โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

กรีซยุคคลาสสิกและการบุกครองกรีซครั้งที่หนึ่งของเปอร์เซีย

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง กรีซยุคคลาสสิกและการบุกครองกรีซครั้งที่หนึ่งของเปอร์เซีย

กรีซยุคคลาสสิก vs. การบุกครองกรีซครั้งที่หนึ่งของเปอร์เซีย

เพลโตเดินถกปรัชญาอยู่กับอริสโตเติล (จากภาพ school of Athens โดยราฟาเอล) กรีซยุคคลาสสิก หรือ กรีซสมัยคลาสสิก เป็นช่วงเวลาในประวัติศาสตร์ของกรีซโบราณที่อยู่ระหว่าง กรีซสมัยอาร์เคอิก และสมัยเฮลเลนิสติก โดยมีระยะเวลายาวนานประมาณ 200 ปี (ศตวรรษที่ 5 และ 4 ก่อนค.ศ.) ตั้งแต่ชัยชนะของเอเธนส์ที่ซาลามิส ต่ออาณาจักรเปอร์เซีย ในปีที่ 480 ก่อน.. การบุกครองกรีซครั้งที่หนึ่งของเปอร์เซีย เกิดขึ้นในช่วงสงครามกรีก-เปอร์เซีย ระหว่างปีที่ 492–490 ก่อนคริสตกาล โดยจักรพรรดิดาไรอัสมหาราชต้องการลงโทษนครรัฐเอเธนส์และอีรีเทรียที่สนับสนุนการก่อกบฏของเมืองไอโอเนีย รวมถึงต้องการขยายจักรวรรดิไปในทวีปยุโรป การบุกแบ่งออกเป็น 2 ครั้ง ครั้งแรกเริ่มในปีที่ 492 ก่อนคริสตกาล นำโดยแม่ทัพมาร์โดเนียส ทัพเปอร์เซียสามารถยึดเธรซคืนกลับมาและบังคับให้มาซิดอนอยู่ใต้อำนาจหลังเป็นประเทศราชมาตั้งแต่ปลายศตวรรษที่ 6 ก่อนคริสตกาล อย่างไรก็ตาม การบุกได้หยุดชะงักลงเมื่อทัพเรือเปอร์เซียถูกพายุซัดนอกชายฝั่งเขาแอทอส ปีต่อมา จักรพรรดิดาไรอัสส่งคณะทูตไปทั่วกรีซเพื่อสั่งให้ยอมสวามิภักดิ์ นครรัฐกรีกส่วนใหญ่ยอมสวามิภักดิ์ ยกเว้นเอเธนส์และสปาร์ตาที่สั่งประหารคณะทูต จักรพรรดิดาไรอัสจึงสั่งให้ยกทัพไปอีกครั้ง การบุกครั้งที่สองเริ่มในปีที่ 490 ก่อนคริสตกาล นำโดยแม่ทัพดาติสและอาร์ตาเฟอร์เนส ทัพเปอร์เซียยกไปที่เกาะนักซอสก่อนจะยึดและเผาเมือง ต่อมายึดหมู่เกาะซิคละดีสและทำลายเมืองอีรีเทรีย ระหว่างยกทัพต่อไปยังเอเธนส์ในแอตติกา ทัพเปอร์เซียได้ปะทะกับทัพกรีกที่มีจำนวนน้อยกว่าที่ที่ราบมาราธอน ทัพเปอร์เซียพ่ายแพ้และยกกลับเอเชีย อย่างไรก็ตาม ฝ่ายเปอร์เซียประสบความสำเร็จในการโจมตีนักซอส อีรีเทรียและแผ่อำนาจไปในภูมิภาคอีเจียน จักรพรรดิดาไรอัสได้รวบรวมกำลังพลเพื่อเตรียมบุกกรีซอีกครั้ง แต่ความขัดแย้งภายในจักรวรรดิทำให้แผนการดังกล่าวถูกเลื่อนออกไป จักรพรรดิดาไรอัสเสด็จสวรรคตในปีที่ 486 ก่อนคริสตกาล ทิ้งแผนการให้เซอร์ซีส พระราชโอรสดำเนินการต่อ ซึ่งจักรพรรดิเซอร์ซีสสั่งบุกกรีซอีกครั้งในปีที่ 480 ก่อนคริสตกาล.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง กรีซยุคคลาสสิกและการบุกครองกรีซครั้งที่หนึ่งของเปอร์เซีย

กรีซยุคคลาสสิกและการบุกครองกรีซครั้งที่หนึ่งของเปอร์เซีย มี 4 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): กบฏไอโอเนียกรีซโบราณสปาร์ตาจักรวรรดิอะคีเมนิด

กบฏไอโอเนีย

กบฏไอโอเนีย (Ionian Revolt) เกิดขึ้นระหว่างปีที่ 499–493 ก่อนคริสตกาล เป็นการกบฏในภูมิภาคไอโอเนียของเอเชียน้อยต่อการปกครองของจักรวรรดิอะคีเมนิด (เปอร์เซีย) จุดเริ่มต้นมาจากการแต่งตั้งทรราชขึ้นปกครองชาวกรีกของชาวเปอร์เซียและการปลุกปั่นจากอริสตาโกรัส ผู้ปกครองไมลีตัส หลังอริสตาโกรัสนำทัพร่วมกับเปอร์เซียบุกเกาะนักซอสแต่ล้มเหลว อริสตาโกรัสซึ่งกลัวว่าตนจะถูกปลดออกจากตำแหน่งผู้ปกครองจึงปลุกปั่นให้ชาวกรีกในไอโอเนียก่อกบฏต่อจักรพรรดิดาไรอัสมหาราชแห่งเปอร์เซีย ในปีที่ 498 ก่อนคริสตกาล กองทัพกบฏที่ได้กำลังสนับสนุนจากเอเธนส์และอีรีเทรียยึดและเผาเมืองซาร์ดิส ระหว่างยกทัพกลับ ฝ่ายกบฏได้ปะทะกับทัพเปอร์เซียที่ตามมาที่เอฟิซัส โดยฝ่ายกบฏเป็นฝ่ายพ่ายแพ้ ปีต่อมา ฝ่ายเปอร์เซียทำสงครามเพื่อยึดดินแดนคืน แต่การกบฏแผ่ไปในแคเรีย ดอริเซส แม่ทัพชาวเปอร์เซียจึงยกทัพไปที่นั่น ถึงแม้ปฏิบัติการช่วงแรกจะประสบความสำเร็จ แต่ความพ่ายแพ้ในยุทธการที่เพดาซัสและการสูญเสียแม่ทัพดอริเซสของฝ่ายเปอร์เซีย ทำให้สถานการณ์ของทั้งสองฝ่ายอยู่ในสภาวะหยุดนิ่ง ในปีที่ 494 ก่อนคริสตกาล ทัพบกและทัพเรือเปอร์เซียตัดสินใจบุกไมลีตัส เมืองใจกลางของกลุ่มกบฏและได้รับชัยชนะในยุทธการที่ลาเด การแปรพักตร์ของซามอสทำให้ไมลีตัสถูกยึด ชัยชนะทั้งสองครั้งของเปอร์เซียทำให้การกบฏสิ้นสุดลง เมืองแคเรียยอมแพ้ต่อฝ่ายเปอร์เซีย ปีต่อมา ฝ่ายเปอร์เซียยกทัพไปจัดการเมืองต่าง ๆ ที่ยังแข็งข้อและทำสนธิสัญญาสันติภาพกับไอโอเนีย การกบฏไอโอเนียถือเป็นความขัดแย้งครั้งแรกระหว่างกรีซและเปอร์เซียและเป็นช่วงแรกของสงครามกรีก-เปอร์เซีย ถึงแม้จะได้เอเชียน้อยกลับมาอยู่ใต้อำนาจ แต่จักรพรรดิดาไรอัสต้องการลงโทษเอเธนส์และอีรีเทรียที่สนับสนุนกลุ่มกบฏ นอกจากนี้พระองค์ยังมองว่านครรัฐกรีกต่าง ๆ ยังคงเป็นภัยต่อจักรวรรดิ ดังนั้นในปีที่ 492 ก่อนคริสตกาล จักรพรรดิดาไรอัสจึงสั่งบุกกรีซอีกครั้งเพื่อหวังจะยึดนครรัฐกรีกทั้งหม.

กบฏไอโอเนียและกรีซยุคคลาสสิก · กบฏไอโอเนียและการบุกครองกรีซครั้งที่หนึ่งของเปอร์เซีย · ดูเพิ่มเติม »

กรีซโบราณ

กรีซโบราณ (Ancient Greece) เป็นคำที่ใช้เรียกถึงบริเวณที่มีการพูดภาษากรีกในโลกยุคโบราณ ซึ่งไม่เพียงอ้างถึงพื้นที่คาบสมุทรของกรีซยุคปัจจุบันเท่านั้น แต่ยังกล่าวรวมถึงอารยธรรมกรีกโบราณซึ่งเป็นที่ตั้งรกรากถิ่นฐานโดยชาวกรีกในยุคโบราณอันได้แก่ ไซปรัส, บริเวณชายฝั่งของทะเลอีเจียนของตุรกี (หรือที่รู้จักในนามไอโอเนีย), ซิซิลีและทางใต้ของอิตาลี (หรือที่รู้จักในนามแมกนา เกรเชีย) และถิ่นฐานซึ่งกระจายออกไปของชาวกรีกตามชายฝั่งต่างๆซึ่งปัจจุบันเป็นประเทศ บัลแกเรีย ฝรั่งเศส ยูเครน โรมาเนีย ลิเบีย สเปน อัลแบเนีย และอียิปต.

กรีซยุคคลาสสิกและกรีซโบราณ · กรีซโบราณและการบุกครองกรีซครั้งที่หนึ่งของเปอร์เซีย · ดูเพิ่มเติม »

สปาร์ตา

แผนที่สปาร์ตาโบราณ สปาร์ตา (Doric: Spártā, Attic: Spártē) เป็นชื่อเรียกของรัฐอิสระ ของชาวดอเรียน ซึ่งเป็นหนึ่งในชนเผ่าที่สำคัญของกรีกในยุคโบราณ สปาร์ตามีศูนย์กลางอยู่ที่ลาโอเนีย และมีจุดเด่นที่เน้นการฝึกทหาร จนอาจจะกล่าวได้ว่าสปาร์ตาเป็นรัฐทางทหาร ที่เป็นที่เข้มแข็งที่สุดในประวัติศาสตร์ของกรีกโบราณ โดยกองทัพสปาร์ตาสามารถมีชัยเหนือจักรวรรดิเปอร์เซีย และ จักรวรรดิเอเธนเนียน และได้รับการยอมรับว่าเป็นผู้ปกป้องรัฐอื่น ๆ ในกรีก พวกสปาร์ตาสามารถตั้งนครรัฐของตนและยึดครองดินแดนต่าง ๆ ได้ด้วยการทำสงคราม ดั้งนั้นจึงให้ความสำคัญกับระบบทหาร หมวดหมู่:กรีซโบราณ หมวดหมู่:นครรัฐในกรีซโบราณ.

กรีซยุคคลาสสิกและสปาร์ตา · การบุกครองกรีซครั้งที่หนึ่งของเปอร์เซียและสปาร์ตา · ดูเพิ่มเติม »

จักรวรรดิอะคีเมนิด

ักรวรรดิอะคีเมนียะห์ หรือ จักรวรรดิเปอร์เชียอะคีเมนียะห์ (Achaemenid Empire หรือ Achaemenid Persian Empire, هخامنشیان) (550–330 ก.ค.ศ.) เป็นหนึ่งในจักรวรรดิแรกของจักรวรรดิเปอร์เชียที่ปกครองอาณาบริเวณส่วนใหญ่ของเกรตเตอร์อิหร่านที่ตามมาจากจักรวรรดิมีเดีย ในยุคที่รุ่งเรืองที่สุดจักรวรรดิอะคีเมนียะห์มีเนื้อที่ทั้งหมดประมาณ 7.5 ล้านตารางกิโลเมตร ที่ทำให้เป็นจักรวรรดิที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในยุคโบราณ และเป็นจักรวรรดิที่วางรากฐานของระบบการปกครองจากศูนย์กลางSchmitt Achaemenid dynasty (i. The clan and dynasty) จักรวรรดิอะคีเมนียะห์ที่ก่อตั้งขึ้นโดยจักรพรรดิไซรัสมหาราชครอบคลุมอาณาบริเวณสามทวีปที่รวมทั้งดินแดนในอัฟกานิสถาน และ ปากีสถาน, บางส่วนของเอเชียกลาง, อานาโตเลีย, เธรซ, บริเวณริมฝั่งทะเลดำส่วนใหญ่, อิรัก, ตอนเหนือของซาอุดีอาระเบีย, จอร์แดน, ปาเลสไตน์, เลบานอน, ซีเรีย และอียิปต์ไปจนถึงลิเบีย จักรวรรดิอะคีเมนียะห์เป็นศัตรูของนครรัฐกรีกในสงครามกรีซ-เปอร์เชีย เพราะไปปล่อยชาวยิวจากบาบิโลเนีย และในการก่อตั้งให้ภาษาอราเมอิกเป็นภาษาราชการ และพ่ายแพ้ต่ออเล็กซานเดอร์มหาราชในปี 330 ก่อนคริสต์ศักราช ความสำคัญทางประวัติศาสตร์โลกของจักรวรรดิอะคีเมนียะห์ที่ก่อตั้งโดยจักรพรรดิไซรัสมหาราชก็คือกาวางรากฐานที่ได้รับความสำเร็จของระบบการบริหารการปกครองจากศูนย์กลาง และของรัฐบาลที่มีปรัชญาในการสร้างประโยชน์ให้แก่มวลชนSchmitt Achaemenid dynasty (i. The clan and dynasty).

กรีซยุคคลาสสิกและจักรวรรดิอะคีเมนิด · การบุกครองกรีซครั้งที่หนึ่งของเปอร์เซียและจักรวรรดิอะคีเมนิด · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง กรีซยุคคลาสสิกและการบุกครองกรีซครั้งที่หนึ่งของเปอร์เซีย

กรีซยุคคลาสสิก มี 16 ความสัมพันธ์ขณะที่ การบุกครองกรีซครั้งที่หนึ่งของเปอร์เซีย มี 16 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 4, ดัชนี Jaccard คือ 12.50% = 4 / (16 + 16)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง กรีซยุคคลาสสิกและการบุกครองกรีซครั้งที่หนึ่งของเปอร์เซีย หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »