เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

กลุ่มกระจุกดาราจักรและดาราจักร

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง กลุ่มกระจุกดาราจักรและดาราจักร

กลุ่มกระจุกดาราจักร vs. ดาราจักร

กลุ่มกระจุกดาราจักร (Supercluster) คือโครงสร้างขนาดใหญ่ของกลุ่มและกระจุกดาราจักรจำนวนมาก เป็นหนึ่งในบรรดาโครงสร้างที่ใหญ่ที่สุดในจักรวาล ลักษณะการมีอยู่ของกลุ่มกระจุกดาราจักรบ่งชี้ว่า ดาราจักรในเอกภพของเราไม่ได้กระจายตัวอย่างเป็นระเบียบ ดาราจักรส่วนมากจับกลุ่มอยู่ด้วยกันเป็นกลุ่มและกระจุก โดยกลุ่มของดาราจักรประกอบด้วยดาราจักรประมาณ 50 แห่ง ส่วนกระจุกประกอบด้วยดาราจักรหลายพันแห่ง กลุ่มและกระจุกเหล่านี้รวมกับดาราจักรเดี่ยวอีกจำนวนหนึ่งรวมกันเป็นโครงสร้างที่ใหญ่กว่า เรียกว่า กลุ่มกระจุกดาราจักร ปัจจุบันนักวิทยาศาสตร์ค้นพบว่าโลกของเราอยู่ในกลุ่มกระจุกดาราจักรขนาดใหญ่ ชื่อว่า "กลุ่มกระจุกดาราจักรลาเนียเคอา" (Laniakea Supercluster) โครงสร้างระดับกลุ่มกระจุกดาราจักรนั้นเชื่อว่าเป็นโครงสร้างย่อยของกำแพงหรือชีทขนาดยักษ์ บางครั้งอาจเรียกว่า "กลุ่มกระจุกดาราจักรอันซับซ้อน" ซึ่งอาจมีความกว้างถึง 1 พันล้านปีแสง หรือมากกว่า 5% ของขนาดของเอกภพที่สังเกตได้ ขณะที่ตัวกลุ่มกระจุกดาราจักรเองอาจมีขนาดราวไม่กี่ร้อยล้านปีแสง ความเร็วโดยทั่วไปของดาราจักรอยู่ที่ประมาณ 1000 กิโลเมตรต่อวินาที ตามกฎของฮับเบิลที่ระบุว่า ดาราจักรทั่วไปสามารถเคลื่อนที่ได้ 30 ล้านปีแสงที่ความเร็วฮับเบิล 1/H ซึ่งมีค่าโดยประมาณเท่ากับอายุของเอกภพ แม้นี่จะเป็นระยะทางอันมโหฬารเมื่อเทียบกับขนาดของมนุษย์ แต่ต้องถือว่าเล็กมากเมื่อเทียบกับขนาดของกลุ่มกระจุกดาราจักร ยังไม่มีข้อสรุปเกี่ยวกับโครงสร้างระดับที่ใหญ่กว่ากลุ่มกระจุกดาราจักร (ดูเพิ่มที่ ใยเอกภพ) ช่องว่างระหว่างกลุ่มกระจุกดาราจักรเป็นที่ว่างขนาดใหญ่ในอวกาศซึ่งไม่ค่อยมีดาราจักรอยู่ ปัจจุบันกลุ่มกระจุกดาราจักรเป็นโครงสร้างขนาดใหญ่ที่สุดที่มีการยอมรับอย่างเป็นทางการ แต่จำนวนโดยรวมของกลุ่มกระจุกดาราจักรทำให้คิดกันว่า มีความเป็นไปได้ของการกระจายตัวของโครงสร้างที่ใหญ่กว่านั้น เชื่อว่ามีกลุ่มกระจุกดาราจักรในเอกภพทั้งสิ้นประมาณเกือบ 10 ล้านแห่ง. ราจักร '''NGC 4414''' ซึ่งเป็นดาราจักรชนิดก้นหอย มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 56,000 ปีแสง และอยู่ห่างจากโลกประมาณ 60 ล้านปีแสง ดาราจักร หรือ กาแล็กซี (galaxy) เป็นกลุ่มของดาวฤกษ์นับล้านดวง กับสสารระหว่างดาวอันประกอบด้วยแก๊ส ฝุ่น และสสารมืด รวมอยู่ด้วยกันด้วยแรงโน้มถ่วง คำนี้มีที่มาจากภาษากรีกว่า galaxias หมายถึง "น้ำนม" ซึ่งสื่อโดยตรงถึงดาราจักรทางช้างเผือก (Milky Way) ดาราจักรโดยทั่วไปมีขนาดน้อยใหญ่ต่างกัน นับแต่ดาราจักรแคระที่มีดาวฤกษ์ประมาณสิบล้านดวง ไปจนถึงดาราจักรขนาดยักษ์ที่มีดาวฤกษ์นับถึงล้านล้านดวง.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง กลุ่มกระจุกดาราจักรและดาราจักร

กลุ่มกระจุกดาราจักรและดาราจักร มี 6 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): กฎของฮับเบิลกลุ่มและกระจุกดาราจักรปีแสงใยเอกภพเอกภพเอกภพที่สังเกตได้

กฎของฮับเบิล

กฎของฮับเบิล เป็นสมการในวิชาฟิสิกส์จักรวาลวิทยาที่อธิบายปรากฏการณ์การเคลื่อนไปทางแดงของแสงที่ได้รับจากดาราจักรอันห่างไกลซึ่งมีค่าแปรผันไปตามระยะห่าง กฎนี้คิดค้นขึ้นครั้งแรกโดย เอ็ดวิน ฮับเบิล ในปี ค.ศ. 1929 หลังจากเขาได้เฝ้าสังเกตการณ์ทางดาราศาสตร์มานับสิบปี นับได้ว่าการเฝ้าสังเกตการณ์ของฮับเบิลเป็นหลักฐานชิ้นแรกของแนวคิดการขยายตัวของจักรวาล ซึ่งเป็นหลักฐานชิ้นสำคัญของแนวคิดบิกแบง ข้อมูลในการคำนวณล่าสุดใช้ข้อมูลในปี 2003 ซึ่งได้จากดาวเทียม WMAP ร่วมกับข้อมูลทางดาราศาสตร์อื่นๆ ได้ค่าคงที่ของฮับเบิลเท่ากับ 70.1 ± 1.3 (กม./วินาที)/เมกะพาร์เซก ซึ่งสอดคล้องกับค่าที่คำนวณได้จากกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิลเมื่อปี 2001 คือ 72 ± 8 (กม./วินาที)/เมกะพาร์เซก.

กฎของฮับเบิลและกลุ่มกระจุกดาราจักร · กฎของฮับเบิลและดาราจักร · ดูเพิ่มเติม »

กลุ่มและกระจุกดาราจักร

กลุ่มและกระจุกดาราจักร เป็นวัตถุอวกาศขนาดใหญ่ที่รวมตัวกันด้วยแรงดึงดูดจากความโน้มถ่วงระหว่างดาราจักร นับเป็นโครงสร้างที่ใหญ่ที่สุดของเอกภพ รูปแบบการเกิดโครงสร้างเช่นนี้ร่วมกับสสารมืดที่เย็นจัด เกิดจากโครงสร้างขนาดเล็กแตกสลายลงก่อนแล้วค่อยๆ รวมตัวกันจนกลายเป็นโครงสร้างขนาดใหญ่ คือกระจุกของดาราจักร ซึ่งเริ่มก่อตัวมาตั้งแต่หนึ่งหมื่นล้านปีมาแล้วจนถึงปัจจุบัน กลุ่มและกระจุกดาราจักรอาจประกอบด้วยดาราจักรจำนวนเพียงสิบไปจนถึงหมื่นดาราจักร และตัวกระจุกเองอาจเกี่ยวโยงกับกลุ่มที่ใหญ่กว่า เรียกว่า กลุ่มกระจุกดาราจักร (supercluster) หมวดหมู่:กลุ่มดาราจักร หมวดหมู่:ดาราจักร หมวดหมู่:โครงสร้างขนาดใหญ่ในเอกภพ.

กลุ่มกระจุกดาราจักรและกลุ่มและกระจุกดาราจักร · กลุ่มและกระจุกดาราจักรและดาราจักร · ดูเพิ่มเติม »

ปีแสง

ปีแสง (อังกฤษ: light-year) คือ หน่วยของระยะทางในทางดาราศาสตร์ 1 ปีแสง เท่ากับระยะทางที่แสงเดินทางในเวลา 1 ปี จากอัตราเร็วแสงที่มีค่า 299,792,458 เมตร/วินาที ระยะทาง 1 ปีแสงจึงมีค่าประมาณ 9.4607 กิโลเมตร.

กลุ่มกระจุกดาราจักรและปีแสง · ดาราจักรและปีแสง · ดูเพิ่มเติม »

ใยเอกภพ

ำหรับการศึกษาจักรวาลวิทยาเชิงกายภาพ ใยเอกภพ (filament) คือโครงสร้างขนาดใหญ่ที่สุดเท่าที่รู้จักและปรากฏอยู่ในเอกภพ เป็นโครงสร้างแบบเส้นด้ายมีความยาวประมาณ 50 ถึง 80 ''h''-1 เมกะพาร์เซก ซึ่งเป็นขอบเขตครอบคลุมพื้นที่ว่างขนาดใหญ่ในเอกภพ ใยเอกภพประกอบด้วยดาราจักรหลายแห่งที่ดึงดูดกันอยู่ด้วยแรงโน้มถ่วง โดยมีดาราจักรจำนวนมากที่อยู่ใกล้กันเรียกว่า กระจุกดาราจักร ในปี..

กลุ่มกระจุกดาราจักรและใยเอกภพ · ดาราจักรและใยเอกภพ · ดูเพิ่มเติม »

เอกภพ

อวกาศห้วงลึกมากของฮับเบิล ที่ประกอบด้วยกาแล็กซีที่มีอายุ ขนาด รูปร่าง และสีแตกต่างกัน เอกภพ หรือ จักรวาล โดยทั่วไปนิยามว่าเป็นผลรวมของการดำรงอยู่ รวมทั้งดาวเคราะห์ ดาวฤกษ์ ดาราจักร สิ่งที่บรรจุอยู่ในอวกาศระหว่างดาราจักร และสสารและพลังงานทั้งหมด การสังเกตเอกภพทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งเชื่อกันว่ามีเส้นผ่านศูนย์กลาง 9,999 ล้านปีแสง นำไปสู่อนุมานขั้นแรกเริ่มของเอกภพ การสังเกตเหล่านี้แนะว่า เอกภพถูกควบคุมด้วยกฎทางฟิสิกส์และค่าคงที่เดียวกันตลอดขนาดและประวัติศาสตร์ส่วนใหญ่ ทฤษฎีบิกแบงเป็นแบบจำลองจักรวาลวิทยาทั่วไปซึ่งอธิบายพัฒนาการแรกเริ่มของเอกภพ ซึ่งในจักรวาลวิทยากายภาพเชื่อว่าเกิดขึ้นเมื่อราว 13,700 ล้านปีก่อน มีนักฟิสิกส์มากมายเชื่อสมมุติฐานเกี่ยวกับพหุภพ ซึ่งกล่าวไว้ว่าเอกภพอาจเป็นหนึ่งในภพจำนวนมากที่มีอยู่เช่นกัน ระยะทางไกลสุดที่เป็นไปได้ทางทฤษฎีแก่มนุษย์ที่จะมองเห็นอธิบายว่าเป็น เอกภพที่สังเกตได้ การสังเกตได้แสดงว่า เอกภพดูจะขยายตัวในอัตราเร่ง และมีหลายแบบจำลองเกิดขึ้นเพื่อพยากรณ์ชะตาสุดท้ายของเอกภพ แผนภาพตำแหน่งของโลกในสถามที่ต่างๆของเอก.

กลุ่มกระจุกดาราจักรและเอกภพ · ดาราจักรและเอกภพ · ดูเพิ่มเติม »

เอกภพที่สังเกตได้

มุมกว้างของท้องฟ้าถ่ายด้วยเทคนิค near-infrared แสดงให้เห็นการกระจายตัวของกาแล็กซีต่างๆ นอกเหนือจากทางช้างเผือก มีจำนวนทั้งสิ้นมากกว่า 1.5 ล้านกาแล็กซี ตามทฤษฎีบิกแบง เอกภพที่สังเกตได้ (Observable Universe) คือขอบเขตห้วงอวกาศในกรอบทรงกลมที่มีจุดศูนย์กลางที่ผู้สังเกตการณ์ ที่มีขนาดเล็กพอที่เราจะสังเกตวัตถุต่างๆ ภายในได้ เช่น ระยะเวลาที่นานพอสำหรับการแพร่สัญญาณจากวัตถุ ณ เวลาใดๆ หลังเหตุการณ์บิกแบง มีการเคลื่อนที่เท่าความเร็วแสง และเดินทางมาถึงผู้สังเกตการณ์ ณ เวลาปัจจุบัน ทุกๆ ตำแหน่งมีเอกภพที่สังเกตได้ของจุดนั้นๆ ซึ่งอาจพอดีหรือเหลื่อมกันกับเอกภพที่สังเกตได้จากโลก ในทางทฤษฎีเอกภพที่สังเกตได้อาจมีขนาดเล็กกว่าหรือใหญ่กว่าขนาดของเอกภพจริง.

กลุ่มกระจุกดาราจักรและเอกภพที่สังเกตได้ · ดาราจักรและเอกภพที่สังเกตได้ · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง กลุ่มกระจุกดาราจักรและดาราจักร

กลุ่มกระจุกดาราจักร มี 9 ความสัมพันธ์ขณะที่ ดาราจักร มี 133 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 6, ดัชนี Jaccard คือ 4.23% = 6 / (9 + 133)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง กลุ่มกระจุกดาราจักรและดาราจักร หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่: