โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

กระหม่อมและเยื่อหุ้มสมองอักเสบ

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง กระหม่อมและเยื่อหุ้มสมองอักเสบ

กระหม่อม vs. เยื่อหุ้มสมองอักเสบ

มุมมองทางด้านบนของกะโหลกศีรษะของเด็กแรกเกิด แสดงกระหม่อมหน้าและกระหม่อมหลัง มุมมองทางด้านข้างของกะโหลกศีรษะของเด็กแรกเกิด แสดงกระหม่อมหน้า กระหม่อมข้าง และกระหม่อมกกหู กระหม่อม หรือ ขม่อม (fontanelle) เป็นโครงสร้างทางกายวิภาคศาสตร์ในกะโหลกศีรษะของทารก กระหม่อมเป็นโครงสร้างนิ่มๆ ของศีรษะทารกซึ่งแผ่นกระดูกหุ้มสมองสามารถหดชิดเข้ามาหากันได้ทำให้ศีรษะทารกผ่านช่องคลอดได้ในระหว่างคลอด การกลายเป็นกระดูก (ossification) ของกะโหลกศีรษะทำให้กระหม่อมปิดในระหว่าง 2 ขวบปีแรกของทารก การปิดของกระหม่อมทำให้กระดูกหุ้มสมองเชื่อมต่อกันเป็นข้อต่อแบบซูเจอร์ (suture) กระหม่อมที่เห็นได้ในทารกได้แก่ กระหม่อมหน้า (anterior fontanelle) และกระหม่อมหลัง (posterior fontanelle) และยังมีกระหม่อมที่น่าสนใจอีก 2 คู่ได้แก่ กระหม่อมกกหู (mastoid fontanelle) และกระหม่อมสฟีนอยด์ (sphenoidal fontanelle) รวมมีทั้งหมด 6 กระหม่อม กะโหลกศีรษะของทารกแรกเกิดประกอบด้วยกระดูก 5 ชิ้นหลักๆ ได้แก่ กระดูกหน้าผาก 2 ชิ้น, กระดูกข้างขม่อม 2 ชิ้น, และกระดูกท้ายทอย 1 ชิ้น กระดูกทั้งหมดเชื่อมกันด้วยข้อต่อแบบซูเจอร์ ซึ่งช่วยในการเคลื่อนที่ของกระดูกระหว่างการคลอดและการเจริญเติบโต กระหม่อมหลังเป็นโครงสร้างบนกะโหลกศีรษะที่เป็นรอยเปิดระหว่างกระดูกที่ถูกปกคลุมด้วยเยื่อแผ่นหนา เป็นรอยเชื่อมระหว่างกระดูกข้างขม่อม 2 ชิ้นและกระดูกท้ายทอย (บริเวณที่เรียกว่า แลมบ์ดา (lambda)) กระหม่อมนี้มักจะปิดระหว่าง 2-3 เดือนแรกหลังคลอด กระหม่อมหน้าเป็นกระหม่อมที่มีขนาดใหญ่กว่า มีรูปร่างคล้ายสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน ซึ่งเป็นจุดเชื่อมระหว่างกระดูกหน้าผาก 2 ชิ้นและกระดูกข้างขม่อม 2 ชิ้น กระหม่อมนี้จะเปิดจนกระทั่งทารกมีอายุประมาณ 2 ปี แต่ทารกที่มีความผิดปกติเช่น โรค cleidocranial dysostosis อาจทำให้กระหม่อมนี้ปิดช้าหรือไม่ปิดเลย กระหม่อมหน้าเป็นบริเวณที่มีความสำคัญทางคลินิก การตรวจร่างกายทารกจำเป็นต้องมีการคลำกระหม่อมหน้าด้วย หากกระหม่อมหน้ายุบลงแสดงถึงภาวะขาดน้ำ (dehydration) ในขณะที่หากกระหม่อมหน้าตึงหรือปูดโปนออกมามากแสดงถึงการเพิ่มของความดันในกะโหลกศีรษะ (intracranial pressure) พ่อแม่มักจะมีความกังวลว่าทารกอาจมีแนวโน้มได้รับบาดเจ็บที่กระหม่อม แต่ในความเป็นจริงแล้วแม้ว่ากระหม่อมจะนับว่าเป็นบริเวณที่บอบบางของกะโหลกศีรษะ แต่เยื่อแผ่นที่คลุมกระหม่อมอยู่ก็มีความหนามากและทะลุผ่านได้ยากในระดับหนึ่ง กระหม่อมเป็นบริเวณที่ใช้ในการตรวจอัลตร้าซาวด์เพื่อดูภาพสมองของทารก แต่เมื่อกระหม่อมปิดแล้วจะไม่สามารถใช้การอัลตร้าซาวด์ในการสังเกตสมองได้เพราะกระหม่อมจะกลายเป็นกระดูกซึ่งเป็นบริเวณกั้นเสียง. ื่อหุ้มสมองอักเสบ หรือเยื่อหุ้มสมอง(และไขสันหลัง)อักเสบ (meningitis) เป็นภาวะที่มีการอักเสบของเยื่อที่อยู่รอบสมองและไขสันหลังซึ่งเรียกรวมว่าเยื่อหุ้มสมอง การอักเสบนี้อาจเกิดจากการติดเชื้อไวรัส แบคทีเรีย หรือจุลชีพอื่นๆ และบางครั้งเกิดจากยาบางชนิด เป็นภาวะที่อาจเป็นอันตรายถึงชีวิตเนื่องจากเป็นการอักเสบที่อยู่ใกล้เนื้อสมองและไขสันหลัง ดังนั้นจึงเป็นภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์ อาการที่พบบ่อยได้แก่อาการปวดศีรษะและคอแข็งเกร็งพร้อมกับมีไข้ สับสนหรือซึมลง อาเจียน ทนแสงจ้าหรือเสียงดังไม่ได้ บางครั้งอาจมีเพียงอาการแบบไม่จำเพาะเจาะจง เช่น อาการไม่สบายตัวหรือง่วงซึมได้โดยเฉพาะในเด็กเล็ก หากมีผื่นร่วมด้วยอาจบ่งชี้ถึงสาเหตุเฉพาะบางอย่างของเยื่อหุ้มสมองอักเสบ เช่น เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย''เมนิงโกคอคคัส'' ซึ่งมีผื่นที่มีลักษณะเฉพาะ แพทย์อาจเจาะน้ำไขสันหลังเพื่อวินิจฉัยหรือแยกโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ ทำโดยใช้เข็มเจาะเข้าช่องสันหลังเพื่อนำเอาน้ำหล่อสมองไขสันหลังออกมาตรวจทางห้องปฏิบัติการ การรักษาโดยทั่วไปทำโดยให้ยาปฏิชีวนะอย่างทันท่วงที บางครั้งอาจมีการใช้ยาสเตียรอยด์เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนจากการอักเสบรุนแรง เยื่อหุ้มสมองอักเสบอาจนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนระยะยาวที่รุนแรง เช่น หูหนวก โรคลมชัก โพรงสมองคั่งน้ำ และสติปัญญาเสื่อมถ่อย โดยเฉพาะหากรักษาไม่ทันท่วงที เยื่อหุ้มสมองอักเสบบางชนิดอาจสามารถป้องกันได้ด้วยการให้วัคซีน เช่น เยื่อหุ้มสมองอักเสบที่เกิดจากเชื้อเมนิงโกคอคคัส, ''ฮีโมฟิลุส อินฟลูเอนซา'' ชนิดบี, ''นิวโมคอคคัส'' หรือไวรัสคางทูม เป็นต้น.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง กระหม่อมและเยื่อหุ้มสมองอักเสบ

กระหม่อมและเยื่อหุ้มสมองอักเสบ มี 0 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย)

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง กระหม่อมและเยื่อหุ้มสมองอักเสบ

กระหม่อม มี 18 ความสัมพันธ์ขณะที่ เยื่อหุ้มสมองอักเสบ มี 138 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 0, ดัชนี Jaccard คือ 0.00% = 0 / (18 + 138)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง กระหม่อมและเยื่อหุ้มสมองอักเสบ หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »