โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

กระรอกและกระรอกสีสวย

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง กระรอกและกระรอกสีสวย

กระรอก vs. กระรอกสีสวย

กระรอก(Squirrel, ภาษาไทยถิ่นเหนือ: ฮอก) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม มีขนาดลำตัวเล็ก ขนปุยปกคลุมทั่วทั้งร่างกาย นัยน์ตากลมดำ หางเป็นพวงฟู จัดอยู่ในประเภทสัตว์ฟันแทะ ในวงศ์ Sciuridae. กระรอกสีสวย (Beautiful squirrels) เป็นสกุลของสัตว์ฟันแทะ จำพวกกระรอก ในสกุล Callosciurus (/คาล-โล-ซิ-อู-รัส/) มีลักษณะโดยทั่วไป คือ หัวกลม ใบหูกลม ตาโต ขนหางฟูเป็นพวง มีความยาวโดยเฉลี่ยส่วนหัวและลำตัว 13-27 เซนติเมตร (5.1-11 นิ้ว) ความยาวหางประมาณ 13-27 เซนติเมตร (5.1-11 นิ้ว) เช่นกัน ส่วนใหญ่มีสีเขียวมะกอกหรือสีเทา มีลายขีดหรือลายแถบสีคล้ำบริเวณด้านข้างลำตัว ส่วนท้องเป็นสีขาวหรือสีเหลืองนวล แต่ส่วนใหญ่มักจะมีสีสันที่หลากหลายมาก เช่น อาจจะมีสีขาว, สีแดงสด หรือสีน้ำตาล บริเวณด้านข้างลำตัวได้ หรืออาจจะเป็นสีขาวล้วนทั้งตัวก็ได้ เป็นกระรอกที่แพร่กระจายพันธุ์ตั้งแต่อนุทวีปอินเดีย, เอเชียอาคเนย์ จนถึงตอนใต้ของจีน และเกาะไต้หวัน แพร่กระจายพันธุ์ไปในหลายภูมิประเทศตั้งแต่ป่าดิบทึบ จนถึงสวนสาธารณะในชุมชนเมือง ส่วนใหญ่จะหากินตามลำพังเพียงตัวเดียว หากินบนต้นไม้ในเวลากลางวันเป็นหลัก กินผลไม้, ลูกไม้, ยอดอ่อนของต้นไม้ หรือใบไม้ต่าง ๆ เป็นหลัก และอาจกินแมลง, หนอน, สัตว์เลื้อยคลานขนาดเล็ก หรือขโมยไข่นกเป็นอาหารได้ด้วย สร้างรังบนต้นไม้ ออกลูกครั้งละ 1-5 ตัว ตัวเมียมีเต้านม 2-3 คู่ แบ่งออกได้เป็น 15 ชนิด และหลากหลายมากมายชนิดย่อยและสีสัน โดยมีกระรอกสามสี เป็นชนิดที่ใหญ่ที่สุด และกระรอกหลากสี มีความหลากหลายทางสีสันจึงแบ่งเป็นชนิดย่อยมากที.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง กระรอกและกระรอกสีสวย

กระรอกและกระรอกสีสวย มี 9 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): กระรอกสวนกระรอกสามสีกระรอกหลากสีกระรอกข้างลายท้องแดงสกุล (ชีววิทยา)สัตว์สัตว์มีแกนสันหลังสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมอันดับสัตว์ฟันแทะ

กระรอกสวน

กระรอกสวน หรือ กระรอกท้องแดง (Pallas's squirrel, Red-bellied squirrel) เป็นกระรอกชนิดหนึ่ง เป็นกระรอกขนาดกลาง มีขนาดเล็กกว่ากระรอกหลากสี (C. finlaysonii) เล็กน้อย ทั่วไปลำตัวมีสีน้ำตาลแกมเขียว ลำตัวส่วนล่างขนสีน้ำตาลแดง, ส้ม หรือสีเหลืองนวล แบ่งออกเป็นชนิดย่อยต่าง ๆ ได้ถึง 20 ชนิดย่อย บางชนิดย่อยมีปื้นสีดำบริเวณหลังส่วนท้าย หางเป็นพวงสวยงาม มีสีแถบสีเนื้อจาง ๆ สลับดำ บางชนิดย่อยปลายหางมีสีดำ บางชนิดย่อยปลายหางเป็นสีอ่อน มีความยาวลำตัวและหัวประมาณ 20-26 เซนติเมตร ความยาวหาง 20 เซนติเมตร กระจายพันธุ์อย่างกว้างขวางตั้งแต่ ภูฏาน อินเดีย จีน ประเทศไทย ลาว เวียดนาม คาบสมุทรมลายู อินโดนีเซีย ปจนถึงเอเชียตะวันออกอย่างไต้หวัน ญี่ปุ่น กระรอกสวนกินผลไม้และลูกไม้ต่าง ๆ เป็นอาหารรวมถึงสัตว์ขนาดเล็กต่าง ๆ อย่างแมลงและหนอน หากินและอาศัยเป็นหลักบนต้นไม้ พบได้ในหลายพื้นที่ทั้งสวนสาธารณะและเมืองใหญ่ นับเป็นกระรอกที่พบได้มากและบ่อยที่สุดในประเทศไทย พบมากตามสวนผลไม้หรือสวนมะพร้าว มักถูกกำจัดหรือจับมาขายเพราะทำลายพืชผล จัดเป็นศัตรูพืชชนิดหนึ่ง ตามปกติจะอาศัยและหากินตามลำพัง เวลาหากินจะเป็นเวลากลางวัน สามารถแทะกินเปลือกไม้เปลือกแข็งหรือผลไม้เปลือกแข็งได้ นิยมเลี้ยงกันเป็นสัตว์เลี้ยง หากเลี้ยงตั้งแต่เล็ก ๆ ขณะยังไม่หย่านม จะเชื่องกับผู้เลี้ยง ถูกนำไปเป็นสัตว์เลี้ยงในหลายประเทศ จนกลายเป็นชนิดพันธุ์ต่างถิ่น และไม่จัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองหรือสัตว์ป่าสงวนในประเทศไทยแต่ประการใด Stuyck, Baert, Breyne & Adriaens (2010).

กระรอกและกระรอกสวน · กระรอกสวนและกระรอกสีสวย · ดูเพิ่มเติม »

กระรอกสามสี

กระรอกสามสี (อังกฤษ: Prevost's squirrel, Asian tri-colored squirrel) กระรอกชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Callosciurus prevostii จัดเป็นกระรอกขนาดกลาง มีความยาวของลำตัวประมาณ 25 เซนติเมตร หาง 27 เซนติเมตร มีลักษณะเด่นที่สีของขนคลุมตัวโดยขนที่หูหลังและหัวมีสีดำ ขนหางครึ่งหนึ่งเป็นสีดำ ส่วนครึ่งปลายหางมีสีน้ำตาล ขนท้องและขามีสีแดงปนน้ำตาลแก่ ขนที่โคนขาหลังด้านบนมีสีขาวหว่างขนหลังสีดำกับขนท้องสีน้ำตาลปนแดง มีแถบสีขาวพาดจากโคนขาหลังไปยังขาหน้าส่วนบน ใบหน้าด้านข้าง และที่จมูกมีขนสีเทาดำ ทำให้ดูคล้าย กระรอกหลากสี (C. finlaysonii) ซึ่งเป็นกระรอกที่อยู่ในสกุลเดียวกัน เว้นแต่ตัวเมียของกระรอกสามสีจะมีเต้านม 3 คู่ กระรอกสามสี พบได้ในคาบสมุทรมลายู ตั้งแต่ภาคใต้ของประเทศไทยลงไป พบได้แม้กระทั่งในป่าพรุ เช่น ป่าพรุโต๊ะแดง จังหวัดนราธิวาส โดยมีทั้งหมด 6 ชนิดย่อย กินอาหาร เช่น ผลไม้, แมลง, ไข่นก ปัจจุบัน กระรอกสามสีเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535 แต่ก็มีการนิยมซื้อขายและเลี้ยงเป็นสัตว์เลี้ยงเหมือนกระรอกชนิดอื่น.

กระรอกและกระรอกสามสี · กระรอกสามสีและกระรอกสีสวย · ดูเพิ่มเติม »

กระรอกหลากสี

กระรอกหลากสี (อังกฤษ: Finlayson's squirrel, Variable squirrel) สัตว์ฟันแทะชนิดหนึ่ง เป็นกระรอกชนิดหนึ่ง ที่สามารถพบได้ทั่วไปในภูมิภาคอินโดจีนจนถึงสิงคโปร์ สามารถพบได้ทั่วไปทั้งในตัวเมืองและในป่าเขาต่าง ๆ มีความหลากหลายทางสีสันเป็นอย่างยิ่ง โดยมากจะเป็นสีขาวครีมปนเหลืองอ่อน จนถึงสีแดงหรือสีดำทั้งตัว หรือบางตัวอาจมีหลายสีในตัวเดียวกัน จัดเป็นกระรอกขนาดกลาง มีขนาดความยาวตั้งแต่หัวจรดโคนหาง 21-22 เซนติเมตร ความยาวหาง 22.5-24 เซนติเมตร ออกหากินในเวลาเช้าตรู่และพลบค่ำ นอนหลับพักผ่อนตามพุ่มใบไม้ ทำรังคล้ายรังนกด้วยกิ่งไม้เล็ก ๆ รูปทรงยาวอยู่ตามปลายกิ่งไม้ ตัวเมียมีเต้านม 2 คู่ ออกลูกครั้งละ 2 ตัว ด้วยความหลากหลายทางสีสันและความกว้างขวางในพื้นที่กระจายพันธุ์ ทำให้มีชนิดย่อยถึง 16 ชนิด เช่น C. f. floweri ที่สามารถพบได้ในพื้นที่กรุงเทพมหานครตามสวนหรือสวนสาธารณะ, C. f. bocourti ที่มีสีขาวตลอดทั้งตัว พบมากในป่าสะแกราช จังหวัดนครราชสีมา และ C. f. boonsongi พบมากตามป่าแถบภาคอีสาน ซึ่งตั้งชื่อชนิดย่อยเพื่อเป็นเกียรติแด่ นายแพทย์บุญส่ง เลขะกุล สถานะการอนุรักษ์ในประเทศไทย เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535 แต่ก็มีการนิยมซื้อขายและเลี้ยงเป็นสัตว์เลี้ยงด้วยเช่นกัน.

กระรอกและกระรอกหลากสี · กระรอกสีสวยและกระรอกหลากสี · ดูเพิ่มเติม »

กระรอกข้างลายท้องแดง

กระรอกข้างลายท้องแดง (Plantain squirrel) สัตว์ฟันแทะชนิดหนึ่ง จำพวกกระรอก กระรอกข้างลายท้องแดงที่พบในสิงคโปร์ เป็นกระรอกขนาดกลาง มีความยาวประมาณ 17-30 เซนติเมตร (7.9-12 นิ้ว) ส่วนหางยาว 16-23 เซนติเมตร (6-8 นิ้ว) มีลำตัวสีเทาหรือน้ำตาล มีจุดเด่น คือ ด้านข้างลำตัวมีแถบสีคล้ำและสีขาวตัดกันเห็นชัดเจน ที่มีขนสีเหลืองส้มหรือสีน้ำตาลส้ม หางมีจุดด่างสีดำและเขียวไพร ปลายหางมีสีแดง ซึ่งเห็นได้ชัดเจนเมื่อมองจากด้านล่าง กระจายพันธุ์ทั่วไปตั้งแต่คาบสมุทรมลายูลงไป จนถึงอินโดนีเซีย ในประเทศไทยพบได้ในภาคใต้ ตั้งแต่จังหวัดสุราษฎร์ธานีลงไป พบในป่าดิบชื้น มักชอบอยู่ตามชายป่าหรือตามป่ารุ่น ไม่ค่อยพบในป่าที่สมบูรณ์ นอกจากนี้ยังพบได้ในป่าชายเลน, สวนป่า และสวนผลไม้ เป็นกระรอกอีกชนิดหนึ่งที่พบบ่อยได้บ่อย หากินในเวลากลางวัน มีกิจกรรมมากในช่วงเช้ามืดและช่วงบ่ายแก่ ๆ อาศัยอยู่บนต้นไม้ในเรือนยอดระดับต่ำ ไม่จัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองหรือสัตว์ป่าสงวนในประเทศไทยแต่อย่างใ.

กระรอกและกระรอกข้างลายท้องแดง · กระรอกข้างลายท้องแดงและกระรอกสีสวย · ดูเพิ่มเติม »

สกุล (ชีววิทยา)

ในทางชีววิทยา สกุล (อังกฤษ genus) เป็นการจัดกลุ่มเอาสิ่งมีชีวิตสปีชีส์ที่มีลักษณะใกล้เคียงเข้ามารวมกัน ในการตั้งชื่อแบบทวินาม ชื่อสิ่งมีชีวิตประกอบขึ้นจากสองส่วน คือ สกุล ซึ่งต้องขึ้นต้นด้วยตัวพิมพ์ใหญ่ และ สปีชีส์ ตัวอย่างหนึ่งคือ Homo sapiens เป็นชื่อเรียกมนุษย์ อยู่ในสกุล Homo ชื่อสกุลในอาณาจักรหนึ่งสามารถซ้ำกับชื่อสกุลหรือชื่อในอนุกรมวิธานของอาณาจักรอื่นได้ ตัวอย่างเช่น Anura เป็นชื่อสกุลของพืชในวงศ์ และเป็นชื่ออันดับของกบ Aotus เป็นชื่อสกุลของถั่วและลิง เป็นต้น แต่ชื่อสกุลในอาณาจักรหนึ่ง ๆ ต้องห้ามซ้ำกัน หมวดหมู่:ชีววิทยา หมวดหมู่:การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์.

กระรอกและสกุล (ชีววิทยา) · กระรอกสีสวยและสกุล (ชีววิทยา) · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์

ัตว์ (Animal) เป็นสิ่งมีชีวิตยูแคริโอตหลายเซลล์ในอาณาจักร Animalia (หรือเรียก เมตาซัว) แผนกาย (body plan) ของพวกมันสุดท้ายคงที่เมื่อพัฒนา แม้สัตว์บางชนิดมีกระบวนการการเปลี่ยนสัณฐานภายหลังในช่วงชีวิต สัตว์ส่วนใหญ่เคลื่อนที่ได้ สัตว์ทุกชนิดต้องกินสิ่งมีชีวิตอื่นหรือผลิตภัณฑ์ของสิ่งมีชีวิตเพื่อการดำรงชีพ (สิ่งมีชีวิตสร้างอาหารเองไม่ได้) ไฟลัมสัตว์ที่รู้จักกันดีที่สุดปรากฏในบันทึกฟอสซิลเป็นสปีชีส์ภาคพื้นสมุทรระหว่างการระเบิดแคมเบรียน (Cambrian explosion) ประมาณ 542 ล้านปีก่อน สัตว์แบ่งเป็นกลุ่มย่อยหลายกลุ่ม บางกลุ่ม เช่น สัตว์มีกระดูกสันหลัง (นก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก สัตว์เลื้อยคลาน ปลา) มอลลัสกา (หอยกาบ หอยนางรม ปลาหมึก หมึกสาย หอยทาก) สัตว์ขาปล้อง (กิ้งกือ ตะขาบ แมลง แมงมุม แมงป่อง ปู ลอบสเตอร์ กุ้ง) สัตว์พวกหนอนปล้อง (ไส้เดือนดิน ปลิง) ฟองน้ำ และแมงกะพรุน.

กระรอกและสัตว์ · กระรอกสีสวยและสัตว์ · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์มีแกนสันหลัง

ัตว์มีแกนสันหลัง คือสัตว์ในไฟลัมคอร์ดาตา พวกมันจะมีแกนสันหลัง ใยประสาทส่วนหลังกลวง ช่องคอหอย หลอดเส้นประสาทกลวงส่วนหลัง และหางหลังทวารหนัก ในช่วงหนึ่งของวงจรชีวิต สัตว์มีแกนสันหลังเป็นพวกดิวเทอโรสโตม กล่าวคือในช่วงระยะตัวอ่อน ทวารหนักเกิดก่อนปาก และเป็นซีโลเมตที่มีสมมาตรด้านข้าง ในกรณีของสัตว์มีแกนสันหลังที่มีกระดูกสันหลัง แกนสันหลังจะถูกแทนที่โดยกระดูกสันหลังในช่วงเจริญเติบโต และพวกมันอาจจะมีปล้องตามร่างกาย ในอนุกรมวิธาน ตัวไฟลัมเองประกอบไปด้วยไฟลัมย่อยเวอร์เตบราตา (ซึ่งประกอบด้วย ปลา สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์ปีก และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม) ทูนิคาตา (ซึ่งรวมทั้งซาล์ปและเพรียงหัวหอม) และเซฟาโลคอร์ดาตา ประกอบด้วยแหลนทะเล และยังรวมถึงบางกลุ่มที่สูญพันธุ์ไปแล้ว บางครั้งกลุ่มสัตว์มีกระดูกสันหลังถูกจัดรวมอยู่กับกลุ่มสัตว์มีกระโหลกศีรษะ สัตว์มีแกนสันหลังมีมากกว่า 65,000 สปีชีส์ที่ยังมีชีวิตอยู่ กว่าครึ่งเป็นพวกปลากระดูกแข็ง วาฬและเหยี่ยวเพเรกริน สัตว์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดและเคลื่อนที่เร็วที่สุดตามลำดับ เป็นสัตว์มีแกนสันหลังเช่นเดียวกันกับมนุษย์ ซากดึกดำบรรพ์ของสัตว์มีแกนสันหลังยุคแรกๆ มีอายุย้อนไปถึงในช่วงการระเบิดยุคแคมเบรียน.

กระรอกและสัตว์มีแกนสันหลัง · กระรอกสีสวยและสัตว์มีแกนสันหลัง · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม

ัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม (Mammalia) จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง โดยคำว่า Mammalia มาจากคำว่า Mamma ที่มีความหมายว่า "หน้าอก" เป็นกลุ่มของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม ที่มีการวิวัฒนาการและพัฒนาร่างกายที่ดีหลากหลายประการ รวมทั้งมีระบบประสาทที่เจริญก้าวหน้า สามารถดำรงชีวิตได้ในทุกสภาพสิ่งแวดล้อมสัตววิทยา (สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม), บพิธ-นันทพร จารุพันธุ์, สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2547, หน้า 411 มีขนาดของร่างกายและรูปพรรณสัณฐานที่แตกต่างกันออกไป รวมถึงการทำงานของระบบต่าง ๆ ภายในร่างกาย ที่มีการปรับเปลี่ยนไปตามลักษณะของสายพันธุ์ มีลักษณะเด่นคือมีต่อมน้ำนมที่มีเฉพาะในเพศเมียเท่านั้น เพื่อผลิตน้ำนมเพื่อใช้เลี้ยงลูกวัยแรกเกิด เป็นสัตว์เลือดอุ่น มีขนเป็นเส้น ๆ (hair) หรือขนอ่อน (fur) ปกคลุมทั่วทั้งร่างกาย เพื่อเป็นการรักษาอุณหภูมิในร่างกาย ยกเว้นสัตว์น้ำที่ไม่มีขน สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม ไม่จัดอยู่ในประเภทสัตว์กลุ่มใหญ่ คือมีจำนวนประชากรประมาณ 4,500 ชนิด ซึ่งถือว่าเป็นปริมาณน้อยมากเมื่อเทียบกับนก ที่มีประมาณ 9,200 ชนิด และปลาอีกประมาณ 20,000 ชนิด รวมทั้งแมลงอีกประมาณ 800,000 ชนิด ส่วนใหญ่เป็นสัตว์บก เช่น สุนัข ช้าง ลิง เสือ สิงโต จิงโจ้ เม่น หนู ฯลฯ สำหรับสัตว์น้ำที่จัดเป็นเลี้ยงลูกด้วยน้ำนม ได้แก่ โลมา วาฬ มานาทีและพะยูน แต่สำหรับสัตว์ปีกประเภทเดียวที่เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมคือค้างคาว ซึ่งกระรอกบินและบ่างนั้น ไม่จัดอยู่ในประเภทของสัตว์ปีก เนื่องจากใช้ปีกในการร่อนไปได้เพียงแค่ระยะหนึ่งเท่านั้น สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมส่วนใหญ่ออกลูกเป็นตัว ยกเว้นตุ่นปากเป็ดและอีคิดนาเท่านั้นที่ออกลูกเป็น.

กระรอกและสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม · กระรอกสีสวยและสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม · ดูเพิ่มเติม »

อันดับสัตว์ฟันแทะ

อันดับสัตว์ฟันแทะ (Rodent, ชื่อวิทยาศาสตร์: Rodentia) เป็นอันดับในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมอันดับหนึ่ง ที่มีความหลากหลายมาก ใช้ชื่ออันดับว่า Rodentia ลักษณะโดยรวมของสัตว์ในอันดับนี้ คือ มีฟันหน้าในขากรรไกรบน 2 ซี่ และขากรรไกรล่าง 2 ซี่ ลักษณะของฟันหน้ามีรูปร่างคล้ายสิ่ว มีความแข็งแรงมาก ใช้สำหรับกัด ขุด และแทะอาหาร ไม่มีฟันเขี้ยว ทำให้เกิดช่องว่างระหว่างฟันหน้าและฟันหน้ากราม ผิวเคลือบทางด้านนอกของฟันหน้าเป็นอีนาเมล จึงทำให้ฟันแข็งแรง นอกจากนี้ฟันหน้าของสัตว์ในอันดับนี้ยังเป็นรูทเลสส์ โดยที่ฟันจะไม่หยุดการเจริญเติบโต เฉลี่ย 12 เซนติเมตรครึ่งต่อปี เนื่องจากมีเลือดมาหล่อเลี้ยงฟันตลอดเวลา จึงต้องแทะฟันเสมอ ๆเพื่อให้ฟันสึกกร่อน มิฉะนั้นฟันจะทะลุออกมานอกปาก ทำให้การหุบปากและการกินอาหารลำบากทำให้อดตายได้ รูปร่างลักษณะภายนอกของสัตว์ในอันดับนี้แตกต่างกัน รวมทั้งแหล่งอาศัย บางจำพวกก็อาศัยอยู่บนต้นไม้ ขุดรูอยู่ใต้ดินหรือบนดิน เช่นเดียวกับชนิดของอาหาร ซึ่งอาจจะเป็นผลไม้เปลือกแข็ง, เมล็ดไม้, รากไม้ หรือกินทุกสิ่งทุกอย่างทั้งพืชและเนื้อสัตว์ ซึ่งสัตว์ในอันดับนี้ที่มนุษย์รู้จักกันเป็นอย่างดี ได้แก่ หนู, กระรอก, เม่น, บีเวอร์ เป็นต้น พบกระจายพันธุ์ไปในทุกพื้นที่ทั่วโลก ในภูมิประเทศที่หลากหลาย ขณะที่กระต่าย, กระแตและตุ่นหรือหนูผี หรือชูการ์ไกลเดอร์ แม้จะมีรูปลักษณะภายนอกคล้ายคลึงกัน แต่ถูกจัดออกมาเป็นอันดับต่างหาก สัตว์ในอันดับนี้ที่มีขนาดเล็กที่สุด คือ หนูจิ๋วแอฟริกัน (Mus minutoides) พบในทวีปแอฟริกา ที่มีขนาดใหญ่เต็มที่จากส่วนหัวจรดปลายหาง 30-80 มิลลิเมตร (1.2-3.1 นิ้ว) ความยาวหาง 20-40 มิลลิเมตร (0.79-1.6 นิ้ว) น้ำหนักประมาณ 3-12 กรัม (0.11-0.42 ออนซ์) และที่มีขนาดใหญ่ที่สุด คือ คาปิบารา (Hydrochoerus hydrochaeris) พบในอเมริกาใต้ ที่มีน้ำหนักได้มากถึง 65 กิโลกรัม และมีรายงานว่าพบมากถึง 91 กิโลกรัม.

กระรอกและอันดับสัตว์ฟันแทะ · กระรอกสีสวยและอันดับสัตว์ฟันแทะ · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง กระรอกและกระรอกสีสวย

กระรอก มี 38 ความสัมพันธ์ขณะที่ กระรอกสีสวย มี 28 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 9, ดัชนี Jaccard คือ 13.64% = 9 / (38 + 28)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง กระรอกและกระรอกสีสวย หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »