เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

กราวด์ (ไฟฟ้า)และไฟฟ้า

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง กราวด์ (ไฟฟ้า)และไฟฟ้า

กราวด์ (ไฟฟ้า) vs. ไฟฟ้า

รูปแบบหนึ่งของขั้วดิน (ด้านซ้ายของท่อสีเทา) ประกอบด้วยแท่งตัวนำหนึ่งแท่งที่ฝังลงในดินที่บ้านในประเทศออสเตรเลีย กราวด์ (ground) ในด้านวิศวกรรมไฟฟ้า หมายถึงจุดๆ หนึ่งในวงจรไฟฟ้าที่ใช้เป็นจุดอ้างอิงในการวัดแรงดันไฟฟ้า หรือใช้เป็นเส้นทางกลับร่วมกันของกระแสไฟฟ้าจากหลายๆที่ หรือจุดเชื่อมต่อทางกายภาพโดยตรงกับพื้นดิน สายไฟที่ลงดิน (สายดิน) จะต้องถูกกำหนดเป็นมาตรฐานให้ใช้สีที่แน่นอนเพื่อป้องกันการใช้ที่ไม่ถูกต้อง วงจรไฟฟ้าอาจจะถูกเชื่อมต่อกับพื้นดิน (พื้นโลก) ด้วยเหตุผลหลายประการ ในอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ใช้ไฟ AC เมนส์ ชิ้นส่วนโลหะที่ผู้ใช้สัมผัสได้จะถูกเชื่อมต่อกับพื้นดินเพื่อป้องกันผู้ใช้ไม่ให้สัมผ้สกับแรงดันไฟฟ้าที่เป็นอันตรายในกรณีที่ฉนวนไฟฟ้าล้มเหลว การเชื่อมต่อกับพื้นดินจะจำกัดกระแสไฟฟ้าสถิตที่ถูกสร้างขึ้นในการรับมือกับผลิตภัณฑ์ที่ติดไฟง่าย หรืออุปกรณ์ที่มีความไวต่อไฟฟ้าสถิต ในบางวงจรโทรเลขและบางระบบส่งกำลังไฟฟ้า แผ่นดินหรือผิวโลกเองสามารถถูกนำมาใช้เป็นหนึ่งในตัวนำสายส่งของวงจร ซึ่งจะเป็นการประหยัดค่าใช้จ่ายในการติดตั้งตัวนำสายส่งที่เป็นสายรีเทินที่แยกต่างหากไปหนึ่งเส้น (ดูระบบสายดินกลับ(single-wire earth return)) สำหรับวัตถุประสงค์ในการวัด กราวด์ทำหน้าที่เป็นจุดที่มีค่าความดันคงที่(พอสมควร) ที่สามารถถูกใช้เป็นจุดอ้างอิงสำหรับการวัดแรงดันที่จุดใดๆในวงจรได้ ระบบสายกราวด์ไฟฟ้าควรจะมีความสามารถในการเคลื่อนกระแสที่เหมาะสมในการทำหน้าที่เป็นแรงดันไฟฟ้าระดับอ้างอิงเป็นศูนย์ ในทางทฤษฎีวงจรอิเล็กทรอนิกส์ "กราวด์" ในทางอุดมคติมักจะเป็นแหล่งจ่ายประจุหรือแหล่งระบายประจุที่ไม่มีที่สิ้นสุด ที่สามารถดูดซับกระแสได้ไม่จำกัดจำนวนโดยไม่มีการเปลี่ยนแปลงแรงดันที่จุดนั้น ในขณะที่การเชื่อมต่อกับพื้นดินที่แท้จริงมักจะมีความต้านทานเกิดขึ้น ดังนั้นแรงดันของดินที่ใกล้เคียงกับศูนย์จึงไม่สามารถทำได้ แรงดันไฟฟ้ากระจัดกระจายหรือผลกระทบของแรงดันดินจะเกิดขึ้น ซึ่งอาจสร้างการรบกวนในสัญญาณต่างๆ หรือถ้าผลกระทบนั้นมีขนาดใหญ่พอ การรบกวนนั้นอาจจะสร้างอันตรายจากการช็อก(shock)ไฟฟ้าได้ การใช้คำว่ากราวด์เป็นเรื่องธรรมดาในเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ที่ใชัในอุปกรณ์แบบพกพาเช่นโทรศัพท์มือถือ และเครื่องเล่นสื่อในยานพาหนะที่อาจจะพูดว่ามี"กราวด์" โดยไม่ได้มีการเชื่อมต่อที่เกิดขึ้นจริงกับดินแต่อย่างใด โดยปกติจะเป็นแค่สายไฟตัวนำขนาดใหญ่ที่ต่ออยู่กับ ด้านใดด้านหนึ่งของแหล่งจ่ายไฟ (เช่น"ground plane" ในแผงวงจรพิมพ์) ซึ่งทำหน้าที่เป็น เส้นทางกลับร่วมกันสำหรับกระแสจากชิ้นส่วนต่างๆหลายจุดในวงจร. ฟฟ้า (ήλεκτρον; electricity) เป็นชุดของปรากฏการณ์ทางฟิสิกส์ มีที่มาจากภาษากรีกซึ่งในสมัยนั้นหมายถึงผลจากสิ่งที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติเนื่องจากการปรากฏตัวและการไหลของประจุไฟฟ้า เช่นฟ้าผ่า, ไฟฟ้าสถิต, การเหนี่ยวนำแม่เหล็กไฟฟ้าและกระแสไฟฟ้า นอกจากนี้ ไฟฟ้ายังทำให้เกิดการผลิตและการรับคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า เช่นคลื่นวิทยุ พูดถึงไฟฟ้า ประจุจะผลิตสนามแม่เหล็กไฟฟ้าซึ่งจะกระทำกับประจุอื่น ๆ ไฟฟ้าเกิดขึ้นได้เนื่องจากหลายชนิดของฟิสิกซ์ดังต่อไปนี้.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง กราวด์ (ไฟฟ้า)และไฟฟ้า

กราวด์ (ไฟฟ้า)และไฟฟ้า มี 5 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): วิศวกรรมไฟฟ้าความต้านทานและการนำไฟฟ้าโวลต์ไฟฟ้าสถิตเครือข่ายไฟฟ้า

วิศวกรรมไฟฟ้า

วิศวกรรมไฟฟ้า (Electrical Engineering) เป็นสาขาที่ศึกษาทฤษฏีและการประยุกต์ใช้ ไฟฟ้า, คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ผู้ที่ประกอบวิชาชีพในสาขานี้เรียกว่า วิศวกรไฟฟ้า สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้าเป็นสาขาที่กว้างประกอบไปด้วยหลายสาขาย่อ.

กราวด์ (ไฟฟ้า)และวิศวกรรมไฟฟ้า · วิศวกรรมไฟฟ้าและไฟฟ้า · ดูเพิ่มเติม »

ความต้านทานและการนำไฟฟ้า

วามต้านทานไฟฟ้า (electrical resistance) ของ ตัวนำไฟฟ้า เป็นตัวชี้วัดของความยากลำบากในการที่จะผ่าน กระแสไฟฟ้า เข้าไปในตัวนำนั้น ปริมาณที่ตรงกันข้ามคือ การนำไฟฟ้า (electrical conductance) เป็นความสะดวกที่ยอมให้กระแสไฟฟ้าไหลผ่าน ความต้านทานไฟฟ้าเปรียบเหมือน แรงเสียดทาน ทางเครื่องกล หน่วย SI ของความต้านทานไฟฟ้าจะเป็น โอห์ม สัญญลักษณ์ Ω ในขณะที่การนำไฟฟ้าไฟฟ้ามีหน่วยเป็น ซีเมนส์ (S) วัตถุที่มีหน้าตัดสม่ำเสมอจะมีความต้านทานเป็นสัดส่วนกับ สภาพต้านทาน และ ความยาวของมัน และแปรผกผันกับพื้นที่หน้าตัดของมัน วัสดุทุกชนิดจะแสดงความต้านทานเสมอยกเว้น ตัวนำยิ่งยวด (superconductor) ซึ่งมีความต้านทานของศูนย์ ความต้านทาน (R) ของวัตถุจะถูกกำหนดให้เป็นอัตราส่วนของ แรงดันไฟฟ้า ตกคล่อมตัวมัน (V) ต่อกระแสที่ไหลผ่านตัวมัน (I) ในขณะที่การนำไฟฟ้า (G) เป็นตรงกันข้าม ตามสมการต่อไปนี้: สำหรับวัสดุและเงื่อนไขที่หลากหลาย V และ I จะเป็นสัดส่วนโดยตรงซึ่งกันและกัน ดังนั้น R และ G จึงเป็นค่า คงที่ (แม้ว่าพวกมันยังขึ้นอยู่กับปัจจัยอื่น ๆ ก็ตาม เช่นอุณหภูมิหรือความเครียด) สัดส่วนนี้จะเรียกว่า กฎของโอห์ม และวัสดุที่เป็นไปตามกฏนี้จะเรียกว่า วัสดุ โอห์ม (ohmic material) ในกรณีอื่น ๆ เช่น ไดโอด หรือ แบตเตอรี่ V และ I จะ ไม่ได้ เป็นสัดส่วนโดยตรงกัน อัตราส่วน V/I บางครั้งก็ยังคงเป็นประโยชน์และถูกเรียกว่า "ความต้านทานสถิตย์" ในสถานการณ์อื่น ๆ อนุพันธ์ \frac \,\! อาจจะมีประโยชน์มากที่สุด ค่านี้จะเรียกว่า "ความต้านทานดิฟเฟอเรนเชียล" (differential resistance).

กราวด์ (ไฟฟ้า)และความต้านทานและการนำไฟฟ้า · ความต้านทานและการนำไฟฟ้าและไฟฟ้า · ดูเพิ่มเติม »

โวลต์

วลต์ (สัญลักษณ์: V) คือหน่วยอนุพันธ์ในระบบเอสไอของความต่างศักย์ไฟฟ้า ปริมาณที่กำกับด้วยหน่วยโวลต์นั้นคือผลการวัดความเข้มของแหล่งจ่ายไฟฟ้าในแง่ที่ว่าจะสร้างพลังงานได้เท่าใดที่ระดับกระแสค่าหนึ่ง ๆ โวลต์ซึ่งเป็นชื่อของหน่วยนี้ตั้งขึ้นเพื่อเป็นเกียรติให้แก่ อาเลสซันโดร วอลตา (พ.ศ. 2288 - 2370) ผู้คิดค้นแบตเตอรี่เคมีชนิดแรกที่เรียกว่าเซลล์โวลตาอิก (Voltaic Pile) โวลท์ (volt หรือ V) คือ หน่วยที่ใช้เรียกเพื่อบอกขนาดของแรงดันไฟฟ้าในบ้าน เช่น 220 V หมายถึง ขนาดของแรงดันไฟฟ้าเท่ากับ 220 โวลท์ (ประเทศไทยใช้ไฟระบบนี้) 1 โวลต์ (V).

กราวด์ (ไฟฟ้า)และโวลต์ · โวลต์และไฟฟ้า · ดูเพิ่มเติม »

ไฟฟ้าสถิต

นามไฟฟ้าสถิตที่เกิดจากการกระจายตัวของประจุ (+) ส่วนเกิน ไฟฟ้าสถิต (Static electricity) คือความไม่สมดุลย์ของประจุไฟฟ้าภายในหรือบนพื้นผิวของวัสดุหนึ่ง ประจุยังคงอยู่กับที่จนกระทั่งมันสามารถจะเคลื่อนที่โดยอาศัยการไหลของอิเล็กตรอน (กระแสไฟฟ้า) หรือมีการปลดปล่อยประจุ (electrical discharge) ไฟฟ้าสถิตมีชื่อที่ขัดกับไฟฟ้ากระแสที่ไหลผ่านเส้นลวดหรือตัวนำอื่นและนำส่งพลังงาน ประจุไฟฟ้าสถิตสามารถสร้างขึ้นได้เมื่อไรก็ตามที่สองพื้นผิวสัมผัสกันและแยกจากกัน และอย่างน้อยหนึ่งในพื้นผิวนั้นมีความต้านทานสูงต่อกระแสไฟฟ้า (และดังนั้นมันจึงเป็นฉนวนไฟฟ้า) ผลกระทบทั้งหลายจากไฟฟ้าสถิตจะคุ้นเคยกับคนส่วนใหญ่เพราะผู้คนสามารถรู้สึก, ได้ยิน, และแม้แต่ได้เห็นประกายไฟเมื่อประจุส่วนเกินจะถูกทำให้เป็นกลางเมื่อถูกนำเข้ามาใกล้กับตัวนำไฟฟ้าขนาดใหญ่ (เช่นเส้นทางที่ไปลงดิน) หรือภูมิภาคที่มีประจุส่วนเกินที่มีขั้วตรงข้าม (บวกหรือลบ) ปรากฏการณ์ที่คุ้นเคยของช็อกจากไฟฟ้าสถิต หรือที่เจาะจงมากขึ้นคือการปลดปล่อยไฟฟ้าสถิต (electrostatic discharge) จะเกิดจากการเป็นกลางของประจุ ประจุไฟฟ้าเป็นปริมาณทางไฟฟ้าปริมาณหนึ่งที่กำหนดขึ้นธรรมชาติ ของสสารจะประกอบด้วยหน่วยย่อยๆ  ที่มีลักษณะและ มีสมบัติเหมือนกันที่เรียกว่า อะตอม(atom)ภายในอะตอม จะประกอบด้วยอนุภาคมูลฐาน3ชนิดได้แก่  โปรตอน (proton)  นิวตรอน (neutron) และ อิเล็กตรอน (electron)โดยที่โปรตอนมีประจุไฟฟ้าบวกกับนิวตรอนที่เป็นกลางทางไฟฟ้ารวมกันอยู่เป็นแกนกลางเรียกว่านิวเคลียส (nucleus) ส่วนอิเล็กตรอน มี ประจุ ไฟฟ้าลบ จะอยู่รอบๆนิวเคลี.

กราวด์ (ไฟฟ้า)และไฟฟ้าสถิต · ไฟฟ้าและไฟฟ้าสถิต · ดูเพิ่มเติม »

เครือข่ายไฟฟ้า

วงจรไฟฟ้าอย่างง่ายประกอบไปด้วยแหล่งจ่ายไฟและตัวต้านทาน ในวงจรนี้จะเห็นว่า V.

กราวด์ (ไฟฟ้า)และเครือข่ายไฟฟ้า · เครือข่ายไฟฟ้าและไฟฟ้า · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง กราวด์ (ไฟฟ้า)และไฟฟ้า

กราวด์ (ไฟฟ้า) มี 12 ความสัมพันธ์ขณะที่ ไฟฟ้า มี 133 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 5, ดัชนี Jaccard คือ 3.45% = 5 / (12 + 133)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง กราวด์ (ไฟฟ้า)และไฟฟ้า หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่: