โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

กระเล็นและกระเล็นขนปลายหูสั้น

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง กระเล็นและกระเล็นขนปลายหูสั้น

กระเล็น vs. กระเล็นขนปลายหูสั้น

กระเล็น หรือ กระถิก หรือ กระถึก เป็นสกุลหนึ่งของสัตว์ฟันแทะ จำพวกกระรอก ใช้ชื่อสกุลว่า Tamiops กระเล็นจัดว่าเป็นกระรอกขนาดเล็กที่สุดที่พบได้ในประเทศไทย ขนาดโดยเฉลี่ยรวมความยาวทั้งลำตัว, หัว และหางแล้วประมาณ 20 เซนติเมตร มีลักษณะเด่น คือ ลำตัวสีน้ำตาล มีลายสีขาวดำพาดขนานตามยาวของลำตัวเห็นเด่นชัด ตั้งแต่จมูกถึงโคนหาง คล้ายกับลายของชิพมังค์ (Tamias spp.) ซึ่งเป็นกระรอกขนาดเล็กเช่นกัน แต่พบในทวีปอเมริกาเหนือ ส่วนหางของกระเล็นจะไม่เป็นพวงฟูเหมือนกระรอกทั่วไป ตัวเมียมีเต้านมทั้งหมด 6 เต้า กระเล็นหากินในเวลากลางวัน หากินบนต้นไม้สูง ๆ เป็นหลัก กินอาหารได้หลากหลายเหมือนกระรอกทั่วไป พบกระจายพันธุ์ในภูมิภาคเอเชียใต้, ตอนใต้ของจีน และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พบทั้งหมด 4 ชนิด ในประเทศไทยพบได้ 2 ชนิด พบได้ทั่วไปทั้งในป่าทึบหรือในชุมชนเมือง โดยที่ไม่จัดว่าเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองหรือสัตว์ป่าสงวนแต่ประการใ. กระเล็นขนปลายหูสั้น หรือ กระถิกขนปลายหูสั้น (Himalayan striped squirrel, Burmese striped squirrel) เป็นกระรอกขนาดเล็ก ความยาวหัวและลำตัวประมาณ 11-12 เซนติเมตร หางยาวประมาณ 11-13 เซนติเมตร ขนหางสั้นและเรียบติดหนังไม่ฟูเป็นพวงอย่างกระรอกทั่วไป ปลายหูสีขาว ลำตัวสีน้ำตาลอมเทา หลังมีลายแถบขนานกันไปตามแนวสันหลังสีเหลืองหรือสีครีมสลับดำ แถบสีครีมด้านนอกสุดพาดยาวตั้งแต่จมูกไปจนจรดโคนหาง แถบนอกสุดนี้จะกว้างและสีสดกว่าแถบใน และกว้างกว่าของกระเล็นขนปลายหูยาว (T. rodolphii) ส่วนท้องสีเหลืองอ่อน ตัวเมียมีเต้านม 6 เต้า กระเล็นขนปลายหูสั้นอาศัยได้ทั้งในป่าดิบทึบและป่าโปร่ง รวมถึงตามสวนสาธารณะหรือสวนหลังบ้านในบ้านเรือนของมนุษย์หรือชุมชนเมือง พบได้ทั่วแนวเทือกเขาหิมาลัยมาจนถึงพม่า, จีนตอนใต้ ทางใต้สุดแพร่ไปถึงคาบสมุทรมลายู ในประเทศไทยพบได้ในทางภาคตะวันตกตั้งแต่ใต้สุดจนถึงเหนือสุดของประเทศ รวมถึงภาคกลางตอนบน มีพฤติกรรมมักหากินตัวเดียว หรืออาจเป็นกลุ่มที่เป็นครอบครัวเดียวกัน หากินในเวลากลางวัน กินผลไม้, เมล็ดพืช, ใบไม้ และแมลงเป็นอาหาร กระโดดและวิ่งไปมาบนกิ่งไม้อย่างคล่องแคล่ว เสียงร้องมีสองแบบ แบบหนึ่งคือ จี้ด ๆ สั้น ๆ คล้ายนก แต่แหลมดังบาดหู และอีกแบบหนึ่งคือเสียงแหลมยาวสั่นระรัวที่ค่อย ๆ ผ่อนเสียงลง ไม่ได้เป็นสัตว์ป่าคุ้มครองหรือสัตว์ป่าสงวนตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535 แต่อย่างใด และนิยมเลี้ยงกันเป็นสัตว์เลี้ยง.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง กระเล็นและกระเล็นขนปลายหูสั้น

กระเล็นและกระเล็นขนปลายหูสั้น มี 11 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): ชุมชนกระรอกกลางวันสัตว์สัตว์มีแกนสันหลังสัตว์ป่าสงวนสัตว์ป่าคุ้มครองสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมอันดับสัตว์ฟันแทะเมืองเต้านม

ชุมชน

ชุมชน คือกลุ่มคนที่อาศัยอยู่ในละแวกเดียวกัน โดยมีการพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน หมวดหมู่:สังคม หมวดหมู่:ชุมชน.

กระเล็นและชุมชน · กระเล็นขนปลายหูสั้นและชุมชน · ดูเพิ่มเติม »

กระรอก

กระรอก(Squirrel, ภาษาไทยถิ่นเหนือ: ฮอก) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม มีขนาดลำตัวเล็ก ขนปุยปกคลุมทั่วทั้งร่างกาย นัยน์ตากลมดำ หางเป็นพวงฟู จัดอยู่ในประเภทสัตว์ฟันแทะ ในวงศ์ Sciuridae.

กระรอกและกระเล็น · กระรอกและกระเล็นขนปลายหูสั้น · ดูเพิ่มเติม »

กลางวัน

วลา 13:00 UTC ของวันที่ 2 เมษายน กลางวันคือพื้นที่สว่างในภาพ กลางวัน (Daytime) โดยทั่วไปหมายถึงช่วงเวลาที่แสงอาทิตย์ได้ฉายลงบนพื้นผิวโลก หรือเท่ากับช่วงเวลาที่ดวงอาทิตย์ขึ้นไปจนถึงดวงอาทิตย์ตก เมื่อโลกหมุนไปตำแหน่งของกลางวันก็จะเปลี่ยนไป ความยาวนานของกลางวันขึ้นอยู่กับตำแหน่งบนโลกและความเอียงของแกนโลกที่หันเข้าหาดวงอาทิตย์ ส่วนด้านที่แสงอาทิตย์ไม่ได้ฉายลงบนโลกเรียกว่ากลางคืน ทำนองเดียวกับดาวเคราะห์อื่นๆ กลางวันคือช่วงเวลาที่พื้นผิวของดาวเคราะห์นั้นได้รับแสงสว่างจากดาวฤกษ์ในระบบสุริยะของตนเอง.

กระเล็นและกลางวัน · กระเล็นขนปลายหูสั้นและกลางวัน · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์

ัตว์ (Animal) เป็นสิ่งมีชีวิตยูแคริโอตหลายเซลล์ในอาณาจักร Animalia (หรือเรียก เมตาซัว) แผนกาย (body plan) ของพวกมันสุดท้ายคงที่เมื่อพัฒนา แม้สัตว์บางชนิดมีกระบวนการการเปลี่ยนสัณฐานภายหลังในช่วงชีวิต สัตว์ส่วนใหญ่เคลื่อนที่ได้ สัตว์ทุกชนิดต้องกินสิ่งมีชีวิตอื่นหรือผลิตภัณฑ์ของสิ่งมีชีวิตเพื่อการดำรงชีพ (สิ่งมีชีวิตสร้างอาหารเองไม่ได้) ไฟลัมสัตว์ที่รู้จักกันดีที่สุดปรากฏในบันทึกฟอสซิลเป็นสปีชีส์ภาคพื้นสมุทรระหว่างการระเบิดแคมเบรียน (Cambrian explosion) ประมาณ 542 ล้านปีก่อน สัตว์แบ่งเป็นกลุ่มย่อยหลายกลุ่ม บางกลุ่ม เช่น สัตว์มีกระดูกสันหลัง (นก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก สัตว์เลื้อยคลาน ปลา) มอลลัสกา (หอยกาบ หอยนางรม ปลาหมึก หมึกสาย หอยทาก) สัตว์ขาปล้อง (กิ้งกือ ตะขาบ แมลง แมงมุม แมงป่อง ปู ลอบสเตอร์ กุ้ง) สัตว์พวกหนอนปล้อง (ไส้เดือนดิน ปลิง) ฟองน้ำ และแมงกะพรุน.

กระเล็นและสัตว์ · กระเล็นขนปลายหูสั้นและสัตว์ · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์มีแกนสันหลัง

ัตว์มีแกนสันหลัง คือสัตว์ในไฟลัมคอร์ดาตา พวกมันจะมีแกนสันหลัง ใยประสาทส่วนหลังกลวง ช่องคอหอย หลอดเส้นประสาทกลวงส่วนหลัง และหางหลังทวารหนัก ในช่วงหนึ่งของวงจรชีวิต สัตว์มีแกนสันหลังเป็นพวกดิวเทอโรสโตม กล่าวคือในช่วงระยะตัวอ่อน ทวารหนักเกิดก่อนปาก และเป็นซีโลเมตที่มีสมมาตรด้านข้าง ในกรณีของสัตว์มีแกนสันหลังที่มีกระดูกสันหลัง แกนสันหลังจะถูกแทนที่โดยกระดูกสันหลังในช่วงเจริญเติบโต และพวกมันอาจจะมีปล้องตามร่างกาย ในอนุกรมวิธาน ตัวไฟลัมเองประกอบไปด้วยไฟลัมย่อยเวอร์เตบราตา (ซึ่งประกอบด้วย ปลา สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์ปีก และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม) ทูนิคาตา (ซึ่งรวมทั้งซาล์ปและเพรียงหัวหอม) และเซฟาโลคอร์ดาตา ประกอบด้วยแหลนทะเล และยังรวมถึงบางกลุ่มที่สูญพันธุ์ไปแล้ว บางครั้งกลุ่มสัตว์มีกระดูกสันหลังถูกจัดรวมอยู่กับกลุ่มสัตว์มีกระโหลกศีรษะ สัตว์มีแกนสันหลังมีมากกว่า 65,000 สปีชีส์ที่ยังมีชีวิตอยู่ กว่าครึ่งเป็นพวกปลากระดูกแข็ง วาฬและเหยี่ยวเพเรกริน สัตว์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดและเคลื่อนที่เร็วที่สุดตามลำดับ เป็นสัตว์มีแกนสันหลังเช่นเดียวกันกับมนุษย์ ซากดึกดำบรรพ์ของสัตว์มีแกนสันหลังยุคแรกๆ มีอายุย้อนไปถึงในช่วงการระเบิดยุคแคมเบรียน.

กระเล็นและสัตว์มีแกนสันหลัง · กระเล็นขนปลายหูสั้นและสัตว์มีแกนสันหลัง · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์ป่าสงวน

กวางผาจีน (''Nemorhaedus griseus'') 1 ใน 15 ชนิดสัตว์ป่าสงวนของไทย สัตว์ป่าสงวน หมายถึง สัตว์ป่าที่หายาก กำหนดตามบัญชีท้ายพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2503 จำนวน 9 ชนิด เป็นสัตว์ป่าเลี้ยงลูกด้วยนมทั้งหมด ได้แก่ แรด กระซู่ กูปรี ควายป่า ละองหรือละมั่ง สมัน เนื้อทราย เลียงผา และกวางผา สัตว์ป่าสงวนเป็นสัตว์หายาก, ใกล้จะสูญพันธุ์ หรืออาจจะสูญพันธุ์ไปแล้ว จึงจำเป็นต้องมีบทบัญญัติเข้มงวดกวดขัน เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอันตรายแก่สัตว์ป่าที่ยังมีชีวิตอยู่หรือซากสัตว์ป่า ซึ่งอาจจะตกไปอยู่ยังต่างประเทศด้วยการซื้อขาย ต่อมาเมื่อสถานการณ์ของสัตว์ป่าในประเทศไทยเปลี่ยนแปลงไป สัตว์ป่าหลายชนิดมีแนวโน้มถูกคุกคามเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์มากยิ่งขึ้น ประกอบกับเพื่อให้เกิดความสอดคล้องกับความร่วมมือระหว่างประเทศในการ ควบคุมดูแลการค้าหรือการลักลอบค้าสัตว์ป่าในรูปแบบต่าง ๆ ตามอนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศว่าด้วยชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าหรือ CITES ซึ่งประเทศไทยได้ร่วมลงนามรับรองอนุสัญญาในปี พ.ศ. 2518 และได้ให้สัตยาบัน เมื่อวันที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2526 นับเป็นสมาชิกลำดับที่ 80 จึงได้มีการพิจารณาแก้ไขปรับปรุงพระราชบัญญัติฉบับเดิมและตราพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป..

กระเล็นและสัตว์ป่าสงวน · กระเล็นขนปลายหูสั้นและสัตว์ป่าสงวน · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์ป่าคุ้มครอง

ัตว์ป่าคุ้มครอง หมายถึง สัตว์ป่าเพื่อการอนุรักษ์ ตามบัญชีแนบท้าย กฎกระทรวง กำหนดให้สัตว์ป่าบางชนิด เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง..

กระเล็นและสัตว์ป่าคุ้มครอง · กระเล็นขนปลายหูสั้นและสัตว์ป่าคุ้มครอง · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม

ัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม (Mammalia) จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง โดยคำว่า Mammalia มาจากคำว่า Mamma ที่มีความหมายว่า "หน้าอก" เป็นกลุ่มของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม ที่มีการวิวัฒนาการและพัฒนาร่างกายที่ดีหลากหลายประการ รวมทั้งมีระบบประสาทที่เจริญก้าวหน้า สามารถดำรงชีวิตได้ในทุกสภาพสิ่งแวดล้อมสัตววิทยา (สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม), บพิธ-นันทพร จารุพันธุ์, สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2547, หน้า 411 มีขนาดของร่างกายและรูปพรรณสัณฐานที่แตกต่างกันออกไป รวมถึงการทำงานของระบบต่าง ๆ ภายในร่างกาย ที่มีการปรับเปลี่ยนไปตามลักษณะของสายพันธุ์ มีลักษณะเด่นคือมีต่อมน้ำนมที่มีเฉพาะในเพศเมียเท่านั้น เพื่อผลิตน้ำนมเพื่อใช้เลี้ยงลูกวัยแรกเกิด เป็นสัตว์เลือดอุ่น มีขนเป็นเส้น ๆ (hair) หรือขนอ่อน (fur) ปกคลุมทั่วทั้งร่างกาย เพื่อเป็นการรักษาอุณหภูมิในร่างกาย ยกเว้นสัตว์น้ำที่ไม่มีขน สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม ไม่จัดอยู่ในประเภทสัตว์กลุ่มใหญ่ คือมีจำนวนประชากรประมาณ 4,500 ชนิด ซึ่งถือว่าเป็นปริมาณน้อยมากเมื่อเทียบกับนก ที่มีประมาณ 9,200 ชนิด และปลาอีกประมาณ 20,000 ชนิด รวมทั้งแมลงอีกประมาณ 800,000 ชนิด ส่วนใหญ่เป็นสัตว์บก เช่น สุนัข ช้าง ลิง เสือ สิงโต จิงโจ้ เม่น หนู ฯลฯ สำหรับสัตว์น้ำที่จัดเป็นเลี้ยงลูกด้วยน้ำนม ได้แก่ โลมา วาฬ มานาทีและพะยูน แต่สำหรับสัตว์ปีกประเภทเดียวที่เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมคือค้างคาว ซึ่งกระรอกบินและบ่างนั้น ไม่จัดอยู่ในประเภทของสัตว์ปีก เนื่องจากใช้ปีกในการร่อนไปได้เพียงแค่ระยะหนึ่งเท่านั้น สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมส่วนใหญ่ออกลูกเป็นตัว ยกเว้นตุ่นปากเป็ดและอีคิดนาเท่านั้นที่ออกลูกเป็น.

กระเล็นและสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม · กระเล็นขนปลายหูสั้นและสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม · ดูเพิ่มเติม »

อันดับสัตว์ฟันแทะ

อันดับสัตว์ฟันแทะ (Rodent, ชื่อวิทยาศาสตร์: Rodentia) เป็นอันดับในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมอันดับหนึ่ง ที่มีความหลากหลายมาก ใช้ชื่ออันดับว่า Rodentia ลักษณะโดยรวมของสัตว์ในอันดับนี้ คือ มีฟันหน้าในขากรรไกรบน 2 ซี่ และขากรรไกรล่าง 2 ซี่ ลักษณะของฟันหน้ามีรูปร่างคล้ายสิ่ว มีความแข็งแรงมาก ใช้สำหรับกัด ขุด และแทะอาหาร ไม่มีฟันเขี้ยว ทำให้เกิดช่องว่างระหว่างฟันหน้าและฟันหน้ากราม ผิวเคลือบทางด้านนอกของฟันหน้าเป็นอีนาเมล จึงทำให้ฟันแข็งแรง นอกจากนี้ฟันหน้าของสัตว์ในอันดับนี้ยังเป็นรูทเลสส์ โดยที่ฟันจะไม่หยุดการเจริญเติบโต เฉลี่ย 12 เซนติเมตรครึ่งต่อปี เนื่องจากมีเลือดมาหล่อเลี้ยงฟันตลอดเวลา จึงต้องแทะฟันเสมอ ๆเพื่อให้ฟันสึกกร่อน มิฉะนั้นฟันจะทะลุออกมานอกปาก ทำให้การหุบปากและการกินอาหารลำบากทำให้อดตายได้ รูปร่างลักษณะภายนอกของสัตว์ในอันดับนี้แตกต่างกัน รวมทั้งแหล่งอาศัย บางจำพวกก็อาศัยอยู่บนต้นไม้ ขุดรูอยู่ใต้ดินหรือบนดิน เช่นเดียวกับชนิดของอาหาร ซึ่งอาจจะเป็นผลไม้เปลือกแข็ง, เมล็ดไม้, รากไม้ หรือกินทุกสิ่งทุกอย่างทั้งพืชและเนื้อสัตว์ ซึ่งสัตว์ในอันดับนี้ที่มนุษย์รู้จักกันเป็นอย่างดี ได้แก่ หนู, กระรอก, เม่น, บีเวอร์ เป็นต้น พบกระจายพันธุ์ไปในทุกพื้นที่ทั่วโลก ในภูมิประเทศที่หลากหลาย ขณะที่กระต่าย, กระแตและตุ่นหรือหนูผี หรือชูการ์ไกลเดอร์ แม้จะมีรูปลักษณะภายนอกคล้ายคลึงกัน แต่ถูกจัดออกมาเป็นอันดับต่างหาก สัตว์ในอันดับนี้ที่มีขนาดเล็กที่สุด คือ หนูจิ๋วแอฟริกัน (Mus minutoides) พบในทวีปแอฟริกา ที่มีขนาดใหญ่เต็มที่จากส่วนหัวจรดปลายหาง 30-80 มิลลิเมตร (1.2-3.1 นิ้ว) ความยาวหาง 20-40 มิลลิเมตร (0.79-1.6 นิ้ว) น้ำหนักประมาณ 3-12 กรัม (0.11-0.42 ออนซ์) และที่มีขนาดใหญ่ที่สุด คือ คาปิบารา (Hydrochoerus hydrochaeris) พบในอเมริกาใต้ ที่มีน้ำหนักได้มากถึง 65 กิโลกรัม และมีรายงานว่าพบมากถึง 91 กิโลกรัม.

กระเล็นและอันดับสัตว์ฟันแทะ · กระเล็นขนปลายหูสั้นและอันดับสัตว์ฟันแทะ · ดูเพิ่มเติม »

เมือง

มือง อังกฤษเขียนว่า (Mueang) ลาวเขียนว่า (ເມືອງ) เวียดนามเขียนว่า (Mường หรือ Mong) ไทใหญ่รัฐฉานเขียนว่า (မိူင်း หรือ mə́ŋ) ก่อนยุคสมัยใหม่ เป็นเมืองกึ่งอิสระ ที่อยู่กระจายในภูมิภาคอินโดจีน เนื้อที่หรือพื้นที่ของแต่ละเมืองจะติดกัน ซึ่งปัจจุบันนี้คือพื้นที่ตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศอินเดีย ตอนใต้ของประเทศจีน พื้นที่ทั้งหมดของประเทศไทย ลาว ตอนเหนือของพม่า บางส่วนของกัมพูชา บางส่วนของเวียดนาม ตอนใต้ของมณฑลยูนนาน พื้นที่ตะวันตกของของมณฑลกวางสี และแคว้นอัสสัม เมือง เป็น คำไทยดั้งเดิม เมืองในยุคก่อนสมัยใหม่นั้นจะมีกำแพงป้องกันข้าศึก และมีผู้ปกครอง เรียกว่า เจ้าเมือง อย่างน้อยก็เป็นเจ้าเมืองระดับ ขุน หรือพ่อขุน ซึ่งจะปกครองหมู่บ้านที่ขึ้นตรงต่อเมืองนั้นด้วย รูปแบบที่เป็นศูนย์กลางขององค์กรทางการเมืองบริหารจัดการรัฐในลำดับการปกครองแบบศูนย์รวมอำนาจ เช่น ผู้ปกครองเมืองขนาดเล็กจะอยู่ใต้การปกครองของผู้ปกครองเมืองใกล้กันที่มีอำนาจมากกว่าซึ่งก็จะอยู่ใต้อำนาจของพระมหากษัตริย์ส่วนกลางหรือผู้นำอื่นๆ เมืองที่มีอำนาจกว่านั้น (ที่รู้กันโดยทั่วไป คือ เชียง หรือ เวียง หรือ นคร หรือ กรุง เช่น กรุงเทพ มหานคร) บางยุคบางสมัยเจ้าเมืองลูกหลวงพยายามประกาศอิสรภาพจากเจ้าเมืองที่ตนเป็นเมืองขึ้น และน่าจะเป็นช่วงเวลาที่ชื่นบานในการเป็นอิสระแบบเป็นบ้านพี่เมืองน้อง ทั้งเมืองขนาดใหญ่และเมืองขนาดเล็กมักจะยกระดับความจงรักภักดี และส่งส่วยให้แก่มากกว่าหนึ่งแก่ผู้ครองเมืองที่อยู่ใกล้เคียง แต่ยังส่งให้แก่จักรวรรดิจีนซึ่งมีอำนาจมากที่สุดในยุคนั้นเป็นประจำ ซึ่งเป็นช่วงยุคต้นของราชวงศ์หมิงของจีน ต่อมา ฮ่องเต้ กุบไล ข่าน เอาชนะราชอาณาจักรไบ แห่งต้าหลี่ ปี..

กระเล็นและเมือง · กระเล็นขนปลายหูสั้นและเมือง · ดูเพิ่มเติม »

เต้านม

ต้านม (breast) คืออวัยวะส่วนหนึ่งของร่างกายผู้หญิงอยู่บริเวณหน้าอกทั้งสองข้าง เต้านมของเด็กหญิงจะแบนราบ และจะพัฒนาขยายขึ้นในช่วงที่ผู้หญิงเริ่มเป็นวัยรุ่น เต้านมใช้สำหรับป้อนนมเด็ก โดยเมื่อผู้หญิงมีลูกเต้านมจะผลิตน้ำนม การแสดงเต้านมในที่สาธารณะจะถูกห้ามตามกฎหมายในขณะที่บางสถานที่จะสามารถแสดงได้ เต้านมหรือหน้าอก ยังเป็นสัญลักษณ์ที่ใช้แสดงถึงความเป็นผู้หญิง ซึ่งเทคโนโลยีในปัจจุบัน สามารถแก้ไขตกแต่งลักษณะภายนอกของเต้านมให้มีลักษณะตามต้องการได้ เช่น การศัลยกรรมหน้าอกให้ใหญ่ขึ้นหรือทำให้เล็กลง การเปลี่ยนรูปทรงให้สวยงามขึ้น การลดการหย่อนคล้อยลง ทั้งนี้การจะทำการศัลยกรรมหน้าอกนั้น จำเป็นต้องทำโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านเท่านั้น.

กระเล็นและเต้านม · กระเล็นขนปลายหูสั้นและเต้านม · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง กระเล็นและกระเล็นขนปลายหูสั้น

กระเล็น มี 22 ความสัมพันธ์ขณะที่ กระเล็นขนปลายหูสั้น มี 19 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 11, ดัชนี Jaccard คือ 26.83% = 11 / (22 + 19)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง กระเล็นและกระเล็นขนปลายหูสั้น หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »