ความคล้ายคลึงกันระหว่าง กระรอกและกระรอกบิน
กระรอกและกระรอกบิน มี 17 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): ชูการ์ไกลเดอร์บ่างพญากระรอกบินสีดำพญากระรอกบินหูแดงกระรอกบินกระรอกบินสีเขม่ากระรอกบินเล็กแก้มขาวกระรอกบินเท้าขนการจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ภาษาไทยถิ่นเหนือสกุล (ชีววิทยา)สัตว์สัตว์มีแกนสันหลังสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมอันดับสัตว์ฟันแทะอันดับสัตว์มีกระเป๋าหน้าท้องประเทศไทย
ชูการ์ไกลเดอร์
ูการ์ไกลเดอร์ หรือที่บางครั้งเรียกกันว่า จิงโจ้ร่อน (Sugar glider, Australia sugar glider) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็กชนิดหนึ่ง จัดเป็นสัตว์ที่อยู่ในอันดับสัตว์มีกระเป๋าหน้าท้องจำพวกพอสซัม เนื่องจากในตัวเมียจะมีกระเป๋าหน้าท้อง ใช้สำหรับให้ลูกอ่อนอยู่อาศัยจนกว่าจะโตได้ที่ ชูการ์ไกลเดอร์มีลักษณะภายนอกคล้ายคลึงกับกระรอกบินมาก แต่เป็นสัตว์คนละอันดับกัน เนื่องจากกระรอกบินเป็นสัตว์ที่อยู่ในอันดับสัตว์ฟันแทะ ชูการ์ไกลเดอร์เป็นสัตว์ที่ชอบอยู่รวมกันเป็นฝูงตั้งแต่ 6-10 ตัวขึ้นไป และแต่ละฝูงจะมีการกำหนดอาณาเขตของตัวเองอย่างชัดเจน ซึ่งตัวผู้ที่เป็นจ่าฝูงจะมีการปล่อยกลิ่นเพื่อกำหนดอาณาเขตของตนเอง อายุโดยเฉลี่ย 10-15 ปี ตามธรรมชาติแล้ว ชูการ์ไกลเดอร์จะอาศัยอยู่บนต้นไม้ ดังนั้นจึงมีเล็บที่แหลมคมใช้เกาะเพื่อกระโดดข้ามจากต้นไม้ต้นหนึ่งไปยังอีกต้นหนึ่ง ขนมีลักษณะนุ่มมาก บริเวณข้างลำตัวของมันจะมีพังผืด ซึ่งสามารถกางได้จากขาหน้าไปถึงขาหลังเพื่อลู่ลมเวลาร่อน เหมือนเช่นกระรอกบิน หรือบ่าง เป็นสัตว์ที่หากินในเวลากลางคืน โดยอาหารหลัก คือ แมลง ส่วนผลไม้จะถือเป็นอาหารรอง เมื่อโตเต็มที่จะมีขนาดความยาวจากจมูกถึงปลายหางจะอยู่ที่ 11 นิ้ว แพร่กระจายพันธุ์ตั้งแต่ปาปัวนิวกินี จนถึงออสเตรเลียทางซีกตะวันออก สามารถแบ่งออกได้เป็น 7 ชนิดย่อย ๆ (ดูในตาราง) ด้วยความน่ารัก ประกอบกับเป็นสัตว์ที่มีขนาดเล็ก และมีอุปนิสัยไม่ดุร้ายก้าวร้าว ทำให้ชูการ์ไกลเดอร์นิยมนำมาเลี้ยงกันเป็นสัตว์เลี้ยง ในปัจจุบันสามารถเพาะขยายพันธุ์ในที่เลี้ยงได้แล้ว.
กระรอกและชูการ์ไกลเดอร์ · กระรอกบินและชูการ์ไกลเดอร์ ·
บ่าง
ง หรือ พุงจง หรือ พะจง ในภาษาใต้ หรือ ปักขพิฬาร เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมจำพวกหนึ่งในอันดับบ่าง (Dermoptera) มีรูปร่างคล้ายกระรอกบินขนาดใหญ่ พบได้แต่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Galeopterus variegatus นับเป็นสิ่งมีชีวิตเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในสกุล Galeopterus.
กระรอกและบ่าง · กระรอกบินและบ่าง ·
พญากระรอกบินสีดำ
ญากระรอกบินสีดำ (Black flying squirrel) เป็นกระรอกบินขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง จำพวกพญากระรอกบิน เป็นกระรอกบินที่มีขนาดใหญ่ มีความยาวลำตัวและหัวประมาณ 42 เซนติเมตร หางยาว 50 เซนติเมตร มีจุดเด่นคือสีขนที่เป็นสีดำเข้มหรือน้ำตาลเข้มทั้งตัว ลำตัวด้านล่างสีจางกว่าและมีขนสีเทาแซม ส่วนหัวมีขนาดเล็ก หากินในเวลากลางคืน โดยสามารถร่อนไปมาได้ระหว่างต้นไม้จากต้นที่สูงกว่าไปหาต้นที่เตี้ยกว่าหรือระดับเดียวกัน น้ำหนักตัวประมาณ 900 กรัม พญากระรอกบินสีดำ พบได้ในป่าดิบชื้นในแหลมมลายู โดยพบตั้งแต่ภาคใต้ของไทยตั้งแต่จังหวัดกระบี่ลงไป, มาเลเซีย, สิงคโปร์, บรูไน, มาเลเซียตะวันออกและเกาะสุมาตร.
กระรอกและพญากระรอกบินสีดำ · กระรอกบินและพญากระรอกบินสีดำ ·
พญากระรอกบินหูแดง
ญากระรอกบินหูแดง (Red giant flying squirrel) เป็นกระรอกบินขนาดใหญ่ มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Petaurista petaurista มีรูปร่างและลักษณะคล้ายพญากระรอกบินหูดำ (P. elegans) ซึ่งอยู่ในสกุลเดียวกัน แตกต่างจากตรงที่มีปลายหางสีดำ ขนสีน้ำตาลแดงไม่มีลาย หัวและหางมีลายจาง ๆ มีขนสีน้ำตาลแดงจางและมีลายจุดสีขาวหนาแน่น โดยเฉพาะบริเวณหัว ขอบหูด้านหน้าเป็นสีขาวและมีรอยแต้มสีขาวบริเวณไหล่ หางสีน้ำตาลอ่อนหรือสีเทา ปลายหางสีดำ มีคอหอยสีขาว มีความยาวลำตัวและหัวประมาณ 52 เซนติเมตร ความยาวหาง 63 เซนติเมตร หากินในเวลากลางคืนเช่นเดียวกับกระรอกบินชนิดอื่น ๆ พบกระจายพันธุ์ในป่าดิบชื้นที่มีความอุดมสมบูรณ์ ตั้งแต่อัฟกานิสถาน, ตอนเหนือของอินเดีย เช่น รัฐชัมมูและกัศมีร์ ไปตลอดจนแนวเทือกเขาหิมาลัยจนถึงเอเชียตะวันออก เช่น เกาะไต้หวัน ในประเทศไทยจะพบได้ในภาคใต้ตั้งแต่คอคอดกระลงไปจนถึงแหลมมลายู, สิงคโปร์ จนถึงเกาะบอร์เนียวและชวา นอกจากนี้แล้วยังพบได้ที่ศรีลังกาอีกด้วย กินอาหารจำพวกพืชและผลไม้ตลอดจนแมลง พญากระรอกบินหูแดงสามารถร่อนได้ไกลถึง 75 เมตร (250 ฟุต).
กระรอกและพญากระรอกบินหูแดง · กระรอกบินและพญากระรอกบินหูแดง ·
กระรอกบิน
กระรอกบิน เป็นกระรอกจำพวกหนึ่ง ที่อยู่ในเผ่า Pteromyini หรือ Petauristini มีลักษณะพิเศษที่แตกต่างจากกระรอกจำพวกอื่น คือ มีแผ่นหนังลักษณะคล้ายพังผืดที่บริเวณข้างลำตัวตั้งแต่ขาหน้าถึงขาหลัง สำหรับกางเพื่อร่อนจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง โดยมีหางและกระดูกอ่อนพิเศษที่ยื่นออกมาจากข้อเท้าหน้าเพื่อช่วยในการควบคุมทิศทาง กระรอกบินมีพฤติกรรมที่แตกต่างไปจากกระรอกในกลุ่มอื่น คือ หากินในเวลากลางคืน มีดวงตากลมโตสีดำสะท้อนแสงไฟ กระรอกบินจะอาศัยอยู่เฉพาะในป่าดิบที่อุดมสมบูรณ์ อาหารหลัก คือ แมลง หากินหลักอยู่บนต้นไม้ แต่ก็สามารถลงมาหากินบนพื้นดินได้ในบางครั้ง แม้จะได้ชื่อว่า กระรอกบิน แต่แท้ที่จริงแล้วกระรอกบินก็ทำได้เพื่อแค่ร่อน หรือโต้อากาศโดยใช้พังผืดนี้อยู่กลางอากาศได้เพียงสั้น ๆ เท่านั้น โดยการกระโจนจากต้นไม้อีกต้นไปยังอีกต้นหนึ่งเท่านั้น กระรอกบินมีทั้งหมด 44 ชนิด ใน 15 สกุล พบได้ในทวีปอเมริกาเหนือ, ทวีปยุโรปตอนเหนือและทวีปเอเชีย บางชนิดจัดเป็นกระรอกขนาดใหญ่เทียบเท่าพญากระรอก เช่น พญากระรอกบินสีดำ (Aeromys tephomelas) บางชนิดอยู่ในสถานะใกล้สูญพันธุ์แล้ว เช่น กระรอกบินเล็กแก้มขาว (Hylopetes phayrei) เป็นต้น ในประเทศไทยพบทั้งหมด 13 ชนิด จาก 6 สกุล ได้แก.
กระรอกและกระรอกบิน · กระรอกบินและกระรอกบิน ·
กระรอกบินสีเขม่า
กระรอกบินสีเขม่า (Smoky flying squirrel) เป็นกระรอกบินชนิดหนึ่ง จัดเป็นเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในสกุล Pteromyscus มีขนาดลำตัวค่อนข้างใหญ่ แก้มเป็นสีออกเทา ลำตัวด้านบนสีน้ำตาลแกมเทาเข้ม แซมด้วยสีเทาจาง หางเป็นสีเดียวกับลำตัวแต่โคนหางเป็นสีเทาแกมสีเนื้อ ลำตัวด้านล่างมีสีขาวนวลมีสีเทาแซม พบกระจายพันธุ์ในป่าดงดิบชื้นทางภาคใต้ตอนล่างสุดของประเทศไทยไปจนถึงตลอดคาบสมุทรมลายู และพบได้จนถึงบรูไน, บอร์เนียว ในประเทศไทยจัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง.
กระรอกและกระรอกบินสีเขม่า · กระรอกบินและกระรอกบินสีเขม่า ·
กระรอกบินเล็กแก้มขาว
กระรอกบินเล็กแก้มขาว (Phayre's flying squirrel) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในกลุ่มฟันแทะชนิดหนึ่ง ที่อยู่ในวงศ์ Sciuridae หรือ กระรอก มีลักษณะพิเศษที่แตกต่างจากกระรอกจำพวกอื่น คือ มีแผ่นหนังลักษณะคล้ายพังผืดที่บริเวณข้างลำตัวตั้งแต่ขาหน้าถึงขาหลัง นั่นคือ เป็นกระรอกบิน กระรอกบินเล็กแก้มขาว มีขนาดความยาวลำตัวและหัว 17 - 19 เซนติเมตร หางยาว 13 - 17 เซนติเมตร นับเป็นกระรอกบินขนาดกลาง ขนาดใหญ่กว่ากระรอกบินเล็กแก้มแดง (H. spadiceus) ที่อยู่ในสกุลเดียวกัน ตาค่อนข้างกลมและโต ลักษณะเด่นคือ ขนบริเวณแก้มมีสีขาว ขนหลังสีเทาหรือสีน้ำตาลเข้ม ด้านท้องมีสีขาวครีม ขนหางแบนเรียบสีเทาหรือสีน้ำตาลเข้ม บริเวณแก้มจนถึงหลังใบหูมีสีขาว ส่วนกระรอกบินเล็กเขาสูงจะมีแก้มและกระหม่อมเป็นสีเทา และลำตัวด้านบนกับส่วนหางจะมีสีเทาแกมน้ำตาล แผ่นหนังสำหรับใช้ร่อนมีสีน้ำตาลไหม้ ส่วนลำตัวด้านล่างมีสีขาวแต้มด้วยสีเหลือง และตรงคอหอยจะมีสีออกเหลือง ถิ่นที่อยู่อาศัยส่วนมากอยู่ในป่าดงดิบเขาระดับต่ำ และป่าเบญจพรรณในระดับความสูงไม่เกิน 1,000 เมตรจากระดับน้ำทะเล สามารถพบได้ทั้งในภาคเหนือและภาคตะวันตกของไทย นอกจากนี้แล้วยังพบได้ในประเทศใกล้เคียง เช่น ลาว, กัมพูชา, เวียดนาม เป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตามกฎหมายของไท.
กระรอกและกระรอกบินเล็กแก้มขาว · กระรอกบินและกระรอกบินเล็กแก้มขาว ·
กระรอกบินเท้าขน
กระรอกบินเท้าขน (Hairy-footed flying squirrel) เป็นกระรอกบินที่อาศัยอยู่ในภูเขาของเทือกเขาหิมาลัยทางทิศตะวันออก, เอเชียตะวันออกเฉียงใต้และจีนตอนใต้จนถึงเกาะไต้หวัน จัดเป็นเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในสกุล Belomys กระรอกบินเท้าขน มีขนเป็นสีน้ำตาลแดงที่ด้านบนและสีขาวที่ด้านล่าง ลักษณะเป็นขนยาวที่เท้าซึ่งครอบคลุมกรงเล็บเพื่อป้องกันความหนาวเย็นในระดับความสูงที่สูงมาก กระรอกบินเท้าขนมีความยาวประมาณ 22 เซนติเมตร และมีหางยาว 13 เซนติเมตร โดยที่ไม่ได้จัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองในประเทศไทยแต่อย่างใ.
กระรอกและกระรอกบินเท้าขน · กระรอกบินและกระรอกบินเท้าขน ·
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ หรือ การจำแนกชั้นทางชีววิทยา (Systematics) หมายถึงการจัดกลุ่มและหมวดหมู่สปีชีส์ของสิ่งมีชีวิต ทั้งที่มีอยู่ในปัจจุบันและที่สูญพันธุ์ไปแล้ว การจำแนกในยุคปัจจุบันอาศัยรากฐานจากระบบการจำแนกของ คาโรลัส ลินเนียส นักพฤกษศาสตร์ผู้จัดกลุ่มสปีชีส์ต่าง ๆ โดยดูจากลักษณะเฉพาะทางกายภาพ การจัดกลุ่มแบบนี้ได้มีการปรับปรุงอยู่เสมอเพื่อให้สอดคล้องกับหลักดาร์วิน ส่วนมากเป็นผลมาจากการศึกษาอนุกรมวิธานระดับโมเลกุลด้วยการวิเคราะห์จีโนม ในการแบ่งอย่างกว้างๆจะแบ่งได้ 2 ระดับ คือ ลำดับขั้นสูง และ ลำดับขั้นต่ำ.
กระรอกและการจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ · กระรอกบินและการจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ ·
ภาษาไทยถิ่นเหนือ
ำเมือง (40px)) หรือชื่ออย่างเป็นทางการว่า ภาษาถิ่นภาคพายัพ เป็นภาษาถิ่นของชาวไทยวนทางภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย ซึ่งเป็นอาณาจักรล้านนาเดิม ได้แก่ เชียงใหม่, เชียงราย, อุตรดิตถ์, แพร่, น่าน, แม่ฮ่องสอน, ลำพูน, ลำปาง, พะเยา และยังมีการพูดและการผสมภาษากันในบางพื้นที่ของจังหวัดตาก, สุโขทัย และเพชรบูรณ์ ปัจจุบันกลุ่มคนไทยวนได้กระจัดกระจายและมีถิ่นที่อยู่ในจังหวัดสระบุรี, จังหวัดราชบุรี และอำเภอของจังหวัดอื่นที่ใกล้เคียงกับราชบุรีอีกด้วย คำเมืองยังสามารถแบ่งออกเป็นสำเนียงล้านนาตะวันตก (ในจังหวัดเชียงใหม่, ลำพูน และแม่ฮ่องสอน) และสำเนียงล้านนาตะวันออก (ในจังหวัดเชียงราย, พะเยา, ลำปาง, อุตรดิตถ์, แพร่ และน่าน) ซึ่งจะมีความแตกต่างกันบ้าง คือ สำเนียงล้านนาตะวันออกส่วนใหญ่จะไม่พบสระเอือะ เอือ แต่จะใช้สระเอียะ เอียแทน (มีเสียงเอือะและเอือเพียงแต่คนต่างถิ่นฟังไม่ออกเอง เนื่องจากเสียงที่ออกมาจะเป็นเสียงนาสิกใกล้เคียงกับเอียะ เอีย) ส่วนคนในจังหวัดลำพูนมักจะพูดสำเนียงเมืองยอง เพราะชาวลำพูนจำนวนมากสืบเชื้อสายมาจากชาวยองในรัฐฉาน จึงมีสำเนียงที่เป็นเอกลักษณ์ คำเมืองมีไวยากรณ์คล้ายกับภาษาไทยกลางแต่ใช้คำศัพท์ไม่เหมือนกันและไวยากรณ์ที่แตกต่างกันอยู่บ้าง แต่เดิมใช้คู่กับ อักษรธรรมล้านนา ซึ่งเป็นตัวอักษรของอาณาจักรล้านนาที่ใช้อักษรมอญเป็นต้นแ.
กระรอกและภาษาไทยถิ่นเหนือ · กระรอกบินและภาษาไทยถิ่นเหนือ ·
สกุล (ชีววิทยา)
ในทางชีววิทยา สกุล (อังกฤษ genus) เป็นการจัดกลุ่มเอาสิ่งมีชีวิตสปีชีส์ที่มีลักษณะใกล้เคียงเข้ามารวมกัน ในการตั้งชื่อแบบทวินาม ชื่อสิ่งมีชีวิตประกอบขึ้นจากสองส่วน คือ สกุล ซึ่งต้องขึ้นต้นด้วยตัวพิมพ์ใหญ่ และ สปีชีส์ ตัวอย่างหนึ่งคือ Homo sapiens เป็นชื่อเรียกมนุษย์ อยู่ในสกุล Homo ชื่อสกุลในอาณาจักรหนึ่งสามารถซ้ำกับชื่อสกุลหรือชื่อในอนุกรมวิธานของอาณาจักรอื่นได้ ตัวอย่างเช่น Anura เป็นชื่อสกุลของพืชในวงศ์ และเป็นชื่ออันดับของกบ Aotus เป็นชื่อสกุลของถั่วและลิง เป็นต้น แต่ชื่อสกุลในอาณาจักรหนึ่ง ๆ ต้องห้ามซ้ำกัน หมวดหมู่:ชีววิทยา หมวดหมู่:การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์.
กระรอกและสกุล (ชีววิทยา) · กระรอกบินและสกุล (ชีววิทยา) ·
สัตว์
ัตว์ (Animal) เป็นสิ่งมีชีวิตยูแคริโอตหลายเซลล์ในอาณาจักร Animalia (หรือเรียก เมตาซัว) แผนกาย (body plan) ของพวกมันสุดท้ายคงที่เมื่อพัฒนา แม้สัตว์บางชนิดมีกระบวนการการเปลี่ยนสัณฐานภายหลังในช่วงชีวิต สัตว์ส่วนใหญ่เคลื่อนที่ได้ สัตว์ทุกชนิดต้องกินสิ่งมีชีวิตอื่นหรือผลิตภัณฑ์ของสิ่งมีชีวิตเพื่อการดำรงชีพ (สิ่งมีชีวิตสร้างอาหารเองไม่ได้) ไฟลัมสัตว์ที่รู้จักกันดีที่สุดปรากฏในบันทึกฟอสซิลเป็นสปีชีส์ภาคพื้นสมุทรระหว่างการระเบิดแคมเบรียน (Cambrian explosion) ประมาณ 542 ล้านปีก่อน สัตว์แบ่งเป็นกลุ่มย่อยหลายกลุ่ม บางกลุ่ม เช่น สัตว์มีกระดูกสันหลัง (นก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก สัตว์เลื้อยคลาน ปลา) มอลลัสกา (หอยกาบ หอยนางรม ปลาหมึก หมึกสาย หอยทาก) สัตว์ขาปล้อง (กิ้งกือ ตะขาบ แมลง แมงมุม แมงป่อง ปู ลอบสเตอร์ กุ้ง) สัตว์พวกหนอนปล้อง (ไส้เดือนดิน ปลิง) ฟองน้ำ และแมงกะพรุน.
กระรอกและสัตว์ · กระรอกบินและสัตว์ ·
สัตว์มีแกนสันหลัง
ัตว์มีแกนสันหลัง คือสัตว์ในไฟลัมคอร์ดาตา พวกมันจะมีแกนสันหลัง ใยประสาทส่วนหลังกลวง ช่องคอหอย หลอดเส้นประสาทกลวงส่วนหลัง และหางหลังทวารหนัก ในช่วงหนึ่งของวงจรชีวิต สัตว์มีแกนสันหลังเป็นพวกดิวเทอโรสโตม กล่าวคือในช่วงระยะตัวอ่อน ทวารหนักเกิดก่อนปาก และเป็นซีโลเมตที่มีสมมาตรด้านข้าง ในกรณีของสัตว์มีแกนสันหลังที่มีกระดูกสันหลัง แกนสันหลังจะถูกแทนที่โดยกระดูกสันหลังในช่วงเจริญเติบโต และพวกมันอาจจะมีปล้องตามร่างกาย ในอนุกรมวิธาน ตัวไฟลัมเองประกอบไปด้วยไฟลัมย่อยเวอร์เตบราตา (ซึ่งประกอบด้วย ปลา สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์ปีก และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม) ทูนิคาตา (ซึ่งรวมทั้งซาล์ปและเพรียงหัวหอม) และเซฟาโลคอร์ดาตา ประกอบด้วยแหลนทะเล และยังรวมถึงบางกลุ่มที่สูญพันธุ์ไปแล้ว บางครั้งกลุ่มสัตว์มีกระดูกสันหลังถูกจัดรวมอยู่กับกลุ่มสัตว์มีกระโหลกศีรษะ สัตว์มีแกนสันหลังมีมากกว่า 65,000 สปีชีส์ที่ยังมีชีวิตอยู่ กว่าครึ่งเป็นพวกปลากระดูกแข็ง วาฬและเหยี่ยวเพเรกริน สัตว์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดและเคลื่อนที่เร็วที่สุดตามลำดับ เป็นสัตว์มีแกนสันหลังเช่นเดียวกันกับมนุษย์ ซากดึกดำบรรพ์ของสัตว์มีแกนสันหลังยุคแรกๆ มีอายุย้อนไปถึงในช่วงการระเบิดยุคแคมเบรียน.
กระรอกและสัตว์มีแกนสันหลัง · กระรอกบินและสัตว์มีแกนสันหลัง ·
สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม
ัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม (Mammalia) จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง โดยคำว่า Mammalia มาจากคำว่า Mamma ที่มีความหมายว่า "หน้าอก" เป็นกลุ่มของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม ที่มีการวิวัฒนาการและพัฒนาร่างกายที่ดีหลากหลายประการ รวมทั้งมีระบบประสาทที่เจริญก้าวหน้า สามารถดำรงชีวิตได้ในทุกสภาพสิ่งแวดล้อมสัตววิทยา (สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม), บพิธ-นันทพร จารุพันธุ์, สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2547, หน้า 411 มีขนาดของร่างกายและรูปพรรณสัณฐานที่แตกต่างกันออกไป รวมถึงการทำงานของระบบต่าง ๆ ภายในร่างกาย ที่มีการปรับเปลี่ยนไปตามลักษณะของสายพันธุ์ มีลักษณะเด่นคือมีต่อมน้ำนมที่มีเฉพาะในเพศเมียเท่านั้น เพื่อผลิตน้ำนมเพื่อใช้เลี้ยงลูกวัยแรกเกิด เป็นสัตว์เลือดอุ่น มีขนเป็นเส้น ๆ (hair) หรือขนอ่อน (fur) ปกคลุมทั่วทั้งร่างกาย เพื่อเป็นการรักษาอุณหภูมิในร่างกาย ยกเว้นสัตว์น้ำที่ไม่มีขน สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม ไม่จัดอยู่ในประเภทสัตว์กลุ่มใหญ่ คือมีจำนวนประชากรประมาณ 4,500 ชนิด ซึ่งถือว่าเป็นปริมาณน้อยมากเมื่อเทียบกับนก ที่มีประมาณ 9,200 ชนิด และปลาอีกประมาณ 20,000 ชนิด รวมทั้งแมลงอีกประมาณ 800,000 ชนิด ส่วนใหญ่เป็นสัตว์บก เช่น สุนัข ช้าง ลิง เสือ สิงโต จิงโจ้ เม่น หนู ฯลฯ สำหรับสัตว์น้ำที่จัดเป็นเลี้ยงลูกด้วยน้ำนม ได้แก่ โลมา วาฬ มานาทีและพะยูน แต่สำหรับสัตว์ปีกประเภทเดียวที่เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมคือค้างคาว ซึ่งกระรอกบินและบ่างนั้น ไม่จัดอยู่ในประเภทของสัตว์ปีก เนื่องจากใช้ปีกในการร่อนไปได้เพียงแค่ระยะหนึ่งเท่านั้น สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมส่วนใหญ่ออกลูกเป็นตัว ยกเว้นตุ่นปากเป็ดและอีคิดนาเท่านั้นที่ออกลูกเป็น.
กระรอกและสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม · กระรอกบินและสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม ·
อันดับสัตว์ฟันแทะ
อันดับสัตว์ฟันแทะ (Rodent, ชื่อวิทยาศาสตร์: Rodentia) เป็นอันดับในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมอันดับหนึ่ง ที่มีความหลากหลายมาก ใช้ชื่ออันดับว่า Rodentia ลักษณะโดยรวมของสัตว์ในอันดับนี้ คือ มีฟันหน้าในขากรรไกรบน 2 ซี่ และขากรรไกรล่าง 2 ซี่ ลักษณะของฟันหน้ามีรูปร่างคล้ายสิ่ว มีความแข็งแรงมาก ใช้สำหรับกัด ขุด และแทะอาหาร ไม่มีฟันเขี้ยว ทำให้เกิดช่องว่างระหว่างฟันหน้าและฟันหน้ากราม ผิวเคลือบทางด้านนอกของฟันหน้าเป็นอีนาเมล จึงทำให้ฟันแข็งแรง นอกจากนี้ฟันหน้าของสัตว์ในอันดับนี้ยังเป็นรูทเลสส์ โดยที่ฟันจะไม่หยุดการเจริญเติบโต เฉลี่ย 12 เซนติเมตรครึ่งต่อปี เนื่องจากมีเลือดมาหล่อเลี้ยงฟันตลอดเวลา จึงต้องแทะฟันเสมอ ๆเพื่อให้ฟันสึกกร่อน มิฉะนั้นฟันจะทะลุออกมานอกปาก ทำให้การหุบปากและการกินอาหารลำบากทำให้อดตายได้ รูปร่างลักษณะภายนอกของสัตว์ในอันดับนี้แตกต่างกัน รวมทั้งแหล่งอาศัย บางจำพวกก็อาศัยอยู่บนต้นไม้ ขุดรูอยู่ใต้ดินหรือบนดิน เช่นเดียวกับชนิดของอาหาร ซึ่งอาจจะเป็นผลไม้เปลือกแข็ง, เมล็ดไม้, รากไม้ หรือกินทุกสิ่งทุกอย่างทั้งพืชและเนื้อสัตว์ ซึ่งสัตว์ในอันดับนี้ที่มนุษย์รู้จักกันเป็นอย่างดี ได้แก่ หนู, กระรอก, เม่น, บีเวอร์ เป็นต้น พบกระจายพันธุ์ไปในทุกพื้นที่ทั่วโลก ในภูมิประเทศที่หลากหลาย ขณะที่กระต่าย, กระแตและตุ่นหรือหนูผี หรือชูการ์ไกลเดอร์ แม้จะมีรูปลักษณะภายนอกคล้ายคลึงกัน แต่ถูกจัดออกมาเป็นอันดับต่างหาก สัตว์ในอันดับนี้ที่มีขนาดเล็กที่สุด คือ หนูจิ๋วแอฟริกัน (Mus minutoides) พบในทวีปแอฟริกา ที่มีขนาดใหญ่เต็มที่จากส่วนหัวจรดปลายหาง 30-80 มิลลิเมตร (1.2-3.1 นิ้ว) ความยาวหาง 20-40 มิลลิเมตร (0.79-1.6 นิ้ว) น้ำหนักประมาณ 3-12 กรัม (0.11-0.42 ออนซ์) และที่มีขนาดใหญ่ที่สุด คือ คาปิบารา (Hydrochoerus hydrochaeris) พบในอเมริกาใต้ ที่มีน้ำหนักได้มากถึง 65 กิโลกรัม และมีรายงานว่าพบมากถึง 91 กิโลกรัม.
กระรอกและอันดับสัตว์ฟันแทะ · กระรอกบินและอันดับสัตว์ฟันแทะ ·
อันดับสัตว์มีกระเป๋าหน้าท้อง
ัตว์มีกระเป๋าหน้าท้อง หรือ สัตว์มีถุงหน้าท้อง (อันดับ: Marsupialia; Marsupial) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในอันดับหนึ่ง ซึ่งสามารถแบ่งออกได้เป็นอันดับต่าง ๆ ได้อีกจำนวนหนึ่ง (ดูในตาราง) สัตว์ในอันดับนี้ มีความแตกต่างและหลากหลายในแง่ของรูปร่าง ลักษณะ และขนาดเป็นอย่างมาก แต่มีลักษณะเด่นที่มีความเหมือนกันประการหนึ่ง คือ จะออกลูกเป็นตัว โดยตัวเมียมีถุงหน้าท้อง ตัวอ่อนของสัตว์ในอันดับนี้เจริญเติบโตในมดลูกในช่วงระยะเวลาสั้น มีสะดือและสายรกด้วย แล้วจะคลานย้ายมาอยู่ในถุงหน้าท้องดูดกินนมจากแม่ ก่อนจะเจริญเติบโตในถุงหน้าท้องหรือกระเป๋าหน้าท้องนี้จนโต บางครั้งเมื่อยังโตไม่เต็มที่ จะเข้า-ออกระหว่างข้างออกกับกระเป๋าหน้าท้องเป็นปกติ ซึ่งสัตว์ในอันดับนี้ที่เป็นที่รู้จักดี ได้แก่ จิงโจ้, โคอาลา, โอพอสซัม, ชูการ์ไกลเดอร์, วอมแบต, แทสเมเนียนเดวิล เป็นต้น ซึ่งสัตว์ในอันดับนี้ล้วนแต่จะพบเฉพาะในทวีปออสเตรเลียและบางส่วนของนิวกินี และพบในบางส่วนของทวีปอเมริกา ทั้งอเมริกาเหนือ, อเมริกากลาง และอเมริกาใต้ หลายชนิดก็สูญพันธุ์ไปแล้ว เช่น หมาป่าแทสมาเนีย (Thylacinus cynocephalus) หรือไดโปรโตดอน (Diprotodon spp.) เป็นต้น โดยคำว่า Marsupialia นั้นมาจากภาษาละติน แปลว่า "กระเป๋า หรือ ถุง".
กระรอกและอันดับสัตว์มีกระเป๋าหน้าท้อง · กระรอกบินและอันดับสัตว์มีกระเป๋าหน้าท้อง ·
ประเทศไทย
ประเทศไทย มีชื่ออย่างเป็นทางราชการว่า ราชอาณาจักรไทย เป็นรัฐชาติอันตั้งอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เดิมมีชื่อว่า "สยาม" รัฐบาลประกาศเปลี่ยนชื่อเป็นประเทศไทยอย่างเป็นทางการตั้งแต่ปี 2482 ประเทศไทยมีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 50 ของโลก มีเนื้อที่ 513,115 ตารางกิโลเมตร และมีประชากรมากเป็นอันดับที่ 20 ของโลก คือ ประมาณ 66 ล้านคน กรุงเทพมหานครเป็นศูนย์กลางการบริหารราชการแผ่นดินและนครใหญ่สุดของประเทศ และการปกครองส่วนภูมิภาค จัดระเบียบเป็น 76 จังหวัด แม้จะมีการสถาปนาระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญและประชาธิปไตยระบบรัฐสภาในปี 2475 แต่กองทัพยังมีบทบาทในการเมืองไทยสูง ล่าสุด เกิดรัฐประหารเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 และมีการปกครองแบบเผด็จการทหารนับแต่นั้น พบหลักฐานการอยู่อาศัยอย่างต่อเนื่องในอาณาเขตประเทศไทยปัจจุบันตั้งแต่ 20,000 ปีก่อนคริสตกาล ชาวไทเริ่มอพยพเข้าสู่บริเวณนี้ในคริสต์ศตวรรษที่ 11 แล้วเข้ามาตั้งแว่นแคว้นต่าง ๆ ที่สำคัญได้แก่ อาณาจักรสุโขทัย อาณาจักรล้านนาและอาณาจักรอยุธยา นักประวัติศาสตร์มักถือว่าอาณาจักรสุโขทัยเป็นจุดเริ่มต้นของประวัติศาสตร์ไทย ต่อมาอาณาจักรอยุธยาค่อย ๆ เรืองอำนาจมากขึ้นจนเป็นมหาอำนาจในภูมิภาคในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 14 การติดต่อกับชาติตะวันตกเริ่มด้วยผู้แทนทางทูตชาวโปรตุเกสในปี 2054 อาณาจักรรุ่งเรืองอย่างมากในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (ครองราชย์ปี 2199–2231) แต่หลังจากนั้นค่อย ๆ เสื่อมอำนาจโดยมีสาเหตุส่วนหนึ่งจากการผลัดแผ่นดินที่มีการนองเลือดหลายรัชกาล จนสุดท้ายกรุงศรีอยุธยาถูกทำลายสิ้นเชิงในปี 2310 สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงรวบรวมแผ่นดินที่แตกออกเป็นก๊กต่าง ๆ และสถาปนาอาณาจักรธนบุรีที่มีอายุ 15 ปี ความวุ่นวายในช่วงปลายอาณาจักรนำไปสู่การสำเร็จโทษพระองค์โดยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ปฐมราชวงศ์จักรีแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ประเทศเผชิญภัยคุกคามจากชาติใกล้เคียง แต่หลังรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นต้นมา ชาติตะวันตกเริ่มมีอิทธิพลในภูมิภาคเป็นอย่างมาก นำไปสู่การเข้าเป็นภาคีแห่งสนธิสัญญาไม่เป็นธรรมหลายฉบับ กระนั้น สยามไม่ตกเป็นอาณานิคมของตะวันตกชาติใด มีการปรับให้สยามทันสมัยและรวมอำนาจปกครองในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ครองราชย์ปี 2411–53) สยามเข้าร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่หนึ่งในปี 2460; ในปี 2475 เกิดการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองสู่ระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญโดยไม่เสียเลือดเนื้อ คณะราษฎรมีบทบาทนำทางการเมือง และในพุทธทศวรรษ 2480 นายกรัฐมนตรี จอมพล แปลก พิบูลสงคราม ดำเนินนโยบายชาตินิยมเข้มข้น ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ไทยเข้ากับฝ่ายอักษะ แต่ฝ่ายสัมพันธมิตรส่วนใหญ่ไม่ยอมรับการประกาศสงคราม ในช่วงสงครามเย็น ประเทศไทยเป็นพันธมิตรกับสหรัฐซึ่งสนับสนุนรัฐบาลทหารมาก รัฐประหารที่มีจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์เป็นหัวหน้าคณะในปี 2500 ทำให้คณะราษฎรหมดอำนาจ รัฐบาลฟื้นฟูพระราชอำนาจและมีมาตรการต่อต้านคอมมิวนิสต์ในภูมิภาค ผลของเหตุการณ์ 14 ตุลา 2516 ทำให้เกิดประชาธิปไตยระบบรัฐสภาช่วงสั้น ๆ ประเทศไทยมีนายกรัฐมนตรีจากการเลือกตั้งครั้งแรกในปี 2531 หลังพุทธทศวรรษ 2540 มีวิกฤตการเมืองระหว่างฝ่ายที่สนับสนุนและต่อต้านอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตรมาจนปัจจุบัน รวมทั้งเกิดรัฐประหารสองครั้ง โดยครั้งล่าสุดเกิดในปี 2557 รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันเป็นฉบับที่ 20 ประกาศใช้เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2560 หลังมีการลงประชามติรับร่างเมื่อหนึ่งปีก่อน ประเทศไทยเป็นสมาชิกสหประชาชาติ เอเปก อีกทั้งเป็นร่วมผู้ก่อตั้งอาเซียน ประเทศไทยเป็นพันธมิตรของสหรัฐตั้งแต่สนธิสัญญาซีโต้ในปี 2497 ถือเป็นประเทศอำนาจนำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และประเทศอำนาจปานกลางในเวทีโลก ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีรายได้ปานกลาง-สูงและประเทศอุตสาหกรรมใหม่ มีรายได้หลักจากภาคอุตสาหกรรมและบริการ การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจทำให้มีการอพยพเข้าสู่เมืองในคริสต์ศตวรรษที่ 20 ตามประมาณการในปี 2560 จีดีพีของประเทศไทยมีมูลค่าราว 432,898 ล้านดอลลาร์สหรัฐ นับว่าเศรษฐกิจไทยเป็นเศรษฐกิจใหญ่สุดเป็นอันดับ 2 ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และใหญ่เป็นอันดับที่ 26 ของโลก.
รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้
- สิ่งที่ กระรอกและกระรอกบิน มีเหมือนกัน
- อะไรคือความคล้ายคลึงกันระหว่าง กระรอกและกระรอกบิน
การเปรียบเทียบระหว่าง กระรอกและกระรอกบิน
กระรอก มี 38 ความสัมพันธ์ขณะที่ กระรอกบิน มี 36 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 17, ดัชนี Jaccard คือ 22.97% = 17 / (38 + 36)
การอ้างอิง
บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง กระรอกและกระรอกบิน หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่: