับผู้สังเกตการณ์ที่อยู่ในซีกโลกเหนือจะสามารถมองเห็นกลุ่มดาวนี้ได้ตั้งแต่ช่วงเย็นของเดือนตุลาคมไปจนถึงเดือนมกราคม จากนั้นจะสามารถเห็นได้ในช่วงเช้ามืดตั้งแต่ปลายเดือนกรกฎาคมถึงพฤศจิกายน ตำแหน่งของกลุ่มดาวนายพรานเทียบกับกลุ่มดาวข้างเคียงสามารถจินตนาการออกมาเป็นภาพได้ดังนี้: นายพรานโอไรอันยืนอยู่ข้างแม่น้ำเอริดานัส มีหมาล่าเนื้อสองตัวอยู่เคียงข้างคือ คานิสใหญ่และคานิสเล็ก เขากำลังสู้กับวัวเทารัส โดยมีเหยื่ออื่นอยู่ข้างๆ อีกเช่น ลีปัสกระต่ายป่า กลุ่มดาวนายพรานมีดาวไรเจลเป็นดาวสว่างที่สุด แต่ดาวที่มีชื่อเสียงคือดาวบีเทลจุส ดาวยักษ์แดงซึ่งเป็นองค์ประกอบหนึ่งในสามดวงของดาวสามเหลี่ยมฤดูหนาว (คือดาวบีเทลจุส ดาวซิริอุส และดาวโปรซิออน) เราสามารถใช้กลุ่มดาวนายพรานสำหรับการชี้ดาวต่างๆ ได้มากมาย เช่น ลากจากดาวอัลนิลัม ไป ดาวเมสสา จะชี้ตรงทิศเหนือ ใต้กลุ่มดาวนายพรานเป็นกลุ่มดาวกระต่ายป่า ดาวไรเจลอยู่ติดกับกลุ่มดาวแม่น้ำที่มีดาวอะเคอร์นาเป็นดาวเด่น (ไม่ได้อยู่ติดกัน) เข็มขัดนายพรานชี้ไปที่ดาวตาวัว (อัลดิบารัน) และถ้าลากจากไรเจลผ่านบีเทลจุสจะได้ดาวคาสเตอร์ เป็นต้น. วนักขัตฤกษ์ หรือ ดาวนักษัตรฤกษ์ เรียกย่อว่าดาวฤกษ์ ในทางโหราศาสตร์ไทยและภารตะ หมายถึงกลุ่มดาวที่มีตำแหน่งคงตัว 27 กลุ่มที่เรียงตัวกันบนฟากฟ้า ในวิชาโหราศาสตร์ เมื่อจะให้ฤกษ์หรือพยากรณ์ชีวิตบุคคล ก็จะต้องดูว่าดวงจันทร์ ในขณะที่เกิดหรือทำการนั้น ทับดาวนักขัตฤกษ์ที่ดีหรือไม่ นอกจากนี้อาจดูให้ละเอียดลงไปถึงลัคนาด้วยว่าอยู่ในกลุ่มดาวใด ดาวฤกษ์ต่างจากดาวเคราะห์ตรงที่ดาวเคราะห์สามารถเคลื่อนที่ไปในจักรราศีได้ และสามารถบันดาลชะตาต่อบุคคลหรือสถานที่ได้ ซึ่งในทางโหราศาสตร์จัดว่าดวงอาทิตย์เป็นดาวเคราะห์ด้วย ฤกษ์แต่ละฤกษ์กินอาณาเขต 800 ลิปดา แบ่งออกเป็นส่วนย่อยได้สี่ส่วนเรียกว่าบาท มีขนาดเท่ากับนวางค์ของราศี คือ 200 ลิปดา ฤกษ์ใดที่บาททั้งสี่อยู่ในราศีเดียวกัน เรียกฤกษ์นั้นว่าบูรณฤกษ์ หมายถึงฤกษ์ครบถ้วน หรือฤกษ์ดีงาม ฤกษ์ใดที่มีสามบาทอยู่ราศีหนึ่ง และอีกบาทหนึ่งอยู่อีกราศี เรียกว่า ฉินทฤกษ์ แปลว่าฤกษ์แตกหัก เป็นฤกษ์ร้ายแรงมาก ส่วนฤกษ์ใดที่มีสองบาทแบ่งครึ่งสองราศี เรียกว่า พินทุฤกษ์ หรือฤกษ์เปื้อนเปรอะ เป็นฤกษ์ที่มัวหมอง ในทางดาราศาสตร์ได้ยืมคำว่าดาวฤกษ์ ไปใช้เรียกดาวที่มีการผลิตพลังงานในตัวเองโดยปฏิกิริยาหลอมตัวนิวเคลียร.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง กลุ่มดาวนายพรานและดาวนักขัตฤกษ์

กลุ่มดาวนายพรานและดาวนักขัตฤกษ์ มี 4 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): กลุ่มดาวนายพรานดาวบีเทลจุสดาวฤกษ์ดาวโรหิณี

กลุ่มดาวนายพราน

กลุ่มดาวนายพราน (Orion) เป็นกลุ่มดาวที่มีชื่อเสียง คนไทยเรียกว่า ดาวเต่า การที่มีดาวฤกษ์สว่างหลายดวงเป็นสมาชิก และมีตำแหน่งอยู่บริเวณเส้นศูนย์สูตรฟ้า ทำให้มองเห็นได้ทั่วโลก และอาจเป็นที่รู้จักกว้างขวางที่สุดในบรรดากลุ่มดาวบนท้องฟ้า ดาวสามดวงที่ประกอบกันเป็น "เข็มขัดของนายพราน" เป็นดาวที่มีความสว่างปานกลางแต่ก็สามารถสังเกตเห็นได้ง่าย สำหรับผู้สังเกตการณ์ที่อยู่ในซีกโลกเหนือจะสามารถมองเห็นกลุ่มดาวนี้ได้ตั้งแต่ช่วงเย็นของเดือนตุลาคมไปจนถึงเดือนมกราคม จากนั้นจะสามารถเห็นได้ในช่วงเช้ามืดตั้งแต่ปลายเดือนกรกฎาคมถึงพฤศจิกายน ตำแหน่งของกลุ่มดาวนายพรานเทียบกับกลุ่มดาวข้างเคียงสามารถจินตนาการออกมาเป็นภาพได้ดังนี้: นายพรานโอไรอันยืนอยู่ข้างแม่น้ำเอริดานัส มีหมาล่าเนื้อสองตัวอยู่เคียงข้างคือ คานิสใหญ่และคานิสเล็ก เขากำลังสู้กับวัวเทารัส โดยมีเหยื่ออื่นอยู่ข้างๆ อีกเช่น ลีปัสกระต่ายป่า กลุ่มดาวนายพรานมีดาวไรเจลเป็นดาวสว่างที่สุด แต่ดาวที่มีชื่อเสียงคือดาวบีเทลจุส ดาวยักษ์แดงซึ่งเป็นองค์ประกอบหนึ่งในสามดวงของดาวสามเหลี่ยมฤดูหนาว (คือดาวบีเทลจุส ดาวซิริอุส และดาวโปรซิออน) เราสามารถใช้กลุ่มดาวนายพรานสำหรับการชี้ดาวต่างๆ ได้มากมาย เช่น ลากจากดาวอัลนิลัม ไป ดาวเมสสา จะชี้ตรงทิศเหนือ ใต้กลุ่มดาวนายพรานเป็นกลุ่มดาวกระต่ายป่า ดาวไรเจลอยู่ติดกับกลุ่มดาวแม่น้ำที่มีดาวอะเคอร์นาเป็นดาวเด่น (ไม่ได้อยู่ติดกัน) เข็มขัดนายพรานชี้ไปที่ดาวตาวัว (อัลดิบารัน) และถ้าลากจากไรเจลผ่านบีเทลจุสจะได้ดาวคาสเตอร์ เป็นต้น.

กลุ่มดาวนายพรานและกลุ่มดาวนายพราน · กลุ่มดาวนายพรานและดาวนักขัตฤกษ์ · ดูเพิ่มเติม »

ดาวบีเทลจุส

วบีเทลจุส (Betelgeuse) เป็นดาวยักษ์ใหญ่แดง (Red supergiant star) มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1000 เท่า ของดวงอาทิตย์ อยู่ไกลออกไป 640 ปีแสง จึงเป็นดาวฤกษ์ดวงแรกนอกระบบสุริยะ ที่เราสามารถวัดขนาดของมันได้สำเร็จ ในปี 1920 และยังเป็นดาวฤกษ์ดวงแรก ที่เราสามารถถ่ายภาพชั้นบรรยากาศได้อีกด้วย สีของดวงดาวที่เปลี่ยนไป เกิดจากอุณหภูมิลดลงที่ชั้นนอกของดาว ในขณะที่ขยายขนาดออกไป ซึ่งบางครั้งจะไม่มีเสถียรภาพ อุณหภูมิ ขนาดและความสว่างจึงไม่คงที่ ดาวบีเทลจุสมีการเปลี่ยนแปลงความสว่าง จากสว่างที่สุด จางลง แล้วกลับมาสว่างที่สุดอีกครั้ง ทุกๆ 5.8 ปี.

กลุ่มดาวนายพรานและดาวบีเทลจุส · ดาวนักขัตฤกษ์และดาวบีเทลจุส · ดูเพิ่มเติม »

ดาวฤกษ์

นก่อตัวของดาวฤกษ์ในดาราจักรเมฆแมเจลแลนใหญ่ ภาพจาก NASA/ESA ดาวฤกษ์ คือวัตถุท้องฟ้าที่เป็นก้อนพลาสมาสว่างขนาดใหญ่ที่คงอยู่ได้ด้วยแรงโน้มถ่วง ดาวฤกษ์ที่อยู่ใกล้โลกมากที่สุด คือ ดวงอาทิตย์ ซึ่งเป็นแหล่งพลังงานหลักของโลก เราสามารถมองเห็นดาวฤกษ์อื่น ๆ ได้บนท้องฟ้ายามราตรี หากไม่มีแสงจากดวงอาทิตย์บดบัง ในประวัติศาสตร์ ดาวฤกษ์ที่โดดเด่นที่สุดบนทรงกลมท้องฟ้าจะถูกจัดเข้าด้วยกันเป็นกลุ่มดาว และดาวฤกษ์ที่สว่างที่สุดจะได้รับการตั้งชื่อโดยเฉพาะ นักดาราศาสตร์ได้จัดทำบัญชีรายชื่อดาวฤกษ์เพิ่มเติมขึ้นมากมาย เพื่อใช้เป็นมาตรฐานในการตั้งชื่อดาวฤกษ์ ตลอดอายุขัยส่วนใหญ่ของดาวฤกษ์ มันจะเปล่งแสงได้เนื่องจากปฏิกิริยาเทอร์โมนิวเคลียร์ฟิวชั่นที่แกนของดาว ซึ่งจะปลดปล่อยพลังงานจากภายในของดาว จากนั้นจึงแผ่รังสีออกไปสู่อวกาศ ธาตุเคมีเกือบทั้งหมดซึ่งเกิดขึ้นโดยธรรมชาติและหนักกว่าฮีเลียมมีกำเนิดมาจากดาวฤกษ์ทั้งสิ้น โดยอาจเกิดจากการสังเคราะห์นิวเคลียสของดาวฤกษ์ระหว่างที่ดาวยังมีชีวิตอยู่ หรือเกิดจากการสังเคราะห์นิวเคลียสของซูเปอร์โนวาหลังจากที่ดาวฤกษ์เกิดการระเบิดหลังสิ้นอายุขัย นักดาราศาสตร์สามารถระบุขนาดของมวล อายุ ส่วนประกอบทางเคมี และคุณสมบัติของดาวฤกษ์อีกหลายประการได้จากการสังเกตสเปกตรัม ความสว่าง และการเคลื่อนที่ในอวกาศ มวลรวมของดาวฤกษ์เป็นตัวกำหนดหลักในลำดับวิวัฒนาการและชะตากรรมในบั้นปลายของดาว ส่วนคุณสมบัติอื่นของดาวฤกษ์ เช่น เส้นผ่านศูนย์กลาง การหมุน การเคลื่อนที่ และอุณหภูมิ ถูกกำหนดจากประวัติวิวัฒนาการของมัน แผนภาพคู่ลำดับระหว่างอุณหภูมิกับความสว่างของดาวฤกษ์จำนวนมาก ที่รู้จักกันในชื่อ ไดอะแกรมของแฮร์ทสชปรุง-รัสเซลล์ (H-R ไดอะแกรม) ช่วยทำให้สามารถระบุอายุและรูปแบบวิวัฒนาการของดาวฤกษ์ได้ ดาวฤกษ์ถือกำเนิดขึ้นจากเมฆโมเลกุลที่ยุบตัวโดยมีไฮโดรเจนเป็นส่วนประกอบหลัก รวมไปถึงฮีเลียม และธาตุอื่นที่หนักกว่าอีกจำนวนหนึ่ง เมื่อแก่นของดาวฤกษ์มีความหนาแน่นมากเพียงพอ ไฮโดรเจนบางส่วนจะถูกเปลี่ยนเป็นฮีเลียมผ่านกระบวนการนิวเคลียร์ฟิวชั่นอย่างต่อเนื่อง ส่วนภายในที่เหลือของดาวฤกษ์จะนำพลังงานออกจากแก่นผ่านทางกระบวนการแผ่รังสีและการพาความร้อนประกอบกัน ความดันภายในของดาวฤกษ์ป้องกันมิให้มันยุบตัวต่อไปจากแรงโน้มถ่วงของมันเอง เมื่อเชื้อเพลิงไฮโดรเจนที่แก่นของดาวหมด ดาวฤกษ์ที่มีมวลอย่างน้อย 0.4 เท่าของดวงอาทิตย์ จะพองตัวออกจนกลายเป็นดาวยักษ์แดง ซึ่งในบางกรณี ดาวเหล่านี้จะหลอมธาตุที่หนักกว่าที่แก่นหรือในเปลือกรอบแก่นของดาว จากนั้น ดาวยักษ์แดงจะวิวัฒนาการไปสู่รูปแบบเสื่อม มีการรีไซเคิลบางส่วนของสสารไปสู่สสารระหว่างดาว สสารเหล่านี้จะก่อให้เกิดดาวฤกษ์รุ่นใหม่ซึ่งมีอัตราส่วนของธาตุหนักที่สูงกว่า ระบบดาวคู่และระบบดาวหลายดวงประกอบด้วยดาวฤกษ์สองดวงหรือมากกว่านั้นซึ่งยึดเหนี่ยวกันด้วยแรงโน้มถ่วง และส่วนใหญ่มักจะโคจรรอบกันในวงโคจรที่เสถียร เมื่อดาวฤกษ์ในระบบดาวดังกล่าวสองดวงมีวงโคจรใกล้กันมากเกินไป ปฏิกิริยาแรงโน้มถ่วงระหว่างดาวฤกษ์อาจส่งผลกระทบใหญ่หลวงต่อวิวัฒนาการของพวกมันได้ ดาวฤกษ์สามารถรวมตัวกันเป็นส่วนหนึ่งอยู่ในโครงสร้างขนาดใหญ่ที่ยึดเหนี่ยวกันด้วยแรงโน้มถ่วง เช่น กระจุกดาว หรือ ดาราจักร ได้.

กลุ่มดาวนายพรานและดาวฤกษ์ · ดาวนักขัตฤกษ์และดาวฤกษ์ · ดูเพิ่มเติม »

ดาวโรหิณี

วอัลดิบาแรน (Aldebaran; ชื่ออื่น: α Tau, α Tauri, Alpha Tauri) เป็นดาวฤกษ์สว่างที่สุดในกลุ่มดาววัว และเป็นหนึ่งในดาวฤกษ์ที่สว่างที่สุดบนท้องฟ้ายามค่ำคืน เนื่องจากตำแหน่งของดาวอยู่บริเวณส่วนหัวของกลุ่มดาว ในอดีตจึงมีที่เรียกชื่อดาวนี้ว่า ดาวตาวัว ดาวอัลดิบาแรนเป็นดาวที่มีความสว่างมากที่สุดในบริเวณกระจุกดาวไฮดีส (Hyades) ซึ่งเป็นกระจุกดาวที่อยู่ใกล้โลกมากที่สุด ยานอวกาศไพโอเนียร์ 10 ขององค์การนาซาที่เดินทางผ่านดาวพฤหัสบดีเมื่อปี ค.ศ. 1973 จะเดินทางไปถึงผ่านดาวอัลดิบาแรนในประมาณอีก 2 ล้านปีข้างหน้.

กลุ่มดาวนายพรานและดาวโรหิณี · ดาวนักขัตฤกษ์และดาวโรหิณี · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง กลุ่มดาวนายพรานและดาวนักขัตฤกษ์

กลุ่มดาวนายพราน มี 27 ความสัมพันธ์ขณะที่ ดาวนักขัตฤกษ์ มี 39 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 4, ดัชนี Jaccard คือ 6.06% = 4 / (27 + 39)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง กลุ่มดาวนายพรานและดาวนักขัตฤกษ์ หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »