กระดูกอ่อนและสารเคลือบเซลล์
ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง
ความแตกต่างระหว่าง กระดูกอ่อนและสารเคลือบเซลล์
กระดูกอ่อน vs. สารเคลือบเซลล์
กระดูกอ่อนเมื่อดูใต้กล้องจุลทรรศน์ กระดูกอ่อน (Cartilage) เป็นเนื้อเยื่อเกี่ยวพันชนิดหนึ่งพบได้ทั่วร่างกายมนุษย์และสัตว์อื่นๆ โดยเฉพาะบริเวณข้อต่อต่างๆ ซี่โครง หู จมูก หลอดลม และ กระดูกข้อต่อสันหลังประกอบไปด้วย เยื่อใยคอลลาเจน และ/ หรือ เยื่อใยอีลาสติน และเซลล์ที่เรียกว่า คอนโดรไซต์ซึ่งจะหลั่งสารออกมาห่อหุ้มเซลล์ที่มีคอลลาเจนเป็นองค์ประกอบ โดยองค์ประกอบที่อยู่ภายในจะมีลักษณะ คล้ายเจล เรียกว่า แมททริกซ์ กระดูกอ่อนจะไม่มีหลอดเลือดมาเลี้ยง คอนโดรไซต์จะแลกเปลี่ยนสารอาหารโดยแพร่ผ่านคอลลาเจนมาสู่เส้นเลือดด้านนอก เมตาบอลิซึมของเซลล์เหล่านี้ต่ำ ถ้าถูกทำลายจะซ่อมแซมตัวเองได้แต่ช้า กระดูกอ่อนมีหน้าที่หลายอย่าง ประกอบไปด้วย การเตรียมโครงร่างของการสะสมการสร้างกระดูก และช่วยสร้างพื้นที่หน้าเรียบสำหรับรองรับการเคลื่อนไหวของกระดูกข้อต่อ เป็นกระดูกที่เกิดขึ้นก่อนในระยะเอ็มบริโอก่อนที่จะถูกแทนที่ด้วยกระดูกแข็ง เป็นโครงสร้างของกล่องเสียง หลอดลมในระบบหายใจ เป็นองค์ประกอบของข้อต่อตามหัวเข่าและข้อศอก กระดูกอ่อนแบ่งตามองค์ประกอบได้ 3 ชนิด ดังนี้ ไฮยาลินคาร์ทีเลจ (hyaline cartilage) อีลาสติกคาร์ทีเลจ (elastic cartilage) ไฟโบรคาร์ทีเลจ (fibrocartilage). รเคลือบเซลล์ (Extracellular metrix, ECM) เป็นผลิตภัณฑ์อย่างหนึ่งของเซลล์ซึ่งพบอยู่ที่บริเวณรอบนอกของเซลล์สัตว์ สารเคลือบเซลล์นั้นมีส่วนสำคัญในการค้ำจุนโครงสร้างของเซลล์ นอกจากนี้ยังทำหน้าที่ที่สำคัญต่างๆอีกมากมาย ซึ่งถ้าสารเคลือบเซลล์เกิดความผิดปกติขึ้นก็อาจทำให้เซลล์นั้นเกิดความผิดปกติตามไปด้วยและอาจนำไปสู่การเกิดมะเร็งในที่สุด สารเคลือบเซลล์นั้นจะถูกคัดหลั่งออกมาจากตัวเซลล์และไฟโบรบลาสท์ (fibrobrast) หรือเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน (connective tissus) ที่แทรกอยู่ระหว่างเซลล์ ซึ่งสารที่คัดหลั่งออกมานั้นจะมีองค์ประกอบที่สำคัญ 2 ประการ ได้แก่ สารประกอบเชิงซ้อนของโพลีแซคคาไรด์กับโปรตีนที่มีชื่อว่า ไกลโคซามิโนไกลแคนส์ (Glycosaminoglycans,GAGs) สารนี้จะมีคุณสมบัติในการดูดซับน้ำได้ จึงทำให้สารเคลือบเซลล์นั้นมีลักษณะคล้ายเจล และองค์ประกอบสำคัญอีกอย่างหนึ่งก็คือ โปรตีนเส้นใย (Fibrous proteins) ได้แก่ คอลลาเจน(collagen) อีลาสติน(elastin) ไฟโบรเนกติน(fibronectin) และ ลามินิน(laminin) เป็นต้น ซึ่งโปรตีนเส้นใยเหล่านี้จะมีการเชื่อมโยงกับโปรตีนต่างๆในเซลล์ด้วย สารเคลือบเซลล์นั้นจะพบมากในบริเวณเนื้อเยื่อเกี่ยวพันซึ่งปรากฏในหลายรูปแบบ เช่น กระดูก(bone) ฟัน(teeth) กระจกตา(cornea) เอ็นที่ยึดระหว่างปลายมัดของกล้ามเนื้อกับกระดูก(tendons) เป็นต้น แต่จะพบได้น้อยในเนื้อเยื่อประเภทเนื้อเยื่อสมองและไขสันหลังเนื่องจากเนื้อเยื่อนั้นติดกันแน่น.
ความคล้ายคลึงกันระหว่าง กระดูกอ่อนและสารเคลือบเซลล์
กระดูกอ่อนและสารเคลือบเซลล์ มี 1 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): เนื้อเยื่อเกี่ยวพัน
รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้
- สิ่งที่ กระดูกอ่อนและสารเคลือบเซลล์ มีเหมือนกัน
- อะไรคือความคล้ายคลึงกันระหว่าง กระดูกอ่อนและสารเคลือบเซลล์
การเปรียบเทียบระหว่าง กระดูกอ่อนและสารเคลือบเซลล์
กระดูกอ่อน มี 11 ความสัมพันธ์ขณะที่ สารเคลือบเซลล์ มี 4 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 1, ดัชนี Jaccard คือ 6.67% = 1 / (11 + 4)
การอ้างอิง
บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง กระดูกอ่อนและสารเคลือบเซลล์ หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่: