เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

กลุ่มดาวและเมฆแมเจลแลนเล็ก

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง กลุ่มดาวและเมฆแมเจลแลนเล็ก

กลุ่มดาว vs. เมฆแมเจลแลนเล็ก

กลุ่มดาวนายพราน เป็นกลุ่มดาวที่โดดเด่น สามารถมองเห็นได้จากทั่วโลก (แต่ไม่ตลอดทั้งปี) กลุ่มดาว คือ กลุ่มของดาวฤกษ์ ที่สามารถเชื่อมต่อกันเป็นรูปร่างต่าง ๆ ตามแต่จินตนาการในอวกาศสามมิต. มฆมาเจลลันเล็ก เมฆแมเจลแลนเล็ก (Small Magellanic Cloud, SMC) เป็นดาราจักรแคระ แห่งหนึ่งในกลุ่มท้องถิ่น ถือเป็นหนึ่งในดาราจักรที่อยู่ใกล้ทางช้างเผือกมากที่สุดและสามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า โดยอยู่ห่างจากดาราจักรของเราประมาณ 200,000 ปีแสง มีดาวฤกษ์อยู่เป็นสมาชิกจำนวนหลายร้อยล้านดวง บ้างเชื่อว่าเมฆแมเจลแลนเล็กเคยเป็นดาราจักรชนิดก้นหอยมีคานมาก่อน แต่ถูกรบกวนโดยทางช้างเผือกทำให้มันเสียรูปร่างไป แต่ก็ยังสามารถมองเห็นโครงสร้างรูปคานบริเวณตรงกลางได้บ้าง เมฆแมเจลแลนเล็กมีค่าเดคลิเนชันเฉลี่ยถึง -73 องศา มันจึงสามารถมองเห็นได้จากด้านซีกโลกใต้หรือซีกโลกเหนือตอนล่างมาก ๆ เท่านั้น ตำแหน่งปรากฏบนฟ้าอยู่ใกล้กลุ่มดาวนกทูแคน เป็นแถบแสงหม่น ๆ กว้างประมาณ 3 องศาบนท้องฟ้า ดูราวกับเป็นชิ้นส่วนที่หลุดออกไปจากทางช้างเผือก เมฆแมเจลแลนเล็กเป็นดาราจักรคู่กันกับเมฆแมเจลแลนใหญ่ ซึ่งอยู่ห่างออกไปทางตะวันออกประมาณ 20 อง.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง กลุ่มดาวและเมฆแมเจลแลนเล็ก

กลุ่มดาวและเมฆแมเจลแลนเล็ก มี 1 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): ดาวฤกษ์

ดาวฤกษ์

นก่อตัวของดาวฤกษ์ในดาราจักรเมฆแมเจลแลนใหญ่ ภาพจาก NASA/ESA ดาวฤกษ์ คือวัตถุท้องฟ้าที่เป็นก้อนพลาสมาสว่างขนาดใหญ่ที่คงอยู่ได้ด้วยแรงโน้มถ่วง ดาวฤกษ์ที่อยู่ใกล้โลกมากที่สุด คือ ดวงอาทิตย์ ซึ่งเป็นแหล่งพลังงานหลักของโลก เราสามารถมองเห็นดาวฤกษ์อื่น ๆ ได้บนท้องฟ้ายามราตรี หากไม่มีแสงจากดวงอาทิตย์บดบัง ในประวัติศาสตร์ ดาวฤกษ์ที่โดดเด่นที่สุดบนทรงกลมท้องฟ้าจะถูกจัดเข้าด้วยกันเป็นกลุ่มดาว และดาวฤกษ์ที่สว่างที่สุดจะได้รับการตั้งชื่อโดยเฉพาะ นักดาราศาสตร์ได้จัดทำบัญชีรายชื่อดาวฤกษ์เพิ่มเติมขึ้นมากมาย เพื่อใช้เป็นมาตรฐานในการตั้งชื่อดาวฤกษ์ ตลอดอายุขัยส่วนใหญ่ของดาวฤกษ์ มันจะเปล่งแสงได้เนื่องจากปฏิกิริยาเทอร์โมนิวเคลียร์ฟิวชั่นที่แกนของดาว ซึ่งจะปลดปล่อยพลังงานจากภายในของดาว จากนั้นจึงแผ่รังสีออกไปสู่อวกาศ ธาตุเคมีเกือบทั้งหมดซึ่งเกิดขึ้นโดยธรรมชาติและหนักกว่าฮีเลียมมีกำเนิดมาจากดาวฤกษ์ทั้งสิ้น โดยอาจเกิดจากการสังเคราะห์นิวเคลียสของดาวฤกษ์ระหว่างที่ดาวยังมีชีวิตอยู่ หรือเกิดจากการสังเคราะห์นิวเคลียสของซูเปอร์โนวาหลังจากที่ดาวฤกษ์เกิดการระเบิดหลังสิ้นอายุขัย นักดาราศาสตร์สามารถระบุขนาดของมวล อายุ ส่วนประกอบทางเคมี และคุณสมบัติของดาวฤกษ์อีกหลายประการได้จากการสังเกตสเปกตรัม ความสว่าง และการเคลื่อนที่ในอวกาศ มวลรวมของดาวฤกษ์เป็นตัวกำหนดหลักในลำดับวิวัฒนาการและชะตากรรมในบั้นปลายของดาว ส่วนคุณสมบัติอื่นของดาวฤกษ์ เช่น เส้นผ่านศูนย์กลาง การหมุน การเคลื่อนที่ และอุณหภูมิ ถูกกำหนดจากประวัติวิวัฒนาการของมัน แผนภาพคู่ลำดับระหว่างอุณหภูมิกับความสว่างของดาวฤกษ์จำนวนมาก ที่รู้จักกันในชื่อ ไดอะแกรมของแฮร์ทสชปรุง-รัสเซลล์ (H-R ไดอะแกรม) ช่วยทำให้สามารถระบุอายุและรูปแบบวิวัฒนาการของดาวฤกษ์ได้ ดาวฤกษ์ถือกำเนิดขึ้นจากเมฆโมเลกุลที่ยุบตัวโดยมีไฮโดรเจนเป็นส่วนประกอบหลัก รวมไปถึงฮีเลียม และธาตุอื่นที่หนักกว่าอีกจำนวนหนึ่ง เมื่อแก่นของดาวฤกษ์มีความหนาแน่นมากเพียงพอ ไฮโดรเจนบางส่วนจะถูกเปลี่ยนเป็นฮีเลียมผ่านกระบวนการนิวเคลียร์ฟิวชั่นอย่างต่อเนื่อง ส่วนภายในที่เหลือของดาวฤกษ์จะนำพลังงานออกจากแก่นผ่านทางกระบวนการแผ่รังสีและการพาความร้อนประกอบกัน ความดันภายในของดาวฤกษ์ป้องกันมิให้มันยุบตัวต่อไปจากแรงโน้มถ่วงของมันเอง เมื่อเชื้อเพลิงไฮโดรเจนที่แก่นของดาวหมด ดาวฤกษ์ที่มีมวลอย่างน้อย 0.4 เท่าของดวงอาทิตย์ จะพองตัวออกจนกลายเป็นดาวยักษ์แดง ซึ่งในบางกรณี ดาวเหล่านี้จะหลอมธาตุที่หนักกว่าที่แก่นหรือในเปลือกรอบแก่นของดาว จากนั้น ดาวยักษ์แดงจะวิวัฒนาการไปสู่รูปแบบเสื่อม มีการรีไซเคิลบางส่วนของสสารไปสู่สสารระหว่างดาว สสารเหล่านี้จะก่อให้เกิดดาวฤกษ์รุ่นใหม่ซึ่งมีอัตราส่วนของธาตุหนักที่สูงกว่า ระบบดาวคู่และระบบดาวหลายดวงประกอบด้วยดาวฤกษ์สองดวงหรือมากกว่านั้นซึ่งยึดเหนี่ยวกันด้วยแรงโน้มถ่วง และส่วนใหญ่มักจะโคจรรอบกันในวงโคจรที่เสถียร เมื่อดาวฤกษ์ในระบบดาวดังกล่าวสองดวงมีวงโคจรใกล้กันมากเกินไป ปฏิกิริยาแรงโน้มถ่วงระหว่างดาวฤกษ์อาจส่งผลกระทบใหญ่หลวงต่อวิวัฒนาการของพวกมันได้ ดาวฤกษ์สามารถรวมตัวกันเป็นส่วนหนึ่งอยู่ในโครงสร้างขนาดใหญ่ที่ยึดเหนี่ยวกันด้วยแรงโน้มถ่วง เช่น กระจุกดาว หรือ ดาราจักร ได้.

กลุ่มดาวและดาวฤกษ์ · ดาวฤกษ์และเมฆแมเจลแลนเล็ก · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง กลุ่มดาวและเมฆแมเจลแลนเล็ก

กลุ่มดาว มี 17 ความสัมพันธ์ขณะที่ เมฆแมเจลแลนเล็ก มี 12 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 1, ดัชนี Jaccard คือ 3.45% = 1 / (17 + 12)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง กลุ่มดาวและเมฆแมเจลแลนเล็ก หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่: