โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

กระดูกหู

ดัชนี กระดูกหู

กระดูกหู (ossicles หรือ auditory ossicles) เป็นกระดูกขนาดเล็ก 3 ชิ้นในร่างกายมนุษย์ ซึ่งอยู่ภายในช่องว่างในหูชั้นกลาง ทำหน้าที่ในการส่งผ่านเสียงจากอากาศไปยังห้องหูชั้นใน (labyrinth) ที่บรรจุไปด้วยของเหลว (อวัยวะรูปหอยโข่ง (cochlea)) หากไม่มีกระดูกหูจะทำให้เกิดภาวะสูญเสียการได้ยินระดับกลางหรือระดับรุนแรง.

13 ความสัมพันธ์: ช่องรูปไข่กระดูกกระดูกอ่อนกระดูกทั่งกระดูกค้อนกระดูกโกลนสัตว์เลื้อยคลานสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมหูชั้นกลางหูชั้นในรูปหอยโข่งข้อต่อค้างคาวโซนาร์

ช่องรูปไข่

องรูปไข่ (oval window, fenestra vestibuli) เป็นช่องที่ปิดด้วยเนื้อเยื่อจากหูชั้นกลางไปยังโพรงหน้า (vestibule) ของหูชั้นใน แรงดันเสียงจากหูชั้นนอกที่มากระทบกับแก้วหูที่ต้นหูชั้นกลาง จะวิ่งไปตามกระดูกหู (ossicle) 3 ท่อน (โดยชิ้นสุดท้ายเป็นกระดูกโกลน) เข้าไปในหูชั้นใน โดยช่องรูปไข่จะเป็นตัวเชื่อมหูชั้นกลางและหูชั้นในที่อยู่ชิดกับกระดูกโกลน แรงสั่นที่มาถึงช่องรูปไข่ จะขยายเกินกว่า 10 เท่า จากที่เข้ามากระทบแก้วหู ซึ่งแสดงกำลังขยายเสียงของหูชั้นกลาง ช่องเป็นรูปไข่ (หรือรูปไต) ระหว่างโพรงแก้วหู (tympanic cavity) และโพรงหน้าของหูชั้นใน เส้นผ่าศูนย์กลางด้านยาวของมันอยู่ในแนวราบโดยโค้งขึ้นตรงริม และเชื่อมอยู่กับฐานของกระดูกโกลน โดยวงรอบฐานของกระดูกมีเอ็นวงแหวนยึดอยู่กับขอบของช่อง ช่องรูปไข่มีเนื้อที่ประมาณ 2.5 มม2.

ใหม่!!: กระดูกหูและช่องรูปไข่ · ดูเพิ่มเติม »

กระดูก

กระดูกต้นขาของมนุษย์ กระดูก เป็นอวัยวะที่ประกอบขึ้นเป็นโครงร่างแข็งภายใน (endoskeleton) ของสัตว์มีกระดูกสันหลัง หน้าที่หลักของกระดูกคือการค้ำจุนโครงสร้างของร่างกาย การเคลื่อนไหว การสะสมแร่ธาตุและการสร้างเซลล์เม็ดเลือด กระดูกเป็นอวัยวะที่ประกอบด้วยเนื้อเยื่อกระดูก (osseous tissue) ที่มีความแข็งแรงแต่มีน้ำหนักเบา การเจริญพัฒนาของเนื้อเยื่อกระดูกในรูปแบบที่แตกต่างกัน ทำให้กระดูกเป็นอวัยวะที่มีหลายรูปร่างลักษณะ เพื่อให้สอดคล้องกันกับการทำงานของกระดูกในแต่ละส่วน เช่นกะโหลกศีรษะ (skull) ที่มีลักษณะแบนแต่แข็งแรงมาก เพื่อป้องกันการกระทบกระเทือนของสมอง หรือกระดูกต้นขา (femur) ที่มีลักษณะยาวเพื่อเป็นจุดเกาะของกล้ามเนื้อต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหวของรยางค์ล่าง เป็นต้น.

ใหม่!!: กระดูกหูและกระดูก · ดูเพิ่มเติม »

กระดูกอ่อน

กระดูกอ่อนเมื่อดูใต้กล้องจุลทรรศน์ กระดูกอ่อน (Cartilage) เป็นเนื้อเยื่อเกี่ยวพันชนิดหนึ่งพบได้ทั่วร่างกายมนุษย์และสัตว์อื่นๆ โดยเฉพาะบริเวณข้อต่อต่างๆ ซี่โครง หู จมูก หลอดลม และ กระดูกข้อต่อสันหลังประกอบไปด้วย เยื่อใยคอลลาเจน และ/ หรือ เยื่อใยอีลาสติน และเซลล์ที่เรียกว่า คอนโดรไซต์ซึ่งจะหลั่งสารออกมาห่อหุ้มเซลล์ที่มีคอลลาเจนเป็นองค์ประกอบ โดยองค์ประกอบที่อยู่ภายในจะมีลักษณะ คล้ายเจล เรียกว่า แมททริกซ์ กระดูกอ่อนจะไม่มีหลอดเลือดมาเลี้ยง คอนโดรไซต์จะแลกเปลี่ยนสารอาหารโดยแพร่ผ่านคอลลาเจนมาสู่เส้นเลือดด้านนอก เมตาบอลิซึมของเซลล์เหล่านี้ต่ำ ถ้าถูกทำลายจะซ่อมแซมตัวเองได้แต่ช้า กระดูกอ่อนมีหน้าที่หลายอย่าง ประกอบไปด้วย การเตรียมโครงร่างของการสะสมการสร้างกระดูก และช่วยสร้างพื้นที่หน้าเรียบสำหรับรองรับการเคลื่อนไหวของกระดูกข้อต่อ เป็นกระดูกที่เกิดขึ้นก่อนในระยะเอ็มบริโอก่อนที่จะถูกแทนที่ด้วยกระดูกแข็ง เป็นโครงสร้างของกล่องเสียง หลอดลมในระบบหายใจ เป็นองค์ประกอบของข้อต่อตามหัวเข่าและข้อศอก กระดูกอ่อนแบ่งตามองค์ประกอบได้ 3 ชนิด ดังนี้ ไฮยาลินคาร์ทีเลจ (hyaline cartilage) อีลาสติกคาร์ทีเลจ (elastic cartilage) ไฟโบรคาร์ทีเลจ (fibrocartilage).

ใหม่!!: กระดูกหูและกระดูกอ่อน · ดูเพิ่มเติม »

กระดูกทั่ง

กระดูกทั่ง (Incus or anvil) เป็นกระดูกหูขนาดเล็กที่อยู่ในหูชั้นกลาง มีรูปร่างเหมือนทั่ง เชื่อมต่อกับกระดูกค้อน (malleus) และกระดูกโกลน (stapes) กระดูกชิ้นนี้ค้นพบครั้งแรกโดย Alessandro Achillin of Bologna กระดูกทั่งทำหน้าที่ส่งผ่านการสั่นสะเทือนจากกระดูกค้อนไปยังกระดูกโกลน กระดูกนี้พบเฉพาะในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม และวิวัฒนาการมาจากกระดูกขากรรไกรบนของสัตว์เลื้อยคลานเรียกว่า กระดูกควอเดรต (quadrate bone).

ใหม่!!: กระดูกหูและกระดูกทั่ง · ดูเพิ่มเติม »

กระดูกค้อน

กระดูกค้อน (malleus or hammer) เป็นกระดูกหูขนาดเล็กรูปร่างเหมือนค้อน อยู่ภายในหูชั้นกลางซึ่งติดต่อกับกระดูกทั่งและยึดเกาะกับพื้นผิวด้านในของเยื่อแก้วหู (eardrum) ทำหน้าที่ส่งผ่านความสั่นสะเทือนของเสียงจากเยื่อแก้วหูไปยังกระดูกทั่ง กระดูกค้อนเป็นลักษณะเฉพาะของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม วิวัฒนาการมาจากกระดูกขากรรไกรล่างในสัตว์มีถุงน้ำคร่ำ เรียกว่า กระดูกอาร์ติคิวลาร์ (articular) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของข้อต่อขากรรไกรของสัตว์เลื้อยคลาน.

ใหม่!!: กระดูกหูและกระดูกค้อน · ดูเพิ่มเติม »

กระดูกโกลน

กระดูกโกลน (stapes or stirrup) เป็นกระดูกหูขนาดเล็กรูปร่างเหมือนโกลน อยู่ภายในหูชั้นกลางซึ่งติดต่อกับกระดูกทั่ง (incus) และช่องรูปไข่ (fenestra ovalis) ซึ่งอยู่ชิดกับเวสทิบูลของหูชั้นใน กระดูกชิ้นนี้เป็นกระดูกที่เล็กและเบาที่สุดในร่างกายมนุษย์ กระดูกโกลนทำหน้าที่ส่งผ่านความสั่นสะเทือนของเสียงจากกระดูกทั่งไปยังเยื่อแผ่นในหูชั้นในภายในช่องรูปไข่ กระดูกโกลนมีกล้ามเนื้อที่ช่วยให้เสถียรชื่อว่า กล้ามเนื้อสเตปีเดียส (stapedius) ซึ่งเลี้ยงโดยเส้นประสาทเฟเชียล (facial nerve) ในสัตว์มีกระดูกสันหลังที่ไม่ใช่สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม กระดูกที่มีต้นกำเนิดเดียว (homologous) กับกระดูกโกลนมักเรียกว่า คอลัมเมลลา (columella) อย่างไรก็ตาม ในสัตว์เลื้อยคลานจะใช้คำเรียกได้ทั้งสองคำ.

ใหม่!!: กระดูกหูและกระดูกโกลน · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์เลื้อยคลาน

ัตว์เลื้อยคลาน (reptile) จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง โดยคำว่า Reptilia มาจากคำว่า Repera ที่มีความหมายว่า "คลาน" เป็นสัตว์มีกระดูกสันหลังที่จัดเป็นสัตว์ในกลุ่มแรก ๆ ของโลกที่มีการดำรงชีวิตบนบกอย่างแท้จริง สัตว์เลื้อยคลานในยุคดึกดำบรรพ์ที่รอดชีวิตจากการสูญพันธุ์และยังดำรงชีวิตในปัจจุบัน มีจำนวนมากถึง 7,000 ชนิดชนิดของสัตว์เลื้อยคลาน, สัตววิทยา, บพิธ-นันทพร จารุพันธุ์, สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2547, หน้า 364 กระจายอยู่ทั่วโลกทั้งชนิดอาศัยในแหล่งน้ำและบนบก จัดเป็นกลุ่มของสัตว์ที่ประสบความสำเร็จในการปรับเปลี่ยนสภาพร่างกายในการเอาตัวรอดจากเหตุการณ์หินอุกกาบาตพุ่งชนโลกมามากกว่า 100 ล้านปีมาแล้ว ในยุคจูแรสซิกที่อยู่ในมหายุคมีโซโซอิก ซึ่งมีอายุของยุคที่ยาวนานถึง 100 ล้านปี จัดเป็นยุคที่สัตว์เลื้อยคลานมีวิวัฒนาการจนถึงขีดสุด มีสัตว์เลื้อยคลานมากมายหลากหลายขนาด ตั้งแต่กิ้งก่าตัวเล็ก ๆ จนถึงไทรันโนซอรัส เร็กซ์ซึ่งเป็นไดโนเสาร์กินเนื้อขนาดใหญ่ ที่มีจำนวนมากมายครอบครองพื้นที่ทั่วทุกแห่งในโลก ยุคจูแรสซิกจึงถือเป็นยุคของสัตว์เลื้อยคลานอย่างแท้จริง ต่อมาภายหลังเกิดเหตุการณ์อุกกาบาตพุ่งชนโลก ทำให้กลุ่มสัตว์บกที่อาศัยในยุคจูแรสซิก เกิดล้มตายและสูญพันธุ์อย่างกะทันหันโดยไม่ทราบสาเหตุของการสูญพันธุ์ที่ชัดเจนและแน่นอน.

ใหม่!!: กระดูกหูและสัตว์เลื้อยคลาน · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม

ัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม (Mammalia) จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง โดยคำว่า Mammalia มาจากคำว่า Mamma ที่มีความหมายว่า "หน้าอก" เป็นกลุ่มของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม ที่มีการวิวัฒนาการและพัฒนาร่างกายที่ดีหลากหลายประการ รวมทั้งมีระบบประสาทที่เจริญก้าวหน้า สามารถดำรงชีวิตได้ในทุกสภาพสิ่งแวดล้อมสัตววิทยา (สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม), บพิธ-นันทพร จารุพันธุ์, สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2547, หน้า 411 มีขนาดของร่างกายและรูปพรรณสัณฐานที่แตกต่างกันออกไป รวมถึงการทำงานของระบบต่าง ๆ ภายในร่างกาย ที่มีการปรับเปลี่ยนไปตามลักษณะของสายพันธุ์ มีลักษณะเด่นคือมีต่อมน้ำนมที่มีเฉพาะในเพศเมียเท่านั้น เพื่อผลิตน้ำนมเพื่อใช้เลี้ยงลูกวัยแรกเกิด เป็นสัตว์เลือดอุ่น มีขนเป็นเส้น ๆ (hair) หรือขนอ่อน (fur) ปกคลุมทั่วทั้งร่างกาย เพื่อเป็นการรักษาอุณหภูมิในร่างกาย ยกเว้นสัตว์น้ำที่ไม่มีขน สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม ไม่จัดอยู่ในประเภทสัตว์กลุ่มใหญ่ คือมีจำนวนประชากรประมาณ 4,500 ชนิด ซึ่งถือว่าเป็นปริมาณน้อยมากเมื่อเทียบกับนก ที่มีประมาณ 9,200 ชนิด และปลาอีกประมาณ 20,000 ชนิด รวมทั้งแมลงอีกประมาณ 800,000 ชนิด ส่วนใหญ่เป็นสัตว์บก เช่น สุนัข ช้าง ลิง เสือ สิงโต จิงโจ้ เม่น หนู ฯลฯ สำหรับสัตว์น้ำที่จัดเป็นเลี้ยงลูกด้วยน้ำนม ได้แก่ โลมา วาฬ มานาทีและพะยูน แต่สำหรับสัตว์ปีกประเภทเดียวที่เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมคือค้างคาว ซึ่งกระรอกบินและบ่างนั้น ไม่จัดอยู่ในประเภทของสัตว์ปีก เนื่องจากใช้ปีกในการร่อนไปได้เพียงแค่ระยะหนึ่งเท่านั้น สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมส่วนใหญ่ออกลูกเป็นตัว ยกเว้นตุ่นปากเป็ดและอีคิดนาเท่านั้นที่ออกลูกเป็น.

ใหม่!!: กระดูกหูและสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม · ดูเพิ่มเติม »

หูชั้นกลาง

หูชั้นกลาง (middle ear, auris media) คือหูส่วนที่อยู่หลังแก้วหู แต่ก่อนช่องรูปไข่ (oval window) ของหูชั้นใน ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม หูชั้นกลางจะมีกระดูกหู (ossicles) เล็ก ๆ 3 ท่อน ซึ่งถ่ายโอนแรงสั่นที่แก้วหูไปเป็นคลื่นภายในหูชั้นใน ช่องในหูชั้นกลางเรียกว่า โพรงหูส่วนกลาง (tympanic cavity) โดยมีท่อยูสเตเชียน เชื่อมกับคอหอยส่วนจมูก (nasopharynx) ท่อยูสเตเชียนจะช่วยรักษาดุลความดันระหว่างหูชั้นกลางและคอ หน้าที่หลักของหูชั้นกลางก็คือถ่ายโอนพลังงานเสียงจากคลื่นในอากาศไปเป็นคลื่นในน้ำและในเยื่อของหูชั้นในรูปหอยโข่ง (คอเคลีย).

ใหม่!!: กระดูกหูและหูชั้นกลาง · ดูเพิ่มเติม »

หูชั้นในรูปหอยโข่ง

หูชั้นในรูปหอยโข่ง หรือ อวัยวะรูปหอยโข่ง หรือ คอเคลีย (cochlea,, จาก κοχλίας, kōhlias, แปลว่า หมุนเป็นวงก้นหอย หรือเปลือกหอยทาก) เป็นอวัยวะรับเสียงในหูชั้นใน เป็นช่องกลวงมีรูปร่างเป็นก้นหอยโข่งอยู่ในกระดูกห้องหูชั้นใน (bony labyrinth) โดยในมนุษย์จะหมุน 2.5 ครั้งรอบ ๆ แกนที่เรียกว่า modiolus และมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 9 มม.

ใหม่!!: กระดูกหูและหูชั้นในรูปหอยโข่ง · ดูเพิ่มเติม »

ข้อต่อ

้อ หรือ ข้อต่อ (Joints) ในทางกายวิภาคศาสตร์ หมายถึงบริเวณที่กระดูกตั้งแต่สองชิ้นขึ้นไปมีการติดต่อกัน ทำให้กระดูกมีการทำงานร่วมกันเป็นระบบเพื่อการค้ำจุนปกป้องร่างกายและการเคลื่อนไหวในรูปแบบต่างๆที่เหมาะสม ข้อต่อในร่างกายมนุษย์มีหลายแบบ และสามารถจัดจำแนกได้ตามลักษณะโครงสร้าง และคุณสมบัติในการเคลื่อนไหว.

ใหม่!!: กระดูกหูและข้อต่อ · ดูเพิ่มเติม »

ค้างคาว

้างคาว จัดอยู่ในชั้นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม มีลำตัวขนาดเล็กมีปีกบินได้ ค้างคาวเป็นอันดับใหญ่ที่สุดเป็นอันดับสองของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม โดยมีค้างคาวกว่า 1,100 สปีชีส์ หมายความว่า กว่า 20% ของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมเป็นค้างคาว.

ใหม่!!: กระดูกหูและค้างคาว · ดูเพิ่มเติม »

โซนาร์

รื่องโซนาร์ (Sonar: Sound navigation and ranging) เป็นเครื่องมือสำหรับตรวจหาวัตถุใต้น้ำ มีความสำคัญเช่นเดียวกับเรือผิวน้ำ ส่วนมากจะถูกใช้ในการหาตำแหน่งของระเบิด เรืออับปาง ฝูงปลา และทดสอบความลึกของท้องทะเล มีหลักการทำงานคล้ายกับเครื่องเรดาร์ แต่โซนาร์จะใช้คลื่นเสียง และต้องใช้ในน้ำ แต่เรดาร์จะใช้ได้ในอากาศเท่านั้น หลักการทำงานของโซนาร.

ใหม่!!: กระดูกหูและโซนาร์ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Auditory ossiclesOssicleOssicles

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »