เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

กรีซยุคอาร์เคอิกและชาวกรีก

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง กรีซยุคอาร์เคอิกและชาวกรีก

กรีซยุคอาร์เคอิก vs. ชาวกรีก

กรีซยุคอาร์เคอิก (Archaic Greece) ยุคอาร์เคอิกของกรีซ คือสมัยอารยธรรมของประวัติศาสตร์กรีซโบราณที่รุ่งเรืองราวระหว่าง 800 ถึง 480 ปีก่อนคริสต์ศักราช อันเป็นยุคก่อนก่อนหน้ากรีซยุคคลาสสิก (ศตวรรษที่ 4 และ 5 ก่อนคริสตกาล) กรีซในยุคอาร์เคอิกเป็นช่วงเวลาที่จำนวนประชากรกรีกเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว และมีลำดับเหตุการณ์สำคัญหลายเหตุการณ์ที่พลิกโฉมหน้าอารยธรรมของชาวกรีก ณ ช่วงสิ้น.ที่ 8 ก่อนคริสตกาล จนกลายสภาพไปในลักษณะที่แทบจำไม่ได้หากเปรียบเทียบกับยุคก่อนหน้า นักวิชาการเชื่อว่ายุคอาร์เคอิกของกรีซ เกิดขึ้นจากการปฏิวัติที่สำคัญสองประเภท คือ การปฏิวัติเชิงโครงสร้าง ประเภทหนึ่ง และ การปฏิวัติทางปัญญา อีกประเภทหนึ่ง การปฏิวัติเชิงโครงสร้าง นำไปสู่การสร้างแผนที่ และการกำหนดสถานะทางการเมืองระหว่างกันขึ้นในโลกของชาวกรีก เริ่มมีการก่อตั้งนครรัฐ "โปลิส" (poleis) ที่มีแบบแผนเฉพาะตัวขึ้นมา ในยุคนี้ชาวกรีกได้พัฒนาทฤษฎีการเมือง การเศรษฐศาสตร์ ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ การสงคราม และวัฒนธรรมขึ้นอย่างรวดเร็ว และสิ่งเหล่านี้ปูพื้นฐานไปสู่ยุคทอง หรือยุคคลาสสิคของอารยธรรมกรีก นอกจากนี้ชาวกรีกในยุคอาร์เคอิกยังได้ฟื้นฟูการเขียนที่หายไปในระหว่างยุคมืด โดยมีการพัฒนาตัวอักษรกรีกจนมีลักษณะอย่างที่ใช้กันมาจนปัจจุบัน ทำให้วรรณคดีของกรีซโดยเฉพาะมหากาพย์ของโฮเมอร์ เปลี่ยนจากการถ่ายทอดทางมุขปาถะ (ปากเปล่า) มาเป็นการบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร ในด้านศิลปะได้ปรากฏการสร้างเครื่องปั้นดินเผารูปเขียนสีแดง (red-figure pottery) ด้านการทหารได้มีการพัฒนากระบวนทัพแบบฮอปไลต์ขึ้น ซึ่งกลายเป็นแกนหลักและยุทธวิธีหลักของกองทัพกรีก ในนครเอเธนส์สถาบันประชาธิปไตยยุคเริ่มแรกถูกนำมาใช้ภายใต้การการชี้นำของโซลอน และต่อมาการปฏิรูปของไคลธีนีส (Cleisthenes) ในช่วงปลายยุคนำได้พัฒนาไปสู่ ประชาธิปไตยของชาวเอเธนส์ อันเป็นรูปแบบการปกครองที่สืบต่อเนื่องมาในสมัยคลาสสิค คำว่า "กรีซยุคอาร์เคอิก" เป็นคำที่เริ่มใช้กันในคริสต์ศตวรรษที่ 18 ที่กลายมาเป็นคำมาตรฐานที่ใช้กันตั้งแต่นั้นมา คำดังกล่าวเป็นคำที่มาจากการศึกษาศิลปะกรีกที่หมายถึงลักษณะส่วนใหญ่ของศิลปะการตกแต่งพื้นผิวและประติมากรรม ที่ตกอยู่ระหว่างศิลปะเรขาคณิตกับกรีซคลาสสิก. วกรีก (Έλληνες) เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่มีการกระจายที่กรีซ, ไซปรัส, อานาโตเลียตะวันตก, อิตาลีใต้ และอีกหลายภูม.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง กรีซยุคอาร์เคอิกและชาวกรีก

กรีซยุคอาร์เคอิกและชาวกรีก มี 2 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): ทิวซิดิดีสเฮอรอโดทัส

ทิวซิดิดีส

ทิวซิดิดีส (Thucydides; Θουκυδίδης,; ช่วง 460 – 395 ปีก่อนคริสต์ศักราช) เป็นนักประวัติศาสตร์ชาวกรีก และเป็นผู้เขียนเรื่องประวัติศาสตร์ของสงครามเพโลพอนนีเซียน (History of the Peloponnesian War) ซึ่งบรรยายถึงเหตุการณ์ และชนวนสาเหตุของมหาสงครามเพโลพอนนีเซียน ซึ่งเป็นความขัดแย้งทางทหารระหว่างสปาร์ตากับเอเธนส์ในช่วงระหว่าง ปี 500 ถึง 411 ก่อนคริสต์ศักราช ตัวทิวซีดิดีสเองก็มีความเกี่ยวข้องกับสงครามนี้ในฐานะนักการทหารระดับแม่ทัพของเอเธนส์ และเคยนำทัพเอเธนส์รบในต่างแดนหลายครั้ง แต่ความล้มเหลวในสมรภูมิที่แอมฟิโปลิส ทำให้ท่านถูกเนรเทศตามกฎหมายของเอเธนส์ ทิวซิดิดีสได้รับการขนานนามว่าเป็นบิดาแห่งประวัติศาสตร์เชิงวิทยาศาสตร์ เนื่องจากมาตรฐานที่เข้มงวดในเรื่องของการรวบรวมพยานหลักฐาน และการวิเคราะห์ในด้านเหตุและผล โดยปราศจากการอ้างอิงถึงความเกี่ยวข้อง หรือการแทรกแทรงจากเทพเจ้า ซึ่งจะพบได้จากสรุปใจความสำคัญในบทคำนำในงานเขียนของท่าน ทิวซิดิดีสได้รับสมญานามว่า เป็นบิดาแห่งสำนักความคิดสัจนิยมทางการเมือง ซึ่งมองเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างชาติว่า เป็นเรื่องที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของอำนาจมากกว่าความชอบธรรม นอกจากนี้ทิวซิดิดีสยังแสดงความสนใจในเรื่องการใช้ประวัติศาสตร์ศึกษาเพื่อเพิ่มพูนความเข้าใจเกี่ยวกับธรรมชาติของมนุษย์ เพื่ออธิบายถึงพฤติกรรมในวิกฤตการณ์ดังเช่น การเกิดโรคระบาด การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ (ดังเช่นกรณีของชาวเมเลียน) และสงครามกลางเมือง งานเขียนสำคัญจากยุคสมัยกรีกโบราณของท่าน ยังคงได้รับการศึกษาอย่างแพร่หลายในสถาบันวิชาการทหารบกชั้นสูง และบทสนทนาโบราณระหว่างทหารเอเธนส์กับผู้ปกครองชาวเมเลียน (The Melian Dialogue) ที่บันทึกไว้ในหนังสือประวัติศาสตร์ของสงครามเพโลพอนนีเซียน ก็ยังทรงอิทธิพลต่องานเขียนในด้านทฤษฎีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศมาจนปัจจุบัน.

กรีซยุคอาร์เคอิกและทิวซิดิดีส · ชาวกรีกและทิวซิดิดีส · ดูเพิ่มเติม »

เฮอรอโดทัส

รูปแกะสลักเฮอโรโดทัส เฮอโรโดทัส (Herodotos หรือ Herodotus – ประมาณ พ.ศ. 58-118) นักประวัติศาสตร์ชาวกรีกผู้บันทึกสงครามเปอร์เซีย ผู้เริ่มต้นประวัติศาสตร์นิพนธ์ตะวันตก เกิดที่เมืองฮาลิคาร์นาสซัส ภาคตะวันตกเฉียงใต้ของเอเชียไมเนอร์ซึ่งในขณะนั้นอยู่ภายใต้การปกครองของเปอร์เซีย เฮอโรโดทัสได้เดินทางท่องเที่ยวศึกษาทั่วดินแดนในเอเชียไมเนอร์และตะวันออกกลาง และยังได้เดินทางลงใต้ไปอียิปต์ถึงเมืองเอเลแฟนทีน (อัสวานในปัจจุบัน) Oikumene) ประมาณ พ.ศ. 90 หรือ 450 ปีก่อนคริสตกาล โดยจำลองจากบันทึกของเฮอโรโดทัส เฮอโรโดทัส เคยอาศัยอยู่ที่กรุงเอเธนส์ หรืออย่างน้อยก็ตอนกลางของกรีกและได้พบกับโสโฟเคิลส์ (Sophocles) ก่อนที่จะไปเข้าเป็นพลเมืองร่วมอยู่กับอาณานิคมกรีกที่เมืองธุริ (Thurii) เมื่อปี..

กรีซยุคอาร์เคอิกและเฮอรอโดทัส · ชาวกรีกและเฮอรอโดทัส · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง กรีซยุคอาร์เคอิกและชาวกรีก

กรีซยุคอาร์เคอิก มี 14 ความสัมพันธ์ขณะที่ ชาวกรีก มี 21 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 2, ดัชนี Jaccard คือ 5.71% = 2 / (14 + 21)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง กรีซยุคอาร์เคอิกและชาวกรีก หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่: