โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

กระดูกสันหลังและกายวิภาคศาสตร์มนุษย์

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง กระดูกสันหลังและกายวิภาคศาสตร์มนุษย์

กระดูกสันหลัง vs. กายวิภาคศาสตร์มนุษย์

กระดูกสันหลัง มองจากด้านข้าง ส่วนต่างๆของแนวกระดูกสันหลัง ส่วนต่างๆกระดูกสันหลังหนึ่งชิ้น มองจากทางด้านข้าง กระดูกสันหลังส่วนคอ ชิ้นแรก มองจากทางด้านบน แนวกระดูกสันหลังส่วนคอตอนต้น แสดงกระดูกและเอ็นของข้อต่อบริเวณท้ายทอย กระดูกสันหลังส่วนอก มองจากทางด้านบน กระดูกสันหลัง (Vertebral column) ในกายวิภาคของมนุษย์ คือกระดูกแกนของสัตว์มีกระดูกสันหลัง ตั้งแต่ส่วนต้นคอ ลงมาจนถึงส่วนก้น ภายในมีไขสันหลัง ซึ่งอยู่ในช่องไขสันหลังอีกทีหนึ่ง. รูปแสดงระบบกล้ามเนื้อของมนุษย์ในลักษณะธรรมชาติ จากหนังสือ ''Fabrica'' โดยแอนเดรียส เวซาเลียส กายวิภาคศาสตร์มนุษย์ (Human anatomy) เป็นสาขาหนึ่งของวิทยาศาสตร์การแพทย์ ที่เน้นทางด้านการศึกษาโครงสร้างต่างๆที่ประกอบกันเป็นร่างกายของมนุษย์ และเป็นหนึ่งในศาสตร์ที่มีประวัติความเป็นมาที่ยาวนาน การศึกษากายวิภาคศาสตร์ของมนุษย์สามารถแบ่งออกได้เป็นสี่สาขาหลัก ได้แก่ มหกายวิภาคศาสตร์ (Gross anatomy) จุลกายวิภาคศาสตร์ (Histology) ประสาทกายวิภาคศาสตร์ (Neuroanatomy) และกายวิภาคศาสตร์การเจริญเติบโต (Developmental anatomy) ในปัจจุบันการศึกษากายวิภาคศาสตร์ของมนุษย์จะเน้นไปในด้านการประยุกต์ใช้ และการนำเอาเทคโนโลยีทางด้านอณูชีววิทยามาใช้ในการศึกษากายวิภาคศาสตร์ในระดับเซลล์และเนื้อเยื่อ.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง กระดูกสันหลังและกายวิภาคศาสตร์มนุษย์

กระดูกสันหลังและกายวิภาคศาสตร์มนุษย์ มี 9 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): ช่องอกช่องท้องกะบังลมการขับถ่ายระบบสืบพันธุ์ระบบหายใจระบบประสาทหัวใจขา

ช่องอก

องอก (thoracic cavity หรือ chest cavity) เป็นช่องว่างในร่างกายมนุษย์ (และสัตว์ชนิดอื่นๆ) ที่ถูกหุ้มด้วยผนังช่องอก (thoracic wall) (กระดูกทรวงอก รวมทั้งผิวหนัง กล้ามเนื้อ และพังผืด).

กระดูกสันหลังและช่องอก · กายวิภาคศาสตร์มนุษย์และช่องอก · ดูเพิ่มเติม »

ช่องท้อง

องท้อง (abdominal cavity) เป็นช่องลำตัวในร่างกายมนุษย์และสัตว์อื่นๆ ซึ่งบรรจุอวัยวะภายใน ตั้งอยู่ใต้ช่องอก (thoracic cavity) และเหนือช่องเชิงกราน (pelvic cavity) อวัยวะที่อยู่ในช่องท้อง เช่น กระเพาะอาหาร, ตับ, ตับอ่อน, ม้าม, ถุงน้ำดี, กระเพาะปัสสาวะ, ลำไส้เล็ก, และลำไส้ใหญ่ (ไตเป็นอวัยวะที่ไม่ได้อยู่ในช่องท้อง แต่อยู่หลังช่องท้อง เรียกว่าเป็นอวัยวะหลังเยื่อบุช่องท้อง (retroperitoneal organs)) ช่องท้องถูกบุด้วยเยื่อแผ่นที่เรียกว่า เยื่อบุช่องท้อง (peritoneum) และอวัยวะภายในก็ถูกคลุมด้านหน้าด้วยแผ่นไขมันที่เรียกว่าโอเมนตัม (omentum หรือ omental apron).

กระดูกสันหลังและช่องท้อง · กายวิภาคศาสตร์มนุษย์และช่องท้อง · ดูเพิ่มเติม »

กะบังลม

กะบังลม (Diaphragm หรือ Thoracic diaphragm) เป็นแผ่นของกล้ามเนื้อโครงร่างในร่างกายขึงอยู่ด้านล่างของซี่โครง กะบังลมกั้นระหว่างช่องอก (ประกอบด้วยหัวใจ ปอด และซี๋โครง เป็นต้น) และช่องท้อง ทำหน้าที่สำคัญในการหายใจ ในทางกายวิภาคศาสตร์กะบังลมบางครั้งอาจหมายถึงโครงสร้างแบนอื่นๆ เช่น กะบังลมเชิงกรานหรือฐานเชิงกราน (pelvic diaphragm; เช่นในโรค "กะบังลมหย่อน" ที่หมายถึงการหย่อนของฐานเชิงกรานทำให้ทวารหนัก มดลูก หรือกระเพาะปัสสาวะยื่นออกมานอกช่องคลอด) แต่โดยทั่วไปแล้วคำว่า "กะบังลม" หมายถึงกะบังลมหน้าอก สัตว์มีกระดูกสันหลังอื่นเช่นสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำและสัตว์เลื้อยคลานมีกะบังลมหรือโครงสร้างคล้ายกะบังลมแต่มีลักษณะจำเพาะที่แตกต่างกันออกไป เช่น ตำแหน่งของปอดในช่องท้อง เป็นต้น A commonly used mnemonic to remember the level of the diaphragmatic apertures is this: Mnemonic.

กระดูกสันหลังและกะบังลม · กะบังลมและกายวิภาคศาสตร์มนุษย์ · ดูเพิ่มเติม »

การขับถ่าย

การขับถ่าย เป็นกระบวนการทาง ชีววิทยา ที่สิ่งมีชีวิตแยกของเสียออกจากร่างกายของมัน ของเสียจะถูกกำจัดออกจากร่างกายโดยการกำจัด (elimination) ตัวอย่างในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม กระบวนการขับถ่ายคือ การทำให้เกิดปัสสาวะโดยไต และการทำให้เกิดคาร์บอนไดออกไซด์โดยปอด ของเสียจะถูกกำจัดโดยการปัสสาวะ และการหายใจ ฮอร์โมนที่ควบคุมการขับถ่ายจะอยู่ใน ดิสตัล ทิวบูล (distal tubules) ของไตโดยการสั่งการของไฮโปทาลามัส (hypothalmus) การขับเหงื่อ (Perspiration) เป็นกระบวนการขับถ่ายอีกอย่างหนึ่งที่จะจำกัดเกลือและน้ำออกจากร่างกาย ถึงแม้ว่างานหลักจะทำเพื่อระบายความร้อนก็ตาม สำหรับการอุจจาระนั้นไม่ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของการขับถ่ายตามหลักชีววิทยา เนื่องจากมันไม่เหมือนปัสสาวะที่แยกออกจากกระแสเลือด และอุจจาระไม่ได้อยู่ในส่วนของกระบวนการการเผาผลาญ ยกเว้นการอุจจาระของแมลง ระบบที่เกี่ยวข้องกับ มัลพิเจียน ทิวบูล ที่ใช้ในการขับถ่ายของเสียที่เกิดจากการเผาผลาญ ของเสียที่เกิดจากการเผาผลาญ จะเคลื่อนย้ายเข้าไปอยู่ในทิวบูลและลำไส้เล็กตามลำดับ ดังนั้นอุจจาระของแมลงจึงมีของเสียที่เกิดจากการเผาผลาญ จึงเรียกว่าเป็นการขับถ่ายได้.

กระดูกสันหลังและการขับถ่าย · กายวิภาคศาสตร์มนุษย์และการขับถ่าย · ดูเพิ่มเติม »

ระบบสืบพันธุ์

ระบบสืบพันธุ์ (reproductive system) เป็นระบบของอวัยวะในร่างกายสิ่งมีชีวิตซึ่งทำงานร่วมกันโดยมีจุดประสงค์เพื่อการสืบพันธุ์เพิ่มจำนวนสิ่งมีชีวิตให้มากขึ้น ในระบบนี้จำเป็นต้องอาศัยสารต่างๆ อาทิ ของเหลว ฮอร์โมน และฟีโรโมนหลายชนิดเพื่อช่วยเหลือในการทำงาน ระบบสืบพันธุ์เป็นระบบซึ่งแตกต่างจากระบบอวัยวะอื่นๆ กล่าวคือระบบเพศของสัตว์ต่างชนิดกันก็มีความแตกต่างกัน ความหลากหลายนี้ก่อให้เกิดการผสมรวมกันของสารพันธุกรรมระหว่างสิ่งมีชีวิตสองตัว เพื่อเพิ่มความสามารถในการดำรงอยู่ในสิ่งแวดล้อมของลูกหลานต่อไป Body Guide powered by Adam.

กระดูกสันหลังและระบบสืบพันธุ์ · กายวิภาคศาสตร์มนุษย์และระบบสืบพันธุ์ · ดูเพิ่มเติม »

ระบบหายใจ

ระบบทางเดินหายใจของมนุษย์ ระบบทางเดินหายใจมีหน้าที่แลกเปลี่ยนก๊าซให้กับสิ่งมีชีวิต ในมนุษย์และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมระบบทางเดินหายใจประกอบไปด้วย จมูกหลอดลม ปอด และกล้ามเนื้อระบบทางเดินหายใจ ออกซิเจนและคาร์บอนไดออกไซด์จะถูกแลกเปลี่ยนที่ปอดด้วยกระบวนการแพร่ สัตว์ประเภทอื่นๆ เช่น แมลงมีระบบทางเดินหายใจที่คล้ายคลึงกับมนุษย์แต่มีลักษณะทางกายวิภาคที่ง่ายกว่า ในสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำผิวหนังของสัตว์ก็ทำหน้าที่แลกเปลี่ยนก๊าซได้ด้วย พืชก็มีระบบทางเดินหายใจเช่นกัน แต่ทิศทางการแลกเปลี่ยนก๊าซเป็นไปในทางตรงกันข้ามกับสัตว์ ระบบแลกเปลี่ยนก๊าซของพืชประกอบไปด้วยรูเล็กๆ ใต้ใบที่เรียกว่าปากใ.

กระดูกสันหลังและระบบหายใจ · กายวิภาคศาสตร์มนุษย์และระบบหายใจ · ดูเพิ่มเติม »

ระบบประสาท

ระบบประสาทของมนุษย์ ระบบประสาทของสัตว์ มีหน้าที่ในการออกคำสั่งการทำงานของกล้ามเนื้อ ควบคุมการทำงานของอวัยวะต่างๆ ในร่างกาย และประมวลข้อมูลที่รับมาจากประสาทสัมผัสต่างๆ และสร้างคำสั่งต่าง ๆ (action) ให้อวัยวะต่าง ๆ ทำงาน (ดูเพิ่มเติมที่ ระบบประสาทกลาง) ระบบประสาทของสัตว์ที่มีสมองจะมีความคิดและอารมณ์ ระบบประสาทจึงเป็นส่วนของร่างกายที่ทำให้สัตว์มีการเคลื่อนไหว (ยกเว้นสัตว์ชั้นต่ำที่ไม่สามารถเคลื่อนไหวได้เช่น ฟองน้ำ) สารเคมีที่มีฤทธิ์ต่อระบบประสาทหรือเส้นประสาท (nerve) เรียกว่า สารที่มีพิษต่อระบบประสาท (neurotoxin) ซึ่งมักจะมีผลทำให้เป็นอัมพาต หรือตายได้.

กระดูกสันหลังและระบบประสาท · กายวิภาคศาสตร์มนุษย์และระบบประสาท · ดูเพิ่มเติม »

หัวใจ

หัวใจ เป็นอวัยวะกล้ามเนื้อซึ่งสูบเลือดทั่วหลอดเลือดไปยังส่วนต่าง ๆ ของร่างกายโดยการหดตัวเป็นจังหวะซ้ำ ๆ พบในสัตว์ทุกชนิดที่มีระบบไหลเวียน ซึ่งรวมสัตว์มีกระดูกสันหลังด้วย หัวใจสัตว์มีกระดูกสันหลังนั้นประกอบด้วยกล้ามเนื้อหัวใจและเนื้อเยื่อเกี่ยวพันเป็นหลัก กล้ามเนื้อหัวใจเป็นกล้ามเนื้อลายที่อยู่นอกเหนืออำนาจจิตใจ พบเฉพาะที่หัวใจ และทำให้หัวใจสามารถสูบเลือดได้ หัวใจมนุษย์ปกติเต้น 72 ครั้งต่อนาที ซึ่งจะเต้นประมาณ 2,500 ล้านครั้งในช่วงอายุเฉลี่ย 66 ปี และสูบเลือดประมาณ 4.7-5.7 ลิตรต่อนาที หนักประมาณ 250 ถึง 300 กรัมในหญิง และ 300 ถึง 350 กรัมในชาย คำคุณศัพท์ cardiac มาจาก kardia ในภาษากรีก ซึ่งหมายถึงหัวใจ หทัยวิทยาเป็นแขนงแพทย์เฉพาะทางเกี่ยวกับโรคและความผิดปกติของหัวใ.

กระดูกสันหลังและหัวใจ · กายวิภาคศาสตร์มนุษย์และหัวใจ · ดูเพิ่มเติม »

ขา

แผนภาพของขาแมลง ขา เป็นส่วนหนึ่งในร่างกายของสัตว์ที่รองรับน้ำหนักทั้งหมด อยู่ระหว่างข้อเท้าและสะโพก ใช้ในการเคลื่อนที่ ปลายสุดของขามักเป็นโครงสร้างที่พัฒนาหรือเปลี่ยนแปลงเป็นโครงสร้างอื่นที่รับน้ำหนักของสัตว์บนพื้น (ดู เท้า) รยางค์ล่าง (lower limb) ของสัตว์มีกระดูกสันหลังที่มีสองขา (bipedal vertebrate) มักจะเป็นขาของสัตว์นั้นๆ ส่วนรยางค์บน (upper limb) มักจะเป็นแขนหรือปีก จำนวนขาของสัตว์มักเป็นจำนวนคู่ นักอนุกรมวิธานอาจจัดสัตว์ออกเป็นกลุ่มตามจำนวน.

กระดูกสันหลังและขา · กายวิภาคศาสตร์มนุษย์และขา · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง กระดูกสันหลังและกายวิภาคศาสตร์มนุษย์

กระดูกสันหลัง มี 37 ความสัมพันธ์ขณะที่ กายวิภาคศาสตร์มนุษย์ มี 50 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 9, ดัชนี Jaccard คือ 10.34% = 9 / (37 + 50)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง กระดูกสันหลังและกายวิภาคศาสตร์มนุษย์ หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »