โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

กระดูกโอบอกและกระดูกไหปลาร้า

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง กระดูกโอบอกและกระดูกไหปลาร้า

กระดูกโอบอก vs. กระดูกไหปลาร้า

กระดูกโอบอก หรือ กระดูกโอบไหล่ (pectoral girdle or shoulder girdle) เป็นกลุ่มของกระดูกที่เชื่อมโครงกระดูกแกน (axial skeleton) และรยางค์บน (upper limb) ทั้ง 2 ข้าง ในมนุษย์จะประกอบด้วยกระดูกไหปลาร้า (clavicle) และกระดูกสะบัก (scapula) ส่วนในสัตว์บางชนิดจะมีกระดูกโอบอก 3 ชนิด คือมีกระดูกโคราคอยด์ (coracoid) เพิ่มขึ้นมา ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมบางชนิด (เช่น สุนัข หรือม้า) จะวิวัฒนาการจนมีกระดูกโอบอกเพียงชิ้นเดียวคือ กระดูกสะบัก ในมนุษย์ ข้อต่อเพียงข้อต่อเดียวที่เชื่อมระหว่างกระดูกโอบไหล่และโครงกระดูกแกนคือ ข้อต่อสเตอร์โนคลาวิคิวลาร์ (sternoclavicular) ส่วนระหว่างกระดูกสะบักและกระดูกซี่โครงจะไม่มีข้อต่อแต่มีกล้ามเนื้อที่เชื่อมระหว่างกันซึ่งช่วยในการเคลื่อนไหวของกระดูกโอบไหล่ได้มากเมื่อเทียบกับกระดูกโอบเชิงกราน (pelvic girdle) สำหรับในสัตว์ที่มีเฉพาะกระดูกสะบัก จะไม่มีข้อต่อที่เชื่อมระหว่างรยางค์หน้าและอก จะมีเฉพาะกล้ามเนื้อที่ยึดระหว่างกันเท่านั้น. ในกายวิภาคศาสตร์ของมนุษย์ กระดูกไหปลาร้า (Clavicle) เป็นกระดูกแบบยาว (long bone) ชิ้นหนึ่งที่เป็นส่วนประกอบของกระดูกส่วนไหล่ (shoulder girdle) ชื่อของกระดูกไหปลาร้าในภาษาอังกฤษ Clavicle เป็นคำที่มาจากภาษาลาติน clavicula ซึ่งแปลว่า กุญแจเล็กๆ เนื่องจากกระดูกชิ้นนี้จะมีการหมุนรอบแกน ในแนวนอนคล้ายกับการไขกุญแจ ขณะที่แขนกางออก กระดูกไหปลาร้ายังเป็นกระดูกที่สามารถมองเห็น แนวของกระดูกได้จากภายนอกอย่างชัดเจน โดยเฉพาะในเพศหญิงซึ่งมีไขมันในบริเวณรอบๆกระดูกน้อยกว่า นอกจากในมนุษย์แล้ว กระดูกไหปลาร้ายังพบในสัตว์สี่ขา (tetrapods) ชนิดอื่นๆ แต่อาจมีรูปร่างเล็กกว่าหรืออาจไม่พบเลย กระดูกไหปลาร้าจะเจริญในสัตว์ที่ใช้ส่วนรยางค์หน้าในการหยิบจับ แต่จะไม่เจริญมากนักในสัตว์ที่ใช้รยางค์หน้าในการรองรับน้ำหนักหรือการวิ่ง กระดูกไหปลาร้าเปรียบเสมือนไม้ค้ำ ประคองแขนทั้งสองข้างไว้ ทำให้แขนสามารถเคลื่อนไหว ได้อย่างเป็นอิสระอยู่บนลำตัว กระดูกชิ้นนี้อยู่ในตำแหน่ง ที่ง่ายต่อการกระแทก บาดเจ็บ และรับแรงกระแทกที่ส่งผ่านมาจาก แขนไปสู่ลำตัว กระดูกไหปลาร้าจึงเป็นกระดูกชิ้นที่หักบ่อยที่สุดในร่างกาย โดยมักจะหักเนื่องจาก ล้มหรือตกจากที่สูง โดยลงกระแทกบริเวณไหล่ หรือกระแทกในท่าแขนที่เหยียดออก แรงจะส่งผ่านไปตามแขน ไหล่ ไปสู่กระดูกไหปลาร้า และจะหักในส่วนที่อ่อนแอที่สุด (คือรอยต่อระหว่าง 1/3กลาง กับ 1/3ด้านนอก) หลังจากหักจะถูกกล้ามเนื้อและน้ำหนักของแขนดึงให้ผิดรูปไป.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง กระดูกโอบอกและกระดูกไหปลาร้า

กระดูกโอบอกและกระดูกไหปลาร้า มี 0 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย)

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง กระดูกโอบอกและกระดูกไหปลาร้า

กระดูกโอบอก มี 8 ความสัมพันธ์ขณะที่ กระดูกไหปลาร้า มี 20 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 0, ดัชนี Jaccard คือ 0.00% = 0 / (8 + 20)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง กระดูกโอบอกและกระดูกไหปลาร้า หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »