โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

กระต่ายจันทร์ (ความเชื่อ)และแพริโดเลีย

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง กระต่ายจันทร์ (ความเชื่อ)และแพริโดเลีย

กระต่ายจันทร์ (ความเชื่อ) vs. แพริโดเลีย

ันทรสมุทรบนดวงจันทร์ ที่ปรากฏภาพคล้ายกระต่าย กระต่ายจันทร์ เป็นความเชื่อรวมกันของหลายชนชาติ ที่เชื่อว่าบนดวงจันทร์มีกระต่ายอาศัยอยู่ โดยพิจารณาจากจันทรสมุทร (หลุมดำบนดวงจันทร์) แล้วเกิดเป็นพาเรียโดเลีย (จินตภาพ) รูปกระต่ายขึ้นมา ความเชื่อนี้มีในหลายชนชาติทั่วโลก เช่น แอฟริกา, ทิเบต, จีน, ญี่ปุ่น รวมถึงอเมริกากลางและอเมริกาใต้ ในปกรณัมของฮินดู พระจันทร์ เทพเจ้าแห่งดวงจันทร์ เป็นผู้ถือกระต่ายไว้ในพระหัตถ์ เนื่องจากคำว่ากระต่ายในภาษาสันสกฤต คือ "ศศะ" ดังนั้นจึงเรียกดวงจันทร์ว่า "ศศิน" (ศศินฺ) แปลว่า "ซึ่งมีกระต่าย" ในปกรณัมของจีน ภาพที่ปรากฏบนดวงจันทร์ คือ กระต่ายขาวกำลังตำข้าวในครก กระต่ายนี้เชื่อกันว่าเป็นผู้รับใช้เซียนหรือผู้วิเศษ โดยมีหน้าที่ปรุงยาอายุวัฒนะ หรือเป็นสัตว์เลี้ยงของฉางเอ๋อ เทพธิดาแห่งดวงจันทร์ ในชาดก ซึ่งเป็นนิทานของพุทธศาสนา มีเรื่องหนึ่งเล่าว่า มีชายคนหนึ่งหลงทางในป่า ขณะที่หมดสติไปเพราะความหิวและยากลำบาก มีสัตว์ป่า 3 ชนิดมาพบเข้า ได้แก่ หมี, หมาจิ้งจอก และกระต่าย สัตว์ทั้ง 3 ตกลงกันที่จะช่วยชายผู้นี้ หมีนำปลามาให้ ขณะที่หมาจิ้งจอกนำองุ่นมาให้ แต่กระต่ายไม่อาจหาอะไรมาได้ เพราะกินเป็นแต่หญ้า จึงเสียสละตัวเองกระโดดเข้ากองไฟเพื่อเป็นอาหารให้แก่ชายผู้นี้ พระอินทร์จึงวาดภาพกระต่ายจารึกไว้บนดวงจันทร์เพื่อระลึกถึง อย่างไรก็ตามชาดกเรื่องนี้ได้มีรายละเอียดต่างไปเล็กน้อย ๆ เช่น ชายผู้นี้บ้างก็ว่าเป็นพระพุทธเจ้า หรือเป็นพราหมณ์บ้าง หรือกระทั่งว่า กระต่ายตัวนี้คือพระชาติหนึ่งของพระพุทธเจ้าก็มี ในชนชาติฮอตเทนทอต ซึ่งเป็นชาวพื้นเมืองเร่ร่อนล่าสัตว์ ทางตอนใต้ของทวีปแอฟริกา เรื่องราวของกระต่ายบนดวงจันทร์ช่วยอธิบายอาการปากแหว่งเพดานโหว่ ตั้งแต่เกิดของมนุษย์ ตามตำนานพระจันทร์ส่งกระต่ายลงมายังโลกเพื่อบอกกับมนุษย์ว่าเมื่อเธอตายจะกลับฟื้นขึ้นอีกครั้ง และมนุษย์ก็เช่นกัน แต่กระต่ายไม่ใส่ใจจึงจำข้อความผิด ๆ ถูก ๆ ไปบอกมนุษย์ว่า พระจันทร์ตายแล้ว จะไม่ฟื้นคืนมาใหม่ และมนุษย์ก็จะเป็นเช่นเดียวกับเธอ เมื่อพระจันทร์ทราบว่ากระต่ายทำอะไรลงไป เธอโกรธมากและพยายามจะใช้ขวานจามหัวกระต่าย แต่พลาดไปโดนริมฝีปากบนของกระต่ายแทน กระต่ายบาดเจ็บก็ตอบแทนเธอด้วยการข่วนเข้าที่ใบหน้าด้วยอุ้งเล็บ ทำให้เกิดรอยปื้นดำปรากฏบนดวงจันทร์ดังที่เห็นกันทุกวันนี้. รูปถ่ายจากดาวเทียมของที่ราบสูงไซโดเนียบนดาวอังคาร ซึ่งบางครั้งเรียกว่า "Face on Mars (ใบหน้าบนดาวอังคาร)" ส่วนรูปที่ถ่ายมาจากมุมอื่น ๆ จะไม่สามารถเห็นภาพลวงตานี้ แพริโดเลีย หรือ แพไรโดเลีย (Pareidolia) เป็นปรากฏการณ์ทางจิต ที่เกี่ยวข้องกับการรับรู้สิ่งเร้าเช่นภาพหรือเสียงที่ไม่ชัดเจนและไม่มีรูปแบบ (คือบังเอิญ สุ่ม) ว่ามีความหมายมีความสำคัญ เป็นการรับรู้แบบหนึ่งของ apophenia ซึ่งเป็นการเห็นรูปแบบหรือความสัมพันธ์กันในข้อมูลสุ่มที่ไม่มีความหมาย ตัวอย่างที่สามัญอย่างหนึ่งคือการเห็นรูปสัตว์หรือใบหน้าในก้อนเมฆ ชายบนดวงจันทร์ กระต่ายบนดวงจันทร์ และการได้ยินข้อความที่ซ่อนไว้บนแผ่นเสียงไวนิลที่เล่นย้อนทาง คำว่า Pareidolia มาจากคำในภาษากรีกว่า para- (παρά, แปลว่า "ข้าง ๆ, ไปเป็นหน้ากระดาน, แทนที่") ซึ่งในที่นี้หมายถึงอะไรที่บกพร่อง ผิดพลาด หรือเกิดขึ้นแทนที่ และคำนามว่า eidōlon (εἴδωλον แปลว่า "ภาพ, รูปร่าง, สัณฐาน") ซึ่งมีความหมายเป็นส่วนย่อยของคำว่า eidos.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง กระต่ายจันทร์ (ความเชื่อ)และแพริโดเลีย

กระต่ายจันทร์ (ความเชื่อ)และแพริโดเลีย มี 0 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย)

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง กระต่ายจันทร์ (ความเชื่อ)และแพริโดเลีย

กระต่ายจันทร์ (ความเชื่อ) มี 28 ความสัมพันธ์ขณะที่ แพริโดเลีย มี 52 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 0, ดัชนี Jaccard คือ 0.00% = 0 / (28 + 52)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง กระต่ายจันทร์ (ความเชื่อ)และแพริโดเลีย หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »