โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

กระสวยอวกาศและรายการภารกิจของกระสวยอวกาศ

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง กระสวยอวกาศและรายการภารกิจของกระสวยอวกาศ

กระสวยอวกาศ vs. รายการภารกิจของกระสวยอวกาศ

ลัมเบีย STS-1 พ.ศ. 2524 กระสวยอวกาศ (space shuttle) คือ เครื่องบินอวกาศของสหรัฐอเมริกา สร้างขึ้นโดยองค์การนาซ่า (NASA) มีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า Space Transportation System (STS) ผลิตโดยบริษัท North American Aviation ซึ่งปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของบริษัท Rockwell International สเปซชัทเทิลทะยานขึ้นเหมือนจรวดและไปโคจรรอบโลก มีปีกและตอนกลับสู่โลกจะร่อนลงตามรันเวย์ กระสวยอวกาศสามารถนำมาใช้ได้หลาย ๆ ครั้ง กระสวยอวกาศถูกออกแบบมาให้ใช้งานซ้ำได้ 100 ครั้ง หรือปฏิบัติการได้ 10 ปี โครงการถูกเริ่มขึ้นในท้ายยุค 60 หลังจากนั้นก็มีบทบาทสำคัญในปฏิบัติการที่ต้องใช้คนเข้าร่วมของนาซามาโดยตลอด ส่วนสำคัญของกระสวยอวกาศ เรียกว่า ออร์บิเตอร์ (orbiter หมายถึง ยานโคจร) จะพาลูกเรือและสัมภาระไปยังอวกาศในขณะที่จะส่งกระสวยอวกาศขึ้นไป กระสวยจะอยู่ที่ฐานส่งโดยจะตั้งชี้ขึ้นไปคล้ายจรวด ข้าง ๆ ออร์บิเตอร์จะมีแทงค์น้ำมันขนาดใหญ่ ซึ่งเรียกว่า แทงค์ด้านนอก (External Tank) ซึ่งมันจะเก็บออกซิเจนและไฮโดรเจนในขณะที่มันขึ้นเชื้อเพลิงเหล่านี้จะถูกสูบเข้าไปยังเครื่องยนต์หลัก 3 เครื่อง ของออร์บิเตอร์ นอกจากนี้ยังมีแทงค์ขนาดเล็กที่อยู่ข้าง ๆ ออร์บิเตอร์บนฐานส่งเพื่อให้แรงผลักดันพิเศษในขณะส่งกระสวยขึ้น ซึ่งเรียกว่า Solid Fuel Rocket Booster หรือ SRB ทำงานคล้ายกับจรวดดอกไม้ไฟขนาดใหญ่ เมื่อกระสวยอวกาศทะยานขึ้น หลังจากนั้นประมาณ 2 นาที เชื้อเพลิงในแทงค์เชื้อเพลิง SRB จะหมดลง และตกลงในทะเลกับร่มชูชีพ อัตราความเร็วของกระสวยค่อย ๆ เพิ่มขึ้นจนถึงความเร็วประมาณ 72 ไมล์ จากนั้นเครื่องยนต์หลักจึงหยุดทำงาน และถังเชื้อเพลิงภายนอกซึ่งว่างเปล่าจะถูกปล่อยตกลงสู่ทะเล เครื่องยนต์ของจรวดสองลำจะรับภาระต่อไป ซึ่งเรียกว่า ระบบการยักย้ายการโคจร ในระหว่างการโคจร เมื่อถึงเวลากลับสู่โลก เครื่องยนต์ระบบการยักย้ายการโคจรจะถูกยิงคล้ายกับตอนล่างของจรวด และยานจะหลุดออกจากการโคจร แล้วกลับลงมาสู่บรรยากาศโลกในอัตราความเร็ว 15,900 ไมล์ต่อชั่วโมง (หรือประมาณ 25,700 กิโลเมตรต่อชั่วโมง) แผ่นกำบังความร้อนข้างใต้กระสวยอวกาศจะเปล่งแสงสีแดงจัดพร้อมกับความร้อนในการกลับเข้ามาสู่โลก แผ่นกระเบื้องพิเศษบนกระสวยอวกาศจะป้องกันลูกเรือและยานอวกาศออร์บิเตอร์จะช้าลงเมื่อเข้ามาถึงบริเวณส่วนล่างของบรรยากาศ จะร่อนลงบนพื้นดินบนรันเวย์ด้วยความเร็วประมาณ 210 ไมล์แล้วภารกิจก็จะจบลง. รายการนี้เป็นข้อมูลของภารกิจการใช้งานของกระสวยอวกาศที่ถูกสร้างขึ้นมาจนมาถึงปี 2008.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง กระสวยอวกาศและรายการภารกิจของกระสวยอวกาศ

กระสวยอวกาศและรายการภารกิจของกระสวยอวกาศ มี 6 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): กระสวยอวกาศชาเลนเจอร์กระสวยอวกาศดิสคัฟเวอรีกระสวยอวกาศแอตแลนติสกระสวยอวกาศโคลัมเบียกระสวยอวกาศเอนเทอร์ไพรซ์กระสวยอวกาศเอนเดฟเวอร์

กระสวยอวกาศชาเลนเจอร์

กระสวยอวกาศชาเลนเจอร์ (Shuttle Orbiter Challenger) รหัสประจำยานคือ OV-099 เป็นกระสวยอวกาศลำที่สองที่ใช้ปฏิบัติภารกิจในอวกาศขององค์การนาซ่า สร้างถัดจากกระสวยอวกาศโคลัมเบีย เริ่มปล่อยสู่อวกาศครั้งแรก(ภารกิจที่ STS-6) ในวันที่ 4 เมษายน..

กระสวยอวกาศและกระสวยอวกาศชาเลนเจอร์ · กระสวยอวกาศชาเลนเจอร์และรายการภารกิจของกระสวยอวกาศ · ดูเพิ่มเติม »

กระสวยอวกาศดิสคัฟเวอรี

STS-92, พ.ศ. 2543 (ภาพจากองค์การนาซา) กระสวยอวกาศดิสคัฟเวอรี (Orbiter Vehicle Designation: OV-103) เป็นกระสวยอวกาศลำที่ 3 ขององค์การนาซา สหรัฐอเมริกา หมายเลขประจำยาน คือ OV-103 (กระสวยอวกาศลำอื่นได้แก่ แอตแลนติส และ เอนเดฟเวอร์) เริ่มบินครั้งแรกเมื่อวันที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2527 (ค.ศ. 1984) ดิสคัฟเวอรี ถือเป็นกระสวยอวกาศปฏิบัติการลำที่สาม (ไม่รวมกระสวยอวกาศ''เอนเทอร์ไพรซ์'' ซึ่งเป็นยานทดสอบ) และเป็นกระสวยอวกาศลำที่มีระยะปฏิบัติการยาวนานที่สุด ในบรรดากระสวยอวกาศทั้งหมด ดิสคัฟเวอรีมีปฏิบัติการหลายชนิด ทั้งงานวิจัย และภารกิจร่วมกับสถานีอวกาศนานาชาติ กระสวยอวกาศลำนี้ได้ชื่อมาจากเรือสำรวจหลายลำในอดีตที่ชื่อ ดิสคัฟเวอรี โดยเรือดิสคัฟเวอรีลำแรก คือ HMS Discovery ของอังกฤษ ซึ่งเป็นเรือสำรวจที่พา เจมส์ คุก เดินทางครั้งสำคัญ นอกจากนี้ยังมีเรือดิสคัฟเวอรีอื่น ๆ อีกมากมาย กระสวยอวกาศดิสคัฟเวอรียังมีชื่อตรงกับยานอวกาศในภาพยนตร์เรื่อง 2001: A Space Odyssey ด้วย ยานดิสคัฟเวอรีเป็นกระสวยอวกาศที่ขึ้นไปปล่อยกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล (Hubble Space Telescope) รวมทั้งภารกิจซ่อมแซมกล้องฮับเบิลในครั้งที่สองและสามด้วย นอกจากนี้ยังมีภารกิจปล่อยโพร้บยูลิสซิส (Ulysses) และดาวเทียม TDRS สามดวง ยานดิสคัฟเวอรีได้รับเลือกถึงสองครั้งให้ทำหน้าที่แทนกระสวยอวกาศชาเลนเจอร์ และกระสวยอวกาศโคลัมเบีย ที่ระเบิดเมื่อ ค.ศ. 1986 และ ค.ศ. 2003 ตามลำดั.

กระสวยอวกาศและกระสวยอวกาศดิสคัฟเวอรี · กระสวยอวกาศดิสคัฟเวอรีและรายการภารกิจของกระสวยอวกาศ · ดูเพิ่มเติม »

กระสวยอวกาศแอตแลนติส

STS-129 กระสวยอวกาศ แอตแลนติส (Orbiter Vehicle Designation OV-104) เป็นกระสวยอวกาศลำที่ 4 ขององค์การนาซา สหรัฐอเมริกา หมายเลขประจำยาน คือ OV-104 (กระสวยอวกาศลำอื่นได้แก่ ดิสคัฟเวอรี และ เอนเดฟเวอร์) กระสวยอวกาศแอตแลนติส ถูกตั้งชื่อตามเรือสำรวจหลักของสถาบันสมุทรศาสตร์ เริ่มทำการบินครั้งแรกในเที่ยวบิน STS-51-J วันที่ 19 มกราคม..

กระสวยอวกาศและกระสวยอวกาศแอตแลนติส · กระสวยอวกาศแอตแลนติสและรายการภารกิจของกระสวยอวกาศ · ดูเพิ่มเติม »

กระสวยอวกาศโคลัมเบีย

กระสวยอวกาศโคลัมเบีย (Orbiter Vehicle Designation: OV-102) เป็นกระสวยอวกาศลำแรกที่ใช้งานจริงของนาซา ซึ่งภารกิจแรกในเที่ยวบิน STS-1 เมื่อวันที่ 12 เมษายน ถึง 14 เมษายน ในปี พ.ศ. 2524 (ค.ศ.1981) จนมาถึงวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2546 กระสวยอวกาศโคลัมเบียได้เกิดอุบัติเหตุระเบิดขึ้นเหนือรัฐเทกซัสขณะกลับสู่โลก หลังภารกิจครั้งที่ 28 เสร็จสิ้น ทำให้ลูกเรือในยานทั้ง 7 คนเสียชีวิต.

กระสวยอวกาศและกระสวยอวกาศโคลัมเบีย · กระสวยอวกาศโคลัมเบียและรายการภารกิจของกระสวยอวกาศ · ดูเพิ่มเติม »

กระสวยอวกาศเอนเทอร์ไพรซ์

การทดสอบการบินและลงจอดครั้งแรก เมื่อ ปี พ.ศ. 2520 (1977) กระสวยอวกาศเอนเทอร์ไพรซ์ ปัจจุบันนำไปแสดงที่ Udvar-Hazy Center กระสวยอวกาศเอนเทอร์ไพรซ์ (Orbiter Vehicle Designation: OV-101) เป็นกระสวยอวกาศต้นแบบขององค์การนาซา สหรัฐอเมริกา หมายเลขประจำยาน คือ OV-101 เอนเทอร์ไพรซ์ สร้างขึ้นเพื่อใช้ในการทดสอบการบินของกระสวยอวกาศ ในโครงการนำขึ้น-ลงจอด (Approach and Landing Test:ALT) จนบินครบห้าครั้ง แต่เดิมนั้นทางนาซาตั้งใจจะปรับปรุงยานเอ็นเทอร์ไพรซ์ไปใช้ในเที่ยวบินโคจร ซึ่งจะทำให้มันเป็นกระสวยอวกาศลำที่สองที่ขึ้นบินหลังจากกระสวยอวกาศโคลัมเบีย แต่ระหว่างการก่อสร้างยานโคลัมเบีย มีการเปลี่ยนแปลงแบบครั้งสุดท้ายไปซึ่งมีส่วนสำคัญเกี่ยวกับน้ำหนักของลำตัวยานและส่วนของปีก การปรับปรุงยานเอ็นเทอร์ไพรซ์ให้บินได้จึงหมายถึงการจะต้องรื้อชิ้นส่วนยานโคจรออกและส่งกลับไปให้ผู้รับเหมาหลายรายในส่วนต่างๆ ของประเทศ เมื่องบทำท่าจะบานปลาย จึงมีการตัดสินใจทางเลือกอื่นโดยการสร้างกระสวยอวกาศชาเลนเจอร์ขึ้นครอบตัวโครงยาน (STA-099) ที่แต่เดิมเป็นอุปกรณ์ทดสอบ แล้วค่อยปรับปรุงยานเอ็นเทอร์ไพรซ์เพื่อใช้งานแทนยานชาเลนเจอร์หลังจากที่มันถูกทำลายไป ทว่าได้มีการสร้างกระสวยอวกาศเอนเดฟเวอร์ขึ้นมาจากโครงสร้างสำรองแทนที่อีกครั้ง นาซ่าได้ใช้กระสวยอวกาศเอนเทอร์ไพรซ์เป็นกระสวยต้นแบบในการสร้างกระสวยอวกาศลำอื่นๆ ได้แก่ กระสวยอวกาศโคลัมเบีย กระสวยอวกาศชาเลนเจอร์ กระสวยอวกาศดิสคัฟเวอรี กระสวยอวกาศแอตแลนติส และกระสวยอวกาศเอนเดฟเวอร์ ปัจจุบันกระสวยอวกาศเอนเทอร์ไพรซ์ได้ถูกนำไปแสดงที่ Steven F. Udvar-Hazy Center.

กระสวยอวกาศและกระสวยอวกาศเอนเทอร์ไพรซ์ · กระสวยอวกาศเอนเทอร์ไพรซ์และรายการภารกิจของกระสวยอวกาศ · ดูเพิ่มเติม »

กระสวยอวกาศเอนเดฟเวอร์

กระสวยอวกาศเอนเดฟเวอร์ (Orbiter Vehicle Designation: OV-105) เป็นกระสวยอวกาศลำที่ 5 ขององค์การนาซา สหรัฐอเมริกา หมายเลขประจำยาน คือ OV-105 (กระสวยอวกาศลำอื่นได้แก่ ''ดิสคัฟเวอรี'' และ ''แอตแลนติส'') เอนเดฟเวอร์เป็นกระสวยอวกาศที่นาซาสร้างขึ้นใช้งานเป็นลำสุดท้าย เอนเดฟเวอร์ สร้างขึ้นมาเพื่อใช้ทดแทนกระสวยอวกาศชาเลนเจอร์ ในวันที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2530 (ค.ศ. 1987) เริ่มบินครั้งแรกในวันที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2535 (ค.ศ. 1992) ในภารกิจที่ STS-49 ยานเอนเดฟเวอร์ได้รับเลือกให้ปฏิบัติภารกิจสำคัญมากมาย เช่น ปล่อยดาวเทียม เชื่อมต่อกับสถานีอวกาศเมียร์ของรัสเซีย และลำเลียงชิ้นส่วนของสถานีอวกาศนานาชาติ กระสวยอวกาศเอนเดฟเวอร์ปฏิบัติภารกิจสุดท้ายคือ STS-134 วันที่ 16 พฤษภาคม..

กระสวยอวกาศและกระสวยอวกาศเอนเดฟเวอร์ · กระสวยอวกาศเอนเดฟเวอร์และรายการภารกิจของกระสวยอวกาศ · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง กระสวยอวกาศและรายการภารกิจของกระสวยอวกาศ

กระสวยอวกาศ มี 36 ความสัมพันธ์ขณะที่ รายการภารกิจของกระสวยอวกาศ มี 13 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 6, ดัชนี Jaccard คือ 12.24% = 6 / (36 + 13)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง กระสวยอวกาศและรายการภารกิจของกระสวยอวกาศ หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »